แสงธรรมนำใจ > ใต้ร่มบารมี สดุดีราชัน

ภาพพระบรมฉายาลักษณ์/พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์"ในหลวง"ที่ประทับในดวงใจ

<< < (5/8) > >>

ฐิตา:
















ทรงพระราชปฏิสันถารกับราษฎรที่เฝ้าทูลละอองพระบาทรับเสด็จ
ในโอกาสเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมราษฎร
ณ วัดพระพุทธ ตำบลพร่อน อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส







น้อม ศิระ ณ แทบเบื้อง บาทบงสุ์
ใจ สู่ใจจำนง ทั่วถ้วน
ทั่ว ทิศจิตประสงค์ เป็นหนึ่ง
หล้า ประกาศพระเกียรติล้วน ประจักษ์ซึ้งประชาสยาม



เพื่อตอบแทนพระการุณย์ยิ่งใหญ่   ที่ทรงธรรมนำไทยให้สุขี
ขอถวายความจงรักและภักดี   แด่องค์พระภูมีด้วยดวงใจ














ข้าวรพุทธเจ้า เอามโนและศิระกราน
นบพระภูมิบาลบุญดิเรก เอกบรมจักริน
พระสยามินทร์พระยศยิ่งยง เย็นศิระเพราะพระบริบาล
ผลพระคุณ ธ รักษา ปวงประชาเป็นสุขศานต์
ขอบันดาล ธ ประสงค์ใด
จงสฤษดิ์ดัง หวังวรหฤทัย ดุจถวายชัย ชโย ".





ศิโรราบก้มกราบแทบพระบาท   
มหาราชดวงใจไทยทั่วหล้า
ด้วยซาบซึ้งตรึงใจในพระกรุณา   
เหล่าปวงข้าฯขอน้อมใจและกายถวายพระพร...

ขอพระองค์ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน...





มั่นใจว่าคนไทยทั้งประเทศ
จงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์
-http://www.facebook.com/LoyaltyToKing
-http://www.facebook.com/
pages/ชมรมคนรักพระมหากษัตริย์ของชาติไทย/226268960757242

ฐิตา:


























พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทอดพระเนตรอุปกรณ์ในห้องควบคุม
ในโอกาส เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิด   เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์

ข้าพระพุทธเจ้า ขอถวายพระพรชัยมงคล
ขอพระองค์ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ
>>> F/B ราชบัลลังค์ และจักรีวงค์.
18 พฤศจิกายน

ฐิตา:





















"....ความสุขความสวัสดีของข้าพเจ้า จะเกิดขึ้นได้ ก็ด้วยบ้านเมืองของเรา
มีความเจริญ มั่นคง เป็นปกติสุข ความเจริญมั่นคงทั้งนั้น
จะสำเร็จผลเป็นจริงไปได้
ก็ด้วยทุกคนทุกฝ่ายในชาติ มุ่งที่จะปฏิบัติหน้าที่ของตนให้เต็มกำลัง
ด้วยสติ รู้ตัว ด้วยปัญญา รู้คิด
และด้วยความสุจริตจริงใจ โดยเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมยิ่งกว่าส่วนอื่น

จึงขอให้ท่านทั้งหลายในที่นี้ ซึ่งมีตำแหน่งหน้าที่สำคัญอยู่ใน
สถาบันหลักของประเทศ และชาวไทยหมู่เหล่า
ทำความเข้าใจในหน้าที่ของตนให้กระจ่าง แล้วตั้งจิตตั้งใจให้
เที่ยงตรงหนักแน่น ที่จะปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ดีที่สุด
เพื่อให้สำเร็จประโยชน์ส่วนรวมอันไพบูลย์ คือชาติบ้านเมือง
อันเป็นถิ่นที่อยู่ที่ทำกินของเรา มีความเจริญมั่นคงยั่งยืนไป

ขออำนาจแห่งคุณพระรัตนตรัยและสิ่งศักดิ์สิทธิ์
จงคุ้มครองรักษาท่านให้ปราศจากทุกข์ ปราศจากภัย
และอำนวยสุขสิริสวัสดิ์ พิพัฒนมงคลให้สัมฤทธิผลขึ้นแก่ท่าน ทั่วหน้ากัน....."

พระราชดำรัสในการเสด็จออกมหาสมาคม
ในงานพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา พุทธศักราช ๒๕๕๒
ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย วันเสาร์ ที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๒



ฐิตา:


พระมหากษัตริย์ที่ทรงงานหนักที่สุดในโลก

มหากษัตริยาธิราช อาเศียรวาท
ธ คือพลังแผ่นดิน
สร้างทุกท้องถิ่น.........ให้มีเรี่ยวมีแรงแข็งขัน
ให้ไทยเป็นไทยทั่วกัน.........เหนือ ใต้ อีสาน นั้น
สุขสันต์ด้วยพระบารมี

ธ คือสายน้ำฉ่ำเย็น
ทุกแห่งมองเห็น.........ป่าสวยน้ำใสไหลรี่
เรือกสวนไร่นาทั่วธาตรี.........ล้วนเขียวขจี
ประชามีรอยยิ้มเอมอิ่มใจ

ธ คือแสงแห่งตะวัน
ปลุกชนจากหลับฝัน.........สู่เป็นจริงที่ยิ่งใหญ่
เศรษฐกิจพอเพียงเลี้ยงตนไป.....ไม่พะวงหลงใหล
ฝันใฝ่ไข่วคว้าจนเกินการ

ธ คือพระภูมิพลอดุลยเดช
คุ้มเกล้าปกเกศ.........ผองไทยทุกหย่อมทุกย่าน
ทรงตรากตรำลำบากยากนาน.....กว่าประเทศจะก้าวผ่าน
สู่กาลสมัยปัจจุบัน

ขอพระรัตนตรัย
และปวงเทพไท.........ถ้วนถิ่นแว่นแคว้นแดนสวรรค์
ปกปักรักษาราชัน.........ให้ทรงเกษมสันต์
ทุกวานทุกวัน นิรันดร์เทอญ.

ประภัสสร เสวิกุล ร้อยกรองถวาย
หนังสือพิมพ์ คม ชัด ลึก ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
****************




ฑีฆายุโก โหตุ มหาราชา
ขออาราธนาอำนาจคุณพระศรีรัตนตรัย
ช่วยคุ้มครององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ให้ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน มีพระพลานามัยสมบูรณ์ แข็งแรง
ทรงพระเกษมสำราญ
สถิตย์เป็นร่มโพธิ์ทองของปวงชนชาวไทยตราบนานเท่านาน

ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ
>>> F/B ราชบัลลังค์ และจักรีวงค์.
17 พฤศจิกายน 56




วันพระบิดาแห่งฝนหลวง
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วันพระบิดาแห่งฝนหลวง ตรงกับวันที่ 14 พฤศจิกายน ของทุกปี เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระราชดำริโครงการฝนหลวงขึ้นเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2498[1] ทรงศึกษาค้นคว้าและวิจัยทางเอกสาร ทั้งด้านวิชาการ อุตุนิยมวิทยา และการดัดแปรสภาพอากาศ

ใน พ.ศ. 2499 จึงได้พระราชทาน โครงการพระราชดำริ "ฝนหลวง" ให้ ม.ล.เดช สนิทวงศ์ การรับสนองพระราชดำริได้ร่วมมือกันระหว่าง ม.ล.เดช สนิทวงศ์ ม.จ.จักรพันธ์เพ็ญศิริ จักรพันธุ์ และม.ร.ว.เทพฤทธิ์ เทวกุล ผู้เชี่ยวชาญในการวิจัยประดิษฐ์ทางด้านเกษตรวิศวกรรมของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ขณะนั้น รับไปดำเนินการศึกษา วิจัย และพัฒนากรรมวิธีการทำฝนให้บังเกิดผลโดยเร็ว ในปีถัดมา ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้หาลู่ทางที่จะทำให้เกิดการทดลองปฏิบัติการในท้องฟ้าให้เป็นไปได้[2] พระองค์ทรงเชื่อมั่นว่าวิธีการดังกล่าวนี้จะทำให้การพัฒนาระบบการจัดทรัพยากรน้ำของชาติ เกิดความพร้อมและครบบริบูรณ์ตามวัฏจักรของน้ำ คือ

1. การพัฒนาระบบ การจัดการทรัพยากรแหล่งน้ำใต้ดิน
2. การพัฒนาระบบ การจัดการทรัพยากรแหล่งน้ำผิวดิน
3. การพัฒนาระบบ การจัดการทรัพยากรแหล่งน้ำในบรรยากาศ[3]

เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2512 นับเป็นประวัติศาสตร์แห่งการทำฝนหลวงของประเทศไทย เพราะเป็นวันปฐมฤกษ์ในการปฏิบัติการทดลองทำฝนเทียมกับเมฆในท้องฟ้าเหนือภาคพื้นดิน บริเวณวนอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา โดยการใช้น้ำแข็งแห้ง (Dry-Ice) โดยที่ยอดของกลุ่มก้อนเมฆ ปรากฏว่าหลังการปฏิบัติการประมาณ 15 นาที ก้อนเมฆในบริเวณนั้นเกิดมีการรวมตัวกันอย่างหนาแน่นจนเห็นได้ชัด สังเกตได้จากสีของฐานเมฆได้เปลี่ยนจากสีขาวเป็นสีเทาเข้ม ซึ่งผลการทดลองเป็นที่น่าพอใจ เพียงแต่ยังไม่อาจควบคุมให้ฝนตกในบริเวณที่ต้องการได้ ต่อมาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานคำแนะนำเพิ่มเติมอย่างต่อเนื่อง โดยให้เปลี่ยนพื้นที่ทดลองไปยังจุดแห้งแล้งอื่นๆ เช่น ที่อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี เป็นต้น[4] ด้วยความสำเร็จของโครงการฝนหลวง จึงได้ตราพระราชกฤษฎีกาก่อตั้งสำนักงานปฏิบัติการฝนหลวงขึ้นใน พ.ศ. 2518 ในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

คณะรัฐมนตรีมีมติ เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2545 เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวให้ทรงเป็น "พระบิดาแห่งฝนหลวง" พร้อมกันนี้ได้กำหนดให้วันที่ 14 พฤศจิกายนของทุกปี เป็นวันพระบิดาแห่งฝนหลวง[5]







"...วิถีทางดำเนินของบ้านเมืองและประชาชนโดยทั่วไป
มีความเปลี่ยนแปลงมาตลอดเนื่องจากความวิปริตผันแปรของ
วิถีแห่งเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และอื่นๆ ของโลก
ยากยิ่งที่เราจะหลีกเลี่ยงให้พ้นได้ จึงต้องระมัดระวัง ประคับประคองตัวเรามากขึ้น
โดยเฉพาะในเรื่องการเป็นอยู่
โดยประหยัดเพื่อที่จะอยู่ให้รอดและก้าวหน้าต่อไปได้โดยสวัสดี..."

พระราชดำรัสของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
(เนื่องในโอกาสวันขึ้นปีใหม่ 31 ธ.ค.2521)





คุณธรรม 4 ประการ ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
พระราชทานแก่ประชาชนชาวไทย ประกอบด้วย

ประการแรก คือการรักษาความสัจ ความจริงใจต่อตัวเอง
รู้จักสละประโยชน์ส่วนน้อยของตน เพื่อประโยชน์ส่วนใหญ่ของบ้านเมือง
ประพฤติแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์และเป็นธรรม

ประการที่สอง คือการรู้จักข่มใจตนเอง
ฝึกใจตนเองให้ประพฤติปฏิบัติอยู่ในความสัจ ความดี

ประการที่สาม คือการอดทน อดกลั้น และอดออม
ไม่ประพฤติล่วงความสัจสุจริต ไม่ว่าจะด้วยเหตุประการใด

ประการที่สี่ คือการรู้จักและวางความชั่ว ความทุจริต

คุณธรรม 4 ประการนี้ ถ้าแต่ละคนพยายามปลูกฝังและบำรุงให้
เจริญงอกงามขึ้นโดยทั่วกันแล้ว จะช่วยให้ประเทศชาติบังเกิดความสุข
ความร่มเย็น และมีโอกาสที่จะ
ปรับปรุงพัฒนาให้มั่นคงก้าวหน้าต่อไปได้ดังประสงค์

พระบรมราโชวาทของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

ข้าพระพุทธเจ้า ขอถวายพระพรชัยมงคล
ขอพระองค์ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน
ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ
>>> F/B ราชบัลลังค์ และจักรีวงค์.

ฐิตา:























นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

[#] หน้าถัดไป

[*] หน้าที่แล้ว

ตอบ

Go to full version