ประชาสัมพันธ์ > ประชาสัมพันธ์ทางธรรม
ชมรมพระวังหน้า เพื่อพระวังหน้าและงานบุญต่างๆ
sithiphong:
.
.
วันนี้ (วันอาทิตย์ที่ 30 กรกฎาคม 2566)
.
ผมได้โอนเงิน จำนวน 159,547.39 บาท ให้กับ พี่หวาน
พี่หวาน เป็นเจ้าภาพการถวายโคมไฟระย้า (ที่ติดไว้ที่พระอุโบสถวัดป่าภัทรปิยาราม)
.
เงินที่ผมโอนให้พี่หวาน เป็นเงินของ สมาชิกไลน์กลุ่มพระวังหน้า , สมาชิกไลน์กลุ่มพระวังหน้าโลกอุดร , สมาชิกชมรมพระวังหน้า ที่ได้ร่วมกันทำบุญกันมาตั้งแต่เดือน พฤศจิกายน 2564 จนถึง เดือน กุมภาพันธ์ 2565
.
และเงินจำนวนนี้ จะไปสมทบกับเงินของพี่หวาน ที่เป็นเจ้าภาพฯ ครับ
.
ขอกราบโมทนาบุญกับพี่หวาน และ ทุกท่านที่ได้ร่วมทำบุญกันมาด้วยครับ
.
.
.********************************.
.
.
#หลวงปู่พระอุตระเถระเจ้า (#หลวงปู่พระอุตตระเถระเจ้า) หรืออีกชื่อ #หลวงปู่ดำ
.
#หลวงปู่พระโสณะเถระเจ้า หรืออีกชื่อ #หลวงปู่ตีนโต
.
#หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า หรืออีกชื่อ #หลวงปู่เทพโลกอุดร หรืออีกชื่อ #บรมครูมูนียะโลกอุดร หรืออีกชื่อ #หลวงปู่อิเกสาโร หรืออีกชื่อ #หลวงปู่เดินหน หรืออีกชื่อ #หลวงปู่ในดง หรืออีกชื่อ #หลวงปู่โพรงโพ (เดิมที่พิมพ์ไว้ #หลวงปู่โพรงโพธิ์ เป็นการพิมพ์ผิด)
.
#หลวงปู่พระฌานียะเถระเจ้า หรืออีกชื่อ #หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า หรืออีกชื่อ #หลวงพ่อกบวัดเขาสาริกา #วัดเขาสาริกา ลพบุรี (เดิมที่พิมพ์ไว้ #หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า เป็นการพิมพ์ผิด)
.
#หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า หรืออีกชื่อ #หลวงปู่หน้าปาน หรืออีกชื่อ #หลวงพ่อโอภาสี #วัดโอภาสี กรุงเทพ
.
#หลวงปู่บรมครูพระเทพโลกอุดร5พระองค์
.
#หลวงปู่เทพโลกอุดร
.
#หลวงปู่บรมครูพระเทพโลกอุดร
.
#คณะพระธรรมทูตคณะโสณะอุตระ
.
#สมเด็จพระพุฒาจารย์โตพรหมรังสี
.
#หลวงปู่กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ
.
#พระพุทธยมกปาฎิหาริย์
.
#พระพุทธมณีรัตนอัมรินทรถสถิต (พระประธาน พระอุโบสถเจดีย์ จักรรัตนอุโบสถ โลหะสัมฤทธิ์เจดีย์ บรมพิมาน พระพุทธมณีรัตนอัมรินทรถสถิต อัมพรสุวรรณนพรัตนมณีโชติจรัสสุริเยนทร์ วัดป่าภัทรปิยาราม)
.
#พระอุโบสถเจดีย์จักรรัตนอุโบสถโลหะสัมฤทธิ์เจดีย์ บรมพิมานพระพุทธมณีรัตนอัมรินทรถสถิตอัมพรสุวรรณนพรัตนมณีโชติจรัสสุริเยนทร์
.
#พระบรมธาตุเจดีย์ศรีอิทธิมนต์ทิพยสถานอรุโณโลกุตตระ
.
#พระอาจารย์ณริชธันร์ #วัดป่าภัทรปิยาราม
.
#ถ้าสุวรรณคูหามัฆวานวินิจฉัย
.
#พญานาคราชศีลวิสุทธิโลกาธิบดี
.
#ศาลาศรีอิทธิมนต์ (#ศาลาเคียงอุโบสถวัดป่าภัทรปิยาราม)
.
#ชมรมพระวังหน้า
.
#พระวังหน้า
.
sithiphong:
วันอาสาฬหบูชา
วันอาสาฬหบูชา (บาลี: อาสาฬหปูชา; อักษรโรมัน: Asalha Puja) เป็นวันสำคัญทางศาสนาพุทธนิกายเถรวาทและวันหยุดราชการในประเทศไทย[1] คำว่า อาสาฬหบูชา ย่อมาจาก "อาสาฬหปูรณมีบูชา" แปลว่า "การบูชาในวันเพ็ญเดือนอาสาฬหะ" อันเป็นเดือนที่สี่ตามปฏิทินของประเทศอินเดีย ตรงกับวันเพ็ญ เดือน 8 ตามปฏิทินจันทรคติของไทย ซึ่งมักจะตรงกับเดือนมิถุนายนหรือเดือนกรกฎาคม แต่ถ้าในปีใดมีเดือน 8 สองหน ก็ให้เลื่อนไปทำในวันเพ็ญเดือน 8 หลังแทน
วันอาสาฬหบูชาได้รับการยกย่องเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา เนื่องจากเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นเมื่อ 45 ปี ก่อนพุทธศักราช ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 คือวันอาสาฬหปุรณมีดิถี หรือวันเพ็ญเดือนอาสาฬหะ[2] ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เมืองพาราณสี แคว้นมคธ อันเป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงพระธรรมเทศนาเป็นครั้งแรกเป็นปฐมเทศนา คือ ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร แก่ปัญจวัคคีย์[3]
การแสดงธรรมครั้งนั้นทำให้พราหมณ์โกณฑัญญะ 1 ใน 5 ปัญจวัคคีย์ เกิดความเลื่อมใสในพระธรรมของพระพุทธเจ้า จนได้ดวงตาเห็นธรรมหรือบรรลุเป็นพระอริยบุคคลระดับโสดาบัน ท่านจึงขออุปสมบทในพระธรรมวินัยของพระพุทธเจ้า ด้วยวิธีเอหิภิกขุอุปสัมปทา พระอัญญาโกณฑัญญะจึงกลายเป็นพระสงฆ์องค์แรกในโลก และด้วยเหตุที่ท่านได้บรรลุธรรมเป็นพระอริยบุคคล (อนุพุทธะ) เป็นคนแรก จึงทำให้ในวันนั้นมีพระรัตนตรัยครบองค์สามบริบูรณ์เป็นครั้งแรกในโลก คือ มีทั้งพระพุทธ พระธรรมและพระสงฆ์ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้วันนี้ถูกเรียกว่า "วันพระธรรม" หรือ วันพระธรรมจักร อันได้แก่วันที่ล้อแห่งพระธรรมของพระพุทธเจ้าได้หมุนไปเป็นครั้งแรก และ "วันพระสงฆ์" คือวันที่มีพระสงฆ์เกิดขึ้นเป็นครั้งแรก อีกด้วย
เดิมนั้นไม่มีการประกอบพิธีการบูชาในเดือน 8 หรือวันอาสาฬหบูชาในประเทศพุทธเถรวาทมาก่อน จนมาในปี พ.ศ. 2501 การบูชาในเดือน 8 หรือวันอาสาฬหบูชาจึงได้เริ่มมีขึ้นในประเทศไทย ตามที่คณะสังฆมนตรี ได้กำหนดให้วันนี้เป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาของประเทศไทยอย่างเป็นทางการเมื่อ พ.ศ. 2501 โดยคณะสังฆมนตรีได้มีมติให้เพิ่มวันอาสาฬหบูชาเป็นวันสำคัญทางพุทธศาสนาในประเทศไทย ตามคำแนะนำของ พระธรรมโกศาจารย์ (ชอบ อนุจารี)[4] โดยคณะสังฆมนตรีได้ออกเป็นประกาศสำนักสังฆนายกเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2501[5] กำหนดให้วันอาสาฬหบูชาเป็นวันสำคัญทางพุทธศาสนาพร้อมทั้งกำหนดพิธีอาสาฬหบูชาขึ้นอย่างเป็นทางการเป็นครั้งแรกในประเทศไทย โดยมีพิธีปฏิบัติเทียบเท่ากับวันวิสาขบูชาอันเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาสากล
อย่างไรก็ตาม วันอาสาฬหบูชาถือเป็นวันสำคัญที่กำหนดให้กับวันหยุดของรัฐเพียงแต่ในประเทศไทยเท่านั้น ส่วนในต่างประเทศที่นับถือพุทธศาสนานิกายเถรวาทอื่น ๆ ยังไม่ได้ให้ความสำคัญกับวันอาสาฬหบูชาเทียบเท่ากับวันวิสาขบูชา
ความสำคัญ
พระพุทธรูปปางปฐมเทศนา ทรงแสดงธัมมจักกัปปวัตนสูตรแก่ปัญจวัคคีย์ในวันอาสาฬหบูชา
วันอาสาฬหบูชา หรือวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 เป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงพระธรรมที่ตรัสรู้เป็นครั้งแรก จึงถือได้ว่าวันนี้เป็นวันเริ่มต้นประกาศพระพุทธศาสนาแก่ชาวโลก และด้วยการที่พระพุทธเจ้าทรงสามารถ แสดง เปิดเผย ทำให้แจ้ง แก่ชาวโลก ซึ่งพระธรรมที่ตรัสรู้ได้ จึงถือได้ว่าพระองค์ได้ทรงกลายเป็นสมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าโดยสมบูรณ์ คือทรงสำเร็จภารกิจแห่งการเป็นพระพุทธเจ้าผู้เป็น "สัมมาสัมพุทธะ" คือเป็นพระพุทธเจ้าผู้สามารถแสดงสิ่งที่ตรัสรู้ให้ผู้อื่นรู้ตามได้ ซึ่งแตกต่างจาก "พระปัจเจกพุทธเจ้า" ที่แม้จะตรัสรู้เองได้โดยชอบ แต่ทว่าไม่สามารถสอนหรือเปิดเผยให้ผู้อื่นรู้ตามได้ ด้วยเหตุนี้วันอาสาฬหบูชาจึงมีชื่อเรียกว่า "วันพระธรรม"
วันอาสาฬหบูชา เป็นวันที่ท่านโกณฑัญญะได้บรรลุธรรมสำเร็จพระโสดาบันเป็นพระอริยบุคคลคนแรก และได้รับประทานเอหิภิกขุอุปสมบทเป็นพระสงฆ์องค์แรกในพระศาสนา และด้วยการที่ท่านเป็นพระอริยสงฆ์องค์แรกในโลกดังกล่าว พระรัตนตรัยจึงครบองค์สามบริบูรณ์เป็นครั้งแรกในโลก ด้วยเหตุนี้วันอาสาฬหบูชาจึงมีชื่อเรียกว่า "วันพระสงฆ์"[6]
ดังนั้น วันอาสาฬหบูชาจึงถูกจัดขึ้นเพื่อเป็นการระลึกถึงวันคล้ายวันที่เกิดเหตุการณ์สำคัญของพระพุทธศาสนาดังกล่าว ซึ่งควรพิจารณาเหตุผลโดยสรุปจากประกาศสำนักสังฆนายกเรื่องกำหนดพิธีอาสาฬหบูชา ที่ได้สรุปเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นในวันอาสาฬหบูชาไว้โดยย่อ ดังนี้
{{คำพูด|
เป็นวันแรกที่พระพุทธเจ้าทรงประกาศพระพุทธศาสนา
เป็นวันแรกที่พระบรมศาสดาทรงแสดงพระธรรมจักร์ ประกาศสัจจธรรม อันเป็นองค์แห่งพระสัมมาสัมโพธิญาณ
นโลก คือ พระอัญญาโกณฑัญญะ ได้รับประทานเอหิภิกขุอุปสัมปทา ในวันนั้น
เป็นวันแรกที่บังเกิดสังฆรัตนะ สมบูรณ์เป็นพระรัตนตรัย คือ พระพุทธรัตนะ พระธรรมรัตนะ พระสังฆรัตนะ|ประกาศสำนักสังฆนายก เรื่อง กำหนดพิธีอาสาฬหบูชา
ลงวันที่ 14 กรกฎาคม 2501[7] ว่า
... บัดนี้ ไม่สมควรที่เราจะประกาศธรรมที่เราตรัสรู้ เพราะธรรมที่เราตรัสรู้นั้นเป็นสิ่งที่คนทั่วไป ที่ถูกราคะ โทสะครอบงำอยู่จะไม่สามารถมองเห็นได้โดยง่าย, คนที่ถูกราคะย้อมไว้ ถูกกองมืด (คืออวิชชา) หุ้มไว้มิดทั้งหลาย ย่อมไม่สามารถที่จะเข้าใจธรรมะของเราที่เป็นสิ่งทวนกระแส (อวิชชา) ที่มีสภาพลึกซึ้ง ละเอียดเช่นนี้ได้เลย...
ที่มา https://sites.google.com/site/prawatiwanxasalhbucha/
--------------------------------------------------------
ที่มา ของ คลิป
เพลงลงวันอาสาฬหบูชา โดย MultiThamma
https://www.youtube.com/watch?v=NqJk39K51Dk
MultiThamma
เผยแพร่เมื่อ 5 พ.ค. 2013
--------------------------------------------------------
เพลงอาสาฬหบูชา
https://www.youtube.com/watch?v=hR_05l12XnY
NONGORN23
เผยแพร่เมื่อ 30 ม.ค. 2012
--------------------------------------------------------
เพลงวันอาสาฬหบูชา
https://www.youtube.com/watch?v=wWwNynKMF3w
2012medkanoon
เผยแพร่เมื่อ 5 มิ.ย. 2016
--------------------------------------------------------
วันอาสาฬหบูชา MV
https://www.youtube.com/watch?v=0bfjJ9MHEUo
nurnnamkam
เผยแพร่เมื่อ 17 ธ.ค. 2012
.-----------------------------------------------------------
เรื่องราว วันอาสาฬหบูชา
วันอาสาฬหบูชา วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
https://www.youtube.com/watch?v=TGJODadFM04
ที่มา เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์
https://www.youtube.com/channel/UCjjn2rmjEGZWnpJCv-XC9VA
.
sithiphong:
.
.
วงการพระเครื่องของเมืองไทย มักจะเรียกพลังของพระพิมพ์ หรือ เครื่องรางต่างๆ ว่า พุทธคุณ
คำว่า พุทธคุณ ในความหมายของภาษาไทย คือ พระคุณของพระพุทธเจ้า ที่ผมได้นำมาลงให้อ่านกันด้านล่าง
.
แต่ส่วนตัวผม เรียกพลังของพระพิมพ์ หรือ เครื่องรางต่างๆ ว่า อิทธิคุณ
โดยเรียกตามที่ผมได้รับคำสอนมาจาก ท่านอาจารย์ประถม อาจสาคร
และ พยายามใช้ภาษาไทยให้ถูกต้อง ครับ
.
บทความ #เรื่องของคุณ ผมเคยขออนุญาตจากท่านอาจารย์ประถม อาจสาคร (ตั้งแต่ที่ท่านยังมีชีวิตอยู่)
ขอนำบทความฯไปลงในกระทู้ พระวังหน้า ที่หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรเสก ถ้าต้องการที่จะได้..... ในเว็บพลังจิต ซึ่งท่านอาจารย์ประถม อาจสาคร ได้อนุญาตไว้เรียบร้อยแล้ว
และ ผมเคยขออนุญาตจากพี่จิ๋ว (บุตรชายท่านอาจารย์ประถม อาจสาคร ผู้ถือลิขสิทธิ์คนปัจจุบัน) ขอนำมาลงใน เพจ.หลวงปู่บรมครูพระเทพโลกอุดร & พระวังหน้า และ ในเพจ.ส่วนตัวของผม และ พี่จิ๋วได้อนุญาตไว้เรียบร้อยแล้ว
.
ขอกราบขอบพระคุณ ท่านอาจารย์ประถม อาจสาคร และ พี่จิ๋ว ไว้ ณ โอกาสนี้ ครับ
.
ที่มา https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=273521125376577&id=100081560750868&mibextid=Nif5oz
.
.*************************************.
.
พุทธคุณ
.
ที่มา เว็บไซด์ 84000
พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
.
.
[303] พุทธคุณ 9 (คุณของพระพุทธเจ้า — virtues or attributes of the Buddha)
.
อิติปิ โส ภควา (แม้เพราะอย่างนี้ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น — thus indeed is he, the Blessed One,)
.
1. อรหํ (เป็นพระอรหันต์ คือ เป็นผู้บริสุทธิ์ ไกลจากกิเลส ทำลายกำแห่งสังสารจักรได้แล้ว เป็นผู้ควรแนะนำสั่งสอนผู้อื่น ควรได้รับความเคารพบูชา เป็นต้น — holy; worthy; accomplished)
.
2. สมฺมาสมฺพุทฺโธ (เป็นผู้ตรัสรู้ชอบเอง — fully self-enlightened)
.
3. วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน (เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชา คือความรู้ และจรณะ คือความประพฤติ — perfect in knowledge and conduct)
.
4. สุคโต (เป็นผู้เสด็จไปดีแล้ว คือ ทรงดำเนินพระพุทธจริยาให้เป็นไปโดยสำเร็จผลด้วยดี พระองค์เองก็ได้ตรัสรู้สำเร็จเป็นพระพุทธเจ้า ทรงบำเพ็ญพุทธกิจก็สำเร็จประโยชน์ยิ่งใหญ่แก่ชนทั้งหลายในที่ที่เสด็จไป และแม้ปรินิพพานแล้ว ก็ได้ประดิษฐานพระศาสนาไว้เป็นประโยชน์แก่มหาชนสืบมา — well-gone; well-farer; sublime)
.
5. โลกวิทู (เป็นผู้รู้แจ้งโลก คือ ทรงรู้แจ้งสภาวะอันเป็นคติธรรมดาแห่งโลกคือสังขารทั้งหลาย ทรงหยั่งทราบอัธยาศัยสันดานแห่งสัตวโลกทั้งปวง ผู้เป็นไปตามอำนาจแห่งคติธรรมดาโดยถ่องแท้ เป็นเหตุให้ทรงดำเนินพระองค์เป็นอิสระ พ้นจากอำนาจครอบงำแห่งคติธรรมดานั้น และทรงเป็นที่พึ่งแห่งสัตว์ทั้งหลายผู้ยังจมอยู่ในกระแสโลกได้ — knower of the worlds)
.
6. อนุตฺตโร ปุริสทมฺมสารถิ (เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ฝึกได้ ไม่มีใครยิ่งไปกว่า คือ ทรงเป็นผู้ฝึกคนได้ดีเยี่ยม ไม่มีผู้ใดเทียมเท่า — the incomparable leader of men to be tamed)
.
7. สตฺถา เทวมนุสฺสานํ (เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย — the teacher of gods and men)
.
8. พุทฺโธ (เป็นผู้ตื่นและเบิกบานแล้ว คือ ทรงตื่นเองจากความเชื่อถือและข้อปฏิบัติทั้งหลายที่ถือกันมาผิดๆ ด้วย ทรงปลุกผู้อื่นให้พ้นจากความหลงงมงายด้วย อนึ่ง เพราะไม่ติด ไม่หลง ไม่ห่วงกังวลในสิ่งใดๆ มีการคำนึงประโยชน์ส่วนตน เป็นต้น จึงมีพระทัยเบิกบาน บำเพ็ญพุทธกิจได้ถูกต้องบริบูรณ์ โดยถือธรรมเป็นประมาณ การที่ทรงพระคุณสมบูรณ์เช่นนี้ และทรงบำเพ็ญพุทธกิจได้เรียบร้อยบริบูรณ์เช่นนี้ ย่อมอาศัยเหตุคือความเป็นผู้ตื่นและย่อมให้เกิดผลคือทำให้ทรงเบิกบานด้วย — awakened)
.
9. ภควา (ทรงเป็นผู้มีโชค คือ จะทรงทำการใด ก็ลุล่วงปลอดภัยทุกประการ หรือ เป็นผู้จำแนกแจกธรรม — blessed; analyst)
.
พุทธคุณ 9 นี้ เรียกอีกอย่างว่า นวารหาทิคุณ (คุณของพระพุทธเจ้า 9 ประการ มีอรหํ เป็นต้น) บางทีเลือนมาเป็น นวรหคุณ หรือ นวารหคุณ แปลว่า คุณของพระพุทธเจ้าผู้เป็นพระอรหันต์ 9 ประการ
.
M.I.37;
A.III.285.
ม.มู. 12/95/67
องฺ.ฉกฺก. 22/281/317.
.
.
.
[304] พุทธคุณ 2 (virtues, qualities or attributes of the Buddha)
.
1. อัตตหิตสมบัติ (ความถึงแห่งประโยชน์ตน, ทรงบำเพ็ญประโยชน์ส่วนพระองค์เอง เสร็จสิ้นสมบูรณ์แล้ว — to have achieved one’s own good; accomplishment of one’s own welfare) พระคุณข้อนี้มุ่งเอาพระปัญญาเป็นหลัก เพราะเป็นเครื่องให้สำเร็จพุทธภาวะ คือ ความเป็นพระพุทธเจ้า และความเป็นอัตตนาถะ คือ พึ่งตนเองได้
.
2. ปรหิตปฏิบัติ (การปฏิบัติเพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น, ทรงบำเพ็ญพุทธจริยาเพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น — practice for the good or welfare of others) พระคุณข้อนี้มุ่งเอาพระกรุณาเป็นหลัก เพราะเป็นเครื่องให้สำเร็จพุทธกิจ คือ หน้าที่ของพระพุทธเจ้า และความเป็นโลกนาถ คือ เป็นที่พึ่งของชาวโลกได้
.
พุทธคุณ 9 ในข้อก่อน [303] ย่อลงแล้วเป็น 2 อย่างดังแสดงมานี้ คือ
ข้อ 1-2-3-5 เป็นส่วนอัตตหิตสมบัติ
ข้อ 6-7 เป็นส่วนของปรหิตปฏิบัติ
ข้อ 4-8-9 เป็นทั้งอัตตหิตสมบัติ และปรหิตปฏิบัติ
.
DAT.I.8
วิสุทธิ.ฎีกา. 1/258/381; 246/338
.
.
.
[305] พุทธคุณ 3 (virtues, qualities or attributes of the Buddha)
.
1. ปัญญาคุณ (พระคุณคือพระปัญญา — wisdom)
2. วิสุทธิคุณ (พระคุณคือความบริสุทธิ์ — purity)
3. กรุณาคุณ (พระคุณคือพระมหากรุณา — compassion)
.
ในพระคุณ 3 นี้ ข้อที่เป็นหลักและกล่าวถึงทั่วไปในคัมภีร์ต่างๆ มี 2 คือ ปัญญา และกรุณา
ส่วนวิสุทธิ เป็นพระคุณเนื่องอยู่ในพระปัญญาอยู่แล้ว เพราะเป็นผลเกิดเองจากการตรัสรู้
คัมภีร์ทั้งหลายจึงไม่แยกไว้เป็นข้อหนึ่งต่างหาก
.
นัย. วิสุทธิ.
ฎีกา 1/1.
.
.*************************************.
.
พุทธคุณ หมายถึง/ความหมาย
โดย อ.เปลื้อง ณ.นคร
ที่มา online-english-thai-dictionary
.
พุทธคุณ เป็น คำนาม
คุณของพระพุทธเจ้า ๓ ประการ คือ พระบริสุทธิคุณ พระปัญญาคุณและพระกรุณาคุณ,
คำว่า คุณ มี ๒ ความหมาย คือ คุณความดี หมายถึงความดีของท่าน
กับคุณประโยชน์ หมายถึงอุปการะที่ท่านมีต่อเรา,
.
คำว่า พุทธคุณ ก็อาจหมายถึงทั้ง ๒ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง,
.
ส่วนความดีของพระพุทธเจ้า นั้นมี ๙ ประการ เรียกว่า พระพุทธคุณ ๙ หรือนวหรคุณ คือ ๑. อรหัง เป็นผู้สิ้นกิเลส ไม่มีความคิดร้ายใดๆ ในพระทัยเลย ๒. สัมมาสัมพุทโธ เป็นผู้ตรัสรู้ธรรมอย่างถูกต้องด้วยพระองค์เอง ๓. วิชชาจรณสัมปันโน ทรงพร้อมด้วยความรู้พิเศษ ๘ ประการ
.
ทั้งมีความประพฤติดีครบ ๑๕ อย่าง ๔. สุคโต เป็นผู้เสด็จไปดีแล้ว คือเสด็จไปยังแห่งใดก็มีแต่ทรงทำสิริมงคลแก่มหาชนไม่เบียดเบียนใคร ๕. โลกวิทู ทรงรู้แจ้งโลก คือ
ทรงรู้จักโลกเป็นอย่างดี ๖. อนุตตโร ปุริสทัมมสารถิ
ทรงสามารถฝึกอบรมคนที่ควรฝึกได้ดีเยี่ยม ๗. สัตถา เทวมนุสสานัง
ทรงเป็นครูทั้งมนุษย์และเทวดา ๘. พุทโธ เป็นผู้เบิกบานแล้ว
ทรงถึงซึ่งความสุขสุดยอดแล้ว ไม่มีทุกข์ ๙. ภควา
ทรงเป็นผู้จำแนกธรรมคือทรงสามารถอย่างยอดเยี่ยมในการหยิบยื่นธรรมให้แก่บุคคลต่างเพศ ต่างวัย และต่างนิสัยใจคอ.
.
.*************************************.
.
คำนามคืออะไรและชนิดของ คำนาม?
ที่มา twinkl
.
.
คำนาม คือ คำชนิดหนึ่งในไวยากรณ์ภาษาไทย ใช้สำหรับเรียกคน สัตว์ สิ่งของ สถานที่ สภาวะ และลักษณะต่าง ๆ
โดยสามารถแบ่งได้เป็น 5 ประเภท สามานยนาม (คำนามไม่ชี้เฉพาะ) วิสามานยนาม (คำนามเฉพาะ) สมุหนาม (คำนามรวมหมู่) ลักษณนาม และอาการนาม (แสดงอาการ) เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับคำนามได้ในบทความนี้
.
สรุปข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับคำนาม
คำนามคืออะไร? คำนาม หมายถึง คำที่ทำหน้าที่เพื่อเรียกคน สัตว์ สิ่งของ สภาพ อาการ และลักษณะต่าง ๆ
คํานามมีกี่ชนิด? คำนามสามารถแบ่งได้เป็น 5 ชนิด ได้แก่ สามานยนาม (คำนามทั่วไป), วิสามานยนาม (คำนามเฉพาะ), สมุหนาม (บอกหมวดหมู่), ลักษณนาม (บอกลักษณะหลังจำนวน) และอาการนาม (บอกอาการ)
การบอกว่าคำนามเป็นคำนามชนิดไหนนั้นต้องอาศัยบริบทและการดูใจความในประโยคที่กำหนดเป็นสำคัญ
.
คำนามคืออะไร
คำนาม คือ คำชนิดหนึ่งในไวยากรณ์ในภาษาไทย ที่ใช้สำหรับเรียกคน สัตว์ สิ่งของ สภาพ อาการ และลักษณะต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นรูปธรรมหรือนามธรรม โดยสามารถแบ่งได้เป็น 5 ชนิด สามานยนาม วิสามานยนาม สมุหนาม ลักษณนาม และอาการนาม
.
ชนิดของคำนามมีอะไรบ้าง
ชนิดของคำนามอาจแบ่งได้เป็น 5 ชนิด ได้แก่
สามานยนาม (คำนามไม่ชี้เฉพาะ)
วิสามานยนาม (คำนามเฉพาะ)
สมุหนาม (คำนามรวมหมู่)
ลักษณนาม (คำนามบอกลักษณะ)
อาการนาม (คำนามแสดงอาการ)
สามานยนาม
.
สามานยนาม คือ คำนามที่เป็นชื่อทั่วไปของคน สัตว์ และสิ่งของ หรือคำเรียกสิ่งต่าง ๆ โดยทั่วไป แบบไม่ชี้เฉพาะเจาะจง หรืออาจเรียกว่า คำนามสามัญ/คำนามทั่วไป
.
ทั้งนี้ สามานยนามบางคำมีคำย่อยเพื่อบอกชนิดย่อย ๆ เรียกว่า สามานยนามย่อย เพื่อบอกชื่อที่แคบลง เช่น คนญี่ปุ่น รถจักรยาน หนังสือเรียน
.
ตัวอย่างคำสามานยนาม เช่น ครู นักเรียน พ่อ แม่ แมว ปลา ดินสอ โรงเรียน สมุด ประเทศ คอมพิวเตอร์ ฯลฯ
.
นักเรียนไปโรงเรียนทุกวัน
พ่อและแม่ไปตลาด
น้องซื้อดินสอและสมุดเล่มใหม่
.
วิสามานยนาม
.
วิสามานยนาม คือ คำนามที่เป็นชื่อเฉพาะ ตั้งขึ้นสำหรับเรียกคน สัตว์ สิ่งของ และสถานที่ เพื่อให้รู้ชัดเจนว่าเป็นใครหรืออะไร หรืออาจเรียกว่า คำนามเฉพาะ เช่น ชื่อคน ชื่อสัตว์ ชื่อสถานที่ เป็นต้น
.
ตัวอย่างวิสามานยนาม เช่น กรุงเทพมหานคร อังกฤษ สุนทรภู่ วันเสาร์ กระทรวงสาธารณสุข ฯลฯ
.
พ่อของเธอทำงานที่กระทรวงสาธารณสุข
แก้วจะไปเที่ยววันเสาร์นี้
ยายแดงเกิดที่จังหวัดเชียงราย
.
สมุหนาม
.
สมุหนาม คือ คำนามรวมหมู่ ที่บอกลักษณะของคน สัตว์ และสิ่งของที่รวมกันอยู่เป็นหมวด เป็นหมู่ เป็นพวก โดยจะต้องทำหน้าที่เป็นประธาน กรรม หรือส่วนขยายของประโยค ดูตัวอย่างเพิ่มเติมได้ในหัวข้อข้อแนะนำการระบุชนิดของคำนามด้านล่าง
.
ตัวอย่างสมุหนาม เช่น หมู่ คณะ ฝูง พวก โขลง กอง บริษัท ฯลฯ
.
กองทหารเตรียมตัวออกรบ
รัฐบาลไทยส่งตัวแทนเข้าร่วมประชุม
ฝูงนกกำลังบินกลับรัง
.
ลักษณนาม
.
ลักษณนาม คือ คำนามที่ทำหน้าที่บอกลักษณะของคน สัตว์ และสิ่งของที่รวมกันอยู่เป็นหมวด เป็นหมู่ เป็นพวกเพื่อให้แสดงลักษณะ ขนาด หรือการประมาณของนามนั้น ๆ ให้ชัดเจนยิ่งขึ้น
.
ข้อสังเกต: คำสะกดที่ถูกต้อง คือ ลักษณนาม โดยมักมีการสะกดผิดเป็น ลักษณะนาม
.
ตัวอย่างลักษณนาม เช่น เล่ม ลำ ตัว ฝูง สาย ต้น สาย คัน ฟอง ลูก ใบ ฯลฯ
.
ประเทศไทยมีแม่น้ำที่สำคัญหลายสาย
แม่ซื้อไข่มา 6 ฟอง
หน้าบ้านของเขามีต้นไม้ 2 ต้น
.
อาการนาม
.
อาการนาม คือ คำนามที่บอกกิริยาอาการหรือสภาวะต่าง ๆ ของคน สัตว์ และสิ่งของ ซึ่งมักจะมีคำ "ความ" หรือ "การ" นำหน้าคำกริยาหรือคำวิเศษณ์
.
ทั้งนี้ มีข้อสังเกตว่า คำว่า "ความ" และ "การ" ที่นำหน้าคำประเภทอื่นนอกจากคำกริยาและคำวิเศษณ์ ไม่นับว่าเป็นอาการนาม เช่น การบ้าน ความแพ่ง การไฟฟ้า เป็นต้น
.
ตัวอย่างอาการนาม เช่น การเรียน การเดิน การสอน การกิน การเล่น การนอน ความรัก ความสวย ความคิด ความรวย ความจน ฯลฯ
.
เราควรทำความดีอย่างสม่ำเสมอ
การเรียนเป็นพื้นฐานที่สำคัญ
การออกกำลังกายช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ
.
หน้าที่ของคำนาม
.
คำนามมีหน้าที่ในประโยคได้หลากหลายดังต่อไปนี้
.
ทำหน้าที่เป็นประธาน เช่น นักเรียนไปโรงเรียน
ทำหน้าที่เป็นกรรม เช่น ฉันกินข้าว
ใช้บอกรายละเอียด เช่น สถานที่ เวลา ทิศทาง หรือเพิ่มความชัดเจน เช่น นักเรียนไปโรงเรียน เราจะไปเที่ยวเชียงใหม่วันเสาร์นี้
ทำหน้าที่ขยายนาม เพื่อทำให้คำนามที่ถูกขยายชัดเจนยิ่งขึ้น เช่น แม่ของเขาเป็นข้าราชการครู
ทำหน้าที่เป็นส่วนเติมเต็มประโยค เช่น สมศรีเป็นพยาบาล
ใช้แทนคำเรียกขาน เช่น แม่จ๋า ช่วยเปิดประตูให้หนูหน่อย
.
ข้อแนะนำการระบุชนิดของคำนาม
.
การระบุว่าคำนามเป็นคำนามชนิดไหนนั้น ต้องอาศัยบริบทและการดูใจความในประโยคที่กำหนดเป็นสำคัญ ทั้งนี้เพราะคำหนึ่ง ๆ อาจทำหน้าที่แตกต่างกันไปในประโยคต่าง ๆ ตัวอย่างเช่น
.
คุณพ่อปลูกต้นไม้ 3 ต้นที่หน้าบ้าน (ต้น ในประโยคนี้เป็นลักษณนาม)
ต้นเพิ่งเริ่มเข้าโรงเรียน (ต้น ในประโยคนี้เป็นวิสามานยนาม)
ฝูงปลากำลังแหวกว่ายในแม่น้ำ (ฝูง ในประโยคนี้เป็นสมุหนาม)
นกหลายฝูงกำลังย้ายถิ่นไปยังประเทศเขตร้อน (ฝูง ในประโยคนี้เป็นลักษณนาม)
โขลงช้างเดินอยู่ในป่าใหญ่ (โขลง ในประโยคนี้เป็นสมุหนาม)
ช้างโขลงหนึ่งเดินอยู่ในป่าใหญ่ (โขลง ในประโยคนี้เป็นลักษณนาม)
สมชายเป็นครูสอนที่โรงเรียน (โรงเรียน ในประโยคนี้เป็นสามานยนาม)
โรงเรียนออกใบรับรองให้นักเรียนที่จบการศึกษา (โรงเรียน ในประโยคนี้เป็นสมุหนาม)
.
.
.
.
.
.
#หลวงปู่พระอุตระเถระเจ้า หรืออีกชื่อ #หลวงปู่ดำ
.
#หลวงปู่พระโสณะเถระเจ้า หรืออีกชื่อ #หลวงปู่ตีนโต
.
#หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า หรืออีกชื่อ #หลวงปู่เทพโลกอุดร หรืออีกชื่อ #บรมครูมูนียะโลกอุดร หรืออีกชื่อ #หลวงปู่อิเกสาโร หรืออีกชื่อ #หลวงปู่เดินหน หรืออีกชื่อ #หลวงปู่ในดง หรืออีกชื่อ #หลวงปู่โพรงโพ (เดิมที่พิมพ์ไว้ #หลวงปู่โพรงโพธิ์ เป็นการพิมพ์ผิด)
.
#หลวงปู่พระฌานียะเถระเจ้า หรืออีกชื่อ #หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า หรืออีกชื่อ #หลวงพ่อกบวัดเขาสาริกา #วัดเขาสาริกา ลพบุรี (เดิมที่พิมพ์ไว้ #หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า เป็นการพิมพ์ผิด)
.
#หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า หรืออีกชื่อ #หลวงปู่หน้าปาน หรืออีกชื่อ #หลวงพ่อโอภาสี #วัดโอภาสี กรุงเทพ
.
#หลวงปู่บรมครูพระเทพโลกอุดร5พระองค์
.
#หลวงปู่เทพโลกอุดร
.
#หลวงปู่บรมครูพระเทพโลกอุดร
.
#คณะพระธรรมทูตคณะโสณะอุตระ
.
#สมเด็จพระพุฒาจารย์โตพรหมรังสี
.
#หลวงปู่กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ
.
#อาจารย์ประถมอาจสาคร
#ประถมอาจสาคร
#ปู่เล่าให้ฟัง
#หนังสือปู่เล่าให้ฟัง
.
#ชมรมพระวังหน้า
.
#พระวังหน้า
.
.
.
รูปและบทความเรื่องของคุณ สงวนลิขสิทธิ์
.
.
.
.
#หลวงปู่พระอุตระเถระเจ้า หรืออีกชื่อ #หลวงปู่ดำ
.
#หลวงปู่พระโสณะเถระเจ้า หรืออีกชื่อ #หลวงปู่ตีนโต
.
#หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า หรืออีกชื่อ #หลวงปู่เทพโลกอุดร หรืออีกชื่อ #บรมครูมูนียะโลกอุดร หรืออีกชื่อ #หลวงปู่อิเกสาโร หรืออีกชื่อ #หลวงปู่เดินหน หรืออีกชื่อ #หลวงปู่ในดง หรืออีกชื่อ #หลวงปู่โพรงโพ (เดิมที่พิมพ์ไว้ #หลวงปู่โพรงโพธิ์ เป็นการพิมพ์ผิด)
.
#หลวงปู่พระฌานียะเถระเจ้า หรืออีกชื่อ #หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า หรืออีกชื่อ #หลวงพ่อกบวัดเขาสาริกา #วัดเขาสาริกา ลพบุรี (เดิมที่พิมพ์ไว้ #หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า เป็นการพิมพ์ผิด)
.
#หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า หรืออีกชื่อ #หลวงปู่หน้าปาน หรืออีกชื่อ #หลวงพ่อโอภาสี #วัดโอภาสี กรุงเทพ
.
#หลวงปู่บรมครูพระเทพโลกอุดร5พระองค์
.
#หลวงปู่เทพโลกอุดร
.
#หลวงปู่บรมครูพระเทพโลกอุดร
.
#คณะพระธรรมทูตคณะโสณะอุตระ
.
#สมเด็จพระพุฒาจารย์โตพรหมรังสี
.
#หลวงปู่กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ
.
#อาจารย์ประถมอาจสาคร
#ประถมอาจสาคร
#ปู่เล่าให้ฟัง
#หนังสือปู่เล่าให้ฟัง
.
#ชมรมพระวังหน้า
.
#พระวังหน้า
.
รูปและบทความเรื่องของคุณ สงวนลิขสิทธิ์
.
sithiphong:
.
.
ธรณีนี่นี้ เป็นพยาน เราก็ศิษย์มีอาจารย์ หนึ่งบ้าง
เราผิดท่านประหาร เราชอบ เราบ่ผิดท่านมล้าง ดาบนี้คืนสนอง
.
.
ศรีปราชญ์
ยอดกวีแห่งกรุงศรีอยุธยา
ที่มา เว็บไซด์ identity.bsru
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
.
จากคำนำ ที่ท่านผู้เขียนได้ปรารภไว้ว่า
.
“ประวัติของศรีปราชญ์ฉบับนี้ เขียนขึ้นจากความทรงจำที่ได้เล่าเรียนมา เมื่อข้าพเจ้าได้เล่าประวัติของศรีปราชญ์ให้สมาชกที่ร่วมเดินทางไปทัศนศึกษาด้วยกันฟัง หลายท่านอยากได้ประวิติของศรีปราชญ์ และขอร้องให้เขียนไว้ให้ด้วย พบกันครั้งไร ก็ทวงถามอยู่เสมอ ผู้เขียนไม่มีตำหรับตำรับตำราจะค้นคว้า เพราะได้บริจาคหนังสือทั้งหมดให้ห้องสมุดมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง และห้องสมุดของวัดในต่างจังหวัดไปแล้ว ประวัติของศรีปราชญ์ฉบับนี้คงไม่สมบูรณ์แน่นอน หากท่านได้รับความพอใจ ความเพลิดเพลิน ขออานิสงส์นี้จงนำสู่เพื่อนสมาชิที่เคยร่วมทัศนศึกษาด้วยกันมาเป็นเวลายาวนาน ทั้งที่ยังมีชีวิตอยู่ และล่วงลับไปแล้วด้วยเทอญ
.
รักจากใจ
ไกรนุช ศิริพูล
๑๖ มกราคม ๒๕๕๓
.
.
ศรีปราชญ์เป็นปฏิภาณกวีแห่งกรุงศรีอยุธยา สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ขึ้นครองราชย์ในปี พ.ศ. ๒๑๙๙ – ๒๒๓๑ ทรงพระนามว่า พระรามธิบดีที่ ๓
.
สมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เป็นยุคทองของวรรณคดีไทย ซึ่งมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขแห่งกวีในสมัยนั้น จึงอุดมไปด้วยกวีที่สำคัญๆ หลายท่าน อาทิ
.
พระมหาราชครู แต่ง
.
๑. สมุทโฆษคำฉันท์ ยังไม่จบ ถึงแก่อนิจกรรมเสียก่อน สมเด็จพระนารายณ์ฯ ทรงพระราชนิพนธ์ต่อ ยังไม่ทันจบ ก็เสด็จสวรรคตเสียก่อน พระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมนุชิโนรสแห้งกรุงรัตนโกสินทร์ ทรงนิพนธ์ต่อจนจบ
.
๒. เสือโคคำฉันท์
.
๓. จินดามณี เป็นตำราเรียนเล่มแรกของไทย
.
พระศรีมโหสถ แต่ง
.
๑. กาพย์ห่อโคลง เล่าถึงความสนุกสนานของประชาชนในแผ่ดินสมเด็จพระนารยาณ์มหาราช
.
๒. โคลงเฉลิมพระเกียรติ์สมเด็จพระนารายณ์มหาราช
.
ขุนเทพกวี พราหมณ์ชาวเมืองสุโขทัย แต่ง คำฉันท์ดุษฎีสังเวยกล่อมช้าง
.
พระเยาวราช จากเมืองเชียงใหม่ แต่ง ทวาทศมาส โดยมีขุนพรพมมนตรี ขุนศรีกวีราช ขุนสารประเสริฐ ช่วยแต่งเกลาแก้สำนวนกลอน
.
.
ศรีปราชญ์ บุตรพระมหาราชครู บาตำราว่าเป็นบุครพระโหราธิบดี สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงสันนิษฐานว่า น่าจะเป็นคนคนเดียวกัน คือพระโหราธิบคีรับราชการในตำแหน่งมายาวนาน และเป็นพระอาจารย์ถวายอักษรแก้สมเด็จพระนารายณ์ด้วย จึงได้ชื่อว่าพระมหาราชครูอีกชื่อหนึ่ง
.
ศรีปราชญ์คงได้รับการอบรม หล่อหลอมความรู้ต่างๆ ด้านวรรณคดีไทยอย่างดีจากบิดา สำนวนภาษา โค กลอน ฉันท์ต่างๆ ของศรีปราชญ์ยังทันสมัย เป็นอมตะมาจนทุกวันนี้
.
สันนิษฐานกันว่า ศรีปราชญ์ เดิมชื่อ ศรี มีความสามรถแต่งโคลง ฉันท์ กาพย์ กลอนได้ ตั้งแด่ยังเยาว์วัย
.
มีเรื่องเล่าว่า เมื่อเด็กอายุประมาณ ๙ ขวบหรือ ๑๐ ขวบ บังอาจแต่งต่อโคลงพระราชนิพนธ์ของสมด็จพระนารายณ์ฯ ที่ทรงค้างไว้สองบาท โดยโคลงพระราชนิพนธ์นี้ สมเด็จพระนารายร์ฯ ทรงพระกรุณาพราชทานให้พระมหาราชครูเอามาแต่งให้จบทั้งบท คือ
.
อันใดย้ำแก้มแม่ หมองหมาย
ยุงเหลือบฤๅริ้นพราย ลอบกล้ำ
.
พระมหาราชครูผู้เฒ่า รับเอามาแล้วยังมิทันได้แต่ต่อก็เก็บไว้ รุ่งเช้านึกขึ้นได้จึงไปหยิบดูก็พบว่ามีผู้แต่งเสร็จแล้วอีก ๒ บาท คือ
.
ผิวชนแต่จักกราย ยังยาก
ใครจะอาจให้ช้ำ ชอกเนื้อเรียมสงวน
.
จนครบสี่บาทของโคลงสี่สุภาพ
.
โดยที่เป็นเวลากะทันหัน แบทโคลงนั้นก็ดีแล้วคือ
.
อันใดย้ำแก้มแม่ หมองหมาย
ยุงเหลือบฤๅริ้นพราย ลอบกล้ำ
ผิวชนแต่จักกราย ยังยาก
ใครจะอาจให้ช้ำ ชอกเนื้อเรียมสงวน
.
สมเด็จพระนารายณ์ฯ รงคุ้นเคยกับพระมหาราชครูดีและชราแล้ว คงจะไม่แต่งข้อความพาดพิงเข้าถึงเรื่องของพระองค์อย่างแหลมคมดังเช่นข้อความในบาทที่สี่นั้นเป็นแน่ จึงมีพระราชดำรัสถาม ก็ทรงทราบว่าผู้แต่งเป๊นบุตรพระมหาราชครู อายะพียงสิบขวบก็ทรงพอพระทัยนัก ถึงกับทรงขอชมตัว และเมื่อได้ทอดพระเนตรเห็นหน่วยก้านชั้นเชิงหนูน้อยนักเลงกลอน ก็ทรงพระกรุณาขอไว้เป็นมหาดเล็ก พระมหาราชครู หรือพระโหราธิบดีคงจะรู้ด้วยวิชาโหร ว่า “ศรี”ลูกของตนจะอายุสั้นด้วยอาญาแผ่นดิน จึงกราบทูลว่า บุตรของตนยังเป็นเด็ก จะทำผิดด้วยไม่รู้จักที่สูงที่ต่ำ จึงขอพระกรุณาพระราชทานอภัยโทษ แม้วาจะมีผิดถึงตาย ก็ขอให้ยกโทษประหารเป็นเนรเทศแทน ก็ทรงพระกรูราพรราชทานโทษประหารแก่พระมหาราชครู ศรีปราชญ์จึงได้เป็นมหาดเล็กในพระราชวังของสมเด็จพระนารายณ์ฯ แต่นั้นมา
.
ในการทรงพระอักษร หรือในโอกาสโปรดเกล้าฯ ให้ข้าราชบริพารแต่งบทประพันธ์ถวาย ก็มีพระราชดำรัสให้ศรีปราชญ์อยู่ด้วยทุกครั้ง ทำให้ชื่อเสียงของศรีปราชญ์แพร่ออกไปโดยเร็ว
.
ความหนุ่มแก่วัยและความจัดจ้านในคารมของศรีปราชญ์ คงจะได้เป็นที่รู้จักในหมู่ประชาชนทั้งในวัง และนอกวัง
.
ในครั้งหนึ่งในราชสำนัก มีกวีสำคัญคือ “เจ้าเชียงใหม่” สันนิษฐานว่าอยู่ในฐานะตัวจำนำ ศรีปราชญ์ได้โต้ฝีปากกับกวีผู้นี้อยู่เสมอ การโต้ตอบหรือประกวดกัน ศรีปราชญ์มักจะเป็นฝ่ายชนะอยู่เสมอ
.
มีอยู่ครั้งหนึ่ง เกิดมีเสียงอึกทึกครึกโครม สมเด็จพระนารายณ์ ทรงตรัสถามถึงต้นเหตุของเสียงว่าเป็นด้วยเหตุประการใด ด้วยความเป็นปฏิภาณกวีของศรีปราชญ์ จึงกราบทูลเป็นโคงว่า
.
ครื้นครื้นสนั่นพื้น ปฐพี
เสียงตะขาบขับตี เร่งร้น
ภูธรภูเรศตี สุรสั่ง เองแฮ
ร้องสำทับช้างต้น เทิดแก้วมาเมือง
.
ครั้งสมเด็จพระนารายณ์ฯ ทรงแปรพระราชฐานไปประทับ ณ พระราชวังลพบุรี ในฤดูร้อน เสด็จประพาส “ป่าแก้ว” โปรดให้ข้าราชบริพารแต่งโคลงที่มีความหมายแสดงถึงความรักประกวดกัน
.
คู่แข่งคนสำคัญของศรีปราชญ์คือพระเยาวราชแห่งเชียงใหม่ โดยพระเยาวราชขึ้นบทก่อนว่า
.
ครืนครืนใช่ฟ้ร้อง เรียมครวญ
หึ่งหึ่งใช่ลมหวน พีไหม้
ฝนตกใช่ฝนนวล พี่ทอด ใจนา
ร้อนใช่ร้อนไฟไหม้ พีร้อนรนกาม
.
เป็นการแสดงความคิดแบบกวี ศรีปราชญ ก็โต้กลับโดยทวนคำคร่ำครวญว่า
.
เรียมร่ำน้ำเนตรถ้วม ถึงพรหม
พาหมู่สัตว์ตกจม จ่อมม้วย
พระสุเมรุเปื่อยเป็นตม ทบท่าว ลงแฮ
.
สมเด็จพระนารายณ์ฯ ทรงขัดขึ้นว่า ศรีปราชญืร้องไห้มากมาย จนน้ำท่วมถึงพรหมโลก ชั้น ๑๕ เขาพระสุมรุซึ่งเป็นหลักของโลกพังทลายหมดแล้ว จะอยู๋อย่างไร
.
ศรีปราชญ์ก็แก้ด้วยปฏิภาณ และความรู้ด้านวรรณคดีว่า
.
หากอักนิฐพรหมฉ้วย พี่ไว้จึ่งคง
.
สมเด็จพระนารายณ์ฯ โปรดมาก จึงตรัสว่า
.
“ศรีเอ๋ยเจ้าจงเป็นศรีปราชญ์เถิด” พรอมกับพระราชทานพระธำรงให้ ๑ วง
.
ข่าวที่ได้รับแต่งตั้งเป็น “ศรีปราชญ์” และได้รับพระราชทานแหวน คงเป็นที่เลื่องลือทั้งในวัง นอกวัง โดยเฉพาะพระเจ้าเชียงใหม่ เห็นว่าชื่อไม่เหมาะสมกับรูป กล่าวตอบโต้เป็นโคลงกันว่า
.
พระเจ้าเชียงใหม่ : ศรีเอยพระเจ้าฮื่อ ปางใด
ศรีปราชญ์ : ฮื่อเมื่อเสด็จไป ป่าแก้ว
พระเจ้าเชียงใหม่ : รัวลีบ่สดใส สักหยาด
ศรีปราชญ์ : ดำแต่นอกในแผ้ว ผ่องเนื้อนพคุณ
.
นับเป็นการแก้ได้อย่างงดงาม ทำนองยกย่องตนเองว่า ถึงจะรูปชั่วตัวดำ แต่จิตใจประดุจทองเนื้อเก้า สำนวนนี้ยังทันสมัยใช้กันมาจนทุกวันนี้ แม้เวลาจะผ่านมากว่า ๓๐๐ ปี
.
ชื่อเสียงของศรีปราชญ์คงโด่งดังไปทั่ว แม้กระทั่งนายประตูก็ทักศรีปราชญ์ว่า
.
นายประตู : แหวนนี้ท่านได้แต่ ใดมา
ศรีปราชญ์ : เจ้าพิภพโลกา ท่านให้
นายประตู : ทำชอบสิ่งใดนา วานบอก
ศรีปราชญ์ : เราแต่กลอนถวายไท้ ท่านให้รางวัล
.
ความหนุ่มคะนอง ความจัดจ้านทางคารม ความทนงตนว่าเป็นเลิศทาการประพันธ์ ปฏภาณดี ความรู้ดี แต่ขาดสติ ทำให้ศรีปราชญ์ ต้องรับชะตากรรมอันหลกเลี่ยงมิได้
.
คืนวันลอยกระทง ศรีปราชญ์กล่าวชมกระทงของท้าวศรีจุฬาลักษณ์ว่า
.
มลักเห็นใบจากเจ้า นิรมิต
เป็นสำเภาไพจิตร แปดโล้
จักลงระวางวิด จวนแก่ อกเอย
แม้หนุ่มวันนั้นโอ้ พี่เลี้ยงโดยสาร
.
“ท้าวศรีจุฬาลักษณ์” ตำแหน่งสนมเอกของสมเด็จพระนารายณ์ฯ เป็นธิดาเจ้าแม่วัดดุสิต หรือ กรมพระเทพามาตร พระนมของสมเด็จพระนารายณ์ฯ ทรงสมรสกับหม่อมเจ้าเจิดอำไพ มีบุตร ๓ คน คือ
.
๑. เจ้าพระยาโกษาธิบดี (เหล็ก) แม่ทัพใหญ่สมัยพระนารายณ์ฯ
.
๒. เจ้าพระยาโกษาธิบดี (ปาน) ราชทูตในสมัยพระนารายณ์ฯ
.
๓. ท้าวศรีจุฬาลักษณ์ พระสมนเอกของพระนารายณ์ฯ
.
ตระกูลนี้สืบทอดมาจากพระยารามขุนนางมอญที่อพยพมาไทยในสมัยสมเด็จพระเอกาทศรถ มีบุตรหลานรับราชการสืบทอดกันมาจน ถึงสมัยสมเด็จพระนารายณ์ฯ ซึ่งตระกูลดังกล่าวเป็นต้นตระกูลของ “ราชวงศ์จักรี”(สายเจ้าพระยาโกษาธิบดี – ปาน)
.
“ท้าวศรีจุฬาลักษณ์”พระสนมเอก นัยว่าอายุแก่กว่าสมเด็จพระนารายณ์ฯ เมื่อศรีปราชญ์ไปจี้จุดอ่อนเข้า จึงกล่าวโต้ตอบเชิงดูถูกศรีปราชญ์ว่า
.
หะหายกระต่ายเต้น ชมจันทร์
มันบ่เจียมตัวมัน ต่ำต้อย
นกยูงหากกระสัน ถึงเมฆ
มันบ่เจียมตัวน้อย ต่ำต้อยเดรัจฉาน
.
ด้วยนิสัยของศรีปราชญ์ไม่ยอมแพ้ใครอยู่แล้ว มิได้คิดว่าอะไรควรมิควร จึงกล่าวโต้ตอบกลับไปทำนองว่า
.
หะหายกระต่ายเต้น ขมแข
สูงส่งสุดตาแล สู่ฟ้า
ฤดูฤดีแด สัตว์สู่ กันนา
อย่าว่าเราเจ้าข้า อยู่พื้นเดียวกัน
.
พระสนมโกรธนำความไปกราบทูลสมเด็จพระนารายณ์ฯ ที่ศรีปราชญ์บังอาจกล่าวเกี้ยวประมาทพระสนม ทรงพิจารณาว่า
.
แม้จะไม่เกี่ยวข้องต้องโทษในส่วนพระองค์ ก็ต้องลงโทษตามกฎมณเฑียรบาล จึงโปรดให้ศรีปราชญ์ไปทำงานหนัก ขนเลนในพระราชวังถ่ายโทษ ขณะขนเลนอยู่ บังเอิญพระสนมเดินผ่านไป หรือเจตนาจะไปเยาะเย้ยก็ได้ เรื่องจึงเกิดขึ้นอีกตามเคย จนต้องโทษหนักเป็นครั้งที่สอง และกระทำผิดในพระราชวัง มีโทษถึงประหารชีวิต แต่โทษประหารได้ยกให้ ตามที่พระมหาราชครูผู้เป็นบิดาได้ขอไว้ จึงให้เนรเทศไปฝากไว้กับพระยานครศรีธรรมราชเป็นการชั่วคราว
.
ศรีปราชญ์ขณะนั้นเป็นหนุ่มเต็มตัว ประกอบกับพระยานครฯ กำลังฟื้นฟูด้านกวีอยู่ทางปักษ์ใต้ ศรีปราชญ์จึงได้ใกล้ชิดกับพระยานครฯ ในฐานะกวีเอกจากกรุงศรีอยุธยา ในประวัติกล่าวว่าศรีปราชญ์ได้ไปติดต่อเชิงชู้สาวกับนางในของพระยานครฯ พระยานครฯ จึงพาลหาเหตุจับศรีปราชญ์ประหารชีวิตเสีย ก่อนประหาร ศรีปราชญ์ได้แต่โคลงไว้บทหนึ่งว่า
.
ธรณีนี่นี้ เป็นพยาน
เราก็ศิษย์มีอาจารย์ หนึ่งบ้าง
เราผิดท่านประหาร เราชอบ
เราบ่ผิดท่านมล้าง ดาบนี้คืนสนอง
.
ตำราหลายฉบับเขียนว่า ศรีปราชญ์ใช้เท้าเขียนไว้บนพื้นทราย ก่อนทีเพชฌฆาตจะลงดาบ เป็นการแช่งพระยานครฯ ซึ่งไม่น่าจะเป็นไปได้ เพราะนักโทษประหารจะต้องถูกพันธนาการอย่างหนาแน่น จะเอาเท้อเขียนได้อย่างไร
.
เมื่อขาดศรีปราชญ์ การกวีในราชสำนักคงเงียบเหงาไป จึงสมเด็จพระนารายณ์ฯ จึงโปรดให้เรียกตัวกลับ ครั้นทรงทราบว่าพระนครฯ ได้ประหารศรีปราชญ์เสียแล้ว ก็ทรงพระพิโรธ จึงให้ประหารชีวิตพระยานครฯ ในที่สุด
.
บทนิพนธ์ของศรีปราชญ์
.
๑. อนิรุทธคำฉันท์ สร้างขึ้นเพราะบิดาประมาทว่า แต่ดีแต่โคลง ศรีปราชญ์จึงมุมานะจนสำเร็จ
.
๒. กำศรวลศรีปราชญ์ แต่งขณะที่เดินทางไปนครศรีธรรมราช ตามพระราชอาญา
.
๓. โคลงบทอื่นๆ เช่น
.
เจ้าอย่าย้ายคิ้วให้ เรียมเหงา
ดูดุจนายพรานเขา ล่อเนื้อ
จะยิงก็ยิงเอา อกพี่ ราแม่
เจ็บไป่ปานเจ้าเงื้อ เงือดแล้วราถอย
.
โคลงกระทู้ที่ไม่มีความหมาย เช่น
.
โก มลเดียรดาษพื้น สินธู
วา ลุกาประดับดู ดั่งแก้ว
ปา รังระบัดปู ปุยนุ่น เปรียบฤๅ
เปิด จอกกระจับแผ้ว ผ่องน้ำเห็นปลา
.
.
ทะ เลแม่ว่าห้วย เรียมฟัง
ลุ่ม ว่าดอนเรียมหวัง ว่าด้วย
ปุ่ม เปลือกว่าปะการัง เรียมร่วม คำแม่
ปู ว่าหอยแม้กล้วย ว่ากล้ายเรียมตาม
.
รองศาสตราจารย์ ไกนุช ศิริพูน คำขอบคุณทุกท่านที่อ่านและนำออกเผยแพร่ ไว้ ณ โอกาสนี้ด้วย
.
* อ่านเถิดอ่านนะแหม้ อย่าแคลน
อ่านเพิ่มอ่านพูนแสน สิริล้ำ
อ่านนิดอ่านหน่อยแค่น อ่านก็ ดีเฮย
อ่านอ่านยิ่งอ่านซ้ำ ซาบซึ้งทรวงเกษม*
.
*ชวลิต ผู้ภักดี ประพันธ์
.
.
sithiphong:
.
.
.
ไม่ได้ชื่อ "ครูกายแก้ว" อาจารย์พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 แห่งเขมรโบราณไม่มีชื่อนี้
.
.
ที่มา เว็บไซด์ thebetter
Aug, 13 2023
.
.
ตามหลักฐานประวัติศาสตร์ไม่มีบุคคลที่ชื่อ "กายแก้ว" แต่มีคนอื่นที่กษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่แห่งเขมรโบราณถือเป็นครูบาอาจารย์ .
เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม การจราจรบน ถ.รัชดาภิเษก ขาเข้า กลายเป็นอัมพาต เพราะมีการเคลื่อนย้ายรูปปั้นของบุคคลที่ถูกเรียกว่า "ครูกายแก้ว" เป็นบุคคลที่มีร่างกายเป็นมนุษย์สีดำทั้งร่าง มีปีกที่ด้านหลัง มีเขี้ยวงอกจากปาก มีดวงตาและเล็บสีแดง รูปั้นนี้ถูกนำไปติดตั้งที่เทวาลัยพระพิฆเนศห้วยขวาง แต่ระหว่างทางรูปปั้นขนาดใหญ่ดันไปติดกับท้องสะพานลอยจนขยับไม่ได้ ทำให้รถติดเป็นทิวแถว
หลังจากที่เป็นข่าวฮือฮา ทำให้มีกรเผยแพร่ประวัติของ "ครูกายแก้ว" ตามสื่อต่างๆ ซึ่งส่วนใหญ่รายงานราวกับลอกข่าวกันมาโดยไม่การตรวจสอบข้อเท็จจริง โดยเฉพาะข้อมูลที่ระบุว่าครูกายแก้วเป็นผู้วิเศษที่ "เป็นอาจารย์พระเจ้าชัยวรมันที่ 7" และ "ถือเป็นครูของศาสตร์ศิลป์ทั้งหลายในยุคของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ของกัมพูชา" สื่อเกือบทุกแห่งรายงานตรงกันหมดในลักษณะนี้ มิหนำซ้ำยังมีสื่อบางรายเพิ่มเติมสรรพคุณเขาไปอีกว่า ที่เหตุที่รูปปั้นไปติดสะพานลอยจนรถติด เพราะเป็นการ "ป่าวประกาศมากรุง"
หลังจากมีการประโคมว่าครูกายแก้วเป็นอาจารย์ของพระเจ้าชัยวรมัที่ 7 ทำให้ผู้สนใจประวัติศาสตร์ออกมาโต้อย่างต่อเนื่อง โดยชี้ว่า จากหลักฐานศิลาจารึก ซึ่งเป็นหลักฐานที่มีตัวตนอ้างอิงได้ และใช้เป็นข้อมูลทางประวัติศาสตร์ ระบุว่า ครูของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 มีแค่บุคคลที่ชื่อ "ศรี ชัยมังคลารถะเทวะ" และ "ศรี ชัยกีรติเทวะ" เท่านั้น โดยมีชื่อในจารึกปราสาทตาพรหม ในเมืองพระนครธม ไม่เคยมีบุคคลที่ "กายแก้ว" เลย
นอกจากนี้ พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ยังทรงศรัทธาในพุทธศาสนาอย่างมาก ทรงสร้างพระพุทธรูปประดิษฐานตามห้วเมืองจักรวรรดิเขมรโบราณต่างๆ ในจารึกยังระบุถึงการประดิษฐานพระพุทธรูปในเมืองที่ปัจจุบันเป็นจังหวัดของไทย เช่น วัชรปุระ (เพชรบุรี) ชัยราชปุระ (ราชบุรี) สุวรรณปุระ (สุพรรณบุรี) เป็นต้น ไม่มีหลักฐานระบุว่าทรงมีความเชื่อในไสยศาสตร์ที่มีครูเป็นบุคคลรูปร่างเป็นอมนุษย์อย่างครูกายแก้ว
ในจารึกโบราณ เช่น จารึกพระขรรค์ได้เล่าว่าพระองค์ทรงสร้างพระพุทธรูปและวิหาร ในเมืองทั่วอาณาจักร รวมถึงเมืองเพชรบุรี ราชบุรี สุพรรณบุรี ละโวทัยปุระ (ละโว้หรือลพบุรี) ศรีชยสิงหปุระ (เมืองสิงห์ ในจังหวัดกาญจนบุรี) เพื่อประดิษฐาน "พระชยพุทธมหานาถ" ซึ่งเป็นพระพุทธรูปในพุทธศาสนา ที่พระนามมีความหมายว่า "พระพุทธเจ้าที่เป็นที่พึ่งที่ยิ่งใหญ่และเป็นชัยชนะอันยิ่งใหญ่" พร้อมกับระบุว่า "พระราชาทรงสร้างพระชยพุทธมหานาถที่ทำให้เกิดมีความสุขขึ้น"
นั่นหมายความว่า ทรงศรัทธาในพุทธศาสนาอย่างมาก จนส่งเสริมให้ประชาชนในดินแดนหัวเมืองกราบไหว้บูชาพระพุทธเจ้า และให้พระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งให้เกิดความสำเร็จจหรือชัยชนะที่ยิ่งใหญ่ หลักฐานเหล่านี้บางชี้ว่า พระองค์มีพระรัตนตรัยเป็นสรณะ (ที่พึ่ง) ไม่ได้มีครูไสยศาสตร์เป็นที่พึ่งเลย ยิ่งไม่ต้องพูดถึงว่าครูไสยศาสตร์ผู้นั้นมีรูปกายที่กึ่งคนกึ่งสัตว์
การสร้างเรื่องเล่าที่ไม่มีหลักฐานรองรับเกี่ยวกับ "ครูกายแก้ว" ยังไปไกลถึงขนาดอ้างภาพแกะสลักที่ปราสาทนครวัด ซึ่งเป็นภาพบุคคลที่นั่งชันเข่าถือวัตถุบางอย่างในมือ ซึ่งย้อยลงไปที่ด้านข้างไหล่ทำให้ดูเหมือนเป็นปีก ผู้ที่มีเจตนาโฆษณาเรื่องครูกายแก้วจึงอ้างว่านี่คือรูปครูกายแก้วที่มีปีก แต่แท้จริงแล้ว สิ่งที่เห็นไม่ใช่ปีก เพราะมีด้ามจับในมือ ที่สำคัญภาพนี้แกะสลักหลังยุคพระเจ้าชัยวรมันนานเกือบ 300 ปี
ประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 มักเกี่ยวกับการทำบุญทำทาน สร้างวัดและพุทธสถาน สร้างสถานรักษาพยาบาลให้ประชาชนโดยอาศัยยารักษาโรคและพลังจากพระพุทธเจ้า โดยเฉพาะการประดิษฐานพระไภษัชยคุรุ ซึ่งเป็นพระพุทธเจ้าที่มีพลังในการรักษาโรคภัยไข้เจ็บตามคำสอนของพุทธศาสนามหายาน เพราะพระองค์ตั้งปณิธานที่จะช่วยเหลือสรรพสัตว์ด้วยวิธีนี้ ทำให้การบูชาพระไภษัชยคุรุแพร่หลาย และนิยมเรียกกันว่า "พระหมอ"
"พระกริ่ง" ที่นิยมบูชาในไทยก็เป็นพระพุทธรูปแทนองค์พระไภษัชยคุรุนั่นเอง จึงเรียกว่า "พระหมอยา" และพระกริ่งรุ่นแรกที่เข้ามาไทยคือ "พระกริ่งปทุมสุริยวงศ์" ซึ่งนำมาจากกัมพูชา ในสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งขณะนั้นกัมพูชาเป็นประเทศราชของไทย
รายงานโดย ทีมข่าว The Better
.
.
Photo - Jean-Pierre Dalbéra, CC BY 2.0)
.
.
TAGS: #ครูกายแก้ว #ชัยวรมัน #กัมพูชา #มู
.
.
.
นำร่อง
[0] ดัชนีข้อความ
[#] หน้าถัดไป
[*] หน้าที่แล้ว
Go to full version