ผู้เขียน หัวข้อ: ไร้ทุกข์ได้ด้วยใจไม่ยึดมั่น  (อ่าน 1588 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ rain....

  • ศรัทธาในสิ่งที่ค้นหา มั่นคงในสิ่งที่เป็น แบ่งปันในสิ่งที่ค้นพบ
  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นไม้ใหญ่ยืนหยัดมั่นคงดั่งภูผา
  • *
  • กระทู้: 994
  • พลังกัลยาณมิตร 379
  • สุขลึกๆในความเหงา แม้จะโดดเดี่ยวแต่ไม่เคยเดียวดาย
    • ดูรายละเอียด
ไร้ทุกข์ได้ด้วยใจไม่ยึดมั่น
« เมื่อ: กรกฎาคม 23, 2010, 11:08:44 pm »
"จะนอน จะกิน จะทำงาน จะทำอะไรก็ได้ด้วยจิตที่ไม่ยึดมั่นถือมั่น ด้วย "ตัวกู-ของกู" แล้วก็(จะ)ไม่มีความทุกข์"
 

มรดกของท่านพุทธทาสภิกขุ
คอลัมน์ มองอย่างพุทธ

โดย พระไพศาล วิสาโล เครือข่ายพุทธิกา http://budnet.info

ด้วยวุฒิการศึกษาเพียงชั้น ม.3 นักธรรมเอก และเปรียญธรรม 3 ประโยค พระมหาเงื่อม อินทปัญโญ ภิกษุหนุ่มวัย 26 ปี ได้ริเริ่มทำสิ่งซึ่งต่อมาได้กลายเป็นปรากฏการณ์ครั้งสำคัญของพุทธศาสนาในประเทศไทย ในทางรูปธรรมสิ่งนั้นได้แก่สวนโมกขพลาราม ในทางนามธรรมสิ่งนั้นคือพุทธศาสนาอย่างใหม่ที่สมสมัย แต่มีพื้นฐานมาจากการปฏิบัติอย่างสมัยพุทธกาล

พระมหาเงื่อม อินทปัญโญ หรือที่โลกรู้จักในนามพุทธทาสภิกขุ เป็นบุคคลสำคัญที่สุดผู้หนึ่งซึ่งได้นำพุทธศาสนาไทยออกมาสัมพันธ์เชื่อมโยงกับโลกสมัยใหม่ได้อย่างมีพลัง และสามารถนำปัญญาชนที่ได้รับการศึกษาอย่างใหม่ กลับไปหารากเหง้าทางภูมิปัญญาอันมีพระบรมศาสดาเป็นแรงบันดาลใจ

แม้ท่านจะมีการศึกษาตามระบบไม่มากนัก แต่ก็รู้ลึกในศาสตร์สมัยใหม่ไม่ว่าวิทยาศาสตร์หรือปรัชญา จนไม่เพียงเห็นจุดอ่อนของศาสตร์เหล่านั้น หากยังสามารถนำศาสตร์เหล่านั้นมาใช้อธิบายพุทธศาสนาได้อย่างจับใจปัญญาชน

ในอีกด้านหนึ่งแม้ท่านมิใช่เปรียญเอก (แถมยังสอบตกประโยค 4 ด้วยซ้ำ) แต่ก็เชี่ยวชาญเจนจัดในพระไตรปิฎก และรู้ซึ้งถึงคัมภีร์อรรถกถา จนสามารถเข้าถึงแก่นพุทธศาสน์ และนำมาอธิบายให้คนร่วมสมัยได้อย่างถึงใจชนิดที่กระเทือนไปถึง "ตัวกู ของกู" อีกทั้งยังสามารถวิพากษ์สังคมร่วมสมัยและเสริมเติมศาสตร์สมัยใหม่ให้มีความลุ่มลึกมากขึ้น

ไม่เพียงศาสตร์สมัยใหม่และภูมิปัญญาอย่างเก่าเท่านั้น ที่ท่านพุทธทาสนำมาเชื่อมโยงกันได้อย่างมีความหมาย หากท่านยังเป็นสะพานเชื่อมสิ่งที่ดูเหมือนอยู่คนละฝั่งฟาก ให้มาเสริมเติมกัน ปริยัติและปฏิบัติ ซึ่งถูกแยกจากกันมาช้านานตามอิทธิพลของพุทธศาสนาแบบลังกา จนแบ่งเป็นคันถธุระและวิปัสสนาธุระ

แต่ที่สวนโมกขพลารามนั้น ปริยัติได้ประสานเป็นหนึ่งเดียวปฏิบัติ ในขณะที่ใช้ชีวิตอย่างพระป่าเจริญสมาธิภาวนาท่ามกลางธรรมชาติ รวมทั้งอยู่อย่างเรียบง่าย คือ

"ฉันข้าวจานแมว อาบน้ำในคู นอนกุฏิเล้าหมู ฟังยุงร้องเพลง" พระเณรที่นั่นก็ศึกษาปริยัติธรรม ด้วยการค้นคว้าจากพระไตรปิฎก และฟังคำบรรยายจากท่านพุทธทาสภิกขุไปด้วย

ในทำนองเดียวกัน เมื่อท่านและน้องชายคือนายธรรมทาส พานิช ออกหนังสือ พุทธสาสนา สิ่งที่ต้องมีควบคู่กันโดยตลอดคือ ภาคพระไตรปิฎก(แปล) และภาคปฏิบัติธรรม

จะว่าไปแล้วท่านพุทธทาสภิกขุ ก็เป็นผลผลิตของการศึกษาปริยัติอย่างจริงจังและการปฏิบัติอย่างเข้มข้น ในขณะที่ท่านหลีกเร้นปฏิบัติในป่า ก็ศึกษาพระไตรปิฎกอย่างเอาจริงเอาจัง จนสามารถเขียน ตามรอยพระอรหันต์ ออกมาในปีแรกที่ตั้งสวนโมกข์ และไม่กี่ปีต่อมาก็ตามมาด้วย พุทธประวัติจากพระโอษฐ์ และอริยสัจจากพระโอษฐ์

ในด้านปริยัติธรรมนั้น ท่านพุทธทาสภิกขุไม่ได้จำกัดการศึกษาแต่ในแวดวงของเถรวาทเท่านั้น หากยังขยายพรมแดนแห่งความรู้ของท่านไปยังแวดวงมหายานด้วยโดยเฉพาะนิกายเซน จนสามารถนำเอาคำสอนของเซนมาเป็นสื่อเพื่อนำผู้คนให้เข้าถึงหัวใจของพุทธศาสนา

นอกจากท่านจะลงมือแปล สูตรของเว่ยหล่าง และคำสอนของฮวงโป เองแล้ว ยังเอานิทานเซนและสำนวนเซนมาใช้เพื่อกระตุ้นคนให้ฉุกคิด เช่น

"จิตว่างมีได้ในกายวุ่น" หรือ "แม่น้ำคด น้ำไม่คด" หรือ "ฝนอิฐเป็นกระจกเงา" และที่แพร่หลายคือนิทานเด็กตามหาวัว ไม่เพียงเท่านั้นคำสอนฝ่ายวัชรยาน ท่านก็นำมาเผยแพร่ด้วย ที่รู้จักกันดีคือ ภาพยักษ์แสดงปฏิจจสมุปบาท กล่าวได้ว่าท่านเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญอย่างมากในการเชื่อมพุทธศาสนาแบบเถรวาทและมหายานให้เข้ามาใกล้กันมากขึ้น

..............................................

ในอีกด้านหนึ่ง ท่านพุทธทาสภิกขุได้ขยายพรมแดนแห่งการปฏิบัติธรรมไปยังชีวิตประจำวัน จนเป็นส่วนหนึ่งของการทำงานด้วย

ในทรรศนะของท่าน การปฏิบัติธรรมมิได้หมายถึงการหลีกเร้นเก็บตัวอยู่คนเดียวในป่า หรือนั่งหลับตาในห้องเท่านั้น หากเรายังสามารถปฏิบัติธรรมได้จากการทำงาน ด้วยเหตุนี้ท่านจึงเน้นว่า "การทำงานคือการปฏิบัติธรรม"

ในขณะที่คนทั่วไปทำงานเพื่อหวังความสำเร็จหรือมุ่งให้เสร็จไวๆ ท่านกลับสอนให้ทำงานอย่างมีสติ อยู่กับปัจจุบัน และไม่ยึดติดกับความสำเร็จ

ท่านเคยเปรียบกิเลสเหมือนกับเสือ ส่วนการทำงานเหมือนกับการแหย่เสือ ยิ่งเสือถูกแหย่ เราก็ยิ่งรู้จักฤทธิ์ของมัน และเห็นจุดอ่อนของมัน ทำให้สามารถปราบมันได้ด้วย ถ้าไม่ทำงาน เราก็ไม่รู้จักเสือ ดังนันจึงไม่รู้วิธีปราบและเอาชนะมันได้


เมื่อการทำงานกับการปฏิบัติธรรมเป็นเรื่องเดียวกัน "โลก" กับ "ธรรม" ก็มิได้แยกจากกันอีกต่อไป

ชาวพุทธทั่วไปนั้นมักเห็นว่า "โลก" เป็นเรื่องของคฤหัสถ์ ส่วน "ธรรม"เป็นเรื่องของพระ ใครที่เป็นคฤหัสถ์ ก็หวังความสำเร็จทางโลก ส่วนพระก็ปฏิบัติธรรมเพื่อพ้นทุกข์

แต่ท่านพุทธทาสภิกขุเห็นว่า แม้แต่คฤหัสถ์ ก็ควรให้ความสำคัญกับการปฏิบัติธรรมหรือบำเพ็ญทางจิตด้วย เพราะชีวิตทางโลกนั้นเต็มไปด้วยความเร่าร้อนและวุ่นวาย หากไม่รู้จักฝึกจิตให้สงบเย็น ก็จะเต็มไปด้วยความทุกข์

ด้วยเหตุนี้ในขณะที่ท่านชักชวนพระในสวนโมกข์ให้ออกจากกุฏิมาทำงานแบกหามและก่อสร้างอยู่เนืองๆ นั้น ท่านก็พยายามแนะนำคฤหัสถ์ให้รู้จักทำงานด้วย "จิตว่าง" คือ ว่างจากกิเลสและความยึดมั่นถือมั่นในตัวตน

ดังท่านได้ย้ำว่า "จะนอน จะกิน จะทำงาน จะทำอะไรก็ได้ด้วยจิตที่ไม่ยึดมั่นถือมั่น ด้วย "ตัวกู-ของกู" แล้วก็(จะ)ไม่มีความทุกข์" ในระดับบุคคล ฉันใด ในระดับสังคม ก็ฉันนั้น

จึงไม่แปลกที่ท่านจะเรียกร้องให้ การเมือง เศรษฐกิจ และการพัฒนา มีธรรมะเป็นพื้นฐาน ธรรมะกับการเมือง เป็นงานบรรยายของท่านอีกชิ้นหนึ่งที่ย้ำว่า "โลก" กับ "ธรรม" ต้องเป็นหนึ่งเดียวกัน

.......................................

มองให้ลึกลงไป เมื่อ "โลก" กับ "ธรรม" เป็นหนึ่งเดียวกัน สิ่งที่เรียกว่า "โลกิยธรรม" กับ "โลกุตตรธรรม" ก็ไม่แยกจากกันอีกต่อไป

การมีชีวิตอยู่ในโลก กับการอยู่เหนือโลก สามารถดำเนินควบคู่กันไปได้

คฤหัสถ์สามารถดำเนินชีวิตอย่างคนปกติ แต่ใจนั้นเป็นอิสระจากความทุกข์ ไม่เป็นทาสของโลกธรรม หรือสยบมัวเมาในวัตถุ แม้จะประสบความพลัดพรากสูญเสีย จิตใจก็ไม่หวั่นไหว เพราะรู้เท่าทันในธรรมดาโลก

สภาวะเช่นนั้นคือความสงบเย็นที่เรียกว่านิพพานนั่นเอง ท่านเคยกล่าวว่า

"ฆราวาสธรรม มิใช่สำหรับให้ฆราวาสได้จมอยู่ในโลก หากแต่สำหรับให้ฆราวาสนั้น ได้อาศัยยกตัวเองขึ้นมาเสียจากปลักของฆราวาส พ้นทุกข์ เป็นโลกุตร เป็นนิพพานในที่สุด"


กล่าวอีกนัยหนึ่ง เราทั้งหลายสามารถเข้าถึงนิพพานได้ในชีวิตนี้ มิต้องรอถึงชาติหน้า

เป็นเวลาช้านานที่นิพพานถูกมองว่าเป็นเรื่องไกลโพ้น ส่วนโลกุตตรธรรมเป็นเรื่องของคนที่ต้องสละโลก แต่ท่านพุทธทาสภิกขุได้นำโลกุตตรธรรมและนิพพานกลับคืนสู่โลกนี้และชีวิตนี้

จริงอยู่โลกนี้ชีวิตนี้เต็มไปด้วยความเร่าร้อนและเปลวกิเลส แต่ใช่หรือไม่ว่า "ความดับของไฟ หาพบได้ที่ไฟ ความดับของทุกข์ หาพบได้ที่ความทุกข์ นิพพาน (จึง)หาพบได้ที่วัฏสงสาร"

ท่านพุทธทาสภิกขุได้ทำให้เราตระหนักว่า วัฏสงสารกับนิพพานนั้นหาได้แยกจากกันไม่ เพราะในวัฏสงสารมีนิพพานที่รอการค้นพบจากเรา ไม่ว่า "นิพพานชั่วขณะ" หรือนิพพานที่เป็นความหลุดพ้นสิ้นเชิงก็ตาม

.....................................................

ในโลกที่นิยมแบ่งสิ่งต่างๆ ออกเป็นขั้ว ท่านพุทธทาสภิกขุได้ประสานขั้วเหล่านั้นให้ประสานเป็นหนึ่งเดียวกัน ผลพวงอย่างหนึ่งที่ตามมาก็คือ

การที่ผู้คนจำนวนไม่น้อยได้ค้นพบว่า "พุทธะ" นั้นหาได้อยู่นอกตัวไม่ หากอยู่กลางใจนี้เอง

ถึงที่สุดแล้วท่านได้นำเรากลับมารู้จัก "พุทธะ" ภายใน ซึ่งสามารถทำให้เราทุกคนเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน หรือ "พุทโธ"ได้ สมกับที่พระพุทธองค์ได้ตรัสว่า "อริยโลกุตตรธรรมเป็นทรัพย์ประจำตัวของมนุษย์ทุกคน"

.............................

ท่านพุทธทาสภิกขุเป็นปราชญ์ที่มิเพียงฟื้นฟูพุทธศาสนาไทยให้กลับมามีความรุ่มรวย ลุ่มลึก และมีความหมายกับสังคมร่วมสมัยเท่านั้น หากยังทำให้ความเป็นมนุษย์ของเรากลับฟื้นคืนเต็มขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง

ในโลกที่มองมนุษย์เป็นเพียงสัตว์เศรษฐกิจที่เห็นแก่ตัว หรือเป็นแค่เครื่องจักรมีชีวิตที่กำหนดโดยยีน

การเข้าถึงศักยภาพของตนเองอย่างลึกซึ้งเช่นนี้ เป็นสิ่งสำคัญยิ่งในการกอบกู้ความเป็นมนุษย์ของเราคืนมาจากการปล้นสะดมของโลกวัตถุนิยม

ในวาระ 100 ปีแห่งชาตกาลของท่านพุทธทาสภิกขุ มีหลายสิ่งที่น่าจดจำเกี่ยวกับท่านผู้เป็นปราชญ์ระดับโลก แต่สิ่งหนึ่งที่ลืมไม่ได้ก็คือ คำสอนของท่านที่บอกให้เรารู้ว่า เราคือใคร และมีศักยภาพเพียงใดบ้าง

_________________________________________
มติชน วันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 ปีที่ 29 ฉบับที่ 10298
ขอบคุณลุงริศจาก  http://www.carefor.org/content/view/1423/153/ 


ทำดีแล้วดัง  ดีกว่าถูกชัง  เพราะทำชั่ว

...........................................
"ข้าพเจ้า ขอถึงพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ที่อุบัติขึ้นมาในโลก  ทุกๆพระองค์
พร้อมทั้งพระธรรม และ พระสงฆ์
ว่าเป็น  สรณะ  ที่พึ่งตลอดชีวิต" 
 

ออฟไลน์ แก้วจ๋าหน้าร้อน

  • สิ่งใดคือธรรมะ สิ่งนั้นย่อมดีแล้วสูงสุด
  • ทีมงานกวาดลานดิน
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 6503
  • พลังกัลยาณมิตร 1741
  • ธรรมะอวยพรความดีคุ้มครอง
    • kaewjanaron
    • facehot
    • ดูรายละเอียด
    • ใต้ร่มธรรม
Re: ไร้ทุกข์ได้ด้วยใจไม่ยึดมั่น
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: กรกฎาคม 23, 2010, 11:39:01 pm »
อนุโมทนาครับผม :13:
การโพสภาพโดยใช้เว็บฝากไฟล์ภาพ imageshack.us/ (เว็บกบ)
การปรับแต่งห้องสมาชิกไร้ขีดจำกัด Ultimate Profile + ห้องเพลงส่วนตัว
การตั้งกระทู้และการโพสกระทู้ในเว็บใต้ร่มธรรมครับ
การแก้ไข้ข้อมูล ชื่อ ระหัส ส่วนตัวของสมาชิกใต้ร่มธรรมครับ
การใส่รูปประจำตัวเรา Avatar รวมทั้งลายเซ็นต์ ในกระทู้หรือโพสของเราครับ
เพิ่มไอคอน ทวิสเตอร์ เฟชบุ๊ค ยูทูบ ในโปรโปรไฟล์ของเรา
การสร้างอัลบั้มภาพส่วนตัวในห้องสมาชิก Profile Pictures
การเพิ่มเพื่อน กัลยาณมิตรใต้ร่มธรรม ในห้องสมาชิกส่วนตัว
การดูกระทู้ทั้งหมดที่เรายังไม่ได้อ่านครับ
โค้ดสี bb color code ไว้สำหรับโพสกระทู้ครับ
*วิธีเคลียร์แคชในทุกเว็บเบราว์เซอร์ครับ เมื่อคอมอืด*

ห้องประชุมของทีมงาน
~ธรรมะอวยพรความดีคุ้มครองครับ~

ออฟไลน์ กระตุกหางแมว

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นไม้ใหญ่ยืนหยัดมั่นคงดั่งภูผา
  • *
  • กระทู้: 943
  • พลังกัลยาณมิตร 545
    • ดูรายละเอียด
Re: ไร้ทุกข์ได้ด้วยใจไม่ยึดมั่น
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: สิงหาคม 03, 2010, 02:32:30 am »
แจ่มจ้ะ..ขอบคุณจ้ะ :33:
อัน1เพ ของดี มีตำหนิ แต่พอใจ
-อยากอยู่อย่างเพียงพอ แต่ใจไม่ยอมพอเพียง-