ริมระเบียงรับลมโชย > ดูหนัง ดูเรา ดูโลก ( Movie and Wisdom )

ชั่วฟ้าดินสลาย : ความรักชั่วนิรันดร์ การลงทัณฑ์ชั่วชีวิต

<< < (2/2)

มดเอ๊กซ:

โศกนาฏกรรมรักชั้นเยี่ยม ที่ตราตรึงทุกหัวใจตราบ ชั่วฟ้าดินสลาย



แค่ปล่อยตัวอย่างแรกออกมาก็เรียกเสียงฮืฮฮากันทั่วบ้านทั่วเมือง สำหรับภาพยนตร์ พีเรียด-ดราม่า “ชั่วฟ้าดินสลาย” ผลงงานการกำกับของผู้กำกับชั้นครู “หม่อมหลวงพันธุ์เทวนพ เทวกุล” หรือที่รู้จักกันดีกับ “หม่อมน้อย” และเมื่อได้พระเอกเบอร์หนึ่งของเมืองไทยอย่าง “อนันดา เอเวอริงแฮม” มาประกบคู่กับ “พลอย-เฌอมาลย์ บุญยศักดิ์” ก็ยิ่งตอกย้ำให้ภาพนตร์เรื่องนี้ กลายเป็นหนังรักยิ่งควรค่าแก่การชมเป็นอย่างยิ่ง
 
“ชั่วฟ้าดินสลาย” เป็นวรรณกรรมคลาสสิคของ “เรียมเอง” (ครูมาลัย ชูพินิจ) ซึ่งแต่งขึ้นในยุคสมัยการเปลี่ยนแปลงการปกครองช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง (พ.ศ. 2486) ซึ่งนับว่าเป็นเวลาล่วงเลยมากว่า 67 ปี แต่วรรณกรรมชิ้นเอกชิ้นนี้ ก็ถูกสร้างเป็นภาพยนตร์ขึ้นหลายครั้งหลายครา ซึ่งแต่ละครั้งก็ล้วนตราตรึงหัวใจผู้ชมไว้ตราบชั่วฟ้าดินสลาย และการกลับมาเป็นครั้งที่ 4 โดยการรีเมคใหม่ของ  “หม่อมหลวงพันธุ์เทวนพ เทวกุล” ก็เรียกว่าเป็นผู้กำกับที่เหมาะสมที่สุดแล้วที่จะนำวรรณกรรมเรื่องสั้น เรื่องนี้กลับคืนสู่ความทรงจำของคนไทยอีกครั้ง ด้วยการรังสรรค์ทุกอย่างได้อย่างละเมียดละไม ยิ่งทั้งยังคงความเป็นเอกลักษณ์แบบเดิมของต้นฉบับเอาไว้ อย่างไม่ขาดตกบกพร่อง ทำให้ภาพยนตร์ชิ้นนี้ เป็นงานมาสเตอร์พีช ชิ้นเยี่ยมที่สุดของหม่อมน้อย


ถ้าจะเอ่ยถึงผู้กำกับชั้นครูท่านนี้ ในวงการบันเทิง หลายคนคงจะรู้จักกันดี ว่า “หม่อมน้อย” ท่านเป็นครูในด้านศิลปะการแสดงเบอร์หนึ่งของเมืองไทย ที่เปิดเนตรให้กับนักแสดงไทยทั้งใหม่และเก่าอย่างนับไม่ถ้วน ส่วนในด้านผลงานการกำกับภาพยนตร์ “หม่อมน้อยได้เคยกำกับภาพยนตร์ครั้งแรกภายใต้การดูแลของค่ายสหมงคลฟิล์ม กับภาพยนตร์เรื่อง “เพลิงพิศวาส” (พ.ศ. 2527) โดยได้นักแสดงตัวแม่อย่าง “สินใจ เปล่งพานิช” แสดงนำ ผลงานชิ้นนี้กลายเป็นที่รู้จักกันโดยทั่วใน 27 ปีที่แล้ว จากนั้นมา “หม่อมน้อย” ก็ได้ละเมียดผลงานภาพยนตร์ไว้หลายเรื่อง อาทิ “ช่างมันฉันไม่แคร์ (พ.ศ. 2529),ฉันผู้ชายนะยะ (พ.ศ.2530),นางนวล (2530),เผื่อใจให้กันสักหน่อย (พ.ศ. 2532),ความรักไม่มีชื่อ (พ.ศ.2533),มหัศจรรย์แห่งรัก (พ.ศ.2538) และอันดากับฟ้าใส (พ.ศ.2540)

และใน พ.ศ. นี้ “หม่อมน้อย” ได้หยิบเอา “ชั่วฟ้าดินสลาย” กลับมาทำอีกครั้ง โดนได้คัดสรรเอานักแสดงเบอร์ต้นๆของเมืองไทย มาเล่าเรื่องราวโศกนาฏกรรมรักชั้นเยี่ยม ตราตรึงทุกหัวใจตราบ “ชั่วฟ้าดินสลาย”


“ชั่วฟ้าดินสลาย” เป็นเรื่องราวโศกนาฏกรรมรักที่เกิดขึ้นระหว่าง ชายวัยกลางคนในฐานะอา“พะโป้” (ธีรพงศ์ เหลียวรักวงศ์) กับหลานชายรุ่นลูก “ส่างหม่อง” (อนันดา เอเวอริงแฮม) อาหลานคู่นี้ดูจะต่างกันทั้งอายุ อุดมคติ และการใช้ชีวิต แต่มีสิ่งหนึ่งที่ดูจะเหมือนกันคือความรัก… โดยมีหญิงสาวผู้เลอโฉมจากพระนครเต็มเปี่ยมไปด้วยความรู้ที่มาพร้อมกับความทันสมัย ทำให้ม่ายสาวอย่าง “ยุพดี” (เฌอมาลย์ บุญยศักดิ์) เกิดต้องตาต้องใจ พ่อม่ายคราวพ่อ อย่าง “พะโป้” ทั้งคู่ตกลงปลงใจที่จะใช้ชีวิตคู่กันในอาณาจักรปางไม้ที่ใหญ่โตของพะโป้ ที่ๆเต็มไปด้วยธรรมชาติและความสะดวกสบาย ด้วยข้าทาสบริวารมากมาย และการมาครั้งนี้ของ “ยุพดี” ในฐานะแม่หญิงของปางไม้แห่งนี้ เธอก็ต้องได้รับอีกตำแหน่งหนึ่ง ในบทบาทอาสะใภ้ของหลานชายรุ่นราวคราวเดียวกับเธอ “ส่างหมอง” และนี่คือจุดเริ่มต้นของโศกนาฏกรรมรักครั้งนี้


เรื่องราวถูกเปิดเรื่องด้วยการมาเยือนของสหายต่างแดน “นิพนธ์” (เพ็ญเพชร เพ็ญกุล) ที่ร่อนเร่มาไกลกว่าจะถึงปางไม้แห่งนี้ โดยขอเอ่ยถึงคุณ “แจ๊บ เพ็ญเพชร เพ็ญกุล” อดีตพระเอกชื่อดัง ที่หายหน้าหายตาไปจากจอเงินมานานหลายสิบปี และการกลับมารับบท  “นิพนธ์ ” ชายหนุ่มวัยสามสิบกว่า ที่ดูสุขุมลุ่มลึก ก็นับว่าเป็นการวางตัวที่เหมาะชมที่สุดกับการที่เลือก “คุณแจ๊บ” มารับบทนี้ ที่จะมาเป็นผู้เล่าเรื่อง โดยมี ศักราช ฤกษ์ธำรงค์ ในบท “ทิพย์” หัวหน้าคนงานคู่ใจของ “พะโป้” เป็นผู้เล่าและรับรู้เรื่องราวทั้งหมดที่เกิดในปางไม้แห่งนี้


ชายหญิงรุ่นราวคราวเดียวกัน ก็ไม่ใช่เรื่องแปลกที่จะเกิดการใกล้ชิดสนิทสนมกัน แต่ทว่าความใกล้ชิดนั้นมีเส้นแบ่งของความซื่อสัตย์ ที่ทั้งคู่จะมีต่อ สามีอันเป็นที่รัก และอาอันเป็นทุกสิ่งทุกอย่าง ก็คงไม่มีเรื่องราวความสูญเสียที่มิอาจลืมเลือนได้ตราบชั่วฟ้าดินสลาย

โดยตัวละครทั้ง “ยุพดี ” และ “ส่างหม่อง” ต่างมีความรัก ความโลภความโกธร ความหลง ตัญหาราคะ อยู่ในตัวเองอยู่แล้ว แต่มันจะผุดขึ้นมาเมื่อใดก็เท่านั้น การดำเนินเรื่องในช่วงต้นได้ดำเนินเรื่องราวโดยการเล่าผ่านสองตัวละคร  ได้อย่างบรรจงและลงตัว ทุกอย่างถูกตัดผ่านเรื่องราวในอดีต มาถึงปัจจุบันได้อย่างประณีตละเมียดละไม เรียกว่าถ้าคะแนนในเรื่องการตัดต่อ ถือว่าได้รับไปแบบ 10 เต็ม 10 เลยทีเดียว
 
และที่ไม่พูดถึงไม่ได้กับฉากเลิฟซีน ที่เรียกว่าเล่นเหมือนจริง ถอดกันจริงๆ เห็นกันจะๆ แต่กลับไม่ได้ดูโป๊เปลือยจนเกินไป แต่กลับเป็นงานศิลปะที่ “หม่อมน้อย” รังสรรค์มาได้อย่างละเอียดละออ ไม่ทำให้รู้สึกว่าภาพยนตร์เรื่องนี้จงใจที่จะสื่อไปในแนวทางแบบนั้น ความสัมพันธ์ของชายหนุ่มกับหญิงสาวได้เริ่มต้นขึ้นอย่างสวยงาม แต่จบลงด้วยสิ่งที่ทำให้ความสวยงามกลายเป็นความน่ารังเกียจ  ด้วยพันธะที่ “พะโป้”  มอบเป็นของขวัญ กับ “โซ่ตรวน” ที่จะผูกเขาและเธอตราบชั่วฟ้าดินสลาย

ความรักที่ถูกผูกกันอย่างใกล้ชิด แรกๆก็หอมหวาน แต่นานไปความหอมหวานก็กลายเป็นความขื่นขม เพราะแท้จริงแล้วธรรมชาติของมนุษย์ก็คือเกิดมาคนเดียวและตายคนเดียว มนุษย์ต้องการความเป็นอิสระ  การที่ถูกผูกตัดด้วยโซ่จึงถือเป็นบทลงโทษที่แสนจะหนักหนา เปรียบดังเช่นเหมือนตายทั้งเป็น นี่แหละคือเสน่ห์ของภาพยนตร์เรื่องนี้  ที่สะท้อนแง่คิดในมุมมองความรัก ที่เกิดขึ้นอดีตและปัจจุบัน
 
การเอาตัวละครชั้นดีชั้นเอกมาปะทะฝีมือกัน กับ 3 ตัวละครนำ “ยุพดี ” (เฌอมาลย์ บุญยศักดิ์)  “ส่างหม่อง” (อนันดา เอเวอริงแฮม) และ  “พะโป้” (ธีรพงศ์ เหลียวรักวงศ์) ตัวละครเอกทั้ง 3 ได้บรรจงฝีมือได้อย่างดีเยี่ยม ขอพูดถึง ตัวละครแรก “ยุพดี ” เธอเป็นเหมือนหญิงแพศยา แต่อีกหนึ่งมุมกลับรู้สึกสงสารและเห็นใน “ยุพดี ” ไปในคราเดียวกัน ส่วน “ส่างหม่อง” ชายหนุ่มที่เพียบพร้อมไปด้วยความรู้ แลความดี และในส่วนลึกๆเขาก็คือคนธรรมดาทั่วไป ที่มีทั้งความความดีความชั่วปะปนอยู่ และตัวละครตัวที่สาม “พะโป้” โดยได้คุณ บี๋-ธีรพงศ์ เหลียวรักวงศ์ ช่างภาพเบอร์หนึ่งมารับบทนี้ เรียกว่าคุณบี๋แสดงได้อย่างดีเยี่ยมมาก การคัดสรรค์ตัวละครทุกตัวเรียกว่าเป็นการเลือกสรรค์ที่ดีที่สุด ลงตัวและเหมาะสม

โดยรวมแล้วภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นภาพยนตร์ที่ควรค่าแก่การชมอย่างยิ่ง นอกจากเรื่องราวที่ซ่อนเร้นในปางไม้แห่งนี้ ยังมีเรื่องราวอีกมากมายที่ผู้มาเยือนถึงกับตราตรึงไปตราบชั่วฟ้าดินสลาย รับไป 4.5 ดาว ดูแล้วมาคุยกัน

บทวิจารณ์โดย หนามเตย

http://movie.mthai.com/movie-review/77907.html

แก้วจ๋าหน้าร้อน:
 :13: น่าดูจังครับเรื่องนี้ ผมชอบอนันดาแสดงนะ เค้าเก่งเน้อ ขอบคุณครับพี่มด

มดเอ๊กซ:
รีวิวนี้ ถูกเผยแพร่ไปแล้วก่อนหน้า ทาง http://www.chicministry.com ลิงค์





ต้องถือว่ายาวนานเลยทีเดียว สำหรับการห่างหายไปจากจอเงิน ของผู้กำกับคนหนึ่งที่ยุคหนึ่งเคยได้ชื่อว่า มักทำให้ความรักเป็นสิ่งที่สวยงามได้เสมอ ..เขา ก็คือ หนึ่งในบุรุษที่คนในวงการบันเทิงไทยต่างเรียกขาลกันว่า ‘หม่อม’ เป็นคำนำหน้าอยู่เสมอ ...ก็เพราะเขา คือ “หม่อมหลวง พันธุ์เทวนพ เทวกุล” หรือที่ทุกคนคงรู้จักกันเป็นแน่ด้วยชื่อว่า “หม่อมน้อย”

หลังจากที่หลายปีได้พ้นไป เรามักจะเห็นผลงานของหม่อมน้อย ออกมาเป็น รูปแบบของละครเรื่องยาวไว้ฉายทางทีวี ดังเช่น “สี่แผ่นดิน” หรือ “ในฝัน” อยู่ล้วนๆ... คงทำให้ใครหลายคน เกิดหลงลืมไปแล้วว่าก่อนหน้านั้นนับเป็นสิบยี่สิบปี หม่อมน้อย ต้องถือว่าเป็นผู้กำกับหนังไทยอีกคนหนึ่งซึ่งมีผลงานเข้าตากรรมการ และคนดู อยู่เป็นเรื่องปกติ จนเมื่อมีผลงานออกฉายในคราใด ครานั้นย่อมต้องจุดกระแสสร้างความน่าสนใจอย่างเกรียวกราวได้เสมอ

ยิ่งได้อยู่ในช่วงเวลาที่หนังไทย เคยกล้าจะขายพลอตแรงๆ คละเคล้าความฉาวโฉ่ ด้วยกลิ่นคาวโลกีย์ อีกยังเลือกที่จะสะท้อนสังคมไทยในมุมมืดได้อย่างอาจหาญ (ประเภทที่ตอนจบ มักมีฉากการตายของคน เป็นเรื่องที่มีให้เห็นบ่อยๆ) ก็ย่อมต้องนับ หม่อมน้อย ให้เป็นหนึ่งในนั้น ที่ถือเป็นเบอร์ต้นๆ ของผู้กำกับที่ชอบจะหยิบยกเรื่องน้ำเน่า (ที่มีเค้าความจริง) มาตีแผ่ให้เห็นเป็นประจักษ์บนแผ่นฟิล์ม

แต่กระนั้น ในความน้ำเน่าของเรื่องราวใดๆ ก็ไม่เคยคิดคด หรือทำร้ายอะไรได้เลย กับส่วนของความรักที่มีในหนังของหม่อม ..ซึ่งล้วนแล้วแต่มีมุมมองของความสวยงาม คอยแฝงเร้นเอาไว้ ให้ได้รู้สึกอยู่เสมอ (เป็นประเภทที่ถึงจะตาย ก็ขอตายด้วยหัวใจที่เป็นสุขเพราะเคยมีความรัก)



แต่เมื่อวันเวลาผ่านพ้นไป ร่วมๆจะ 13 ปีได้ พร้อมกันกับเกิดการเปลี่ยนแปลงของวงการหนังไทยในทางที่ดี โดยเฉพาะกับการมี เรตติ้ง จำกัดอายุคนดูหนัง ให้เหมือนบ้านเมืองคนอื่นๆเขาบ้าง (แม้จะใช้การไม่ค่อยอะไรได้ในตอนนี้ ก็ให้คิดเสียว่า มันยังเป็นของใหม่!) ..เมื่อนั้น ก็ได้เวลาพอดีที่ หม่อมน้อย จะหวนคืนสู่การทำหนัง อย่างเต็มตัว พร้อมกันกับ การกำกับหนังเรื่องแรก ในรอบ 13 ปี ที่ได้ให้ชื่อว่าโปรเจกต์แต่ต้นยันวันฉายนี้ว่า “ชั่วฟ้าดินสลาย”

ชั่วฟ้าดินสลาย มีที่มาจากนวนิยายความรักอันเป็นโศกนาฏกรรม ที่ถูกประพันธ์ขึ้นโดยคนไทย คือ คุณ “มาลัย ชูพินิจ” (หรือในนามปากกา “เรียมเอง” สำหรับการประพันธ์เรื่องนี้) ซึ่งก็ได้มีที่มาอันทับซ้อนอีกทีหนึ่ง เป็นบทปรัชญาว่าด้วยเรื่องชีวิตมนุษย์ จากชาวต่างชาติอย่าง “The Prophet” ของ “Kahlil Gibran” ...นำเสนอเรื่องราวของ คนสามคน ที่มอบบทบาทให้ ผู้ชาย สองคน มีความข้องเกี่ยวกันในฐานะของ อา กับ หลาน ที่รักกลมเกลียวกันเป็นที่สุด ประหนึ่งพ่อลูก ..หากต้องมาพานพบปัญหากินแหนงแคลงใจสุดเจ็บปวด เพียงเพราะมี ผู้หญิง หนึ่งคน ถูกขอให้เดินเข้ามาเป็นหนึ่งในครอบครัวนี้





ชายคนแรกที่มีศักดิ์เป็นอา คือ “พะโป้” ผู้ที่มีสมญานาม ‘เสือผู้หญิง’ ด้วยฐานะที่ร่ำรวย มั่งคั่ง เป็นผู้มีอันจะกันที่พร้อมจะเก็บเกี่ยวความสุขได้ทุกอย่าง เพียงเพราะเงินซื้อได้

ชายคนที่สอง คือ “ส่างหม่อง” เป็นเด็กนอกจบใหม่หัวก้าวหน้า ที่กลับบ้านมาย่อมมีหวังจะได้รับมรดกทรัพย์ของพะโป้ แต่ก็บังอาจ เผลอพลั้งพลาด ไปเสียทีกับของที่ไม่ใช่มรดกสำหรับเขา

และของสิ่งนั้น ก็คือ ผู้หญิงที่ชื่อว่า “ยุพดี” สาวชาวกรุง ผู้รักจะเป็นอิสระ และมีจิตใจใฝ่หาแต่ ตัณหา ราคะ ที่ไม่รู้สำนึกว่า นี่คือสิ่งที่เลวร้ายสำหรับเธอ และทุกๆคนที่เป็นผู้ชายของเธอ





ชั่วฟ้าดินสลาย มาพร้อมกับพลอตเรื่องที่ชัดเจนแต่แรกเห็น ด้วยความเหมาะเหม็งที่จะกลายมาเป็นงานหนังครั้งแรกประเดิมของหม่อมน้อย เพื่อเป็นการต้อนรับตัวเองคืนสู่วงการนี้ ..ซึ่งก็ไม่ใช่แค่เพราะมันมีฉากความรัก เป็นดังจุดขาย และไม่ได้มีเพียงความหวาบหวิว วางให้เป็นอาหารจานหลัก (ดังเช่นตัวอย่าง พยายามทำให้รู้สึก) แต่ ชั่วฟ้าดินสลาย ก็คือ หนังในแบบของหม่อมน้อย ตรงที่กล้าจะนำเสนอ เรื่องราวของมนุษย์ ที่ถูกทำให้เสียคน เพียงเพราะยอมปล่อยให้เรื่องราวทุกอย่างถลำลึก และนำพาจิตใจให้ต่ำช้า กลายไปเป็นดัง สัตว์เดรัจฉาน

พูดไปอย่างนั้น อาจจะว่าแรง! แต่ถ้าใครได้ดูหนังแล้วก็คงจะรู้ได้ว่า สิ่งที่ผมพูดไป มันไม่ผิดจากที่ว่าเอาไว้เลย! เพราะเมื่อถึงฉากสุดท้ายของตัวละครแต่ละตัว ..เขาเหล่านั้นก็จะไม่หลงเหลือความเป็นคน อีกต่อไป

แล้วถึงต่อให้ใจหนึง เราก็นึกสงสาร แต่ยังไงก็คงทำใจให้อภัยไม่ได้หรอก เพราะสิ่งที่ได้เห็นทั้งนี้ทั้งนั้น ตัว(ละคร)เองก็ทำร้ายตัวเองล้วนๆ

การที่ใครได้ดู ชั่วฟ้าดินสลาย แล้วลองกลับมานึกถึงตัวเองสำหรับคนดูอย่างเราๆ ก็เหมือนกับการได้นำเอาประโยควลีฮิตตลอดดาลอย่าง ดูหนังดูละคร แล้วย้อนดูตัวเอง มาปรับใช้ ..และครั้งนี้ ก็รู้สึกได้ถึงแรงกระแทกกระทั้นที่หนักพอสมควร กับการนึกภาพตัวเองเป็นดังตัวละครในหนัง ที่เผลอตัว และเผลอใจ ยอมจะให้อะไรๆเกินเลย เพียงเพื่อสุดท้ายจะต้องมาพบจุดจบที่เป็นโศกนาฎกรรมอันน่าหวาดกลัว ...ในจุดนี้ เอาแค่นึก ก็สยองแล้ว!





ในแง่ของการสร้างความรู้สึกชวนให้อึดอัด หดหู่ สิ้นหวัง คงต้องยอมรับว่า หม่อมน้อย ทำจุดนี้เอาไว้ได้ดี กับชั่วฟ้าดินสลาย เรื่องนี้.. เป็นการทำให้คนดู เห็นแล้วคงไม่อยากจะหลงผิดหลงพลาด เป็นอย่างคนที่เห็นอยู่ในหนัง

แต่เมื่อมามองในแง่ของการทำให้คนดูเคลิบเคลิ้มไปกับความเชื่อที่มีต่อความคิดและจิตใจของตัวละครแล้ว ต้องบอกว่า มีหลายห้วงที่หนังพาให้สะดุด เพราะมีสภาวะที่เราไม่อาจเข้าใจตัวละครได้ว่า ทำไมถึงเลือกทำอย่างนั้น ทำไมถึงเปลี่ยนไปเป็นคนอย่างนี้ และอยู่ดีๆ ทำไมถึงทำตัวได้น่ารำคาญ อย่างในฉากหนึ่งของ ยุพดี ที่อยู่ดีๆ ก็กลายมาเป็นคนขี้เอาแต่ใจ (จนกลายเป็นตัวตลกสำหรับคนดูไปซะงั้น ..หัวเราะกันครืนกับความง้องแง้งของเธอ)

ซึ่งในมุมนี้ ถ้าจะไปโทษว่าหนัง กำกับออกมาไม่ดี ก็ไม่น่าจะใช่ เพราะในแง่ของการกำกับการแสดง ดาราชั้นดี แต่ละคนก็ถือเอาคาแรกเตอร์ของตัวเองที่เป็นได้อยู่กันทั้งนั้น และถ้าดูเอาความงดงามของการกำกับภาพในหนัง ก็ล้วนแล้วแต่สวยและสดอย่างจับต้องได้ ..โดยสองสิ่งนี้ ถือเป็นเรื่องปกติที่เห็นได้ในหนังของหม่อมอยู่แล้ว (อันนี้วัดจากการเคยดูละคร ส่วนหนังเหมือนจะยังไม่เคยมีโอกาสมาก่อน) อีกทั้งบทหนัง ก็คมด้วยการสนทนาที่ฝากประโยคเด็ดไว้ไม่น้อย รวมถึงการใส่ประเด็นสะท้อนสังคมที่น่าคิดเอาไว้อีกมาก (ถึงจะเล่าเรื่องย้อนอดีต ก็ยังมีมุมที่หยอกล้อกับสังคมปัจจุบันได้อยู่)



แต่ที่ให้รู้สึกว่า มันยังไม่เคลิ้มเป็นที่สุด อย่างที่น่าจะเป็นได้ ..มันได้เกิดมาจากความเห็น ที่เชื่อว่าปัญหาหลักๆ ของหนัง น่าจะมาจากการตัดต่อ แบบที่ไม่แม่นในจังหวะ (ดูว่ามีหลายช่วงที่เร่งรัดเกินไป) ...และยังเชื่อว่าน่าจะใช่เช่นนั้น ก็เพราะได้ข่าวจากวงในมาด้วยว่า เวอร์ชั่นที่ได้ดูในโรงนี้ เป็นฉบับ (เสี่ย) สั่งตัดเพื่อให้แชร์รอบฉายได้ต่อวันเยอะขึ้น หากยังไม่ใช่แบบที่ตรงตามใจทุกอย่างของ หม่อมน้อย

ก็อาจจะเป็นแค่ข่าว หรือไม่? อันนี้ ไม่ขอฟันธง ..แต่เห็นอย่างนี้ แล้วก็อยากจะดูฉบับผู้กำกับตัดต่อขึ้นมาเป็นที่สุด




http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=onceupon&month=10-2010&date=12&group=2&gblog=227

นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

[*] หน้าที่แล้ว

ตอบ

Go to full version