ผู้เขียน หัวข้อ: ชมรมพระวังหน้า เพื่อพระวังหน้าและงานบุญต่างๆ  (อ่าน 357978 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 4 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๘ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๘
ปริวาร
กฐินเภท

ว่าด้วยกฐินไม่เป็นอันกรานเป็นต้น

[๑๑๒๔] กฐินใครไม่ได้กราน? กฐินใครได้กราน? กฐินไม่เป็นอันกรานด้วยอาการอย่างไร? กฐินเป็นอันกรานด้วยอาการอย่างไร?



กฐินไม่เป็นอันกราน

[๑๑๒๕] คำว่า กฐินใครไม่ได้กราน นั้น ความว่า กฐิน บุคคล ๒ พวก คือภิกษุผู้ไม่ได้กราน ๑ ภิกษุผู้ไม่อนุโมทนา ๑ ไม่เป็นอันกรานกฐิน บุคคล ๒ พวกนี้ ไม่เป็น อันกราน.



กฐินเป็นอันกราน

[๑๑๒๖] คำว่า กฐินใครได้กราน นั้น ความว่า กฐิน บุคคล ๒ พวกนี้ คือภิกษุผู้กราน ๑ ภิกษุผู้อนุโมทนา ๑ เป็นอันกราน กฐิน บุคคล ๒ พวกนี้ เป็นอันกราน.



เหตุที่กฐินไม่เป็นอันกราน

[๑๑๒๗] คำว่า กฐินไม่เป็นอันกรานด้วยอาการอย่างไร นั้น คือ กฐินไม่เป็นอันกรานด้วยอาการ ๒๔ คือ:-
๑. กฐินไม่เป็นอันกราน ด้วยอาการเพียงขีดรอย
๒. กฐินไม่เป็นอันกราน ด้วยอาการเพียงซักผ้า
๓. กฐินไม่เป็นอันกราน ด้วยอาการเพียงกะผ้า
๔. กฐินไม่เป็นอันกราน ด้วยอาการเพียงตัดผ้า
๕. กฐินไม่เป็นอันกราน ด้วยอาการเพียงเนาผ้า
๖. กฐินไม่เป็นอันกราน ด้วยอาการเพียงเย็บด้น
๗. กฐินไม่เป็นอันกราน ด้วยอาการเพียงทำลูกดุม
๘. กฐินไม่เป็นอันกราน ด้วยอาการเพียงทำรังดุมให้มั่น
๙. กฐินไม่เป็นอันกราน ด้วยอาการเพียงประกอบผ้าอนุวาต
๑๐. กฐินไม่เป็นอันกราน ด้วยอาการเพียงประกอบผ้าอนุวาตด้านหน้า
๑๑. กฐินไม่เป็นอันกราน ด้วยอาการเพียงดามผ้า
๑๒. กฐินไม่เป็นอันกราน ด้วยอาการเพียงย้อมเป็นสีหม่น
๑๓. กฐินไม่เป็นอันกราน ด้วยอาการเพียงผ้าที่ทำนิมิตได้มา
๑๔. กฐินไม่เป็นอันกราน ด้วยผ้าที่พูดเลียบเคียงได้มา
๑๕. กฐินไม่เป็นอันกราน ด้วยผ้าที่ยืมเขามา
๑๖. กฐินไม่เป็นอันกราน ด้วยผ้าที่เก็บไว้ค้างคืน
๑๗. กฐินไม่เป็นอันกราน ด้วยผ้าที่เป็นนิสสัคคิยะ
๑๘. กฐินไม่เป็นอันกราน ด้วยผ้าที่มิได้ทำกัปปะพินทุ
๑๙. กฐินไม่เป็นอันกราน เว้นผ้าสังฆาฏิ
๒๐. กฐินไม่เป็นอันกราน เว้นผ้าอุตราสงค์
๒๑. กฐินไม่เป็นอันกราน เว้นผ้าอันตรวาสก
๒๒. กฐินไม่เป็นอันกราน เว้นจีวรมีขันธ์ ๕ หรือเกินกว่า ๕ ซึ่งตัดดีแล้ว ทำให้มีมณฑล เสร็จในวันนั้น
๒๓. กฐินไม่เป็นอันกราน นอกจากบุคคลกราน
๒๔. กฐินไม่เป็นอันกรานโดยชอบ ถ้าภิกษุผู้อยู่นอกสีมา อนุโมทนากฐินนั้นกฐินไม่เป็นอันกราน แม้ด้วยอาการอย่างนี้.



อธิบายเหตุที่ไม่ได้กรานบางข้อ

[๑๑๒๘] ที่ชื่อว่า ทำนิมิต คือ ภิกษุทำนิมิตว่า เราจักกรานกฐินด้วยผ้าผืนนี้.ที่ชื่อว่า พูดเลียบเคียง คือ ภิกษุพูดเลียบเคียงด้วยคิดว่า จักยังผ้ากฐินให้เกิดด้วย การพูดเลียบเคียงนี้.
ผ้าที่ทายกไม่ได้หยิบยกให้ เรียกว่าผ้ายืมเขามา.
ที่ชื่อว่า ผ้าเก็บไว้ค้างคืน มี ๒ อย่าง คือ ผ้าทำค้างคืน ๑ ผ้าเก็บไว้ค้างคืน ๑.
ที่ชื่อว่า ผ้าเป็นนิสสัคคิยะ คือ ภิกษุกำลังทำอยู่ อรุณขึ้นมา.
กฐินไม่เป็นอันกราน ด้วยอาการ ๒๔ อย่างนี้.



เหตุที่กฐินเป็นอันกราน

[๑๑๒๙] คำว่า กฐินเป็นอันกราน ด้วยอาการอย่างไร นั้น ความว่า กฐินย่อมเป็นอันกรานด้วยอาการ ๑๗ อย่าง ดังต่อไปนี้
๑. กฐินเป็นอันกราน ด้วยผ้าใหม่
๒. กฐินเป็นอันกราน ด้วยผ้าเทียมใหม่
๓. กฐินเป็นอันกราน ด้วยผ้าเก่า
๔. กฐินเป็นอันกราน ด้วยผ้าบังสุกุล
๕. กฐินเป็นอันกราน ด้วยผ้าตกตามร้าน
๖. กฐินเป็นอันกราน ด้วยผ้าที่ไม่ได้ทำนิมิตได้มา
๗. กฐินเป็นอันกราน ด้วยผ้าที่ไม่ได้พูดเลียบเคียงได้มา
๘. กฐินเป็นอันกราน ด้วยผ้าที่ไม่ได้ยืมเขามา
๙. กฐินเป็นอันกราน ด้วยผ้าที่มิได้เก็บไว้ค้างคืน
๑๐. กฐินเป็นอันกราน ด้วยผ้าที่มิได้เป็นนิสสัคคิยะ
๑๑. กฐินเป็นอันกราน ด้วยผ้าทำกัปปะพินทุแล้ว
๑๒. กฐินเป็นอันกราน ด้วยผ้าสังฆาฏิ
๑๓. กฐินเป็นอันกราน ด้วยผ้าอุตราสงค์
๑๔. กฐินเป็นอันกราน ด้วยผ้าอันตรวาสก
๑๕. กฐินเป็นอันกราน ด้วยจีวรมีขันธ์ ๕ หรือเกินกว่า ซึ่งตัดดีแล้วทำให้มีมณฑลเสร็จในวันนั้น
๑๖. กฐินเป็นอันกราน เพราะบุคคลกราน
๑๗. กฐินเป็นอันกรานโดยชอบ ถ้าภิกษุผู้อยู่ในสีมา อนุโมทนากฐินนั้น
กฐินเป็นอันกราน แม้ด้วยอาการอย่างนี้ กฐินเป็นอันกราน ด้วยอาการ ๑๗ อย่างนี้.



ธรรมที่เกิดพร้อมกัน

[๑๑๓๐] ถามว่า ธรรมเท่าไร ย่อมเกิดพร้อมกับการกรานกฐิน?
ตอบว่า ธรรม ๑๕ อย่าง ย่อมเกิดพร้อมกับการกรานกฐิน คือ มาติกา ๘ ปลิโพธ ๒ อานิสงส์ ๕ ธรรม ๑๕ อย่างนี้ ย่อมเกิดพร้อมกับการกรานกฐิน.


เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๘ บรรทัดที่ ๑๐๑๐๐ - ๑๐๑๗๓. หน้าที่ ๓๘๗ - ๓๙๐.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka1/v.php?B=8&A=10100&Z=10173&pagebreak=0
สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๘
http://www.84000.org/tipitaka/read/?สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่_๘
http://www.84000.org/tipitaka/read/?index_8



-http://watkaokrailas.igetweb.com/index.php?mo=3&art=41907064-

.
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
บุญกฐิน
รวบรวมและเรียบเรียงโดย :
พระมหา ดร.วรัญญู วรญฺญู
ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดปากน้ำ กทม.
คำว่า “กฐิน” เป็นคำที่คุ้นหูในสังคมไทย เป็นชื่อของประเพณีบุญที่นิยมกันในระยะเวลา ๑ เดือน โดยเริ่มต้นที่วันถัดจากวันออกพรรษาไปถึงวันลอยกระทง ถือเป็นประเพณีบุญที่สำคัญของสังคมไทยมาแต่โบราณ
แต่อย่างไรก็ตาม ชีวิตและสังคมที่เร่งรีบในปัจจุบัน ได้ส่งผลกระทบมาถึงประเพณีการทอดกฐิน ให้กลายเป็นประเพณีที่เร่งรีบ และทำให้เกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนไปจากความประสงค์ที่แท้จริงของประเพณีดังกล่าว ทั้งอาจจะทำให้ไม่ได้บุญจากการทอดกฐินเลยก็ได้ แล้วทำอย่างไรให้ได้บุญจากการทอดกฐิน นั่นคือประเด็นที่มุ่งหมายของบทความนี้

ความหมาย
คำว่า กฐิน คำนี้ มาจากภาษาบาลีแปลว่า "ไม้สะดึง" หรือ "กรอบไม้ที่ใช้สำหรับขึงผ้าให้ตึง เพื่อประโยชน์ในการตัดเย็บ"

ในทางพระพุทธศาสนา คำว่า กฐิน ใช้ใน ๒ ความหมาย คือ
๑. เป็นชื่อผ้า และสังฆกรรม หรือ พิธีกรรมของสงฆ์
๒. เป็นชื่อการทำบุญของชาวพุทธ โดยมีผ้าเป็นสื่อกลาง

มีอรรถาธิบายเพื่อความเข้าใจเพิ่มเติม ในทั้งสองกรณี ดังนี้
กรณีแรก กฐิน เป็นชื่อของผ้าที่ถวายพระสงฆ์ให้เป็นกฐิน ภายในกำหนดกาล ๑ เดือน นับตั้งแต่วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒
ผ้าที่จะถวายนั้นจะเป็นผ้าใหม่ ผ้าฟอกสะอาด ผ้าเก่า ผ้าบังสุกุล (ผ้าที่เขาทิ้งแล้ว) หรือผ้าที่ขายตามท้องตลาดก็ได้ ผู้ถวายจะเป็นคฤหัสถ์หรือเป็นพระภิกษุสามเณรก็ได้ ถวายแก่พระสงฆ์แล้วก็เป็นอันใช้ได้ จากนั้น พระสงฆ์จะต้องทำสังฆกรรม หรือขั้นตอนพิธีทางสงฆ์ มีการสวดประกาศขอรับความเห็นชอบจากที่ประชุมสงฆ์ ในการมอบผ้ากฐินให้แก่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง และอนุโมทนากฐินเป็นขั้นตอนสุดท้าย
กรณีที่สอง กฐิน เป็นชื่อของบุญกิริยา หรือ การทำบุญ ด้วยการถวายผ้ากฐินเป็นทานแก่พระสงฆ์ผู้จำพรรษาอยู่ในวัดใดวัดหนึ่งครบ ๓ เดือน เพื่อสงเคราะห์ผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบให้มีผ้านุ่งหรือผ้าห่มใหม่ จะได้ใช้ผลัดเปลี่ยนของเก่าที่ขาดหรือจะขาด
การทำบุญถวายผ้ากฐิน นิยมเรียกกันว่า ทอดกฐิน หมายถึง ทอดหรือวางผ้าลงไปแล้วกล่าวคำถวายในท่ามกลางสงฆ์
เมื่อกล่าวคำถวายจบแล้ว พระสงฆ์ก็รับว่า "สาธุ" พร้อมกัน เจ้าภาพจะต้องนำผ้ากฐินไปวางไว้ต่อหน้าพระสงฆ์เฉยๆ ไม่ประเคนด้วยมืออีก ดังนั้น กิริยาที่นำผ้าไปวางไว้นั้น จึงนิยมเรียกกันสืบๆ มาว่า ทอดกฐิน
การทอดกฐิน เป็น กาลทาน มีเวลาจำกัด คือ การถวายก่อนหน้านั้น หรือหลังจากนั้นไม่เป็นกฐิน มีเงื่อนไขที่ต้องให้ความสำคัญทุกขั้นตอน จึงถือว่าหาโอกาสทำได้ยาก

ความเป็นมา
ในคัมภีร์พระวินัยปิฎก มหาวรรค กฐินขันธกะได้ กล่าวถึงความเป็นมาว่า ในสมัยที่พระบรมศาสดายังทรงพระชนม์ชีพอยู่นั้น ครั้งหนึ่งพระภิกษุชาวเมืองปาฐา ประมาณ ๓๐ รูป ซึ่งถือธุดงควัตรอย่างยิ่งยวด มีความประสงค์จะเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าซึ่งขณะนั้นประทับอยู่กรุงสาวัตถี แคว้นโกศล
จึงพากันเดินทางมุ่งหน้าไปยังเมืองนั้น พอถึงเมืองสาเกต ซึ่งอยู่ห่างจากกรุงสาวัตถีประมาณ ๖ โยชน์ ก็เป็นวันเข้าพรรษาพอดี เดินทางต่อไปมิได้ ต้องจำพรรษาอยู่ที่เมืองสาเกตตามพระวินัยบัญญัติ ขณะที่จำพรรษาอยู่ ณ เมืองสาเกต เกิดความกระวนกระวายใจ อยากเฝ้าพระพุทธเจ้าเป็นกำลัง ดังนั้น พอถึงวันออกพรรษาปวารณาแล้ว จึงรีบเดินทาง แต่ระยะนั้นมีฝนตกมากหนทางที่เดินชุ่มไปด้วยน้ำ เป็นโคลนเป็นตม พื้นดินเต็มไปด้วยหล่มเลน ต้องบุกต้องฝ่าหล่มฝ่าเลนมาจนกระทั่งถึงกรุงสาวัตถีได้เข้าเฝ้าสมความประสงค์
พระพุทธองค์ทรงมีปฏิสันถารกับพระภิกษุเหล่านั้นเรื่องการจำพรรษาอยู่ ณ เมืองสาเกตและการเดินทาง พระภิกษุเหล่านั้นจึงกราบทูลถึงความตั้งใจ ความร้อนรนกระวนกระวายใจและการเดินทางที่ลำบากให้ทรงทราบทุกประการ
พระพุทธองค์ทรงทราบและเห็นความลำบากของพระภิกษุ จึงทรงยกเป็นเหตุและมีพระพุทธานุญาตให้พระภิกษุผู้จำพรรษาครบถ้วนแล้ว กรานกฐิน“ขึง” หรือ “ทำให้ตึง”
กฐิน เป็นภาษาบาลี แปลว่า “ไม้สะดึง” กรานกฐิน ก็คือ “ขึงผ้าที่จะเย็บเป็นจีวรเข้าที่ไม้สะดึง โดยมีกำหนด ๑ เดือน ดังกล่าวคือ ให้เอาผ้าที่จะเย็บเป็นจีวรเข้าขึงที่ไม้สะดึง เย็บเสร็จแล้วบอกแก่พระภิกษุทั้งหลายผู้ร่วมใจกันทำจีวรนั้น ยกผ้าให้พระภิกษุผู้ฉลาดรูปหนึ่งในนามของสงฆ์ เพื่อจะได้อนุโมทนาร่วมกัน ภิกษุผู้เย็บจีวรเช่นนั้นเรียกว่า "ผู้กรานกฐิน" (กราน เป็นภาษาเขมร แปลว่า หลักการ)
การที่พระพุทธองค์ทรงอนุญาตให้ภิกษุสงฆ์ผู้อยู่จำพรรษาแล้ว ได้กรานกฐินนี้ ทำให้ภิกษุสงฆ์ต้องอยู่ประจำอาวาสอย่างน้อยเป็นเวลา ๑ เดือนหลังจากออกพรรษา ซึ่งเป็นช่วงปลายฤดูฝน ยังมีฝนตกอยู่ และทางสัญจรเต็มไปด้วยหล่มเลน หลังจาก ๑ เดือนผ่านไปแล้ว ถ้าภิกษุสงฆ์ประสงค์ ก็สามารถจะหลีกจาริกไปได้โดยสะดวก ในเวลาไม่มีฝนตก และพื้นดินไม่เป็นหล่มเลน

พระพุทธองค์ทรงมีพระพุทธานุญาตผ้ากฐิน ด้วยมีพุทธประสงค์

    จะผ่อนผัน ให้ความสะดวกในพระธรรมวินัยแก่พระสงฆ์ผู้จำพรรษาอยู่ในวัดใดวัดหนึ่งครบ ๓ เดือน

    เพื่อสงเคราะห์ผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบให้มีผ้านุ่งหรือผ้าห่มใหม่ จะได้ใช้ผลัดเปลี่ยนของเก่าที่จะขาดหรือชำรุด

โดยในเบื้องต้นทรงมีพระพุทธานุญาตพร้อมกับทรงแสดงอานิสงส์ไว้ ๕ ประการ ดังนี้
“ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้อยู่จำพรรษาแล้ว กรานกฐิน ภิกษุทั้งหลายผู้กรานกฐินแล้วจะได้อานิสงส์ ๕ อย่าง คือ
๑. เที่ยวไปไม่ต้องบอกลา
๒. ไม่ต้องถือไตรจีวรไปครบสำรับ
๓. ฉันคณะโภชนะได้
๔. ทรงอติเรกจีวรไว้ได้ตามความต้องการ
๕. พวกเธอจะได้จีวรที่เกิดขึ้นในที่นั้น
ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอผู้กรานกฐินแล้วย่อมได้อานิสงส์ ๕ อย่างนี้แล”
จากนั้น ได้ทรงชี้แจง วิธีกรานกฐินและขั้นตอนการขอความเห็นชอบจากคณะสงฆ์ ที่เรียกว่า "ญัตติทุติย" กรรมวาจา คือ การตั้งเรื่องหรือญัตติขึ้น จากนั้นก็ลงความเห็นรับรู้ร่วมกัน โดยมีพระเถระที่ฉลาดเป็นผู้ดำเนินการประชุม หรือ ภาษาพระเรียกว่า "สวดกรรมวาจา" ๑ ครั้ง หากไม่มีภิกษุรูปใดทักท้วงก็เป็นการลงมติเห็นชอบร่วมกัน เป็นอำนาจของสงฆ์ ที่พระทุกรูปต้องถือปฏิบัติ
ต่อไปนี้เป็นคำประกาศที่พระพุทธเจ้าทรงประทานแนวทางไว้
“ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ผ้ากฐินนี้เกิดแล้วแก่สงฆ์ ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้ว พึงให้กรานกฐินแก่ภิกษุชื่อนี้เพื่อกรานกฐินนี่เป็นญัตติ
นี้เพื่อกรานกฐิน ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการให้ผ้ากฐินนี้แก่ภิกษุชื่อนี้ เพื่อกรานกฐิน ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
ผ้ากฐินนี้อันสงฆ์ให้แล้วแก่ภิกษุนี้เพื่อกรานกฐิน สงฆ์เห็นด้วย เพราะเหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้”
ลำดับเหตุการณ์หรือขั้นตอนต่อจากนั้น ในพระไตรปิฎกได้กล่าวถึงพระพุทธองค์ได้ทรงแสดงลักษณะต่างๆ ที่จัดเป็นกฐิน แล้วได้รับอานิสงส์ข้างต้น และลักษณะใด ที่ทำให้กฐินเดาะหรือไม่สำเร็จประโยชน์ คือ ไม่ได้อานิสงส์ ในหนังสือนี้จะขอไม่กล่าวถึงเรื่องดังกล่าว เพราะมีข้อปลีกย่อยมาก

คุณสมบัติของพระที่จะรับกฐิน
คุณสมบัติของพระภิกษุรูปที่สมควรจะรับผ้ากฐินได้ มี ๘ ประการ คือ
๑. รู้จักบุพพกรณ์ คือ หน้าที่ๆ จะต้องทำในเบื้องต้นแห่งการกรานกฐิน ๗ อย่าง คือ
๑) ซักผ้า ๒) กะผ้า
๓) ตัดผ้า ๔) เนาหรือด้นผ้าที่ตัดแล้ว
๕) เย็บเป็นจีวร ๖) ย้อมจีวรที่เย็บแล้ว
๗) ทำกัปปะ คือ พินทุ (แต้มให้เปื้อน)
๒. รู้จักถอนไตรจีวร
๓. รู้จักอธิษฐานไตรจีวร
๔. รู้จักการกราน
๕. รู้จักมาติกา หรือ หัวข้อแห่งการเดาะกฐิน
๖. รู้จักปลิโพธกังวลเป็นเหตุยังไม่เดาะกฐิน
๗. รู้จักการเดาะกฐิน
๘. รู้จักอานิสงส์กฐิน
ในบุพพกรณ์ ๗ ประการนั้น ข้อแรกต้องทำให้เสร็จในวันนั้น แต่ในปัจจุบัน นิยมใช้ผ้าสำเร็จรูป จึงไม่ต้องทำการซัก, กะ, ตัด, เนา, เย็บ, ย้อม เพียงแต่ทำ "กัปปะ" คือ พินทุ เท่านั้น
พระภิกษุผู้ได้รับผ้ากฐิน ต้องถอนจีวรสำรับเดิม อธิษฐานจีวรสำรับใหม่ แล้วกล่าวคำกรานกฐิน ด้วยผ้าผืนใดผืนหนึ่ง จะเป็นจีวร, สังฆาฏิ, หรือสบง ก็ได้เพียงผืนเดียว ด้วยคำว่า
“ข้าพเจ้ากรานกฐินด้วยผ้าสังฆาฏิ (หรือ จีวร หรือ สบง)นี้”

จากนั้นท่านจะออกไปครองผ้า แล้วกลับเข้ามาในมณฑลพิธีสงฆ์ แล้วกล่าวคำอาราธนาให้สงฆ์อนุโมทนากฐินว่า

“อตฺถตํ ภนฺเต สงฺฆสฺส กฐินํ, ธมฺมิโก กฐินตฺถาโร อนุโมทถ”
แปลว่า “ท่านเจ้าข้า กฐินของสงฆ์กรานแล้ว การกรานกฐินชอบธรรม ขอท่านทั้งหลายอนุโมทนาเถิด”
ขั้นตอนสุดท้าย พระสงฆ์จะกล่าวคำอนุโมทนากฐิน โดยให้ผู้มีอายุพรรษาแก่กว่าพระภิกษุรูปที่ครองผ้ากฐิน กล่าวก่อนว่า

“อตฺถตํ อาวุโส สงฺฆสฺส กฐินํ, ธมฺมิโก กฐินตฺถาโร อนุโมทาม”
แปลว่า “ผู้มีอายุ กฐินของสงฆ์กรานแล้ว การกรานกฐินชอบธรรม เราทั้งหลายขออนุโมทนา”

จากนั้นจึงให้พระภิกษุที่มีอายุพรรษาน้อยกว่ากล่าวคำอนุโมทนาว่า

“อตฺถตํ ภนฺเต สงฺฆสฺส กฐินํ, ธมฺมิโก กฐินตฺถาโร อนุโมทาม”
แปลว่า “ท่านผู้เจริญ กฐินของสงฆ์กรานแล้ว การกรานกฐินชอบธรรม เราทั้งหลายขออนุโมทนา”

เป็นอันเสร็จพิธีกฐินของพระสงฆ์ และด้วยอาศัยพระพุทธบัญญัติมีมาฉะนี้ จึงได้ถือเป็นประเพณีทำกันมาจนกระทั่งทุกวันนี้

กฐินมีอานิสงส์ทั้งแก่ผู้รับและผู้ให้สำหรับผู้รับ หรือ พระสงฆ์
หากพระสงฆ์ ได้ปฏิบัติตามพระพุทธานุญาตทุกประการ ก็ย่อมได้รับอานิสงส์ ดังที่พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้ทุกประการ ขอขยายความเพิ่มเติมเกี่ยวกับประเด็นนี้ การที่พระภิกษุจะรับกฐินได้นั้น มิใช่รูปใดจะรับกันได้ ดังที่กล่าวว่ากฐินมีเงื่อนไข ทุกขั้นตอน และทำได้ยาก กฐินจะเป็นกฐินหรือไม่ มีองค์ประกอบที่พึงให้ความสนใจ ๖ ประการ คือที่ต้องให้ความสำคัญ
๑.พระสงฆ์อยู่จำพรรษาในวัดนั้นครบ ๓ เดือน ไม่พรรษาขาด
๒.ในวัดนั้นต้องมีพระที่มีคุณสมบัติตามข้อ ๑ อย่างน้อย ๕ รูป จำนวนพระที่ต่ำกว่านี้รับกฐินไม่ได้ แม้ไปนิมนต์พระวัดอื่นมาให้ครบจำนวน ๕ รูปก็ไม่จัดเป็นกฐินตามพระพุทธานุญาต
๓.พระในวัดนั้น จะไปชักชวนให้เขามาถวายผ้ากฐินในวัดของตนเองไม่ได้
๔.ต้องดำเนินการเรื่องผ้ากฐินให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนดเท่านั้น
๕.พระภิกษุรูปที่ครองกฐินต้องรู้จักและเข้าใจขั้นตอนและวิธีปฏิบัติต่อผ้ากฐิน
๖.พระสงฆ์ในวัดนั้น ต้องพร้อมเพรียงกัน

อานิสงส์ จากการรับผ้ากฐิน และการปฏิบัติให้ถูกต้องตามพระบรมพุทธานุญาต ทำให้ได้รับการผ่อนปรนหรือไม่ต้องอาบัติ หรือโทษ ใน ๕ เรื่อง คือ :
๑. อนามันตะจาโร เที่ยวสัญจรไปโดยไม่ต้องบอกลาภิกษุที่มีอยู่ในที่นั้น ไม่ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ไม่ถือว่าล่วงละเมิดจาริตตสิกขาบทที่ ๖ แห่งอเจลกวรรค
๒. สมาทานะจาโร จะเดินทางไปที่ไหน ไม่ต้องถือไตรจีวรไปครบสำรับ จะฝากหรือเก็บไว้ในที่เหมาะสมแห่งใดแห่งหนึ่งก็ได้ ไม่ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ไม่ถือว่าล่วงละเมิดอุทโทสิตสิกขาบที่ ๒ แห่งจีวรวรรค
๓. คณะโภชนัง ฉันคณะโภชนะได้ คือ แม้จะมี ๔ รูป หรือมากกว่า ก็สามารถรับนิมนต์ไปรับประเคนฉันพร้อมกันได้ หรือออกปากขอภัตตาหารมาฉันพร้อมกันได้ ไม่ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เพราะฉันคณะโภชนะ คือเพราะฉันโภชนะที่เป็นของคณะ ซึ่งคณะได้มา ไม่ถือว่าล่วงละเมิดคณะโภชนสิกขาบทที่ ๒ แห่งโภชนวรรค
๔. ยาวะทัตถะจีวะรัง เก็บอดิเรกจีวรไว้ได้ตามต้องการ คือ สามารถเก็บผ้านอกเหนือจากผ้าที่ตนอธิษฐานและวิกัปไว้ได้ แม้จะเกินกำหนด ๑๐ วัน ก็ไม่ต้องอาบัตินิสสัคคียปาจิตตีย์เพราะเก็บอติเรกจีวร ไม่ถือว่าล่วงละเมิดกฐินสิกขาบทที่ ๑ แห่งจีวรวรรค
๕. โย จะ ตัตถะ จีวะรุปปาโท โส เนสัง ภวิสสะติ จีวรลาภอันใด ที่เกิดขึ้นมีขึ้นในสีมาที่กรานกฐินนั้น จีวรลาภนั้น จักเป็นสิทธิ์ของภิกษุทั้งหลายผู้ได้กรานกฐินแล้วนั้น
อานิสงส์ ทั้ง ๕ ประการนี้ พระภิกษุผู้ได้กรานกฐินแล้ว จะได้รับตลอดเขตอานิสงส์กฐิน ๕ เดือน คือ ตั้งแต่แรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ถึงขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๔ ของปีถัดไป

สำหรับผู้ให้ หรือผู้ถวาย
ก่อนอื่นพึงทราบว่า กฐินเป็นพระบรมพุทธานุญาตโดยตรง การถวายทานอย่างอื่นมีทายกเป็นผู้ทูลขอให้พระพุทธเจ้าทรงอนุญาต เช่น มหาอุบาสิกาวิสาขาทูลขออนุญาตถวายผ้าอาบน้ำฝน แต่ผ้ากฐินนี้พระพุทธองค์ทรงอนุญาตเอง นับเป็นพระพุทธประสงค์โดยตรง
เกี่ยวกับอานิสงส์ของการถวายผ้ากฐินนั้น ในปัจจุบันมีปรากฏในคัมภีร์และตำราหลายเล่ม บางตำรา กล่าวว่า มีอานิสงส์ถึง ๖๓ ประการ ขอยกตัวอย่างสัก ๔ ประการ ดังนี้
๑. ชื่อว่า : ได้ช่วยกันจรรโลงพระพุทธศาสนาให้เจริญวัฒนาดำรงเสถียรภาพอยู่ตลอดกาลนาน
๒. ชื่อว่า : ได้เพิ่มกำลังกาย กำลังใจ ให้แก่พระภิกษุสงฆ์ผู้เป็นศาสนทายาท สืบอายุพระพุทธศาสนาต่อๆ ไป
๓. ชื่อว่า : ได้ถวายอุปการะ อุปถัมภ์พระภิกษุสามเณร เป็นมหากุศลอันสำคัญ อย่างยิ่ง
๔. ชื่อว่า : เป็นผู้ไม่ประมาทต่อมหากุศลของตน ฯลฯ
แต่ในวรรณกรรมโบราณทางพระพุทธศาสนา ก็ได้ปรากฏการยกย่องกฐินทาน และพรรณนาอานิสงส์ของกฐินทานไว้เป็นพิเศษ ดังนี้

อานิสงส์ของผู้ถวายกฐินเอง
ในชาดก ซึ่งเป็นเรื่องเล่า ถึงการบำเพ็ญบารมีของพระพุทธเจ้าในอดีตชาติ ทำให้เราเห็นภาพความสำคัญของบุญกฐินอย่างน่าอัศจรรย์
โดยกล่าวว่า อำนาจบุญกุศลที่ได้ถวายผ้ากฐิน เป็นกุศลผลบุญที่ใหญ่หลวง ผู้ถวายจะปรารถนาความสำเร็จใด ๆ ในภพชาติใหม่ ก็จะให้สำเร็จได้ดังมโนรถความปรารถนา หรือถ้าจะปรารถนาพุทธภูมิก็ดี ปัจเจกภูมิก็ดี สาวกภูมิก็ดี สาวิกาภูมิก็ดี เมื่อมีวาสนาบารมีแก่กล้าแล้วก็จะได้สำเร็จดังมโนปณิธาน หรือความปรารถนาที่ตั้งไว้
ในอติเทวราชชาดก ได้เล่าเรื่องพระเจ้าจิตรราชบรมโพธิสัตว์เจ้า ทรงถวายคู่แห่งผ้าเพื่อกฐินแก่พระภิกษุสงฆ์ มีองค์พระโกณฑัญญพุทธเจ้าเป็นประธาน แล้วทรงเปล่งพระดำรัสว่า “ข้าพเจ้าขอถวายผ้ากฐินแด่พระภิกษุสงฆ์”
ดังนี้ เมื่อเสร็จจากพิธีถวายผ้ากฐินแล้ว ก็ทรงประทับอยู่ ณ บนราชอาสน์อันสมควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วจึงทรงประเคนอาหารถวายพระภิกษุสงฆ์ มีองค์พระโกณฑัญญพุทธเจ้าเป็นประธาน ด้วยภัตตาหารมีรสเลิศต่าง ๆ มีข้าวยาคู เป็นต้น
ในลำดับนั้น สมเด็จพระโกณฑัญญสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็เสด็จประทับ ณ ท่ามกลางแห่งพระภิกษุสงฆ์ ฝ่ายพระเถรเจ้าผู้เป็นธรรมเสนาบดีชื่อว่า พระภัททานิกรรมก็ได้กรานกฐินนั้น ครั้นเสร็จจากการกรานกฐินแล้ว พระโกณฑัญญพุทธเจ้าก็เสด็จประทับในท่ามกลางพุทธบริษัท ๔ คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา
ส่วนสมเด็จพระเจ้าจิตรราชบรมจักรพรรดินั้น ก็ได้เสด็จเข้าไปสู่ที่ใกล้พระโกณฑัญญพุทธเจ้า ถวายบังคมด้วยพระเบญจางคประดิษฐ์ แล้วได้ทรงตั้งพระราชปณิธานความปรารถนาขึ้นว่า

อิมินา กฐินทาเนน พุทฺโธ โหมิ อนาคเต
ยทา สพฺพญฺญุตปตฺโต ตารยิสฺสามิ ปาณินํ
แปลว่า “ด้วย อำนาจกฐินทานนี้ ขอให้ข้าพเจ้าได้สำเร็จเป็นพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่ง ในอนาคตกาลโน้นเถิด ข้าพเจ้าได้ตรัสรู้เป็นพระสัพพัญญูญุตญาณเจ้าแล้วในกาลใด ก็จะรื้อขนสัตว์ให้พ้นจากสังสารวัฏฎ์ในกาลนั้น”
ครั้นจบคำอธิษฐานลง พระโกณฑัญญพุทธเจ้า จึงทรงพิจารณาดูไปในอนาคตกาล ก็ได้ทรงทราบด้วยพุทธจักษุญาณว่า ความปรารถนาของบรมกษัตริย์องค์นี้จักสำเร็จสมพระประสงค์ จึงได้ทรงพยากรณ์ว่า ในที่สุดแห่ง ๓ อสงไขยแสนกัลป์ นับแต่กัลป์นั้น พระเจ้าจิตรราชบรมจักรพรรดินี้ จักได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงพระนามว่า “โคดม” ได้แก่ พระพุทธเจ้าของเราทั้งหลายในบัดนี้
ขณะเดียวกัน ผู้ที่ถวายผ้ากฐินแล้วบังเกิดความปีติ ความสุขใจ แม้มิได้อธิษฐานคุมวงบุญไว้ ก็ได้รับอานิสงส์ไปเกิดเป็นเทวดาและอานิสงส์ที่จะต่อเนื่องไปในภพหน้า ดังคำประกาศบุพพกุศลของท้าวสักก เทวราช ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ว่า
“คราวหนึ่ง เราเกิดเป็นกุฎุมพีผู้มีทรัพย์อยู่ ณ เมืองพาราณสี ได้ถวายผ้าพระกฐินจีวร (แก่พระปทุมุตรสัมพุทธเจ้า) เราจุติจากอัตตภาพเป็นมนุษย์แล้ว ได้เกิดเป็นภูมิเทวดามีศักดาเดชอยู่ ณ ภูเขาคันธมาทน์ เสวยทิพยสมบัติอยู่นาน ครั้นจุติจากอัตตภาพเป็นภูมิเทวดาแล้ว ได้เกิดเป็นสักกเทวราช ผู้มเหศราธิบดีแห่งเทวดาทั้งหลาย ครั้นจุติจากอัตตภาพแห่งสักกเทวราชแล้ว จักเกิดเป็นจักรพรรดิ มีกำลังเดชานุภาพมากในทวีปทั้งสี่ และจักเสวยมนุษย์และเทวสมบัติสิ้นแสนกัลป์ ด้วยอำนาจผลแห่งกฐินทาน ด้วยประการฉะนี้”

ผู้มีส่วนร่วมในกฐินย่อมได้อานิสงส์
ในสมัยพระศาสนาของพระกัสสปสัมพุทธเจ้า บุรุษชาวเมืองพาราณสีคนหนึ่ง เป็นคนเข็ญใจไร้ที่พึ่ง ไปอาศัยเศรษฐีสิริธรรมผู้มั่งคั่งด้วยทรัพย์ โดยยอมตนเป็นคนรับใช้ มีหน้าที่ดูแลรักษาหญ้า จึงได้ชื่อว่า "ติณบาล" แปลว่า ผู้ดูแลรักษาหญ้า ตั้งแต่บัดนั้น
วันหนึ่งเขาคิดว่า “ตัวเรานี้เป็นคนยากจนเช่นนี้ เพราะไม่เคยทำบุญอันใดไว้ในชาติก่อนเลย มาชาตินี้จึงตกอยู่ในฐานะผู้รับใช้คนอื่น ไร้ญาติขาดมิตร ไม่มีสมบัติติดตัวแม้แต่น้อย” เมื่อคิดดังนี้แล้วเขาได้แบ่งอาหารที่ท่านเศรษฐีให้ ออกเป็น ๒ ส่วน
ส่วนหนึ่งถวายแก่พระสงฆ์ที่มาบิณฑบาต อีกส่วนหนึ่งเอาไว้สำหรับตนเองรับประทาน ด้วยเดชกุศลผลบุญอันนั้น ทำให้ท่านเศรษฐีเกิดสงสารเขา แล้วให้อาหารเพิ่มอีกเป็น ๒ ส่วน เขาได้แบ่งอาหารเป็น ๓ ส่วน ถวายแก่พระสงฆ์ส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งให้แก่คนจนทั้งหลาย ส่วนที่สามเอาไว้บริโภคสำหรับตนเอง เขาทำอยู่อย่างนี้เป็นเวลาช้านาน
ต่อมาเป็นวันออกพรรษา เหล่าชนผู้มีศรัทธาต่างพากันทำบุญกฐินเป็นการใหญ่ แม้ท่านเศรษฐีสิริธรรมก็เตรียมจะถวายกฐิน จึงประกาศให้ประชาชนทั้งหลายทราบโดยทั่วกัน เมื่อนายติณบาลได้ยินก็เกิดความเลื่อมใสขึ้นในใจทันที จึงเข้าไปหาท่านเศรษฐีถามอานิสงส์ของกฐิน เศรษฐีตอบว่า “มีอานิสงส์มากมายหนักหนา สมเด็จพระบรมศาสดาทรงตรัสยกย่องสรรเสริญว่าเป็นทานอันประเสริฐ”
เมื่อเขาได้ทราบดังนี้แล้ว ก็มีความโสมนัสปลาบปลื้มเป็นอันมาก แสดงความประสงค์ที่จะร่วมอนุโมทนาในการบำเพ็ญทานครั้งนี้ด้วย จึงได้กลับไปที่อยู่ของตน แล้วเกิคความคิดขึ้นว่า “เรา ไม่มีอะไรเลย แม้แต่ผ้าดีๆ สักผืน เราจะทำบุญร่วมกับท่านเศรษฐีได้อย่างไร” เขาครุ่นคิดอยู่เป็นเวลานาน หาสิ่งที่จะร่วมอนุโมทนากฐินกับท่านเศรษฐีไม่ได้ ในที่สุดเขาได้เปลื้องผ้านุ่งของตนออกพับให้ดี แล้วเย็บใบไม้นุ่งแทน เอาผ้านั้นไปเร่ขายในตลาด

ชาวตลาดทั้งหลายเห็นอาการเช่นนั้น ก็พากันหัวเราะกันลั่น เขาชูมือขึ้นแถลงว่า "ท่านทั้งหลายหยุดก่อน อย่าหัวเราะข้าพเจ้าเลย ข้าพเจ้ายากจนไม่มีผ้าจะนุ่ง จะขอนุ่งใบไม้แต่ในชาตินี้เท่านั้น ชาติหน้าจะนุ่งผ้าทิพย์"
ครั้นพูดชี้แจงแก่ประชาชนชาวตลาดดังนี้แล้ว เขาได้ออกเดินเร่ขายเรื่อยไป ในที่สุดเขาได้ขายผ้านั้นในราคา ๕ มาสก (๑ บาท) แล้วนำไปมอบให้ท่านเศรษฐี เศรษฐีได้ใช้เงินนั้นซื้อด้ายสำหรับเย็บไตรจีวร
ในกาลครั้งนั้น ได้เกิดโกลาหลทั่วไปในหมู่ชน ตลอดถึงเทวดาในสวรรค์ทั้ง ๖ ชั้นฟ้า และล่วงรู้ไปถึงพระกรรณของพระเจ้าพาราณสี จึงรับสั่งให้นำนายติณบาลเข้าเฝ้า แต่เขาไม่ยอมเข้าเฝ้าเพราะละอาย จึงได้ตรัสถามความเป็นไปของเขาโดยตลอดแล้ว ทรงให้ราชบุรุษนำผ้าสาฎกราคาแสนตำลึงไปพระราชทานแก่เขา
นอกจากนั้นได้พระราชทาน บ้านเรือนและทรัพย์สมบัติ เป็นอันมาก แล้วโปรดให้ดำรงตำแหน่งเศรษฐีในเมืองพาราณสี มีชื่อว่า "ท่านติณบาลเศรษฐี" เมื่อเขาดำรงชีวิตอยู่พอสมควรแก่อายุขัยแล้ว ก็ตายไปเกิดเป็นเทพบุตรในดาวดึงส์พิภพ เสวยสมบัติทิพย์อยู่ในวิมานแก้ว สูงได้ ๕ โยชน์ มีนางเทพอัปสรหนึ่งหมื่นเป็นบริวาร ส่วนเศรษฐีสิริธรรม ครั้นตายจากโลกมนุษย์แล้วได้ไปเกิดในดาวดึงส์สวรรค์ มีนางฟ้าเป็นบริวาร เช่นเดียวกันกับท่านติณบาลเศรษฐี

ผู้ชักชวนให้ทอดกฐินก็ได้อานิสงส์
กฐิน มิได้มีอานิสงส์เฉพาะเจ้าของกฐินเท่านั้น แม้ผู้ชักชวนให้ผู้อื่นทอดกฐิน ถ้ารู้จักวิธีในการอธิษฐานบุญ ก็ย่อมได้รับอานิสงส์เหมือนกัน
ดังในนรชีวกฐินทานชาดก ซึ่งเป็นหนึ่งในปัญญาสชาดก ได้เล่าเรื่องที่พระพุทธองค์เมื่อครั้งเสวยพระชาติเกิดเป็นนายนรชีวะ อยู่ในครอบครัวยากจน แต่เป็นลูกกตัญญูเลี้ยงดูมารดา ได้ชักชวนเศรษฐีที่มีความเลื่อมใสในพระพุทธเจ้าพระนามว่า "ปทุมุตตร" ชวนให้เศรษฐีมีศรัทธาถวายผ้ากฐินแก่พระภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน เศรษฐีมีความยินดีได้จัดกฐินไปถวายพระภิกษุสงฆ์ จึงได้ทูลถามพระพุทธเจ้าถึงผลหรืออานิสงส์แห่งการถวายผ้ากฐิน พระปทุมุตตรสัมพุทธเจ้าได้ตรัสว่า

เย ชนา สุขมิจฺฉนฺตา ทตฺวาน กฐินจีวรํ
เตปิ ทุกฺขา ปมุญฺจเร เทวมนุสฺเสสุ ปตฺวา
นรกาทิมฺหิ น ชายนฺติ กฐินทานสฺสิทํ ผลํ
แปลว่า “บุคคลเหล่าใด ปรารถนาหาความสุขนั้น ได้ถวายผ้ากฐินจีวรไว้ บุคคลเหล่านั้นจะพ้นจากความทุกข์ เมื่อละโลกนี้ไปแล้ว ก็ย่อมจะถึงความสุขในหมู่เทวดาและมนุษย์ และจะไม่ไปเกิดในอบายภูมิมีนรกเป็นต้น นี้เป็นผลแห่งกฐินทาน”
เมื่อเศรษฐี ได้ฟังอานิสงส์กฐินทานเช่นนั้น ก็มีใจชื่นบานยิ่งนัก ส่วนนายนรชีวะ ผู้เป็นพระโพธิสัตว์ได้หมอบกราบแทบพระบาทของพระพุทธเจ้า ได้กราบทูลถึงเหตุที่ตนเป็นผู้ชักชวนให้เศรษฐีมาทำบุญสำเร็จด้วยกายวาจาใจ จึงขอตั้งวาจาธิษฐานว่า

อิมินา ภนฺเต ปุญฺเญน ปโพธิโต กฐินํ เทมิ
อนาคเต พุทฺโธ โหมิ ยาว พุทฺธตํ นานุปตฺโต
มา ทลิทฺโท ภวามหํ
แปลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ด้วยกุศลผลบุญที่ข้าพระองค์ได้ชักนำกุฎุมพี (เศรษฐี) ให้ถวายผ้ากฐินนี้ ขอให้ข้าพระองค์เป็นพระพุทธเจ้าองค์หนึ่งในกาลภายหน้า แม้ข้าพระองค์ยังไม่ไปถึงความเป็นพระพุทธเจ้าตราบใด ชื่อว่าความเข็ญใจอย่าได้มีแก่ข้าพระองค์เลย พระเจ้าข้า”
พระปทุมุตตรสัมพุทธเจ้า ได้ทรงพยากรณ์ว่า ด้วยผลแห่งกฐินทานนั้น นายนรชีวะจะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าศากยมุนีในอนาคตกาล ก็คือพระพุทธเจ้าของเราทั้งหลายในบัดนี้

ขั้นตอนทำบุญกฐิน

การทำบุญทอดกฐินในประเทศไทยเรา ซึ่งนิยมปฏิบัติกันอยู่ในขณะนี้ มีอยู่ ๒ ประเภท คือ
๑. กฐินหลวง หมายถึง กฐินที่มีพระราชพิธีเป็นทางการในพระอารามหลวง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินไปถวายผ้าพระกฐินด้วยพระองค์เอง ที่เรียกว่า “พระกฐินหลวง”
แต่ในกรณีที่เสด็จฯ ไปถวายผ้าพระกฐินเป็นการส่วนพระองค์ ในวัดต่างจังหวัด จะเรียกว่า “พระกฐินต้น”
ส่วนกฐินที่พระราชทานให้พระบรมวงศานุวงศ์ ผู้แทนพระองค์กระทรวง ทบวง กรม กองต่าง ๆ ไปถวายผ้าพระกฐินแทนพระองค์ เรียกว่า “พระกฐินพระราชทาน”
๒. กฐินราษฎร์ หมายถึง กฐินที่จัดขึ้นในวัดราษฎร์โดยชาวบ้านจัดการทอดกันเอง หรือบางทีก็ร่วมกันทอด ซึ่งเรียกว่า “กฐินสามัคคี”

ในบทความนี้จะไม่กล่าวถึงกฐินประเภทที่ ๑ จะกล่าวเฉพาะกฐินประเภทที่ ๒ เท่านั้น

คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
ใครควรจะถวายผ้ากฐิน
ทายกผู้ทอดกฐินนั้น จะเป็นเทวดาหรือมนุษย์ คฤหัสถ์หรือบรรพชิต เป็นพระภิกษุหรือสามเณร ก็เป็นเจ้าภาพถวายผ้ากฐิน หรือทอดกฐินได้ทั้งนั้น จะทอดคนเดียว หรือรวมกันหลายคนเป็น “กฐินสามัคคี” ก็ได้ มีพระพุทธานุญาตไว้
แต่มีข้อพึงระวัง ในกรณีที่ผู้ทอดกฐินเป็นพระภิกษุ เมื่อถวายผ้ากฐินในอุโบสถแล้ว พระสงฆ์ในวัดนั้นจะเริ่มสวดญัตติทุติยกรรมวาจา ต้องอาราธนาให้พระภิกษุที่เป็นเจ้าภาพนั้น ออกไปอยู่นอกเขตสีมาก่อน หรือ มิฉะนั้นก็นิมนต์ให้เข้าไปนั่งร่วมภายในหัตถบาสกับพระสงฆ์ที่จะสวดนั้น ก็เป็นอันใช้ได้ ไม่เสียพิธี

ต้องจองกฐินก่อน
เมื่อสาธุชนผู้มีกุศลจิต ประสงค์จะนำกฐินไปทอด ณ วัดใดวัดหนึ่ง ซึ่งตนมีศรัทธาเป็นการเฉพาะ ต้องจองกฐินที่วัดนั้นล่วงหน้าเสียก่อน การจองมี ๒ วิธี คือ
๑. จองด้วยปาก ได้แก่ แจ้งด้วยวาจาแก่เจ้าอาวาส หรือ ประกาศในที่ประชุมสงฆ์ของวัด ให้ทราบว่า ตนจะนำกฐินมาทอดที่วัดนั้น
๒. จองด้วยหนังสือ ได้แก่ เขียนเป็นลายลักษณ์อักษร ชื่อที่อยู่ของตนและความ จำนงที่จะนำกฐินมาทอดในวันนั้นวันนี้ แล้วนำไปติดประกาศในที่เห็นได้ง่าย เช่นศาลาการเปรียญ ศาลาหน้าวัด หรือมอบให้กับเจ้าอาวาส ไว้
และก่อนที่จะทอดกฐินนั้น ก็ควรปิดป้ายไว้หน้าวัด หรือที่ศาลาการเปรียญ ซึ่งป้ายปิดประกาศนี้ นิยมปิดไว้ตั้งแต่ในพรรษา เพื่อจะให้ผู้ที่ผ่านไปมาได้พบเห็น แล้วจะได้มาเข้าร่วมทำบุญด้วย

องค์กฐิน
เมื่อถึงเวลากำหนดก็นำผ้ากฐิน บางครั้งเรียกว่า "ผ้าที่เป็นองค์กฐิน" ซึ่งจะเป็นผืนเดียวก็ได้ หลายผืนก็ได้ ถ้าเป็นผ้าขาวซึ่งยังมิได้ตัด ก็ตัดออกเป็นชิ้นๆ พอที่จะเย็บประกอบเข้าเป็นจีวรผืนใดผืนหนึ่งก็ได้ ทำเสร็จแล้วยังมิได้ย้อมหรือย้อมแล้วก็ได้ อย่างใดอย่างหนึ่ง จัดเป็นองค์กฐิน นำไปทอด ณ วัดที่ได้จองไว้นั้น
แต่ในปัจจุบันเจ้าภาพนิยมซื้อผ้าไตรจีวรสำเร็จรูปมาจากร้านจำหน่ายเครื่องสังฆภัณฑ์ เนื่องจากสะดวกและประหยัดเวลา ก็เป็นอันใช้ได้เหมือนกัน
นอกจากองค์กฐินแล้ว เจ้าภาพบางรายอาจศรัทธาถวายของอื่นๆ ไปพร้อมกับองค์กฐินเรียกว่า "บริวารกฐิน"
ตามที่นิยมกัน ประกอบด้วยปัจจัย ๔ คือ เครื่องอาศัยของพระภิกษุสามเณร มีไตรจีวร บริขารอื่นๆ ที่จำเป็น เครื่องใช้ประจำปี มีมุ้ง หมอน กลด เตียง ตั่ง โต๊ะ เก้าอี้ โอ่งน้ำ กระถาง กระทะ กระโถน เตา ภาชนะสำหรับใส่อาหารคาวหวาน
เครื่องซ่อมเสนาสนะ มีมีด ขวาน สิ่ว เลื่อย ไม้กวาด จอบ เสียม เครื่องคิลานเภสัช มียารักษาโรค ยาสีฟัน แปรงสีฟัน อุปกรณ์ซักล้าง เป็นต้น หรือจะมีสิ่งอื่นนอกจากที่กล่าวมานี้ก็ได้ ขอให้เป็นของที่สมควรแก่ พระภิกษุ สามเณร จะใช้อุปโภคบริโภคเท่านั้น หากจะมีของที่ระลึกสำหรับแจกจ่ายแก่คนที่อยู่ในวัดหรือคนที่มาร่วมงานกฐิน ด้วยก็ได้สุดแต่กำลังศรัทธาและอัธยาศัยไมตรีของเจ้าภาพ
นอกจากนั้น ยังมีธรรมเนียมที่เจ้าภาพผู้ทอดกฐิน จะต้องมีผ้าห่มพระประธานอีกหนึ่งผืน เทียนสำหรับจุด ในเวลาที่พระภิกษุสวดปาติโมกข์ ที่เรียกสั้นๆ ว่า "เทียนปาติโมกข์" จำนวน ๒๔ เล่ม และมีธงผ้ารูปจระเข้ หรือสัตว์น้ำอย่างอื่น เช่น ปลา นางเงือก สำหรับปักหน้าวัด เมื่อทอดกฐินเสร็จแล้ว การปักธงนี้เป็นเครื่องหมายให้ทราบว่าวัดนั้นๆ ได้รับกฐินแล้ว และให้อนุโมทนากฐินร่วมกัน

การถวายผ้ากฐิน
เมื่อเจ้าภาพมาถึงวัดที่จะทอดกฐิน ต้องกำหนดดูว่า วัดนั้นๆ จะให้ทำพิธีทอดกฐิน ณ สถานที่ใด โดยมากนิยมทำในอุโบสถ เพราะพระสงฆ์สามารถจะสวดญัตติทุติยกรรมวาจา ให้เสร็จในคราวเดียวไปเลย แต่บางวัดอาจให้ทำพิธีถวายที่ศาลาการเปรียญในเบื้องต้นก่อน แล้วพระสงฆ์จะพากันไปสวดญัตติทุติยกรรมวาจาในอุโบสถในภายหลัง
หากเป็นสมัยโบราณ เมื่อภิกษุซึ่งจำพรรษาครบสามเดือนในวัดเดียวกัน (ต้องมีจำนวน ๕ รูปขึ้นไป) ประชุมกันในอุโบสถ พร้อมใจกันยกผ้ากฐินให้แก่ภิกษุรูปหนึ่งในหมู่พวกเธอ ภิกษุรูปนั้นทำกิจ ตั้งแต่ ซัก กะ ตัด เย็บ ย้อมให้เสร็จในวันนั้น ทำพินทุกัปปะอธิษฐานเป็นจีวรครองผืนใดผืนหนึ่งในไตรจีวร แล้วบอกแก่ภิกษุสงฆ์ผู้ยกผ้าให้เพื่ออนุโมทนา และภิกษุนั้นอนุโมทนาแล้ว ที่เรียกว่า "กรานกฐิน" ก็เป็นการสำเร็จประโยชน์
แต่ถ้าผ้ากฐินเป็นจีวรสำเร็จรูป กิจที่จะต้อง ซัก กะ ตัด เย็บ ย้อม ก็ไม่มี ให้ภิกษุรูปนั้นทำพินทุกัปปะอธิษฐานเป็นจีวรครองผืนใดผืนหนึ่งในไตรจีวร แล้วบอกแก่ภิกษุสงฆ์ผู้ยกผ้าให้เพื่ออนุโมทนา เมื่อภิกษุสงฆ์พาอนุโมทนาแล้ว ก็เป็นการสำเร็จประโยชน์เหมือนกัน
ในปัจจุบัน เมื่อเจ้าภาพได้ตระเตรียมพร้อมแล้ว พระสงฆ์พร้อมแล้ว ก่อนถวายกฐิน ให้อาราธนาศีล รับศีล เมื่อรับแล้ว ทายกประกาศให้รู้พร้อมกัน ประธานผู้ทอดกฐินหันหน้าไปทางพระพุทธรูป ตั้งนะโม ๓ จบ แล้วหันหน้ามาทางพระสงฆ์ กล่าวถวายเป็นภาษาบาลี ภาษาไทย หรือทั้งสองภาษาก็ได้ ว่าคนเดียวหรือว่านำแล้วคนทั้งหลายว่าตามพร้อมกันก็ได้ การกล่าวคำถวายจะกล่าวเป็นคำๆ หรือจะกล่าวรวมกันเป็นวรรคๆ แล้วแต่ความสะดวกของผู้กล่าวนำและผู้กล่าวตาม คำถวายมีดังนี้
“อิ มัง ภันเต สะปะริวารัง กะฐินะทุสสัง สังฆัสสะ โอโณชะยามะ สาธุ โน ภันเต สังโฆ อิมัง สะปะริวารัง กะฐินะทุสสัง ปะฏิคคัณหาตุ ปะฏิคคะเหตตะวา จะ อิมินา ทุสเสนะ กะฐินัง อัตถะระตุ อัมหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ”
แปลว่า “ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวาย ซึ่งผ้ากฐินกับทั้งผ้าบริวารทั้งหลายเหล่านี้ แก่พระสงฆ์ ขอพระสงฆ์จงรับ ซึ่งผ้ากฐินกับทั้งผ้าบริวารทั้งหลายเหล่านี้ ของข้าพเจ้าทั้งหลาย ครั้นรับแล้ว จงกรานกฐินด้วยผ้านี้ เพื่อประโยชน์และความสุข แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย สิ้นกาลนานเทอญ ฯ”
เมื่อจบคำถวายแล้ว พระสงฆ์รับสาธุพร้อมกัน องค์กฐินพร้อมทั้งบริวารนั้น ถ้าเจ้าภาพปรารถนาถวายเป็นของสงฆ์ทั้งหมด ก็ไม่ต้องประเคน แต่ถ้าจะประเคน ก็อย่าประเคนแก่สมภาร หรือองค์ที่รู้ว่าจะต้องครอง ให้ประเคนองค์อื่น องค์ที่เหมาะสม ก็คือองค์รองลงมา เฉพาะองค์กฐินนั้นไม่จำเป็นต้องประเคน จากนั้นประธานผู้ทอดกฐินกลับเข้าประจำที่นั่งของตน
ขั้นตอนจากนี้พระสงฆ์จะทำพิธีอปโลกน์ คือ การแจ้งให้ทราบ หรือ การขอความเห็นชอบ มีลำดับขั้นตอนดังนี้

พระรูปที่ ๑ จะกล่าวว่า
“ผ้ากฐินทานกับทั้งผ้าอานิสังสบริวารทั้งปวงนี้ เป็นของ ....(ระบุชื่อเจ้าภาพ)...พร้อมด้วยญาติมิตรและสัมพันธชน ผู้ประกอบด้วยศรัทธา อุตสาหะพร้อมเพรียงกันนำมาถวาย แด่พระภิกษุสงฆ์ผู้อยู่จำพรรษาถ้วนไตรมาสในอาวาสนี้
ก็แลผ้ากฐินทานนี้ เป็นของบริสุทธิ์ ดุจเลื่อนลอยมาโดยนภากาศแล้ว แลตกลงในที่ประชุมสงฆ์ จะได้จำเพาะเจาจงลงว่าเป็นของพระภิกษุรูปใดรูปหนึ่งก็หามิได้ มีพระบรมพุทธานุญาตไว้ว่า ให้พระสงฆ์ทั้งปวงยอมอนุญาตให้แก่ภิกษุรูปหนึ่ง เพื่อจะทำซึ่งกฐินนัตถารกิจ ตามพระบรมพุทธานุญาต และมีคำพระอรรถกถาจารย์ ผู้รู้พระบรมพุทธาธิบายสังวรรณนาไว้ว่า ภิกษุรูปใดประกอบด้วยศีลสุตาธิคุณ มีสติปัญญาสามารถ รู้ธรรม ๘ ประการ มีบุพพกิจ เป็นต้น ภิกษุรูปนั้นจึงสมควร เพื่อจะกระทำกฐินนัตถารกิจ ตามพระบรมพุทธานุญาตได้
บัดนี้ พระสงฆ์ทั้งปวง จะเห็นสมควรแก่ภิกษรูปใด จงพร้อมกันยอมอนุญาตให้แก่ภิกษุรูปนั้น เทอญฯ”

ในลำดับนี้ พระสงฆ์ทั้งหมดนิ่งอยู่ครู่หนึ่ง พระรูปที่ ๒ จะกล่าวต่อไปว่า
“ผ้ากฐินทาน กับทั้งผ้าอานิสังสบริวารทั้งปวงนี้ ข้าพเจ้าพิจารณาเห็นสมควรแก่...(ระบุชื่อผู้ที่จะเป็นองค์ครองกฐิน)... เป็นผู้มีสติปัญญาสามารถ เพื่อกระทำกฐินัตถารกิจให้ถูกต้องตามพระบรมพุทธานุญาตได้ ถ้าพระภิกษุรูปใดเห็นไม่สมควร จงทักท้วงขึ้นในท่ามกลางระหว่างสงฆ์ (หยุดนิดหนึ่ง) ถ้าเห็นสมควรแล้วไซร้ จงให้สัททสัญญาสาธุการขึ้นให้พร้อมกัน เทอญฯ”
พระสงฆ์ทั้งหมดรับว่า สาธุ พร้อมกัน
เมื่อพระสงฆ์ทำพิธีเบื้องต้นของท่านเสร็จ ในตอนนี้เจ้าภาพจะประเคนบริวารกฐินก็ได้ จากนั้นพระสงฆ์อนุโมทนา เจ้าภาพทั้งหมดตั้งใจฟังคำอนุโมทนา และกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศล
เพียงเท่านั้น ก็เสร็จพิธีถวายกฐินสำหรับทายกผู้มีศรัทธา ต่อจากนั้นเป็นหน้าที่ของพระสงฆ์จะได้ดำเนินการในเรื่องกรานกฐินต่อไป
ประเพณีการทอดกฐินนี้ ยังมีอีกวิธีหนึ่ง ซึ่งเราเรียกว่า “จุลกฐิน” และได้นิยมกันมาแต่โบราณกาล ถือกันว่า ถ้าผู้ใดมีความสามารถทอด “จุลกฐิน” นี้ได้ จะเป็นผู้ได้รับอานิสงส์มาก
วิธีทอด “จุลกฐิน” นี้ ต้องทำอย่างนี้ คือ ต้องไปเก็บเอาฝ้ายมาปั่นเป็นด้ายแล้วทอให้เป็นผืนผ้ากฐินให้เสร็จในวันเดียว แต่การทอด “จุลกฐิน” นี้ ต้องช่วยหลายคนจึงจะเสร็จในวันเดียวได้ จะต้องให้ทันกับเวลาอีกด้วย คือต้องช่วยกันหลายๆ แรง แบ่งหน้าที่กันทำอย่างชุลมุนวุ่นวาย เมื่อทำเสร็จ พอที่จะทำเป็นผ้ากฐินได้ ก็รีบนำไปทอด คงจะเป็นเพราะเหตุนี้เอง จึงได้เรียกว่า “จุลกฐิน”
"จุลกฐิน" คือ เป็นผ้าที่สำเร็จขึ้นได้ด้วยการช่วยเหลือกันคนละไม้คนละมือ เช่น เมื่อเก็บฝ้ายแล้วก็เอาฝ้ายนั้นมาปั่น มากรอ มาสาง เมื่อเสร็จเป็นเส้นด้ายแล้ว ก็เอามาทอเป็นผ้า แล้วเอามาตัด มาเย็บ มาย้อม ให้เสร็จเรียบร้อยวันเดียวกันนั้น ทุกสิ่งทุกอย่าง

-http://watkaokrailas.igetweb.com/index.php?mo=3&art=41907064-

.
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
กฐินตกค้าง
กฐินประเภทนี้ มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "กฐินตก" " กฐินโจร" ศาสตราจารย์พระยาอนุมานราชธน ได้กล่าวถึงเหตุผลที่เกิดกฐินชนิดนี้ ตลอดจนชื่อเรียกที่ต่างกันออกไปว่า (จากเรื่องเทศกาลออกพรรษา)
“..... แต่ที่ทำกันเช่นนี้ ทำกันอยู่ในท้องถิ่นที่มีวัดตกค้าง ไม่มีใครทอดก็ได้ จึงมักมีผู้ศรัทธาไปสืบเสาะหาวัดอย่างนี้ เพื่อทอดกฐินตามปกติในวันใกล้ๆ จะสิ้นหน้าทอดกฐิน หรือในวันสุดท้ายของกาลกฐิน (คือวันก่อนวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๒)
การทอดกฐินอย่างนี้เรียกว่า "กฐินตกค้าง" หรือเรียกว่า "กฐินตก" บางถิ่นก็เรียก "กฐินโจร" เพราะกิริยาอาการที่ไปทอดอย่างไม่รู้เนื้อรู้ตัว จู่ๆ ก็ไปทอด ไม่บอกกล่าวเล่าสิบล่วงหน้าให้วัดรู้ เพื่อเตรียมตัวกันได้พร้อมและเรียบร้อย
การทอดกฐินตก ถือว่าได้บุญอานิสงส์แรงกว่าทอดกฐินตามธรรมดา บางคนเตรียมข้าวของไปทอดกฐินหลายๆ วัด แต่ได้ทอดน้อยวัด เครื่องไทยธรรมที่ตระเตรียมเอาไปทอดยังมีเหลืออยู่ หรือบางวัดทอดไม่ได้ (อาจเป็นที่ไม่ครบองค์สงฆ์) ก็เอาเครื่องไทยธรรมเหล่านั้นจัดทำเป็นผ้าป่า เรียกกันว่า ผ้าป่าแถมกฐิน”
กฐินประเภทนี้ เรื่ององค์กฐิน บริวารกฐิน ยังคงเป็นเช่นเดียวกับกฐินอื่นๆ ที่กล่าวมาแล้ว ส่วนข้อแตกต่างที่ชัดเจนคือ ไม่มีการจองวัดล่วงหน้า การทอดก็ทอดได้เฉพาะวัดที่ยังไม่มีใครทอด และเจ้าภาพเดียวอาจจะทอดหลายวัดก็ได้ ตลอดจนสามารถนำเอาของไทยธรรมที่เหลือทำเป็นการบุญชนิดหนึ่งที่เรียกว่า ผ้าป่าแถมกฐินหรือบางท่านเรียกว่า “ผ้าป่าหางกฐิน” นั่นเอง

ปริศนาธรรม
ในประเพณีทอดกฐิน บรรพบุรุษไทยได้แฝงภูมิปัญญาและปริศนาธรรมไว้กับธงรูปจระเข้และธงรูปนาง มัจฉา ที่มองเห็นกันดาษดื่นในเทศกาลกฐิน เบื้องหลังธง ๒ ผืนนี้ มีวิสัชนา ๓ นัย คือ :
๑.วิสัชนาตามแนวนิทานพื้นบ้าน
๒. วิสัชนาตามแนวหลักธรรม
๓. วิสัชนาตามแนวภูมิปัญญาไทย
ตามแนวแรก มีนิทานพื้นบ้านที่เล่าต่อๆ กันมาว่า กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว มีเศรษฐีคนหนึ่ง เป็นคนตระหนี่อย่างเหนียวแน่น ไม่เคยทำบุญกุศลใด เมื่อเวลาที่มีชีวิตอยู่เลย มุ่งแต่เก็บสะสมทรัพย์สินเงินทองซ่อนไว้มิให้ใครรู้ สถานที่ซ่อนทรัพย์สินดังกล่าวอยู่ที่หัวสะพานท่าน้ำหน้าบ้านตน
ครั้นต่อมาเศรษฐีได้สิ้นชีวิตลง ขณะที่จิตใจเป็นห่วงถึงทรัพย์ที่ซ่อนไว้ ทำให้ไปเกิดเป็นจระเข้เฝ้าสมบัติ จระเข้อดีตเศรษฐีระลึกชาติเก่าของตนได้ รู้สึกทรมานกับชีวิตที่ไปเกิดเป็น สัตว์เดรัจฉาน ได้ไปเข้าฝันภรรยาและลูกให้ไปขุดสมบัติเอาไปทำบุญ ภรรยาและลูกได้ไปขุดสมบัติ จัดเป็นองค์กฐินเพื่อจะนำไปถวายวัดในฤดูทอดกฐิน
ฝ่ายจระเข้อดีตเศรษฐีก็ดีใจ ว่ายน้ำตามขบวนเรือแห่กฐิน แต่เนื่องจากวัดอยู่ไกล จระเข้หมดแรงว่ายน้ำต่อไปไม่ไหว ภรรยาและลูกจึงให้ช่างวาดรูปจระเข้ใส่ธงไปแทน เมื่อทอดกฐินเสร็จ ภรรยาก็อุทิศส่วนกุศลให้ว่า "บัดนี้เศรษฐีผู้ล่วงลับได้เอาทรัพย์มาทอดกฐินถวายพระแล้ว"
ขณะนั้นจระเข้ก็จะโผล่หัวขึ้นมาจากน้ำ พอทอดกฐินเสร็จ พระอนุโมทนาให้พรจบ จระเข้นั้นก็มุดน้ำหายไปเลย ทุกวันนี้ก็เลยมีธรรมเนียมอันนั้นขึ้นมา จระเข้คาบดอกบัวได้กลายเป็นสัญลักษณ์ในการทอดกฐิน ส่วนรูปนางสุวรรณมัจฉา พบแต่เพียงเล่าว่า ใช้ประดับเพื่อนำทางเบิกทางในทางน้ำ และเรียกผู้คนให้มาร่วมงานกัน
ตามแนวที่สอง มีผู้อธิบายโดยอิงหลักธรรมว่า เป็นปริศนาจากธรรมของพระพุทธเจ้าที่ท่านกล่าวถึง ภัยของภิกษุใหม่ โดยยกอุปมากับสิ่ง ๔ ชนิด คือ :
๑. วังวน ๒. คลื่นลม
๓. จระเข้ ๔. ปลาร้าย
ที่จะทำให้ภิกษุทั้งหลายไม่สามารถตั้งอยู่ในพรหมจรรย์ได้
วังวน คือ กามคุณ ๕ ความยินดีในรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส
คลื่นลม คือ คำสั่งสอนของครูบาอาจารย์ ถ้าทนคำสั่งสอนไม่ได้ก็เหมือนกับเรือที่ล่มลงกลางทะเล วัฏสงสาร
จระเข้ คือ ความเห็นแก่กิน เห็นแก่นอน ไม่ปฏิบัติธรรม
ปลาร้าย หมายถึง เพศตรงข้าม ที่จะมาเอาไปกินเสียก่อนที่จะบรรลุมรรคผล เขาก็เลยสร้างรูปนางมัจฉาขึ้น
นางมัจฉา เป็นตัวแทนของปลาร้าย ในขณะเดียวกัน บางทีก็มีรูปคลื่นอยู่ข้างล่าง บางทีก็มีน้ำวนอยู่ด้วย เมื่อรวม ๆ กันแล้วให้มันตรงกับภัยของภิกษุใหม่ หากพูดกันตามความเป็นจริง ภัย ๔ อย่างนี้ ไม่ว่าพระใหม่หรือพระเก่าเจอเข้าก็เดี้ยงเหมือนกัน สำคัญตรงที่ว่า มีสติสัมปชัญญะที่จะต่อสู้สักแค่ไหน
หากกล่าวถึง ตามแนวภูมิปัญญาไทย อาจกล่าวได้ว่า ในโบราณสมัย การจะเดินทางต้องอาศัยดาว ช่วยประกอบ เหมือนเช่นการยกทัพเคลื่อนขบวนในตอนจวนจะสว่าง จะต้องอาศัยดาวจระเข้ เพราะดาวจระเข้นี้ ขึ้นในตอนจวนจะสว่าง การทอดกฐินมีภาระมาก บางทีต้องไปทอด ณ วัดซึ่งอยู่ไกลบ้าน
ฉะนั้น การดูเวลาจึงต้องอาศัยดาว พอดาวจระเข้ขึ้น ก็เคลื่อนองค์กฐินไปสว่างเอาที่วัดพอดี และต่อมาก็คงมีผู้คิดทำธงในงานกฐิน ในชั้นต้นก็คงทำธงทิวประดับประดาให้สวยงามทั้งที่องค์กฐิน ทั้งที่บริเวณวัด
และภายหลังคงหวังจะให้เป็นเครื่องหมายเนื่องด้วยการกฐิน ดังนั้น จึงคิดทำธงรูปจระเข้ เสมือนประกาศให้รู้ว่าวัดนั้นวัดนี้ทอดกฐินแล้ว ผู้ที่ประสงค์จะทอดกฐินตกค้างจะได้ไปหาวัดอื่นๆ
แต่ว่าพอมารุ่นหลัง เนื้อหามันเปลี่ยน เรื่องของธงกฐินตอนแรก เกิดจากเรื่องเศรษฐีตระหนี่ พอตอนหลัง เนื้อหามันเปลี่ยนไป คนตีความไปอีกอย่าง ก็เลยมีธงนางมัจฉาเพิ่ม
มาระยะหลัง ๆ นี้ ก็มีครูบาอาจารย์เอาธงมาลงอักขระ เลขยันต์คาถาอาคม เอาไว้สำหรับการค้าขาย เพราะฉะนั้นสมัยหลัง ๆ ธงกฐินไม่ค่อยได้อยู่ติดวัดแล้ว พอทอดกฐินเสร็จชาวบ้านก็ล้มเสาที่ประดับธง เอาธงไปให้หลวงปู่หลวงพ่อท่านเจิม เจิมเสร็จก็เอาไปติดบ้านเป็นสิริมงคล ให้ค้าขายดี เป็นอนุสรณ์ไว้ตรึก ระลึกนึกถึงบุญกฐินที่ได้ไปบำเพ็ญมา

ส่งท้าย
บุญกฐินมีความพิเศษแตกต่างจากทานอย่างอื่นตรงที่มีข้อจำกัดมาก พอสรุปได้ ๗ ประการ คือ :
๑. จำกัดประเภททาน คือ ต้องถวายเป็นสังฆทานเท่านั้น จะถวายเฉพาะเจาะจงภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง
เหมือนทานอย่างอื่นไม่ได้
๒. จำกัดเวลา คือ ต้องถวายภายในระยะเวลา ๑ เดือน นับแต่วันออกพรรษาเป็นต้นไป
๓. จำกัดงาน คือ พระภิกษุที่กรานกฐินต้องตัด เย็บ ย้อม และครองให้เสร็จภายในวันที่กรานกฐิน
๔. จำกัดไทยธรรม คือ ผ้าที่ถวายต้องถูกต้องตามลักษณะที่สงฆ์กำหนดไว้
๕. จำกัดผู้รับ คือ พระภิกษุผู้รับกฐิน ต้องเป็นผู้ที่จำพรรษาในวัดนั้นโดยไม่ขาดพรรษา
และจำนวนไม่น้อยกว่า ๕ รูป
๖. จำกัดคราว คือ วัด ๆ หนึ่งรับกฐินได้เพียงปีละ ๑ ครั้งเท่านั้น
๗. จำกัดสถานที่ คือ เมื่อเวลาพระสงฆ์จะสวดญัตติทุติยกรรมวาจา ว่าด้วยเรื่องกฐิน จะต้องทำในเขตสีมาเท่านั้นด้วยเหตุจำกัดทั้งหมดนี้ บุญกฐิน จึงมีอานิสงส์มาก



แหล่งข้อมูลอ้างอิง
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย, ๒๕๓๙.
มหามกุฏราชวิทยาลัย, พระไตรปิฎกพร้อมอรรถกถาแปล ชุด ๙๑ เล่ม. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์
มหามกุฎราชวิทยาลัย, ๒๕๓๔.
กรมศิลปากร, ปัญญาสชาดก ฉบับ หอสมุดแห่งชาติ. พระนคร : โรงพิมพ์อักษรบริการ,
๒๔๙๙.
พระธรรมธีรราชมหามุนี (โชดก ญาณสิทฺธิ ป.ธ.๙), กฐิน ผ้าป่า อานิสงส์. พิมพ์ครั้งที่ ๒,
กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๔๖.
สำนักพระราชวัง, รวมเรื่องและข้อปฏิบัติเกี่ยวกับราชสำนัก. พิมพ์ครั้งที่ ๑๔, กรุงเทพฯ :
ห้างหุ้นส่วนจำกัด โรงพิมพ์เรือนแก้วการพิมพ์, ๒๕๔๗.

BUDSIR-VI: พระไตรปิฎก ประมวลคัมภีร์และแหล่งค้นพุทธศาสตร์ ฉบับคอมพิวเตอร์
http://www.mahachula.com/main.php?url=news_view&id=6
http://palungjit.com
http://www.akefuture.com/product_view.asp?pid=249
http://www.isangate.com/local/katin_04.html



(แก้ไขแล้ว รดา)



-http://watkaokrailas.igetweb.com/index.php?mo=3&art=41907064-
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
มหากฐิน ตกค้างของวัดใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ปี 2553

พระวังหน้า,ชมรมรักษ์พระวังหน้า และกองทุนหาพระถวายวัด - ใต้ร่มธรรม
-http://www.tairomdham.net/index.php/topic,646.195.html-
อ้างอิง:
ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ sithiphong อ่านข้อความ
มาแจ้งข่าวบุญด่วนมาก

เมื่อสักพักนี้ พี่แอ๊วได้โทร.มาแจ้งผมเรื่อง "กฐินตกค้าง วัดที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้"

มาแจ้งเรื่อง คร่าวๆก่อน พรุ่งนี้พี่แอ๊วจะส่งรายละเอียดมาแจ้งให้ผมทราบอีกครั้ง

วัดที่สามจังหวัดชายแดนภาคใ้ต้ จำนวน 119 วัด ยังไม่มีเจ้าภาพกฐิน สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พระองค์ท่านดูแลเรื่องนี้อยู่
ได้มีรับสั่งกับท่านเจ้าอาวาสวัดห้วยมงคล ในเรื่องนี้

ท่านเ้จ้าอาวาสวัดห้วยมงคล ท่านรับเรื่องกฐินมาจำนวน 64 วัด แต่มีวัดจำนวน 34 วัด ซึ่งได้มีเ้จ้าภาพแล้ว ยังคงเหลืออีก 30 วัด

การทอดกฐินในครั้งนี้ จะทอดกฐินในวันที่ 31 ตุลาคม 2553 ที่พระตำหนักทักษิณราชนิเวศน์

ผมเองได้จองผ้าไตรไว้ 5 ชุด โดย 3 ชุดมีเจ้าภาพก็คือ

1.ชมรมรักษ์พระวังหน้า
2.คณะกองทุนหาพระถวายวัด
3.ผม,ผบทบ.และครอบครัว

ส่วนผ้าไตรชุดที่ 4 และ ที่ 5 ยังไม่มีเจ้าภาพ (หากไม่มีเจ้าภาพ ผมจะแยกโดย ชุดที่ 4 จะเป็นครอบครัวผม และชุดที่ 5 จะเป็นครอบครัวผบทบ.ผม)

ผ้าไตรครบชุด ประมาณ 2,000 - 2,500 บาท

กฐินอีก 30 วัด พี่แอ๊วได้โทร.มาบอกว่า อยากได้จำนวนเงินกฐินกองละ 3,000 บาท หรือมากกว่านั้น
โดยเงินที่ร่วมทำบุญจะกระจายไปในกองกฐินทุกๆกอง

ผมให้ร่วมทำบุญเฉพาะสมาชิกชมรมรักษ์พระวังหน้า , คณะพระวังหน้า , คณะกองทุนหาพระถวายวัด เท่านั้น เนื่องจากเงินที่ร่วมทำบุญ
จะโอนเข้าบัญชีส่วนตัวผม รายละเอียดบัญชีที่ผมจะให้โอนเงิน ผมจะแจ้งให้ทราบทาง Email เท่านั้นครับ

ซึ่งสมาชิกชมรมรักษ์พระวังหน้า , สมาชิกคณะพระวังหน้า และ สมาชิกกองทุนหาพระถวายวัด ผมได้แจ้งรายชื่อแล้วว่า ท่านอยู่ในส่วนไหนครับ

การทอดกฐินในครั้งนี้ จะทอดกฐินในวันที่ 31 ตุลาคม 2553 ที่พระตำหนักทักษิณราชนิเวศน์ ดังนั้น การโอนเงินร่วมทำบุญ ต้องโอนเงินภายในวันศุกร์ที่ 22 ตุลาคม 2553 นี้เท่านั้น

ผมรอรายละเอียดทั้งหมดจากพี่แอ๊ว ในวันพรุ่งนี้ครับ

โมทนาบุญทุกประการ

-----------------------------------------------

.
อ้างอิง:
ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ Pinkcivil อ่านข้อความ
ผมกับแฟนร่วมทำถวายผ้าไตร 1 ชุดครับ

ส่วนเรื่องกฐินทราบจากลุงต้อย(สถาพร) เหมือนกัน แต่ยังไม่ทราบรายละเอียดอ่ะครับ

-----------------------------------------------

อ้างอิง:
ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ sithiphong อ่านข้อความ
สำหรับชุดผ้าไตร และ เงินร่วมทำบุญ

เรื่องนี้ ผมขออนุญาต ถอนเงินของชมรมรักษ์พระวังหน้า มาจำนวน 10,000 บาท เพื่อมาร่วมในงานบุญนี้
และผมจะแจ้งและขอโทษท่านสมาชิกชมรมรักษ์พระัวังหน้าทุกๆท่านทราบทาง Email ในการที่ผมตัดสินใจโดยพละการครับ

.
สำหรับชุดผ้าไตร ยังเหลืออีก 1 ชุด ครับ


.
ส่วนคุณธวัช และ คุณปฐม ที่ได้โอนเงินมาให้ผม และบอกผมว่า แล้วแต่ผมจะนำไปทำบุญอะไรสุดแล้วแต่ผม ผมจะนำเงินของคุณธวัช และ คุณปฐม ทั้งหมด
ทำบุญในงานมหากฐินในงานนี้นะครับ

บุญใหญ่มากครับงานนี้

เป็นงานกฐินตกค้าง และ วัดก็อยู่ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ด้วยครับ


อ้างอิง:
ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ sithiphong
เรียนคุณหนุ่มค่ะ

พี่ขอแก้ไขรายละเอียดเรื่องตัวเลขตามที่ได้โทร.เรียนคุณหนุ่มไว้นะคะ
พี่พิมพ์รีบๆ เลยผิดพลาดไป ต้องขออภัยด้วยค่ะ ตัวเลขที่ถูกต้องคือ กฐินกองละ
3,000 บาท จำนวน 100 กอง ก็จะได้ยอดเงิน 300,000 บาท
สำหรับจัดสรรให้วัดละ10,000 บาท จำนวน 30 วัด
แต่ถ้ามีผู้ร่วมทำบุญเกินกว่าที่ตั้งไว้ ก็จะได้ร่วมทำบุญไปกับทุกวัด
ถือเป็นมหาสังฆทานเลยนะคะ ที่มีโอกาสได้ร่วมถวายกฐินพร้อมกันทีเดียว 119 วัด
มีพระภิกษุสงฆ์มาชุมนุมร่วมกันถึง 595 รูป ( วัดละ 5 รูป )

กำหนดการคร่าวๆ คือทางในวังจะจัดเลี้ยงภัตตาหารเพลพระที่นิมนต์มาทั้งหมด
หลังจากนั้นจะเป็นการถวายผ้าพระกฐินและผ้ากฐินพร้อมกันทุกวัด
ให้แล้วเสร็จภายในเวลาบ่ายโมง เพราะหน่วยทหารจะต้องส่งพระกลับวัดก่อนค่ำ
แล้วผู้ที่เดินทางไปทำบุญก็ต้องรีบเดินทางออกจากพื้นที่พร้อมๆกัน
เพื่อความปลอดภัย ซึ่งพี่จะร่วมเดินทางไปกับคณะของท่านเจ้าอาวาสวัดห้วยมงคลด้วยค่ะ

การได้ร่วมทำบุญในมหากฐินครั้งนี้
พี่คิดว่ามีอานิสงส์มากเพราะนอกจากจะได้อานิสงส์ของกฐินแล้ว
ถือว่าได้ร่วมทำบุญโดยเสด็จพระราชกุศล
และได้ช่วยงานของพระศาสนาให้ยั่งยืนด้วย เพราะพระภิกษุสงฆ์ที่จำพรรษาอยู่ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ อยู่อย่างยากลำบาก
และเสียสละเพื่อเจริญศรัทธาของชาวพุทธ ณ ที่นั้น
ปัจจัยที่ทำบุญเมื่อเทียบกับว่าแต่ละวัดต้องใช้ซ่อมแซมเสนาสนะภายในวัดและ เป็นค่าใช้จ่ายอื่นๆ เช่นค่าอาหารพระ ค่าน้ำ ค่าไฟ ฯลฯ
ยังคิดว่าน้อยไปที่จะต้องใช้ประโยชน์ภายใน 1 ปี เพราะไม่มีใครกล้าเข้าไปทำบุญ ขนาดถึงกาลกฐินแล้วยังไม่มีเจ้าภาพ
แม้แต่ชาวบ้านในท้องถิ่นเลย สงสารพระที่ท่านจำพรรษามาจนครบไตรมาสด้วย ท่านจะได้มีกำลังใจในการที่จะเจริญศรัทธาญาติโยมต่อไป

พี่ขอกราบอนุโมทนาบุญกับคุณหนุ่มด้วยนะคะ
ที่เป็นกำลังของพระศาสนาอย่างเข้มแข็งและต่อเนื่อง ปีนี้
สนส.ผาผึ้งไม่ได้รับกฐิน เพราะมีพระจำพรรษาเพียง 3 รูป คือ พระอาจารย์นิล
พระอาจารย์ตุ้ย และพระอีก 1 รูป
จึงถือเป็นโอกาสที่ดีที่คุณหนุ่มได้นำหมู่คณะร่วมเป็นเจ้าภาพมหากฐินครั้งนี้
เมื่อแล้วเสร็จจากงานกฐินก็คงต้องจัดผ้าป่าปิดงานพระเจดีย์อีกครั้ง
รวมทั้งผ้าป่าระบบประปาและห้องน้ำของ สนส.ผาผึ้ง แต่ค่อยว่ากันอีกทีนะคะ

พี่ขอรบกวนคุณหนุ่มช่วยรวบรวมปัจจัย และรายชื่อเจ้าภาพทั้งหมด ในนามชมรมทั้ง
2 ชมรมด้วยนะคะเพื่อจะได้ออกใบอนุโมทนาบัตรให้สำหรับผู้ที่ต้องการ
และหากมีผู้ประสงค์จะร่วมทำบุญโดยที่ไม่ได้เป็นสมาชิกของชมรมเลย

**พี่ขอแจ้งบัญชีธนาคารไว้เป็นสาธารณะได้
โดยขอให้แจ้งหน้าเว็บว่าร่วมทำบุญจำนวนเท่าไหร่ พี่จะได้จัดการได้ถูกต้อง
บัญชีของพี่นะคะ : ธนาคารกรุงไทย สาขาถนนเพชรบุรีตัดใหม่ เลขที่บัญชี
.................ชื่อบัญชี ..................ค่ะ**

จากพี่แอ๊ว แจ้งมาให้ผมทราบทาง Email ครับ

---------------------------------------------

เรื่อง เลขที่บัญชีของพี่แอ๊ว สำหรับท่านใดที่ไม่ได้เป็นสมาชิกชมรมรักษ์พระวังหน้า , สมาชิกกองทุนหาพระถวายวัด
และ สมาชิกคณะพระวังหน้า ที่ผมได้แจ้งให้ทราบทาง Email แล้วนั้น มีความประสงค์ทึ่จะร่วมทำบุญ ผมจะ pm หมายเลขบัญชีให้ท่านทราบครับ

sithiphong


.
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 05, 2012, 10:39:10 am โดย sithiphong »
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
"อาจารย์เทพย์ สาริกบุตร"ผู้ทำนาย 14 ตุลามหาวิปโยค และ สมัคร จะได้เป็นนายกรัฐมนตรี
-http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1353052819&grpid=01&catid=&subcatid=-

ส.สีมา  ศิลปวัฒนธรรม พ.ย. ๒๕๕๕

 


“เวทย์มนต์ย่อมเป็นที่สักการะของชนชาวไทยมาแต่ครั้งบรรพกาล จนเป็นที่เชื่อถือและฝังแน่นอยู่ในสายเลือดของคนไทยแทบทุกคนจนกระทั่งปัจจุบันนี้
แต่ปรากฏว่ามีบางสิ่งบางอย่างที่มีความข้องใจในเคล็ดบางประการที่ใช้เป็นหลักในเวทย์มนต์คาถา ซึ่งจะหาศึกษาเล่าเรียนจากตำหรับต่างๆ ก็หาไม่ได้”

เทพย์ สาริกบุตร

จากหนังสือเคล็ดลับไสยศาสตร์
 
ชื่อ “เทพย์” เป็นนามมงคล หลวงวิศาลดรุณกร ผู้เป็นอาตั้งให้ ซึ่งมีความหมายว่าสูงส่งในความรู้ ความสามารถ ส่วนนามสกุล “สาริกบุตร” (Sarikaputra)
เป็นนามสกุลพระราชทานลำดับที่ ๑๒๔๗ โดยในหลวงรัชกาลที่ ๖ พระราชทานแก่ขุนพิทักษ์นาวา (ขุนทอง) ผู้เป็นต้นตระกูล “สาริกบุตร”

 

อาจารย์เทพย์ สาริกบุตร เป็นนักวิชาการผู้เชี่ยวชาญสายไสยศาสตร์และพุทธาคม ระดับต้นๆ ของเมืองไทย
รวมทั้งเป็นนักโหราศาสตร์ชั้นเยี่ยมที่หาตัวจับได้ยากคนหนึ่ง เป็นชาวกรุงเทพฯ เกิดเมื่อวันที่ ๒๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๖๒
และตายเมื่อวันที่ ๒๒ กันยายน พ.ศ. ๒๕๓๖ รวมอายุ ๗๔ ปี วงการศึกษาไสยศาสตร์ พุทธาคม
และโหราศาสตร์ถือว่าได้สูญเสียบุคคลสำคัญที่หาใครทดแทนได้ยาก
เพราะตลอดชีวิตของท่านได้ทุ่มเทให้กับการศึกษาค้นคว้าศาสตร์ดังกล่าวอย่างเต็มที่

 

มีบางคนเปรียบเทียบท่านกับ คาร์ล กุสตาฟ จุง  จิตแพทย์ชาวสวิสที่อุทิศเวลาทั้งหมดให้กับการศึกษาค้นคว้าอนาไลติกไซโคโลยี (Analytic Psychology)
หรือวิชาจิตวิทยาวิเคราะห์อย่างจริงจัง สาเหตุเสริมส่วนหนึ่งน่าจะเป็นเพราะ อาจารย์เทพย์ สาริกบุตร มีเศรษฐานะดี
ตระกูลขุนนาง มีเงินทองสมบูรณ์ ไม่ต้องปลีกเวลาส่วนหนึ่งไปประกอบการงานหาเลี้ยงชีพ

 

บิดาของอาจารย์เทพย์ สาริกบุตร รับราชการ แม้มิได้ระบุนาม สายงาน และบรรดาศักดิ์ ก็เชื่อว่ามีตำแหน่งค่อนข้างใหญ่
โดยรับราชการทั้งในกรุงเทพฯ และในส่วนภูมิภาค มีประวัติว่า บิดาเป็นศิษย์หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า จังหวัดชัยนาท
กับเป็นศิษย์หลวงปู่สี วัดมณีชลขัณฑ์ จังหวัดลพบุรี อีกด้วย

 

ฝ่ายมารดาของอาจารย์เทพย์ สาริกบุตรเอง ก็เป็นญาติสนิทกับ พันเอก หลวงธรณีนิติญาณ ผู้ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านไสยศาสตร์และดาราศาสตร์เช่นกัน

 

ส่วนอาคือ หลวงวิศาลดรุณกร (อั้น สาริกบุตร) เคยเป็นอดีตอาจารย์คนแรกของโรงเรียนพลศึกษาก่อนจะมา
ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการฝ่ายการปกครองโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย หลวงวิศาลฯ ผู้นี้เป็นผู้เชี่ยวชาญโหราศาสตร์ พุทธาคม
กับวิชากรรมฐานแห่งสำนักวัดสิทธาราม ซึ่งมีพระสังวราราม (ชุ่ม) เป็นเจ้าสำนัก
พระอาจารย์ชุ่มองค์นี้เป็นผู้เชี่ยวชาญวิปัสสนากรรมฐานอย่างยิ่งองค์หนึ่งในสมัยนั้น

 

จึงเห็นได้ว่า อาจารย์เทพย์ สาริกบุตร เติบโตมาจากสภาพแวดล้อมแห่งพุทธาคม ไสยศาสตร์ และโหราศาสตร์มาตั้งแต่ต้น
ชวนให้เข้าใจว่าท่านได้ถูกจูงใจหล่อหลอมอย่างสำคัญให้สนใจศึกษาอย่างลึกซึ้งในด้านนี้

 

เพราะฉะนั้นคราวหนึ่งเมื่อบิดาย้ายไปรับราชการในต่างจังหวัด อาจารย์เทพย์ก็มิได้ติดตามบิดาไปด้วย คือยังคงอยู่ในกรุงเทพฯ
ศึกษาแสวงหาวิชาที่อาจเรียกรวมๆ ว่าไสยเวทพุทธาคม อันเป็นความรู้ชั้นยอดทั้งทางพราหมณ์และทางพุทธ ตามสำนักและวัดต่างๆ ในเบื้องต้น
เช่น วัดสามปลื้ม วัดปทุมคงคา และวัดสามจีน เป็นต้น สามวัดนี้มีอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญวิชาไสยเวทพุทธาคม เชี่ยวชาญการสัก-สักยันต์
ผู้มีชื่อเสียงอันเป็นที่นิยมมากในสมัยนั้นหลายท่านอีกด้วย

 

จากนั้นจึงไปศึกษาในสำนักพระมหาโต๊ะ วัดราชบูรณะ ด้านการสักยันต์และวิชากรรมฐาน และกับท่านพระครูใบฎีกาเทพย์ สิงหรักษ์ วัดระฆัง
ก่อนจะศึกษาไสยศาสตร์กับท่านเจ้าคุณศรี วัดสุทัศน์ ศึกษาวิชาพระยันต์ ๑๐๘, นะ ๑๔ ตำรับพระพนรัต วัดป่าแก้ว
รวมทั้งวิชาหล่อพระชัยวัฒน์และพระกริ่งด้วย ทำให้อาจารย์เทพย์เชี่ยวชาญการหล่อพระกริ่งในเวลาต่อมา
ที่รู้จักกันดีก็คือ พระกริ่งปวเรศน้อย ที่กระทำการหล่อขึ้นครั้งอุปสมบทที่วัดสีหไกรสร (วัดช่องลม) เขตบางกอกน้อย
การอุปสมบทของท่านครั้งนั้นนัยว่ามีปัญหาการให้ฤกษ์กับคณะรัฐประหารคณะหนึ่ง ต่อเมื่อปัญหาได้รับการคลี่คลายแล้วจึงได้ลาสิกขา

 

หลังจากศึกษาวิชาในสำนักต่างๆ เขตกรุงเทพฯ ธนบุรี ระยะหนึ่ง จึงได้ศึกษาต่อสำนักต่างๆ ในส่วนภูมิภาค
เช่น สำนักอาจารย์สี วัดมณีชลขัณฑ์ จังหวัดลพบุรี สำนักหลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว สำนักวัดประดู่โรงธรรม
สำนักหลวงปู่เทียม วัดกษัตราธิราช และสำนักหลวงพ่ออั๋น วัดพระญาติ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ทั้งนี้รวมทั้งสำนักหลวงปู่รอด วัดบางน้ำวน วัดน้อยทองอยู่กับวัดภุมรินทร์ราชปักษา (วัดทั้งสองวัดนี้ได้ร้างไปแล้วเมื่อครั้งสงครามโลกครั้งที่ ๒)

 

เมื่ออาจารย์เทพย์ได้ไปศึกษาวิชาจากสำนักต่างๆ ที่ลพบุรีและอยุธยาแล้วระยะหนึ่ง ก็กลับมาศึกษาต่อกับสำนักต่างๆ ในกรุงเทพมหานครอีก
เช่น กับพระครูสมุห์โต๊ด วัดชนะสงคราม และอาจารย์พรหม สำนักวัดพระเชตุพน เป็นต้น

 

แท้จริงแล้วอาจารย์เทพย์จะเดินสายศึกษาวิชาไสยเวทพุทธาคมระหว่างกรุงเทพฯ อยุธยา และลพบุรี จนเกือบตลอดชีวิต
สำหรับผลงานของอาจารย์เทพย์พอที่จะจำแนกได้ มีดังต่อไปนี้ ยกเว้นความเชี่ยวชาญเรื่องไสยศาสตร์ ซึ่งจะพูดถึงในตอนต่อไป คือ

 

เรื่องการสร้างพระกริ่ง มีพระกริ่งหลายชนิดอันเป็นที่นิยมที่อาจารย์เทพย์ได้จัดทำขึ้น เช่น พระกริ่งปวเรศน้อย พระกริ่งจอมสุรินทร์
พระกริ่งเอกาทศรถ พระกริ่งจิตคุโต พระกริ่งดาวเจ็ดดวง และพระกริ่งนวโกฏิ

 

เครื่องรางของขลัง ตะกรุด และยันต์ในตะกรุด เช่น ตะกรุดมหาจักรพรรดิ ตะกรุดคงกระพัน ตะกรุดดวงพิชัยสงคราม และตะกรุดคู่ชีวิต
ทั้งนี้รวมทั้งการลงยันต์และการทำผง เช่น ผงปถมัง อิทธิเจ ตรีนิสิงเห หัวใจ ๑๐๘ และมหาราชาด้วย
เป็นเจ้าพิธีสำคัญ เช่น พิธีมหาจักรพรรดิกษัตราธิราช

 

ความสามารถในการแกะไม้โพธิ์ พุทธมนต์ปางห้ามญาติ แกะไม้โพธิ์นิพพาน กับการแกะไม้ภควัมบดีจากไม้รักซ้อนและไม้หิ่งหายผี
สร้างเสื้อยันต์ผ้ายันต์ เชือกคาดเอว ซึ่งนิยมมากสมัยสงครามอินโดจีน เป็นเครื่องรางยอดนิยมอย่างหนึ่ง
นอกจากนี้ยังทำประคำเจ้าตรึงไตรภพ มีดเทพศาสตร์ (ขณะประกอบพิธีมีฟ้าผ่าลงมาเป็นที่อัศจรรย์)
นอกจากนั้นยังทำสีผึ้งเสน่หา และพิธีทำสีผึ้งสามไฟ ซึ่งดีทางเมตตามหานิยม มีคารมคมคายน่าเชื่อถือ
พิธีสุดท้ายทำที่วัดเสน่หา นอกจากนั้นมีการทำเหรียญนารายณ์แปลงรูป และเหรียญพุทธนิมิต

 

แต่ความขลังที่อาจารย์เทพย์ถูกกล่าวขานอยู่เสมอก็คือ ความสามารถในการสะเดาะกุญแจ
ความสามารถในการเสกดอกจำปาให้เป็นแมลงภู่
และเสกสีผึ้งเสน่หาให้คนเมตตารักใคร่

 

ความสามารถของอาจารย์เทพย์ตั้งแต่พิธีทำพระกริ่ง จนถึงสีผึ้งเสน่หานั้น ย่อมต้องเป็นผู้ผ่านการเจริญวิปัสสนากรรมฐาน
การเจริญกสิน และเจริญพุทธมนต์บทต่างๆ มาอย่างยาวนานและอย่างแคล่วคล่อง ช่ำชอง

 

สำหรับความเชี่ยวชาญด้านโหราศาสตร์ อาจารย์เทพย์ย่อมอยู่ในแถวหน้าอย่างไม่ต้องสงสัย จะเห็นได้จากปฏิทินโหราศาสตร์ที่อาจารย์จัดทำขึ้น
มีความละเอียดประณีตอย่างยิ่ง และเป็นปฏิทินที่สัมพันธ์กับปฏิทินดาราศาสตร์สากลด้วย (ท่านที่สนใจ ศึกษาได้ที่หอสมุดแห่งชาติ แผนกปรัชญาและศาสนา)

 

ความเชี่ยวชาญทางโหราศาสตร์ของอาจารย์เทพย์น่าจะได้รับแรงจูงใจส่วนหนึ่งมาจากหลวงวิศาลดรุณกร (อั้น สาริกบุตร) ผู้เป็นอา
ซึ่งเป็นผู้แต่งคัมภีร์โหราศาสตร์ไทย ที่ถือกันว่าเป็นตำราชั้นครูในหมู่โหรเล่มหนึ่ง

 

 

อนึ่งหลวงวิศาลดรุณกร เคยเป็นครูมวยและเป็นอาจารย์คนแรกของโรงเรียนพลศึกษากลางก่อนจะไปเป็นอาจารย์ปกครองของโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย
ครูมวยทั้งหลายย่อมสัมพันธ์กับคาถาอาคมและเวทมนตร์อยู่แล้ว เช่น วิษณุเวทย์ (วิชาพระนารายณ์ปราบหมู่พาล)
เป็นที่แน่นอนว่าเวทมนตร์คาถาเหล่านี้ย่อมส่งต่อถึงอาจารย์เทพย์ด้วยเช่นกัน

 

จากคำบอกเล่าของลูกสาวอาจารย์เทพย์คือ คุณพรทิพย์ สาริกบุตร ที่ให้สัมภาษณ์ คุณชัยวัฒน์ ตรีวิทยา เมื่อวันที่ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๕๒
ได้ความว่า อาจารย์เทพย์เคยพยากรณ์ จอมพลสฤษฎิ์ ธนะรัชต์ ครั้งมียศเป็นเพียงพันตรี เป็นนายทหารจนๆ บ้านนอก จะได้เป็นใหญ่ในบ้านเมือง
ซึ่งคงจะเป็นที่ถูกใจท่านจอมพล หลังจากท่านจอมพลได้กระทำรัฐประหารสำเร็จเมื่อปี ๒๕๐๒
อันน่าจะส่งผลให้อาจารย์เทพย์ได้เป็น ส.ส. ประเภท ๒ ในทันที ขณะนั้นอายุ ๔๐ ปี

 

ก่อนหน้านั้น เคยมีข่าวว่า ครั้งหนึ่งอาจารย์เทพย์เคยมีปัญหาเรื่องการให้ฤกษ์ยามแก่คณะรัฐประหารคณะหนึ่งจนต้องไปบวชอาศัยร่มเงาสมณเพศ
ณ วัดสีหไกรสร บางกอกน้อยนั้นและจำพรรษาอยู่ที่นั่นนานพอควร จนสถานการณ์บ้านเมืองเป็นปกติจึงลาสิกขาในที่สุด
(คณะรัฐประหารคณะนั้น อาจเป็นคณะเมื่อปี ๒๔๙๒ ซึ่งอาจารย์เทพย์มีอายุโดยประมาณ ๓๐ ปีเท่านั้น)

 

คำให้สัมภาษณ์ของคุณพรทิพย์อีกเช่นกันที่บอกว่า อาจารย์เทพย์เคยทำนายเหตุการณ์ ๑๔ ตุลา ๒๕๑๖ ว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองอย่างสำคัญ
กับเคยทำนายว่า นายสมัคร สุนทรเวช จะได้เป็นนายกรัฐมนตรี จากนั้นไม่นานนายสมัครก็ได้เป็นผู้ว่าฯ กทม.
ซึ่งเป็นตำแหน่งบริหารที่ใหญ่มาก น้องๆ นายกรัฐมนตรีเหมือนกัน ถือว่าทำนายได้ใกล้เคียง เสียดายที่อาจารย์เทพย์ตายก่อน
หาไม่ก็จะได้รู้ว่านายสมัครผู้นั้นได้เป็นนายกรัฐมนตรีจริงๆ ในอีกหลายปีต่อมา

 

 

อาจารย์เทพย์เสียชีวิตเมื่อวันที่ ๒๒ กันยายน ๒๕๓๖ ด้วยโรคเบาหวาน ต้องตัดขาทั้ง ๒ ข้าง แต่อาจารย์ก็มีกำลังใจดีเป็นเลิศ
ด้วยมีธรรมเป็นเครื่องยึดเหนี่ยว ได้รับพระราชเพลิงที่วัดพระศรีมหาธาตุ บางเขน
 

ผู้เขียนขอขอบพระคุณ ดร. สันติพงศ์ บริบาล แห่งคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่กรุณาให้ข้อมูล

-http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1353052819&grpid=01&catid=&subcatid=-
.
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 05, 2012, 10:42:11 am โดย sithiphong »
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
เซียนสู พรหมเชยธีระ



ท่านอาจารย์เชย


อาจารย์สู พรหมเชยธีระ



อาจารย์สู พรหมเชยธีระ เกิดในบ้านตระกูลชื้อ ที่ตำบลโปชั้งเฮี้ยว อำเภอเก็กเอี๊ยว จังหวัดแต้จิ๋ว มณฑลกวางตุ้ง ประเทศจีน
เมื่อปีมะแม เดือนสี่ วันที่สิบสองของจีน ซึ่งตรงกับวันพฤหัสบดีที่ ๒๓ พฤษภาคม ๒๔๕๐ มีชื่อเดิมว่า สูเชียง แซ่ชื้อ

อาจารย์สู ได้จากบ้านเดิมมาเมื่อยังหนุ่ม เพื่อแสวงหาความรู้ทางธรรมและหมอโบราณตามสำนักเต๋าขงจื๊อและศาสนาพุทธ
จากประเทศจีนได้เดินทางต่อมาในอินโดจีน ท่องเที่ยวหาความรู้ไปในประเทศเวียตนามและเขมร
สุดท้ายได้เดินทางเข้ามาในประเทศไทยเมื่ออายุได้ ๒๑ ปี โดยใช้ชื่อว่า นายเสียง แซ่ชื้อ
ได้มาพำนักที่วัดจีนแห่งหนึ่งในจังหวัดฉะเชิงเทรา ต่อมาได้บวชเป็นเณร มีฉายาว่า “เสี่ยงลก”
ได้ใช้เวลาส่วนใหญ่ในการสวดมนต์ ภาวนา มานานนักได้ย้ายมาอยู่ที่วัดเซียนฮุดยี่ จังหวัดชลบุรี

เมื่อมาอยู่เมืองไทยได้ ๓ ปี ก็เดินทางไปสิงคโปร์และสึกที่นั่น ท่องเที่ยวอยู่พักหนึ่ง ก็เดินทางกลับประเทศจีน อยู่ได้เดือนกว่า
ก็เดินทางกลับมาเมืองไทยอีก โดยมอบสมบัติทั้งหมดให้น้องชายช่วยดูแลแม่ให้ดี เมื่อเข้ามาอยู่ในเมืองไทย
ได้ไปทำงานอยู่กับคนขายก๋วยเตี๋ยวที่หัวหิน ได้ค่าจ้างเดือนละ ๑๕ บาท พอเก็บเงินได้ ๕๐ บาท
ก็เข้าหุ้นกับคนจีนไหหลำคนหนึ่ง ทำขนมปังขาย โดยในขณะเดียวกัน ก็รับจ้างทำงานกับคนขายก๋วยเตี๋ยวไปด้วย
ทำงานอยู่หัวหินได้ ๖ – ๗ เดือน ก็มอบกิจการทำขนมปังให้เพื่อนร่วมงานทั้งหมด แล้วเดินทางมาจังหวัดชลบุรี
และอยู่ที่นี่ จวบจนบั้นปลายของชีวิต ท่านอาจารย์ได้ประกอบอาชีพทอดปาท่องโก๋และขายขนปังเป็นอาชีพหลัก
ในบางครั้ง ก็เดินทางไปค้าขายตามภาคเหนือ แถวจังหวัดสุโขทัย พิษณุโลก
เมื่ออายุ 34 ปี ได้แต่งงานกับ คุณสุนันท์ บุญประเวศ จึงได้ภรรยามาแบ่งเบาภาระ ทำให้ท่านมีเวลาฝึกกรรมฐาน
และช่วยเหลือผู้อื่นได้เต็มที่



ครั้นท่านมีอายุ 41 ปีก็ได้พบพระรูปหนึ่งอยู่วัดราษฏร์บำรุง ชื่ออาจารย์เชย ซึ่งมากำกับท่านขณะนั่งกรรมฐานในนิมิตอยู่เสมอมิเคยขาด
เมื่ออาจารย์สูได้พบกับท่านอาจารย์เชยที่ตรงกับที่ท่านฝันเห็นในนิมิต จึงเกิดความเลื่อมใสได้เข้ามอบตัวเป็นศิษย์แต่นั้นมา

พระอาจารย์เชยมีวัตรปฏิบัติแปลกกว่าภิกษุอื่นๆ ปกติ ท่านไม่ค่อยพูด ในบางครั้งขุดดินอยู่ใต้พื้นดินขังตัวเอง
ทำแต่ปล่องอากาศสำหรับหายใจเหมือนเรือดำน้ำ ท่านจะครองแต่จีวรเก่าๆ
จำวัดอยู่ในโกดังเก็บศพและชอบนอนในโลงศพเป็นนิจศีล บางทีก็ออกไปนั่งอยู่กลางทุ่งนา ฝนจะตก แดดจะออกขนาดไหน
ท่านก็นั่งเฉยอยู่อย่างนั้น วันหนึ่งเด็กเลี้ยงควายไปเห็นพื้นที่ที่อาจารย์นั่งอยู่ท่ามกลางแสงแดดกลับร่มเป็นวงกลมคล้ายมีกลดมาบัง
ครั้นถึงคราวฝนตกเด็กก็ไปเห็นฝนไม่ตกเฉพาะพื้นที่ที่พระอาจารย์เชยนั่ง เด็กๆจึงโวยวายเอาไปเล่าให้ผู้ใหญ่ฟัง
เลยมีผู้คนแห่ไปขอหวยเป็นการใหญ่ จนโดนท่านด่าเปิงไปตามๆกัน

เมื่อท่านอาจารย์สูไปขอมอบตัวเป็นศิษย์นั้น พระอาจารย์เชยสั่งให้นำดอกไม้ 5 ชนิดไปถวาย
แล้วท่านได้สอนวิชากำหนดลมหายใจเข้าออก หรืออานาปานสติ แล้วไล่ให้อาจารย์สูไปปฏิบัติเอง

ท่านอาจารย์สูเคยเล่าว่า พระอาจารย์เชยชอบทำอะไรแผลงๆ เช่น คราวหนึ่งท่านปืนขึ้นไปบนยอดตาลแล้วเอาใบตาลเสียบแขน 2 ข้าง
เป็นปีกกระพือขึ้นลง พลางตะโกนว่า "กูจะเหาะแล้วโว้ย ! กูจะเหาะแล้วโว้ย!"

ทันใดนั้นก็กระโดลงมาจากยอดตาลถึงพื้นดินเดินขึ้นกุฏิหน้าตาเฉย ถ้าเป็นคนธรรมดาขาคงหักป่นปี้กองอยู่ตรงนั้น

มีอยู่อีกคราวหนึ่งอาจารย์สูไปเห็นพระอาจารย์เชยนั่งตกปลาอยู่ พอได้ปลาก็เอาขึ้นมาทุบหัว เลือดสาดกระจาย
แล้วขอดเกล็ดหั่นลงหม้อทั้งๆ ที่ปลายังดิ้นกระแด่วๆอยู่ พอแกงสุกก็ตักฉัน ปากก็บอกว่า "อร่อยๆ" แล้วเรียกอาจารย์สูให้ไปกิน
อาจารย์สูชิมดูรู้สึกมีรสฝาด พอพระอาจารย์เชยไปแล้วจึงเข้าไปเปิดฝาหม้อดู เห็นมีแต่ใบไม้ลอยเต็มไปหมด!

วันหนึ่งอาจารย์สูเที่ยวตามหาอาจารย์เชยทั่ววัดก็ไม่พบ ไปเจอท่านกำลังยืนพิงเจดีย์ หัวเราะอยู่คนเดียว
อาจารย์สูเข้าไปถามว่ามาทำอะไรอยู่ที่นี่ พระอาจารย์ตอบว่ากำลังดูละครสนุก สนุก
อาจารย์สูสงสัยถามว่าละครที่ไหน ท่านบอกว่าละครที่กรุงเทพฯ อยากดูไหม

ว่าแล้วพระอาจารย์ก็ชี้ให้อาจารย์สูดูที่กำแพง ปรากฏว่าท่านยกละครมาทั้งโรงมาแสดงให้ดูจริงๆ
เป็นภาพปรากฏออกมาเหมือนเขาถ่าย ทีวีกระนั้น

ครั้งท่านอาจารย์สูไปค้างกับพระอาจารย์เชยบนเขาปากแรดนั้น ท่านเล่าว่าเมื่อพระอาจารย์เชยฉันข้าวเสร็จ
ท่านจะเอาข้าวสุกกองไว้กลางแจ้งปากก็เรียก "หนูจ๋า มากินข้าว" สักครู่เห็นหนูนับร้อยๆตัวออกมาแย่งกินข้าวกันให้เจี๊ยวจ๊าวไปหมด
พระอาจารย์เชยเห็นดังนั้นก็สั่ง "เข้าแถวเรียงหนึ่งกินทีละตัว" พวกหนูก็จะเข้าแถวกินทีละตัวจนอิ่ม ฯลฯ

เมื่ออาจารย์สูปฏิบัติอานาปานสติสำเร็จแล้ว เช้าวันหนึ่งพระอาจารย์เชยก็เรียกเข้าไปหาแล้วบอกว่า "ภารกิจของอาตมาเสร็จสิ้นแล้ว"
พลางชูนิ้ว 3 นิ้วให้ดู

ท่านอาจารย์สูได้ฟังดังนั้นก็ก้มลงกราบ แล้วรีบลงจากภูเขาเป็นการด่วน เที่ยวไปซื้อจีวรครองทั้งชุดมาเปลี่ยนให้พระอาจารย์ของตน
พอครบ 3 วันตามที่ท่านบอก พระอาจารย์เชยก็ถึงแก่มรณภาพในท่านั่งสมาธิ ป่าทั้งป่าที่เคยมีสัตว์ร้องวุ่นวายไปทั้งดงก็เงียบกริบ
เหมือนไม่มีสิ่งที่มีชีวิตอาศัยอยู่ แม้แต่ใบไม้ก็ไม่ไหวติง

หลังจากเผาศพท่านแล้ว อัฐิของท่านกลายเป็นพระธาตุหมด มีอยู่ชิ้นหนึ่งเป็นสามกษัตริย์ คือ เงิน นาค ทองทั้งแท่ง

เมื่ออาจารย์สูฝากตัวเป็นศิษย์กับพระอาจารย์เชยแล้ว ท่านก็หมั่นกระทำความเพียรโดยมานะ ครั้นมีอายุ 44 ปี
ก็เริ่มปฏิบัติอย่างจริงจัง ด้วยการแยกที่นอนกับภรรยาอย่างเด็ดขาด เพื่อประพฤติพรหมจรรย์แต่นั้นมา

ต่อมาท่านอายุได้ประมาณ 50 ปีเศษ หลังจากระอาจารย์เชยมรณภาพไม่นานนัก อาจารย์สูได้พาครอบครัวย้ายมาอยู่บ้านที่สร้างขึ้นใหม่
ในที่ดินที่เช่าจากวัดกำแพง ทั้งเลิกประกอบอาชีพทำขนมปัง และเริ่มให้การรักษาโรคแก่คนทั่วไปตามตำรายาจีน
ซึ่งถ่ายทอดมาจากตระกูล ประกอบกับการศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมด้วยตนเอง
นอกจากนั้นยังได้สอนธรรมะและวิธีปฏิบัติกรรมฐานแก่ผู้ที่สนใจ ทั้งยังแนะนำช่วยเหลือผู้อื่นที่แบกทุกข์มาหาท่าน
นับเป็นที่พึ่งแก่คนทั้งปวงแต่บัดนั้น

ซึ่งเรื่องนี้ คุณวิมล ศิริไพบูลย์ เจ้าของนามปากกา "ทมยันตี" ได้เล่าให้ผู้เขียนฟังว่า

"อาเตีย" เป็นอาจารย์คนแรกที่สอนอี๊ดให้ปฏิบัติในทางที่ถูกต้อง เพราะเดิมอี๊ดชอบเล่นกสิณ
แต่อาเตียสอนให้อี๊ดจับลมหายใจเข้าออก อันเป็นแบบอานาปานสติกำหนดจิตดูลมหายใจของตนเอง"

คำว่า "อาเตีย" นี้เป็นสรรพนามที่คุณวิมลเรียกท่านอาจารย์สูด้วยความเคารพรักอย่างลึกซึ้ง
ทั้งนี้เพราะในบั้นปลายชีวิตของท่านอาจารย์สูได้ใช้เวลาอบรมสั่งสอนลูกหลาน และบรรดาศิษย์เป็นส่วนใหญ่
และในบรรดาศิษย์ทั้งหมดนั้น คุณวิมลเป็นศิษย์ที่ท่านยอมรับเป็นลูกสาวของท่านเพียงคนเดียวเท่านั้น

คุณวิมลได้เล่าให้ฟังว่า ท่านอาจารย์สูได้สงเคราะห์ความช่วยเหลือแก่ผู้อื่นด้วยดีเสมอมา
โดยไม่ต้องการชื่อเสียงเกียรติยศหรืออามิสใดๆ ท่านปฏิบัติเช่นนี้จนกระทั่งท่านจากไป

"ทมยันตี"ได้เล่าถึงเรื่องของเธอที่อาจารย์สูเคยช่วยเหลือว่า วันหนึ่ง ติ๊ก ลูกสาวคนเล็กของท่าน
นั่งสมาธิตรวจอาการปวดศีรษะของเธอซึ่งเป็นมานาน แล้วก็หันไปพูดกับท่านด้วยภาษาจีนอยู่นาน
พอจับใจความได้ว่าเธอกำลังเป็นเนื้องอกในสมอง

ครั้นท่านอาจารย์สูทราบจากลูกสาวแล้วก็เรียก "ทมยันตี" ให้ออกไปกลางแจ้งกับท่านเพียง 2 คน สั่งให้เธอนั่งคุกเข่า
ตัวท่านอาจารย์เองยืนเพ่งดวงอาทิตย์จนนัยน์ตาแดงดังนกกรดแล้วก้มลงใช้สายตาของท่านเพ่งที่หน้าผากของเธอครู่ใหญ่
เสร็จแล้วบอกว่าท่านช่วยได้แต่เพียงแค่นี้ คือหมายถึงเนื้องงอกที่กำลังจะเป็นในสมองไม่มีโอกาสจะงอกอีก
หากทว่าโรคปวดศีรษะยังคงมีต่อไป แต่ไม่มากเหมือนก่อน
"ทุกวันนี้อี๊ดปวดหัวเกือบทุกวัน แต่ไม่ค่อยรุนแรงพอทนได้" เธอบอก

ท่านอาจารย์สูได้ให้ความรักและความเมตตาแก่ "ทมยันตี" เหมือนลูกในไส้ ขนาดถ่ายทอดวิชาให้แก่เธอ
แต่มีข้อแม้ว่า ถึงจะมีใครมาปลุกในเวลาตี 1 ตี 2 เพื่อขอความช่วยเหลือก็จะต้องตื่นไปช่วยเหลือเขา

"อี๊ดตื่นไม่ไหวจ๊ะ เลยไม่ขอรับวิชานั้น แต่ท่านก็ให้วิชาแก่อื๊ดมาพอสมควร"

ด้วยความเคารพรักอย่างสุดใจที่"ทมยันตี"มีต่อ "อาเตีย" ของเธอนั้น ทำให้เธอทนดูสภาวการณ์บางอย่างไม่ไหว

เพราะผู้ที่ไปพึ่งท่านอาจารย์สูนั้น ไม่เคยคิดเลยว่าท่านต้องการจะพักผ่อนบ้าง
โดยเฉพาะต้องรับประทานอาหารเช่นเดียวกับมนุษย์ทั้งหลาย ฉะนั้น ท่านอาจารย์จึงต้องรับแขกตั้งเช้าจนถึงบ่าย
โดยไม่มีข้าวตกถึงท้องสักเม็ด ในขณะที่แขกหมุนเวียนเปลี่ยนกับไปออกหาอาหารรับประทานกันได้ตลอดเวลา

เมื่อ "ทมยันตี" เห็นเหตุการณ์เกิดขึ้นเช่นนี้อยู่เนื่องๆ วันหนึ่งเธอหมดความอดทน จึงเดินขึ้นบันไดปังๆไปหา"อาเตีย"ของเธอ
แล้วบอกด้วยสำเนียงที่เฉียบขาดว่า

"อาเตีย ไปทานข้าว! ตั้งแต่เข้าจนถึงบ่าย อาเตียไม่ได้หยุดเลย แต่พวกคุณๆ ผลัดกันลงไปทานกันทุกคน ฉะนั้นขอหยุดให้อาเตียได้พักผ่อนบ้าง"

แขกทุกคนที่นั่งอยู่ถึงแก่ตะลึง ส่วน"อาเตีย" ก็ยอมลุกเดินตาม "ทมยันตี" ไปรับประทานข้าวแต่โดยดี

และแล้ววันหนึ่งหัวใจของ"ทมยันตี" นักเขียนสตรีนามอุโฆษก็แทบจะแตกสลาย
เมื่อทราบว่า "อาเตีย" ที่เคารพรักประดุจบิดาบังเกิดเกล้าของเธอ ถึงแก่กรรมด้วยการนั่งสมาธิแล้วถอดจิตออกจากสังขาร
เช่นเดียวกับท่ามรณภาพของพระอาจารย์ท่าน ในคืนวันที่ 17 เมษายน 2522 เวลาประมาณ 20.45 น.

โดยมีคำกลอนที่เขียนบนกระดาษชิ้นน้อยติดไว้ใต้เสื่อที่ท่านนั่งเพียง 4 ประโยคว่า
ละครปิดฉาก
ลงเรือข้ามฟาก
ที่นี่เรียบเรียบ
ฝากให้รู้ข่าว
สู พรหมเชยธีระ



ที่มา -http://forums.apinya.com/อภิญญา/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0
%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0-%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%B8%E0
%B8%84%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0
%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87/372-อภิญญา-%E0%B9%80%E0%B8%8B%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%B9-%E0%B8%9E%
E0%B8%A3%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%A2%E0%B8%98%E0%
B8%B5%E0%B8%A3%E0%B8%B0.html-

เซียนสู พรหมเชยธีระ - อภิญญา อภิญญาใหญ่ คณะตามรอยพระพุทธบาทแก้วมณีโชติ
คณะพระธาตุแก้วมณีโชติ พุทธบูชา ธรรมบูชา สังฆบูชา - อภิญญา.คอม : Apinya.com


.

หากไม่เห็นรูป  ไปดูรูปตามลิงค์ด้านบน หรือ ผมลงไว้ตามลิงค์นี้ -http://board.palungjit.com/f179/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B2-%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%9E%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%81%E0%B8%AD%E0%B8%B8%E0%B8%94%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%81-%E0%B8%96%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%88%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%89-22445-2569.html-

http://board.palungjit.com/f179/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B2-%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%9E%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%81%E0%B8%AD%E0%B8%B8%E0%B8%94%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%81-%E0%B8%96%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%88%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%89-22445-2569.html

.
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 19, 2013, 09:01:59 pm โดย sithiphong »
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
[SIZE="1"].[/SIZE]



ขอพระองค์ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน
ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ
เหล่าข้าพระพุทธเจ้า ชมรมพระวังหน้า
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
กรมศิลป์ขุดพระราชวังหน้า พบกำแพง-โบราณวัตถุอายุ 230 ปี
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์    13 ธันวาคม 2555 18:15 น.



   ‘กรมศิลป์’ ขุดพระราชวังหน้าครั้งแรก ตลึงพบแนวกำแพงโบราณ-โบราณวัตถุอายุกว่า 230 ปีต้นรัตนโกสินทร์ เร่งเก็บข้อมูลเปรียบเทียบหลักฐานเดิม
       
       นายสหวัฒน์ แน่นหนา อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวว่า ได้รับรายงานความคืบหน้าโครงการอนุรักษ์และพัฒนาพระราชวังบวรสถานมงคล (วังหน้า) บริเวณพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร โรงละครแห่งชาติ โรงละครหอศิลป์วังหน้า และสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ (สบศ.) ซึ่งเป็นโครงการอนุรักษ์ พัฒนาและฟื้นฟูพื้นที่พระราชวังบวรสถานมงคล ให้เหมาะสมกับความสำคัญการเป็นวังหน้าในอดีต จึงต้องรวบรวมและเก็บกู้หลักฐานทางโบราณคดี ข้อมูลทางโบราณคดี ประวัติศาสตร์ สถาปัตยกรรม รวมถึงความเปลี่ยนแปลงในการใช้พื้นที่บริเวณวังหน้า ตั้งแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบันใหม่อีกครั้ง เนื่องจากพื้นที่วังหน้า คือพระราชวังที่ประทับของพระมหาอุปราช เรียกทางการว่า พระราชวังบวรสถานมงคล ซึ่งเป็นสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์แห่งหนึ่ง


       ทั้งนี้ จากการขุดค้นในระยะที่ 1 พื้นที่ด้านทิศใต้หมู่พระวิมาน ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร จำนวน 2 หลุม ขนาดพื้นที่ 330 ตารางเมตร พบแนวอิฐส่วนฐานรากอาคารก่ออิฐถือปูน ตั้งอยู่ด้านหน้าพระที่นั่งทักษิณาภิมุข ซึ่งสันนิษฐานว่าอาจจะเป็นอาคารยุคแรกๆ ของวังหน้า และพบเป็นแนวกำแพงล้อมพระที่นั่งอิศราวินิจฉัยด้านทิศใต้ รวมถึงพบร่องรอบธรณีประตูจากแผ่นหินดาดปูด้านข้างด้วย ที่สำคัญยังพบโบราณวัตถุในดินจำนวนหนึ่งเป็นวัตถุประเภทเศษภาชนะ เครื่องใช้ในครัวเรือน เครื่องประกอบสถาปัตยกรรมและเครื่องอาวุธปืน เครื่องประกอบเครื่องแต่งกายทหาร ทั้งนี้ได้ตรวจสอบข้อมูลของโบราณวัตถุจำนวนดังกล่าวคาดว่าน่าจะอยู่ในรัชสมัยรัชกาลที่ 1-5 มีอายุตั้งแต่ 150-230 ปี เนื่องจากสถานที่ดังกล่าวเคยเป๋นพระราชวังมาก่อน แต่ละรัชสมัยได้มีการรื้อถอนและปรับโครงสร้างของพระราชวังจึงทำให้โบราณวัตถุถูกฝังไว้ในดิน อย่างไรก็ตาม การขุดค้นทางโบราณคดีในพื้นที่ดังกล่าวถือว่าเป็นครั้งแรก เพราะที่ผ่านมามีการขุดค้นเฉพาะพื้นที่บริเวณมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) และสนามหลวงเท่านั้น
       
       นายสหวัฒน์กล่าวว่า หลังจากขุดแล้วจะต้องนำหลักฐานและข้อมูลที่ได้จากการขุดค้นทั้งหมดกลับไปวิเคราะห์และเปรียบเทียบกับข้อมูลทางประวัติศาสตร์ว่าเป็นโบราณสถานในรัชสมัยใดของกรุงรัตนโกสินทร์ ที่สำคัญต้องศึกษารายละเอียดว่าเป็นไปตามบันทึกเอกสารประวัติศาสตร์ของแต่ยุคแต่ละสมัยว่าตรงกันหรือไม่ หากเห็นตรงกับหลักฐานที่จารึกไว้ก็จะมีการบันทึกจัดทำเป็นรายละเอียดความเป็นมาให้สมบูรณ์แบบมากขึ้น แต่ถ้าไม่ตรงก็ต้องหาข้อมูลเพิ่มเพื่อนำไปบันทึกให้ถูกต้อง อย่างไรก็ตาม ในระยะที่ 2 ยังต้องดำเนินการต่อไปโดยจะดำเนินการขุดค้นในบริเวณด้านหน้าโรงราชรถ โรงละครแห่งชาติ โรงละครหอศิลป์วังหน้า และ สบศ.ต่อด้วย



-http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9550000151465-
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
เรียน ท่านสมาชิกชมรมพระวังหน้า , พี่ๆ เพื่อนๆ น้องๆ ทุกๆท่าน

ผมได้แจ้งเรื่องท่านอาจารย์ประถม อาจสาคร ท่านเสียชิวิตแล้วเมื่อวานนี้ (28 ธ.ค.2555) เวลา 18.32 น. ให้ทุกๆท่านทราบทางEmail แล้ว

วันนี้ผม , สมาชิกชมรมพระวังหน้า และ พี่ๆ เพื่อนๆ น้องๆ หลายๆท่าน ได้ไปร่วมในงานศพ

ผมเองก็ได้สั่งพวงหรีดมา 2 พวง พวงแรกในนามของคณะลูกศิษย์พระอาจารย์นิล พวงที่สองในนามของชมรมพระวังหน้า โดยผมและคุณแด๋นได้ร่วมกันจ่ายเงินไป

ส่วนในงานศพฯ ผมกับคุณแด๋น ได้ไปซื้อชุดผ้าไตร มา 1 ชุด และ เครื่องไทยธรรมมาเพื่อถวายพระภิกษุที่ท่านมาสวดในงานสวดพระอภิธรรม และคุณแด๋นได้เช่าพระพุทธรูปทรงเครื่อง หน้าตัก 5 นิ้ว จำนวน 1 องค์มาถวายพระภิกษุที่มาสวดพระอภิธรรมด้วย

ขอโมทนาบุญกับคุณแด๋นทุกประการ

มาร่วมโมทนาบุญกับคุณแด๋นและผมและทุกๆท่านที่ร่วมทำบุญทุกๆบุญกันครับ

สาธุครับ

sithiphong
29/12/2555
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)