ผู้เขียน หัวข้อ: มธุรัตถวิลาสินี  (อ่าน 19895 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ตถตา

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นไม้เล็กพริ้วไหวดั่งสายลม
  • *
  • กระทู้: 326
  • พลังกัลยาณมิตร 154
    • ดูรายละเอียด
มธุรัตถวิลาสินี
« เมื่อ: ธันวาคม 13, 2010, 06:57:18 pm »
มธุรัตถวิลาสินี

อรรถกถาขุททกนิกาย พุทธวงศ์

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

กถาปรารภคัมภีร์

ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระพุทธเจ้า ผู้มีพระญาณ

อันหาที่สุดมิได้ มีพระกรุณาเป็นที่อาศัย ทรงทำลาย

มลทิน มีพระหฤทัยมั่นคง อำนวยประโยชน์เกื้อกูล.

ขอนอบน้อมพระธรรมอันประเสริฐ เครื่องป้อง

กันภพ.

ขอนอบน้อมพระสงฆ์ ผู้ปราศจากมลทินและ

เป็นบ่อเกิดคุณความดี.

ท่านพระสารีบุตรผู้เป็นธรรมเสนาบดี แม่ทัพ

ธรรม ผู้เป็นเอตทัคคะ เป็นผู้เลิศกว่าเหล่าพุทธสาวก

ทางปัญญา ได้ทูลถามพระศาสดาผู้เป็นพระธรรมราชา

จอมทัพธรรมผู้ทรงถึงฝั่ง ที่หาขอบเขตมิได้ ผู้ไร้มลทิน

ถึงพุทธวงศ์ใด ท่ามกลางหมู่พระประยูรญาติ. พุทธ-

วงศ์ใด อันพระตถาคต วงศ์ผู้ตรัสรู้ดี วงศ์พระผู้บริ-

สุทธิ์ดี ผู้มีสมาธิเป็นธรรมเครื่องอยู่ ผู้เป็นนายกพิเศษ

ทรงเปิดโอกาสประกาศไว้แล้ว ณ ท่ามกลางหมู่พระ

ประยูรญาตินี้.

เหล่าโอรสพระสุคต ไม่ทำลำดับบาลี และอรรถ

แห่งบาลีให้เสื่อมเสีย ช่วยกันรวบรวมตามที่ศึกษาสดับ

ฟังสืบต่อเรื่องกันมา จนตราบเท่าปัจจุบันนี้.

เพราะเหตุที่การพรรณนาพุทธวงศ์นั้นนั่นแล อัน

ไม่ขาดสายแห่งพระสัมพุทธะผู้ประเสริฐ ซึ่งเป็นเรื่อง

ไม่ตาย ฟังกันได้ให้เกิดความเลื่อมใสและปัญญา แก่

ชนทั้งหลายทุกเมื่อ เป็นไปตามลำดับ. ฉะนั้น ข้าพเจ้า

อันท่านพุทธสีหะ ผู้ยินดีในพระสัทธรรมโดยเคารพ

อันคุณมีศีลเป็นต้นบันดาลใจ อ้อนวอนแล้วจึงจักเริ่ม

พรรณนาพุทธวงศ์นั้น เพื่อกำจัดความชั่วร้าย ของชน

ทั้งหลายทุกเมื่อ เพื่อความตั้งมั่น แห่งพระพุทธศาสนา

เพื่อความเกิดและเจริญแห่งบุญ แม้ของข้าพเจ้าเอง

และเพื่อยังมหาชนให้เลื่อมใส.

ก็การพรรณนาพุทธวงศ์โดยสังเขปนี้ อาศัยทาง

บาลีที่มาจากสำนักมหาวิหาร ละโทษคือการปะปนกัน

เสีย จักเป็นสาระ. แต่เพราะเหตุที่ในที่นี้ ไม่มีเรื่องที่

ควรฟัง ที่จะเป็นเครื่องยังผู้ยินดีในพระพุทธคุณให้

เลื่อมใส เป็นเครื่องลอยบาป ซึ่งเป็นมลทินใหญ่ นอก

จากเรื่องพุทธวงศ์ ฉะนั้นแล ขอท่านทั้งหลายจงเป็น

ผู้ประกอบอยู่ในสมาธิโดยเคารพ ละความฟุ้งซ่าน ไม่

มีจิตเป็นอื่น จงตั้งโสตประสาทดังภาชนะทองรองรับ

สดับมธุรสของข้าพเจ้า ผู้กำลังกล่าวพรรณนา.

ก็กถาพรรณนาพุทธวงศ์ ควรที่จะมัจจะคนที่

ต้องตาย เป็นผู้รู้จะต้องละกิจอื่นเสียให้หมดแล้ว ฟัง

ก็ดี กล่าวก็ดี ในที่นี้ได้ตลอดกาลเป็นนิจ โดยเคารพ

ด้วยว่ากถานี้ แต่งได้แสนยากแล.

ควรกำหนดพุทธวงศ์ก่อน เพราะในคาถาปรารภนั้น ข้าพเจ้ากล่าว

ไว้ว่า กถาพรรณนาพุทธวงศ์ จักเป็นสาระดังนี้ ก็การกำหนดในพุทธวงศ์นั้น

มีดังนี้ การกล่าวประเพณีอย่างพิศดาร โดยปริเฉทมีกัปปปริเฉทเป็นต้น อันเกิด

ขึ้น แต่พระพุทธเจ้า ๒๕ พระองค์ ซึ่งเสด็จอุบัติใน ๔ อสงไขยกำไรแสน

กัป นับถอยหลังแต่กัปนี้ไป พึงทราบว่า ชื่อว่า พุทธวงศ์.

พุทธวงศ์กำหนดด้วยปริเฉท

ก็พุทธวงศ์นั้น ท่านกำหนดไว้เป็นปริเฉท ๒๒ ปริเฉท ที่มาตามบาลี

เหล่านี้คือ

๑. กัปปปริเฉท ตอนว่าด้วย กัป

๒. นามปริเฉท ตอนว่าด้วย พระนาม

๓. โคตตปริเฉท ตอนว่าด้วย พระโคตร

๔. ชาติปริเฉท ตอนว่าด้วย พระชาติ

๕. นครปริเฉท ตอนว่าด้วย พระนคร

๖. ปิตุปริเฉท ตอนว่าด้วย พระพุทธบิดา

๗. มาตุปริเฉท ตอนว่าด้วย พระพุทธมารดา

๘. โพธิรุกขปริเฉท ตอนว่าด้วย ต้นไม้เป็นที่ตรัสรู้

๙. ธัมมจักกัปวัตตนปริเฉท ตอนว่าด้วย การประกาศพระธรรมจักร

๑๐. อภิสมยปริเฉท ตอนว่าด้วย การตรัสรู้

๑๑. สาวกสันนิบาตปริเฉท ตอนว่าด้วย การประชุมพระสาวก

๑๒. อัคคสาวกปริเฉท ตอนว่าด้วย พระอัครสาวก

๑๓. อุปัฏฐากปริเฉท ตอนว่าด้วย พุทธอุปัฏฐาก

๑๔. อัครสาวิกาปริเฉท ตอนว่าด้วย พุทธอัครสาวิกา

๑๕. ปริวารภิกขุปริเฉท ตอนว่าด้วย ภิกษุบริวาร

๑๖. รังสิปริเฉท ตอนว่าด้วย พุทธรังสี

๑๗. สรีรปริมาณปริเฉท ตอนว่าด้วย ขนาดพระพุทธสรีระ

๑๘. โพธิสัตตาธิการปริเฉท ตอนว่าด้วย บารมีของพระโพธิสัตว์

๑๙. พยากรณปริเฉท ตอนว่าด้วย การพยากรณ์

๒๐. โพธิสัตตปณิธานปริเฉท ตอนว่าด้วย การตั้งความปรารถนา

ของพระโพธิสัตว์

๒๑. อายุปริเฉท ตอนว่าด้วย พระชนมายุ

๒๒. ปรินิพพานปริเฉท ตอนว่าด้วย การเสด็จปรินิพพาน.

ก็แม้ว่าวาระมากวาระที่ท่านมิได้ยกไว้โดยบาลี ก็พึงนำมาไว้ในกถานี้

ด้วย. วาระนั้น เป็นอันท่านกำหนดไว้เป็นปริเฉท ๑๐ ปริเฉท คือ

๑. อคารวาสปริเฉท ตอนว่าด้วย การอยู่ครองเรือน

๒. ปาสาทัตตยปริเฉท ตอนว่าด้วย ปราสาท ๓ ฤดู

๓. นาฏกิตถีปริเฉท ตอนว่าด้วย สตรีนักฟ้อน

๔. อัคคมเหสีปริเฉท ตอนว่าด้วย พระอัครมเหสี

๕. ปุตตปริเฉท ตอนว่าด้วย พระโอรส

๖. ยานปริเฉท ตอนว่าด้วย พระราชยาน

๗. อภินิกขมนปริเฉท ตอนว่าด้วย อภิเนษกรมณ์

๘. ปธานปริเฉท ตอนว่าด้วย ทรงบำเพ็ญเพียร

๙. อุปัฏฐากปริเฉท ตอนว่าด้วย พุทธอุปัฏฐาก

๑๐. วิหารปริเฉท ตอนว่าด้วย พุทธวิหาร

แต่ครั้นแสดงวาระมากวาระ แม้นั้น ตามฐาน

แล้ว ก็จักกล่าวแต่โดยสังเขปในที่นั้น ๆ.

พุทธวงศ์นั้น ข้าพเจ้ากำหนดไว้ดังนี้ว่า

พุทธวงศ์นี้ใครแสดง แสดงที่ไหน แสดงเพื่อ

ประโยชน์แก่ใคร แสดงเพื่ออะไร แสดงเมื่อไร คำ

ของใคร ใครนำสืบมา.

ครั้นกล่าววิธีนี้โดยสังเขปหมดก่อนแล้วภายหลัง

จึงจักทำการพรรณนาความแห่งพุทธวงศ์.


ออฟไลน์ ตถตา

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นไม้เล็กพริ้วไหวดั่งสายลม
  • *
  • กระทู้: 326
  • พลังกัลยาณมิตร 154
    • ดูรายละเอียด
Re: มธุรัตถวิลาสินี
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: ธันวาคม 13, 2010, 06:58:23 pm »
ในคาถานั้น บทว่า เกนาย เทสิโต ได้แก่

ถามว่า พุทธวงศ์นี้ใครแสดง.

ตอบว่า พระตถาคต ผู้สำรวจด้วยพระญาณ อันไม่ติดขัด ในธรรม

ทั้งปวง ทรงทศพลญาณ ทรงแกล้วกล้าในเวสารัชญาณ ๔ จอมทัพธรรม

เจ้าของแห่งธรรม ผู้เป็นสัพพัญญู สัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว.

ถามว่า ทรงแสดงที่ไหน.

ตอบว่า พระตถาคตเจ้า ซึ่งกำลังเสด็จจงกรม เหนือรัตนจงกรม

อันเป็นจุดที่ชุมนุมดวงตาของเทวดาและมนุษย์ งดงามน่าทอดทัศนายิ่งนัก ทรง

แสดง ณ นิโครธารามมหาวิหาร ใกล้กบิลพัศดุ์มหานคร.

ถามว่า และทรงแสดงเพื่อประโยชน์แก่ใคร.

ตอบว่า ทรงแสดงเพื่อประโยชน์แก่พระประยูรญาติ ๘๒,๐๐๐ และ

แก่เทวดาและมนุษย์หลายโกฏิ.

ถามว่า ทรงแสดงเพื่ออะไร.

ตอบว่า ทรงแสดงเพื่อช่วยสัตว์โลกให้ข้ามโอฆะทั้ง ๔.

ถามว่า ทรงแสดงเมื่อไร.

ตอบว่า ความจริง พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับไม่ประจำอยู่ ๒๐

พรรษา ในปฐมโพธิกาล ที่ใด ๆ เป็นที่ผาสุก ก็เสด็จไปประทับอยู่ ณ ที่นั้น ๆ

นั่นแหละ คือ

๑. พรรษาแรก ทรงประกาศพระธรรมจักร ณ ป่าอิสิปตนะ ให้

เหล่าพรหม ๑๘ โกฏิดื่มน้ำอมฤต ประทับอยู่ ณ ป่าอิสิปตนะ มิคทายวัน กรุง

พาราณสี.

๒. พรรษาที่ ๒ ประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน มหาวิหาร กรุง-

ราชคฤห์.

๓. พรรษาที่ ๓ ที่ ๔ ก็ประทับอยู่ พระเวฬุวันมหาวิหารนั้น

เหมือนกัน.

๔. พรรษาที่ ๕ ประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลาป่ามหาวันกรุงเวสาลี.

๕. พรรษาที่ ๖ ประทับอยู่ ณ มกุลบรรพต.

๖. พรรษาที่ ๗ ประทับอยู่ ณ ดาวดึงส์พิภพ.

๗ พรรษาที่ ๘ ประทับอยู่ ณ เภสกฬาวัน สุงสุมารคิรี แคว้น

ภัคคะ.

๘. พรรษาที่ ๙ ประทับอยู่ ณ กรุงโกสัมพี.

๙. พรรษาที่ ๑๐ ประทับอยู่ ณ ราวป่าปาลิเลยยกะ.

๑๐. พรรษาที่ ๑๑ ประทับอยู่ ณ บ้านพราหมณ์ ชื่อนาฬา.

๑๑. พรรษาที่ ๑๒ ประทับอยู่ ณ เมืองเวรัญชา.

๑๒. พรรษาที่ ๑๓ ประทับอยู่ ณ จาลิยบรรพต.

๑๓. พรรษาที่ ๑๔ ประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร.

๑๔. พรรษาที่ ๑๕ ประทับอยู่ ณ กบิลพัศดุ์มหานคร.

๑๕. พรรษาที่ ๑๖ ทรงทรมาน อาฬวกยักษ์ ให้สัตว์ ๘๔,๐๐๐ ดื่ม

น้ำอมฤต ประทับอยู่ ณ เมืองอาฬวี.

๑๖. พรรษาที่ ๑๗ ประทับอยู่ ณ กรุงราชคฤห์.

๑๗. พรรษาที่ ๑๘ ประทับอยู่ ณ จาลิยบรรพต.

๑๘. พรรษาที่ ๑๙ ก็ประทับอยู่ ณ จาลิยบรรพตเหมือนกัน.

๑๙. พรรษาที่ ๒๐ ประทับอยู่ ณ กรุงราชคฤห์นั่นเอง.

ด้วยเหตุนั้น ข้าพเจ้าจึงกล่าวว่า ความจริง พระผู้มีพระภาคเจ้า

ประทับอยู่ไม่ประจำ ๒๐ พรรษาในปฐมโพธิกาล ที่ใด ๆ เป็นที่ผาสุก ก็เสด็จ

ไปประทับอยู่ ณ ที่นั้น ๆ นั่นแล.

แต่นับตั้งแต่นั้นไป ก็ประทับอยู่เป็นประจำ ณ พระเชตวันมหาวิหาร

และบุพพาราม ใกล้กรุงสาวัตถี.

ก็เมื่อใด พระศาสดาเป็นพระพุทธเจ้า เสด็จจำพรรษาแรก ณ ป่า

อิสิปตนะ มิคทายวัน เขตกรุงพาราณสี ออกพรรษา ปวารณาแล้ว เสด็จ

ไปยังตำบลอุรุเวลา จำพรรษาไตรมาส ณ ที่นั้น ทรงทรมาณชฎิลสามพี่น้อง

ทำภิกษุจำนวนหนึ่งพันรูปเป็นบริวาร แล้วเสด็จไปกรุงราชคฤห์กลางเดือน

ผุสสมาส ประทับอยู่ ณ ที่นั้นสองเดือน เมื่อนั้น เมื่อพระองค์เสด็จออกจาก

กรุงพาราณสี ก็กินเวลาเข้าไปห้าเดือน. ล่วงฤดูหนาวไปสิ้นทั้งฤดู นับแต่วัน

ที่ท่านพระอุทายีเถระมาถึง ก็ล่วงไป ๗-๘ วัน. ก็ท่านพระอุทายีเถระนั้น ใน

ราวกลางเดือนผัคคุน [เดือน ๘] ก็ดำริว่า ฤดูเหมันต์ล่วงไปทั้งฤดู ฤดูวสันต์

ก็มาถึงแล้ว เป็นสมัยควรที่พระตถาคตจะเสด็จไปกรุงกบิลพัศดุ์ได้ ท่านครั้นดำริ

อย่างนี้แล้ว จึงกล่าวพรรณาการเสด็จไปด้วยคาถา ๑๐ คาถา เพื่อประโยชน์

แก่องค์พระศาสดาจะเสด็จไปยังพระนครแห่งสกุล. ครั้งนั้น พระศาสดาทรง

สดับคำของท่าน มีพระพุทธประสงค์จะทรงทำการสงเคราะห์พระประยูรญาติ

จึงแวดล้อมด้วยพระขีณาสพหมดด้วยกันสองหมื่นรูป คือ ที่เป็นกุลบุตรชาว

อังคะและมคธะหมื่นรูป ที่เป็นกุลบุตรชาวกรุงกบิลพัศดุ์หมื่นรูป นับจากกรุง-

ราชคฤห์ ถึงกรุงกบิลพัศดุ์ ระยะทาง ๖๐ โยชน์ สองเดือนจึงถึง ได้ทรงทำ

ยมกปาฏิหาริย์ เพื่อให้พระญาติทั้งหลายถวายบังคม ณ กรุงกบิลพัสดุ์นั้น ครั้ง

นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงพุทธวงศ์นี้.

ถามว่า คำของใคร.

ตอบว่า พระดำรัสของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์เดียว ไม่ทั่วไป

แก่พระสาวกและพระปัจเจกพุทธเจ้า.

ถามว่า ใครนำมาเล่า.

ตอบว่า อาจารย์นำสืบ ๆ กันมา จริงอยู่ พุทธวงศ์นี้อันพระเถระ

ทั้งหลายเป็นต้นอย่างนี้ คือ พระสารีบุตรเถระ พระภัททชิ พระติสสะ พระ

สิคควะ พระโมคคัลลีบุตร พระสุทัตตะ พระธัมมิกะ พระทาสกะ พระ-

โสณกะ พระเรวตะ นำสืบกันมาถึงสังคายนาครั้งที่ ๓ แม้ต่อแต่นั้นไป ศิษยานุ-

ศิษย์ของพระเถระเหล่านั้นนั่นแหละ ก็ช่วยกันนำมา เหตุนั้น จึงควรทราบว่า

อาจารย์นำสืบ ๆ กันมาตราบเท่าปัจจุบันนี้ อย่างนี้ก่อน.

คาถานี้

พุทธวงศ์นี้ใครแสดง แสดงที่ไหน แสดงเพื่อ

ประโยชน์แก่ใคร แสดงเพื่ออะไร แสดงเมื่อไร คำ

ของใคร และใครนำสืบกันมา.

เป็นอันมีความตามที่ข้าพเจ้ากล่าวแล้ว ด้วยกถามีประมาณเท่านี้.


ออฟไลน์ ตถตา

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นไม้เล็กพริ้วไหวดั่งสายลม
  • *
  • กระทู้: 326
  • พลังกัลยาณมิตร 154
    • ดูรายละเอียด
Re: มธุรัตถวิลาสินี
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: ธันวาคม 13, 2010, 06:59:22 pm »
นิทานกถา

พาหิรนิทาน

บัดนี้ จะพรรณาความแห่งพุทธวงศ์นั้น ที่นำกันสืบมาอย่างนี้ ก็

เพราะเหตุที่การพรรณาความนี้ จำต้องแสดงนิทาน ๓ เหล่านี้คือ ทูเรนิทาน

อวิทูเรนิทาน และสันติเกนิทาน แล้วพรรณนา จึงชื่อว่าเป็นอันพรรณนาด้วย

ดี เเละชื่อว่า ผู้ที่ฟังนิทานนั้นรู้เรื่องได้ เพราะรู้มาตั้งแต่ต้นเหตุที่เกิด ฉะนั้น

ข้าพเจ้าจักแสดงนิทานเหล่านั้นแล้ว จึงจักพรรณนา.

ในนิทานนั้น พึงทราบปริเฉทตอนของนิทานเหล่านั้น เริ่มตั้งแต่ต้น

ก่อน การแสดงความโดยสังเขป ในนิทานนั้นดังนี้ ตั้งแต่พระมหาสัตว์

บำเพ็ญบารมี แทบเบื้องบาทของพระทศพลพุทธเจ้าพระนามว่า ทีปังกร จน

จุติจากอัตภาพเป็นพระเวสสันดรแล้ว บังเกิดในภพดุสิต กถาที่เป็นไปเพียง

เท่านั้นชื่อว่า ทูเรนิทาน.

ตั้งแต่จุติจากภพดุสิต จนเกิดพระสัพพัญญุตญาณ ที่โพธิมัณฑสถาน

กถาที่เป็นไปเพียงเท่านั้น ชื่อว่า อวิทูเรนิทาน.

ตั้งแต่ทรงบรรลุพระสัพพัญญุตญาณ ณ มหาโพธิมัณฑสถาน จนถึง

เตียงเป็นที่ปรินิพพาน ในระหว่างนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ที่ใด ๆ ที่

นั้น ๆ เช่นว่า สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับอยู่ ณ พระเชตวันวิหาร

อารามของท่านอนาถปิณฑิกคฤหบดี กรุงสาวัตถี ว่าประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน

กลันทกนิวาปสถาน กรุงราชคฤห์ และว่าประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา ป่า-

มหาวัน กรุงเวสาลีดังนี้ พึงทราบว่า ชื่อว่า สันติเกนิทาน.

การพรรณนาพาหิรนิทาน นิทานนอก ๓ นิทาน คือทูเรนิทาน อวิทู-

เรนิทานและสันติเกนิทาน โดยสังเขปนี่แล เป็นอันจบด้วยนิทานกถาเพียงเท่านี้.

จบพาหิรนิทาน


ออฟไลน์ ตถตา

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นไม้เล็กพริ้วไหวดั่งสายลม
  • *
  • กระทู้: 326
  • พลังกัลยาณมิตร 154
    • ดูรายละเอียด
Re: มธุรัตถวิลาสินี
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: ธันวาคม 13, 2010, 07:00:15 pm »
อัพภันตรนิทาน

พรรณนารัตนจังกมนกัณฑ์

ก็บัดนี้ จะพรรณนาความแห่งอัพภันตรนิทาน ที่เป็นไปโดยนัยเป็น

ต้นว่า

'ท้าวสหัมบดีพรหม เจ้าโลก ประคองอัญชลีทูล

ขอพรอันยอดเยี่ยมว่า สัตว์ทั้งหลายที่มีกิเลสดุจธุลีใน

ดวงตาน้อย มีอยู่ในโลกนี้ ขอพระองค์ทรงเอ็นดูหมู่-

สัตว์นี้แสดงธรรมโปรดเถิด.

ในข้อนี้ ผู้ทักท้วงกล่าวว่า เหตุไรท่านไม่กล่าวนิทานโดยนัยเป็นต้นว่า

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับอยู่ ณ นิโครธาราม กรุงกบิลพัสดุ์ แคว้น

สักกะ. ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรเข้าไปเฝ้าถึงที่ประทับ ครั้นแล้ว ได้ทูลถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าถึงพุทธวงศ์ดังนี้ แต่กล่าวนิทานโดยนัยเป็นต้นว่า ท้าว-

สหัมบดีพรหม เจ้าโลก ประคองอัญชลีทูลขอพรอันยอดเยี่ยม ดังนี้. ขอชี้แจง

ดังนี้ว่า ท่านกล่าวดังนั้น ก็เพื่อชี้ถึงการทูลขอให้ทรงแสดงธรรมของพรหม

อันเป็นเหตุแห่งการแสดงธรรมทั้งปวงของพระผู้มีพระภาคเจ้า ขอชี้แจงปัญหา

นี้ที่ว่า

พระชินพุทธเจ้านี้ถูกพรหมอาราธนา เพื่อทรง

แสดงธรรมเมื่อไร ก็คาถานี้ ใครยกขึ้นกล่าว กล่าว

เมื่อไร และที่ไหน.

เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นพระพุทธเจ้า เข้าสัปดาห์ที่ ๘ พระศาสดา

ก็ถูกพรหมทูลอาราธนาอ้อนวอน เพื่อทรงแสดงธรรม.

ในเรื่องนั้น กล่าวความตามลำดับ ดังนี้.

ได้ยินว่า ในวันเสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์ พระมหาบุรุษทรงเห็น

นางรำ นักสนมนอนผ้าผ่อนเปิดน่าเกลียด ทรงสังเวชพระหฤทัยยิ่งนัก เรียก

นายฉันทะ ผู้ปิดกายด้วยผ้าส่วนหนึ่งตรัสว่า เจ้าจงนำม้าฝีเท้าดี ชื่อ กัณฐกะ

ที่ข่มข้าศึกตัวยงได้ ให้นำม้ากัณฐกะมาแล้ว ทรงมีนายฉันนะเป็นสหาย เสด็จ

ขึ้นทรงม้า เมื่อเทวดาที่สิงสถิตอยู่ ณ ประตูพระนคร เปิดประตูพระนครแล้ว

ก็ออกจากพระนครไป ผ่าน ๓ ราชอาณาจักร โดยส่วนที่เหลือจากสมบัติที่

พระราชาพระองค์นั้นทรงยินดีแล้ว ทรงเป็นสัตว์ที่ไม่ต่ำทราม ประทับยืน

ริมฝั่งแม่น้ำอโนมา ตรัสกะนายฉันนะเท่านั้นว่า ฉันนะ เจ้าจงพาเครื่อง

อาภรณ์ที่ไม่ทั่วไปกับคนอื่น ๆ เหล่านี้ และกัณฐกะม้าฝีเท้าดีของเรากลับไป

กรุงกบิลพัสดุ์นะ ทรงปล่อยนายฉันนะแล้ว ก็ทรงตัดมกุฏผ้าโพกพร้อมกับ

พระเกศา ด้วยดาบคือพระขรรค์อันคมกริบ เสมือนกลีบบัวขาบ แล้วเหวี่ยง

ไปในอากาศ ทรงถือบาตรจีวรที่เทวดาถวาย ทรงผนวชด้วยพระองค์เองเสด็จ

จาริกไปโดยลำดับ ทรงข้ามแม่น้ำคงคา ที่มีคลื่นหักโหมปั่นป่วนเพราะแรงลม

ได้ไม่ติดขัด เสด็จเข้าสู่พระนครชื่อว่าราชคฤห์ ที่มีราชนิเวศน์โชติช่วงด้วย

ข่ายรัศมีแห่งหมู่แก้วมณี ทรงไม่ติดขัดด้วยการเสด็จดำเนิน มีพระอินทรีย์

สงบ มีพระมนัสสงบ ทรงแลดูชั่วแอก ประหนึ่งทรงปลอบชนผู้มัวเมาเพราะ

ความเมาในความเป็นใหญ่ แห่งกรุงราชคฤห์นั้น ประหนึ่งทรงทำให้เกิดความ

ละอาย แก่ชนผู้มีเพศอันฟุ้งเฟ้อแล้ว ประหนึ่งทรงผูกหัวใจของชนชาวกรุงไว้

ในพระองค์ ด้วยความรักในวัย ประหนึ่งทรงแย่งดวงตาของชนทุกคนด้วย

พระสิริรูป ที่ส่องประกายด้วยพระมหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการ ประหนึ่ง

กองบุญ และประหนึ่งบรรพตที่เดินได้ด้วยพระบาทที่มีรูปงาม เสด็จเที่ยว

บิณฑบาตไปยังกรุงราชคฤห์ ทรงรับอาหารเพียงยังอัตภาพให้พอเป็นไปได้

เสด็จออกจากกรุงราชคฤห์ ประทับนั่ง ณ โอกาสสงัดน่ารื่นรมย์อย่างยิ่ง เป็น

ภูมิภาคสะอาด พรั่งพร้อมด้วยร่มเงาและน้ำ ข้างปัณฑวบรรพต เสวยอาหาร

ที่คลุกกัน อันพระเจ้าพิมพิสารมหาราช แห่งอาณาจักรมคธ เสด็จไปหาพระ-

มหาบุรุษ ตรัสถามพระนามและพระโคตรแล้ว มีพระราชหฤทัยบันเทิงกับ

พระองค์ ทรงเชื้อเชิญด้วยราชสมบัติว่า ขอทรงโปรดรับราชสมบัติส่วนหนึ่ง

ของหม่อมฉันเถิด. ด้วยพระสุรเสียงไพเราะดังบัณเฑาะว์ตรัสตอบว่า อย่าเลย

พระมหาราชเจ้า หม่อมฉันไม่ประสงค์ด้วยราชสมบัติดอก หม่อมฉันละราช-

สมบัติมาประกอบความเพียร เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่โลก แล้วจักเป็นพระ-

พุทธเจ้า ผู้มีกิเลสดุจหลังคาอันเปิดแล้วในโลก ดังนี้แล้วเสด็จออกไป อัน

พระเจ้าพิมพิสารพระองค์นั้นตรัสวอนว่า พระองค์ทรงเป็นพระพุทธเจ้าแล้ว

โปรดเสด็จมายังแคว้นของหม่อมฉันก่อนแคว้นอื่นทั้งหมด ทรงถวายปฏิญญา

คำรับรองแด่พระเจ้าพิมพิสารนั้นว่า สาธุ แล้วเสด็จเข้าไปหาอาฬารดาบสและ

อุทกดาบส ไม่ทรงพบสาระแห่งธรรมเทศนาของดาบสทั้งสองท่านนั้น ก็ทรง

หลีกออกจากที่นั้น แม้ทรงทำทุกกรกิริยาถึง ๖ ปี ณ ตำบลอุรุเวลา ก็ไม่อาจ

บรรลุอมตธรรมได้ ทรงทำพระสรีระให้อิ่มหนำสำราญด้วยการเสวยพระกระยา-

หารอย่างหยาบ.

ครั้งนั้น หญิงรุ่นชื่อ สุชาดา ธิดาของกุฎุมพีเสนานิคม ในตำบล

อุรุเวลา เสนานิคม โตเป็นสาวแล้วทำความปรารถนา ณ ต้นไทรต้นหนึ่งว่า

ถ้าดิฉันไปเรือนสกุลที่มีชาติสมกัน [มีสามี] ได้ลูกชายในท้องแรกก็จักทำ

พลีกรรมสังเวย. ความปรารถนาของนางสำเร็จแล้ว ในวันเพ็ญเดือน ๖ นาง

ดำริว่า วันนี้จักทำพลีกรรม พอเช้าตรู่จึงให้จัดข้าวปายาสที่ไม่แข้นแข็ง มี

รสอร่อยอย่างยิ่ง. ในวันนั้นนั่นเอง แม้พระโพธิสัตว์ทรงทำสรีรกิจแล้ว คอย

เวลาภิกษาจาร เช้าตรู่ก็เสด็จไปประทับนั่ง ณ โคนต้นไทรนั้น. ครั้งนั้น ทาสี

ชื่อ ปุณณา แม่นมของนางสุชาดาเดินไปหมายจะทำความสะอาดที่โคนต้นไทร

ก็พบพระโพธิสัตว์ประทับนั่งสำรวจโสกธาตุด้านทิศตะวันออกอยู่ ผู้มีพระสรีระ

งาม เสมือนยอดภูเขาทองซึ่งเรื่องรองด้วยแสงสนธยา ผู้เป็นดวงอาทิตย์แห่ง

มุนี ผู้เข้าไปสู่ต้นไม้อันประเสริฐ เปรียบเหมือนดวงอาทิตย์ผู้ทำการฝังตัวลง

ในกลุ่มมืด [กำจัดมืด] ผู้ทำความแย้มผลิแห่งดงบัว ผู้สอดเข้าสู่หลืบเมฆ.

เพราะเห็นต้นไม้นั้นมีสีเหมือนสีทองหมดทั้งต้น โดยรัศมีที่แล่นออกจากพระ-

สรีระของพระโพธิสัตว์นั้น นางปุณณาทาสีจึงคิดว่า วันนี้เทวดาของเราลงจาก

ต้นไม้ คงอยากจะรับเครื่องพลีกรรมด้วยมือตนเอง จึงมานั่งคอย. นางจึงรีบ

ไปบอกความเรื่องนั้นแก่นางสุชาดา.

จากนั้น นางสุชาดาเกิดศรัทธาขึ้นมาเอง ก็แต่งตัวด้วยเครื่องประดับ

ทุกอย่าง บรรจุถาดทองมีค่านับแสนเต็มด้วยข้าวมธุปายาสมีรสอร่อยอย่างยิ่ง

ปิดด้วยถาดทองอีกถาดหนึ่ง เทินศีรษะ เดินมุ่งหน้าตรงต้นไทร. นางกำลัง

เดินไป เห็นพระโพธิสัตว์นั้นแต่ไกล ประทับนั่งงดงามเหมือนกองบุญ ทำ

ต้นไม้นั้นทั้งต้น มีสีเหมือนสีทองด้วยรัศมีแห่งพระสรีระ ประหนึ่งรุกขเทวดา

ก็เกิดปีติปราโมทย์ เดินน้อมตัวลงตั้งแต่ที่เห็นด้วยเข้าใจว่าเป็นรุกขเทวดา

ปลงถาดทองนั้นลงจากศีรษะ ประคองวางไว้ในพระหัตถ์ของพระมหาสัตว์ แล้ว

ไหว้ด้วยเบญจางคประดิษฐ์กล่าวว่า มโนรถ ความปรารถนาของดิฉันสำเร็จ

แล้ว ฉันใด มโนรถแม้ของพระองค์ก็จงสำเร็จฉันนั้นเถิด แล้วก็กลับไป.

ครั้งนั้น แม้พระโพธิสัตว์ก็ทรงถือถาดทอง เสด็จไปยังริมฝั่งแม่น้ำ

เนรัญชรา ทรงวางถาดทองไว้ที่ริมฝั่งใกล้ท่าน้ำชื่อสุปปติฏฐิตะ สรงสนานแล้ว

เสด็จขึ้น ทรงทำเป็นก้อนได้ ๔๙ ก้อน เสวยข้าวปายาสนั้นแล้วทรงลอยถาด

ทองนั้นลงไป พร้อมทรงอธิษฐานว่า ถ้าวันนี้เราจักเป็นพระพุทธเจ้าไซร้ ขอ

ถาดทองนี้ จงลอยทวนน้ำ ถาดนั้นก็ลอยทวนน้ำ เข้าไปยังภพของพระยานาค

ชื่อว่า กาฬนาคราช ยกถาดของพระพุทธเจ้าสามพระองค์ขึ้นแล้วตั้งอยู่ข้าง

ใต้ถาดเหล่านั้น.

พระมหาสัตว์ประทับพักกลางวัน ณ ราวป่านั้นนั่นแล เวลาเย็น ทรง

รับหญ้า ๘ กำ ที่คนหาบหญ้าชื่อ โสตถิยะ ทราบอาการของพระมหาบุรุษ

ถวายแล้ว เสด็จขึ้นสู่โพธิมัณฑสถาน ประทับยืน ณ ทิศทักษิณ. ประเทศนั้น

ก็ไหวเหมือนหยาดน้ำบนใบบัว. พระมหาบุรุษทรงทราบว่า ประเทศตรงนี้

ไม่อาจทรงคุณของเราได้ ก็เสด็จไปทิศปัศจิม. แม้ประเทศตรงนั้นก็ไหวเหมือน

กัน จึงเสด็จไปทิศอุดรอีก แม้ประเทศตรงนั้นก็ไหวเหมือนกัน จึงเสด็จไป

ทิศบูรพาอีก ในทิศนั้น สถานที่ขนาดบัลลังก์ มิได้ไหวเลย พระมหาบุรุษ

ทรงสันนิษฐานว่า ที่นี้เป็นสถานที่กำจัดกิเลสแน่จึงทรงจับปลายหญ้าเหล่านั้น

สะบัด. หญ้าเหล่านั้น ได้เรียงเรียบเหมือนถูกกำหนดด้วยปลายแปรงทาสี

พระโพธิสัตว์ก็ทรงอธิษฐานความเพียรมีองค์ ๔ ว่า เราไม่บรรลุโพธิญาณแล้ว

จักไม่ทำลายบัลลังก์ แล้วทรงคู้บัลลังก์นั่งขัดสมาธิ ประทับนั่งให้ต้นโพธิ์อยู่

เบื้องพระปฤษฏางค์ หันพระพักตร์ออกสู่ทิศบูรพา.

ทันใดนั้นเอง มารผู้รังควานโลกทั้งปวง ก็เนรมิตแขนพันแขนขึ้น

ขี่พระยาช้าง ผู้กำจัดศัตรูตัวยง ชื่อ คิริเมขละ ขนาด ๑๕๐ โยชน์ เสมือน

ยอดเขาหิมวันตคิรี ถูกห้อมล้อมด้วยพลมารหนาแน่นยิ่งนัก มีพลธนู พลดาบ

พลขวาน พลศร พลหอกเป็นกำลัง ครอบทะมึนโดยรอบดุจภูเขา ยาตร-

เบื้องเข้าหาพระมหาสัตว์ผู้เป็นประดุจศัตรูใหญ่ พระมหาบุรุษ เมื่อดวงอาทิตย์

ตั้งอยู่นั่นแล ก็ทรงกำจัดพลมารจำนวนมากมายได้ ถูกบูชาด้วยอดอ่อนโพธิที่

งดงามน่าดูเสมือนหน่อแก้วประพาฬสีแดง ซึ่งร่วงตกลงบนจีวรที่มีสีเสมือนดอก

ชะบาแย้ม ประหนึ่งแทนปีติทีเดียว ปฐมยาม ก็ทรงได้บุพเพนิวาสานุสสติญาณ

มัชฌิมยาม ก็ทรงชำระทิพยจักษุญาณ ปัจฉิมยาม ก็ทรงหยั่งพระญาณลง

ในปฏิจจสมุปบาท ทรงพิจารณาวัฏฏะและวิวัฏฏะ พออรุณอุทัยก็ทรงเป็นพระ-

พุทธเจ้า ได้ทรงเปล่งอุทานนี้ว่า

เราแสวงหาช่างผู้สร้างเรือนคืออัตภาพ เมื่อไม่

พบ ก็ท่องเที่ยวไปสิ้นสงสารนับด้วยชาติมิใช่น้อย

ความเกิดบ่อย ๆ เป็นทุกข์. ดูก่อนช่างผู้สร้างเรือนคือ

อัตภาพ เราพบท่านแล้ว ท่านจักสร้างเรือนคืออัตภาพ

อีกไม่ได้ โครงเรือนของท่านเราหักเสียหมดแล้ว ยอด

เรือนคืออวิชชา เราก็รื้อเสียแล้ว จิตของเราถึง

พระนิพพานแล้ว เพราะเราได้บรรลุธรรมเป็นที่สิ้น

ตัณหาทั้งหลายแล้ว.

ทรงยับยั้งอยู่ด้วยการเสวยวิมุตติสุข ๗ วัน วันที่ ๘ ทรงออกจากสมา-

บัติ ทรงทราบความสงสัยของเทวดาทั้งหลายทรงเหาะไปในอากาศ เพื่อกำจัด

ความสงสัยของเทวดาเหล่านั้น ครั้นทรงแสดงยมกปาฏิหาริย์กำจัดความสงสัย

ของเทวดาเหล่านั้นแล้ว ประทับยืน ณ เบื้องทิศอุดร เยื้องทิศบูรพาจากบัลลังก์

ไปนิดหน่อย ทรงจ้องดูบัลลังก์และต้นโพธิ สถานที่บรรลุผลแห่งพระบารมี

ทั้งหลายที่ทรงบำเพ็ญมาถึงสี่อสงไขยแสนกัป ด้วยดวงพระเนตรที่ไม่กระพริบว่า

เราแทงตลอดสัพพัญญุตญาณ เหนือบัลลังก์นี้ ทรงยับยั้งอยู่ ๗ วัน สถานที่นั้น

จึงชื่อว่า อนิมิสเจดีย์.

ต่อจากนั้น เสด็จจงกรม ณ รัตนจงกรม ต่อจากทิศบูรพาและทิศปัศจิม

ระหว่างบัลลังก์และสถานที่ประทับยืน ทรงยับยั้งอยู่ ๗ วัน สถานที่นั้นจึงชื่อ

ว่ารัตนจังกมเจดีย์.

เทวดาทั้งหลาย ช่วยกันเนรมิตเรือนแก้วถวายในส่วนทิศปัศจิม ต่อ

จากนั้น ก็ประทับนั่งขัดสมาธิ ณ ที่นั้นทรงพิจารณาเฟ้นพระอภิธรรม โดย

เฉพาะอย่างยิ่งคัมภีร์สมันตปัฏฐาน ที่มีนัยไม่มีที่สุด ณ ที่นั้น ทรงยับยั้งอยู่

๗ วัน สถานที่นั้น จึงชื่อว่า รัตนฆรเจดีย์.

พระพุทธเจ้าทรงยับยั้งอยู่ ใกล้ ๆ ต้นโพธิ ๔ สัปดาห์อย่างนี้แล้ว ใน

สัปดาห์ที่ ๕ จึงออกจากโคนต้นโพธิ์ เสด็จเข้าไปยังต้นอชปาลนิโครธ. แม้ใน

ที้นั้นก็ทรงพิจารณาเฟ้นธรรม และเสวยวิมุตติสุข ทรงยับยั้งอยู่ ณ อชปาล-

นิโครธ ๗ วัน.

ประทับนั่ง ณ มุจลินท์ ต้นจิกด้วยอาการอย่างนี้อีก ๗ วัน พระผู้มี

พระภาคเจ้า พอประทับนั่งในที่นั้นเท่านั้น มหาเมฆซึ่งมิใช่ฤดูกาลก็เกิดขึ้นเต็ม

ทั่วห้องจักรวาล เมื่อมหาเมฆเกิดขึ้นแล้ว พระยานาคชื่อมุจลินท์ก็คิดว่า เมื่อพระ

ศาสดาพอเสด็จเข้าสู่ภพของเรา มหาเมฆนี่ก็เกิดขึ้น ควรได้อาคารที่ประทับอยู่

สำหรับพระศาสดานั้น พระยานาคนั้นแม้จะสามารถเนรมิตวิมานทิพย์ได้เหมือน

วิมานเทพ อันสำเร็จด้วยรัตนะ ๗ ประการ ก็คิดว่า เมื่อเราสร้างวิมานอย่างนี้

จักไม่มีผลมากแก่เรา จำเราจักขวนขวายด้วยกายตนเองเพื่อพระทศพล จึงทำ

อัตภาพให้ใหญ่ยิ่งล้อมพระศาสดาไว้ด้วยขนด ๗ ชั้น แผ่พังพานไว้ข้างบน.

ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ บัลลังก์มีด่ายิ่ง ที่สำเร็จด้วยรัตนะ

๗ ประการ เพดานมีพวงดอกไม้หอมต่างชนิดห้อยอยู่เบื้องบน อบด้วยกลิ่น

หอมต่างชนิด ในโอกาสใหญ่ภายในขนดล้อม เหมือนประทับอยู่ในพระคันธ-

กุฎี. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยับยั้งอยู่ที่ต้นมุจลินท์นั้นตลอด ๗ วันนั้นอย่างนี้

ต่อจากนั้น ก็ประทับนั่ง ณ ราชายตนะต้นเกดอีก ๗ วัน เสวยวิมุตติสุขอยู่

ในที่นั้นนั่นแล ด้วยอาการดังกล่าวมานี้ ก็ครบ ๗ สัปดาห์บริบูรณ์ ในระหว่างนี้

พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงยับยั้งอยู่ด้วยสุขในฌานและสุขในผล.

ครั้นล่วงไป ๗ สัปดาห์ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ก็เกิดจิตคิดจะบ้วน

พระโอษฐ์ ท้าวสักกะจอมทวยเทพก็นำผลสมอที่เป็นยาถวาย ครั้งนั้น ท้าว

สักกะได้ถวายไม้สีฟันชื่อนาคลดา และน้ำบ้วนพระโอษฐ์แด่พระองค์ ต่อแต่นั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเคี้ยวไม้สีฟัน ทรงบ้วนพระโอษฐ์ด้วยน้ำในสระอโนดาต

ประทับนั่ง ณ โคนต้นราชายตนะ สมัยนั้น เมื่อท้าวจตุโลกบาล น้อมบาตร

ศิลามีค่ายิ่งเข้าไปถวาย ทรงรับข้าวสัตตูผงและสัตตูก้อนของพาณิชชื่อตปุสสะ

และ ภัลลิกะ [ด้วยบาตรนั้น] เสวยเสร็จแล้วเสด็จกลับมาประทับนั่ง ณ โคน

ต้นอชปาลนิโครธ. ลำดับนั้น พระองค์พอประทับนั่ง ณ ทีนั้นเท่านั้น ทรง

พิจารณาทบทวนถึงภาวะแห่งธรรมที่พระองค์ทรงบรรลุเป็นธรรมลุ่มลึก ก็ทรง

เกิดปริวิตกที่พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ทรงประพฤติมา ถึงอาการคือความที่มี

พระพุทธประสงค์จะไม่ทรงแสดงธรรมโปรดผู้อื่นว่า ธรรมที่เราบรรลุแล้วนี้

ลึกซึ้ง เห็นยาก รู้ตามได้ยาก สงบ ประณีต ตรึกคาดคิดเอาไม่ได้ ละเอียด

บัณฑิตพึงรู้.

ครั้งนั้น ท้าวสหัมบดีพรหมล่วงรู้ถึงจิตปริวิตกของพระผู้มีพระภาคเจ้า

ด้วยใจตนแล้ว ก็เปล่งวาจาว่า น่าที่โลกจะพินาศละสิหนอ น่าที่โลกจะพินาศ

ละสิหนอ อันหมู่พรหมในหมื่นจักรวาลแวดล้อมแล้ว อันท้าวสักกะ ท้าว

สุยามะ ท้าวสันดุสิต ท้าวนิมมิต ท้าวปรนิมมิตวสวัตดีติดตามเสด็จมา ปรากฏ

อยู่เบื้องพระพักตร์ของพระผู้มีพระภาคเจ้า ท้าวสหัมบดีพรหมนั้น ทรงเนรมิต

ผืนแผ่นดิน เพื่อเป็นที่ประทับยืนของพระองค์เอง จึงทรงคุกชาณุมณฑล [เข่า]

เบื้องขวาลงที่แผ่นดิน ทรงทำอัญชลี ประนมกรที่รุ่งเรืองด้วยทศนขสโมธาน

เสมือนบัวตูมเกิดในน้ำไร้มลทินไม่วิกลขึ้นเหนือเศียร ทูลวอนพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าเพื่อทรงแสดงธรรม ด้วยนัยมิใช่น้อยเป็นต้นอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระองค์

ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงทรงแสดงธรรม ขอพระสุคตเจ้าจงทรงแสดง

ธรรมโปรดเถิด หมู่สัตว์ผู้มีกิเลสดุจธุลีในดวงตาน้อย ยังมีอยู่ เพราะไม่ได้

สดับธรรม ก็ย่อมเสื่อมเสียประโยชน์ไปเปล่า หมู่สัตว์ผู้รู้ทั่วถึงธรรม คงจักมี

แน่แท้ ดังนี้

แต่ก่อนในแคว้นมคธ ปรากฏมีแต่ธรรมที่ไม่

บริสุทธิ์ อันมีผู้มีมลทินคิดแล้ว ประตูแห่งอมตนคร

ก็ยังมิได้เปิด ขอหมู่สัตว์จงสดับธรรมที่พระผู้ไร้มลทิน

ตรัสรู้แล้วเถิด ชนผู้ยืนอยู่เหนือยอดภูผาหิน จะพึง

เห็นหมู่ชนได้โดยรอบแม้ฉันใด ข้าแต่พระผู้มีปัญญา

ดี มีพระสมันตจักษุ พระองค์ปราศจากโศกแล้วจง

เสด็จขึ้นสู่ปราสาท ที่สำเร็จด้วยธรรม โปรดพิจารณาดู

หมู่ชน ผู้ระงมด้วยโศก ถูกชาติชราครอบงำแล้ว ก็

อุปมาฉันนั้น ข้าแต่พระผู้แกล้วกล้า ผู้ชนะสงคราม

แล้ว ผู้ประดุจนายกองเกวียน ไม่เป็นหนี้ โปรดลุก

ขึ้นเสด็จจาริกไปในโลก ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจง

ทรงแสดงธรรมโปรดสัตว์เถิด หมู่สัตว์ที่รู้ทั่วถึงธรรม

คงจักมีเป็นแน่ ดังนี้.

พระองค์ตรัสรู้ธรรมที่ควรตรัสรู้แล้ว ทรงข้ามโอฆะที่พระองค์ควร

ข้ามแล้ว ทรงหลุดพ้นทุกข์ที่พระองค์ควรหลุดพ้นแล้ว มิใช่หรือ ดังนี้.

ทรงทำความปรารถนาไว้ว่า

ประโยชน์อะไรของเรา ด้วยเพศที่ไม่มีใครรู้จัก

ด้วยการทำให้แจ้งธรรม ในโลกนี้ เราบรรลุสัพพัญพุต-

ญาณแล้ว จักยังโลกนี้กับทั้งเทวโลกให้ข้ามโอฆสงสาร

ดังนี้.

ทรงบำเพ็ญบารมีทั้งหลายแล้วทรงบรรลุพระสัพพัญญุตญาณแล้ว.

และว่า เมื่อพระองค์ไม่ทรงแสดงธรรม คนอื่นใครเล่า จักแสดงธรรม,

สิ่งอื่นอะไรเล่า จะเป็นสรณะของโลก จะเป็นเครื่องช่วย เครื่องเร้น

เครื่องนำไปเบื้องหน้า. ด้วยเหตุนั้น ข้าพเจ้าจึงกล่าวว่า เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า

เป็นพระพุทธเจ้าเข้าสัปดาห์ที่ ๘ พระศาสดาก็ถูกพรหมทูลอ้อนวอน เพื่อทรง

แสดงธรรม.


ออฟไลน์ ตถตา

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นไม้เล็กพริ้วไหวดั่งสายลม
  • *
  • กระทู้: 326
  • พลังกัลยาณมิตร 154
    • ดูรายละเอียด
Re: มธุรัตถวิลาสินี
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: ธันวาคม 13, 2010, 07:02:31 pm »
พรรณนารัตนจังกมนกัณฑ์ที่ ๒


บัดนี้ ถึงโอกาสตอบปัญหาเหล่านี้ที่ว่า คาถานี้ใครยกขึ้นกล่าวเมื่อไร
และที่ไหน ในปัญหานั้นถามว่า คาถานี้ท่านกล่าวเมื่อไร ตอบว่า กล่าวครั้ง

ทำสังคายนาใหญ่ครั้งแรก การสังคายนาใหญ่ครั้งแรกนี้ พึงทราบตามนัยที่

กล่าวไว้แล้วในสังคีติขันธกะ. ถามว่า ใครกล่าวที่ไหน. ตอบว่า ได้ยินว่า เมื่อ

พระผู้มีพระภาคเจ้าปรินิพพานแล้ว คาถานี้ว่า พฺรหฺมา จ โลกาธิปติ เป็นต้น

พึงทราบว่า ท่านพระอานนท์เถระ ผู้นั่งอยู่ ณ ธรรมาสน์ในมณฑปสารมัณฑะ

สถานที่ควรเห็นคล้ายดวงจันทร์เต็มดวง ซึ่งพระเจ้าอชาตศัตรู ผู้ชนะ

ศัตรูทุกคน มหาราชแห่งแคว้นมคธ ทรงให้สร้างไว้ใกล้ประตูสัตตบรรณคูหา

ข้างภูเขาเวภาระ พระนครราชคฤห์ เพื่อสังคายนาธรรม กล่าวไว้แล้ว ความ

สัมพันธ์แห่งคาถา ในเรื่องนี้ มีดังนี้

แม้คาถานี้ว่า
พระชินพุทธเจ้านี้ อันพรหมอาราธนาเพื่อทรง
แสดงธรรมเมื่อไร ก็คาถานี้ใครยกขึ้นกล่าว กล่าวเมื่อ
ไร กล่าวที่ไหน
มีเนื้อความที่กล่าวไว้แล้ว แต่ข้าพเจ้าจักทำการพรรณนาบทที่ยาก
แห่งคาถานี้ที่กล่าวแล้ว โดยความสัมพันธ์นี้ ดังต่อไปนี้

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า พฺรหฺมา ความว่า ชื่อว่าพรหม เพราะ
เป็นผู้เจริญแล้วด้วยคุณวิเศษนั้น ๆ ก็พรหมศัพท์นี้ ปรากฏอยู่ในอรรถทั้งหลาย

มีมหาพรหม พราหมณ์ พระตถาคต มารดาบิดา และผู้ประเสริฐสุดเป็นต้น.

จริงอย่างนั้น พรหมศัพท์ ท่านหมายว่ามหาพรหม ในประโยคเป็นต้นว่า

ทฺวิสหสฺโส พฺรหฺมา มหาพรหมสองพัน. ท่านหมายว่าพราหมณ์ในคาถานี้ว่า

ตโมนุโท พุทฺโธ สมนฺตจกฺขุ
โลกนฺตคู สพฺพภวาติวตฺโต
อนาสโว สพฺพทุกฺขปฺปหีโน
สจฺจวฺหโย พฺรหฺเม อุปาสิโต เม.
ดูก่อนพราหมณ์ พระพุทธเจ้า ผู้บรรเทาความ
มืด ผู้มีพระจักษุโดยรอบ ทรงถึงที่สุดโลก ทรงล่วง
ภพทั้งปวง ไม่มีอาสวะ ทรงละทุกข์ได้หมด เรียก
กันว่า พระสัจจะ เราก็เข้าเฝ้าใกล้ชิด.
ท่านหมายว่า พระตถาคต ในบาลีนี้ว่า พฺรหฺมาติ โข ภิกฺขเว
ตถาคตสฺเสตํ อธิวจนํ ดูก่อนภิกษุทั้งหลายว่า พรหม นี้แลเป็นชื่อของ

ตถาคต.

ท่านหมายว่า มารดาบิดา ในบาลีนี้ว่า
พฺรหฺมาติ มาตาปิตโร ปุพฺพาจริยาติ วุจฺจเร มารดาบิดาเรา
เราเรียกว่าพรหม เรียกว่าบุรพาจารย์.

ท่านหมายว่าประเสริฐสุด ในบาลีนี้ว่า พฺรหฺมจกฺกํ ปวตฺเตติ ทรง
ยังจักรอันประเสริฐสุดให้เป็นไป.

ส่วนในที่นี้ ท่านผู้เจริญปฐมฌานอันประณีตแล้วบังเกิดในภูมิแห่ง
ปฐมฌาน ท่านหมายว่ามหาพรหมมีอายุกัปหนึ่ง. จศัพท์ มีอรรถว่ารวมความ

อธิบายว่า พรหมและพรหมเหล่าอื่นในหมื่นจักรวาล. หรือว่า จ ศัพท์เป็นเพียง

ทำบทให้เต็ม. โลก ๓ คือสังขารโลก สัตวโลก โอกาสโลก ชื่อว่าโลกในคำว่า

โลกาธิปตินี้. ในโลกทั้ง ๓ นั้น ในที่นี้ท่านประสงค์เอาสัตวโลก. ชื่อว่าโลกา-

ธิปติ เพราะเป็นใหญ่เป็นเจ้าแห่งสัตวโลกนั้น ผู้เป็นเจ้าส่วนหนึ่งแห่งโลก

ท่านก็เรียกว่า โลกาธิบดี เหมือนเทวาธิบดี นราธิบดี.

บทว่า สหมฺปติ ความว่า เล่ากันมาว่า พรหมองค์นั้น เป็น
พระเถระ ชื่อว่า สหกะ ในศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่ากัสสปะ

ทำปฐมฌานให้เกิดแล้ว ฌานไม่เสื่อม จบชีวิต ก็บังเกิดเป็นมหาพรหมมีอายุ

หนึ่งกัป ในปฐมฌานภูมิ. แต่ในสมัยนั้น เขาก็จำพรหมองค์นั้นกันได้ว่า

ท้าวสหัมบดีพรหม ท่านกล่าวหมายถึงพรหมพระองค์นั้น คนทั้งหลาย

เมื่อควรจะกล่าวว่าสหกปติ แต่ก็กล่าวเสียว่า สหมฺปติ โดยลงนิคคหิตอาคม

ขยายคำออกไป. บทว่า กตญฺชลี แปลว่า มีอัญชลีอันทำแล้ว อธิบายว่า ทำ

กระพุ่มอัญชลีไว้เหนือเศียร. บทว่าอนธิวรํ ความว่า พรที่ล่วงส่วน พรที่ยิ่ง

ไม่มีแก่พรนั้น เหตุนั้น พรนั้น ชื่อว่าไม่มีพรที่ยิ่ง หรือว่าชื่อว่าอนธิวรํ เพราะ

ไม่มีพรที่ยิ่งไปกว่านั้น อธิบายว่ายอดเยี่ยม พรอันยอดเยี่ยมนั้น. บทว่า อยาจถ

ได้แก่ ได้วอนขอ ได้เชื้อเชิญ.

บัดนี้ ท้าวสหัมบดีพรหมนั้น ทูลอ้อนวอนพระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อประ
โยชน์ใด เพื่อแสดงประโยชน์นั้นจึงกล่าวคำเป็นต้นว่า สนฺตีธ สตฺตา ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สนฺติ แปลว่า มีอยู่ อันเขาได้อยู่ อธิบายว่าสัตว์

ทั้งหลายที่มาสู่คลองพุทธจักษุ [ปรากฏ] มีอยู่. ศัพท์ว่า อิธ นี่เป็นนิบาต ใช้

ในการอ้างถึงถิ่นที่ ศัพท์ว่า อิธนี้นั้น บางแห่งท่านกล่าวหมายถึงศาสนา เหมือน

อย่างที่ตรัสว่า อิเธว ภิกขเว สมโณ อิธ ทุติโย สมโณ อิธ ตติโย สมโณ

อิธ จตุตฺโถ สมโณ สุญฺญา ปรปฺปวาทา สมเณกิ อญฺเญหิ ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย สมณะที่ ๑ สมณะที่ ๒ สมณะที่ ๓ สมณะที่ ๔ มีอยู่ในศาสนา

นี้เท่านั้น ลัทธิอื่นว่างเปล่าจากสมณะผู้รู้.

บางแห่งหมายถึง โอกาส เหมือนอย่างที่ท้าวสักกเทวราชตรัสว่า
อิเธว ติฏฺฐมานสฺส เทวภูตสฺส เม สิโต
ปุนรายุ จ เม ลทฺโธ เอวํ ชานาหิ มาริส.
เมื่อเราเป็นเทพตั้งอยู่ในโอกาสนี้นี่แล เราก็ได้
อายุต่อไปอีก โปรดทราบอย่างนี้เถิด ท่านผู้นิรทุกข์.
บางแห่ง ก็เป็นเพียงปทปูรณะ ทำบทให้เต็มเท่านั้น เหมือนอย่างที่ตรัส

ไว้ว่า อิธาหํ ภิกฺขเว ภุตฺตาวี อสฺสํ ปวาริโต ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

เราแลบริโภคอาหารเสร็จแล้ว ก็พึงห้าม ไม่ให้เขาถวายอีก [โดยชัก

พระหัตถ์ออกจากบาตร] บางแห่งหมายถึงโลก เหมือนอย่างที่ตรัสว่า อิธ

ตถาคโต โลเก อุปฺปชฺชติ พหุชนหิตาย พหุชนสุขาย ตถาคตอุบัติ

ในโลกนี้ ก็เพื่อประโยชน์สุขแก่ชนเป็นอันมาก แม้ในที่นี้ อิธ ศัพท์ ก็พึงทราบ

ว่า ท่านกล่าวหมายถึงโลกเท่านั้น เพราะฉะนั้น จึงมีความว่าในสัตว์โลกนี้. บทว่า

สตฺตา ความว่า ชนทั้งหลาย ติด ขัด ข้อง คล้อง เกี่ยว อยู่ในขันธ์ทั้งหลาย

มีรูปขันธ์เป็นต้น ด้วยฉันทราคะ เหตุนั้นจึงชื่อว่าสัตตะ สัตว์มีชีวิตทั้งหลาย

ท่านเรียกว่าสัตตะ แต่เพราะศัพท์ขยายความ โวหารนี้ จึงใช้แม้ในท่านผู้

ปราศจากราคะแล้วเท่านั้น.

บทว่า อปฺปรชกฺขชาติกา ความว่า กิเลสดุจธุลีคือราคะ โทสะ และ
โมหะ ในดวงตาที่สำเร็จด้วยปัญญาของสัตว์เหล่านั้น มีเล็กน้อย และสัตว์

เหล่านั้น ก็มีสภาพอย่างนั้น เหตุนั้น สัตว์เหล่านั้น ชื่อว่ามีกิเลสดุจธุลีใน

ดวงตาน้อย หรือว่า กิเลสดุจธุลีมีราคะเป็นต้นของสัตว์เหล่าใดน้อย สัตว์

เหล่านั้น ชื่อว่ามีกิเลสดุจธุลีน้อย. พึงเห็นความในข้อนี้อย่างนี้ว่า สัตว์เหล่านั้น

ชื่อว่า อปฺปรชกฺขชาติกา เพราะมีกิเลสดุจธุลีในดวงตาน้อยเป็นสภาพ แก่

สัตว์ผู้มีกิเลสดุจธุลีในดวงตาน้อยเป็นสภาพเหล่านั้น พึงทำการเปลี่ยนวิภัตติว่า

สตฺตานํ แล้วทำการเชื่อมกับคำนี้ว่า เทเสหิ ธมฺมํ ก็เห็นความได้. คำว่า เทเสหิ

นี้เป็นคำวอนขอ. อธิบายว่าโปรดแสดง กล่าว สอน. ในคำว่า ธมฺมํ นี้ ธัมม-

ศัพท์นี้ ใช้กันในอรรถทั้งหลายมีปริยัตติ สมาธิ ปัญญา ปกติ สภาวะ

สุญญตา บุญ อาบัติ เญยยะ และจตุสัจธรรมเป็นต้น. จริงอย่างนั้น ธัมมศัพท์

ใช้ในอรรถว่า ปริยัตติ ได้ในบาลีเป็นต้นว่า อิธ ภิกฺขุ ธมฺมํ ปริยาปุณาติ

สุตฺตํ เคยฺยํ เวยฺยากรณํ ฯ เป ฯ เวทลฺลํ ภิกษุในพระศาสนานี้ย่อมเรียน

ธรรมคือสุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ ฯลฯ เวทัลละ ดังนี้.

ใช้ในอรรถว่า ปัญญา ได้ในบาลีเป็นต้นว่า
ยสฺเสเต จตุโร ธมฺมา วานรินฺท ยถา ตว
สจฺจํ ธมฺโม ธิติ จาโค ทิฏฺฐํ โส อติวตฺตติ.
ท่านพระยาวานร ผู้ใดมีธรรม ๔ ประการคือ
สัจจะ ธรรมะ [ปัญญา] ธิติ จาคะ เหมือนอย่างท่าน
ผู้นั้น ย่อมล่วงศัตรูเสียได้.
ใช้ในอรรถว่า ปกติ ได้ในบาลีเป็นต้นว่า ชาติธมฺมา ชราธมฺมา
อโถ มรณธมฺมิโน สัตว์ทั้งหลาย มีชาติเป็นปกติ มีชราเป็นปกติและ

มีมรณะเป็นปกติ.

ใช้ในอรรถว่า สภาวะ ได้ในบาลีเป็นต้นว่า กุสลา ธมฺมา อกุสลา
ธมฺมา อพฺยากตา ธมฺมา สภาวธรรมฝ่ายกุศล สภาวธรรมฝ่าย

อกุศล สภาวธรรมฝ่ายอัพยากฤต.

ใช้ในอรรถว่า สุญญตา ได้ในบาลีเป็นต้นว่า ตสฺมึ โข ปน สมเย
ธมฺมา โหนฺติ ขนฺธา โหนฺติ สมัยนั้นก็มีแต่ความว่างเปล่า มีแต่

ขันธ์.

ใช้ในอรรถว่า บุญ ได้ในบาลีเป็นต้นว่า ธมฺโม สุจิณฺโณ สุขมา-
วหาติ บุญอันบุคคลสั่งสมไว้ ย่อมนำมาซึ่งความสุข.

ใช้ในอรรถว่า อาบัติ ได้ในบาลีเป็นต้นว่า เทฺว อนิยตา ธมฺมา
อาบัติอนิยต มี ๒ สิกขาบท.

ใช้ในอรรถว่า เญยยะ ได้ในบาลีเป็นต้นว่า สพฺเพ ธมฺมา สพฺพา-
กาเรน พุทฺธสฺส ภควโต ญาณมุเข อาปาถํ อาคจฺฉนฺติ เญยยธรรม

ทั้งหมด มาปรากฏในมุขคือพระญาณของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า โดยอาการ

ทั้งปวง.

ใช้ในอรรถว่า จตุสัจธรรม ได้ในบาลีว่า ทิฏฺฐธมฺโม ปตฺตธมฺโม
วิทิตธมฺโม ผู้มีสัจธรรม ๔ อันเห็นแล้ว ผู้มีสัจธรรม ๔ อันบรรลุแล้ว ผู้มี

สัจธรรม ๘ อันรู้แล้ว แม้ในที่นี้ ธัมมศัพท์ ก็พึงเห็นว่า ใช้ในอรรถว่า

จตุสัจธรรม. บทว่า อนุกมฺป ได้แก่ โปรดทรงทำความกรุณาเอ็นดู ท่านกล่าว

ชี้หมู่สัตว์ด้วยบทว่า อิมํ. บทว่า ปชํ ความว่า ชื่อว่า ปชา เพราะเป็นสัตว์

เกิดแล้ว ซึ่งหมู่สัตว์นั้น. อธิบายว่า ขอจงโปรดปลดปล่อยหมู่สัตว์จากสังสาร-

ทุกข์ด้วยเถิด. ส่วนอาจารย์บางพวกกล่าวว่า

พระผู้เป็นใหญ่ในโลกคือพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้
สูงสุดในนรชน อันหมู่พรหมทำอัญชลีทูลวอนขอแล้ว.
คาถานี้ มีความที่กล่าวมาโดยประการทั้งปวง ด้วยกถาเพียงเท่านี้.
ครั้งนั้น พระมหากรุณาเกิดขึ้นโดยเพียงทำโอกาสในสัตว์ทั้งปวง แด่
พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้มีกำลังแห่งพระกรุณาผุดขึ้นในสมัยที่กำหนดไม่ได้ เพราะ

ทรงสดับคำวอนขอของท้าวสหัมบดีพรหมนั้น ทรงมีพระกำลังสิบ ทรงสำรวจ

ด้วยพระมติอันละเอียดในการทรงทำประโยชน์เกื้อกูลแก่ผู้อื่น. แต่ครั้งทำ

สังคายนา ท่านพระสังคีติกาจารย์ทั้งหลาย เมื่อแสดงความเกิดพระกรุณาของ

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น จึงตั้งคาถานี้ว่า

ความมีพระกรุณาในสรรพสัตว์ เกิดขึ้นแด่พระ
ตถาคต ผู้มีวิชชาและจรณะพรักพร้อมแล้ว ผู้คงที่
ผู้ทรงความรุ่งโรจน์ ทรงพระกายครั้งสุดท้าย ไม่มี
บุคคลจะเปรียบปานได้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สมฺปนฺนวิชฺชาจรณสฺส ความว่า ชื่อว่า
สัมปันนะ มี ๓ คือ ปริปุณณสัมปันนะ สมังคิสัมปันนะ และ มธุรสัม-

ปันนะ ในสัมปันนะนั้น สัมปันนะ นี้ว่า

สมฺปนฺนํ สาลิเกทารํ สุวา ภุญฺชนฺติ โกสิย
ปฏิเวเทมิ เต พฺรหฺเม น นํ วาเรตุมุสฺสเห.
ดูก่อนโกสิยพราหมณ์ นกแขกเต้าทั้งหลายกิน
ข้าวสาลีในนาที่บริบูรณ์ ดูก่อนพราหมณ์ เราขอแจ้งให้
ท่านทราบ ท่านจะไม่อุตสาหะป้องกันข้าวสาลีในนา
นั้นหรือ.
ชื่อว่า ปริปุณณสัมปันนะ.

สัมปันนะ นี้ว่า อิมินา ปาติโมกฺขสํวเรน อุเปโต โหติ สมุเปโต
อุปคโต มุปคโต สมฺปนฺโน สมนฺนาคโต ภิกษุ ย่อมเป็นผู้เข้าถึงแล้ว

เข้าถึงพร้อมแล้ว เข้าไปแล้ว เข้าไปพร้อมแล้ว พรั่งพร้อมแล้ว ประกอบ

ด้วยปาติโมกขสังวรนี้. ชื่อว่า สมังคิสัมปันนะ.

สัมปันนะ นี้ว่า อิมิสฺสา ภนฺเต มหาปฐวิยา เหฏฺฐิมตลํ สมฺปนฺนํ
เสยฺยถาปิ ขุทฺทมธุํ อนีลกํ เอวมสฺสาทํ ข้าแต่ท่านผู้เจริญ พื้นเบื้อง

ล่างของมหาปฐพีนี้ ถึงพร้อมแล้ว มีง้วนดินอร่อย เปรียบเหมือนผึ้งเล็ก [มิ้ม]

ที่ไม่มีตัวอ่อนฉะนั้น. ในที่นี้ ทั้งปริปุณณสัมปันนะ ทั้งสมังคิสัมปันนะ ย่อม

ถูก.

บทว่า วิชฺชา ความว่า ชื่อว่าวิชชา เพราะอรรถว่าเจาะแทงธรรมที่
เป็นข้าศึก เพราะอรรถว่า ทำให้รู้ และเพราะอรรถว่า ควรได้ ก็วิชชาเหล่านั้น

วิชชา ๓ ก็มี วิชชา ๘ ก็มี. วิชชา ๓ พึงทราบตามนัยที่มาในภยเภรวสูตรนั่นแล

วิชชา ๘ พึงทราบตามนัยที่มาในอัมพัฏฐสูตร. ความจริงในอัมพัฏฐสูตรนั้น

ท่านกำหนดอภิญญา ๖ กับวิปัสสนาญาณและมโนมยิทธิ เรียกว่าวิชชา ๘.

บทว่า จรณํ ความว่าพึงทราบ ธรรม ๑๕ เหล่านี้คือ ศีลสังวร, ความคุ้มครอง

ทวารในอินทรีย์, ความรู้จักประมาณในโภชนะ , ชาคริยานุโยค, ศรัทธา, หิริ,

โอตตัปปะ, พาหุสัจจะ, ความเป็นผู้ปรารภความเพียร. ความเป็นผู้มีสติตั้งมั่น,

ความเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญา รูปาวจรฌาน ๔, จริงอยู่ ธรรม ๑๕ เหล่านี้

นี้แหละ เพราะเหตุที่พระอริยสาวก ย่อมประพฤติ ย่อมไปสู่ทิศอมตะได้ด้วย

ธรรมเหล่านี้ ฉะนั้น ท่านจึงเรียกว่า จรณะ เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ว่า ดูก่อน

มหานาม อริยสาวกในพระศาสนานี้เป็นผู้มีศีล. จรณะทั้งหมดพึงทราบตามนัย

ที่ท่านกล่าวไว้ในมัชฌิมปัณณาสก์. วิชชาด้วย จรณะด้วย ชื่อว่า วิชชาและ

จรณะ. วิชชาและจรณะของผู้ใดถึงพร้อมแล้ว บริบูรณ์แล้ว ผู้นี้นั้น ชื่อว่า

ผู้มีวิชชาและจรณะถึงพร้อมแล้ว ผู้ถึงพร้อมแล้ว ผู้พรั่งพร้อมแล้ว หรือผู้

ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยวิชชาและจรณะทั้งหลาย ชื่อว่าผู้มีวิชชาและจรณะ

อันถึงพร้อมแล้ว . ความก็ถูกแม้ทั้งสองนัย. แด่พระตถาคตพระองค์นั้น ผู้มี

วิชชาและจรณะถึงพร้อมแล้ว.

บทว่า ตาทิโน ความว่า ผู้คงที่ ตามลักษณะของผู้คงที่มาในมหานิเทศ
โดยนัยว่าเป็นผู้คงที่ทั้งในอิฏฐารมณ์ คงที่ทั้งในอนิฏฐารมณ์ ดังนี้เป็นต้น อธิบาย

ว่า ผู้มีอาการไม่ผิดปกติในอิฏฐารมณ์และอนิฏฐารมณ์ ชื่อว่าผู้คงที่. บทว่า

ชุตินฺธรสฺส ได้แก่ ผู้รุ่งโรจน์. อธิบายว่าผู้ทรงไว้ซึ่งความแล่นซ่านออกแห่ง

รัศมีของพระสรีระอันมีสิริเกินกว่าดวงอาทิตย์ในฤดูสารท เหนือขุนเขายุคนธร

หรือจะกล่าวว่าผู้ทรงความรุ่งโรจน์ด้วยปัญญา ดังนี้ก็ควร. สมจริง ดังที่ท่าน

กล่าวไว้ว่า

จตฺตาโร โลเก ปชฺโชตา ปญฺจเมตฺถ น วิชฺชติ
ทิวา ตปติ อาทิจฺโจ รตฺติมาภาติ จนฺทิมา
อถ อคฺคิ ทิวารตฺตึ ตตฺถ ตตฺถ ปภาสติ
สมฺพุทฺโธ ตปตํ เสฏฺโฐ เอสา อาภา อนุตตรา.
แสงสว่างในโลกมี ๔ ไม่มีข้อที่ ๕ คือดวงอาทิตย์
ส่องสว่างกลางวัน ดวงจันทร์ส่องสว่างกลางคืน ส่วน
ไฟส่องสว่างในที่นั้น ๆ ทั้งกลางวันกลางคืน พระ-
สัมพุทธเจ้าทรงประเสริฐสุดแห่งแสงสว่าง แสงสว่าง
นี้ยอดเยี่ยม.
เพราะฉะนั้น จึงอธิบายว่า ผู้ทรงไว้ซึ่งความแล่นซ่านแห่งพระรัศมี
ทางพระสรีระและทางพระปัญญาแม้ทั้งสองประการ. บทว่า อนฺติมเทหธาริโน

ได้แก่ ผู้ทรงพระสรีระสุดท้ายที่สุด. อธิบายว่าไม่เกิดอีก.


ออฟไลน์ ตถตา

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นไม้เล็กพริ้วไหวดั่งสายลม
  • *
  • กระทู้: 326
  • พลังกัลยาณมิตร 154
    • ดูรายละเอียด
Re: มธุรัตถวิลาสินี
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: ธันวาคม 13, 2010, 07:03:56 pm »
พรรณนารัตนจังกมนกัณฑ์ที่ ๓


จะวินิจฉัยในบทว่า ตถาคตสฺส นี้ ดังนี้ :-
พระผู้มีพระภาคเจ้า ท่านเรียกว่า ตถาคต ด้วยเหตุ ๘ ประการ อะไร
บ้าง คือ

๑. ชื่อว่า ตถาคต เพราะเสด็จมาแล้วอย่างนั้น
๒. ชื่อว่า ตถาคต เพราะเสด็จไปแล้วอย่างนั้น
๓. ชื่อว่า ตถาคต เพราะทรงถึงลักษณะที่แท้
๔. ชื่อว่า ตถาคต เพราะตรัสรู้ธรรมที่แท้ตามเป็นจริง
๕. ชื่อว่า ตถาคต เพราะทรงเห็นแต่ความจริง
๖. ชื่อว่า ตถาคต เพราะตรัสแต่คำจริง
๗. ชื่อว่า ตถาคต เพราะทรงทำจริง
๘. ชื่อว่า ตถาคต เพราะอรรถว่า ทรงครอบงำ.
ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อว่าตถาคต เพราะเสด็จมาแล้วอย่างนั้น
เป็นอย่างไร.

ตอบว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย มีพระวิปัสสีสัมมาสัมพุทธ-
เจ้าเป็นต้น ทรงบำเพ็ญทานบารมี ทรงบำเพ็ญศีลบารมี เนกขัมมบารมี ปัญญา

บารมี วิริยบารมี ขันติบารมี สัจจบารมี อธิษฐานบารมี เมตตาบารมีและอุเบก-

ขาบารมี ทรงบำเพ็ญบารมี ๓๐ ทัศ คือบารมี ๑๐ เหล่านี้ อุปบารมี ๑๐ ปรมัตถ-

บารมี ๑๐ ทรงสละมหาบริจาค ๕ เหล่านี้ คือบริจาคอวัยวะ บริจาคชีวิต

บริจาคทรัพย์ บริจาคราชสมบัติ บริจาคบุตรภรรยา เสด็จมาแล้วด้วยอภินิหาร

ใดอย่างใด พระผู้มีพระภาคเจ้าแม้ของเราทั้งหลายก็เสด็จมาแล้ว ด้วยอภินิหาร

นั้น อย่างนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าตถาคต เหมือนอย่างที่ท่านกล่าวไว้ว่า

ยเถว โลกมฺหิ วิปสฺสิอาทโย
สพฺพญฺญภาวํ มุนโย อิธาคตา
ตถา อยํ สกฺยมุนีปิ อาคโต
ตถาคโต วุจฺจติ เตน จกฺขุมา.
พระมุนีทั้งหลาย มีพระวิปัสสีพุทธเจ้าเป็นต้น
เสด็จมาสู่พระสัพพัญญุตญาณในโลกนี้ อย่างใด แม้
พระสักยมุนีพระองค์นี้ก็เสด็จมาอย่างนั้น ด้วยเหตุนั้น
พระผู้มีพระจักษุ ท่านจึงเรียกว่าตถาคต.
ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อว่าตถาคต เพราะเสด็จไปแล้วอย่าง
นั้นเป็นอย่างไร.

ตอบว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลายมีพระวิปัสสีพุทธเจ้าเป็นต้น ประสูติ
ได้ชั่วเดี๋ยวเดียว ก็ประทับยืนที่แผ่นดิน ด้วยพระบาทอันเสมอกัน บ่ายพระ-

พักตร์ทางทิศอุดร เสด็จไปด้วยย่างพระบาท ๗ ย่างก้าว อย่างใด พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าแม้ของเราทั้งหลาย ก็เสด็จไปอย่างนั้น เหตุนั้นจึงชื่อว่าตถาคต เหมือน

อย่างที่ท่านกล่าวว่า

มุหุตฺตชาโตว ควมฺปตี ยถา
สเมหิ ปาเทหิ ผุสี วสุนฺธรํ
โส วิกฺกมี สตฺตปทานิ โคตโม
เสตญฺจ ฉตฺตํ อนุธารยุํ มรู.
คนฺตฺวาน โส สตฺถปทานิ โคตโม
ทิสา วิโลเกสิ สมา สมนฺตโต
อฏฺฐงฺคุเปตํ คิรมพฺภุทีรยี
สีโห ยถา ปพฺพตมุทฺธนิฏฺฐฺโต.
โคจ่าฝูง เกิดได้ครู่เดียว ก็สัมผัสพื้นแผ่นดิน
ด้วยเท้าที่เสมอกัน ฉันใด พระโคดมพระองค์นั้นก็ย่าง
พระบาท ๗ ย่างก้าว และทวยเทพก็กั้นเศวตฉัตร
ฉันนั้น. พระโคดมพระองค์นั้น ครั้นเสด็จ ๗ ย่างก้าว
แล้ว ทรงเหลียวดูทิศเสมอกันโดยรอบ ทรงเปล่ง
อาสภิวาจา ประกอบด้วยองค์ ๘ เหมือนพระยาสีหะ
ยืนหยัดเหนือยอดขุนเขาฉะนั้น.
ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อว่าตถาคต เพราะทรงถึงลักษณะที่แท้
เป็นอย่างไร.

ตอบว่า ชื่อว่า ตถาคต เพราะทรงมาถึง บรรลุไม่ผิดพลาดรู้ตาม
ลักษณะของตนเอง และลักษณะที่เสมอทั่วไป อันถ่องแท้ แท้จริง ของรูปธรรม

และอรูปธรรมทั้งปวง ด้วยญาณคติ.

สพฺเพสํ ปน ธมฺมานํ สกสามญฺญลกฺขณํ
ตถเมวาคโต ยสฺมา ตสฺมา สตฺถา ตถาคโต.
เพราะเหตุที่ทรงบรรลุถึงลักษณะตนและลักษณะ
ทั่วไปอันแท้จริงของธรรมทั้งปวง ฉะนั้น พระศาสดา
จึงชื่อว่าตถาคต.
ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อว่าตถาคต เพราะตรัสรู้ธรรมอันแท้
ตามความเป็นจริง เป็นอย่างไร.

ตอบว่า อริยสัจ ๔ ชื่อว่าธรรมแท้. เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ว่า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย อริยสัจ ๔ เหล่านี้เป็นของแท้เป็นของจริง ไม่เป็นอย่างอื่น

อริยสัจ มีอะไรบ้าง คืออริยสัจที่ว่า นี้ทุกข์ เป็นของแท้เป็นของจริง ไม่เป็น

อย่างอื่น ฯ ล ฯ พึงทราบความพิศดาร. ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสรู้อริยสัจ ๔

เหล่านั้น เพราะฉะนั้น ท่านจึงเรียกว่า ตถาคต เพราะตรัสรู้ธรรมอันแท้.

ความจริง คตศัพท์ในคำว่า ตถาคโต นี้มีอรรถว่า ตรัสรู้.

ตถนามานิ สจฺจานิ อภิสมฺพุชฺฌิ นายโก
ตสฺมา ตถานํ สจฺจานํ สมฺพุทฺธตฺตา ตถาคโต.
พระผู้นายกตรัสรู้สัจจะทั้งหลาย ที่เป็นของแท้
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าตถาคต เพราะตรัสรู้สัจจะ
ทั้งหลายที่เป็นของแท้.
ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อว่าตถาคต เพราะทรงเห็นแต่ความจริง
เป็นอย่างไร

ตอบว่า แท้จริง พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ตถาคตย่อมทรงรู้ ทรงเห็น
อารมณ์คือรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะและธรรมะ ที่มาปรากฏในทวารคือ ตา

หู จมูก ลิ้น กาย และใจของสัตว์ทั้งหลายไม่มีประมาณ ในโลกธาตุที่ไม่มี

ประมาณโดยอาการทั้งปวง เหตุนั้น จึงชื่อว่า ตถาคต เพราะทรงเห็นแต่

ความจริงอย่างนั้น. อีกนัยหนึ่ง ทรงแสดงแต่สิ่งที่แท้ในโลก แก่โลก. อย่าง

นั้นเท่านั้น แม้เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงชื่อว่า ตถาคต ในที่นี้

พึงทราบความหมายแห่งบทว่า ตถาคต ในอรรถว่าทรงเห็นแต่ความจริงแท้.

ตถากาเรน โย ธมฺเม ชานาติ อนุปสฺสติ
ตถทสฺสีติ สมฺพุทโธ ตสฺมา วุตฺโต ตถาคโต.
ท่านผู้ใด ย่อมรู้ย่อมเห็นธรรมทั้งหลายโดย
อาการที่แท้จริง ท่านผู้นั้น ชื่อว่าผู้เห็นแต่ความจริง
เพราะฉะนั้น ท่านผู้รู้จริงดังว่า จึงเรียกว่าตถาคต.
ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อว่า ตถาคต เพราะตรัสแต่คำจริง
เป็นอย่างไร

ตอบว่า ก็คำใดที่สงเคราะห์เป็นนวังคสัตถุศาสตร์มีสุตตะเป็นต้น อัน
พระตถาคตภาษิตดำรัสไว้ตลอดกาลประมาณ ๔๕ พรรษา ระหว่างตรัสรู้และ

ปรินิพพาน คำนั้นทั้งหมดเป็นคำแท้ ไม่เท็จเลย ดุจชั่งได้ด้วยตาชั่งอันเดียว.

ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า

ดูก่อนจุนทะ ตถาคตตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิ-
ญาณ ณ ราตรีใด ปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพาน-
ธาตุ ณ ราตรีใด ในระหว่างนี้ตถาคตภาษิตกล่าว ชี้แจง
คำใดไว้ คำนั้นทั้งหมด เป็นคำแท้จริงอย่างเดียว ไม่
เป็นอย่างอื่น เพราะฉะนั้นจึงเรียกกันว่า ตถาคต.
ก็ในคำว่า ตถาคต นี้ คตศัพท์มีอรรถว่ากล่าวชัดเจน. ชื่อว่าตถาคต
เพราะตรัสแต่คำจริงอย่างนี้ การกล่าวชัดเจน ชื่อว่า อาคทะ อธิบายว่า

พระดำรัส. พระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เป็นของแท้ไม่วิปริต

เหตุนั้นจึงชื่อว่า ตถาคต ท่านกล่าวเอา ท เป็น ต.

ตถาวาที ชิโน ยสฺมา ตถธมฺมปฺปกาสโก
ตถามาคทนญฺจสฺส ตสฺมา พุทฺโธ ตถาคโต.
เพราะเหตุที่ พระชินพุทธเจ้า ตรัสแต่คำจริง
ทรงประกาศธรรมที่แท้จริง และพระดำรัสของพระ-
องค์ก็เป็นคำจริง ฉะนั้น พระพุทธเจ้า จึงชื่อว่าตถาคต.
ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อว่า ตถาคต เพราะทรงทำจริง เป็น
อย่างไร.

ตอบว่า ความจริง พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระวาจาใด ๆ ก็ทรง
ทำพระวาจานั้น ๆ ด้วยพระกาย คือพระกายก็อนุโลมตามพระวาจา ทั้งพระ-

วาจาก็อนุโลมตามพระกาย ด้วยเหตุนั้นนั่นแล จึงตรัสว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตกล่าวอย่างใด ก็ทำ
อย่างนั้น ตถาคตทำอย่างใด ก็กล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า ตถาคต.
อนึ่ง พระวาจาไปอย่างใด แม้พระกายก็ไปอย่างนั้น พระกายไป
อย่างใด แม้พระวาจาก็ไปอย่างนั้น. ชื่อว่า ตถาคตเพราะทรงทำจริง ด้วย

ประการฉะนี้.

ยถา วาจา คตา ตสฺส ตถา กาโย คโต ยโต
ตถาวาทิตา สมฺพุทฺโธ สตฺถา ตสฺมา ตถาคโต.
เพราะเหตุที่พระวาจาของพระองค์ไปอย่างใด
พระกายก็ไปอย่างนั้น เพราะตรัสแต่คำจริง ฉะนั้น
พระศาสดาผู้ตรัสรู้จริง จึงชื่อว่าตถาคต.
ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อว่า ตถาคต เพราะอรรถว่า ครอบงำ
เป็นอย่างไร.

ตอบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงครอบงำสัตว์ทั้งปวง เบื้องบน
ถึงภวัคคพรหม. เบื้องขวาง ในโลกธาตุที่หาประมาณมิได้ เบื้องล่าง ก็มีอเวจี

มหานรกเป็นที่สุดด้วยศีลบ้าง สมาธิบ้าง ปัญญาบ้าง วิมุตติบ้าง วิมุตติญาณ-

ทัสสนะบ้าง ไม่มีเครื่องชั่งหรือเครื่องนับสำหรับพระองค์ ที่แท้พระองค์ก็ชั่ง

ไม่ได้ นับไม่ได้ ยอดเยี่ยม. ด้วยเหตุนั้นนั่นแล จึงตรัสว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตเป็นผู้ครอบงำ ไม่มี
ใครครอบงำ เป็นผู้เห็นถ่องแท้ เป็นผู้มีอำนาจ ฯ ล ฯ
ในโลกทั้งเทวโลก เพราะฉะนั้น จึงเรียกกันว่า ตถาคต.
พึงทราบความสำเร็จความแห่งบท ในบทว่าตถาคโตนี้ ดังกล่าวมา
ฉะนี้ อานุภาพ เปรียบเหมือนยา. ก็นั่นคืออะไรเล่า คือความงดงามแห่ง

เทศนา และกองบุญ จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงเป็นแพทย์

ผู้มีอานุภาพมาก ทรงครอบงำผู้มีลัทธิตรงข้ามทั้งหมด และครอบงำโลกพร้อม

ทั้งเทวโลก ด้วยอานุภาพนั้น เหมือนหมองูครอบงำงูทั้งหลาย ด้วยยาทิพย์

ฉะนั้น ดังนั้น อานุภาพ คือความงดงามแห่งเทศนาและกองบุญ ที่ไม่วิปริต

เพราะครอบงำโลกได้หมดของพระองค์มีอยู่ เหตุนั้น พระองค์จึงควรทราบว่า

ตถาคต เพราะทำ ท อักษร เป็น ต อักษร. ชื่อว่าตถาคตเพราะอรรถว่าครอบงำ

ด้วยประการฉะนี้.

ตโถ อวิปรีโต จ อคโท ยสฺส สตฺถุโน
วสวฺตีติ โส เตน โหติ สตฺถา ตถาคโต.
ศาสดาพระองค์ใด ทรงมีอานุภาพแท้ไม่วิปริต
ศาสดาพระองค์นั้น เป็นผู้มีอำนาจ เพราะฉะนั้น
พระศาสดาพระองค์นั้น จึงชื่อว่า ตถาคต.
บทว่า อปฺปฏิปุคฺคลสฺส ได้แก่ปราศจากบุคคลที่จะเปรียบได้.
บุคคลอื่นไรเล่า ชื่อว่า สามารถให้คำปฏิญาณรับรองว่าเราเป็นพุทธะ ไม่มี

สำหรับพระตถาคตนั้นเหตุนั้น พระตถาคตนั้น จึงชื่อว่าไม่มีบุคคลเปรียบได้.

แก่พระตถาคต ผู้ไม่มีบุคคลเปรียบได้พระองค์นั้น.

บทว่า อุปฺปชฺชิ แปลว่า อุบัติแล้ว เกิดขึ้นแล้ว. บทว่า การุญฺญตา
ได้แก่ ความมีแห่งกรุณา ชื่อว่า การุญฺญตา. คำว่า สพฺพสตฺเต เป็นคำกล่าว

ครอบคลุมถึงสัตว์ไม่เหลือเลย. อธิบายว่าหมู่สัตว์ทั้งสิ้น. คาถาแม้นี้ มีความที่

กล่าวมาด้วยกถามีประมาณเท่านี้.


ออฟไลน์ ตถตา

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นไม้เล็กพริ้วไหวดั่งสายลม
  • *
  • กระทู้: 326
  • พลังกัลยาณมิตร 154
    • ดูรายละเอียด
Re: มธุรัตถวิลาสินี
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: ธันวาคม 13, 2010, 07:06:12 pm »
พรรณนารัตนจังกมนกัณฑ์ที่ ๔


ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า อันพรหมทูลอาราธนาเพื่อทรงแสดง
ธรรมแล้ว ทรงยังพระมหากรุณาให้เกิดในสัตว์ทั้งหลาย มีพุทธประสงค์จะทรง

แสดงธรรม จึงตรัสพระคาถาแก่พรหมทั้งหลายว่า

ดูก่อนพรหม ประตูทั้งหลายแห่งอมตนคร เรา
เปิดสำหรับท่านแล้วละ ขอเหล่าสัตว์ที่มีโสตประสาท
จงปล่อยศรัทธาออกมาเถิด แต่ก่อนเราสำคัญว่าจะ
ลำบากเปล่าจึงไม่กล่าวธรรมอันประณีตที่ชำนาญใน
หมู่มนุษย์.
ครั้งนั้น ท้าวสหัมบดีพรหมรู้ว่าเราอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเปิด
โอกาสเพื่อทรงแสดงธรรมแล้ว จึงประคองอัญชลี อันรุ่งเรืองด้วยทศนัขสโมธาน

ขึ้นเหนือเศียร ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วทำประทักษิณ อันหมู่พรหม

แวดล้อมเสด็จกลับไป. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นประทานปฏิญาณแก่

พรหมนั้นแล้วทรงพระดำริว่า เราควรจะแสดงธรรมแก่ใครก่อนหนอ ทรงเกิด

ความคิดว่า อาฬารดาบสเป็นบัณฑิต ท่านจักรู้ทั่วถึงธรรมนี้ได้ฉับพลัน ทรงสำ-

รวจทบทวนก็ทรงทราบว่าอาฬารดาบสนั้น ทำกาละได้ ๗ วันแล้วและทรงทราบ

ว่าอุทกดาบสทำกาละแล้วตอนพลบค่ำ ก็ทรงนึกถึงปัญจวัคคีย์อีกว่า บัดนี้ ภิกษุ

ปัญจวัคคีย์อยู่ที่ไหนหนอ ก็ทรงทราบว่า อยู่ที่ป่าอิสิปตนะ มิคทายวัน กรุง

พาราณสี พอราตรีสว่างวันเพ็ญอาสาฬหะเช้าตรู่ ก็ทรงถือบาตรจีวร ทรงเดิน

ทาง ๑๘ โยชน์ ระหว่างทางทรงพบอาชีวกนักบวชชื่อว่า อุปกะ ทรงบอกแก่เขา

ว่า พระองค์เป็นพระพุทธเจ้า ตอนเย็นวันนั้นนั่นเอง ก็ได้เสด็จถึงป่าอิสิปตนะ

ณ ที่นั้น ทรงประกาศแก่ปัญจวัคคีย์ว่าพระองค์เป็นพระพุทธเจ้า เสด็จประทับ

บนพุทธอาสน์อันดีที่เขาจัดไว้แล้ว ตรัสเรียกภิกษุปัญจวัคคีย์ ทรงแสดงพระ

ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร.

บรรดาภิกษุปัญจวัคคีย์ ท่านพระอัญญาโกณฑัญญเถระ ส่งญาณไป
ตามกระแสเทศนา จบพระสูตรก็ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล พร้อมด้วยพรหม ๑๘

โกฏิ พระศาสดาทรงเข้าจำพรรษาในที่นั้นนั่นเอง วันรุ่งขึ้นทรงทำให้พระ-

วัปปเถระตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล ด้วยอุบายนี้นี่แล ก็ทรงทำภิกษุเหล่านั้นให้ตั้ง

อยู่ในโสดาปัตติผลหมดทุกรูป รุ่งขึ้นวัน ๕ ค่ำแห่งปักษ์ ทรงประชุมพระเถระ

เหล่านั้นแล้ว ทรงแสดงอนัตตลักขณสูตร. จบเทศนา พระเถระทั้ง ๕ รูป ก็

ตั้งอยู่ในพระอรหัต.

ครั้งนั้น ในที่นั้นนั่นเอง พระศาสดาทรงเห็นอุปนิสัยของ ยสกุลบุตร
และเห็นเขาละเรือนออกไปแล้ว จึงตรัสเรียกว่า มานี่แน่ะ ยสะ ทรงทำเขาให้

ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผลในตอนกลางคืนนั้นนั่นแล รุ่งขึ้นก็ให้เขาตั้งอยู่ในพระอรหัต

แม้ในวันอื่นอีก ก็ทรงให้ชน ๕๔ คนสหายของยสกุลบุตร บวชด้วยเอหิภิกขุ-

อุปสัมปทาแล้วให้ตั้งอยู่ในพระอรหัต เมื่อเกิดพระอรหันต์ขึ้นในโลก จำนวน

๖๑ รูปอย่างนี้ พระศาสดาทรงออกพรรษาปวารณาแล้ว ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย

มาแล้วตรัสดังนี้ว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอเมื่อบำเพ็ญประโยชน์
ตนและประโยชน์ผู้อื่น จงแยกกันไปเที่ยวธรรมจาริก
แก่มนุษย์ทั้งหลายตลอดแผ่นดินผืนนี้.
เมื่อประกาศสัทธรรมของเราแก่โลกเนืองนิตย์
ก็จงอยู่เสียที่ป่าเขาอันสงัด.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอเมื่อทำหน้าที่พระ-
ธรรมทูต ก็จงปฏิบัติด้วยดีซึ่งคำของเรา สั่งสอนเขา
เพื่อประโยชน์แก่สันติของสัตว์ทั้งหลาย.
พวกเธอไม่มีอาสวะ จงช่วยปิดประตูอบายทั้งสิ้น
เสียทุกประตู จงช่วยเปิดประตูสวรรค์ มรรค และ
ผล.
พวกเธอ จงมีคุณมีกรุณาเป็นต้น เป็นที่อยู่อาศัย
เพิ่มพูนความรู้และความเชื่อแก่ชาวโลกทุกประการด้วย
การเทศนาและการปฏิบัติ.
เมื่อพวกคฤหัสถ์ ทำการอุปการะด้วยอามิสทาน
เป็นนิตย์ พวกเธอ ก็จงตอบแทนพวกเขาด้วยธรรม-
ทานเถิด.
พวกเธอเมื่อจะแสดงธงชัยของพระฤษีผู้แสวงคุณ
ก็จงยกย่องพระสัทธรรม เมื่อการงานที่พึงทำ ทำเสร็จ
แล้ว ก็จงบำเพ็ญประโยชน์ผู้อื่นเถิด.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นตรัสอย่างนี้แล้ว ก็ทรงส่งภิกษุเหล่านั้นไปใน
ทิศทั้งหลาย ส่วนพระองค์เองก็เสด็จไปยังอุรุเวลาประเทศ ระหว่างทาง ทรง

แนะนำ ภัททวัคคิยกุมาร ๓๐ คน ที่ราวป่าฝ้าย บรรดากุมารทั้ง ๓๐ คนนั้น

ผู้ใดอ่อนกว่าเขาหมด ผู้นั้นก็เป็นพระโสดาบัน ผู้ใดแก่กว่าเขาหมด ผู้นั้น ก็เป็น

พระอนาคามี แต่แม้สักคนหนึ่งเป็นพระอรหันต์ หรือเป็นปุถุชนไม่มีเลย ทรงยัง

กุมารแม้เหล่านั้นให้บวชด้วยเอหิภิกขุหมดทุกคน แล้วทรงส่งไปในทิศทั้งหลาย

พระองค์เองครั้นเสด็จถึงอุรุเวลาประเทศแล้ว ทรงแสดงปาฏิหาริย์ ๑,๒๕๐ อย่าง

ทรมานชฏิล ๓ พี่น้อง มีอุรุเวลากัสสปเป็นต้นพร้อมด้วยบริวารชฏิลพันคน

ทรงให้บวชด้วยเอหิภิกขุแล้ว ให้นั่งประชุมกันที่คยาสีสะประเทศ ให้ตั้งอยู่ใน

พระอรหัต ด้วยเทศนาชื่อว่าอาทิตตปริยายสูตรอันภิกษุอรหันต์พันรูปแวด

ล้อมแล้ว เสด็จไปยังลัฏฐิวนอุทยาน อันเป็นอุปจารแห่งกรุงราชคฤห์ด้วยพุทธ-

ประสงค์จะทรงเปลื้องปฏิญญาแก่พระเจ้าพิมพิสาร ต่อนั้น พนักงานเฝ้าพระ-

ราชอุทยานกราบทูลแด่พระราชา พระราชาทรงสดับว่าพระศาสดาเสด็จมาแล้ว

อันพราหมณ์และคฤหบดี ๑๒ นหุตห้อมล้อม เข้าไปเฝ้าพระทศพล ผู้เป็นดวง

อาทิตย์แห่งพระมุนีผู้ประเสริฐ ซึ่งเสด็จอยู่ในช่องแห่งวนะดุจดวงทิพากรเข้าไป

ในช่องหลืบเมฆ ทรงซบพระเศียรซึ่งโชติช่วงด้วยประกายรุ้งแห่งมงกุฏมณีลง

แทบเบื้องพระยุคลบาทของพระทศพล อันดารดาษด้วยโกมลดอกไม้น่าไร้มลทิน

ไม่วิกล ที่มีพื้นฝ่าพระบาทประดับด้วยจักร แล้วประทับนั่ง ณ ที่สมควรส่วน

หนึ่งพร้อมด้วยราชบริพาร.


ออฟไลน์ ตถตา

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นไม้เล็กพริ้วไหวดั่งสายลม
  • *
  • กระทู้: 326
  • พลังกัลยาณมิตร 154
    • ดูรายละเอียด
Re: มธุรัตถวิลาสินี
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: ธันวาคม 13, 2010, 07:07:25 pm »
ครั้งนั้น พราหมณ์และคฤหบดีเหล่านั้นก็คิดปริวิตกไปว่า พระมหา-
สมณะ ทรงประพฤติพรหมจรรย์ในท่านอุรุเวลกัสสป หรือท่านอุรุเวลกัสสป

ประพฤติพรหมจรรย์ในพระมหาสมณะ. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง

ทราบความปริวิตกของพราหมณ์และคฤหบดีเหล่านั้น จึงได้ตรัสกะพระเถระ

ด้วยพระคาถาว่า

กิเมว ทิสฺวา อุรุเวลวาสิ
ปหาสิ อคฺคึ กิสโกวทาโน
ปุจฉามิ ตํ กสฺสป เอตมตฺถํ
กถํ ปหีนํ ตว อคฺคิหุตฺตํ.
ดูก่อนกัสสป ท่านอยู่อุรุเวลประเทศสั่งสอน
ศิษย์ชฎิลมานาน เห็นเหตุอะไรหรือจึงละการบูชาไฟ
เราถามความนี้กะท่าน ไฉนท่านจึงละการบูชาไฟ.
พระเถระทราบพระพุทธประสงค์ของพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงกล่าวคาถา
นี้ว่า

รูเป จ สทฺเท จ อโถ รเส จ
กามิตฺถิโย จาภิวทนฺติ ยญฺญา
เอตํ มลนฺติ อุปธีสุ ญตฺวา
ตสฺมา น ยิฏฺเฐ น หุเต อรญฺชึ.
ยัญทั้งหลาย สรรเสริญรูป เสียง รส กามและ
สตรีทั้งหลาย. ข้าพระองค์รู้ว่า นั่นเป็นมลทินในอุปธิ
ทั้งหลาย เพราะฉะนั้น ข้าพระองค์จึงไม่ยินดีในยัญ
ในการบูชาไฟ ดังนี้.
แล้วซบศีรษะลงแทบเบื้องยุคลบาทของพระตถาคตเพื่อประกาศความที่ตนเป็น

สาวก กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเป็นศาสดา

ของข้าพระองค์ ข้าพระองค์เป็นสาวก แล้วก็โลดขึ้นสู่อากาศ ๗ ครั้ง ประมาณ

ชั่วหนึ่งลำตาล ชั่วสองลำตาล ฯลฯ ชั่วเจ็ดลำตาล ทำปาฏิหาริย์แล้วก็ลงจาก

อากาศ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วก็นั่ง ณ ที่สมควรส่วนหนึ่ง.

ครั้งนั้น มหาชนเห็นปาฏิหาริย์ของพระเถระนั้นแล้วคิดกันว่า โอ
ธรรมดาพระพุทธเจ้าทั้งหลายมีอานุภาพมาก แม้ท่านอุรุเวสกัสสปมีทิฏฐิกล้า

สำคัญตนว่า เป็นอรหันต์ ก็ถูกพระตถาคตทรงทำลายข่ายทิฏฐิทรมานแล้ว ก็

พากันกล่าวสรรเสริญคุณของพระทศพล. พระศาสดาทรงสดับเรื่องนั้นแล้ว

ตรัสว่า มิใช่เราทรมานอุรุเวลกัสสปผู้นี้ในชาตินี้เท่านั้นดอกนะ แม้ในอดีต

ชาติ อุรุเวลกัสสปนี้เราก็ทรมานมาแล้วเหมือนกัน. ครั้งนั้นมหาชนลุกขึ้นจากที่

นั่ง ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า ประคองอัญชลีเหนือศีรษะ กราบทูลอย่าง

นี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ชาตินี้ ท่านอุรุเวลกัสสปถูกทรมารพวกข้าพระ-

องค์เห็นแล้ว ในอดีตชาติ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทรมานอย่างไร พระเจ้าข้า.

แต่นั้น พระศาสดาอันมหาชนนั้นทูลวอนแล้ว จึงตรัสมหานารทกัสสปชาดก

ซึ่งระหว่างภพปกปิดไว้แล้วทรงประกาศอริยสัจ ๔. พระเจ้าพิมพิสารทรงสดับ
ธรรมกถาของพระศาสดา ทรงดำรงอยู่ในโสดาปัตติผลพร้อมกับราชบริพาร

๑๑ นหุต. ๑ นหุตประกาศตนเป็นอุบาสก. พระราชาทรงถึงสรณะแล้วนิมนต์

พระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อเสวยในวันรุ่งขึ้น พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ ทรงทำประ-

ทักษิณพระผู้มีพระภาคเจ้าสามครั้ง แล้วถวายบังคมเสด็จกลับ.

วันรุ่งขึ้น พระผู้มีพระภาคเจ้า อันภิกษุพันรูปแวดล้อมแล้วเสด็จเข้า
ไปยังกรุงราชคฤห์เสมือนท้าวสหัสนัยน์เทวราชอันหมู่เทพห้อมล้อมแล้ว เสมือน

ท้าวมหาพรหม อันหมู่พรหมห้อมล้อมแล้ว. พระราชาถวายทานแด่ภิกษุสงฆ์มี

พระพุทธเจ้าเป็นประธาน เสร็จเสวยแล้ว ก็กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ไม่อาจจะอยู่เว้นพระไตรรัตน์ได้. ข้าพระองค์

จะมาเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าในเวลาบ้าง ไม่ใช่ในเวลาบ้าง ชื่อว่าอุทยานลัฏฐิวัน

ก็อยู่ไกลเกินไป. ส่วนอุทยานชื่อว่าเวฬุวันของข้าพระองค์นี้ สำหรับผู้ต้องการ

วิเวก ไม่ไกลนักไม่ใกล้นัก พรั่งพร้อมด้วยทางคมนาคม ไร้ผู้คนเบียดเสียด

สงัดสุข พร้อมด้วยร่มเงาและน้ำ ประดับพื้นศิลาเย็น เป็นภูมิภาคน่ารื่นรมย์

อย่างยิ่งมีต้นไม้อย่างดีมีดอกหอมกรุ่นชั่วนิรันดร์ ประดับประดาด้วยปราสาท

ยอดปราสาทโล้น วิหาร ดุจวิมานเรือนมุงแถบเดียว มณฑปเป็นต้น. ขอพระผู้มี

พระภาคเจ้า โปรดทรงรับอุทยานเวฬุวันนี้ของข้าพระองค์เถิด พระเจ้าข้า


ออฟไลน์ ตถตา

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นไม้เล็กพริ้วไหวดั่งสายลม
  • *
  • กระทู้: 326
  • พลังกัลยาณมิตร 154
    • ดูรายละเอียด
Re: มธุรัตถวิลาสินี
« ตอบกลับ #8 เมื่อ: ธันวาคม 13, 2010, 07:08:23 pm »
แล้วทรงถือน้ำมีสีดังแก้วมณีอันอบด้วยดอกไม้กลิ่นหอมด้วยพระเต้าทอง เสมือน

ถ่านร้อนใหม่ เมื่อทรงบริจาคพระเวฬุวนาราม ก็ทรงหลั่งน้ำลงเหนือพระหัตถ์

ของพระทศพล. ในการรับพระอารามนั้น มหาปฐพีนี้ก็ตกสู่อำนาจปีติว่า ราก

ของพระพุทธศาสนา หยั่งลงแล้ว ก็ไหวราวกะฟ้อนรำ. ธรรมดาเสนาสนะอื่น

ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับแล้วทำให้แผ่นดินไหว เว้นพระเวฬุวันมหาวิหาร

เสียไม่มีเลยในชมพูทวีป. ครั้งนั้น พระศาสดาทรงรับพระเวฬุวนารามแล้วได้

ทรงทำอนุโมทนาวิหารทาน

อาวาสทานสฺส ปนานิสํสํ
โก นาม วตฺถํ ปุริโส สมตฺโถ
อญฺญตฺร พุทฺธา ปน โลกนาถา
ยุตฺโต มุขานํ นหุเตน จาปิ.
นอกจากพระพุทธเจ้าผู้เป็นนาถะของโลก ปาก
คน ๑ นหุต บุรุษไรเล่าผู้สามารถจะกล่าวอานิสงส์ของ
การถวายที่อยู่อาศัยได้.
อายุญฺจ วณฺณญฺจ สุขํ พลญฺจ
วรํ ปสตฺถํ ปฏิภาณเมว
ททาติ นามาติ ปวุจฺจเต โส
โย เทติ สงฺฆสฺส นโร วิหารํ.
นรชนใด ถวายที่อยู่แก่สงฆ์ นรชนนั้น ท่าน
กล่าวว่า ชื่อว่าให้อายุ วรรณะ สุขะ พละ และปฏิ-
ภาณอันประเสริฐ ที่พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญแล้ว.
ทาตา นิวาสสฺส นิวารณสฺส
สีตาทิโน ชีวิตุปทฺทวสฺส
ปาเลติ อายุํ ปน ตสฺส ยสฺมา
อายุปฺปโท โหติ ตมาหุ สนฺโต.
เพราะเหตุที่ผู้ถวายที่อยู่อาศัย อันป้องกันอุปัทวะ
แห่งชีวิตมีความเย็นเป็นต้น ย่อมรักษาอายุของเขาไว้
ได้ ฉะนั้น สัตบุรุษทั้งหลายจึงเรียกผู้นั้นว่า เป็นผู้
ให้อายุ.
อจฺจุณฺหสีเต วสโต นิวาเส
พลญฺจ วณฺโณ ปฏิภา น โหติ
ตสฺมา หิ โส เทติ วิหารทาตา
พลญฺจ วณฺณญฺจ ปฏิภาณเมว.
พละ วรรณะ และปฏิภาณย่อมจะไม่มีแก่ผู้อยู่ใน
ที่อยู่อาศัยอันร้อนจัดเย็นจัด เพราะฉะนั้นแล ผู้ถวาย
วิหารที่อยู่นั้นจึงชื่อว่าให้พละ วรรณะ และปฏิภาณ
ทีเดียว.
ทุกฺขสฺส สีตุณฺหสิรึสปา จ
วาตาตปาทิปฺปภวสฺส โลเก
นิวารณาเนกวิธสฺส นิจฺจํ
สุขปฺปโท โหติ วิหารทาตา.
ผู้ถวายวิหาร ย่อมชื่อว่าให้สุขเป็นนิตย์ เพราะ
ป้องกันทุกข์มากอย่างที่เกิดแต่เย็นร้อนสัตว์เลื้อยคลาน
ลม แดดเป็นต้นในโลก.
สีตุณฺหวาตาตปฑํสวุฏฺฐิ
สิรึสปาวาฬมิคาทิทุกฺขํ
ยสฺมา นิวาเรติ วิหารทาตา
ตสฺมา สุขํ วินฺทติ โส ปรตฺถ.
เพราะเหตุที่ผู้ถวายวิหาร ย่อมป้องกันทุกข์มีเย็น
ร้อน ลม แดด เหลือบฝน สัตว์เลื้อยคลานและสัตว์ร้าย
เป็นต้นได้ ฉะนั้น ผู้นั้นจึงชื่อว่า ได้สุขในโลกหน้า.
ปสนฺนจิตฺโต ภวโภคเหตุํ
มโนภิรามํ มุทิโต วิหารํ
โย เทติ สีลาทิคุโณทิตานํ
สพฺพํ ทโท นาม ปวุจฺจเต โส.
ผู้ใดมีจิตเลื่อมใส บันเทิงแล้วถวายวิหารอันเหตุ
แห่งภพและโภคะที่น่ารื่นรมย์ยิ่งแห่งใจ แก่ท่านผู้มี
คุณมีศีลเป็นต้นอันเกิดแล้ว ผู้นั้นท่านเรียกชื่อว่าผู้ให้
ทุกอย่าง.
ปหาย มจฺเฉรมลํ สโลภํ
คุณาลยานํ นิลยํ ททาติ
ขิตฺโตว โส ตตฺถ ปเรหิ สคฺเค
ยถาภตํ ชายติ วีตโสโก.

ออฟไลน์ ตถตา

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นไม้เล็กพริ้วไหวดั่งสายลม
  • *
  • กระทู้: 326
  • พลังกัลยาณมิตร 154
    • ดูรายละเอียด
Re: มธุรัตถวิลาสินี
« ตอบกลับ #9 เมื่อ: ธันวาคม 13, 2010, 07:09:20 pm »
ผู้ใดละมลทินคือตระหนี่ พร้อมทั้งโลภะ ถวาย
วิหาร แก่เหล่าท่านผู้มีคุณเป็นที่อยู่อาศัย ผู้นั้น ก็เป็น
เหมือนถูกผู้อื่นโยนไปในสวรรค์นั้น ย่อมเกิดเป็นผู้
ปราศจากความเศร้าโศกถึงสมบัติที่รวบรวมไว้.
วเร จารุรูเป วิหาเร อุฬาเร
นโร การเย วาสเย ตตฺถ ภิกฺขู
ทเทยฺยนฺนปานญฺจ วตฺถญฺจ เนสํ
ปสนฺเนน จิตฺเตน สกฺกจฺจ นิจฺจํ.
นรชนสร้างวิหารทองประเสริฐเลิศโอฬารนิมนต์
ภิกษุทั้งหลายอยู่ในวิหารนั้น พึงถวายข้าวน้ำและผ้า
แก่ภิกษุเหล่านั้นด้วยจิตที่เลื่อมใส โดยเคารพเป็นนิตย์.
คสฺมา มหาราช ภเวสุ โภเค
มโนรเม ปจฺจนุภุยฺย ภิยฺโย
วิหารทานสฺส ผเลน สนฺตํ
สุขํ อโสกํ อธิคจฺฉ ปจฺฉา.
ถวายพระพร เพราะฉะนั้น มหาบพิตรจะเสวย
โภคะที่น่ารื่นรมย์ใจในภพทั้งหลายยิ่งขึ้นไป ด้วยผล
แห่งวิหารทาน ภายหลังจงทรงประสบธรรมอันสงบ
สุข ไม่เศร้าโศกแล.
พระจอมมุนี ครั้นทรงทำอนุโมทนาวิหารทานแก่พระเจ้าพิมพิสาร
จอมนรชนประการดังนี้อย่างนี้แล้ว เสด็จลุกจากอาสนะอันภิกษุสงฆ์แวดล้อมแล้ว

เมื่อทรงทำนครให้เป็นวนวิมานเป็นต้น ด้วยพระรัศมีแห่งพระสรีระของพระ-

องค์ที่น่าทอดทัศนาอย่างยิ่ง ประหนึ่งเลื่อมพรายที่เกิดแต่รดด้วยน้ำทอง เสด็จ

เข้าสู่พระเวฬุวันมหาวิหาร ด้วยพระพุทธลีลา หาที่เปรียบมิได้ด้วยพระพุทธสิริ

ที่ไม่มีสิ้นสุดแล.

อกีฬเน เวฬุวเน วิหาเร
ตถาคโต ตตฺถ มโนภิราเม
นานาวิหาเรน วิหาสิ ธีโร
เวเนยฺยกานํ สมุทิกฺขมาโน.
พระตถาคตจอมปราชญ์ ประทับอยู่ ณ พระเวฬุ-
วันวิหาร ซึ่งมิใช่เป็นที่เล่น แต่น่ารื่นรมย์ยิ่งแห่งใจนั้น
ด้วยธรรมเป็นเครื่องอยู่ต่าง ๆ ทรงคอยตรวจดูเวไนย-
สัตว์ทั้งหลาย.
พระพุทธบิดาเชิญเสด็จกรุงกบิลพัสดุ์
เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับอยู่พระเวฬุวันวิหารนั้น พระเจ้า
สุทโธทนะมหาราชทรงสดับว่า โอรสเรา ทำทุกกรกิริยา ๖ ปี บรรลุอภิสัมโพธิ-

ญาณอย่างเยี่ยม ประกาศพระธรรมจักรอันประเสริฐ เสด็จถึงกรุงราชคฤห์

ประทับอยู่ ณ พระเวฬุวันมหาวิหาร ทรงเรียกมหาอมาตย์ผู้หนึ่งมาตรัสสั่งว่า

พนายมานี่แน่ะ เจ้าพร้อมบุรุษพันหนึ่งเป็นบริวาร จงไปกรุงราชคฤห์ พูดตาม

คำของเราว่า พระเจ้าสุทโธทนะมหาราชบิดาท่านมีประสงค์จะพบท่าน แล้วจง

พาโอรสของเรามา.

มหาอมาตย์ผู้นั้น รับพระราชโองการแล้ว มีบุรุษพันหนึ่งเป็นบริวาร
ก็เดินทาง ๖๐ โยชน์ เข้าไปยังวิหาร ในเวลาทรงแสดงธรรม มหาอมาตย์ผู้นั้น

คิดว่าข่าวที่พระราชาทรงส่งมาพักไว้ก่อน ก็ยืนท้ายบริษัท ฟังพระธรรมเทศนา

ของพระศาสดา ทั้งที่ยืนอยู่ก็บรรลุพระอรหัต พร้อมกับบุรุษพันหนึ่ง ทูลขอ

บรรพชา. พระศาสดา ก็ทรงเหยียดพระหัตถ์ตรัสว่า เอถ ภิกฺขโว พวกเธอ

จงเป็นภิกษุมาเถิด ชนเหล่านั้นทั้งหมดก็ทรงบาตรจีวรสำเร็จด้วยฤทธิ์ในทันใด

ถึงพร้อมด้วยกิริยาที่เหมาะแก่สมณะ ประหนึ่งพระเถระ ๑๐๐ พรรษา แวดล้อม

พระผู้มีพระภาคเจ้า.

พระราชาทรงพระดำริว่า คนที่ไปก็ยังไม่มา ข่าวก็ไม่ได้ยิน ทรงส่ง
อมาตย์ไป ๙ ครั้ง โดยทำนองนี้นี่แล บรรดาบุรุษ ๙,๐๐๐ คนนั้น ไม่ได้

กราบทูลพระราชาแม้แต่คนเดียว ทั้งไม่ส่งข่าวคราวด้วย บรรลุพระอรหัตแล้ว

พากันบวชหมด.

ครั้งนั้น พระราชาทรงพระดำริว่า ใครหนอจักทำตามคำของเรา ทรง
สำรวจดูกำลังส่วนของราชสำนักทั้งหมดก็ได้ทรงพบอุทายีอมาตย์ เล่ากันว่า

อุทายีนั้นเป็นอมาตย์สำเร็จราชการทั้งหมดของพระราชา เป็นคนภายในมีความ

สนิทสนมยิ่งนัก เกิดในวันเดียวกับพระโพธิสัตว์เป็นพระสหายเล่นฝุ่นด้วยกัน

มา. ครั้งนั้นพระราชาทรงเรียกอุทายีอมาตย์มาแล้วตรัสว่า อุทายีลูกเอย พ่อ

ประสงค์จะพบโอรส จึงส่งบุรุษไปถึง ๙,๐๐๐ คน มากันแล้วจะบอกเพียงข่าว

แม้แต่คนเดียวก็ไม่มี อันตรายแห่งชีวิตของพ่อ รู้ได้ยาก พ่ออยากจะพบโอรส

แต่ยังมีชีวิตอยู่ ลูกจักพาโอรสมาแสดงแก่พ่อได้ไหมลูก.

อุทายีอมาตย์กราบทูลว่า ได้พระพุทธเจ้าข้า ถ้าข้าพระพุทธเจ้าได้
บวช.

พระราชารับสั่งว่า ลูกจะบวชหรือไม่บวชก็ตามที แต่ลูกต้องนำโอรส
มาแสดงแก่พ่อ.