ผู้เขียน หัวข้อ: มธุรัตถวิลาสินี  (อ่าน 19894 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ตถตา

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นไม้เล็กพริ้วไหวดั่งสายลม
  • *
  • กระทู้: 326
  • พลังกัลยาณมิตร 154
    • ดูรายละเอียด
Re: มธุรัตถวิลาสินี
« ตอบกลับ #20 เมื่อ: ธันวาคม 13, 2010, 07:21:04 pm »
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เทวา ได้แก่ สมมติเทพ อุปปัตติเทพ
และวิสุทธิเทพ รวมเทพทั้งหมดท่านสงเคราะห์ไว้ในบทนี้. เทวดาด้วยคนธรรพ์

ด้วย มนุษย์ด้วย รากษสด้วย ชื่อว่าเทพ คนธรรพ์ มนุษย์และรากษส.

เป็นไปกับด้วยเทพคนธรรพ์มนุษย์และรากษส ชื่อว่าพร้อมด้วยเทพ คนธรรพ์

มนุษย์และรากษส. นั้นคืออะไร. คือโลก ในโลกแห่งเทพ คนธรรพ์

มนุษย์และรากษสนั้น. บทว่า อาภา แปลว่า แสงสว่าง. อุฬาร ศัพท์นี้ใน

คำว่า อุฬารา นี้ ปรากฏในอรรถมีอร่อย ประเสริฐ และไพบูลย์เป็นต้น.

จริงอย่างนั้น อุฬาร ศัพท์นี้ปรากฏในอรรถว่า อร่อย ในบาลีเป็นต้นว่า

อุฬารานิ ขาทนียโภชนียานิ ขาทนฺติ ภุญฺชนฺติ ภิกษุทั้งหลาย ย่อมเคี้ยว

ย่อมฉัน ของเคี้ยวของฉันอันอร่อย.

ปรากฏในอรรถว่า ประเสริฐ ในบาลีเป็นต้นว่า อุฬาราย โข ปน
ภวํ วจฺฉายโน ปสํสาย สมณํ โคตมํ ปสํสติ. ก็ท่านวัจฉายนพราหมณ์

สรรเสริญพระสมณโคดม ด้วยการสรรเสริญอันประเสริฐแล.

ปรากฏในอรรถว่า ไพบูลย์ ในบาลีเป็นต้นว่า อติกฺกมฺม เทวานํ
เทวานุภาวํ อปฺปมาโณ อุฬาโร โอภาโส แสงสว่างไพบูลย์ไม่มีประ-

มาณเกินเทวานุภาพของเทวดาทั้งหลาย. อุฬาร ศัพท์นี้นั้น พึงเห็นว่าปรากฏ

ในอรรถว่า ประเสริฐ ในที่นี้.

บทว่า วิปุลา ได้แก่ ไม่มีประมาณ. บทว่า อชายถ ได้แก่ อุบัติ
แล้ว เกิดขึ้นแล้ว เป็นไปแล้ว. บทว่า อิมสฺมึ โลเก ปรสฺมิญฺจ ความว่า

ในมนุษยโลกนี้ และในโลกอื่น คือเทวโลก. บทว่า อุภยสฺมึ ได้แก่ ใน

โลกทั้งสองนั้น. พึงเห็นเหมือนในโลกภายในและโลกภายนอกเป็นต้น. บทว่า

อโธ จ ได้แก่ ในนรกทั้งหลายมีอเวจีเป็นต้น. บทว่า อุทฺธํ ได้แก่ แม้ในกลาง

หาวนับแต่ภวัคคพรหม. บทว่า ติริยญฺจ ได้แก่ ในหมื่นจักรวาลโดยเบื้องขวาง.

บทว่า วิตฺถตํ ได้แก่ แผ่ซ่านไป. อธิบายว่า แสงสว่างกำจัดความมืด ครอบ

คลุมโลกและประเทศดังกล่าวแล้วเป็นไป. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า ติริยญฺจ

วิตฺถตํ ได้แก่ แผ่ไปโดยเบื้องขวางคือใหญ่ อธิบายว่า แสงสว่างแผ่คลุม

ตลอดประเทศไม่มีประมาณ.

ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแผ่แสงสว่างไปในหมื่นจักรวาล
ทรงเข้าจตุตถฌานอันเป็นบาทแห่งอภิญญา ทรงออกจากฌานนั้นแล้วทรงเหาะ

ขึ้นสู่อากาศ ด้วยอธิษฐานจิต ทรงแสดงยมกปาฏิหาริย์ ท่ามกลางเทว-

บริษัทและมนุษยบริษัทอันใหญ่ เหมือนทรงโปรยธุลีพระบาทลงเหนือเศียร

ของพระประยูรญาติเหล่านั้น. ก็ยมกปาฏิหาริย์นั้น พึงทราบจากบาลีอย่างนี้

ญาณในยมกปาฏิหาริย์ของพระตถาคตเป็นอย่าง-
ไร. พระตถาคตทรงทำยมกปาฏิหาริย์ในโลกนี้ ไม่ทั่ว
ไปแก่พระสาวกทั้งหลาย คือลำไฟแลบออกจากพระกาย
เบื้องบน ท่อน้ำไหลออกจากพระกายเบื้องล่าง, ลำไฟ
แลบออกจากพระกายเบื้องล่าง ท่อน้ำไหลออกจาก
พระกายเบื้องบน.
ลำไฟแลบออกจากพระกายเบื้องหน้า ท่อน้ำไหล
ออกจากพระกายเบื้องหลัง, ลำไฟแลบออกจากพระ-
กายเบื้องหลัง ท่อน้ำไหลออกจากพระกายเบื้องหน้า.
ลำไฟแลบออกจากพระเนตรเบื้องขวา ท่อน้ำ
ไหลออกจากพระเนตรเบื้องซ้าย, ลำไฟแลบออกจาก
พระเนตรเบื้องซ้าย ท่อนำไหลออกจากพระเนตร
เบื้องขวา.
ลำไฟแลบออกจากช่องพระกรรณเบื้องขวา ท่อ
น้ำไหลออกจากช่องพระกรรณเบื้องซ้าย, ลำไฟแลบ
ออกจากช่องพระกรรณเบื้องซ้าย. ท่อน้ำไหลออกจาก
ช่องพระกรรณเบื้องขวา.
ลำไฟแลบออกจากช่องพระนาสิกเบื้องขวา ท่อ
น้ำไหลจากช่องพระนาสิกเบื้องซ้าย. ท่อน้ำไหลออก
จากช่องพระนาสิกเบื้องขวา ลำไฟแลบออกจากช่อง
พระนาสิกเบื้องซ้าย.
ลำไฟแลบออกจากจะงอยพระอังสาเบื้องขวา ท่อ
น้ำไหลออกจากจะงอยพระอังสาเบื้องซ้าย, ลำไฟแลบ
ออกจากจะงอยพระอังสาเบื้องซ้าย ท่อน้ำไหลออกจาก
จะงอยพระอังสาเบื้องขวา.
ลำไฟแลบออกจากพระหัตถ์เบื้องขวา ท่อน้ำไหล
ออกจากพระหัตเบื้องซ้าย, ลำไฟแลบออกจากพระ-
หัตถ์เบื้องซ้าย ท่อน้ำไหลออกจากพระหัตถ์เบื้องขวา.
ลำไฟแลบออกจากพระปรัศว์เบื้องขวา ท่อน้ำ
ไหลออกจากพระปรัศว์เบื้องซ้าย, ลำไฟแลบออกจาก
พระปรัศว์เบื้องซ้าย ท่อน้ำไหลออกจากพระปรัศว์
เบื้องขวา.
ลำไฟแลบออกจากพระบาทเบื้องขวา ท่อน้ำ
ไหลออกจากพระบาทเบื้องซ้าย, ลำไฟแลบออกจาก
พระบาทเบื้องซ้าย ท่อน้ำไหลออกจากพระบาทเบื้อง
ขวา.
ลำไฟแลบออกจากทุกพระองคุลี ท่อน้ำไหลออก
จากระหว่างพระองคุลี, ลำไฟแลบออกจากระหว่าง
พระองคุลี ท่อน้ำไหลออกจากทุกพระองคุลี.
ลำไฟแลบออกจากพระโลมาแต่ละเส้น ท่อน้ำ
ไหลออกจากพระโลมาแต่ละเส้น, ลำไฟแลบออกจาก
ขุมพระโลมาแต่ละขุม ท่อน้ำก็ไหลออกจากขุมพระ
โลมาแต่ละขุม มีวรรณะ ๖ คือ เขียว เหลือง แดง
ขาว แดงเข้ม เลื่อมพราย.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงดำเนิน พระพุทธเนรมิต
ประทับยืนบ้าง ประทับนั่งบ้าง บรรทมบ้าง
พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับยืน พระพุทธเนรมิต
ทรงดำเนินบ้าง ประทับนั่งบ้าง บรรทมบ้าง,
พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่ง พระพุทธเนรมิต ทรง
ดำเนินบ้าง ประทับยืนบ้าง บรรทมบ้าง. พระผู้มี
พระภาคเจ้าบรรทม พระพุทธเนรมิต ทรงดำเนินบ้าง
ประทับยืนบ้าง ประทับนั่งบ้าง.
พระพุทธเนรมิต ทรงดำเนิน พระผู้มีพระภาคเจ้า
ประทับยืนบ้าง ประทับนั่งบ้าง บรรทมบ้าง. พระ-
พุทธเนรมิตประทับยืน พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ทรงดำ-
เนินบ้าง ประทับนั่งบ้าง บรรทมบ้าง พระพุทธเนรมิต
ประทับนั่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงดำเนินบ้างประทับ
ยืนบ้าง บรรทมบ้าง พระพุทธเนรมิตบรรทม พระผู้
มีพระภาคเจ้าก็ทรงดำเนินบ้าง ประทับยืนบ้าง ประทับ
นั่งบ้าง. นี้พึงทราบว่าญาณในยมกปาฏิหาริย์ของ
พระตถาคต.

ออฟไลน์ ตถตา

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นไม้เล็กพริ้วไหวดั่งสายลม
  • *
  • กระทู้: 326
  • พลังกัลยาณมิตร 154
    • ดูรายละเอียด
Re: มธุรัตถวิลาสินี
« ตอบกลับ #21 เมื่อ: ธันวาคม 13, 2010, 07:21:58 pm »
แต่พึงทราบว่า ที่ท่านกล่าวว่าลำไฟแลบออกจากพระกายเบื้องล่าง ท่อ
น้ำไหลออกจากพระกายเบื้องบน ดังนี้ ก็เพื่อแสดงว่า ลำไฟแลบออกจากพระ

กายเบื้องบน ของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ก็โดยเตโชกสิณสมาบัติ ท่อน้ำไหล

ออกจากพระกายเบื้องล่าง ก็โดยอาโปกสิณสมาบัติ เพื่อแสดงอีกว่า ลำไฟ

ย่อมแลบออกไปจากที่ ๆ ท่อน้ำไหลออกไป ท่อน้ำก็ไหลออกไปจากที่ ๆ ลำไฟ

แลบออกไป. แม้ในบทที่เหลือก็นัยนี้เหมือนกัน. ในข้อนี้ลำไฟก็ไม่ปนกับท่อ

น้ำ ท่อน้ำก็ไม่ปนกับลำไฟเหมือนกัน. ส่วนบรรดารัศมีทั้งหลาย รัศมีที่สอง ๆ

ย่อมแล่นไปในขณะเดียวกัน เหมือนเป็นคู่กับรัศมีต้น ๆ. ก็ธรรมดาว่าจิตสอง

ดวงจะเป็นไปในขณะเดียวกันย่อมไม่มี. แต่สำหรับพระพุทธเจ้าทั้งหลาย รัศมี

เหล่านี้ ย่อมแลบออกไปเหมือนในขณะเดียวกัน เพราะทรงเป็นผู้เชี่ยวชาญ

โดยอาการ ๕ เหตุการพักแห่งภวังคจิตเป็นไปรวดเร็ว. แต่การนึกการบริกรรม

และการอธิษฐานรัศมีนั้น เป็นคนละส่วนกันทีเดียว. จริงอยู่ เมื่อต้องการรัศมี

เขียว พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมทรงเข้านีลกสิณสมาบัติ. เมื่อต้องการรัศมีสีเหลือง

เป็นต้น ก็ย่อมทรงเข้าปีตกสิณสมาบัติเป็นต้น.

พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงทำยมกปาฏิหาริย์อยู่อย่างนี้ ก็ได้เป็น
เหมือนกาลที่เทวดาในหมื่นจักรวาล แม้ทั้งสิ้น ทำการประดับองค์ฉะนั้น.

ด้วยเหตุนั้น ท่านพระสังคีติกาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวว่า

พระศาสดา ผู้สูงสุดในสัตว์ ผู้ยอดเยี่ยม ผู้เป็น
นายกพิเศษ ได้เป็นผู้อันเทวดาและมนุษย์บูชาแล้ว
เป็นผู้มีอานุภาพ มีลักษณะบุญนับร้อย ก็ทรงแสดง
ปาฏิหาริย์มหัศจรรย์.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สตฺตุตฺตโม ได้แก่ ชื่อว่า สัตตุตตมะ
เพราะเป็นผู้สูงสุด ล้ำเลิศ ประเสริฐสุด ในสัตว์ทั้งหมด ด้วยพระคุณทั้งหลาย

มีศีลเป็นต้นของพระองค์ หรือว่าเป็นผู้สูงสุดแห่งสัตว์ทั้งหลาย ชื่อว่าสัตตุตตมะ

ความจริง คำว่า สัตตะ เป็นชื่อของญาณ. ชื่อว่า สัตตุตตมะ เพราะทรง

เป็นผู้ประเสริฐสุด สูงสุด ด้วยพระญาณ [สัตตะ] กล่าวคือทศพลญาณและ

จตุเวสารัชชญาณ อันเป็นอสาธารณญาณนั้น. หรือทรงเป็นสัตว์สูงสุด โดย

ทรงทำยิ่งยวดด้วยพระญาณที่ทรงมีอยู่ ชื่อว่า สัตตุตตมะ. ถ้าเป็นดั่งนั้น ก็ควร

กล่าวโดยปาฐะลง อุตตมะ ศัพท์ไว้ข้างต้นว่า อุตฺตมสตฺโต แต่ความต่างอันนี้

ไม่พึงเห็น โดยบาลีเป็นอันมากไม่นิยมเหมือนศัพท์ว่า นรุตตมะ

ปุริสุตตมะ และ นรวระ เป็นต้น. อีกนัยหนึ่ง ญาณ [สัตตะ]

อันสูงสุด มีแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นชื่อว่า สัตตุตตมะ มีญาณอันสูงสุด.

แม้ในที่นี้ ก็ลง อุตตมะ ศัพท์ไว้ข้างต้น โดยปาฐะลงวิเสสนะไว้ข้าง

ต้นว่า อุตฺตมสตฺโต เหมือนในคำนี้ว่า จิตฺตคู ปทฺธคู เหตุนั้น

ศัพท์นี้จึงไม่มีโทษ. หรือพึงเห็นโดยวิเสสนะทั้งสองศัพท์ เหมือนปาฐะมีว่า

อาหิตคฺคิ เป็นต้น. บทว่า วินายโก ได้เเก่ชื่อว่า วินายกะ เพราะทรง

แนะนำ ทรงฝึกสัตว์ทั้งหลายด้วยอุบายเครื่องแนะนำเป็นอันมาก. บทว่า สตฺถา

ได้แก่ ชื่อว่าศาสดา เพราะทรงพร่ำสอนสัตว์ทั้งหลายตามความเหมาะสม ด้วย

ประโยชน์ปัจจุบันและประโยชน์ภายหน้า. บทว่า อหู แปลว่า ได้เป็นแล้ว.

บทว่า เทวมนุสฺสปูชิโต ความว่า ชื่อว่า เทพ เพราะระเริงเล่นด้วย

กามคุณ ๕ อันเป็นทิพย์. ชื่อว่า มนุษย์ เพราะใจสูง. เทวดาด้วย มนุษย์

ด้วย ชื่อว่าเทวดาและมนุษย์ ผู้อันเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายบูชาแล้ว ชื่อว่า

เทวมนุสสปูชิตะ อันเทวดาและมนุษย์บูชาด้วยการบูชาด้วยดอกไม้เป็นต้น

และการบูชาด้วยปัจจัย [ ๔ ] อธิบายว่า ยำเกรงแล้ว. ถามว่า เพราะเหตุไร

ท่านจึงถือเอาแต่เทวดาและมนุษย์เท่านั้นเล่า สัตว์ทั้งหลายที่เป็นสัตว์เดียรัจฉาน

เช่นช้างชื่ออารวาฬะ กาฬาปลาละ ธนปาละ ปาลิเลยยกะ เป็นต้นก็มี ที่เป็น

วินิปาติกะเช่นยักษ์ชื่อสาตาคิระ อาฬวกะ เหมวตะ สูจิโลมะ ขรโลมะเป็นต้น

ก็บูชาพระผู้มีพระภาคเจ้าทั้งนั้น มิใช่หรือ. ตอบว่า ข้อนั้นก็จริงดอก แต่

คำนี้พึงเห็นว่า ท่านกล่าวโดยกำหนดอย่างอุกฤษฏ์ และโดยกำหนดเฉพาะ

ภัพพบุคคล. บทว่า มหานุภาโว ได้แก่ ผู้ประกอบแล้วด้วยพระพุทธานุภาพ

ยิ่งใหญ่. บทว่า สตปุญฺญลกฺขโณ ความว่า สัตว์ทั้งหมดในอนันตจักรวาล

พึงทำบุญกรรมอย่างหนึ่งๆ ตั้งร้อยครั้ง พระโพธิสัตว์ลำพังพระองค์เอง ก็ทำ

กรรมที่ชนทั้งหลายมีประมาณเท่านั้นทำแล้วเป็นร้อยเท่าจึงบังเกิด เพราะฉะนั้น

ท่านจึงเรียกว่า สตปุญฺญลกฺขโณ ผู้มีลักษณะบุญนับร้อย. แต่อาจารย์บาง

พวกกล่าวว่า ทรงมีลักษณะอย่างหนึ่งๆ ที่บังเกิดเพราะบุญกรรมเป็นร้อยๆ

คำนั้นท่านคัดค้านไว้ในอรรถกถาว่า เมื่อเป็นเช่นนั้น ผู้ใดผู้หนึ่งก็พึงเป็น

พระพุทธเจ้าได้น่ะสิ. บทว่า ทสฺเสสิ ความว่า ทรงแสดงยมกปาฏิหาริย์ที่ทำ

ความประหลาดใจยิ่ง แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งปวง.


ออฟไลน์ ตถตา

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นไม้เล็กพริ้วไหวดั่งสายลม
  • *
  • กระทู้: 326
  • พลังกัลยาณมิตร 154
    • ดูรายละเอียด
Re: มธุรัตถวิลาสินี
« ตอบกลับ #22 เมื่อ: ธันวาคม 13, 2010, 07:22:53 pm »
ครั้งนั้น พระศาสดาครั้นทรงทำปาฏิหาริย์ในอากาศแล้ว ทรงตรวจดู
อาจาระทางจิตของมหาชน มีพระพุทธประสงค์จะทรงจงกรมพลาง ตรัส

ธรรมกถาพลาง ที่เกื้อกูลแก่อัธยาศัยของมหาชนนั้น จึงทรงเนรมิต รัตนจง-

กรมที่สำเร็จด้วยรัตนะทั้งหมด กว้างเท่าหมื่นจักรวาลในอากาศ ด้วยเหตุนั้น

ท่านพระสังคีติกาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวว่า

พระศาสดาพระองค์นั้นเป็นผู้มีพระจักษุ สูงสุดใน
นรชน ผู้นำโลก อันเทวดาผู้ประเสริฐทูลอ้อนวอนแล้ว
ทรงพิจารณาถึงประโยชน์แล้ว ในครั้งนั้น จึงทรงเนร-
มิตที่จงกรม อันสร้างด้วยรัตนะทั้งหมดสำเร็จลงด้วยดี.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โส ได้แก่ พระศาสดาพระองค์นั้น. บทว่า
ยาจิโต ความว่า ถูกทูลอ้อนวอนขอให้ทรงแสดงธรรมในสัปดาห์ที่แปด เป็น

ครั้งแรกทีเดียว. บทว่า เทววเรน ได้แก่ อันท้าวสหัมบดีพรหม. ในคำว่า

จกฺขุมา นี้. ชื่อว่าเป็นผู้มีพระจักษุ เพราะทรงเห็น อธิบายว่า ทรงเห็น

แจ่มแจ้งซึ่งที่เรียบและไม่เรียบ.

ก็จักษุนั้นมี ๒ อย่างคือ ญาณจักษุและมังสจักษุ. บรรดาจักษุทั้งสอง
นั้น ญาณจักษุมี ๕ อย่างคือ พุทธจักษุ ธันมจักษุ สมันตจักษุ ทิพพจักษุ

ปัญญาจักษุ.

บรรดาจักษุทั้ง ๕ นั้น ญาณที่หยั่งรู้อาสยะและอนุสยะ และญาณที่
หยั่งรู้ความหย่อนและยิ่งแห่งอินทรีย์ ซึ่งมาในบาลีว่า ทรงตรวจดูโลกด้วย

พระพุทธจักษุ ชื่อว่า พุทธจักษุ.

มรรค ๓ ผล ๓ เบื้องต่ำ ที่มาในบาลีว่า ธรรมจักษุที่ปราศจากกิเลส
ดุจธุลี ปราศจากมลทินเกิดขึ้นแล้วชื่อว่า ธัมมจักษุ. พระสัพพัญญุตญาณที่มา

ในบาลีว่า ข้าแต่พระผู้มีปัญญาดี ผู้มีจักษุโดยรอบ โปรดเสด็จขึ้นสู่ปราสาทที่

สำเร็จด้วยธรรม ก็อุปมาฉันนั้นเถิด ชื่อว่า สมันตจักษุ.

ญาณที่ประกอบพร้อมด้วยอภิญญาจิตที่เกิดขึ้น ด้วยการเจริญอาโลก-
กสิณสมาบัติ ที่มาในบาลีว่า ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ชื่อว่า ทิพพจักษุ.

ญาณที่มาแล้วว่า ปัญญาจักษุ มีปุพเพนิวาสญาณเป็นต้นที่มาในบาลีนี้ว่า จักษุ

เกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ชื่อว่า ปัญญาจักษุ.

มังสจักษุเป็นที่อาศัยของประสาท ที่มาในบาลีนี้ว่าอาศัยจักษุและรูปดังนี้
ชื่อว่า มังสจักษุ. ก็มังสจักษุนั้นมี ๒ คือ สสัมภารจักษุ ปสาทจักษุ. บรรดา

จักษุทั้ง ๒ นั้น ชิ้นเนื้อนี้ใด อันชั้นตาทั้งหลายล้อมไว้ในเบ้าตา ในชิ้น

เนื้อใด มีส่วนประกอบ ๑๓ ส่วนโดยสังเขป คือ ธาตุ ๔ สี กลิ่น รส โอชะ

สัมภวะ ชีวิต ภาวะ จักษุประสาท กายประสาท แต่โดยพิศดาร มีส่วน

ประกอบ คือ สมุฏฐาน ๔ ที่ชื่อว่า สัมภวะ สมุฏฐาน ๓๖ และกัมมสมุฏ-

ฐาน ๔ คือ ชีวิต ภาวะ จักษุประสาท กายประสาทอันนี้ ชื่อว่า สสัมภาร-

จักษุ. จักษุใดตั้งอยู่ในวงกลม ' เห็น ' [เล็นซ์] ซึ่งถูกวงกลมคำอันจำกัดด้วย

วงกลมขาวล้อมไว้ เป็นเพียงประสาทสามารถเห็นรูปได้ จักษุนี้ ชื่อว่าปสาท-

จักษุ.

ก็จักษุเหล่านั้นทั้งหมด มีอย่างเดียว โดยความไม่เที่ยง โดยมีปัจจัย
ปรุงแต่ง. มี ๒ อย่าง โดยเป็นไปกับอาสวะ และไม่เป็นไปกับอาสวะ, โดย

โลกิยะและโลกุตระ. จักษุมี ๓ อย่าง โดย ภูมิ โดย อุปาทินนติกะ, มี ๔

อย่างโดย เอกันตารมณ์ ปริตตารมณ์ อัปปมาณารมณ์และอนิยตารมณ์. มี

๕ อย่าง คือ รูปารมณ์ นิพพานารมณ์ อรุปารมณ์ สัพพารมณ์และอนารัมม-

ณารมณ์. มี ๖ อย่าง ด้วยอำนาจพุทธจักษุเป็นต้น จักษุดังกล่าวมาเหล่านี้ มีอยู่

แก่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าท่านจึงเรียก

ว่า จักขุมา ผู้มีพระจักษุ.

บทว่า อตฺถํ สเมกฺขิตฺวา ความว่า ทรงเนรมิตที่จงกรม อธิบายว่า
ทรงพิจารณาใคร่ครวญถึงประโยชน์เกื้อกูลแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย อัน

เป็นนิมิตแห่งการทรงแสดงธรรม. บทว่า มาปยิ แปลว่า ทรงเนรมิต. บทว่า

โลกนายโก ได้แก่ ทรงชื่อว่าผู้นำโลก เพราะทรงแนะนำสัตว์โลกมุ่งหน้าตรง

ต่อสวรรค์และนิพพาน. บทว่า สุนิฏฺฐิตํ แปลว่า สำเร็จด้วยดี อธิบายว่าจบ

สิ้นแล้ว. บทว่า สพฺพรตนนิมฺมิตํ ได้แก่ สำเร็จด้วยรัตนะ ๑๐ อย่าง. บัดนี้

เพื่อแสดงความถึงพร้อมด้วยปาฏิหาริย์ ๓ อย่างของพระผู้มีพระภาคเจ้า ท่าน

พระสังคีติกาจารย์จึงกล่าวว่า

พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้นำโลก ทรงเชี่ยวชาญใน
ปาฏิหาริย์ ๓ คือ อิทธิปาฏิหาริย์ อาเทศนาปาฏิหาริย์
และอนุสาสนีปาฏิหาริย์ จึงทรงเนรมิตที่จงกรม อัน
สร้างสรรด้วยรัตนะทั้งหมด สำเร็จลงด้วยดี.

ออฟไลน์ ตถตา

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นไม้เล็กพริ้วไหวดั่งสายลม
  • *
  • กระทู้: 326
  • พลังกัลยาณมิตร 154
    • ดูรายละเอียด
Re: มธุรัตถวิลาสินี
« ตอบกลับ #23 เมื่อ: ธันวาคม 13, 2010, 07:23:47 pm »
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อิทฺธึ ได้แก่ การแสดงฤทธิ์ ชื่อว่า
อิทธิปาฏิหารย์, อิทธิปาฏิหาริย์นั้น มาโดยนัยเป็นต้นว่า แม้คนเดียว

ก็เป็นมากคนบ้าง แม้มากคน ก็เป็นคนเดียวได้บ้าง. บทว่า อาเทสนา

ได้แก่ การรู้อาจาระทางจิตของผู้อื่นแล้วกล่าว ชื่อว่า อาเทสนาปาฏิหาริย์.

อาเทสนาปาฏิหาริย์นั้น ก็คือการแสดงธรรมเป็นประจำของพระสาวกทั้งหลาย

และของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย. บทว่า อนุสาสนี ก็คือ อนุสาสนีปาฏิหาริย์

อธิบายว่า โอวาทอันเกื้อกูลแก่อัธยาศัยของมหาชนนั้น ๆ. ปาฏิหาริย์ ๓ เหล่า

นี้ มีดังกล่าวมาฉะนี้. บรรดาปาฏิหาริย์ ๓ เหล่านั้น อนุสาสนีปาฏิหาริย์ด้วย

อิทธิปาฏิหาริย์ เป็นอาจิณปฏิบัติของท่านพระโมคคัลลานะ. อนุสาสนีปาฏิหาริย์

ด้วยอาเทสนาปาฏิหาริย์ เป็นอาจิณปฏิบัติของท่านพระธรรมเสนาบดี [สารีบุตร].

ส่วนอนุสาสนีปาฏิหาริย์ เป็นการแสดงธรรมเป็นประจำของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย.

บทว่า ติปาฏิหีเร ความว่า ในปาฏิหาริย์ ๓ เหล่านั้น. คำว่า ภควา นี้

เป็นชื่อของท่านผู้ควรคารวะอย่างหนัก ผู้สูงสุดในสัตว์ ประเสริฐด้วยพระคุณ

สมจริงดังที่ท่านโบราณาจารย์กล่าวไว้ว่า

ภควาติ วจนํ เสฏฺฐํ ภควาติ วจนมุตฺตมํ
คุรคารวยุตฺโต โส ภควา เตน วุจฺจติ.
คำว่า ภควา เป็นคำประเสริฐสุด คำว่า ภควา
เป็นคำสูงสุด ท่านผู้ควรแก่คารวะอย่างหนักพระองค์นั้น
ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงเรียกว่า ภควา.
บทว่า วสี ได้แก่ ผู้ถึงความเป็นผู้ชำนาญในปาฏิหาริย์ ๓ อย่างนี้.
อธิบายว่า ความชำนาญที่สั่งสมไว้. วสี ๕ คือ อาวัชชนวสี สมาปัชชนวสี

อธิษฐานวสี วุฏฐานวสี และปัจจเวกขณวสี ชื่อว่า วสี.

บรรดาวสีเหล่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงนึกถึงฌานใด ๆ ตามความ
ปรารถนา ตามเวลาปรารถนา เท่าที่ปรารถนา ความเนิ่นช้าในการนึกไม่มีเลย

เหตุนั้น ความที่ทรงสามารถนึกได้เร็ว จึงชื่อว่า อาวัชชนวสี. ทรงเข้าฌาน

ใด ๆ ตามความปรารถนา ฯลฯ ก็เหมือนกัน ความเนิ่นช้าในการเข้าฌานไม่มี

เลย เหตุนั้น ความที่ทรงสามารถเข้าฌานได้เร็ว จึงชื่อว่า สมาปัชชนวสี.

ความที่ทรงตั้งอยู่ได้ตลอดกาลนาน ชื่อว่า อธิษฐานวสี. ความที่ทรงสามารถ

ออกจากฌานได้เร็วก็เหมือนกัน ชื่อว่า วุฏฐานวสี. ส่วนปัจจเวกขณวสี ย่อม

เป็นปัจเจกขณชวนะจิตทั้งนั้น ปัจจเวกขณชวนะจิตเหล่านั้น ย่อมเกิดขึ้นใน

ลำดับต่อจากอาวัชชนจิตนั่นแล เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวไว้โดยอาวัชชวสีเท่านั้น

ความที่ทรงเป็นผู้เชี่ยวชาญในวสี ๕ เหล่านี้ ย่อมชื่อว่าทรงเป็นผู้ชำนาญ ด้วย

ประการฉะนี้ ด้วยเหตุนั้น ท่านพระสังคีติกาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวว่า พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าทรงเป็นผู้ชำนาญในปาฏิหาริย์ ๓ ดังนี้.

บัดนี้ เมื่อจะแสดงวิธีเนรมิตรัตนจงกรมนั่น ท่านจึงกล่าวคาถาเป็นต้น
ว่า

จึงทรงแสดงยอดสิเนรุบรรพต ในหมื่นโลกธาตุ
เป็นประหนึ่งเสาตั้งเรียงรายกันเป็นรัตนจงกรม ที่จง-
กรมสำเร็จด้วยรัตนะ.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทสสหสฺสีโลกธาตุยา ได้แก่ ในหมื่น
จักรวาล. บทว่า สิเนรุปพฺพตุตฺตเม ได้แก่ ทรงทำภูเขาอันประเสริฐสุด

ที่เรียกกันว่ามหาเมรุ. บทว่า ถมฺเภว ความว่า ทรงทำสิเนรุบรรพตใน

หมื่นจักรวาล ให้เป็นประหนึ่งเสาตั้งอยู่เรียงรายเป็นระเบียบ ทรงทำให้เป็นดัง

เสาทองแล้วทรงเนรมิตที่จงกรมเบื้องบนเสาเหล่านั้นแสดงแล้ว. บทว่า รตนาม-

เย ก็คือ รตนมเย แปลว่า สำเร็จด้วยรัตนะ.

บทว่า ทสสหสฺสี อติกฺกมฺม ความว่า ก็พระผู้มีพระภาคเจ้า
เมื่อทรงเนรมิตรัตนจงกรม ก็ทรงเนรมิต ทำปลายข้างหนึ่งของรัตนจงกรมนั้น

ตั้งล้ำขอบปากจักรวาลด้านทิศตะวันออกท้ายสุดทั้งหมด ทำปลายอีกข้างหนึ่ง

ตั้งล้ำขอบปากจักรวาลด้านทิศตะวันตก. ด้วยเหตุนั้น ท่านพระสังคีติกาจารย์

ทั้งหลายจึงกล่าวว่า

พระชินพุทธเจ้า ทรงเนรมิตรัตนจงกรมล้ำหมื่น
โลกธาตุ ตัวจงกรมเป็นรัตนะ พื้นที่สองข้างเป็นทอง
หมด.

ออฟไลน์ ตถตา

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นไม้เล็กพริ้วไหวดั่งสายลม
  • *
  • กระทู้: 326
  • พลังกัลยาณมิตร 154
    • ดูรายละเอียด
Re: มธุรัตถวิลาสินี
« ตอบกลับ #24 เมื่อ: ธันวาคม 13, 2010, 07:24:51 pm »
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ชิโน ได้แก่ ชื่อว่า ชินะ เพราะทรง
ชนะข้าศึกคือกิเลส. บทว่า สพฺพโสณฺณมยา ปสฺเส ความว่า ที่สองข้าง

ของที่จงกรมที่ทรงเนรมิตนั้น มีพื้นที่อันเป็นขอบคันเป็นทองน่ารื่นรมย์อย่างยิ่ง.

อธิบายว่า ตรงกลางเป็นแก้วมณี.

บทว่า ตุลาสงฺฆาฏา ได้แก่ จันทันคู่. จันทันคู่นั้นพึงทราบว่า
ก็เป็นรัตนะต่าง ๆ. บทว่า อนุวคฺคา ได้แก่ สมควร. บทว่า โสวณฺณ-

ผลกตฺถตา แปลว่า ปูด้วยแผ่นกระดานที่เป็นทอง. อธิบายว่า หลังคาไม้

เลียบที่เป็นทอง เบื้องบนจันทันขนาน. บทว่า เวทิกา สพฺพโสวณฺณา

ความว่า ไพรที [ชุกชี] ก็เป็นทองทั้งหมด ส่วนไพรที่ล้อมที่จงกรม ก็มี

ไพรที่ทองอย่างเดียว ไม่ปนกับรัตนะอื่นๆ. บทว่า ทุภโต ปสฺเสสุ นิมฺมิตา

แปลว่า เนรมิตที่ทั้งสองข้าง. ท อักษรทำบทสนธิต่อบท.

บทว่า มณิมุตฺตาวาลุกากิณฺณา แปลว่า เรี่ยรายด้วยทรายที่เป็น
แก้วมณีและแก้วมุกดา. อีกนัยหนึ่ง แก้วมณีด้วย แก้วมุกดาด้วย ทรายด้วย

ชื่อว่า แก้วมณีแก้วมุกดาและทราย. เรี่ยรายคือลาดด้วยแก้วมณีแก้วมุกดาและ

ทรายเหล่านั้น เหตุนั้น จึงชื่อว่าเรี่ยรายด้วยแก้วมณีแก้วมุกดาและทราย.

บทว่า นิมฺมิโต ได้แก่ เนรมิต คือทำด้วยอาการนี้. บทว่า รตนามโย

ได้แก่ สำเร็จด้วยรัตนะทั้งหมด. อธิบายว่าที่จงกรม. บทว่า โอภาเสติ ทิสา

สพฺพา ความว่า ส่องสว่างกระจ่างตลอดทั่วทั้ง ๑๐ ทิศ. บทว่า สตรํสีว

ได้แก่ เหมือนดวงอาทิตย์พันแสงฉะนั้น . บทว่าอุคฺคโต แปลว่า อุทัยแล้ว

อธิบายว่า ก็ดวงอาทิตย์ [พันแสง] อุทัยขึ้นแล้วย่อมส่องแสงสว่างตลอดทั่วทั้ง

๑๐ ทิศฉันใด ที่จงกรมที่เป็นรัตนะทั้งหมดแม้นี้ ก็ส่องสว่างฉันนั้นเหมือนกัน.

บัดนี้ เมื่อที่จงกรมสำเร็จแล้ว เพื่อแสดงความเป็นไปของพระผู้มี-
พระภาคเจ้า ณ ที่จงกรมนั้น ท่านพระสังคีติกาจารย์ทั้งหลาย จึงกล่าวคาถาว่า

พระชินสัมพุทธเจ้าจอมปราชญ์ ผู้ทรงพระมหา-
ปุริสลักษณะ ๓๒ ประการ เมื่อทรงรุ่งโรจน์ ณ ที่
จงกรมนั้น ก็เสด็จจงกรม ณ ที่จงกรม.
เทวดาทั้งหมดมาประชุมกัน พากันโปรยดอก
มณฑารพ ดอกปทุม ดอกปาริฉัตตกะ อันเป็นของ
ทิพย์ลงเหนือที่จงกรม.
หมู่เทพในหมื่นโลกธาตุ ก็บันเทิง พากันชม
พระสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ต่างยินดีร่าเริงบันเทิงใจ
พากันมาชุมนุมนมัสการ.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ธีโร ได้แก่ ผู้ประกอบด้วยธิติปัญญา.
บทว่า ทฺวตฺตึสวรลกฺขโณ ความว่า ผู้ทรงประกอบด้วยพระมหาปุริสลักษณะ

๓๒ ประการ มีฝ่าพระบาทตั้งลงด้วยดี. บทว่า ทิพฺพํ ได้แก่ ดอกไม้ที่เกิดใน

เทวโลก ชื่อว่าของทิพย์. บทว่า ปาริฉัตตกะ ความว่า ต้นปาริฉัตตกะที่น่าชม

อย่างยิ่ง ขนาดร้อยโยชน์โดยรอบ บังเกิดเพราะผลบุญแห่งการถวายต้นทองหลาง

ของทวยเทพชั้นดาวดึงส์. เมื่อปาริฉัตตกะต้นใดออกดอกบานแล้ว ทั่วทั้งเทพ-

นครจะอบอวลด้วยกลิ่นหอมเป็นอย่างเดียวกัน. วิมานทองใหม่ทั้งหลาย ที่

กลาดเกลื่อนด้วยละอองดอกของปาริฉัตตกะต้นนั้น จะปรากฏเป็นสีแดงเรื่อ ๆ.

และดอกของต้นปาริฉัตตกะนี้ ท่านเรียกว่า ปาริฉัตตกะ. บทว่า จงฺกมเน

โอกิรนฺติ ความว่า ย่อมโปรยลง ณ ที่รัตนจงกรมนั้น บูชาพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้า ซึ่งกำลังเสด็จจงกรม ณ ที่จงกรมนั้น ด้วยดอกไม้ดังกล่าวนั้น. บทว่า

สพฺเพ เทวา ได้แก่ เทวดาทั้งหลาย มีเทวดาที่เป็นกามาวจรเป็นต้น. ด้วย

เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปสฺสนฺติ ตํ เทวสงฺฆา หมู่เทพทั้งหลายก็พากัน

ชมพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น. อธิบายว่า หมู่เทพพากันชมพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าพระองค์นั้น ซึ่งเสด็จจงกรม ณ รัตนจงกรม แม้ในสุราลัยทั้งหลายของ

ตนเอง. บทว่า ทสสหสฺสี เป็นปฐมาวิภัตติ ลงในอรรถสัตตมีวิภัตติ.

อธิบายว่า หมู่เทพในหมื่นโลกธาตุ ชมพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น. บทว่า

ปโมทิตา แปลว่า บันเทิงแล้ว . บทว่า นิปตนฺติ ได้แก่ ประชุมกัน.

บทว่า ตุฏฺฐหฏฺฐา ได้แก่ ยินดีร่าเริง .ด้วยอำนาจปีติ พึงเห็นการเชื่อม

ความ บทว่า ปโมทิตา ว่า บันเทิงกับเทวดาทั้งหลาย มีเทวดาชั้นดาว-

ดึงส์เป็นต้น ที่พึงกล่าว ณ บัดนี้. การเชื่อมความนอกจากนี้ ก็ไม่พ้นโทษคือ

การกล่าวซ้ำ. อีกอย่างหนึ่ง ความว่า เทวดาทั้งหลายบันเทิงแล้ว ชมพระผู้-

มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ยินดีร่าเริงบันเทิงใจแล้ว ก็พากันประชุม ณ ที่

นั้น ๆ.

บัดนี้ เพื่อแสดงถึงเหล่าเทพที่ชมที่ประชุมกันโดยสรุป ท่านพระสังคี-
ติกาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวคาถาเหล่านี้ว่า

เหล่าเทวดาชั้นดาวดึงส์ เทวดาชั้นยามา เทวดา
ชั้นดุสิต เทวดาชั้นนิมมานรดี เทวดาชั้นปรนิมมิต-
วสวัตดี มีจิตโสมนัสมีใจดีพากันชมพระผู้นำโลก.
เหล่านาค สุบรรณและเหล่ากินนรพร้อมทั้งเทพ
คนธรรพ์มนุษย์และรากษส พากันชมพระผู้มีพระภาค-
เจ้า ผู้ทรงเกื้อกูลและอนุเคราะห์โลกพระองค์นั้น
เหมือนชมดวงจันทร์ซึ่งโคจร ณ ท้องนภากาศฉะนั้น.
เหล่าเทวดาชั้นอาภัสสระ ชั้นสุภกิณหะ ชั้น
เวหัปผลา และชั้นอกนิฏฐะ ทรงครองผ้าขาวสะอาด
พากันยืนประคองอัญชลี.
พากันโปรย ดอกมณฑารพ ๕ สี ประสมกับ
จุรณจันทน์ โบกผ้าทั้งหลาย ณ ภาคพื้นอัมพรในครั้ง
นั้น อุทานว่า โอ ! พระชินเจ้า ผู้เกื้อกูลและอนุเคราะห์
โลก.

ออฟไลน์ ตถตา

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นไม้เล็กพริ้วไหวดั่งสายลม
  • *
  • กระทู้: 326
  • พลังกัลยาณมิตร 154
    • ดูรายละเอียด
Re: มธุรัตถวิลาสินี
« ตอบกลับ #25 เมื่อ: ธันวาคม 13, 2010, 07:25:39 pm »
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุทคฺคจิตฺตา ได้แก่ ผู้มีจิตเบิกบานด้วย
อำนาจปีติโสมนัส. บทว่า สุมนา ได้แก่ ผู้มีใจดี เพราะเป็นผู้มีจิตเบิกบาน.

บทว่า โลกหิตานุกมฺปกํ ได้แก่ ผู้เกื้อกูลโลก และผู้อนุเคราะห์โลก หรือ

ผู้อนุเคราะห์ด้วยประโยชน์เกื้อกูลแก่โลก ชื่อว่าโลกหิตานุกัมปกะ. บทว่า นเภว

อจฺจุคฺคตจนฺทมณฺฑลํ ความว่า พากันชมพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้รุ่งโรจน์

ด้วยพุทธสิริ ที่ทำความชื่นมื่นแก่ดวงตา เหมือนชมดวงจันทร์ในฤดูสารทที่

พ้นจากอุปัทวะทั้งปวง เต็มดวง ซึ่งอุทัยใหม่ ๆ ในอากาศนี้.

บทว่า อาภสฺสรา ท่านกล่าวโดยกำหนดภูมิที่สูงสุด. เทพชั้น
ปริตตาภา อัปปมาณาภาแล ะอาภัสสระ ที่บังเกิดด้วยทุติยฌาน อันต่างโดย

กำลังน้อย ปานกลางและประณีต พึงทราบว่าท่านถือเอาหมด. บทว่า สุภกิณฺหา

ท่านก็กล่าวไว้โดยกำหนดภูมิที่สูงสุดเหมือนกัน เพราะฉะนั้น เทพชั้น

ปริตตสุภา ชั้นอัปปมาณสุภา และชั้นสุภกิณหะ ที่บังเกิดด้วยตติยฌาน อัน

ต่างโดยกำลังน้อยเป็นต้น ก็พึงทราบว่าท่านถือเอาหมดเหมือนกัน. บทว่า

เวหปฺผลา ได้แก่ ชื่อว่าเวหัปผลา เพราะมีผลไพบูลย์. เทพชั้นเวหัปผลา

เหล่านั้น อยู่ชั้นเดียวกับเทพที่เป็นอสัญญสัตว์ทั้งหลายเพราะเกิดด้วยจตุตถฌาน.

แต่เทพที่นับเนื่องในหมู่พรหมเป็นต้นซึ่งบังเกิดด้วยปฐมฌานท่านแสดงไว้ใน

ภูมิเบื้องต่ำ เพราะฉะนั้นท่านจึงไม่แสดงไว้ในที่นี้. อสัญญสัตว์ และอรูปีสัตว์

ท่านมิได้ยกขึ้นแสดงในที่นี้ เพราะไม่มีจักษุและโสตะ. บทว่า อกนิฏฺฐา จ

เทวตา ท่านกล่าวไว้แม้ในที่นี้ก็โดยกำหนดภูมิสูงสุดเหมือนกัน. เพราะ

ฉะนั้นเทพชั้นสุทธาวาสทั้ง ๕ คืออวิหา อตัปปา สุทัสสา สุทัสสีและอกนิฏฐะ

พึงทราบว่า ท่านก็ถือเอาด้วย. บทว่า สุสุทฺธสุกฺกวตฺถวสนา ความว่า

ผ้าทั้งหลายอันสะอาดด้วยดี คือหมดจดดีอันขาว คือผ่องแผ้ว ผ้าอันขาว

สะอาดดี อันเทพเหล่าใดนุ่งและห่มแล้ว เทพเหล่านั้น ชื่อว่าผู้นุ่งห่มผ้าขาว

อันสะอาดดี อธิบายว่าผู้ครองผ้าขาวบริสุทธิ์ ปาฐะว่า สุสุทฺธสุกฺกวสนา

ดังนี้ก็มี. บทว่า ปญฺชลีกตา ความว่า ยืนประคองอัญชลี คือทำอัญชลีเสมือน

ดอกบัวตูมไว้เหนือเศียร.

บทว่า มุญฺจนฺติ ได้แก่ โปรย. บทว่า ปุปฺผํ ปน ได้แก่ ก็ดอกไม้ ปาฐะ
ว่า ปุปฺผานิ วา ดังนี้ก็มี พึงเห็นว่าเป็นวจนะวิปลาสะ แต่ใจความของคำนั้นก็

อย่างนั้นเหมือนกัน . บทว่า ปญฺจวณฺณิกํ แปลว่า มีวรรณะ ๕. วรรณะ ๕ คือ

สีเขียว เหลือง แดง ขาว และแดงเข้ม. บทว่า จนฺทนจุณฺณมิสฺสิตํ แปลว่า

ประสมด้วยจุรณจันทน์. บทว่า ภเมนฺติ เจลานิ แปลว่า โบกผ้าทั้งหลาย.

บทว่า อโห ชิโน โลกหิตานุกมฺปฺโต ได้แก่ เปล่งคำสดุดีเป็นต้นอย่างนี้ว่า

โอ ! พระชินเจ้าผู้เกื้อกูลโลก โอ ! พระผู้เกื้อกูลอนุเคราะห์โลก โอ ! พระผู้มี

กรุณา. เชื่อมความว่าโปรยดอกไม้ โบกผ้าทั้งหลาย.

บัดนี้ เพื่อจะแสดงคำสดุดีที่เทพเหล่านั้นประกอบแล้ว พระสังคีติกา-
จารย์ทั้งหลาย จึงกล่าวคาถาเหล่านี้ว่า

พระองค์เป็นศาสดา เป็นที่ยำเกรง เป็นธง เป็น
หลัก เป็นที่พำนัก เป็นที่พึ่ง เป็นประทีปของสัตว์มี
ชีวิตทั้งหลาย เป็นผู้สูงสุดในสัตว์สองเท้า.
เทวดาทั้งหลายในหมื่นโลกธาตุผู้มีฤทธิ์ ผู้ยินดี
ร่าเริงบันเทิงใจ ห้อมล้อมนมัสการ.
เทพบุตรและเทพธิดา ผู้เลื่อมใส ยินดีร่าเริง
พากันบูชาพระนราสภ ด้วยดอกไม้ ๕ สี.
หมู่เทพเลื่อมใสยินดีร่าเริงชมพระองค์พากันบูชา
พระนราสภ ด้วยดอกไม้ ๕ สี.
โอ ! น่าปรบมือในโลก น่าประหลาด น่าขนชูชัน
อัศจรรย์ ขนลุก ขนชันเช่นนี้ เราไม่เคยพบ.
เทวดาเหล่านั้นนั่งอยู่ในภพของตน ๆ เห็นความ
อัศจรรย์ในนภากาศ ก็พากันหัวเราะด้วยเสียงดัง.
อากาศเทวดา ภุมมเทวดาและเทวดาผู้ประจำ
ยอดหญ้า และทางเปลี่ยว ก็ยินดีร่าเริงบันเทิงใจ
ประคองอัญชลีนมัสการ.
พวกนาคที่มีอายุยืน มีบุญ มีฤทธิ์ บันเทิงใจแล้ว
ก็พากันนมัสการบูชาพระนราสภ.
เพราะเห็นความอัศจรรย์ในนภากาศ เครื่องสังคีต
ดีดสีทั้งหลายก็บรรเลง เครื่องดนตรีหุ้มหนังก็ประโคม
ในอัมพรภาคพโยมหน.
เพราะเห็นความอัศจรรย์ในนภากาศ สังข์
บัณเฑาะว์และกลองน้อย ๆ เป็นอันมากก็พากันบรรเลง
ในท้องฟ้า.
ในวันนี้ ความที่ขนชูชัน น่าอัศจรรย์เกิดขึ้น
แล้วหนอ เราจักได้ความสำเร็จ ประโยชน์แน่แท้ เรา
ได้ขณะกันแล้ว.
เพราะได้ยินว่า พุทฺโธ เทพเหล่านั้นก็เกิดปีติใน
ทันใด พากันยืนประคองอัญชลี กล่าวว่า พุทฺโธ
พุทฺโธ.
หมู่เทพต่างๆ ในท้องฟ้า พากันประคองอัญชลี
เปล่งเสียง หึ หึ เปล่งเสียงสาธุ โห่ร้องเอิกอึงลิงโลด
ใจ.
เทพทั้งหลาย พากันขับกล่อมประสานเสียง
บรรเลง ปรบมือ และฟ้อนรำ โปรยดอกมณฑารพ
๕ สี ประสมกับจุรณจันทน์.
ข้าแต่พระมหาวีระ ด้วยประการไรเล่า ลักษณะ
จักร ที่พระบาททั้งสองของพระองค์ จึงประดับด้วย
ธง วชิระ ประฏาก เครื่องแต่งพระองค์ ขอช้าง.

ออฟไลน์ ตถตา

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นไม้เล็กพริ้วไหวดั่งสายลม
  • *
  • กระทู้: 326
  • พลังกัลยาณมิตร 154
    • ดูรายละเอียด
Re: มธุรัตถวิลาสินี
« ตอบกลับ #26 เมื่อ: ธันวาคม 13, 2010, 07:26:41 pm »
แก้อรรถ
ในคาถานั้น ที่ชื่อว่าสตฺถาพระศาสดา เพราะทรงสอนประโยชน์
เกื้อกูลในโลกนี้และโลกหน้า. บทว่า เกตุ ได้แก่ ชื่อว่าเกตุ เพราะทรงเป็น

เหมือนธง เพราะอรรถว่า ธงพึงเป็นของที่พึงยำเกรง. บทว่า ธโช ได้แก่

เป็นธงองค์อินทร์ พระองค์ทรงเป็นเหมือนธง เพราะอรรถว่ายกขึ้น และเพราะ

อรรถว่าน่าชม เหตุนั้นจึงชื่อว่าเป็น ธชะ ธง. อีกนัยหนึ่ง เหมือนอย่างว่าเข้า

เห็นธงของผู้หนึ่งผู้ใด ก็รู้ว่า นี้ธงของผู้มีชื่อนี้ เหตุนั้นผู้นี้ชื่อว่าผู้มีธง คือ

ธชี ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ธโช ยูโป จ อธิบายว่า พระองค์ทรงเป็น

หลัก ที่เขายกขึ้น เพื่อบูชายัญทั้งหลายทั้งปวง ที่มีทานเป็นต้นมีอาสวักขยญาน

เป็นที่สุด ดังที่ตรัสไว้ในกูฏทันตสูตร. บทว่า ปรายโน ได้แก่ เป็นที่พำนัก.

บทว่า ปติฏฺฐา ได้แก่ แม้พระองค์ก็ทรงเป็นที่พึ่ง เหมือนแผ่นมหาปฐพี เป็น

ที่พึ่งพาอาศัย เพราะเป็นที่รองรับสัตว์ทั้งหลายทั้งปวงฉะนั้น.

บทว่า ทีโป จ ได้แก่ เป็นประทีป. อธิบายว่าประทีปที่เขายกขึ้น
สำหรับสัตว์ทั้งหลายที่อยู่ในความมืดมีองค์ ๔ ย่อมส่องให้เห็นรูป ฉันใด พระองค์

ก็ทรงเป็นประทีปส่องให้เห็นปรมัตถธรรม สำหรับเหล่าสัตว์ที่อยู่ในความมืดคือ

อวิชชาฉันนั้น. อีกนัยหนึ่ง แม้พระองค์ก็ทรงเป็นเหมือนเกาะ ของสัตว์

ทั้งหลายผู้จมลงในสาครคือสังสารวัฏอันเป็นที่พึ่งไม่ได้ เหมือนเกาะกลาง

สมุทร เป็นที่พึ่งของสัตว์ทั้งหลาย ที่เรืออัปปางในมหาสมุทรฉะนั้น เหตุนั้น

จึงชื่อว่า ทีปะ เป็นเกาะ.

บทว่า ทฺวิปทุตฺตโม ได้แก่ ผู้สูงสุดแห่งสัตว์สองเท้า ชื่อว่า ทวิป-
ทุตตมะ. ในคำนี้ ไม่คัดค้านฉัฏฐีสมาส เพราะไม่มีลักษณะแห่งนิทธารณะ จึง

สำเร็จรูปเป็นสมาสแห่งฉัฏฐีวิภัตติที่มีนิทธารณะเป็นลักษณะ. ถ้าจะพึงมีคำถาม

ว่า ก็พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงเป็นผู้สูงสุดแห่งสัตว์ทั้งหลายที่ไม่มีเท้า มีสอง

เท้า มีสี่เท้า มีเท้ามาก มีรูป ไม่มีรูป มีสัญญา ไม่มีสัญญา ที่มีสัญญาก็

ไม่ใช่ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ แต่เพราะเหตุไร ในที่นี้ท่านจึงกล่าวว่าสูงสุดแห่ง

สัตว์สองเท้าเล่า พึงตอบว่า โดยเหตุที่ทรงเป็นผู้ประเสริฐกว่า. จริงอยู่

ธรรมดาผู้ประเสริฐสุดโนโลกนี้เมื่อเกิด ย่อมไม่เกิดในประเทศของสัตว์ไม่มีเท้า

และสัตว์สี่เท้า ท่านผู้นี้ย่อมเกิดในเหล่าสัตว์สองเท้าเท่านั้น ถามว่า ในเหล่า

สัตว์สองเท้าประเภทไร. ตอบว่าในเหล่ามนุษย์และเทวดาทั้งหลาย. เมื่อเกิดใน

เหล่ามนุษย์ย่อมบังเกิดเป็นพระพุทธเจ้า ผู้สามารถทำสามพันโลกธาตุ มากพัน

โลกธาตุให้อยู่ในอำนาจได้ เมื่อเกิดในเหล่าเทวดาย่อมบังเกิดเป็นท้าวมหา-

พรหม ซึ่งมีอำนาจในหมื่นโลกธาตุได้. ท้าวมหาพรหมนั้น ย่อมพร้อมที่จะ

เป็นกัปปิยการกหรืออารามิกของพระพุทธเจ้านั้น ดังนั้นพระพุทธเจ้าท่านจึง

เรียกว่าสูงสุดแห่งสัตว์สองเท้า โดยเหตุที่ทรงเป็นผู้ประเสริฐกว่าท้าวมหาพรหม

แม้นั้น.

บทว่า ทสสหสฺสีโลกธาตุยา ได้แก่ โลกธาตุที่นับได้หมื่นหนึ่ง.
บทว่า มหิทฺธิกา ได้แก่ ประกอบด้วยฤทธิ์อย่างใหญ่. อธิบายว่ามีอานุภาพมาก.

บทว่า ปริวาเรตฺวา ได้แก่ ห้อมล้อมพระผู้มีพระภาคเจ้าโดยรอบ. บทว่า

ปสนฺนา ได้แก่ เกิดศรัทธา. บทว่า นราสภํ ได้แก่ทรงเป็นผู้ประเสริฐสุด

ในนรชน. ในบทว่า อโห อจฺฉริยํ นี้ ชื่อว่า อัจฉริยะ เพราะไม่มีเป็นนิตย์

เหมือนอย่างคนตาบอดขึ้นเขา หรือชื่อว่า อัจฉริยะ เพราะควรแก่การปรบ

มือ. อธิบายว่า ควรเพื่อปรบมือว่า โอ ! นี้น่าประหลาดจริง. บทว่า อพฺภุตํ

ได้แก่ ไม่เคยเป็น ไม่เป็นแล้ว เหตุนั้นจึงชื่อ อัพภุตะ. แม้สองคำนี้ก็เป็นชื่อ

ของความประหลาดใจ. บทว่า โลมหํสนํ ได้แก่ ทำความที่โลมชาติมีปลาย

ขึ้น [ชูชัน]. บทว่า น เมทิสํ ภูตปุพฺพํ ความว่า เรื่องที่ไม่เคยเป็น ไม่

เป็นเช่นนี้ เราไม่เคยเห็น. พึงนำคำว่า ทิฏฺฐํ เห็น มาประกอบไว้ด้วย.

บทว่า อจฺเฉรกํ แปลว่า อัศจรรย์.

บทว่า สกสกมฺหิ ภวเน ได้แก่ ในภพของตนๆ. บทว่า นิสีทิตฺวา
ได้แก่ เข้าไปนั่งใกล้. ก็คำว่า เทวตา นี้พึงทราบว่า เป็นคำกล่าวทั่วไปทั้งแก่

เทพบุตร ทั้งแก่เทพธิดา. บทว่า หสนฺติ ตา ความว่า เทวดาเหล่านั้น

หัวเราะลั่น ไม่ทำความแย้มยิ้ม หัวร่อสนั่นไหว เพราะหัวใจตกอยู่ใต้อำนาจ

ปีติ. บทว่า นเภ ได้แก่ ในอากาศ.

บทว่า อากาสฏฺฐา ได้แก่ เทวดาที่อยู่ ณ วิมานเป็นต้นในอากาศ.
แม้ในเทวดาที่อยู่ภาคพื้นดินก็นัยนี้เหมือนกัน. บทว่า ติณปนฺถนิวาสิโน

ได้แก่ ที่อยู่ประจำยอดหญ้าและทางเปลี่ยว. บทว่า ปุญฺญวนฺโต ได้แก่ ผู้มี

บุญมาก. บทว่า มหิทฺธิกา ได้แก่ ผู้มีอานุภาพมาก. บทว่า สงฺคีติโย

ปวตฺเตนฺติ ได้แก่ เครื่องสังคีตของเทพนาฏกะก็บรรเลง อธิบายว่า ประกอบ

ขึ้นเพื่อบูชาพระตถาคต. บทว่า อมฺพเร แปลว่า ในอากาศ. บทว่า

อนิลญฺชเส แปลว่า ทางอากาศ. ท่านกล่าวว่า อนิลญฺชเส ก็เพราะอากาศ

เป็นทางอเนกประสงค์. เป็นไวพจน์ของคำต้น . บทว่า จมฺมนทฺธานิ แปลว่า

ที่หุ้มด้วยหนัง. หรือปาฐะก็อย่างนี้เหมือนกัน อธิบายว่ากลองทิพย์. บทว่า

วาเทนฺติ ความว่า เทวดาทั้งหลายย่อมประโคม.

บทว่า สงฺขา ได้แก่ สังข์เป่า. บทว่า ปณวา ได้แก่ เครื่องดนตรี
พิเศษตรงกลางคอด. กลองขนาดเล็กๆ ท่านเรียกว่า ฑณฺฑิมา. บทว่า

วชฺชนฺติ แปลว่า ประโคม. บทว่า อพฺภุโต วต โน แปลว่า น่าอัศจรรย์

จริงหนอ. บทว่า อุปฺปชฺชิ แปลว่า เกิดแล้ว. บทว่า โลมหํสโน ได้แก่

ทำขนชูชัน. บทว่า ธุวํ อธิบายว่า เพราะเหตุที่พระศาสดาพระองค์นี้อัศจรรย์

อุบัติในโลก ฉะนั้น พวกเราจักได้ความสำเร็จประโยชน์โดยแท้แน่นอน. บทว่า

ลภาม แปลว่า จักได้. บทว่า ขโณ ความว่า ขณะที่ ๙ เว้นจาก

อขณะ ๘. บทว่า โน แปลว่า อันเราทั้งหลาย. บทว่า ปฏิปาทิโต แปลว่า

ได้แล้ว.

บทว่า พุทฺโธติ เตสํ สุตฺวาน ความว่า ปีติ ๕ อย่างเกิดแก่เทพ
เหล่านั้น เพราะได้ยินคำนี้ว่า พุทฺโธ. บทว่า ตาวเท แปลว่า ในทันที. บทว่า

หิงฺการา ได้แก่ เสียงที่ทำว่า หึหึ. ยักษ์เป็นต้นย่อมทำเสียงว่า หึ หึ ในเวลา

ร่าเริง. บทว่า สาธุการา ได้แก่ เสียงทำว่า สาธุ ก็เป็นไป. บทว่า อุกุฏฺฐิ

ได้แก่ เสียงโห่และเสียงกึกก้อง. เทวดาเป็นต้น ท่านประสงค์ว่าปชา. อาจารย์

บางพวกกล่าวว่า ธงประฏากต่างๆ ก็เป็นไปในท้องฟ้า. บทว่า คายนฺติ ได้แก่

ขับร้องเพลงที่ประกอบพระพุทธคุณ.

บทว่า เสเฬนฺติ ได้แก่ ทำเสียงประสานด้วยปาก. บทว่า วาทยนฺติ
ความว่า พิณมีพิณชื่อว่าวิปัญจิกาและมกรมุขเป็นต้นขนาดใหญ่ และดนตรีทั้ง

หลายก็บรรเลงประกอบขึ้น เพื่อบูชาพระตถาคต. บทว่า ภุชานิ โปเถนฺติ

แปลว่า ปรบมือ. พึงเห็นว่าเป็นลิงควิปลาส. บทว่า นจฺจนฺติ จ ได้แก่

ใช้ให้ผู้อื่นฟ้อนด้วย ฟ้อนเองด้วย.

ในคำว่า ยถา ตุยฺหํ มหาวีร ปาเทสุ จกฺกลกฺขณํ นี้ ยถา
แปลว่า โดยประการไรเล่า. ชื่อว่า มหาวีระ เพราะทรงประกอบด้วยความเพียร

อย่างใหญ่. บทว่า ปาเทสุ จกฺกลกฺขณํ ความว่า ที่ฝ่าพระบาททั้งสอง

ของพระองค์ มีลักษณะจักร [ล้อ] มีซี่กำมีกงมีดุมบริบูรณ์ด้วยอาการทุกอย่าง

งดงาม. ก็ จักกศัพท์นี้ ปรากฏใช้ในอรรถมีสมบัติ, ส่วนของรถ, อิริยาบถ,

ทาน, รัตนจักร, ธรรมจักร, ขุรจักร, และลักษณะเป็นต้น. ที่ใช้ในอรรถว่า

สมบัติ ได้ในบาลีเป็นต้นว่า จตฺตาริมานิ ภิกฺขเว จกฺกานิ เยหิ

สมนฺนาคตานํ เทวมนุสฺสานํ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมบัติ ๔ ที่เมื่อเทวดา

และมนุษย์ประกอบพร้อมแล้ว. ที่ใช้ในอรรถว่าส่วนแห่งรถได้ในบาลีเป็นต้น

ว่า จกฺกํ ว วทโต ปทํ เหมือนล้อเกวียนที่แล่นตามเท้าโคที่กำลังนำเกวียน

ไป. ที่ใช้ในอรรถว่า อิริยาบถ ได้ในบาลีเป็นต้นว่า จตุจกฺกํ นวทฺวารํ

มีอิริยาบถ ๔ มีทวาร ๙. ที่ใช้ในอรรถว่า ทาน ได้ในบาลีนี้ว่า ททํ ภุญฺช จ
มา จ ปมาโท จกฺกํ วตฺตย สพฺพปาณีนํ ท่านเมื่อให้ทาน ก็จงใช้สอย

อย่าประมาทจงบำเพ็ญทานแก่สัตว์ทั้งปวง. ที่ใช้ในอรรถว่า รัตนจักร ได้ใน

บาลีนี้ว่า ทิพฺพํ จกฺกรตนํ ปาตภูตํ จักรรัตนะทิพย์ ปรากฏแล้ว. ที่ใช้

ในอรรถว่า ธรรมจักร ได้ในบาลีนี้ว่า มยา ปวตฺติตํ จกฺกํ ธรรมจักร

อันเราให้เป็นไปแล้ว . ที่ใช้ในอรรถว่า ขุรจักร อธิบายว่า จักรสำหรับ

ประหาร ได้ในบาลีนี้ว่า อิจฺฉาหตสฺส โปสสฺส จกฺกํ ภมติ มตฺถเก

จักรคมหมุนอยู่บนกระหม่อมของบุรุษผู้ที่ถูกความอยากครองงำแล้ว. ที่ใช้ใน

อรรถว่า ลักษณะ. ได้ในบาลีนี้ว่า ปาทตเลสุ จกฺกานิ ชาตานิ ลักษณะ

ทั้งหลายเกิดแล้ว ที่ฝ่าพระบาททั้งสอง. แม้ในที่นี้ พึงเห็นว่า ใช้ในอรรถว่า

จักรคือลักษณะ. บทว่า ธชวชิรปฏากา วฑฺฒมานงฺกุสาจิตํ ความว่า

ลักษณะจักรที่พระบาททั้งสอง รวบรวม ประดับ ล้อมไว้ด้วยธชะ [ธงชาย]

วชิระ [อาวุธพระอินทร์] ปฏาก [ธงผ้า] วัฑฒมานะ [เครื่องแต่งพระองค์]

และอังกุส [ขอช้าง] เมื่อท่านถือเอาลักษณะจักรแล้ว ก็เป็นอันถือเอาลักษณะ

ที่เหลือไว้ด้วย. พระอนุพยัญชนะ ๘๐ และพระรัศมี ๑ วา ก็เหมือนกัน เพราะ

ฉะนั้น พระวรกายของพระผู้มีพระภาคเจ้าที่ประดับพร้อมด้วยพระมหาปุริส-

ลักษณะ ๓๒ พระอนุพยัญชนะ ๘๐ และพระรัศมี ๑ วา ก็เปล่งพระพุทธรัศมีมี

พรรณะ ๖ ซึ่งแล่นฉวัดเฉวียนไป จึงงดงามอย่างเหลือเกิน เหมือนต้นปาริ-

ฉัตตกะดอกบานสะพรั่งไปทั้งต้น เหมือนดงบัว ที่มีดอกบัวหลวงแย้มแล้ว

เหมือนเสาระเนียดทองใหม่ สวยงามด้วยรัตนะต่างชนิด เหมือนท้องฟ้างาม

ระยับด้วยดวงดาว.

บัดนี้ เพื่อแสดงสมบัติคือรูปกายและธรรมกายของพระผู้มีพระภาค-
เจ้า ท่านพระสังคีติกาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวคาถานี้ว่า

พระผู้มีพระภาคเจ้า ไม่มีผู้เสมอเหมือนในพระ
รูป ในศีล สมาธิ ปัญญาและวิมุตติ ทรงเสมอกับ
พระพุทธเจ้าที่ไม่มีใครเสมอในการประกาศพระธรรม-
จักร.

ออฟไลน์ ตถตา

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นไม้เล็กพริ้วไหวดั่งสายลม
  • *
  • กระทู้: 326
  • พลังกัลยาณมิตร 154
    • ดูรายละเอียด
Re: มธุรัตถวิลาสินี
« ตอบกลับ #27 เมื่อ: ธันวาคม 13, 2010, 07:27:41 pm »
แก้อรรถ
รูปศัพท์นี้ว่า รูเป ในคาถานั้น ปรากฏใช้ในอรรถมี ขันธ์ ภพ
นิมิต ปัจจัย สรีระ วรรณะและทรวดทรงเป็นต้น. เหมือนอย่างที่ท่านกล่าว

ไว้ว่า รูป ศัพท์ที่ใช้ในอรรถว่า รูปขันธ์ ได้ในบาลีนี้ว่า ยงฺกิญฺจิ รูปํ

อตีตานาคตปจฺจุปฺปนนํ รูปขันธ์อย่างหนึ่งอย่างใด ที่เป็นอดีต อนาคต

ปัจจุบัน. ที่ใช้ในอรรถว่า รูปภพ ได้ในบาลีนี้ว่า รูปูปปตฺติยา มคฺคํ

ภาเวติ ย่อมเจริญมรรค เพื่อเข้าถึงรูปภพ. ที่ใช้ในอรรถว่า กสิณนิมิต ได้

ในบาลีนี้ว่า อชฺฌตฺตํ อรูปสญฺญี พหิทฺธา รูปานิ ปสฺสติ สำคัญอรูป

ภายใน ย่อมเห็นกสิณนิมิตภายนอก. ที่ใช้ในอรรถว่า ปัจจัย ได้ในบาลีนี้ว่า

สรูปา ภิกฺขเว อุปฺปชฺชนฺติ ปาปกา อกุสลา ธมฺมา โน อรูปา

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อกุศลบาปธรรมมีปัจจัยหรือไม่มีปัจจัยจึงเกิดขึ้น. ที่ใช้

ในอรรถว่า สรีระ ได้ในบาลีนี้ว่า อากาโส ปริวาริโต รูปนฺเตฺวว สงฺขํ

คจฺฉติ อากาศที่ห้อมล้อม ก็นับได้ว่าสรีระ. ที่ใช้ในอรรถว่า วรรณะ ได้ใน

บาลีนี้ว่า จกฺขุญฺจ ปฏิจฺจ รูเป จ อุปฺปชฺชติ จกฺขุวิญฺญาณํ อาศัย

จักษุและวรรณะ จักขุวิญญาณจึงเกิด. ที่ใช้ในอรรถว่า ทรวดทรง ได้ในบาลี

นี้ว่า รูปปฺปมาโณ รูปปฺปสนฺโน ถือทรวดทรงเป็นประมาณ เลื่อมใสใน

ทรวดทรง. แม้ในที่นี้ ก็พึงเห็นว่า ใช้ในอรรถว่า ทรวดทรง. บทว่า สีเล

ได้แก่ ในศีล ๔ อย่าง. บทว่า สมาธิมฺหิ ได้แก่ ในสมาธิ ๓ อย่าง. บทว่า

ปญฺญาย ได้แก่ ในปัญญาที่เป็นโลกิยะและโลกุตระ. บทว่า อสาทิโส แปลว่า

ไม่มีใครเหมือน ไม่มีใครเปรียบ. บทว่า วิมุตฺติยา ได้แก่ ในผลวิมุตติ.

บทว่า อสมสโม ความว่า อดีตพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ไม่มีใครเสมอ พระ-

องค์ก็ทรงเสมอกับพระพุทธเจ้าทั้งหลายที่ไม่มีใครเสมอเหล่านั้น โดยพระคุณ

ทั้งหลายมีศีลเป็นต้น เหตุนั้นพระองค์จึงชื่อว่า ผู้เสมอกับพระพุทธเจ้าที่ไม่มี

ใครเสมอ ท่านแสดงสมบัติคือพระรูปกาย ของพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยกถา

เพียงเท่านี้.

บัดนี้ เพื่อแสดงกำลังพระกายเป็นต้นของพระผู้มีพระภาคเจ้า ท่าน
พระสังคีติกาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวว่า

กำลังพระยาช้าง ๑๐ เชือก เป็นกำลังปกติใน
พระกายของพระองค์ พระองค์ไม่มีใครเสมอด้วยกำลัง
พระวรฤทธิ์ ในการประกาศพระธรรมจักร.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทสนาคพลํ ได้แก่ กำลังพระยาช้าง
ฉัททันต์ ๑. เชือก. จริงอยู่กำลังของพระตถาคตมี ๒ คือ กำลังพระกาย ๑

กำลังพระญาณ ๑. บรรดากำลังทั้งสองนั้น กำลังพระกาย พึงทราบตามแนว

ตระกูลช้าง. คืออะไร พึงทราบช้าง ๑๐ ตระกูลเหล่านี้.

กาฬาวกญฺจ คงฺเคยฺยํ ปณฺฑรํ ตมฺพปิงฺคลํ
คนฺธมงฺคลเหมสญฺจ อุโปสถฉทฺทนฺติเม ทส.
ช้าง ๑๐ ตระกูลเหล่านี้คือ กาฬาวกะ คังเคยยะ
ปัณฑระ ตัมพะ ปิงคละ คันธะ มังคละ เหมะ
อุโปสถะ ฉัททันตะ.
กาฬวกะได้แก่ ตระกูลช้างปกติ. กำลังกายของบุรุษ ๑๐ คน เป็นกำลัง
ของช้างตระกูลกาฬาวกะ ๑ เชือก. กำลังของช้างตระกูลกาฬาวกะ ๑๐ เชือก

เป็นกำลังของช้างตระกูลคังเคยยะ ๑ เชือก พึงนำกำลังของช้างตระกูลต่างๆ

โดยอุบายดังกล่าวมานี้จนถึงกำลังของช้างตระกูลฉัททันตะ กำลังของช้างตระกูล

ฉัททันตะ ๑๐ เชือก เป็นกำลังของพระตถาคตพระองค์เดียว. กำลังของพระ-

ตถาคตนี้นี่แลเรียกกันว่า กำลังนารายณ์ กำลังวชิระ. กำลังของพระตถาคตนี้

นั้น เท่ากับกำลังช้างโกฏิพันเชือกโดยนับช้างตามปกติ เท่ากับกำลังของบุรุษ

สิบโกฏิพันคน. กำลังพระวรกายปกติของพระตถาคตมีดังนี้ก่อน. ส่วนกำลัง

พระญาณ หาประมาณมิได้ กำลังพระญาณมีเป็นต้นอย่างนี้คือ พระทศพล-

ญาณ พระจตุเวสารัชญาณ พระอกัมปนญาณในบริษัท ๘ พระจตุโยนิปริ-

เฉทกญาณ พระปัญจคติปริเฉทกญาณ พระพุทธญาณ ๑๔. แต่ในที่นี้ ประสงค์

เอากำลังพระวรกาย. บทว่า กาเย ตุยฺหํ ปากติกํ พลํ ความว่า กำลัง

ตามปกติในพระวรกายของพระองค์นั้น เพราะฉะนั้น บทว่า ทสนาคพลํ

จึงมีความว่า เท่ากับกำลังของพระยาช้างตระกูลฉัททันต์ ๑๐ เชือก.

บัดนี้ เมื่อแสดงกำลังพระญาณ ท่านจึงกล่าวว่า พระองค์ไม่มีผู้เสมอ
ด้วยกำลังพระวรฤทธิ์ในการประกาศพระธรรมจักร. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า

อิทฺธิพเลน อสโม ได้แก่ ไม่มีผู้เสมอ ไม่มีผู้เสมือน ไม่มีผู้เปรียบ.

บทว่า ธมฺมจกฺกปฺปวตฺตเน ความว่า ไม่มีผู้เสมอแม้ในพระเทศนาญาณ.

บัดนี้ เพื่อแสดงการประกอบในการนอบน้อมพระตถาคตว่า พระ-
ศาสดาพระองค์ใดประกอบพร้อมด้วยพระคุณมีดังกล่าวมานี้เป็นต้น พระศาสดา

พระองค์นั้น ทรงเป็นนายกเอกของโลกทั้งปวง ขอท่านทั้งหลาย จงนมัสการ

พระศาสดาพระองค์นั้น ท่านพระสังคีติกาจารย์ทั้งหลาย จึงกล่าวว่า

ท่านทั้งหลาย จงนมัสการพระศาสดา ผู้ประกอบ
ด้วยพระคุณทุกอย่าง ประกอบด้วยองคคุณทั้งปวง เป็น
พระมหามุนี มีพระกรุณา เป็นนาถะของโลก.
แก้อรรถ
ในคาถานั้น ศัพท์ว่า เอวํ เป็นนิบาตลงในอรรถชี้แจงอย่างที่กล่าว
มาแล้ว. ศัพท์นี้ว่า สพฺโพ ในคำว่า สพฺพคุณฺเปตํ นี้ เป็นศัพท์กล่าวถึง

ไม่เหลือเลย. คุณ ศัพท์นี้ว่า คุโณ ปรากฏใช้ในอรรถเป็นอันมาก.

จริงอย่างนั้น คุณ ศัพท์นี้ ใช้ในอรรถว่า ชั้น ได้ในบาลีนี้ว่า
อนุชานามิ ภิกฺขเว อหตานํ วตฺถานํ ทิคุณํ สงฺฆาฏึ ดูก่อนภิกษุทั้ง

หลาย เราอนุญาตผ้าสังฆาฏิสองชั้นสำหรับผ้าทั้งหลายที่ใหม่. ที่ใช้ในอรรถว่า

กลุ่ม ได้ในบาลีนี้ว่า อจฺเจนฺติ กาลา ตรยนฺติ รตฺติโย วโยคุณา

อนุปุพฺพํ ชหนฺติ กาลก็ล่วงไป ราตรีก็ล่วงไป กลุ่มแห่งวัยก็ละลำดับไป.

ที่ใช้ในอรรถว่า อานิสงส์ ได้ในบาลีนี้ว่า สตคุณา ทกฺขิณา
ปาฏิกงฺขิตพฺพา พึงหวังทักษิณา มีอานิสงส์เป็นร้อย. ที่ใช้ในอรรถว่า พวง

ได้ในบาลีนี้ว่า กยิรา มาลาคุเณ พหู พึงทำพวงมาลัยเป็นอันมาก. ที่ใช้

ในอรรถว่า สมบัติ ได้ในบาลีนี้ว่า อฏฺฐ คุณ สมุเปตํ อภิญฺญาพลมาหรึ

นำมาซึ่งกำลังแห่งอภิญญา อันประกอบพร้อมด้วยสมบัติ ๘. แม้ในที่นี้ก็พึง

เห็นว่าใช้ในอรรถว่า สมบัติ เพราะฉะนั้น จึงมีความว่าเข้าถึงประกอบพร้อม

แล้ว ด้วยคุณที่เป็นโลกิยะและโลกุตระทั้งปวงคือด้วยสมบัติทุกอย่าง. บทว่า

สพฺพงฺคสมุปาคตํ ได้แก่ เข้ามาถึงแล้ว ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยพระพุทธ-

คุณหรือด้วยองคคุณทั้งปวง. บทว่า มหามุนี ได้แก่ ชื่อว่า มุนีใหญ่เพราะ

ยิ่งกว่ามุนีทั้งหลาย มีพระปัจเจกพุทธเจ้าเป็นต้นอื่นๆ เหตุนั้นจึงเรียกว่า มหา

มุนี. บทว่า การุณิกํ ได้แก่ ชื่อว่าผู้มีกรุณา เพราะประกอบด้วยกรุณาคุณ.

บทว่า โลกนาถํ ได้แก่ เป็นนาถะเอกของโลกทั้งปวง. อธิบายว่า อันโลกทั้ง

ปวงมุ่งหวังอย่างนี้ว่า ท่านผู้นี้ เป็นผู้กำจัด เป็นผู้ระงับความเดือดร้อนคือ

ทุกข์ของพวกเรา ดังนี้.

บัดนี้ เพื่อแสดงความที่พระทศพล ทรงเป็นผู้ควรแก่การเคารพ
นบนอบทุกอย่าง ท่านพระสังคีติกาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวว่า

พระองค์ควรการกราบไหว้ การชมการสรรเสริญ
การนบนอบบูชา.
ข้าแต่พระมหาวีระ ชนเหล่าหนึ่งเหล่าใดเป็น ผู้
ควรแก่การไหว้ในโลก ชนเหล่าใด ควรซึ่งการไหว้
พระองค์เป็นผู้ประเสริฐสุดกว่าชนเหล่านั้นทั้งหมด ชน
เสมอเหมือนพระองค์ไม่มีเลย.

ออฟไลน์ ตถตา

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นไม้เล็กพริ้วไหวดั่งสายลม
  • *
  • กระทู้: 326
  • พลังกัลยาณมิตร 154
    • ดูรายละเอียด
Re: มธุรัตถวิลาสินี
« ตอบกลับ #28 เมื่อ: ธันวาคม 13, 2010, 07:28:37 pm »
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อภิวาทนํ ได้แก่ ให้ผู้อื่นทำการกราบ
ตน. บทว่า โถมนํ ได้แก่ ชมลับหลัง. บทว่า วนฺทนํ ได้แก่ นอบน้อม.

บทว่า ปสํสนํ ได้แก่ สรรเสริญต่อหน้า. บทว่า นมสฺสนํ ได้แก่ ทำอัญชลี

หรือนอบน้อมด้วยใจ. บทว่า ปูชนํ ได้แก่ และการบูชาด้วยมาลัยของหอม

และเครื่องลูบไล้เป็นต้น. บทว่า สพฺพํ ความว่า พระองค์ทรงสมควรเหมาะ

สมสักการะวิเศษดังกล่าวแล้วนั้นทุกอย่าง. บทว่า เย เกจิ โลเก วนฺทเนยฺยา

ความว่าชนเหล่าหนึ่งเหล่าใด ควรกราบ ควรไหว้ ควรซึ่งการไหว้ในโลก.

บทว่า เย ได้แก่ อนึ่งชนเหล่าใด ควรซึ่งการไหว้ในโลก. ก็บทนี้เป็นไวพจน์

ของบทต้นนั้นแล. บทว่า สพฺพเสฏฺโฐ ความว่า ข้าแต่พระมหาวีระ พระ-

องค์เป็นผู้ประเสริฐสุด สูงสุดกว่าชนเหล่านั้นทั้งหมด ชนไรที่เสมอเหมือน

พระองค์ ไม่มีในโลก.

ครั้งนั้น เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงยมกปาฏิหาริย์ ทรง
เนรมิตรัตนจงกรมเสด็จจงกรม ณ รัตนจงกรมนั้นอยู่ ท่านพระสารีบุตรพร้อม

ด้วยภิกษุบริวาร ๕๐๐ รูป อยู่ ณ เขาคิมฌกูฏ กรุงราชคฤห์ ครั้งนั้น พระเถระ

ตรวจดูพระผู้มีพระภาคเจ้า ก็เห็นพระองค์เสด็จจงกรม ณ รัตนจงกรมใน

อากาศ กรุงกบิลพัศดุ์. ด้วยเหตุนั้น ท่านพระสังคีติกาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าว

คำเป็นต้นว่า

ท่านพระสารีบุตร ผู้มีปัญญามาก ผู้ฉลาดใน
สมาธิและฌาน อยู่ที่เขาคิชฌกูฏ ก็เห็นพระผู้เป็นนายก
ของโลก.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สาริปุตฺโต ได้แก่ ชื่อว่าสารีบุตร เพราะ
เป็นบุตรของพราหมณีชื่อว่า สารี. บทว่า มหาปญฺโญ ได้แก่ ชื่อว่ามีปัญญา

มาก เพราะเป็นผู้ประกอบด้วยปัญญา ๑๖ อย่างใหญ่. ในคำว่า สมาธิชฺฌาน-

โกวิโท นี้. บทว่า สมาธิ ได้แก่ ชื่อว่าสมาธิ เพราะบรรจงตั้ง คือวางจิต

ไว้สม่ำเสมอในอารมณ์. สมาธินั้น มี ๓ คือ ชนิดมีวิตกมีวิจาร ชนิดไม่มี

วิตกมีเพียงวิจาร ชนิดที่ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร. บทว่า ฌานํ ได้แก่ปฐมฌาน

ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน แม้ฌานอื่นมีเมตตาฌานเป็นต้นก็เป็นอันท่าน

สงเคราะห์ด้วยฌานที่กล่าวมาแล้วนี้ มีปฐมฌานเป็นต้น.

แม้ฌานก็มี ๒ อย่าง คือ ลักขณูปนิชฌาน อารัมมณูปนิชฌาน.
บรรดาฌานทั้ง ๒ นั้นวิปัสสนาญาณ เรียกว่า ลักขณูปนิชฌาน เพราะเข้าไป

เพ่งลักษณะมีอนิจจลักษณะเป็นต้น ส่วนฌานมีปฐมฌานเป็นต้น เรียกว่า ฌาน

เพราะเข้าไปเพ่งอารมณ์ หรือเผาธรรมที่เป็นข้าศึก. ผู้ฉลาดในสมาธิด้วย ใน

ฌานด้วย เหตุนั้นจึงชื่อว่า ผู้ฉลาดในสมาธิและฌาน. บทว่า คิชฺฌกูเฏ

ความว่า ยืนอยู่ที่ภูเขามีชื่ออย่างนี้นี่แล. บทว่า ปสฺสติ ได้แก่ เห็นแล้ว.

บทว่า สุผุลฺลํ สาลราชํว เชื่อมความกับบทว่า อาโลก อย่างนี้ว่า
ท่านพระสารีบุตรตรวจดูพระทศพลผู้เป็นดังต้นพระยาสาลพฤกษ์ ซึ่งมีศีลเป็น

ราก มีสมาธิเป็นลำต้น มีปัญญาเป็นกิ่ง มีอภิญญาเป็นดอก มีวิมุตติเป็นผล

เหมือนต้นพระยาสาละ มีลำต้นกลมกลึง มีกิ่งประดับด้วยตาตูมผลใบอ่อนและ

หน่อที่อวบขึ้นดก มีดอกบานสะพรั่งทั่วต้น . บทว่า จนฺทํว คคเน ยถา

ความว่า ตรวจดูพระมุนีผู้ประเสริฐดังดวงจันทร์ ผู้ทำการกำจัดความมืดคือ

กิเลสทั้งปวง ผู้ทำความแย้มแก่ดงโกมุทคือเวไนยชน ดุจดวงจันทร์เต็มดวง

ในฤดูสารทอันห้อมล้อมด้วยหมู่ดาว หลุดพ้นจากอุปสรรค คือ หมอก หิมะ

ควัน ละออง และราหู. บทว่า ยถา เป็นเพียงนิบาต . บทว่า มชฺฌนฺหิเกว

สูริยํ ความว่า รุ่งโรจน์อยู่ดุจดวงอาทิตย์ ที่ส่องแสงเป็นช่อชั้น ด้วยสิริเวลา

เที่ยงวัน. บทว่า นราสภํ ได้แก่ ผู้สูงสุดในนรชน.

บทว่า ชลนฺตํ แปลว่า รุ่งเรืองอยู่ อธิบายว่า พระวรสรีระประดับ
พร้อมด้วยพระมหาปุริสลักษณะและพระอสีติอนุพยัญชนะ มีพระพักตร์ดังทอง

งาม มีสิริดังพระจันทร์เต็มดวงในฤดูสารท รุ่งเรืองอยู่ด้วยพระพุทธสิริอย่างยิ่ง.

บทว่า ทีปรุกฺขํว ได้แก่ ประดุจต้นประทีปที่เขายกประทีปไว้. บทว่า ตรุณ-

สุรยํว อุคฺคตํ ได้แก่ ประดุจดวงอาทิตย์อุทัยใหม่ ๆ อธิบายว่า รุ่งเรืองอยู่

โดยภาวะเรียบร้อย. ก็ท่านเรียกดวงอาทิตย์อ่อนๆ เพราะเหตุอุทัยขึ้น. ไม่มี

ลดแสงหรือเพิ่มแสงเหมือนดวงจันทร์ [เพราะดวงอาทิตย์ไม่มีขึ้นแรม]. บทว่า

พฺยามปฺปภานุรญฺชิตํ ได้แก่ อันพระรัศมีวาหนึ่งเปล่งแสงจับแล้ว. บทว่า ธีรํ

ปสฺสติ โลกนายกํ ความว่า เห็นพระผู้นำ ซึ่งเป็นปราชญ์เอกของโลกทั้งปวง.

ลำดับนั้น ท่านพระธรรมเสนาบดี ยืนอยู่ ณ เขาคิชฌกูฏ ซึ่งมียอด
จรดหมู่ธารน้ำเย็นสนิทมียอดอบอวลด้วยดอกของต้นไม้ที่มีกลิ่นหอมนานาชนิด

มียอดวิจิตรงามอย่างยิ่ง แลเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า อันหมู่เทวดาและพรหม

ซึ่งมาแต่หมื่นจักรวาลแวดล้อมแล้ว ซึ่งเสด็จจงกรม ณ ที่จงกรมเป็นรัตนะ

ล้วน ด้วยพระพุทธสิริอันยอดเยี่ยม ด้วยพระพุทธลีลาอันหาที่เปรียบมิได้จึง

คิดว่า เอาเถิด จำเราจักเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ทูลขอพระพุทธวงศ์เทศนา

อันแสดงพระพุทธคุณ จึงประชุมภิกษุ ๕๐๐ รูป ซึ่งอยู่กับตน. ด้วยเหตุนั้น

พระสังคีติกาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวว่า

ท่านพระธรรมเสนาบดี จึงประชุมภิกษุ ๕๐๐ รูป
ซึ่งทำกิจเสร็จแล้ว ผู้คงที่ สิ้นอาสวะแล้ว ปราศจาก
มลทิน ทันที.

ออฟไลน์ ตถตา

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นไม้เล็กพริ้วไหวดั่งสายลม
  • *
  • กระทู้: 326
  • พลังกัลยาณมิตร 154
    • ดูรายละเอียด
Re: มธุรัตถวิลาสินี
« ตอบกลับ #29 เมื่อ: ธันวาคม 13, 2010, 07:29:36 pm »
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปญฺจนฺนํ ภิกขุสตานํ ได้แก่ ภิกษุ
๕๐๐ รูป. ฉัฏฐีวิภัตติ พึงเห็นว่าท่านใช้ในอรรถทุติยาวิภัตติ. บทว่า กตกิจฺ-

จานํ ความว่า ผู้จบโสฬสกิจแล้ว คือ ปริญญากิจ ปหานกิจ สัจฉิกิริยากิจ

และภาวนากิจ ด้วยมรรค ๔ ในสัจจะ ๔. บทว่า ขีณาสวานํ ได้แก่ ผู้สิ้น

อาสวะ ๔. บทว่า วิมลานํ ได้แก่ ผู้ปราศจากมลทิน หรือชื่อว่า มีมลทินไป

ปราศแล้ว อธิบายว่า มีจิตสันดานอันบริสุทธิ์อย่างยิ่ง เพราะเป็นผู้มีอาสวะสิ้น

แล้ว. บทว่า ขเณน ได้แก่ ในทันใดนั่นเอง. บทว่า สนฺนิปาตยิ แปลว่า

ให้ประชุมกันแล้ว.

บัดนี้ เพื่อแสดงเหตุในการประชุมและในการไปของภิกษุเหล่านั้น
ท่านพระสังคีติกาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวคาถาเหล่านั้นว่า

พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงปาฏิหาริย์ ชื่อ
โลกปสาทนะทำโลกให้เลื่อมใส แม้พวกเราก็ไปในที่
นั้น เราจักถวายบังคมพระชินพุทธเจ้า.
มาเถิด เราทั้งหมดจะพากันไป เราจักทูลถาม
พระพุทธชินเจ้า พบพระผู้นำโลกแล้ว ก็จักบรรเทา
ความสงสัยเสียได้.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โลกปฺปสาทนํ นาม ความว่า ท่าน
เรียกปาฏิหาริย์ว่า โลกปสาทนะ เพราะทำความเลื่อมใสแก่สัตว์โลก. ปาฐะว่า

อุลฺโลกปฺปสาทนํ ดังนี้ก็มี. ความว่า ชื่อปาฏิหาริย์ว่า พระพุทธเจ้าเปิดโลก.

ปาฏิหาริย์นั้นท่านกล่าวว่า อธิษฐานการทำสัตว์แม้ทั้งหมด เบื้องบนตั้งแต่

อกนิษฐภพ เบื้องต่ำถึงอเวจี ทำให้เป็นแสงสว่างอันเดียวกันในระหว่าง

นี้ให้เห็นซึ่งกันและกันในระหว่างนี้. บทว่า นิทสฺสยิ แปลว่า แสดง

แล้ว. บทว่า อมฺเหปิ แปลว่า แม้เราทั้งหลาย. บทว่า ตตฺถ ความว่า ไป

ในที่พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่. บทว่า วนฺทิสฺสาม ความว่า พวกเราจัก

ถวายบังคมพระบาทของพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยเศียรเกล้า. แต่ในคำว่า อมฺเหปิ

นี้พึงเห็นการเชื่อมความแห่งศัพท์ ๒ ศัพท์นี้ว่า มยํ ศัพท์ต้น เชื่อมความกับ

กิริยาเดินไป มยํ ศัพท์หลัง เชื่อมความกับกิริยาถวายบังคม. ความจริง ความ

นอกจากนี้ก็ไม่พ้นโทษคือการกล่าวซ้ำ.

บทว่า เอถ แปลว่า มาเถิด. ในคำว่า กงฺขํ วิโนทยิสฺสาม นี้
ผู้ทักท้วงกล่าวว่า ขึ้นชื่อว่า ความสงสัยแม้ไรๆ ของพระขีณาสพทั้งหลายไม่มี

เหตุไร พระเถระจึงกล่าวอย่างนี้. ตอบว่า ข้อนั้นเป็นความจริงทีเดียว ความ

สงสัยขาดไปด้วยปฐมมรรคเท่านั้น เหมือนอย่างที่ท่านกล่าวไว้ว่า

ทัสสเนนปหาตัพพธรรม (ธรรมที่พึงประหาณด้วยโสดาปัตติมรรค)
คืออะไรบ้าง คือจิตตุปบาทที่สัมปยุตด้วยทิฏฐิ ๔ ดวง จิตตุปบาทที่สหรคต

ด้วยวิจิกิจฉา ๑ ดวงและ โลภะ โทสะ โมหะ มานะที่พาไปอบาย และกิเลส

ทั้งหลาย ซึ่งตั้งอยู่ฐานเดียวกับจิตเหล่านั้น. แต่ความสงสัยนั้นไม่ใช่ ที่เรียกว่า

วิจิกิจฉา. ก็อะไรเล่าชื่อว่า การไม่รู้บัญญัติ. แต่พระเถระประสงค์จะทูลถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้า ถึงพุทธวงศ์ ด้วยว่าพุทธวงศ์นั้นเป็นวิสัยของพระพุทธ-

เจ้าทั้งหลายเท่านั้น มิใช่วิสัยของพระปัจเจกพุทธเจ้าและพระสาวกทั้งหลาย

เพราะฉะนั้น จึงควรทราบว่า พระเถระกล่าวอย่างนี้ ก็เพราะพุทธวงศ์มิใช่

วิสัย. บทว่า วิโนทยิสฺสาม แปลว่า จักบรรเทา.

ครั้งนั้น ภิกษุเหล่านั้น ฟังคำของพระเถระแล้วต่างก็ถือเอาบาตรจีวร
ของตน ๆ มีกิเลสอันทำลายแล้วมีเครื่องผูกขาดแล้ว เหมือนช้างใหญ่ สวม

เกราะดีแล้ว มักน้อย สันโดษ สงัด ไม่คลุกคลี ถึงพร้อมด้วยศีล สมาธิ

ปัญญา วิมุตติ และวิมุตติญาณทัสสนะ ก็พากันรีบมาประชุม. ด้วยเหตุนั้น

ท่านพระสังคีติกาจารย์ทั้งหลาย จึงกล่าวว่า

ภิกษุเหล่านั้น รับคำว่าสาธุแล้ว เป็นผู้มีปัญญา
รักษาตัว สำรวมอินทรีย์ ต่างถือเอาบาตรจีวร พากัน
รีบเข้าไปหาพระเถระ.
แก้อรรถ
ในคาถานั้น ศัพท์ว่า สาธุ นี้ ใช้ในอรรถทั้งหลายมี วอนขอ, รับ,
ปลอบใจ, และดีเป็นต้น. จริงอย่างนั้น สาธุ ศัพท์นี้ ใช้ในอรรถ วอนขอ

ได้ในประโยคเป็นต้นว่า สาธุ เม ภนฺเต ภควา สงฺขิตฺเตน ธมฺมํ

เทเสตุ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธรรมโดยย่อ

โปรดข้าพระองค์ด้วยเถิด. ใช้ในอรรถ รับ ได้ในประโยคเป็นต้นว่าสาธุ

ภนฺเตติ โข โส ภิกฺขุ ภควโต ภาสิตํ อภินนฺทิตฺวา อนุโมทิตฺวา

ภิกษุรูปนั้นยินดีอนุโมทนาภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ดีแล้วพระเจ้าข้า.

ใช้ในอรรถ ปลอบใจ ได้ในประโยคเป็นต้นว่า สาธุ สาธุ สาริปุตฺต ดีละ

ดีละ สารีบุตร. ใช้ในอรรถ ดี ได้ในบาลีเป็นต้นว่า

สาธุ ธมฺมรุจิ ราชา สาธุ ปญฺญาณวา นโร
สาธุ มิตฺตานมทฺทุพฺโภ ปาปสฺสากรณํ สุขํ.
พระราชาผู้ชอบธรรม ดี, นรชนผู้มีปัญญา ดี, ผู้ไม่
ประทุษร้ายมิตร ดี, การไม่ทำบาป เป็นสุข.
แต่ในที่นี้ ประสงค์เอาที่ใช้ในอรรถ รับ เพราะฉะนั้นจึงมีความว่า
ภิกษุเหล่านั้นรับคำของพระเถระว่า สาธุ แปลว่า ดีละ. บทว่า นิปกา ได้แก่

บัณฑิต ผู้มีปัญญา. บทว่า สํวุตินฺทฺริยา ได้แก่ ผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์

ทั้งหลาย อธิบายว่าผู้ประกอบด้วยอินทรีย์สังวร. บทว่า ตรมานา แปลว่า

รีบ บทว่า อุปาคมุํ ได้แก่ เข้าไปหาพระเถระ.

บัดนี้ ท่านพระสังคีติกาจารย์ทั้งหลาย เมื่อแสดงประวัติของท่านพระ-
ธรรมเสนาบดี จึงกล่าวคาถาว่า ขีณาสเวหิ วิมเลหิ เป็นต้น. บรรดาบท

เหล่านั้น บทว่า ทนฺเตหิ ได้แก่ ผู้ฝึกทางกาย ทางจิตแล้ว. บทว่า อุตฺตเม

ทเม ได้แก่ ในเพราะพระอรหัต. พึงเห็นสัตตมีวิภัตติ ลงในอรรถนิมิตสัตตมี.

บทว่า เตหิ ภิกฺขูหิ ได้แก่ อันภิกษุ ๕๐๐ รูป. บอกว่า มหาคณี ความว่า

ชื่อว่ามหาคณี เพราะท่านมีคณะใหญ่ ทั้งโดยศีลเป็นต้น และโดยนับจำนวน.

หรือชื่อว่า มหาคณะ เพราะเป็นคณะใหญ่โดยคุณทั้งหลายมีศีลเป็นต้น ด้วย

สามารถแห่งบทต่างๆ ชื่อว่า มหาคณีเพราะคณะใหญ่ของท่านมีอยู่ เหตุนั้นท่าน

จึงชื่อว่ามีคณะใหญ่. บทว่า สฬนฺโต เทโวว คคเน ความว่า งดงามด้วย

อิทธิวิลาส เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ณ พื้นนภากาศ ราวกะเทพดา.

บัดนี้ เพื่อแสดงวิธีเข้าเฝ้าว่า เต อิตฺถมฺภูตา อุปสงฺกมึสุ ภิกษุมีชื่อ
อย่างนี้เหล่านั้นเข้าเฝ้าแล้ว ท่านพระสังคีติกาจารย์ทั้งหลายจึงเริ่มคำว่า อุกฺกา-

สิตญฺจ ขิปิตํ ดังนี้เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุกฺกาสิตญฺจ

ความว่า ไม่ทำเสียงจาม บทว่า ขิปิตญฺจ ความว่า ไม่ทำเสียงไอ. บทว่า

อชฺฌุเปกฺขิย แปลว่า เฉย อธิบายว่าไม่ทำทั้งสองอย่าง [คือ สงบเงียบ].

บทว่า สุพฺพตา ได้แก่ ผู้มีธุดงคคุณผุดผ่องดี. บทว่า สปฺปติสฺสา

ได้แก่ มีความยำเกรง อธิบายว่า ถ่อมตน.

บทว่า สยมฺภุํ ความว่า มีพุทธภาวะอันทรงบำเพ็ญพระบารมีทั้ง
หลาย บรรลุแล้วด้วยพระองค์เอง เว้นการอ้างถึงผู้อื่น. บทว่า อจฺจุคฺคตํ

ได้แก่ ขึ้นมาใหม่ ๆ. บทว่า จนฺทํว แปลว่า เหมือนดวงจันทร์. พึงเชื่อมบท

อย่างนี้ว่า แลเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า ซึ่งรุ่งเรืองอยู่ ณ พื้นนภากาศ เหมือน

ดวงจันทร์ในท้องฟ้าฉะนั้น. แม้ในที่นี้ ยถา ศัพท์ ก็เป็นเพียงนิบาตเท่านั้น.

บทว่า วิชฺชุํว ได้แก่ เหมือนสายฟ้าทึบ อธิบายว่า เหมือนสายฟ้าแลบ
เช่นที่มีแสงชั่วขณะแต่ตั้งอยู่นานฉะนั้น. บทว่า คคเน ยถา แปลว่า เหมือน

ในอากาศแม้ในที่นี้ ยถา ศัพท์ ก็เป็นเพียงนิบาตเท่านั้น. นอกจากในที่เช่นนี้

ยถา ศัพท์ ในที่เช่นนี้ก็พึงเห็นว่าเป็นเพียงนิบาต.

บทว่า รหทมิว วิปฺปสนฺนํ ความว่า น้ำไม่ขุ่นแต่ใส เหมือนห้วง
น้ำใหญ่ทั้งลึกทั้งกว้างมากฉะนั้น. บทว่า สุผุลฺลํ ปทุมํ ยถา พึงเห็นความว่า

เหมือนห้วงน้ำที่มีดงปทุมดอกแย้มบาน. ปาฐะว่า สุผุลฺลํ กมลํ ยถา ดังนี้ก็มี

ความว่า เหมือนดงบัวที่ดอกบานสะพรั่ง เพราะดอกบัวนั้น น่าปรารถนา.

ครั้งนั้น ภิกษุเหล่านั้นมีท่านพระธรรมเสนาบดีเป็นหัวหน้า ทำอัญชลี
ไว้เหนือเศียร หมอบลงแทบฝ่าพระยุคลบาทที่มีจักรประดับ. ด้วยเหตุนั้นท่าน

พระสังคีติกาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวว่า อญฺชลี ปคฺคเหตฺวาน ตุฏฺฐหฏฺฐา

ปโมทิตา ประคองอัญชลียินดีร่าเริงบันเทิงใจ ดังนี้เป็นต้น. บรรดาบทเหล่า

นั้น บทว่า นิปตนฺติ แปลว่า หมอบลง อธิบายว่าถวายบังคม. บทว่า จกฺก-

ลกฺขเณ ความว่า พระบาทที่มีลักษณะจักร ชื่อว่า จักรลักษณะ. ที่พระบาท

อันมีจักรลักษณะนั้น ท่านกล่าวคำว่า ปาเท โดยอำนาจแห่งชาติ. อธิบายว่า

หมอบลงแทบฝ่าพระบาทของพระศาสดาที่มีจักรประดับ.