ประชาสัมพันธ์ > ประชาสัมพันธ์ทางธรรม

ชมรมพระวังหน้า เพื่อพระวังหน้าและงานบุญต่างๆ

<< < (28/114) > >>

sithiphong:
ฮือฮาพระพุทธรูปโบราณจากอัฟกานิสถานกว่า 2พันปี
วันพฤหัสบดีที่ 8 มีนาคม 2555 เวลา 16:47 น.



วันนี้ (8 มี.ค. ) ที่ศูนย์ประชุมองค์การสหประชาชาติ(ยูเอ็น) มีการจัดบรรยายวิชาการพระพุทธศาสนา  โดยเชิญนายเซมาร์ยาไล ทาร์ซี ศาสตราจารย์ด้านโบราณคดีตะวันออก มหาวิทยาลัยสตาร์บูรก์ ประเทศฝรั่งเศส ผู้ค้นพบพระพุทธรูปยืนองค์ใหญ่ที่สุดในโลกที่บามิยัน ประเทศอัฟกานิสถาน ก่อนที่จะมีการถูกทำลาย  และนายริชาร์ด ซาโลมอน ผู้เชี่ยวชาญด้านศิลาจารึกและคัมภีร์โบราณ ภาษาสันสกฤต ปรากฤต และคันธารี มหาวิทยาลัยวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา มาเป็นวิทยากรในการบรรยาย

พระอนิลมาน ธมฺมสากิโย รองคณบดีคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย(มมร.) กล่าวว่า การบรรยายในครั้งนี้มีการพูดถึงธรรมเจดีย์ คัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา อายุกว่า 2,500 ปี ที่มีการค้นพบภายหลังที่มีการทำลายพระพุทธรูปที่บามิยัน ซึ่งทางนายริชาร์ด ยืนยันว่าข้อความในคัมภีร์พระพุทธศาสนานั้นมีรายละเอียดหลักเหมือนในพระไตรปิฎก และเป็นเครื่องยืนยันว่าพระไตรปิฎกทั่วโลกไม่ว่าจะเป็นภาษาใดล้วนมีเนื้อหาหลักที่เหมือนกันจะต่างกันตรงภาษาเท่านั้น
 

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การจัดงานดังกล่าวได้นำพระพุทธโบราณที่มีอายุมากกว่า 2,000 ปี มาจัดแสดงด้วย โดยนายสัณฐิภูมิ์ คันธาระคุปต์ นักสะสมของเก่า เจ้าของพระพุทธรูป กล่าวว่า พระพุทธรูปดังกล่าวเป็นศิลปะแกรนดารา ที่มีอายุมากกว่า 2,000 ปี ซึ่งศิลปะแกรนดาราถือเป็นศิลปะในยุคแรกของโลกที่เริ่มการสร้างพระพุทธรูป โดยศิลปะแนวนี้จะสร้างพระพุทธรูปในลักษณะเหมือนคนจริงๆ ต่างจากการสร้างพระพุทธรูปในปัจจุบันที่จะสร้างในลักษณะคล้ายเทพ  ในประเทศไทยมีเพียง 2 คนเท่านั้น ที่มีพระพุทธรูปลักษณะนี้ โดยพระพุทธรูปองค์นี้ตนได้พบในขณะเดินทางไปยังประเทศศรีลังกา และประเทศอัฟกานิสถาน เมื่อ 20 ปีที่แล้ว โดยระหว่างที่เดินทางไปยังช่วงรอยต่อประเทศอัฟกานิสถานและปากีสถานได้พบพระพุทธรูปนี้โดยบังเอิญเนื่องจากมีชาวมุสลิมนำมาวางขาย ตนจึงติดต่อขอซื้อมา และอัญเชิญมาประดิษฐานในพิพิธภัณฑ์ส่วนตัวของตนในประเทศไทย 
 

นายสัณฐิภูมิ์ กล่าวต่อไปว่า จากการศึกษาข้อมูลศิลปะในการสร้างพระพุทธรูป วัสดุที่ใช้ และนำไปเทียบเคียงกับพระพุทธรูปที่มีการค้นพบในบริเวณใกล้เคียงกับพื้นที่ที่มีการค้นพบพระพุทธรูปองค์นี้ ทำให้ยืนยันได้ว่าพระพุทธรูปองค์นี้มีอายุมากกว่า 2,000 ปี แน่นอน ทั้งนี้การที่ตนนำพระพุทธรูปองค์ดังกล่าว มาจัดแสดงภายในงานบรรยายนี้เพราะเห็นว่า เป็นงานสำคัญที่ฉลองพุทธชยันตี 2,600 ปีแห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ซึ่งถือเป็นครั้งแรกที่ตนนำออกมาเปิดเผยต่อสาธารณชน และเนื่องจากในปีนี้เป็นปี พุทธชยันตี หากหน่วยงานไหนต้องการที่จะอัญเชิญพระพุทธรูปองค์ดังกล่าวมาให้พุทธศาสนิกชนได้สักการะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งวันวิสาขบูชาที่จะมาถึงประสานตนได้

-http://www.dailynews.co.th/education/16410-

http://www.dailynews.co.th/education/16410

.






sithiphong:
ธาตุเจดีย์ กับอุเทสิกเจดีย์

คอลัมน์ คติ-สัญลักษณ์
ชวพงศ์ ชำนิประศาสน์



เจดีย์ลักษณะนี้ เป็นเจดีย์ที่มีลักษณะรูปแบบพิเศษ คือมีแกนหลักเป็นธาตุเจดีย์ที่มีลักษณะสี่เหลี่ยมหรือสี่ทิศ และแต่ละทิศจะมีพระพุทธรูปคือ อุเทสิกเจดีย์ประทับอยู่

คติ สัญลักษณ์ของพระพุทธรูป ทั้งสี่ทิศ มี 2 คติ คือ

รูปแบบที่ 1 เป็นสัญลักษณ์ของพระพุทธเจ้า 4 พระองค์ที่ปรากฏขึ้นในภัทรกัปหรือสมัยที่โลกจะมีพระพุทธเจ้าติดต่อกัน 5 พระองค์

รูปแบบที่ 2 เป็นสัญลักษณ์ของอิริยาบถ 4 นอน นั่ง ยืน เดิน ของพระพุทธเจ้าที่ได้แสดงธรรมในอิริยาบถทั้ง 4

ในรูปแบบที่ 1 มีธาตุเจดีย์เป็นแกนหลัก มีพระพุทธรูปประจำอยู่ทั้ง 4 ทิศ ซึ่งสอด คล้องกับคติของพุทธศาสนาฝ่ายมหายานที่มีพระพุทธเจ้าในรูปแบบของสัมโภคกาย ประจำอยู่ในพุทธเกษตรทั้ง 4 ทิศ

ความหมายหรือคติสัญลักษณ์ที่แปลความรู้หรือรูปแบบของพระพุทธรูปทั้ง 4 ทิศ ก็คือ พระพุทธรูปทางทิศเหนือ ฝ่ายเถรวาทนาม กกุสันโธ ฝ่ายมหายานนาม อโมฆสิทธิ์ หมายถึงผู้มีความสำเร็จอันสมบูรณ์คือ การปฏิบัติธรรมจนพ้นไปจากโลก พ้นไปจากทุกข์ สิ้นสุดการกระทำที่จะทำให้เกิดทุกข์อีก

พระพุทธรูปทางทิศตะวันออก ฝ่ายเถรวาทนาม โกนาคม ฝ่ายมหายานนาม อักโษภยะ หมายถึง พระผู้ไม่หวั่นไหว นั่นคือ เมื่อพ้นไปจากโลกไปจากทุกข์ทั้งปวงแล้ว ก็แปลความไม่หวั่นไหวในทุกข์ไม่ปรากฏใดๆ อีกต่อไป

พระพุทธรูปทางทิศใต้ ฝ่ายเถรวาทนาม กัสสปะ ฝ่ายมหายานนาม รัตนสัมภวะ แปลว่า ผู้มีกำเนิดอันประเสริฐ ก็คือผู้พ้นไปจากทุกข์เพราะไม่มีสิ่งใดประเสริฐไปจากการพ้นทุกข์

พระพุทธรูปทางทิศตะวันตก ฝ่ายเถรวาท นาม สมณโคดม ฝ่ายมหายานนาม อมิตพุทธหรือ อมิตยุส แปลว่า ผู้มีรัศมีอันหาที่สุดมิได้ คือ มีปัญญาอันรู้แจ้ง แทงตลอดความจริงคือ อริยสัจ ย่อมพ้นไปจากโลก จากทุกข์ทั้งปวง

รูปแบบที่ 2 ที่พบเห็นกันในประเทศไทยคือ ปาง 4 อิริยาบถทั้ง 4 ที่ประดิษฐานอยู่ที่ธาตุเจดีย์ทั้ง 4 ทิศนั่น คติและสัญลักษณ์จะต่างไปจากรูปแบบที่กล่าวข้างต้น

ในรูปแบบของอุเทสิกเจดีย์ที่เป็นรูปอิริยาบถ 4 นั้น จากวัดพระสี่อิริยาบถ จ.กำแพงเพชร ซึ่งเป็นศิลปะสุโขทัย

ในปางประทับยืนนั้นเรียกว่า ปางประทานอภัย ในพระพุทธประวัติกล่าวว่า เป็นปางที่พระพุทธเจ้าประทานอภัยแก่พระเจ้าอชาตศัตรูที่ขออภัยที่ได้ส่งนายขมังธนูไปปลงพระชนม์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า คติและสัญลักษณ์ก็คือการให้อภัยต่อผู้อื่นเป็นบุญกุศลอย่างยิ่ง

ปางลีลา ในพุทธประวัติกล่าวถึงพระสิริงดงามของพระพุทธเจ้าเมื่อเดินมาถึงประตูเมืองสังกัสสะนคร ที่พระสารีบุตรประทับอยู่ พระสิริงดงามของพระองค์ ครอบงำรัศมีเทวดาและพรหมทั้งปวง แต่ในอีกความหมายหมายถึง พระกรุณาคุณของพระพุทธเจ้าที่ได้เสด็จจารึกไปเผยแผ่พระธรรมแก่ผู้คนในแว่นแคว้นต่างๆ

ปางอิริยาบถนั่ง โดยทั่วไปพระพุทธรูปในอิริยาบถนั่งนี้มีมากมายหลายปาง โดยมีความหมายคติธรรมในเรื่องแตกต่างกัน เป็น ปางสมาธิ คือ ประทับนั่งพระหัตถ์ (มือ) ประสานกันบนตัก หมายถึงการเข้าสมาธิหรือการตรัสรู้ของพระ พุทธเจ้า ปางมารวิชัย ก็หมายถึงการแสดงที่หมายถึงการหลุดพ้นไปจากโลก จากมาร เป็นต้น

ส่วนปางไสยาสน์ หรือที่เรียกกันว่าพระนอน เพิ่งกล่าวถึงเมื่อสัปดาห์ก่อน

ในคติและความหมายของพระ 4 อิริยาบถนั้น จุดมุ่งหมายของผู้สร้างคงเน้นให้เห็นถึงการแสดงธรรมในโอกาสต่างๆ กันของพระพุทธเจ้า ซึ่งจะใช้พระอิริยาบถนั้นแสดงความหมายของธรรมนั้นๆ

-http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROb1lYQXdOREV4TURNMU5RPT0=&sectionid=TURNeE53PT0=&day=TWpBeE1pMHdNeTB4TVE9PQ==-

http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROb1lYQXdOREV4TURNMU5RPT0=&sectionid=TURNeE53PT0=&day=TWpBeE1pMHdNeTB4TVE9PQ==

.



sithiphong:
คำบูชาพระอานนท์เถระเจ้า

นโม. 3 จบ

อิติปิโสภะคะวา อานันโท จักรวาโล นะมามิหัง

(บทนี้ อ.วันชัย เป็นผู้บอกผมมาครับ)

แก้วจ๋าหน้าร้อน:
อนุโมทนาสาธุครับพี่หนุ่ม  :13:

sithiphong:
พระสมเด็จ บางขุนพรหม พิมพ์นาคปรก


.

นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

[#] หน้าถัดไป

[*] หน้าที่แล้ว

ตอบ

Go to full version