พระมหากษัตริย์ที่ทรงงานหนักที่สุดในโลก
มหากษัตริยาธิราช อาเศียรวาทธ คือพลังแผ่นดิน
สร้างทุกท้องถิ่น.........ให้มีเรี่ยวมีแรงแข็งขัน
ให้ไทยเป็นไทยทั่วกัน.........เหนือ ใต้ อีสาน นั้น
สุขสันต์ด้วยพระบารมี
ธ คือสายน้ำฉ่ำเย็น
ทุกแห่งมองเห็น.........ป่าสวยน้ำใสไหลรี่
เรือกสวนไร่นาทั่วธาตรี.........ล้วนเขียวขจี
ประชามีรอยยิ้มเอมอิ่มใจ
ธ คือแสงแห่งตะวัน
ปลุกชนจากหลับฝัน.........สู่เป็นจริงที่ยิ่งใหญ่
เศรษฐกิจพอเพียงเลี้ยงตนไป.....ไม่พะวงหลงใหล
ฝันใฝ่ไข่วคว้าจนเกินการ
ธ คือพระภูมิพลอดุลยเดช
คุ้มเกล้าปกเกศ.........ผองไทยทุกหย่อมทุกย่าน
ทรงตรากตรำลำบากยากนาน.....กว่าประเทศจะก้าวผ่าน
สู่กาลสมัยปัจจุบัน
ขอพระรัตนตรัย
และปวงเทพไท.........ถ้วนถิ่นแว่นแคว้นแดนสวรรค์
ปกปักรักษาราชัน.........ให้ทรงเกษมสันต์
ทุกวานทุกวัน นิรันดร์เทอญ.
ประภัสสร เสวิกุล ร้อยกรองถวาย
หนังสือพิมพ์ คม ชัด ลึก ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
****************
ฑีฆายุโก โหตุ มหาราชา
ขออาราธนาอำนาจคุณพระศรีรัตนตรัย
ช่วยคุ้มครององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ให้ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน มีพระพลานามัยสมบูรณ์ แข็งแรง
ทรงพระเกษมสำราญ
สถิตย์เป็นร่มโพธิ์ทองของปวงชนชาวไทยตราบนานเท่านาน
ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ
>>> F/B ราชบัลลังค์ และจักรีวงค์.
17 พฤศจิกายน 56
วันพระบิดาแห่งฝนหลวงจากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วันพระบิดาแห่งฝนหลวง ตรงกับวันที่ 14 พฤศจิกายน ของทุกปี เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระราชดำริโครงการฝนหลวงขึ้นเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2498[1] ทรงศึกษาค้นคว้าและวิจัยทางเอกสาร ทั้งด้านวิชาการ อุตุนิยมวิทยา และการดัดแปรสภาพอากาศ
ใน พ.ศ. 2499 จึงได้พระราชทาน โครงการพระราชดำริ "ฝนหลวง" ให้ ม.ล.เดช สนิทวงศ์ การรับสนองพระราชดำริได้ร่วมมือกันระหว่าง ม.ล.เดช สนิทวงศ์ ม.จ.จักรพันธ์เพ็ญศิริ จักรพันธุ์ และม.ร.ว.เทพฤทธิ์ เทวกุล ผู้เชี่ยวชาญในการวิจัยประดิษฐ์ทางด้านเกษตรวิศวกรรมของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ขณะนั้น รับไปดำเนินการศึกษา วิจัย และพัฒนากรรมวิธีการทำฝนให้บังเกิดผลโดยเร็ว ในปีถัดมา ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้หาลู่ทางที่จะทำให้เกิดการทดลองปฏิบัติการในท้องฟ้าให้เป็นไปได้[2] พระองค์ทรงเชื่อมั่นว่าวิธีการดังกล่าวนี้จะทำให้การพัฒนาระบบการจัดทรัพยากรน้ำของชาติ เกิดความพร้อมและครบบริบูรณ์ตามวัฏจักรของน้ำ คือ
1. การพัฒนาระบบ การจัดการทรัพยากรแหล่งน้ำใต้ดิน
2. การพัฒนาระบบ การจัดการทรัพยากรแหล่งน้ำผิวดิน
3. การพัฒนาระบบ การจัดการทรัพยากรแหล่งน้ำในบรรยากาศ[3]
เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2512 นับเป็นประวัติศาสตร์แห่งการทำฝนหลวงของประเทศไทย เพราะเป็นวันปฐมฤกษ์ในการปฏิบัติการทดลองทำฝนเทียมกับเมฆในท้องฟ้าเหนือภาคพื้นดิน บริเวณวนอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา โดยการใช้น้ำแข็งแห้ง (Dry-Ice) โดยที่ยอดของกลุ่มก้อนเมฆ ปรากฏว่าหลังการปฏิบัติการประมาณ 15 นาที ก้อนเมฆในบริเวณนั้นเกิดมีการรวมตัวกันอย่างหนาแน่นจนเห็นได้ชัด สังเกตได้จากสีของฐานเมฆได้เปลี่ยนจากสีขาวเป็นสีเทาเข้ม ซึ่งผลการทดลองเป็นที่น่าพอใจ เพียงแต่ยังไม่อาจควบคุมให้ฝนตกในบริเวณที่ต้องการได้ ต่อมาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานคำแนะนำเพิ่มเติมอย่างต่อเนื่อง โดยให้เปลี่ยนพื้นที่ทดลองไปยังจุดแห้งแล้งอื่นๆ เช่น ที่อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี เป็นต้น[4] ด้วยความสำเร็จของโครงการฝนหลวง จึงได้ตราพระราชกฤษฎีกาก่อตั้งสำนักงานปฏิบัติการฝนหลวงขึ้นใน พ.ศ. 2518 ในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
คณะรัฐมนตรีมีมติ เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2545 เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวให้ทรงเป็น "พระบิดาแห่งฝนหลวง" พร้อมกันนี้ได้กำหนดให้วันที่ 14 พฤศจิกายนของทุกปี เป็นวันพระบิดาแห่งฝนหลวง[5]
"...วิถีทางดำเนินของบ้านเมืองและประชาชนโดยทั่วไป
มีความเปลี่ยนแปลงมาตลอดเนื่องจากความวิปริตผันแปรของ
วิถีแห่งเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และอื่นๆ ของโลก
ยากยิ่งที่เราจะหลีกเลี่ยงให้พ้นได้ จึงต้องระมัดระวัง ประคับประคองตัวเรามากขึ้น
โดยเฉพาะในเรื่องการเป็นอยู่
โดยประหยัดเพื่อที่จะอยู่ให้รอดและก้าวหน้าต่อไปได้โดยสวัสดี..."
พระราชดำรัสของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
(เนื่องในโอกาสวันขึ้นปีใหม่ 31 ธ.ค.2521)
คุณธรรม 4 ประการ ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
พระราชทานแก่ประชาชนชาวไทย ประกอบด้วย
ประการแรก คือการรักษาความสัจ ความจริงใจต่อตัวเอง
รู้จักสละประโยชน์ส่วนน้อยของตน เพื่อประโยชน์ส่วนใหญ่ของบ้านเมือง
ประพฤติแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์และเป็นธรรม
ประการที่สอง คือการรู้จักข่มใจตนเอง
ฝึกใจตนเองให้ประพฤติปฏิบัติอยู่ในความสัจ ความดี
ประการที่สาม คือการอดทน อดกลั้น และอดออม
ไม่ประพฤติล่วงความสัจสุจริต ไม่ว่าจะด้วยเหตุประการใด
ประการที่สี่ คือการรู้จักและวางความชั่ว ความทุจริต
คุณธรรม 4 ประการนี้ ถ้าแต่ละคนพยายามปลูกฝังและบำรุงให้
เจริญงอกงามขึ้นโดยทั่วกันแล้ว จะช่วยให้ประเทศชาติบังเกิดความสุข
ความร่มเย็น และมีโอกาสที่จะ
ปรับปรุงพัฒนาให้มั่นคงก้าวหน้าต่อไปได้ดังประสงค์
พระบรมราโชวาทของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ข้าพระพุทธเจ้า ขอถวายพระพรชัยมงคล
ขอพระองค์ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน
ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ
>>> F/B ราชบัลลังค์ และจักรีวงค์.