ผู้เขียน หัวข้อ: เต๋าแห่งฟิสิกส์ : บทที่ 12 จักรวาลอันเคลื่อนไหว  (อ่าน 1815 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ มดเอ๊กซ

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7167
  • พลังกัลยาณมิตร 1518
    • ดูรายละเอียด




ภาคที่ 3 ความสอดคล้อง


บทที่ 12 จักรวาลอันเคลื่อนไหว


จุดหมายสำคัญอันเป็นแกนกลางของศาสนาตะวันออกก็คือ การหยั่งรู้การที่ปรากฏทั้งมวลในโลกพิภพนี้เป็นสิ่งปรากฏแสดงของสัจธรรมสูงสุดประการเดียว สัจธรรมนี้ถือเป็นแก่นแท้ของจักรวาล รองรับและเอาสรรพสิ่งและเหตุการณ์อันหลากหลาย ซึ่งเราสังเกตเห็นได้นั้น อยู่ในเอกภาพอันหนึ่งอันเดียวกันฮินดูเรียกสิ่งนั้นว่า พรหมัน ชาวพุทธเรียกว่า ธรรมกาย (กายแห่งสัตตะ) หรือ ตถตา (ความเป็นเช่นนั้นเอง) และเต๋า สำหรับผู้นับถือลัทธิเต๋า แต่ละฝ่ายล้วนยืนยันว่าสัจธรรมดังกล่าวอยู่เหนือความคิดนึก และท้าทายต่อคำอธิบายต่าง ๆ อย่างไรก็ตาม แก่นแท้อันเป็นปรมัตถ์นี้ มิอาจแยกออกจากสิ่งปรากฏแสดงอันหลากหลายของมัน แกนกลางแห่งธรรมชาติของสัจธรรมนั้นก็คือการปรากฏแสดงออกมาในรูปลักษณ์นับหมื่นแสน ซึ่งเกิดและสลายเปลี่ยนแปลงไปสู่สิ่งอื่น ๆ โดยไม่รู้ที่สิ้นสุด ในแง่ปรากฏการณ์ของตัวมันเอง สัจแห่งเอกภพจึงเป็นสิ่งซึ่งทรงสภาพเคลื่อนไหวโดยเนื้อหา และการเข้าใจธรรมชาติแห่งการเคลื่อนไหวของเอกภพนับเป็นพื้นฐานของทุกสำนักนิกายของศาสนาตะวันออก ดี.ที. สึซึกิ ได้เขียนเกี่ยวกับนิกายคีกอน (Kegon School) แห่งพุทธศาสนาแบบมหายานไว้ว่า ความคิดสำคัญอันเป็นแกนกลางของนิกายคีกอนก็คือการเข้าใจจักรวาลในเชิงเคลื่อนไหว จักรวาลซึ่งมีลักษณะสำคัญคือเคลื่อนที่อยู่เสมอ อยู่ในภาวะแห่งการณ์เคลื่อนไหวตลอดเวลา นั้นก็คือชีวิต การสอนเน้นอยู่ที่การเคลื่อนไหว เลื่อนไหล และเปลี่ยนแปลง มิใช่เป็นลักษณะสำคัญของคำสอนของศาสนาตะวันออกเท่านั้นหากยังเป็นแง่มุมสำคัญในโลกทัศน์ของผู้สนใจในความลึกซึ้งของชีวิตตลอดทุกยุคทุกสมัย ในกรีกโบราณเฮราคลิตัสสอนว่า “ ทุกสิ่งเลื่อนไหล “ และเปรียบโลกกับไฟซึ่งดำรงอยู่ตลอดเวลาในเม็กซิโก ดอน ฮวน อาจารย์แห่งเผ่ายาคีกล่าวถึง “ โลกซึ่งลอยตัว “ และยืนยันว่า “ การจะเป็นผู้รู้นั้น “ บุคคลต้องทำตนให้เบาและเลื่อนไหลได้ ในปรัชญาอินเดีย คำสำคัญที่ชาวฮินดูและชาวพุทธใช้มักมีความหมายในเชิงเคลื่อนไหว เช่นคำว่า พรหมัน มาจากรากศัพท์ภาษาสันสกฤตว่า พฤห ( brih ) เจริญ ดังนั้น จึงแสดงความจริงซึ่งเคลื่อนไหวและมีชีวิตชีวา ราธะกฤษนันท์ ( Radhakrishnan ) กล่าวว่า “ คำว่าพรหมัน นั้นหมายถึงความเจริญเติบโต และมุ่งแสดงลักษณะแห่งชีวิต การเคลื่อนไหวและความก้าวหน้า “ คัมภีร์อุปนิษัท กล่าวถึง พรหมัน ว่าเป็น “ การเคลื่อนไหวอันไร้รูปลักษณ์และเป็นอมตะ “ ซึ่งก็สัมพันธ์กับการเคลื่อนไหวถึงแม้ว่าจะพ้นไปจากรูปลักษณ์ต่าง ๆ คัมภีร์ฤคเวท ใช้คำซึ่งแสดงลักษณะอันเคลื่อนไหวของจักรวาลว่า ฤตา ( Rita ) คำ ๆ นี้มาจากศัพท์ว่า ฤ (ri ) เคลื่อนไหว ความหมายเดิมของคัมภีร์ฤคเวทคือ “ วิถีแห่งสรรพสิ่ง “ หรือ “ โองการของธรรมชาติ “ โองการแห่งธรรมชาติในความหมายของผู้รจนาคัมภีร์พระเวทนั้นมิใช่กฏเกณฑ์อันหยุดนิ่งตายตัว แต่เป็นหลักการอันเคลื่อนไหวซึ่งสืบสายมาในจักรวาล ความคิดนี้เหมือนกับความคิดของจีนเรื่อง เต๋า – ทาง วิถีทางซึ่งจักรวาลกระทำการ นั่นคือ โองการของธรรมชาติเช่นเดียวกับผู้รจนาคัมภีร์ นักปราชญ์จีนเห็นว่าโลกมีลักษณะเลื่อนไหลและเปลี่ยนแปลง ดังนั้นจึงให้ความหมายของกฎเกณฑ์แห่งเอกภพในเชิงเคลื่อนไหวทั้งสองแนวคิด คือ ฤตา และ เต๋า ได้ถูกลดระดับลงมาจากระดับของเอกภพในความหมายเดิมสู่ระดับของมนุษย์ในเวลาต่อมา และถูกตีความในแง่ศีลธรรม ฤตาเป็นกฎของจักรวาลซึ่งเทพและมนุษย์ทั้งมวลจะต้องปฏิบัติตาม และเต๋าเป็นวิถีดำเนินแห่งชีวิตที่ถูกต้อง



12.1 องค์รวมที่มีชีวิต


แนวความคิดเรื่องฤตาในคัมภีร์พระเวทได้เกิดขึ้นก่อนความคิดเรื่อง กรรม ซึ่งถูกพัฒนาขึ้นในภายหลังเพื่อแสดงความสัมพันธ์เชิงเคลื่อนไหวของสรรพสิ่งและเหตุการณ์ทั้งหลาย กรรม หมายถึง “ การกระทำ “ และมุ่งแสดงความสัมพันธ์อย่างเคลื่อนไหวหรืออย่าง “ กระตือรือร้น “ ของปรากฎการณ์ทั้งหลาย ในคัมภีร์ภควัทคีตากล่าวไว้ว่า “ การกระทำทุกชนิดเกิดขึ้นภายใต้เงื่อนไขของกาลเวลาโดยการสานต่อของแรงต่างๆ ของธรรมชาติ “ พระพุทธเจ้าได้นำความคิดเรื่องกรรมมาใช้และให้ความหมายใหม่ โดยขยายขอบเขตความคิดในเรื่องการสอดประสานสัมพันธ์อันเป็นพลวัตนั้นสู่สภาพการณ์ของมนุษย์ ดังนั้น กรรม จึงกลายมาเป็นส่วนขยายของสายโซ่แห่งเหตุและผลอันไม่รู้สิ้นสุดของชีวิตมนุษย์ ซึ่งพระพุทธองค์ทรงหักทำลายลงได้ในการตรัสรู้ของพระองค์ ศาสนาฮินดูมีวิธีมากมายที่จะแสดงธรรมชาติอันเคลื่อนไหวของจักรวาลในภาษาของเทพปกรณัม ดังที่พระกฤษณะกล่าวไว้ใน คีตา ว่า “ หากข้าฯ ไม่ตั้งตนอยู่ในการกระทำ โลกพิภพนี้ก็จะสลายลง “ และพระศิวะ พระผู้เริงรำแห่งเอกภพดูจะเป็นบุคลาธิษฐาน แทนจักรวาลอันเคลื่อนไหวที่สมบูรณ์ที่สุด ด้วยการเริงรำของพระองค์ พระศิวะได้ทำให้ปรากฏการณ์อันหลากหลายในโลกดำเนินไป พระองค์รวมเอาทุกสิ่งไว้ในจังหวะแห่งการร่ายรำของพระองค์ นับเป็นรูปเคารพซึ่งแสดงถึงเอกภาพอันเป็นพลวัตของจักรวาลได้งดงามยิ่ง ศาสนาฮินดูได้ให้ภาพทั่วๆไป ของเอกภพว่ามีลักษณะเป็นองค์รวมที่มีชีวิต ( organic ) ขยายตัวและเคลื่อนไหวอย่างมีจังหวะ ภาพของจักรวาลที่ทุกสิ่งเป็นของไหลและเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ สิ่งซึ่งหยุดนิ่งทั้งมวลล้วนเป็น มายา อันเป็นเพียงภาพลวงตาเท่านั้น ความคิดเรื่องความไม่เที่ยงของทุกรูปลักษณ์นี้เป็นจุดเริ่มต้นของพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าทรงสอนว่า “ สังขารทั้งหลายเป็นของไม่เที่ยง “ และความทุกข์ทั้งหลายในโลกนี้เกิดจากการพยายามยึดอยู่ในรูปลักษณ์อันตายตัว ไม่ว่าจะเป็น วัตถุ บุคคล หรือความคิด แทนที่จะยอมรับการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงของโลก โลกทัศน์ ในเชิงพลวัตจึงเป็นรากฐานของพระพุทธศาสนาดังที่ปรากฏในคำกล่าวของราธะกฤษนันท์ว่า ปรัชญาแห่งการเคลื่อนไหวอันน่ามหัศจรรย์นี้ถูกสร้างขึ้นโดยพระพุทธเจ้าเมื่อ 2,500 ปีมาแลัว…ด้วยความรู้สึกต่อความไม่คงตัวของวัตถุ การกลับกายเปลี่ยนแปลงบางอย่างไม่มีที่สิ้นสุดของสิ่งต่าง ๆ พระพุทธองค์ทรงให้กำเนิดแก่ปรัชญาการเปลี่ยนแปลง พระองค์ทรงย่อยสลายสสารวัตถุ วิญญาณ อณูสิ่งต่าง ๆ ลงเป็นแรง การเคลื่อนไหว ลำดับ และกระบวนการ ทั้งสร้างแนวคิดเรื่องสัจจะในเชิงพลวัต แผนภูมิแห่งการเปลี่ยนแปลงตามแบบลัทธิเต๋า แสดงการลื่นไหลและการเปลี่ยนแปลงรูปลักษณ์อันเป็นเนื้อหาของโลกกายภาพ:ศตวรรษที่สิบเอ็ด, คัดลอกจากคัมภีร์เต๋าจัง



12.2 ผู้มาและไป


ชาวพุทธเรียกโลกแห่งการเปลี่ยนแปลงไม่รู้หยุดนี้ว่า สังสารวัฏ ซึ่งมีความหมายว่า “การเคลื่อนไหวหมุนวนอย่างไม่มีที่สิ้นสุด” และชาวพุทธยังยืนยันว่าไม่มีสิ่งใดในวังวนนี้ซึ่งมีค่าควรแก่การยึดถือ ดังนั้นผู้รู้แจ้งของชาวพุทธก็คือผู้ที่ไม่ต่อต้านการเลื่อนไหลของชีวิต หากทว่าทำตนให้คล้อยตามการเปลี่ยนแปลงนั้นเมื่อมีผู้ถามท่านอวิ่นเหมิน (Yun-,men) พระภิกษุนิกาย ธยาน ว่า ”อะไรคือเต๋า” ท่านตอบว่า “เดินต่อไป” ชาวพุทธยังเรียกพุทธองค์ว่า ตถาคต ซึ่งมีความหมายว่า “ผู้มาและไปแล้วเช่นนั้น” ในปรัชญาจีน สัจธรรมแห่งการเลื่อนไหลเปลี่ยนแปลงไม่รู้หยุดนี้เรียกกันว่า เต๋า และถือเป็นกระบวนการของเอกภาพซึ่งเกี่ยวโยงกับทุกสิ่ง เช่นเดียวกับชาวพุทธ ผู้นับถือเต๋ากล่าวว่า บุคคลไม่ควรต้านการเลื่อนไหลเปลี่ยนแปลง แต่ควรปรับเปลี่ยนการกระทำของตนให้สอดคล้องกับมันซึ่งนี่ก็คือคุณสมบัติของนักปราชญ์-ผู้รู้แจ้ง หากว่าพระพุทธเจ้าคือ “ผู้มาและไปแล้วเช่นนั้น” นักปราชญ์เต๋าคือ ผู้ซึ่ง “เลื่อนไหลในกระแสของเต๋า” ตามคำของฮวยหนั่นจื๊อ ยิ่งเราศึกษาคัมภีร์ของฮินดู พุทธ และเต๋ามากขึ้นเท่าใด เราก็ยิ่งประจักษ์ชัดเจนขึ้นว่าในทุกศาสนานั้นถือว่าโลกมีลักษณะแห่งการเคลื่อนไหว เลื่อนไหลเปลี่ยนแปลง นักปราชญ์ตะวันออกเห็นว่าจักรวาลเป็นข่ายใยอันไม่อาจแยกจากกันได้ และความเชื่อมโยงภายในข่ายในนั้น มีลักษณะ เคลื่อนไหว เติบโต และเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องเช่นเดียวกับ วิชาฟิสิกส์สมัยใหม่ก็เห็นว่าจักรวาลเป็นข่ายใยแห่งสัมพันธ์ซึ่งมีลักษณะเคลื่อนไหวโดยเนื้อหา พลวัตแห่งสสารวัตถุเกิดขึ้นในทฤษฎีควอนตัมโดยเป็นผลเนื่องมาจากคุณสมบัติความเป็นคลื่นของอนุภาคที่เล็กกว่าอะตอม และยิ่งมีความสัมพันธ์มากยิ่งขึ้นในทฤษฎีสัมพัทธภาพ ซึ่งการรวมเป็นหนึ่งเดียวของอวกาศและเวลาได้แสดงนัยที่ว่า การดำรงอยู่ของสสารวัตถุไม่อาจแยกได้จากกิจกรรมของมัน ดังนั้นคุณสมบัติของอนุภาคที่เล็กกว่าอะตอมนั้น เราจะต้องศึกษาเข้าใจในแง่การเคลื่อนไหว ในปฏิกิริยา และการเปลี่ยนแปลงของมัน ตามทฤษฎีควอนตัม อนุภาคเป็นคลื่นด้วย นี่แสดงนัยที่ว่ามันประพฤติตนในลักษณะที่ประหลาดอย่างยิ่ง เมื่อใดที่อนุภาคที่เล็กกว่าอะตอมถูกจำกัดอยู่ภายในขอบขนาดเล็ก ๆ มันจะมีปฎิกิริยาต่อการจำกัดขอบเขตนี้โดยการเคลื่อนที่ไปรอบ ๆ ยิ่งขอบเขตจำกัดนั้นมีขนาดเล็กลงมากเท่าใด อนุภาคจะยิ่ง “สั่น” เร็วขึ้นเท่านั้น พฤติกรรมของอนุภาคในลักษณะนี้เป็น “ผลแห่งควอนตัม” (Quantum Effect) ซึ่งเป็นคุณลักษณะของโลกแห่งโลกอนุภาคที่เล็กกว่าอะตอม โดยยังไม่มีสิ่งใดเปรียบเทียบให้เห็นในโลกของวัตถุที่มองเห็นได้ แนวโน้มของอนุภาคที่จะต่อต้านต่อการจำกัดขอบเขตของมันด้วยการเคลื่อนที่ แสดงให้เห็น “สภาพอันไม่หยุดนิ่ง” อันเป็นพื้นฐานของสสารวัตถุ ซึ่งเป็นลักษณะสำคัญของอนุภาคที่เล็กกว่าอะตอม ในอาณาจักรแห่งอนุภาคทั้งหลายเหล่านี้ อนุภาคของวัตถุส่วนใหญ่ถูกดึงดูดไว้กับโครงสร้างของโมเลกุล อะตอมและนิวเคลียส ดังนั้นจึงไม่หยุดนิ่ง แต่มีแนวโน้มภายในที่จะเคลื่อนที่ไป นั่นคือมันมีสภาพที่ไม่อาจหยุดนิ่งโดยเนื้อหา ดังนั้นตามทฤษฎีควอนตัมสสารวัตถุจึงไม่เคยสงบนิ่ง แต่อยู่ในสภาพที่เคลื่อนไหวอยู่เสมอ วิชาฟิสิกส์สมัยใหม่จึงมองภาพของสสารวัตถุมิใช่สิ่งซึ่งเฉื่อยชาไร้การกระทำแต่เป็นสิ่งที่มีการร่ายรำและเคลื่อนไหวสั่นสะเทือนอย่างต่อเนื่อง โดยที่จังหวะการเคลื่อนที่ของมันถูกกำหนดโดยโครงสร้างของโมเลกุล อะตอมและนิวเคลียส และนี่ก็เป็นวิธีที่นักปราชญ์ตะวันออกมองโลกแห่งวัตถุ โดยต่างเน้นให้เห็นว่าต้องเข้าใจจักรวาลในเชิงพลวัต เนื่องจากมันเคลื่อนที่ สั่นไหว และร่ายรำตลอดเวลาเน้นให้เห็นว่าธรรมชาติอยู่ในดุลยภาพอันเคลื่อนไหว มิใช่หยุดนิ่ง ในคัมภีร์ของเต๋ากล่าวไว้ว่า ความสงบนิ่งในความสงบนิ่งมิใช่ความสงบนิ่งที่แม้จริง แต่เมื่อมีความสงบนิ่งในท่ามกลางการเคลื่อนไหวเท่านั้น ท่วงทำนองแห่งจิตวิญญาณจึงปรากฏ ทั้งในสวรรค์และบนโลกพิภพ



12.3 การหมุนวนของดาราจักร


ในวิชาฟิสิกส์ เราตระหนักถึงลักษณะอันเคลื่อนไหวของจักรวาลไม่เพียงแต่ในมิติของสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก เช่น อะตอมหรือนิวเคลียสเท่านั้น แต่รวมถึงในมิติของสิ่งที่มีขนาดใหญ่ เช่นอาณาจักรแห่งดวงดาวและดาราจักร (galaxies) เราสังเกตเห็นว่าจักรวาลกำลังเคลื่อนที่ ทั้งนี้โดยอาศัยกล้องโทรทัศน์ซึ่งมีขนาดกำลังขยายมาก กลุ่มเมฆของก๊าซไฮโดรเจนหมุนเคลื่อนไปในท้องฟ้าได้รวมตัวและหดตัวลงเป็นดวงดาว ซึ่งก่อให้เกิดความร้อนขึ้นถึงจุดหนึ่ง ทำให้มันลุกไหม้ขึ้นเป็นดวงไฟในท้องฟ้า เมื่อถึงสภาวะนั้น มันก็ยังคงหมุนไป ดาวบางดวงได้สลัดเอาชิ้นส่วนของมันหลุดออกมาในอวกาศ หมุนคว้างออกไป และชิ้นส่วนเหล่านั้นได้รวมตัวเข้าเป็นดาวเคราะห์โคจรรอบ ๆ ดาวดวงนั้น ในที่สุด นับจากเวลาผ่านไปนับด้วยล้าน ๆ ปี เมื่อก๊าซไฮโดรเจนซึ่งเป็นเชื้อเพลิงนั้นส่วนใหญ่ถูกใช้หมดไป ดวงดาวก็ขยายตัวออก และแล้วก็หดตัวเข้าอีกครั้งหนึ่งด้วยอำนาจแรงโน้มถ่วง การยุบตัวนี้อาจทำให้เกิดการระเบิดอย่างรุนแรงสุดประมาณ หรืออาจทำให้ดวงดาวนั้นกลายเป็นหลุมดำ (Black Hole) ไป สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ ไม่ว่าจะเป็นการก่อตัวขึ้นเป็นดวงดาวจากกลุ่มก๊าซซึ่งลอยอยู่ระหว่างหมู่ดาว การหดตัว การขยายตัวของมันในเวลาต่อมา และการยุบตัวในท้ายที่สุด เป็นสิ่งที่เรามารถสังเกตเห็นได้ในอาณาบริเวณต่าง ๆ ในท้องฟ้า ดวงดาวซึ่งกำลังหมุนวน หดตัว ขยาย หรือระเบิดนั้น รวมกันเข้าเป็นกระจุกของดาวหรือดาราจักรในรูปร่างต่าง ๆ กัน เช่น เป็นรูปจานแบน รูปทรงกลม รูปทรงก้นหอย เป็นต้น ทุก ๆ ดาราจักรก็ไม่หยุดนิ่ง ทว่ากำลังหมุนไปรอบ ๆ ทางช้างเผือก (The Milky Way) อันเป็นดาราจักรของเรานั้นมีรูปลักษณะเป็นจานมีดวงดาวและก๊าซรวมกันอยู่อย่างหนาแน่น หมุนไปในอวกาศเช่นเดียวกับกงล้ออันมหึมา ทำให้ดวงดาว รวมทั้งดวงอาทิตย์ และดาวเคราะห์บริเวณของมันเคลื่อนตัวไปรอบ ๆ แกนกลางของดาราจักร จักรวาลประกอบขึ้นด้วยดาราจักรจำนวนมหาศาลที่กระจัดกระจายอยู่ทั่วอวกาศที่เราอาจมองเห็นได้ ทุก ๆ อันกำลังหมุนเช่นเดียวกับอาณาจักรของเรา เมื่อเราศึกษาจักรวาลโดยส่วนรวมทั้งหมดซึ่งกอปรด้วยดาราจักรนับล้านๆ อัน เราได้บรรลุถึงสัดส่วนที่ใหญ่ที่สุดของอวกาศและเวลา และในระดับของเอกภาพนี้เช่นกัน ที่เราค้นพบว่าจักรวาลนี้มิได้หยุดนิ่ง มันกำลังขยายตัว สิ่งนี้นับเป็นการค้นพบที่สำคัญในวิชาดาราศาสตร์สมัยใหม่ การวิเคราะห์แสงซึ่งมาจากดาราจักรที่อยู่ห่างไกลออกไปนั้นอย่างละเอียดลออทำให้เราทราบว่า กระจุกดาราจักรทั้งหมดกำลังขยายตัวออกอย่างสัมพันธ์กัน ความเร็วในการเคลื่อนตัวออกของดาราจักรหนึ่ง ๆ เป็นปฏิภาคโดยตรงกับระยะทางของดาราจักรนั้น ๆ ยิ่งห่างออกไปเท่าไร





12.4 อวกาศไม่แบนแต่โค้ง


เพื่อที่จะให้เข้าใจการขยายตัวของจักรวาลได้ดีขึ้น เราจะต้องระลึกถึงโครงร่างในการศึกษาเกี่ยวกับจักรวาลในระดับกว้างของไอน์สไตน์ตามทฤษฎีนี้อวกาศไม่ใช่สิ่งที่ “แบน” “แต่” “ โค้ง” และความโค้งของมันขึ้นอยู่กับการกระจายตัวของสสารวัตถุตามทฤษฎีไอน์สไตน์ นับเป็นจุดเริ่มต้นของวิทยาสมัยใหม่ เมื่อเราพูดถึงการขยายตัวของจักรวาลในโครงร่างของทฤษฎีทั่วไป เราหมายถึงการขยายตัวในมิติที่สูงกว่า เช่นเดียวกับภาพอวกาศที่โค้งตัวเราจะเข้าใจภาพการขยายตัวของจักรวาลโดยอาศัยข้อเปรียบเทียบ 2 มิติ ลองนึกถึงลูกโป่งที่มีจุดเล็ก ๆ อยู่ทั่วผิวหน้าของมัน และจุดเล็ก ๆ เหล่านั้นแทนดาราจักรซึ่งกระจายอยู่ทั่วอวกาศ เมื่อลูกโป่งถูกเป่าให้พองขึ้นระยะห่างระหว่างจุดเล็ก ๆ แต่ละจุดให้เพิ่มขึ้น ไม่ว่าคุณจะอยู่ดาราจักรใดดาราจักรอื่น ๆ ก็จะเคลื่อนออกจากคุณ คำถามเกี่ยวกับการเคลื่อนตัวของจักรวาลจะเกิดขึ้นอย่างแน่นอนทั้งหมดนี้เริ่มต้นมาได้อย่างไร จากความสัมพันธ์ระยะทางระหว่างดาราจักรและความเร็วของมัน ตามทฤษฎีของฮับเบิล (Hubble’s Law) เราก็จะคำนวณจุดเริ่มต้นของการขยายตัวได้ กับอีกนัยหนึ่งคือคำนวณอายุของจักรวาลได้ สมมติว่าไม่มีการเปลี่ยนแปลงในอัตราการขยายตัว ซึ่งแน่นอนไม่มีทางเป็นไปได้ เราจะคำนวณอายุของจักรวาลได้ประมาณ 10,000 ล้านปี ในปัจจุบันนักจักรวาลวิทยาส่วนใหญ่เชื่อกันว่าจักรวาลเริ่มต้นเมื่อ 10,000 ล้านปีที่แล้ว โดยมวลสารทั้งหมดของมันระเบิดออกมาจากลูกไฟดวงแรกซึ่งมีขนาดเล็ก การขยายตัวของจักรวาลที่ยังคงเป็นอยู่ในปัจจุบันแสดงถึงแรงระเบิดที่ยังหลงเหลืออยู่ตามแบบจำลอง หากเราต้องการจะรู้ว่าก่อนขณะนั้นเรามีอะไรเกิดขึ้นเราจะต้องเผชิญกับความยุ่งยากอย่างฉกาจฉกรรจ์ในทางความคิดและภาษาอีกครั้งหนึ่ง เซอร์เบอร์นาร์ด โลเวลส์ ได้กล่าวไว้ว่า เราได้มาถึงอุปสรรคอันมหึมาของความคิดเนื่องจากเราเริ่มต่อสู้กับความคิดเรื่องเวลาและอวกาศก่อนที่จะมีอยู่ ในความหมายอย่างที่เราประสบในประจำวันของเรา ข้าพเจ้ารู้สึกเหมือนกับว่าได้ขับรถเข้าไปในหมอกอันหนาทึบที่สุดซึ่งโลกทั้งโลกที่เคยคุ้นได้มลายไป เกี่ยวกับอนาคตของจักรวาลซึ่งกำลังขยายตัวอยู่ ต่างกันออกไปแล้วแต่แบบจำลองของจักรวาล บางแบบก็ทำนายว่าการขยายตัวจะช้าลงและในที่สุดจะหดตัวเข้า ความคิดที่ว่าจักรวาลจะขยายตัวและหดตัวสลับกันไปในช่วงระยะเวลาที่ยาวนานมากในแต่ละจังหวะ ไม่ใช่เกิดขึ้นแต่ในจักรวาลวิทยาสมัยใหม่เท่านั้น หากยังปรากฏในเทพปกรณัมของอินเดียแต่โบราณ แนวหนึ่งคือความคิดเรื่องลีลา (Lila) การแสดงแห่งสรวงสวรรค์ ซึ่งพรหมันได้จำแลงร่างเป็นโลกลีลาเป็นการแสดงหรือการละเล่นซึ่งประกอบด้วยจังหวะจะโคนแห่งการที่หนึ่งได้กลายเป็นหลากหลาย และสิ่งหลากหลายได้กลับเป็นหนึ่งในคัมภีร์ภควัทคีตา พระกฤษณะได้ตรัสถึงจังหวะแห่งการรังสรรค์นี้ว่า เมื่อสิ้นยามราตรี สรรพสิ่งกลับมาสู่ธรรมชาติข้า และเมื่อเริ่มวันใหม่ข้านำมันออกมาสู่ความสว่าง ด้วยธรรมชาติแห่งข้า ข้า เป็นเหตุแห่งการรังสรรค์ทั้งมวล และมันก็หมุนไปในวงเวียนแห่งเวลา แต่ข้าไม่ผูกยึดอยู่กับงานสร้างสรรค์อันใหญ่หลวงนี้ ข้า เป็น และ ข้าเฝ้าดูการดำเนินแห่งการงานนั้น ท่านเหล่านั้นให้ภาพของจักรวาลซึ่งขยายตัวและหดตัวสลับกันไป และเรียกระยะเวลาระหว่างการเริ่มต้นและสิ้นสุดของการรังสรรค์ครั้งหนึ่ง ๆ อันเป็นเวลายาวนานเกินกว่าที่จะจินตนาการ จากขอบเขตที่กว้างไพศาลแห่งจักรวาล ซึ่งการขยายตัว ขอให้เราย้อนกลับมาสู่โลกของสิ่งที่เล็กอย่างไม่อาจประมาณได้ อาณาจักรของอะตอม นิวเคลียสและส่วนประกอบของมันการสืบค้นอย่างจริงจัง ได้ส่งผลเปลี่ยนแปลงทัศนของเราในเรื่องสสารวัตถุหลายประการ เรากำลังเกี่ยวข้องกับมิติซึ่งเล็กกว่าอะตอมหลายแสนเท่าซึ่งในอนุภาคขนาดที่เล็กเช่นนี้เคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูงมาก จำเป็นต้องใช้โครงร่างซึ่งเกี่ยวข้องกับทฤษฎีควอนตัมและทฤษฎีสัมพัทธภาพและด้วยทฤษฎีสัมพัทธภาพนี้เองที่ทำให้เราจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนทัศนะที่เกี่ยวกับสสารวัตถุของเราอีกครั้ง



12.5 มวลสารเป็นพลังงาน

ตัวอย่างที่สำคัญที่สุดก็คือสมการของไอน์สไตน์ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดี E=mc2 แสดงความสัมพันธ์ของพลังงานและมวลสารซึ่งเป็น2แนวคิดที่ดูเหมือนว่าไม่น่าจะสัมพันธ์กันได้ พลังงานคือความสามารถในการทำงานเช่นเมื่อเราต้มน้ำให้เดือดเราต้องอาศัยพลังงานความร้อนที่อาจเปลี่ยนแปลงมาจากพลังงานไฟฟ้าหรือพลังงานเคมี และความสำคัญขั้นพื้นฐานของมันอยู่ที่ข้อเท็จจริงที่ว่าพลังทั้งหมดที่เกี่ยวข้องในกระบานการหนึ่ง นั้นจะต้องไม่สูญหายมันอาจจะเปลี่ยนรูปด้วยกลวิธีที่ซับซ้อนและยังไม่เคยมีสิ่งที่อยู่นอกกฎนี้ปรากฏขึ้น ในปัจจุบันทฤษฎีสัมพัทธภาพได้บอกเราว่ามวลสารไม่ใช่อื่นใดนอกจากพลังงาน ตัวอย่างเช่นพลังงานที่มีในอนุภาค (E) ย่อมเท่ากับมวลสารของอนุภาค (m) คูณด้วยความเร็วของแสงยกกำลังสอง (c2) แต่ทว่ามันอาจจะถูกเปลี่ยนไปเป็นรูปอื่น ๆ ของพลังงาน ลักษณะดังกล่าวจะเกิดขึ้นเมื่ออนุภาคชนกัน พลังงานจลน์นี้จะแบ่งเฉลี่ยไปให้แก่อนุภาคตัวอื่นซึ่งเกี่ยวข้องกับการชนกันนี้ พลังงานจลน์ของมันอาจถูกใช้ไปในการสร้างมวลของอนุภาคตัวใหม่ การค้นพบระหว่างมวลสารเป็นพลังงานรูปหนึ่งได้ทำให้เราต้องปรับเปลี่ยนความคิดของเราในเรื่องอนุภาคไปในทางที่ถูกต้องมากยิ่งขึ้น และดังนั้นอนุภาคจึงไม่ถูกถือว่าประกอบด้วย ”ก้อน” พื้นฐานใด ๆ อย่างไรก็ตามเนื่องจากพลังงานเกี่ยวเนื่องกับกิจกรรมและกระบวนการดังนั้นมันจึงแสดงนัยที่ว่าธรรมชาติของอนุภาคที่เล็กกว่าอะตอม เราระลึกเสมอว่าจะต้องนึกถึงในแง่สัมพัทธ์กล่าวคือในกรอบโครงร่างของอวกาศและเวลาได้หลอมรวมเป็นสภาพต่อเนื่อง4มิติ แต่จะมองเป็นวัตถุในสภาพ 4 มิติแห่กาลอวกาศ อนุภาคซึ่งเล็กกว่าอะตอมเป็นแบบแผนอันเคลื่อนไหวมีทั้งในด้านอวกาศและเวลา ในด้านอวกาศทำให้มันปรากฏเป็นวัตถุมีมวลสารที่แน่นอนอันหนึ่ง แบบแผนอันเป็นพลวัตหรือ กลุ่มพลังงาน เหล่านี้ก่อรูปขึ้นเป็นโครงสร้างของนิวเคลียส อะตอม และโมเลกุลที่คงตัวตามลำดับ จนถึงสสารวัตถุที่ดูแข็งแรงถาวร จึงทำให้เราเชื่อว่ามันประกอบด้วยสสารขนาดเล็กอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยทั่วไปความคิดเช่นนี้ดูใช้ได้ แต่ในระดับของอะตอมแล้วมันใช้ไม่ได้อะตอมประกอบขึ้นจากอนุภาคก็จริงทว่าอนุภาคเหล่านี้ มิได้ประกอบด้วยก้อนสสารอันใดอันหนึ่ง เราไม่เคยเห็นส่วนประกอบใด ๆ ของมัน แบบแผนแห่งการเคลื่อนไหวที่เปลี่ยนแปลงกลับไปกลับมาอย่างต่อเนื่องเป็นระบำแห่งพลังงานเคลื่อนไหวต่อเนื่องกันไป ทฤษฎีควอนตัมได้แสดงให้เราเห็นว่า อนุภาคมิได้เป็นเมล็ดแห่งสสารแยกโดดเดี่ยวโดยลำพัง ทว่าเป็นแบบแผนแห่งความอาจเป็นไปได้ เป็นความเชื่อมโยงสัมพันธ์ภายในข่ายใยแห่งเอกภพที่ไม่อาจแบ่งแยก อาจจะกล่าวได้ว่าทฤษฎีสัมพัทธภาพได้ทำให้แบบแผนดังกล่าวเหล่านี้มีชีวิตขึ้น โดยแสดงให้เห็นถึงลักษณะการเคลื่อนไหว การดำรงอยู่ของสสารวัตถุและกิจกรรมของมันไม่อาจแยกออกจากกันได้ มันเป็นเพียงคนละแง่มุมของความจริง นักปราชญ์ตะวันออกในสภาวะแห่งสำนึกพิเศษได้หยั่งรู้สอดประสานสัมพันธ์ของกาละและเทศะ โดยเฉพาะในพระพุทธศาสนาซึ่งปรากฏคำสอนที่สำคัญประการหนึ่งไว้ว่า สังขารทั้งหลายเป็นของไม่เที่ยงคำว่าสังขารนั้นชั้นต้นหมายถึง เหตุการณ์ หรือสิ่งที่เกิดขึ้นและยังอาจหมายถึงการกระทำ ความประพฤติในชั้นที่สองหมายถึงสิ่งที่คงอยู่นี้แสดงให้เห็นว่าชาวพุทธมองวัตถุในเชิงเคลื่อนไหวเป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงอันไม่จบสิ้น ชาวพุทธมองเห็นวัตถุทุกชนิดเป็นกระบวนการร่วมในการเปลี่ยนแปลงของจักรวาลและปฏิเสธความคงอยู่ของสสารใด ๆ
 
               
คัดลอกจาก ::
http://www.rit.ac.th/homepage-sc/charud/scibook/tao%20of%20physics
" มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

เกอเธ่...

ออฟไลน์ แก้วจ๋าหน้าร้อน

  • สิ่งใดคือธรรมะ สิ่งนั้นย่อมดีแล้วสูงสุด
  • ทีมงานกวาดลานดิน
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 6503
  • พลังกัลยาณมิตร 1741
  • ธรรมะอวยพรความดีคุ้มครอง
    • kaewjanaron
    • facehot
    • ดูรายละเอียด
    • ใต้ร่มธรรม
 :45: ขอบคุณครับพี่มด
การโพสภาพโดยใช้เว็บฝากไฟล์ภาพ imageshack.us/ (เว็บกบ)
การปรับแต่งห้องสมาชิกไร้ขีดจำกัด Ultimate Profile + ห้องเพลงส่วนตัว
การตั้งกระทู้และการโพสกระทู้ในเว็บใต้ร่มธรรมครับ
การแก้ไข้ข้อมูล ชื่อ ระหัส ส่วนตัวของสมาชิกใต้ร่มธรรมครับ
การใส่รูปประจำตัวเรา Avatar รวมทั้งลายเซ็นต์ ในกระทู้หรือโพสของเราครับ
เพิ่มไอคอน ทวิสเตอร์ เฟชบุ๊ค ยูทูบ ในโปรโปรไฟล์ของเรา
การสร้างอัลบั้มภาพส่วนตัวในห้องสมาชิก Profile Pictures
การเพิ่มเพื่อน กัลยาณมิตรใต้ร่มธรรม ในห้องสมาชิกส่วนตัว
การดูกระทู้ทั้งหมดที่เรายังไม่ได้อ่านครับ
โค้ดสี bb color code ไว้สำหรับโพสกระทู้ครับ
*วิธีเคลียร์แคชในทุกเว็บเบราว์เซอร์ครับ เมื่อคอมอืด*

ห้องประชุมของทีมงาน
~ธรรมะอวยพรความดีคุ้มครองครับ~