ผู้เขียน หัวข้อ: มธุรัตถวิลาสินี  (อ่าน 19898 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 4 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ตถตา

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นไม้เล็กพริ้วไหวดั่งสายลม
  • *
  • กระทู้: 326
  • พลังกัลยาณมิตร 154
    • ดูรายละเอียด
Re: มธุรัตถวิลาสินี
« ตอบกลับ #30 เมื่อ: ธันวาคม 13, 2010, 07:30:37 pm »
บัดนี้ ท่านพระสังคีติกาจารย์ทั้งหลายเมื่อแสดงนามของพระเถระเหล่า
นั้น บางท่านจึงกล่าวคาถาว่า สาริปุตฺโต มหาปญฺโญ โกรณฺฑสมสา-

ทิโส เป็นต้น บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โกรณฺฑสมสาทโส แปลว่า ผู้มี

ผิวพรรณเสมือนดอกหงอนไก่. ถ้าจะพึงมีคำถามว่า ถ้าเป็นเช่นนั้น ก็ควร

กล่าวว่า โกรณฺฑสโม หรือ โกรณฺฑสทิโส. ทำไม ท่านจึงกล่าวว่า

สมสาทิโส ๒ ครั้ง. ตอบว่า นี้ไม่ผิดดอก, ท่านเช่นนั้น ชื่อว่า เสมอเหมือน

กับดอกหงอนไก่ โดยเป็นเช่นเดียวกับดอกหงอนไก่ เพราะเท่ากับดอกหงอนไก่.

อธิบายว่า ไม่ใช่กล่าวโดยกล่าวเกินไป. ก่อนอื่นในคำว่า สมาชิชฺฌานกุลโล

นี้ กุสล ศัพท์นี้ใช้ในอรรถทั้งหลายมีในอรรถว่า ไม่มีโรค ไม่มีโทษ ฉลาด

และมีสุขเป็นวิบาก เป็นต้น. จริงอยู่ กุสล ศัพท์นี้ ใช้ในอรรถว่า ไม่มีโรค

ได้ในประโยคเป็นต้นว่า กจฺจิ นุ โภโต อนามยํ ท่านพราหมณ์

ไม่มีโรค ไม่มีการเจ็บไข้บ้างหรือหนอ. ใช้ในอรรถว่าไม่มีโทษ ได้ในประโยค

เป็นต้นว่า กตโม ปน ภนฺเต กายสมาจาโร กุสโล โย โข มหาราช

กายสมาจาโร อนวชฺโช ท่านพระคุณเจ้าข้า กายสมาจารเป็นกุศลคืออะไร.

ถวายพระพรมหาบพิตรกายสมาจารเป็นกุศล คือไม่มีโทษ. ใช้ในอรรถว่าฉลาด

ได้ในประโยคเป็นต้นว่า กุสโล ตฺวํ รถสฺส องฺคปจฺจงฺคานํ ท่านฉลาด

ในส่วนประกอบน้อยใหญ่ทั้งหลายของรถ. ใช้ในอรรถว่ามีสุขเป็นวิบาก ได้ใน

ประโยคเป็นต้นว่า กุสลสฺส กมฺมสฺส กตตฺตา อุปจิตตฺตา เพราะทำการ

สร้างสมกรรมที่มีสุขเป็นวิบาก. แต่ในที่นี้พึงเห็นว่าใช้ในอรรถว่าฉลาด. บทว่า

วนฺทเต แปลว่า ถวายบังคมแล้ว.

บทว่า คชฺชิตา ได้แก่ ชือว่า คัชชิตา เพราะคำราม. บทว่า
กาลเมโฆว ได้แก่ คำรามเหมือนอากาศที่ทรงน้ำสีเขียวความ [เมฆ] อธิบาย

ว่าในวิสัยแห่งฤทธิ์. บทว่า นีลุปฺปลสมสาทิโส แปลว่า มีสีเหมือนดอก

บัวขาบ. พึงทราบความในที่นี้ โดยนัยที่กล่าวไว้แล้วในหนหลัง. ท่านโกลิตะ

ที่ได้นามตามโคตรอย่างนี้ว่า โมคคัลลานะ.

บทว่า มหากสฺสโปปิ จ ได้แก่ เทียบกับท่านพระอุรุเวลกัสสป
ท่านพระนทีกัสสป ท่านพระคยากัสสป ท่านพระกุมารกัสสป ซึ่งเป็น

พระเถระเล็กพระเถระน้อย พระกัสสปรูปนี้เป็นมหา เพราะฉะนั้น ท่าน

จึงถูกเรียกว่า มหากัสสป. ศัพท์ว่า ปิ จ มีอรรถว่าชมเชยและรวบรวม.

บทว่า อุตฺตตฺตกนกสนฺนิโภ แปลว่า มีผิวพรรณคล้ายทองที่ร้อนละลาย.

ในคำว่า ธุตคุเณ นี้ ธรรมชื่อว่า ธุตะ เพราะกำจัดกิเลส, ธรรมกำจัด

กิเลส ชื่อว่า ธุตคุณ. ก็ธุตธรรมคืออะไร คือธรรม ๕ ประการ บริวาร

ของธุตังคเจตนาเหล่านี้คือ อัปปิจฉตา ความมักน้อย, สันตุฏฐิตา

ความสันโดษ, สัลเลขตา ความขัดเกลา, ปวิเวกตา ความสงัด, อิท-

มัฏฐิกตา ความมีสิ่งนี้เป็นประโยชน์ ชื่อว่า ธุตธรรม เพราะบาลีเป็นต้นว่า

อปฺปิจฺฉํ นิสฺสาย อาศัยความมักน้อยนั่นแล. อีกนัยหนึ่ง ญาณชื่อว่า ธุตะ

เพราะกำจัดกิเลสทั้งหลาย. ในธุตคุณนั้น. บาลีว่า อคฺคนิกฺขิตโต ได้แก่ ที่

ท่านสถาปนาว่า เป็นผู้เลิศ เป็นผู้ประเสริฐสุด เป็นยอด อธิบายว่า อันพระ

ผู้มีพระภาคเจ้าทรงสถาปนาไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

มหากัสสป เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุสาวกของเราผู้สรรเสริญธุดงค์. ก็ อัคค ศัพท์นี้

ใช้ในอรรถทั้งหลายมีอรรถว่าเป็นต้น ปลาย ส่วน ประเสริฐสุดเป็นต้น.

จริงอย่างนั้น อัคค ศัพท์ ใช้ในอรรถว่าเป็นต้น ได้ในบาลีเป็นต้นว่า อชฺชตคฺเค

สมฺม โทวาริก อาวรามิ ทฺวารํ นิคณฺฐานํ นิคณฺฐีนํ ดูก่อนสหายนาย

ประตู ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป เราปิดประตูสำหรับนิครนถ์และนิครนถีทั้งหลาย.

ใช้ในอรรถว่า ปลาย ได้ในประโยคเป็นต้นว่า เตเนว องฺคุลคฺเคน ตํ

องฺคุลคฺคํ ปรามเสยฺย ภิกษุเอาปลายนิ้วนั้นนั่นแหละ ถูกต้องปลายนิ้วนั้น

และว่า อุจฺฉคฺคํ เวฬคฺคํ ปลายอ้อย ปลายไผ่. ใช้ในอรรถว่า ส่วน

ได้ในบาลีเป็นต้นว่า อนุชานามิ ภิกฺขเว วิหารคฺเคน วา ปริเวณคฺเคน

ภาเชตุํ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเพื่อแบ่งตามส่วนแห่งวิหาร หรือ

ตามส่วนแห่งบริเวณ. ใช้ในอรรถว่าประเสริฐสุด ได้ในบาลีเป็นต้นว่า ยาวตา

ภิกฺขเว สตฺตา อปทา วา ทฺวิปทา วา ฯ เป ฯ ตถาคโต เตสํ

อคคมกฺขายติ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลาย ไม่มีเท้าก็ดี มี ๒ เท้า

ก็ดี ฯลฯ พระตถาคต กล่าวกันว่าประเสริฐสุดแห่งสัตว์เหล่านั้น. อัคค ศัพท์

นี้นั้น ในที่นี้ พึงเห็นว่าใช้ในอรรถว่า ประเสริฐสุด. ยังใช้ในอรรถว่า ยอด

ก็มี พระเถระดำรงอยู่ในตำแหน่งของท่านว่า เป็นผู้ประเสริฐและเป็นยอดด้วย

เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า บทว่า อคฺคนิกฺขิตฺโต ความว่า ได้แต่งตั้งว่าเป็นผู้เลิศ

ผู้ประเสริฐสุด เป็นยอด. บทว่า โถมิโต ได้แก่ อันเทวดาและมนุษย์เป็นต้น

สรรเสริญแล้ว. บทว่า สตฺถุ วณฺณิโต ได้แก่ อันพระศาสดาทรงยกย่อง

ชมเชยแล้ว. อธิบายว่าอันพระศาสดาทรงยกย่องสรรเสริญโดยนัยที่มาในพระ-

สูตรเป็นอันมาก เป็นต้นอย่างนี้ว่า กสฺสโป ภิกฺขเว จนฺทูปโม กุลานิ

อุปสงฺกมติ อปกสฺเสว กายํ อปกสฺส จิตฺตํ นิจฺจนวโก กุเลสุ

อปคพฺโภ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กัสสปไม่กำเริบกายไม่กำเริบจิต เป็นนวกะ

ภิกษุใหม่อยู่เป็นนิตย์ ไม่คะนองในตระกูลทั้งหลาย เข้าไปสู่ตระกูล. แม้ท่าน

พระมหากัสสปนั้น ก็ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า.

บทว่า ทิพฺพจกฺขุํ ความว่า ทิพยจักษุมีอยู่แก่ภิกษุเหล่าใด ภิกษุ
เหล่านั้น ชื่อว่ามีทิพยจักษุ ท่านพระอนุรุทธะเป็นเลิศประเสริฐสุดแห่งภิกษุ

ทั้งหลายผู้มีทิพยจักษุเหล่านั้น เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

อนุรุทธะเป็นยอดของภิกษุสาวกของเรา ผู้มีทิพยจักษุ ท่านพระอนุรุทธเถระ

เป็นโอรสของพระเจ้าอมิโตทนะสักกะ พระเจ้าอาของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็น

พระกนิษฐภาดาของพระเจ้ามหานามสักกะ เป็นผู้มีบุญมากเป็นสุขุมาลชาติอย่าง

ยิ่ง ท่านเป็นคนที่ ๗ ออกจากเรือนบวชไม่มีเรือน. ลำดับการบรรพชาของท่าน

มาแล้วในสังฆเภทกขันธกะ. บทว่า อวิทูเรว ได้แก่ในสำนักของผู้มี-

พระภาคเจ้านั่นเอง.

บทว่า อาปตฺติอนาปตฺติยา ได้แก่ ฉลาดในอาบัติและอนาบัติ.
บทว่า สเตกิจฺฉาย ได้แก่ ในอาบัติที่ทำคืนได้ก็มี ที่ทำคืนไม่ได้ก็มี. บรรดา

อาบัติเหล่านั้นอาบัติที่ทำคืนได้นั้น มี ๖ อย่าง อาบัติที่ทำคืนไม่ได้นั้น ก็คือ

อาบัติปาราชิก. ปาฐะว่า อาปตฺติอนาปตฺติยา สเตกิจฺฉาย โกวิโท

ดังนี้ก็มี. ความก็อย่างนั้นเหมือนกัน. บทว่า วินเย ได้แก่ ในวินัยปิฎก.

บทว่า อคฺคนิกฺขิตฺโต ความว่า ท่านพระอุบาลีอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรง

สถาปนาไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุบาลีเป็นเลิศกว่า

ภิกษุสาวกของเราผู้ทรงวินัย. บทว่า อุบาลี ได้แก่ ท่านพระอุบาลีเถระ. บทว่า

สตฺถุวณฺณิโต ได้แก่ อันพระศาสดาทรงยกย่อง สรรเสริญ. เล่ากันว่า พระ-

เถระเรียนวินัยปิฎกในสำนักพระตถาคตเท่านั้น กล่าวเรื่องทั้ง ๓ คือ ภารุ-

กัจฉกวัตถุ. อัชชุกวัตถุ กุมารกัสสปวัตถุ เทียบกับพระสัพพัญญุตญาณ.

เพราะฉะนั้น พระเถระ ท่านจึงกล่าวว่าอันพระศาสดาทรงยกย่อง โดยนัยเป็น

ต้นอย่างนี้ว่า เป็นเลิศของภิกษุสาวกผู้ทรงวินัย.

บทว่า สุขุมนปุณตฺถปฏิวิทฺโธ ได้แก่ ผู้รู้ตลอดซึ่งอรรถอันสุขุม
ละเอียดแล้ว อธิบายว่า ผู้รู้ตลอดซึ่งอรรถะอันละเอียดเห็นได้ยากแล้ว.

บทว่า กถิกานํ ปวโร ได้แก่ เป็นผู้ประเสริฐสุด กว่าภิกษุผู้เป็นธรรมกถึก.

ท่านสถาปนาไว้ในเอตทัคคบาลีว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปุณณมันตานีบุตร

เป็นเลิศกว่าภิกษุสาวกของเราผู้เป็นธรรมกถึก. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า

กถิกานํ ปวโร เป็นผู้ประเสริฐสุดกว่าภิกษุผู้เป็นธรรมกถึก. บทว่า คณี

ได้แก่ เป็นผู้มีหมู่. เล่ากันว่ากุลบุตรที่บวชในสำนักพระเถระ มีถึง ๕๐๐ รูป

ภิกษุเหล่านั้น ทุกรูป เป็นชาวแคว้นที่เกิด อันเป็นชาติภูมิของพระทศพล ทุกรูป

เป็นพระขีณาสพ ทุกรูปเป็นผู้ได้กถาวัตถุ ๑๐ ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า คณี

ผู้มีหมู่. บทว่า อิสี ได้แก่ ชื่อว่า อิสี เพราะเสาะแสวงหากุศลธรรม. บทว่า

มนฺตานิยา ปุตฺโต ได้แก่ เป็นบุตรของพราหมณีชื่อมันตานี. คำว่า ปุณณะ

เป็นชื่อของท่าน. บทว่า วิสฺสุโต ได้แก่ มีชื่อเสียงทางคุณมีความเป็นผู้มัก

น้อยเป็นต้นของตนเอง.


ออฟไลน์ ตถตา

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นไม้เล็กพริ้วไหวดั่งสายลม
  • *
  • กระทู้: 326
  • พลังกัลยาณมิตร 154
    • ดูรายละเอียด
Re: มธุรัตถวิลาสินี
« ตอบกลับ #31 เมื่อ: ธันวาคม 13, 2010, 07:32:06 pm »
ฝ่ายท่านพระอัญญาโกณฑัญญเถระ เมื่อพระศาสดาทรงบรรลุพระอภิ-
สัมโพธิญาณ ประกาศพระธรรมจักรอันประเสริฐแล้ว เสด็จมาตามลำดับ ทรง

อาศัยกรุงราชคฤห์ประทับอยู่, ท่านกลับมายังกรุงกบิลพัศดุ์ บวชมาณพชื่อ

ปุณณะ หลานชายของตน ถวายบังคมทูลลาพระผู้มีพระภาคเจ้า ตนเอง

ก็ไปยังสระฉัททันตะเพื่ออยู่ประจำ. ส่วนท่านปุณณะมาพร้อมกับพระเถระเพื่อ

เฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า คิดว่า เราจักทำกิจของผู้บวชให้เสร็จก่อนแล้วจึงจักไป

เฝ้าพระทศพล ถูกท่านพระอัญญาโกณฑัญญเถระปล่อยไว้ในกรุงกบิลพัสดุ์นั่น

เอง ท่านทำโยนิโสมนสิการ ไม่นานนักก็บรรลุพระอรหัต เข้าเฝ้าพระผู้มี-

พระภาคเจ้า. ก็บรรดาพระเถระเหล่านั้น พระเถระสองรูปเหล่านี้ คือท่านพระ-

อนุรุทธเถระ ท่านพระอุบาลีเถระ ท่านแสดงเหมือนเข้าไปยังกรุงกบิลพัศดุ์

ของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วบวชในวันประชุมพระประยูรญาติ ฉะนั้นคำนั้นไม่

สมกับบาลีในขันธกะ และอรรถกถา. พึงสอบสวนแล้วถือเอาเถิด.

ครั้งนั้น พระศาสดาทรงทราบอาจาระทางจิตของภิกษุ ๕๐๐ รูป มี
พระสารีบุตรเถระเป็นต้นแล้ว ทรงเริ่มตรัสคุณทั้งหลายของพระองค์. ด้วย

เหตุนั้น ท่านพระสังคีติกาจารย์ทั้งหลาย จึงกล่าวว่า

พระมหามุนี ผู้ฉลาดในข้ออุปมาทรงทราบจิต
ของภิกษุเหล่านั้น จะทรงตัดความสงสัย จึงตรัสคุณ
ของพระองค์.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โอปมฺมกุสโล ได้แก่ ผู้ฉลาดในข้อ
อุปมา. กงฺขจฺเฉโท ได้แก่ ทรงตัดความสงสัยของสัตว์ทั้งปวง.

บัดนี้ เพื่อทรงแสดงพระคุณทั้งหลายของพระองค์ ที่พระองค์ตรัสแล้ว
จึงตรัสว่า

เบื้องต้นและเบื้องปลาย ของอสงไขยเหล่าใดอัน
ใครๆ รู้ไม่ได้ อสงไขยเหล่านั้น มี ๔ คือ สัตตนิกาย
๑ หมู่สัตว์ ๑ โอกาสจักรวาลอันไม่สิ้นสุด ๑ และพระ-
พุทธญาณที่นับไม่ได้ ๑ อสงไขยเหล่านั้น ใคร ๆ ไม่
อาจจะรู้ได้.
แก้อรรถ
ในคาถานั้น ศัพท์ว่า จตฺตาโร กำหนดจำนวนที่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงชี้ความที่พึงตรัส ณ บัดนี้ด้วยบทว่า เอเต. บทว่า อสงฺเขยฺยา ได้แก่ ชื่อ

ว่าอสงไขย เพราะใครๆ ไม่อาจนับได้. อธิบายว่าเกินที่จะนับ. บทว่า โกฏิ

ได้แก่ ขอบเขตเบื้องต้นหรือเบื้องปลาย. บทว่า เยสํ ได้แก่ ของอสงไขย ๔

เหล่าใด. บทว่า น นายติ ได้แก่ ไม่ปรากฏ. บัดนี้ เพื่อจะทรงแสดงอสงไขย

๔ ดังกล่าวแล้วนั้น จึงตรัสคำว่าสตฺตกาโยเป็นต้น. บทว่า สตฺตกาโย แปลว่า

หมู่สัตว์. หมู่สัตว์ไม่มีที่สิ้นสุด ไม่มีปริมาณ นับไม่ได้. อากาศก็อย่างนั้น

ที่สุดแม้ของอากาศไม่มี จักรวาลก็เหมือนกัน ไม่มีที่สุดเหมือนกัน พุทธญาณ

คือพระสัพพัญญุตญาณ ก็นับไม่ได้. บทว่า น สกฺกา เอเต วิชานิตุํ

ความว่า เพราะเหตุที่อสงไขยเหล่านั้น ไม่มีที่สุด ฉะนั้น ใครๆ จึงไม่อาจจะ

รู้ได้.

บัดนี้ พระศาสดาเมื่อทรงขยายพระธรรมเทศนาว่า ในการทำฤทธิ์
ต่างๆ ของพระองค์ นั่นจะอัศจรรย์อะไรสำหรับเทวดาและมนุษย์เป็นต้น ซึ่ง

เกิดความประหลาดอัศจรรย์ ความประหลาดอัศจรรย์ที่วิเศษยิ่งกว่านั้น ยังมีอยู่

ขอท่านทั้งหลายจงพึงความอัศจรรย์นั้นของเรา จึงตรัสคำเป็นต้นว่า

การทำฤทธิ์ต่าง ๆ ของเรา จะอัศจรรย์อะไรใน
โลก ความอัศจรรย์ทั้งหลายอย่างอื่น ที่น่าประหลาด
น่าขนลุกชัน ยังมีเป็นอันมาก.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กึ เป็นคำค้าน. ตรัสคำว่า เอตํ ทรง
หมายถึงการทำฤทธิ์ต่างๆ นี้. บทว่า ยํ ความว่า ศัพท์ว่า ยํ นี้ ใช้ในอรรถทุติยา

วิภัตติได้ในประโยคเป็นต้นว่า ยํ ตํ อปุจฺฉิมฺห อกิตฺตยีโน อญฺญํ ตํ

ปุจฺฉาม ตทิงฺฆ พฺรูหิ ข้าพระองค์ทูลถามปัญหานั้นใด ก็ตรัสตอบแก่ข้าพระองค์

ข้าพระองค์จะทูลถามปัญหาอื่นนั้น ขอโปรดตอบปัญหานั้นด้วย, ใช้ในอรรถว่า

เหตุได้ในประโยคนี้ อฏฺฐานเมตํ ภิกฺขเว อนวกาโส ยํ เอกิสฺสา โลกธาตุ-

ยา เทฺว อรหนฺโต สมฺมาสมฺพุทฺธา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหตุใด พระ-

อรหันตสัมมาสัมพุทธแห่งโลกธาตุเดียว มี ๒ พระองค์ เหตุนั้น ไม่เป็นฐานะ

ไม่เป็นโอกาส, ใช้ในอรรถสัตตมีวิภัตติ ได้ในประโยคนี้ว่า ยํ วิปสฺสี ภควา

กปฺเป อุทปาทิ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าวิปัสสี เสด็จอุบัติในกัปใด,

ใช้ในอรรถปฐมาวิภิตติ ได้ในประโยคเป็นต้นว่า ยํ โข เม ภนฺเต เทวานํ

ตาวตึสานํ สมฺมุขา สุตํ สมฺมุขา ปฏิคฺคหิตํ, อาโรเจมิ ตํ ภควโต

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เรื่องใด ข้าพระองค์ได้ยินมาต่อหน้ารับมาต่อหน้าทวย-

เทพชั้นดาวดึงส์ ข้าพระองค์จะทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า, แม้ในที่นี้

ก็พึงเห็นว่าใช้ในอรรถปฐมาวิภัตติ. ทรงแสดงว่าความอัศจรรย์ทั้งหลายอย่างอื่น

ของเรา ที่แปลกประหลาดพิเศษยังมีเป็นอันมาก.

บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงความอัศจรรย์เหล่านั้น จึงตรัสคำเป็นต้นว่า
ครั้งใด เราชื่อว่าท้าวสันดุสิตอยู่ในหมู่เทพชั้น
ดุสิต ครั้งนั้น หมื่นโลกธาตุ ก็พากันประคองอัญชลี
อ้อนวอนเรา.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยทา แปลว่า ในกาลใดพระผู้มีพระภาค-
เจ้าทรงชี้พระองค์เองด้วยบทว่า อหํ. บทว่า ตุสิเต กาเย ได้แก่ หมู่เทพที่

ชื่อว่าดุสิต. ก็ในกาลใดเราบำเพ็ญบารมี ๓๐ ถ้วน บริจาคมหาบริจาค ๕ ถึงที่

สุดแห่งญาตัตถจริยา โลกัตถจริยาและพุทธจริยา ให้สัตตสตกมหาทาน ทำ

แผ่นดินให้ไหว ๗ ครั้ง จุติจากอัตภาพเป็นพระเวสสันดรแล้วก็บังเกิดในภพ

ดุสิต ในวาระจิตที่สอง แม้ในกาลนั้นเราก็ได้เป็นเทวราชชื่อท้าวสันดุสิต. บทว่า

ทสสหสฺสี สมาคมฺม ความว่า เทวดาในหมื่นจักรวาลมาประชุมกันแล้ว.

บทว่า ยาจนฺติ ปญฺชลี มมํ ความว่า เทวดาหมื่นโลกธาตุ เข้าไปหาเรา

อ้อนวอนเราว่า ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์ พระองค์เมื่อบำเพ็ญบารมี ๑๐ ทัศ มิใช่

ปรารถนาสมบัติท้าวสักกะ มิใช่ปรารถนาสมบัติมาร มิใช่ปรารถนาสมบัติพรหม

มิใช่ปรารถนาสมบัติจักรพรรดิบำเพ็ญ แต่พระองค์ปรารถนาความเป็นพระพุทธ-

เจ้าบำเพ็ญเพื่อช่วยขนสัตว์ข้ามโอฆสงสาร. ด้วยเหตุนั้น ท่านพระสังคีติกาจารย์

ทั้งหลายจึงกล่าวว่า [เทวดาในหมื่นโลกธาตุทูลวอนว่า]

ข้าแต่พระมหาวีระ นี้เป็นกาลสมควรสำหรับ
พระองค์ ขอพระองค์โปรดอุบัติในครรภ์พระมารดา
ขอพระองค์ เมื่อจะทรงช่วยมนุษย์โลกพร้อมทั้งเทวโลก
ให้ข้ามโอฆสงสาร โปรดจงตรัสรู้อมตบทเถิด.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กาโล เต แปลว่า เป็นกาลสมควร
สำหรับพระองค์. หรือปาฐะก็อย่างนี้เหมือนกัน. บทว่า อุปฺปชฺชํ ได้แก่

ถือปฏิสนธิ. ปาฐะว่า โอกฺกมฺม ก็มี. บทว่า สเทวกํ ความว่า โลกพร้อม

ทั้งเทวโลก ในบทว่า ตารยนฺโต นี้ แม้ทรงบำเพ็ญบารมีอยู่ก็ชื่อว่า ช่วยให้

ข้าม. แม้ทรงบำเพ็ญบารมีเสร็จ ก็ชื่อว่าช่วยให้ข้าม. แม้ทรงจุติจากอัตภาพ

เป็นพระเวสสันดร ถือปฏิสนธิในภพดุสิตดำรงอยู่ในภพดุสิตนั้น ตลอด ๕๗

โกฏิปีกับ ๖๐ แสนปี ก็ชื่อว่าช่วยให้ข้าม. ทรงถูกเทวดาทั้งหลายทูลวอน ทรง

ตรวจมหาวิโลกนะ ๕ แล้ว ทรงถือปฏิสนธิในพระครรภ์ของพระนางเจ้ามหา-

มายาเทวีก็ดี ทรงอยู่ในพระครรภ์ถ้วนทศมาสก็ดี ก็ชื่อว่าช่วยให้ข้าม แม้ทรง

อยู่ครองฆราวาสวิสัย ๒๙ พรรษา ก็ชื่อว่าช่วยให้ข้าม. ในวันประสูติพระราหุล-

ภัททะ ทรงมีนายฉันนะเป็นสหาย ขึ้นทรงม้ากัณฐกะเสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์

ก็ดี เสด็จเลย ๓ ราชอาณาจักรทรงผนวช ณ ริมฝั่งแน่น้ำอโนมา ก็ดี ก็ชื่อว่า

ทรงช่วยให้ข้าม. ทรงบำเพ็ญความเพียร ๖ ปีก็ดี ในวันวิสาขบูรณมีเพ็ญเดือน

วิสาขะ เสด็จขึ้นสู่มหาโพธิมัณฑสถาน [โคนโพธิพฤกษ์] ทรงกำจัดกองกำลัง

ของมาร ปฐมยาม ทรงระลึกได้ถึงขันธ์ในบุรพชาติ มัชฌิมยามทรงชำระ

ทิพยจักษุ ปัจฉิมยามทรงพิจารณาปฏิจจสมุปบาท ๑๒ องค์ ทั้งอนุโลมและ

ปฏิโลมทรงบรรลุโสดาปัตติมรรค ก็ดี ก็ชื่อว่าช่วยให้ข้าม. ในขณะโสดาปัตติ-

ผลก็ดี ในขณะสกทาคามิมรรคก็ดี ในขณะสกทาคามิผลก็ดี ในขณะอนาคามิ-

มรรคก็ดี ในขณะอนาคามิผลก็ดี ในขณะอรหัตมรรคก็ดี ในขณะอรหัตผล

ก็ดี ก็ชื่อว่าช่วยให้ข้าม. ในกาลใด ได้ประทานน้ำอมฤตแก่ภิกษุปัญจวัคคีย์

พร้อมด้วยเทวดาหมื่นแปดพันโกฏิ๑ นับตั้งแต่กาลนั้น ท่านเรียกว่า ชื่อว่า

ทรงช่วยให้ข้ามแล้ว ด้วยเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า

๑. ที่อื่นเป็น ๑๘ โกฏิ.
เมื่อทรงยังโลกพร้อมเทวโลกให้ข้ามโอฆสงสาร
ขอโปรดจงบรรลุอมตบท.
ครั้งนั้น พระมหาสัตว์ แม้ถูกเทวดาทั้งหลายทูลวอนขอ ก็มิได้
ประทานปฏิญญาคำรับรองแก่เทวดาทั้งหลาย แต่ทรงตรวจดู มหาวิโลกนะ ๕

คือกำหนดกาล ทวีป ประเทศ ตระกูลพระชนมายุของพระชนนี บรรดา

มหาวิโลกนะ ๕ นั้น ทรงตรวจดูกาลก่อนว่า เป็นกาลสมควร หรือยังไม่เป็น

กาลสมควร. ในกาลนั้น อายุกาล [ของสัตว์] สูงกว่าแสนปีขึ้นไป ยังไม่ชื่อว่า

กาล. เพราะเหตุไร. เพราะทุกข์มีชาติชรามรณะเป็นต้นไม่ปรากฏ ก็ธรรมดา

พระธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ที่ชื่อว่าพ้นจากไตรลักษณ์ ไม่มีเลย.

เมื่อพระพุทธเจ้าเหล่านั้นตรัสว่า อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ดังนี้ สัตว์ทั้งหลาย

ย่อมไม่เชื่อว่า พระพุทธเจ้าเหล่านั้นตรัสเรื่องอะไร แต่นั้น การตรัสรู้ก็ไม่มี

เมื่อการตรัสรู้นั้นไม่มี คำสั่งสอนก็ไม่เป็นนิยยานิกกะนำสัตว์ออกจากทุกข์ เพราะ

ฉะนั้น กาลนั้น จึงไม่เป็นกาลสมควร. แม้อายุกาล [ของสัตว์] ต่ำกว่าร้อยปี

ก็ยังไม่เป็นกาลสมควร เพราะเหตุไร เพราะกาลนั้น สัตว์ทั้งหลายมีกิเลส

หนาแน่น และโอวาทที่ประทานแก่สัตว์ทั้งหลายที่มีกิเลสหนาแน่น ไม่อยู่ใน

ฐานะควรโอวาท เพราะฉะนั้นกาลแม้นั้น ก็ไม่เป็นกาลสมควร. อายุกาลอย่าง

ต่ำตั้งแต่แสนปีลงมา อย่างสูงตั้งแต่ร้อยปีขึ้นไป ชื่อว่า กาลสมควร. บัดนี้

มนุษย์ทั้งหลายมีอายุร้อยปี เพราะเหตุนั้น ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์ทรงเห็นว่า

เป็นกาลที่ควรบังเกิด.

ต่อนั้น ทรงตรวจดู ทวีป ทรงเห็นทวีปว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลาย
ย่อมบังเกิดในชมพูทวีปเท่านั้น. ธรรมดาชมพูทวีป เป็นทวีปใหญ่มีเนื้อที่

ประมาณหมื่นโยชน์.

เมื่อทรงตรวจดู ประเทศ ว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลายบังเกิดในประเทศ
ไหนหนอ ก็ทรงเห็นมัชฌิมประเทศ.

ต่อจากนั้นก็ทรงตรวจดู ตระกูล ว่า ธรรมดาพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
บังเกิดในตระกูลที่โลกสมมติ. บัดนี้ ตระกูลกษัตริย์เป็นตระกูลที่โลกสมมติ

จำเราจักบังเกิดในตระกูลกษัตริย์นั้น พระราชาพระนามว่าสุทโธทนะจักเป็น

พระชนกของเรา.

แต่นั้นก็ตรวจดู พระชนนี ว่า สตรีนักเลงสุราเหลวไหลจะเป็นพุทธ-
มารดาไม่ได้ จะต้องเป็นสตรีมีศีล ๕ ไม่ขาด ดังนั้นพระราชเทวีพระนามว่า

มหามายานี้ก็เป็นเช่นนี้ พระนางเจ้ามหามายานี้จักเป็นชนนีของเรา. เมื่อทรง

นึกว่าพระนางเจ้าจะทรงมี พระชนมายุ ได้เท่าไร ก็ทรงเห็นว่าได้ต่อไปอีก

๗ วัน หลังครบทศมาสแล้ว.

ครั้นทรงตรวจมหาวิโลกนะ ๕ ประการนี้ดังนี้แล้ว ก็ประทานปฏิญญา
แก่เทวดาทั้งหลายว่า เป็นกาลสมควรที่เราจะเป็นพระพุทธเจ้า ทรงดำรงอยู่ใน

ภพดุสิตนั้นตลอดชนมายุแล้วจุติจากภพดุสิตนั้น ทรงถือปฏิสนธิในพระครรภ์

พระนางเจ้ามายาเทวีในราชสกุลศากยะ ด้วยเหตุนั้น ท่านพระสังคีติกาจารย์

ทั้งหลาย จึงกล่าวเป็นต้นว่า

พระโพธิสัตว์จุติจากหมู่เทพชั้นดุสิตแล้ว เสด็จ
ลงในพระครรภ์ ในกาลใด ในกาลนั้น หมื่นโลกธาตุ
ไหว แผ่นปฐพีก็ไหว.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โอกฺกมิ ได้แก่ ก้าวลงเข้าไป. บทว่า
กุจฺฉยํ แปลว่า ในพระครรภ์ของพระพุทธมารดา. บทว่า ทสสหสฺสีโลกธาตุ

กมฺปิตฺถ ความว่า พระโพธิสัตว์ทรงมีสติสัมปชัญญะเมื่อลงสู่พระครรภ์ของ

พระพุทธมารดา ทรงถือปฏิสนธิโดยนักษัตรฤกษ์เดือนอาสาฬหะหลัง ในดิถี

เพ็ญอาสาฬหะ ด้วยมหาวิปากจิตที่เป็นเช่นเดียวกับกุศลจิตอสังขาริก ที่สหรคต

ด้วยโสมนัสสัมปยุตด้วยญาณอันมีเมตตาเป็นบุรพภาค ในบรรดาปฏิสนธิจิต ๑๙

ดวง. ครั้งนั้น ทั่วทั้งหมื่นโลกธาตุ ก็สะเทือนเลื่อนลั่นหวั่นไหว. ธรรมชาติใด

ย่อมทรงไว้ซึ่งสภาพที่คงที่และเคลื่อนที่ได้ทั้งหมด เหตุนั้น ธรรมชาตินั้น

ชื่อว่าธรณี คือแผ่นปฐพี.

ในบทว่า สมฺปชาโน นิกฺขมิ นี้ มีอธิบายว่า ก็ในกาลใด เรา
มีสติสัมปชัญญะยืนเหยียดมือทั้งสองออกจากพระครรภ์ของพระชนนี เหมือน

พระธรรมกถึกลงจากธรรมาสน์ และเหมือนบุรุษลงจากบันได อันของไม่

สะอาดไรๆ ที่เป็นสัมภวะในพระครรภ์ไม่แปดเปื้อนเลย. บทว่า สาธุการํ

ปวตฺเตนฺติ ได้แก่ เทวดาทั้งหลาย ยังสาธุการให้เป็นไป อธิบายว่า ถวาย

สาธุการ. บทว่า ปกมฺปิตฺถ แปลว่า ไหวแล้ว อธิบายว่า หมื่นโลกธาตุ

ไหวทั้งขณะเสด็จลงสู่พระครรภ์ ทั้งขณะประสูติจากพระครรภ์ของพระชนนี.

ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรงเห็นใคร ๆ ที่เสมอเหมือนพระองค์
ในการเสด็จลงสู่พระครรภ์เป็นต้นจึงตรัสคาถานี้ว่า โอกฺกนฺติ เม สโม

นตฺถิ เป็นต้นก็เพื่อทรงแสดงความอัศจรรย์ของพระองค์ในการเสด็จลงสู่พระ-

ครรภ์เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โอกฺกนฺติ แปลว่า ในการเสด็จลง

สู่พระครรภ์ ปฐมาวิภัตติลงในอรรถสัตตมีวิภัตติ อธิบายว่าในการถือปฏิสนธิ.

บทว่า เม แปลว่า ด้วยเรา. บทว่า สโม ได้แก่ ไม่มีใครเสมือน. ในบทว่า

ชาติโต นี้ ความว่า ชนย่อมเกิดจากมารดานี้ เหตุนั้น มารดาท่านจึงเรียกว่า

ชาตี อธิบายว่า จากมารดาผู้ให้กำเนิดนั้น. บทว่า อภินิกฺขเม ได้แก่ เสด็จ

ออก คือไหลออกจากพระครรภ์ของพระชนนี.

ในบทว่า สมฺโพธิยํ นี้ พึงทราบวินิจฉัยดังนี้ ความตรัสรู้อันดีอัน
ท่านสรรเสริญแล้ว ชื่อสัมโพธิ. ก็ โพธิ ศัพท์นี้ ใช้ในอรรถทั้งหลายมีต้นไม้

มรรค นิพพาน สัพพัญญุตญาณเป็นต้น.

จริงอยู่ต้นไม้ท่านเรียกว่า โพธิ ได้ในอาคตสถานว่า โพธิรุกฺขมูเล
ปฐมาภิสมฺพุทฺโธ ตรัสเป็นพระพุทธเจ้าครั้งแรก ณ โคนต้นโพธิ์ และว่า

อนฺตรา จ คยํ อนฺตรา จ โพธึ ระหว่างแม่น้ำคยา และโพธิพฤกษ์

มรรคเรียกว่า โพธิ ได้ในอาคตสถานว่า โพธิ วุจฺจติ จตูสุ มคฺเคสุ
ญาณํ ญาณในมรรค ๔ เรียกว่า โพธิ.


ออฟไลน์ ตถตา

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นไม้เล็กพริ้วไหวดั่งสายลม
  • *
  • กระทู้: 326
  • พลังกัลยาณมิตร 154
    • ดูรายละเอียด
Re: มธุรัตถวิลาสินี
« ตอบกลับ #32 เมื่อ: ธันวาคม 13, 2010, 07:33:10 pm »
นิพพานเรียกว่า โพธิ ได้ในอาคตสถานว่า ปตฺวาน โพธิ อมตํ
อสงฺขตํ บรรลุพระนิพพานอันเป็นอมตะ เป็นอสังขตะ. พระสัพพัญญุตญาณ

เรียกว่า โพธิ ได้ในอาคตสถานว่า ปปฺโปติ โพธึ วรภูริเมธโส พระผู้มี

ปัญญาประเสริฐกว้างดังแผ่นดิน ทรงบรรลุพระสัพพัญญุตญาณ. แต่ในที่นี้

ท่านประสงค์พระอรหัตมรรคญาณของพระผู้มีพระภาคเจ้า อาจารย์พวกอื่นๆ

กล่าวว่า สัพพัญญุตัญญาณ ดังนี้ก็มี. อธิบายว่า เราเป็นผู้ประเสริฐสุดในพระ

สัพพัญญุตญาณนั้น.

ถามว่า ก็เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงอาศัยพระสัมโพธิ-
ญาณ สรรเสริญพระองค์เอง. ตอบว่า เพราะพระสัมโพธิญาณให้คุณทุกอย่าง

จริงอยู่ ความตรัสรู้พร้อมของพระผู้มีพระภาคเจ้าให้คุณทุกอย่างย่อมให้

พระพุทธคุณแม้ทั้งหมด ไม่เหลือเลย แต่ไม่ให้คุณแก่คนอื่น ๆ. ก็บรรดา

คนทั้งหลายอื่นพระอรหัตมรรค ย่อมให้อรหัตผลเท่านั้น แก่บางคน ให้

วิชชา ๓ แก่บางคน ให้อภิญญา ๖ แก่บางคน ให้ปฏิสัมภิทา ๔ แก่บางคน

ให้สาวกบารมีญาณแก่บางคน ให้ปัจเจกโพธิญาณเท่านั้นแก่พระปัจเจกพุทธะ

ทั้งหลาย แต่ให้คุณสมบัติทุกอย่างแก่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย เพราะฉะนั้น พระ

ผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงสรรเสริญพระองค์เองว่า เป็นผู้ประเสริฐสุดในพระสัมโพธิ-

ญาณ เพราะพระสัมโพธิญาณให้คุณทุกอย่าง. อนึ่ง ทรงทำพื้นแผ่นปฐพีให้

ไหวแล้วก็ทรงบรรลุพระสัมโพธิญาณ เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัส

ว่า เราเป็นผู้ประเสริฐสุดในพระสัมโพฐิญาณ. ในบทว่า ธมฺมจกฺกปฺปวตฺตเน

พึงทราบวินิจฉัยดังนี้. ก็ธรรมจักรมี ๒ คือ ปฏิเวธญาณ ๑ เทศนาญาณ ๑

ในธรรมจักร ๒ อย่างนั้น ธรรมจักรอันพระปัญญาอบรมแล้วนำมาซึ่งอริยผล

แด่พระองค์ชื่อว่า ปฏิเวธญาณ. ธรรมจักรอันพระกรุณาอบรมแล้ว นำมา

ซึ่งอริยผลแก่สาวกทั้งหลายชื่อว่า เทศนาญาณ. ปฏิเวธญาณ เป็นโลกุตร-

กุศล สหรคตด้วยอุเบกขา ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร. เทศนาญาณ เป็นโลกิยะ

เป็นอัพยากฤต. แม้ญาณทั้งสองนั้น ก็ไม่ทั่วไปกับคนอื่นๆ แต่ในที่นี้ประสงค์

เอาเทศนาญาณ.

บัดนี้เทวดาทั้งหลายพึงเรื่องราวมีแผ่นดินไหวเป็นต้น ในเพราะการ
เสด็จลงสู่พระครรภ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ก็พากันกล่าวคาถานี้ว่า อโห

อจฺฉริยํ โลเก เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า พุทฺธานํ คุณมหนฺตตา

ความว่า โอ ! พระพุทธเจ้าทั้งหลายมีพระคุณมาก. โอ ! พระพุทธเจ้าทั้งหลาย

มีอานุภาพมาก.

บทว่า ทสสหสฺสีโลกธาตุ ฉปฺปการํ ปกมฺปถ ความว่า มหา
ปฐพีในหมื่นจักรวาล หวั่นไหวด้วย ๖ อาการ คือ ยืดขึ้นข้างหน้าโน้มลงข้างหลัง

ยืดขึ้นข้างหลังโน้มลงข้างหน้า ยึดขึ้นข้างซ้ายโน้มลงข้างขวา ยืดขึ้นข้างขวา

โน้มลงข้างซ้าย ยืดขึ้นตรงกลางโน้มลงข้างท้าย ยืดขึ้นข้างท้ายโน้มลงตรง

กลาง มหาปฐพีนี้หนาถึงสองแสนสี่หมื่นโยชน์ มีน้ำรองแผ่นดินอยู่รอบ ๆ

เหมือนเรือที่ถูกขนาบด้วยการหักของคลื่นแห่งน้ำที่ไหวเพราะแรงลม แม้ไม่มี

ใจก็เหมือนมีใจ ก็อาการไหวมี ๖ ประการ ดังกล่าวมานี้ เหมือนฟ้อนรำด้วย

ปีติ. บทว่า โอภาโส จ มหา อาสิ ความว่า ได้มีแสงสว่างล้ำเทวานุภาพ

ของเทวดาทั้งหลาย. บทว่า อจฺเฉรํ โลมหํสนํ ความว่า ได้มีความ

อัศจรรย์และขนลุกชัน.

บัดนี้ เมื่อความอัศจรรย์ทั้งหลาย มีแผ่นดินไหวและปรากฏแสงสว่าง
เป็นต้น เป็นไปอยู่ ท่านพระสังคีติกาจารย์ทั้งหลายกล่าวคาถาว่า ภควา ตมฺหิ

สมเย เป็นต้น ก็เพื่อแสดงความเป็นไปของพระผู้มีพระภาคเจ้า. บรรดาบท

เหล่านั้น บทว่า โลกเชฏฺโฐ ได้แก่ เป็นผู้ประเสริฐสุดในโลก. บทว่า

สเทวกํ ได้แก่ แห่งโลก พร้อมทั้งเทวโลก. พึงเห็นว่า ทุติยาภัตติใช้ในอรรถ

ฉัฏฐีวิภัตติ. บทว่า ทสฺสยนฺโต ได้แก่ เมื่อทรงแสดงปาฏิหาริย์.

บทว่า จงฺกมนฺโต ว ความว่า เสด็จจงกรม ณ รัตนจงกรมนั้น
ที่ตั้งครอบหมื่นโลกธาตุตรัส. บทว่า โลกนายโก ความว่า ครั้งนั้น พระ-

ศาสดาตรัสธรรมกถาอันไพเราะ ที่ทรงชักมาด้วยไตรลักษณ์ประกอบด้วยสัจจะ

๔ มีนัยวิจิตรต่างๆ ด้วยพระสุรเสียงดั่งเสียงพรหม น่าฟัง น่ารัก ประกอบ

ด้วยองค์ ๘ ประหนึ่งราชสีห์แผดสีหนาท เหนือพ้นแท่นหินอ่อนสีแดง ประ-

หนึ่งเมฆในฤดูฝน คำรามอยู่ และประหนึ่งข้ามอากาศคงคา.

ในคำว่า อนฺตรา น นิวตฺเตติ จตุหตฺเถ จงฺกเม ยถา นี้ มี
ความว่า ที่จงกรมที่พระศาสดาทรงเนรมิตนั้น ปลายข้างหนึ่งอยู่ที่ขอบปาก

จักรวาลด้านทิศตะวันออก ข้างหนึ่งอยู่ที่ขอบปากจักรวาลด้านทิศตะวันตก

พระศาสดา เสด็จจงกรม ณ รัตนจงกรมนั้นที่ตั้งอยู่ดังกล่าวนี้ เสด็จถึงปลาย

ทั้งสองข้างจึงจะเสด็จกลับ ระหว่างยังเสด็จไม่ถึงปลายสองข้าง จะไม่เสด็จกลับ

พระศาสดา เมื่อเสด็จจงกรม ณ ที่จงกรมประมาณ ๔ ศอก ถึงปลายสองข้าง

เร็ว จึงเสด็จกลับอย่างใด จะไม่เสด็จกลับในระหว่างอย่างนั้น. ทำไม พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าจึงไม่ทรงย่นที่จงกรม ซึ่งยาวถึงประมาณหมื่นโยชน์ให้สั้น

หรือทรงเนรมิตอัตภาพให้ใหญ่ขนาดนั้น แต่ก็มิได้ทรงกระทำอย่างนั้น พุท-

ธานุภาพของพระพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นอจินไตย ไม่ควรคิด. หมื่นโลกธาตุได้

เป็นลานอันเดียวกัน นับตั้งแต่อกนิษฐภพจนถึงอเวจีนรก และโดยเบื้องขวาง

หมื่นจักวาลก็ได้เป็นลานอันเดียวกัน. เทวดาทั้งหลายเห็นมนุษย์ แม้มนุษย์

ทั้งหลายก็เห็นเทวดา เทวดาและมนุษย์ทั้งหมด จะเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า

เสด็จจงกรมโดยปกติได้โดยประการใด ก็เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้ากำลังเสด็จ

จงกรม โดยประการนั้น. ก็พระผู้มีพระภาคเจ้ากำลังเสด็จจงกรม ก็ทรงแสดง

ธรรม และทรงเข้าสมาบัติในระหว่าง ๆ.


ออฟไลน์ ตถตา

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นไม้เล็กพริ้วไหวดั่งสายลม
  • *
  • กระทู้: 326
  • พลังกัลยาณมิตร 154
    • ดูรายละเอียด
Re: มธุรัตถวิลาสินี
« ตอบกลับ #33 เมื่อ: ธันวาคม 13, 2010, 07:34:51 pm »
พรรณนารัตนจังกมนกัณฑ์ ที่ ๕


ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า อันหมู่เทพใน
หมื่นโลกธาตุห้อมล้อมแล้ว เสด็จจงกรมอยู่ด้วยพุทธสิริวิลาส อันหาที่เปรียบ

มิได้ ด้วยพระพุทธลีลาอันไม่มีอะไรเปรียบ เหมือนภูเขาทองอันประเสริฐ

เคลื่อนที่ได้ มีพระพุทธสรีระอันประเสริฐ งดงามด้วยพระวรลักษณ์ ๓๒ อัน

กำลังกุศลที่ทรงสร้างสมมาตลอดสมัยที่ประมาณมิได้ รุ่งเรืองด้วยพระอนุพยัญ-

ชนะ ๘๐ มีพระสิริแวดล้อมด้วยพระรัศมีวาหนึ่ง สูง ๑๘ ศอก เหมือนดวงจันทร์

เต็มดวงในฤดูสารท และเหมือนดอกปาริฉัตตกะ สูงร้อยโยชน์ ออกดอกบาน

สะพรั่งทั่วต้น. ครั้นเห็นแล้วก็ดำริว่า หมื่นโลกธาตุแม้ทั้งสิ้นนี้ประชุมกันแล้ว

ก็ในที่ประชุมนี้ ควรมีพระธรรมเทศนากัณฑ์ใหญ่. ก็พุทธวงศ์เทศนา จะมี

อุปการะมาก นำมาซึ่งความเลื่อมใส ถ้ากระไร เราพึงทูลถามพุทธวงศ์ จำเดิม

แต่อภินีหารการบำเพ็ญบารมีของพระทศพล แล้วจึงทำจีวรเฉวียงบ่า เข้าเผ้า

พระผู้มีพระภาคเจ้า ประคองอัญชลีที่รุ่งเรืองด้วยทศนขสโมธาน เสมอดอกบัว

ตูมเกิดอยู่ในน้ำ ไม่มีมลทิน ไม่วิกล ไว้เหนือเศียรแล้ว ทูลถามผู้มีพระ-

ภาคเจ้ามีว่า กีทิโส เต มหาวีร เป็นต้น. ด้วยเหตุนั้น ท่านพระสังคี-

ติกาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวเป็นต้นว่า

ท่านพระสารีบุตร ผู้มีปัญญามากฉลาดในสมาธิ
และญาณ ผู้บรรลุบารมีด้วยปัญญา ทูลถามพระผู้นำ
โลกว่า
ข้าแต่พระมหาวีระ ผู้เป็นยอดนรชน อภินีหาร
ของพระองค์เป็นเช่นไร.
ข้าแต่พระผู้แกล้วกล้า พระองค์ทรงปรารถนา
พระโพธิอันสูงสุดเมื่อกาลไร พระเจ้าข้า.
ถามว่า อนุสนธินี้ ชื่ออะไร ตอบว่า ชื่อว่าปุจฉานุสนธิ จริงอยู่ อนุ-
สนธิ มี ๓ คือ ปุจฉานุสนธิ อัชฌาสยานุสนธิ และ ยถานุสนธิ. ใน

อนุสนธิทั้ง ๓ นั้น พึงทราบ ปุจฉานฺสนธิ โดยพระสูตรที่พระผู้มีพระภาค-

เจ้าทรงตอบปัญหาของผู้ถามอย่างนี้ว่า เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว

ภิกษุรูปหนึ่งก็ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ฝั่งใน

เป็นอย่างไร ฝั่งนอกเป็นอย่างไร.

อัชฌาสยานุสนธิ พึงทราบตามที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบอัธ-
ยาศัยของผู้อื่นแล้วตรัสอย่างนี้ว่า ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่ง เกิดปริวิตกแห่งใจอย่าง

นี้ว่า ท่านผู้เจริญ เขาว่ารูปเป็นอนัตตา เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ

ก็เป็นอนัตตาดังนี้ กรรมที่อนัตตาทำแล้ว จักกระทบตนอย่างไร. ครั้งนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงทราบ ปริวิตกแห่งใจของภิกษุรูปนั้น ด้วยพระหฤทัย

จึงทรงเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่โมฆบุรุษบางคน

ในธรรมวินัยนี้ไม่รู้ อยู่ในอวิชชา พึงสำคัญสัตถุศาสน์ว่าพึงแส่ไปด้วยใจที่มี

ตัณหาเป็นอธิปไตย ว่า ท่านผู้เจริญ เขาว่ารูปเป็นอนัตตาอย่างนี้ เวทนา สัญญา

สังขาร วิญญาณ เป็นอนัตตา กรรมที่อนัตตาทำแล้ว จักกระทบตน

อย่างไร ฯลฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย รูปเที่ยง หรือไม่เที่ยง.๑

๑. ท. อุปริ. ๑๔/ข้อ ๑๒๙.

อนึ่ง เทศนาในชั้นต้น ตั้งขึ้นโดยธรรมใด เทศนาชั้นสูงมาใน
พระสูตรเหล่าใด โดยธรรมสมควรแก่ธรรมนั้น หรือโดยคัดค้าน ยถานุสนธิ

ก็พึงทราบโดยอำนาจพระสูตรเหล่านั้น ด้วยเหตุนั้น ข้าพเจ้าจึงกล่าวว่าเป็น

ปุจฉานุสนธิ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปญฺญาย ปารมิปฺปตฺโต ความว่า
ถึงที่สุดสาวกบารมีญาณ. บทว่า ปุจฺฉติ แปลว่า ได้ถามแล้ว. ในคำว่า

ปุจฺฉติ นั้น ชื่อว่าปุจฉา มี ๕ อย่าง คือ อทิฏฐโชตนาปุจฉา ทิฏฐสัง-

สันทนาปุจฉา วิมติจเฉทนาปุจฉา อนุมติปุจฉา กเถคุกัมยตาปุจฉา. ถ้าจะถาม

ว่า ในปุจฉาเหล่านั้น ปุจฉาของพระเถระนี้ ชื่อว่าปุจฉาอะไร. ตอบว่า เพราะ

เหตุที่พุทธวงศ์นี้มิใช่วิสัยของพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย ผู้สร้างสมบุญสมภาร

มาหนึ่งอสงไขยกำไรแสนกัป และของพระอัครสาวกทั้งสอง ผู้สร้างสมบุญ-

สมภารมาหนึ่งอสงไขยกำไรแสนกัป หรือของพระมหาสาวกที่เหลือ ผู้สร้างสม

บุญสมภารมาแสนกัป เป็นวิสัยของพระสัพพัญญูพุทธเจ้าทั้งหลายเท่านั้น เพราะ

ฉะนั้น ปุจฉาของพระเถระพึงทราบว่า เป็นอทิฏฐโชตนาปุจฉา.

ศัพท์ว่า กีทิโส เป็นอาการถาม อธิบายว่ามีประการไร. บทว่า เต
แปลว่า ของพระองค์. บทว่า อภินีหาโร ความว่า การผูกใจเพื่อเป็นพระ-

พุทธเจ้า นอนอธิษฐานความเพียรว่าเราไม่ได้คำพยากรณ์ของพระพุทธเจ้าจัก

ไม่ลุกขึ้นดังนี้ ชื่อว่าอภินีหาร. ด้วยเหตุนั้น ท่านพระสารีบุตรจึงกล่าวว่า

ข้าแต่พระมหาวีระ ผู้เป็นยอดนรชน อภินีหารของพระองค์เป็นเช่นไร.

บทว่า กมฺหิ กาเลแปลว่าในกาลไร. บทว่าปตฺถิตา แปลว่าปรารถนา
แล้วหวังแล้ว. พระเถระทูลถามว่า ทรงทำการตั้งความปรารถนาเป็นพระพุทธ

เจ้าไว้เมื่อไร โดยนัยเป็นต้นว่า พึงตรัสรู้เป็นพระผู้ตรัสรู้ พึงพ้นเป็นพระผู้พ้น.

บทว่า โพธิ ได้แก่ สัมมาสัมโพธิ คำนี้เป็นชื่อของพระอรหัตมรรคญาณ และ

พระสัพพัญญุตญาณ. บทว่า อุตฺตมา ได้แก่ ท่านกล่าวว่าสูงสุด เพราะ

ประเสริฐกว่าสาวกโพธิและปัจเจกโพธิ. ม อักษรทำบทสนธิระหว่างศัพท์

ทั้งสอง

บัดนี้ พระเถระเมื่อจะทูลถามถึงธรรมที่ทำให้เป็นพระพุทธเจ้า จึง
กล่าวว่า

ทาน ศีล เนกขัมมะ ปัญญา วิริยะ เป็นเช่นไร
ขันติ สัจจะ อธิษฐาน เมตตา และอุเบกขาเป็นเช่นไร
ข้าแต่พระมหาวีระ ผู้นำโลก บารมี ๑๐ เป็น
เช่นไร อุปบารมี เป็นเช่นไร ปรมัตถบารมี เป็น
เช่นไร.
แก้อรรถ
บรรดาบารมีเหล่านั้น จะกล่าวทานบารมีก่อน การบริจาคสิ่งของ
ภายนอก ชื่อว่า บารมี. การบริจาคอวัยวะชื่อว่า อุปบารมี. การบริจาคชีวิต

ชื่อว่า ปรมัตถบารมี. แม้ในบารมีที่เหลือก็นัยนี้เหมือนกัน. บารมี ๑๐

อุปบารมี ๑๐ ปรมัตถบารมี ๑๐ รวมเป็นบารมี ๓๐ ทัศ ด้วยประการฉะนี้.

ในบารมี ๓๐ ทัศนั้น อัตภาพของพระโพธิสัตว์ที่ทรงบำเพ็ญทานบารมีก็นับไม่

ถ้วน ในสสบัณฑิตชาดก ทานบารมีของพระโพธิสัตว์นั้น ผู้ทำการเสียสละ

ชีวิตเป็นปรหิตประโยชน์อย่างนี้ว่า

ภิกฺขาย อุปคตํ ทิสฺวา สกตฺตานํ ปริจฺจชึ
ทาเนน เม สโม นตฺถิ เอสา เม ทานปารมี.
เราเห็นภิกษุเข้าไปหาอาหาร ก็เสียสละตัวเอง
ผู้เสมอเราด้วยทานไม่มี นี่เป็น ทานบารมี ของเรา.
ชื่อว่า ปรมัตถบารมี โดยส่วนเดียว.

อัตภาพของพระโพธิสัตว์ที่ทรงบำเพ็ญศีลบารมีก็นับไม่ถ้วนเหมือนกัน
ในสังขปาลชาดก ศีลบารมีของพระโพธิสัตว์นั้น ผู้ทำการเสียสละตัวอย่างนี้ว่า

สูเลหิ วินิวิชฺฌนฺเต โกฏฺฏยนฺเตปิ สตฺติภิ
โภชปุตฺเต น กุปฺปามิ เอสา เม สีลปารมี.
ถึงบุตรนายบ้าน แทงด้วยหลาว ตอกด้วยหอก
เราก็ไม่โกรธ นี่เป็น ศีลบารมี ของเรา.
ชื่อว่า ปรมัตถบารมี โดยส่วนเดียวเหมือนกัน.

อัตภาพของพระโพธิสัตว์ ที่ทรงสละราชสมบัติใหญ่บำเพ็ญเนกขัมม-
บารมี ก็นับไม่ถ้วนเหมือนกัน ในจุลสุตโสมชาดก เนกขัมมบารมีของพระ

โพธิสัตว์นั้น ผู้สละราชสมบัติ เพราะไม่มีความประสงค์แล้ว ออกทรงผนวช

อย่างนี้ว่า

มหารชฺชํ หตฺถคตํ เขฬปิณฺฑํว ฉฑฺฑยึ
จชโต น โหติ ลคฺคนํ เอสา เม เนกฺขมฺมปารมี.
เราสละราชสมบัติใหญ่ ที่อยู่ในเงื้อมมือเหมือน
ก้อนเขฬะ เราผู้สละโดยไม่ติดข้องเลย นี่เป็นเนกขัมม-
บารมี ของเรา.
ชื่อว่า ปรมัตถบารมี โดยส่วนเดียว.

อัตภาพของพระโพธิสัตว์ ที่ทรงบำเพ็ญปัญญาบารมี ในครั้งเป็น
มโหสธบัณฑิตเป็นต้นก็นับไม่ถ้วนเหมือนกัน. ครั้งเป็นสัตตุภัตตกบัณฑิต

ปัญญาบารมีของพระโพธิสัตว์นั้น ผู้แสดงงูที่อยู่ในถุงหนังว่า

ปญฺญาย วิจินนฺโตหํ พฺราหฺมณํ โมจยี ทุกฺขา
ปญฺญาย เม สโม นฺตฺถิ เอสา เม ปญฺญาปารมี.
เราเมื่อพิจารณาเฟ้นด้วยปัญญา ก็เปลื้องทุกข์
ของพราหมณ์ได้ ผู้เสมอเราด้วยปัญญาไม่มี นี่เป็น
ปัญญาบารมี ของเรา.
ชื่อว่า ปรมัตถบารมี โดยส่วนเดียว.

อัตภาพของพระโพธิสัตว์ที่ทรงบำเพ็ญวิริยบารมี ก็นับไม่ถ้วนเหมือน
กัน. ในมหาชนกชาดก วิริยบารมีของพระโพธิสัตว์นั้น ผู้ข้ามมหาสมุทร

อย่างนี้ว่า

อตีรทสฺสี ชลมชฺเฌ หตา สพฺเพว มานุสา
จิตฺตสฺส อญฺญถา นตฺถิ เอสา เม วิริยปารมี.
ท่ามกลางทะเลลึกล้ำ มนุษย์ทั้งหมดถูกภัยกำจัด
แล้ว จิตก็ไม่เปลี่ยนไป นี่เป็น วิริยบารมี ของเรา.
ชื่อว่า ปรมัตถบารมี โดยส่วนเดียว
ในขันติวาทีชาดกก็เหมือนกัน ขันติบารมีของพระโพธิสัตว์ ผู้อด
กลั้นทุกข์ใหญ่ ประหนึ่งไม่มีจิตใจ อย่างนี้ว่า

อเจตนํว โกฏฺเฏนฺเต ติณฺเหน ผรสฺนา มมํ
กาสิราเช น กุปฺปามิ เอสา เม ขนฺติปารมี.
พระเจ้ากาสี จะทรงใช้ขวานคมกริบ ฟาดฟัน
เราผู้ประหนึ่งไม่มีจิตใจ เราก็ไม่โกรธ นี่เป็นขันติบารมี
ของเรา.
ชื่อว่า ปรมัตถบารมี.

ในมหาสุตโสมชาดกก็เหมือนกัน. สัจบารมีของพระโพธิสัตว์ ผู้
สละชีวิตรักษาสัจ อย่างนี้ว่า

สจฺจวาจํนุรกฺขนฺโต จชิตฺวา มม ชีวิตํ
โมเจสึ เอกสตํ ขตฺติเย เอสา เม สจฺจปารมี.
เราเมื่อตามรักษาสัจวาจา ก็ยอมสละชีวิตของ
เราเปลื้องทุกข์กษัตริย์ได้ ๑๐๑ พระองค์ นี่เป็นสัจบารมี
ของเรา.
ชื่อว่า ปรมัตถบารมี.

ในมูคปักขชาดกก็เหมือนกัน อธิษฐานบารมีของพระโพธิสัตว์ ผู้
ยอมสละชีวิตอธิษฐานวัตร อย่างนี้ว่า

มาตา ปิตา น เม เทสฺสา อตฺตา เม น จ เทสฺสิโย
สพฺพญฺญุตํ ปิยํ มยฺหํ ตสฺมา วตํ อธิฏฺฐหึ.
มารดาบิดาไม่เป็นที่เกลียดชังของเรา ตัวก็ไม่
เป็นที่เกลียดชังของเรา พระสัพพัญญุตญาณเป็นที่รัก
ของเรา เพราะฉะนั้นเราจึงอธิษฐานวัตร.
ชื่อว่า ปรมัตถบารมี.

ในสุวรรณสามชาดก ก็เหมือนกัน เมตตาบารมีของพระโพธิสัตว์
ผู้ไม่อาลัยแม้แต่ชีวิต ประพฤติเมตตา อย่างนี้ว่า

น มํ โกจิ อุตฺตสติ นปิ ภายามิ กสฺสจิ
เมตฺตาพเลนุปตฺถทฺโธ รมามิ ปวเน ตทา.
ใคร ๆ ทำเราให้หวาดสะดุ้งไม่ได้ แม้เราก็ไม่
กลัวต่อใครๆ เราอันกำลังเมตตาอุดหนุนแล้วจึงยินดี
อยู่ในป่าใหญ่ ในครั้งนั้น.
ชื่อว่า ปรมัตถบารมี.

ในโลมหังสชาดกก็เหมือนกัน อุเบกขาปารมีของพระโพธิสัตว์
เมื่อเด็กชาวบ้านทั้งหลาย ก่อให้เกิดควานสุขและความทุกข์ด้วยการถ่มน้ำลายรด

เป็นต้นและด้วยการตีด้วยพวงมาลัยและของหอมเป็นอาทิ ก็ไม่ละเมิดอุเบกขา

อย่างนี้ว่า

สุสาเน เสยฺยํ กปฺเปมิ ฉวฏฺฐิกํ อุปนิธายหํ
คามณฺฑลา อุปคนฺตฺวา รูปํ ทสฺเสนฺตินปฺปกํ.
เราจะวางซากกระดูกไว้แล้วนอนในป่าช้า พวก
เด็กชาวบ้าน เข้าไปลานบ้าน แสดงรูปหลอกมิใช่
น้อย.
ชื่อว่าปรมัตถบารมี. ความสังเขปในข้อนี้มีเท่านี้ ส่วนความพิศดาร พึงถือเอา

จากคัมภีร์จริยาปิฎก.

บัดนี้ ท่านพระสังคีติกาจารย์ทั้งหลาย เมื่อแสดงคำพยากรณ์ของ
พระผู้มีพระภาคเจ้า อันพระเถระทูลถามแล้ว จึงกล่าวว่า

พระผู้มีพระภาคเจ้า อันท่านพระธรรมเสนาบดี
สารีบุตรทูลถามแล้ว ผู้มีพระสุรเสียงไพเราะดั่งนก
การเวกทรงยังดวงใจให้ดับร้อน ปลอบประโลมโลก
ทั้งเทวโลก ทรงพยากรณ์แล้ว.
ทรงประกาศพระธรรมเทศนา คือ จริตของพระ-
พุทธเจ้าทั้งหลายที่ล่วงมาแล้ว อันพระพุทธเจ้าทรงนำ
สืบๆ กันมา คือพุทธวงศ์อันเป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่
โลก ในโลกพร้อมทั้งเทวโลก ด้วยความรู้อันติดตาม
ถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในปางก่อน คือปุพเพนิวาสานุส-
สติญาณ.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตสฺส ปุฏฺโฐ วิยากาสิ ความว่า ทรง
เป็นผู้อันพระธรรมเสนาบดีนั้นทูลถามแล้วทรงพยากรณ์แก่ท่าน คือตรัสพุทธ-

วงศ์ทั้งหมดตั้งต้นแต่อภินีหารของพระองค์ มีการตรัสรู้เป็นที่สุด. บทว่า

กรวีกมธุรคิโร ความว่า เสียงของผู้ใดไพเราะเหมือนเสียงของนกการเวก

ผู้นั้น ชื่อว่า มีเสียงไพเราะเหมือนเสียงนกการเวก อธิบายว่า มีเสียงเสนาะ

เพราะพริ้งเหมือนนกการเวก. ในข้อนี้ขอกล่าวดังนี้ นกการะเวกทั้งหลาย

มีเสียงไพเราะ. เล่ากันว่านกการเวกทั้งหลาย เอาจะงอยปากจิกผลมะม่วง

สุก อันมีรสหวาน ดื่มน้ำผลมะม่วงที่ไหลออกมาก็เริ่มใช้ปีกให้จังหวะร้อง

เพลงระเริงเล่น เหมือนสัตว์สี่เท้ามัวเมาในเสียงเพลง. ฝูงสัตว์สี่เท้าแม้

ง่วนอยู่ด้วยการกินอาหาร ก็ทิ้งหญ้าคาปากเสียแล้วพากันฟังเสียงกังวาลนั้น.

สัตว์ร้ายทั้งหลายกำลังไล่ติดตามเนื้อทรายเล็กๆ ก็ไม่วางเท้าที่ยกขึ้น หยุดยืน.

เหมือนตุ๊กตา แม้ฝูงเนื้อที่ถูกไล่ติดตาม ก็เลิกกลัวตาย หยุดยืน แม้ฝูงนกที่

ล่องลอยอยู่ในอากาศ ก็เหยียดปีก ร่อนชลออยู่ แม้ฝูงปลาในน้ำ ก็ไม่กระดิก-

แผ่นหู หยุดฟังเสียงนั้น นกการเวกมีเสียงไพเราะอย่างนี้. บทว่า นิพฺพา-

ปยนฺโต หทยํ ความว่า ยังใจของชนทุกคนผู้เร่าร้อนด้วยไฟกิเลส ให้เกิด

ความเยือกเย็นด้วยธรรมกถาดังอมฤตธารา. บทว่า หาสยนฺโต ได้แก่ ให้

ยินดี. บทว่า สเทวกํ ได้แก่ โลกพร้อมทั้งเทวโลก.

บทว่า อตีตพุทฺธานํ แปลว่า ของพระพุทธเจ้าทั้งหลายที่ล่วงไปแล้ว.
ก่อนหน้าอภินีหารของพระผู้มีพระภาคเจ้าของพวกเรา ในกัปหนึ่งบังเกิดพระ-

พุทธเจ้า ๔ พระองค์ คือ พระพุทธเจ้าตัณหังกร พระพุทธเจ้าเมธังกร

พระพุทธเจ้าสรณังกร พระพุทธเจ้าทีปังกร. ต่อมาภายหลังพระพุทธเจ้า ๔

พระองค์นั้น ก็มีพระพุทธเจ้า ๒๓ พระองค์ มีพระโกณฑัญญะเป็นต้น

ดังนั้น พระพุทธเจ้า ๒๔ พระองค์ มีพระพุทธเข้าพระนามว่าทีปังกร

เป็นต้น ทุกพระองค์ ท่านประสงค์เอาว่า อดีตพระพุทธเจ้า ในที่นี้.

ของอดีตพระพุทธเจ้าเหล่านั้น. บทว่า ชินานํ เป็นไวพจน์ของบทว่า อตีต-

พุทฺธานํ นั้นนั่นแล. บทว่า เทสิตํ ได้แก่ คำตรัส คือธรรมกถาที่ประกอบ

ด้วยสัจจะ ๔ ของพระพุทธเจ้า ๒๔ พระองค์. บทว่า นีกีลิตํ ได้แก่ จริต

ของพระพุทธเจ้าเหล่านั้น. ข้อที่กำหนดด้วยกัป ชาติ โคตร อายุ โพธิ สาวกสัน-

นิบาต อุปัฏฐาก มาตา บิดา บุตร ภรรยา เป็นต้น ชื่อว่า นิกีลิตะ. บทว่า

พุทฺธปรมฺปราคตํ ความว่า เทศนา หรือ จริต ที่ตั้งต้นแต่พระทศพล

พระนามว่าทีปังกร สืบลำดับมาจนถึงพระกัสสปพุทธเจ้า. บทว่า ปุพฺเพ

นิวาสานุคตาย พุทฺธิยา ความว่า ความรู้ที่ไปตามเข้าถึงขันธ์ที่อาศัยอยู่ปาง

ก่อน กล่าวคือ ขันธสันดานที่อาศัยอยู่ปางก่อน อันจำแนกอย่างนี้ว่า ชาติหนึ่ง

บ้างสองชาติบ้างเป็นต้น. ด้วยความรู้ที่ไปตามขันธ์ที่อาศัยอยู่ปางก่อน คือด้วย

ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ. บทว่า ปกาสยิ ได้แก่ ทรงพยากรณ์. บทว่า

โลกหิตํ ได้แก่ พุทธวงศ์ อันเป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่โลก. บทว่า สเทวเก

ได้แก่ ในโลกพร้อมทั้งเทวโลก.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงประกอบโลกพร้อมทั้งเทวโลกไว้
ในการฟัง ด้วยพระหฤทัยอันเยือกเย็นด้วยพระกรุณา จึงตรัสว่า ปีติปาโมชฺ-

ชนนํ ได้แก่ อันทำปีติและปราโมช คือปราโมชอันเป็นส่วนเบื้องต้นของปีติ

อธิบายว่า ยังปีติ ๕ อย่างให้เกิด. บทว่า โสกสลฺลวิโนทนํ ได้แก่ บรรเทา

กำจัดลูกศรทั้งหลาย ที่เรียกว่า โสกะ. บทว่า สพฺพสมฺปตฺติปฏิลาภํ

ความว่า ชนทั้งหลาย ย่อมได้สมบัติแม้ทุกอย่างมีเทวสมบัติและมนุษย์สมบัติ

เป็นต้น ด้วยพุทธวงศ์นั้น เหตุนั้น พุทธวงศ์นั้น ชื่อว่าเป็นเหตุให้ได้สมบัติทุก

อย่าง อธิบายว่า พุทธวังสเทสนา เป็นเหตุให้ได้สมบัติทุกอย่างนั้น. บทว่า

จิตฺตีกตฺวา ได้แก่ ทำไว้ในจิต อธิบายว่าทำพุทธานุสสติไว้เบื้องหน้า. บทว่า

สุณาถ ได้แก่จงตั้งใจ จงตื่น. บทว่า เม แปลว่า ของข้าพเจ้า.

บทว่า นทนิมฺมทนํ ได้แก่ ทำการบรรเทาความเมาทุกอย่างมีเมาใน
ชาติเป็นต้น. บทว่า โสกนุทํ ความว่า ความเร่าร้อนแห่งจิตของผู้ถูกความ

พินาศแห่งญาติเป็นต้นกระทบแล้ว ชื่อว่า โสกะ โดยอรรถ ก็เป็นโทมนัส

นั่นเองก็จริง แม้เมื่อเป็นเช่นนั้น ความโศกมีการเผาภายในเป็นลักษณะ มี

ความแห้งผากแห่งใจเป็นรส มีความเศร้าสร้อยเป็นเครื่องปรากฏ. พุทธวงศ์

ย่อมบรรเทาความโศกนั้น เหตุนั้นพุทธวงศ์จึงชื่อว่าบรรเทาความโศก. ซึ่ง

พุทธวงศ์อันบรรเทาความโศกนั้น. บทว่า สํสารปริโมจนํ ได้แก่ ทำการ

ปลดเปลื้องจากเครื่องผูกมัดสังสาร. ปาฐะว่า สํสารสมติกฺกมํ ดังนี้ก็มี ความ

ของปาฐะนั้นว่า ทำการก้าวล่วงสงสาร.

ทุกข ศัพท์ในคำว่า สพฺพทุกฺขกฺขยํ นี้ ใช้ในอรรถทั้งหลายมีทุกข-
เวทนา ทุกขวัตถุ ทุกขารมณ์ ทุกขปัจจัย ทุกขฐาน เป็นต้น. จริงอยู่ ทุกข-

ศัพท์นี้ใช้ในอรรถว่า ทุกขเวทนา ได้ในประโยคเป็นต้นว่า ทุกฺขสฺส จ

ปหานา เพราะละทุกขเวทนา. ใช้ในอรรถว่า ทุกขวัตถุ [ที่ตั้งแห่งทุกข์] ได้

ในประโยคเป็นต้นว่า ชาติปิ ทุกฺขา ชราปิ ทุกฺขา แม้ชาติก็เป็นที่ตั้ง

ทุกข์ แม้ชราก็เป็นที่ตั้งทุกข์. ใช้ในอรรถว่าทุกขารมณ์ ได้ในประโยคเป็นต้น

ว่า ยสฺมา จ โข มหาลิ รูปํ ทุกฺขํ ทุกฺขานุปติตํ ทุกฺขาวกฺกนฺตํ ดู

ก่อนมหาลิ เพราะเหตุที่รูปเป็นทุกข์ตกไปตามทุกข์ ก้าวลงใน

ทุกข์. ใช้ในอรรถว่า ทุกขปัจจัย ได้ในประโยคเป็นต้นว่า ทุกฺโข

ปาปสฺส อุจฺจโย การสั่งสมบาป เป็นทุกข์. ใช้ในอรรถว่า ทุกขฐาน

ได้ในประโยคเป็นต้นว่า ยาวญฺจิทํ ภิกฺขเว น สุกรา อกฺขาเนน

ปาปุณิตุํ ยาว ทุกฺขา นิรยา๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวเรื่องนรกแม้

โดยอเนกปริยายเพียงเท่านี้ จะกล่าวให้ถึงกระทั่งนรกเป็นทุกข์มิใช่ทำได้โดยง่าย.

แต่ในที่นี้ ทุกขศัพท์นี้ พึงเห็นว่า ใช้ในอรรถ ทุกขวัตถุ ก็มี ในอรรถว่า

ทุกขปัจจัย ก็มี. เพราะฉะนั้นจึงมีความว่า อันกระทำความสิ้นทุกข์ทั้งปวง

มีชาติเป็นต้น. จะวินิจฉัยในคำว่า มคฺคํ นี้ ดังนี้. พุทธวงศ์เทศนา

เรียกว่า มรรค เพราะผู้ต้องการกุศลแสวงหากันหรือฆ่ากิเลสทั้งหลายไป.

ซึ่งพุทธวงศ์เทศนาอันเป็นทางแห่งพระนิพพานนั้น. บทว่า สกฺกจฺจํ แปลว่า

เคารพ ทำความยำเกรง อธิบายว่า เป็นผู้ตั้งใจฟังพุทธวงศ์เทศนานั้น.

บทว่า ปฏิปชฺชถ ได้แก่ จงตั้งใจยิ่ง อธิบายว่า จงฟัง อีกอย่างหนึ่ง

พระเถระยังอุตสาหะตั้งความปรารถนาความเป็นพระพุทธเจ้าให้เกิดแก่เทวดา

และมนุษย์ทั้งปวงว่า ท่านทั้งหลายพึงพุทธวงศ์เทศนานี้ ที่ให้เกิดปีติและ

ปราโมช บรรเทาความโศกศัลย์ อันเป็นเหตุให้ได้สมบัติทุกอย่างแล้ว

บัดนี้จงปฏิบัติทางแห่งความเป็นพระพุทธเจ้า อันเป็นที่สิ้นทุกข์ทั้งปวง นำมา

ซึ่งคุณวิเศษมีการย่ำยีความมัวเมาเป็นต้น คำที่เหลือในข้อนี้ง่ายทั้งนั้นแล

จบกถาพรรณนารัตนจังกมนกัณฑ์
แห่งมธุรัตถวิลาสินี อรรถกถาพุทธวงศ์
ด้วยประการฉะนี้
จบกถาพรรณนาความอัพภันตรนิทาน โดยอาการทั้งปวง
๑. ม. อุปริ. ๑๔/ข้อ ๔๗๕.


ออฟไลน์ ตถตา

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นไม้เล็กพริ้วไหวดั่งสายลม
  • *
  • กระทู้: 326
  • พลังกัลยาณมิตร 154
    • ดูรายละเอียด
Re: มธุรัตถวิลาสินี
« ตอบกลับ #34 เมื่อ: ธันวาคม 13, 2010, 07:37:04 pm »
พรรณนา
เรื่องความปรารถนาของท่านสุเมธ


บัดนี้ ถึงโอกาสพรรณนาพุทธวงศ์ ที่ดำเนินไปโดยนัยเป็นต้นว่า
ในที่สุดสี่อสงไขยแสนกัป มีนครชื่อว่าอมรวดี
งามน่าดู น่ารื่นรมย์.
ก็การพรรณนาพุทธวงศ์นี้นั้น เพราะเหตุที่จำต้องกล่าววิจารถึงเหตุ
ตั้งสูตรแล้วจึงจะปรากฏชัด ฉะนั้น จึงควรทราบการวิจารเหตุตั้งสูตรก่อน.

เหตุตั้งสูตรมี ๔ คือ เนื่องด้วยอัธยาศัยของพระองค์ ๑ เนื่องด้วยอัธยาศัยของ

ผู้อื่น ๑ เนื่องด้วยมีการทูลถาม ๑ เนื่องด้วยมีเรื่องเกิดขึ้น ๑.

ในเหตุตั้งสูตรทั้ง ๔ นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าอันผู้อื่นมิได้เชื้อเชิญ
ตรัสพระสูตรเหล่าใด โดยอัธยาศัยของพระองค์อย่างเดียว คือ อากังเขยยสูตร

วัตถุสูตร อย่างนี้เป็นต้น เหตุตั้งพระสูตรเหล่านั้น ชื่อว่า เนื่องด้วยอัธยาศัย

ของพระองค์.

อนึ่งเล่า พระสูตรเหล่าใด อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรวจดูอัธยาศัย
ขันติ ใจ และความเป็นผู้จะตรัสรู้ของชนเหล่าอื่น อย่างนี้ว่า ธรรมทั้งหลาย

ที่ช่วยบ่มวิมุตติของราหุลแก่กล้าแล้ว ถ้ากระไรพึงแนะนำราหุลยิ่งขึ้นไปใน

ธรรมเป็นที่สิ้นอาสวะทั้งหลาย ดังนี้เป็นต้น แล้วตรัสโดยอัธยาศัยของผู้

อื่นคือ ราหุโลวาทสูตร ธัมมจักกัปวัตตนสูตรอย่างนี้เป็นอาทิ เหตุตั้งพระสูตร

เหล่านั้น ชื่อว่า เนื่องด้วยอัธยาศัยของผู้อื่น.

เทวดาและมนุษย์นั้น เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วทูลถามปัญหา.
ก็พระสูตรเหล่าใดอันพระผู้มีพระภาคเจ้า ซึ่งเทวดาและมนุษย์ทูลถามแล้วตรัส

อย่างนี้ มีเทวดาสังยุตและโพชฌงคสังยุตเป็นต้น. เหตุตั้งสูตรเหล่านั้น ชื่อว่า

เนื่องด้วยมีการทูลถาม.

อนึ่งเล่า พระสูตรเหล่าใด อันพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงอาศัย
เหตุที่เกิดขึ้น มีธัมมทายาทสูตรและปุตตมังสูปมสูตรเป็นต้น เหตุตั้งสูตรเหล่า

นั้น ชื่อว่า เนื่องด้วยมีเรื่องเกิดขึ้น. บรรดาเหตุดังพระสูตรทั้ง ๔ อย่างนี้

เหตุตั้งพุทธวงศ์นี้เป็นเหตุที่เนื่องด้วยมีการทูลถาม. จริงอยู่ พุทธวงศ์นี้พระผู้มี

พระภาคเจ้ายกตั้งไว้ ก็โดยการถามของใคร. ของท่านพระสารีบุตรเถระ. สม

จริงดังที่ท่านพระสังคีติกาจารย์ทั้งหลายกล่าวไว้ในนิทานนั้นว่า

ท่านพระสารีบุตร ผู้มีปัญญามาก ผู้ฉลาดใน
สมาธิและญาณ ผู้บรรลุสาวกบารมีด้วยปัญญา ทูลถาม
พระผู้นำโลกว่า ข้าแต่พระมหาวีระ ผู้สูงสุดแห่งนรชน
อภินีหารของพระองค์เป็นเช่นไร
ดังนี้เป็นต้น. ด้วยเหตุนั้น พุทธวงศ์เทศนานี้ พึงทราบว่า เนื่อง
ด้วยมีการทูลถาม.

ในคำว่า กปฺเป จ สตสหสฺเส นี้ ในคาถานั้น กัป ศัพท์นี้ ใช้ใน
อรรถทั้งหลายมีความเชื่อมั่น โวหาร กาล บัญญัติ ตัดแต่ง กำหนด เลศ

โดยรอบ อายุกัปและมหากัปเป็นต้น.

จริงอย่างนั้น กัป ศัพท์ใช้ในอรรถว่า เชื่อมั่น ได้ในประโยคทั้งหลาย
เป็นต้นว่า โอกปฺปนียเมตํ โภโต โคตมสฺส ยถา ตํ อรหโต สมฺมา-

สมฺพุทฺธสฺส ข้อนี้พึงเชื่อมั่นต่อท่านพระโคดมเหมือนอย่างพระอรหันตสัมมา

สัมพุทธเจ้า.

ใช้ในอรรถว่า โวหาร ได้ในประโยคเป็นต้นว่า อนุชานามิ
ภิกฺขเว ปญฺจทิ สมณกปฺเปหิ ผลํ ปริภุญฺชิตุํ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

เราอนุญาตให้ฉันผลไม้ด้วยสมณโวหาร ๕ อย่าง.

ใช้ในอรรถว่า กาล ได้ในประโยคเป็นต้นว่า เยน สุทํ นิจฺจกปฺปํ
วิหรามิ เขาว่า เราจะอยู่ตลอดกาลเป็นนิตย์ ด้วยเหตุใด.

ใช้ในอรรถว่า บัญญัติ ได้ในประโยคทั้งหลายเป็นต้นว่า อิจฺจายสฺมา
กปฺโป ท่านกัปปะและว่า นิโคฺรธกปฺโป อิติ ตสฺส นามํ, ตยา กถํ

ภควา พฺราหฺมณสฺส ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อของเขาว่า นิโครธกัปปะ

พระองค์ก็ทรงตั้งให้แก่พราหมณ์.

ใช้ในอรรถว่า ตัดแต่ง ได้ในประโยคเป็นต้นว่า อลงฺกโต กปฺปิต-
เกสมสฺสุ แต่งตัวแล้ว ตัดแต่งผมและหนวดแล้ว.

ใช้ในอรรถว่า กำหนด ได้ในประโยคเป็นต้นว่า กปฺปติ ทฺวงฺคุล-
กปฺโป กำหนดว่ากาลเดิมสองนิ้ว ย่อมควร.

ใช้ในอรรถว่า เลศ ได้ในประโยคเป็นต้นว่า อตฺถิ กปฺโป นิปชฺชิตุํ
มีเลศที่จะนอน.

ใช้ในอรรถว่า โดยรอบ ได้ในประโยคเป็นต้นว่า เกวลกปฺปํ
เชตวนํ โอภาเสตฺวา ส่องสว่างรอบพระเชตวันทั้งสิ้น.

ใช้ในอรรถว่า อายุกัป ได้ในบาลีนี้ว่า ติฏฺฐตุ ภนฺเต ภควา
กปฺปํ, ติฏฺฐตุ ภนฺเต สุคโต กปฺปํ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญขอพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้า โปรดทรงดำรงอยู่ตลอดอายุกัป ขอพระสุคตโปรดทรงดำรงอยู่ตลอด

อายุกัปเถิด พระเจ้าข้า. .

ใช้ในอรรถว่า มหากัป ได้ในบาลีนี้ว่า กีว ทีโฆ นุ โข ภนฺเต
กปฺโป ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ มหากัปยาวเพียงไรหนอ. โดย อาทิศัพท์ กัป

ศัพท์ ใช้ในอรรถว่า เทียบเคียง ได้ในบาลีนี้ว่า สตฺถุ กปฺเปน วต กิร

โภ มยํ สาวเกน สทฺธึ มนฺตยมานา น ชานิมฺห. ท่านผู้เจริญ เขาว่า

เมื่อเทียบเคียงกับพระศาสดา พวกเราปรึกษากับสาวกก็ไม่รู้.

ใช้ในอรรถว่า ควรแก่วินัย ได้ในบาลีนี้ว่า กปฺโป นฏฺโฐ โหติ
กปฺป กโตกาโส ชิณฺโณ โหติ ความสมควรแก่วินัย ก็เสียไป โอกาสที่จะ

ทำให้สมควรแก่วินัย ก็เก่าไป. แต่ในที่นี้ พึงเห็นว่าใช้ในอรรถว่า มหากัป.

เพราะฉะนั้น. บทว่า กปฺเปจ สตสหสฺเส จึงมีความว่า แห่งแสนมหากัป.


ออฟไลน์ ตถตา

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นไม้เล็กพริ้วไหวดั่งสายลม
  • *
  • กระทู้: 326
  • พลังกัลยาณมิตร 154
    • ดูรายละเอียด
Re: มธุรัตถวิลาสินี
« ตอบกลับ #35 เมื่อ: ธันวาคม 13, 2010, 07:38:03 pm »
ในคำว่า จตุโร จ อสงฺขิเย พึงเห็นว่าต้องเติมคำที่เหลือว่า จตุนฺนํ
อสงฺเขยฺยานํ มตฺถเก ความว่า ในที่สุดแห่งสี่อสงไขย กำไรแสนกัป.

บทว่า อมรํ นาม นครํ ได้แก่ ได้เป็นนครอันได้นามว่า อมร และอมรวดี

แต่ในคำนี้ อาจารย์บางพวกพรรณนาเป็นประการอื่นไป, จะต้องการอะไรกับ

อาจารย์พวกนั้น . ก็คำนี้เป็นเพียงนามของนครนั้น. บทว่า ทสฺสเนยฺยํ ได้แก่

ชื่อว่างามน่าดู เพราะประดับด้วยที่อยู่คือปราสาททิมแถวล้อมด้วยประการมีทาง

๔ แพร่ง ๓ แพร่ง มีประตูมีสนามงาม จัดแบ่งเป็นส่วนสัดอย่างดี. บทว่า

มโนรมํ ได้แก่ ชื่อว่า น่ารื่นรมย์ เพราะทำใจของเทวดาและมนุษย์เป็นต้นให้

รื่นรมย์ เพราะเป็นนครมีภูมิภาคที่เรียบสะอาดน่ารื่นรมย์อย่างยิ่ง เพราะเป็น

นครที่พรั่งพร้อมด้วยร่มเงาและน้ำ เพราะเป็นนครที่มีอาหารหาได้ง่าย เพราะ

เป็นนครที่ประกอบด้วยเครื่องอุปกรณ์ทุกอย่าง และเพราะเป็นนครที่มั่งคั่ง.

ทสหิ สทฺเทหิ อวิวิตฺตํ ความว่า พระนครไม่ว่างเว้นจากเสียง
๑๐ อย่าง คือ เสียงช้าง เสียงม้า เสียงรถ เสียงกลอง เสียงสังข์ เสียงตะโพน

เสียงพิณ เสียงขับ เสียงดนตรีไม้ เสียงเชิญบริโภคอาหารที่ครบ ๑๐. นัก

ฟ้อนรำงานฉลอง งานมหรสพหาที่เปรียบมิได้ ก็เล่นกันได้ทุกเวลา. บทว่า

อนฺนปานสมายุตํ ได้แก่ ประกอบด้วยข้าวคืออาหาร ๔ อย่างและน้ำดีชื่อว่า

อันนปานสมายุต. ด้วยบทนี้ ท่านแสดงว่านครนั้นหาอาหารได้สะดวก. อธิบาย

ว่า พรั่งพร้อมแล้วด้วยข้าวและน้ำเป็นอันมาก.

บัดนี้ เพื่อแสดงเสียงเหล่านั้น โดยวัตถุจึงตรัสว่า
อมรวดีนคร กึกก้องด้วยเสียงช้าง ม้า กลอง
สังข์ รถ เสียงเชิญบริโภคอาหารด้วยข้าวและน้ำ.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า หตฺถิสทฺทํ ได้แก่ ด้วยเสียงโกญจนาทของ
ช้างทั้งหลาย. คำนี้พึงเห็นว่าทุติยาวิภัตติลงในอรรถตติยาวิภัตติ. แม้ในบทที่

เหลือก็นัยนี้. บทว่า เภริสงฺขรถานิ จ ความว่า ด้วยเสียงกลอง เสียงสังข์

และเสียงรถ. ท่านกล่าวเป็นลิงควิปลาส. อธิบายว่า อึกทึกกึกก้องด้วยเสียงที่

เป็นไปอย่างนี้ว่า กินกันจ้ะ ดื่มกันจ้ะ เป็นต้น ประกอบพร้อมด้วยข้าวและน้ำ

ผู้ทักท้วงกล่าวในข้อนี้ว่า เสียงเหล่านั้น ท่านแสดงไว้แต่เอกเทศเท่านั้น ไม่

ได้แสดงไว้ทั้งหมด หรือ. ตอบว่า ไม่ใช่แสดงไว้แต่เอกเทศ แสดงไว้หมด

ทั้ง ๑๐ เสียงเลย. อย่างไรเล่า. ท่านแสดงไว้ ๑๐ เสียง คือ เสียงตะโพน

ท่านสงเคราะห์ด้วยเสียงกลอง เสียงพิณเสียงขับกล่อมและเสียงดนตรีไม้

สงเคราะห์ด้วยเสียงสังข์.

ครั้นทรงพรรณนาสมบัติของนครโดยปริยายหนึ่งอย่างนี้แล้ว เพื่อ
แสดงสมบัตินั้นอีก จึงตรัสว่า

นครพรั่งพร้อมด้วยส่วนประกอบทุกอย่างมีการ
งานทุกอย่างจัดไว้อย่างดี สมบูรณ์ด้วยรัตนะ ๗ ประ-
การ กลาดเกลื่อนด้วยหมู่ชนต่างๆ เจริญมั่งคั่ง เป็น
ที่อยู่ของผู้ทำบุญ เหมือนเทพนคร.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สพฺพงฺคสมฺปนฺนํ ความว่า พรั่งพร้อม
ด้วยส่วนประกอบนครทุกอย่างมีปราการ ซุ้มประตู หอรบเป็นต้น หรือว่ามี

อุปกรณ์ทรัพย์เครื่องปลื้มใจ ทรัพย์ ข้าวเปลือก หญ้าไม้และน้ำบริบูรณ์. บทว่า

สพฺพกมฺมมุปาคตํ ได้แก่ ประกอบด้วยการงานทุกอย่าง อธิบายว่ามีการงาน

ทุกอย่างพรักพร้อม. บทว่า สตฺตรตนสมฺปนฺนํ ได้แก่ มีรัตนะ ๗ มีแก้ว

มุกดาเป็นต้นบริบูรณ์ หรือว่าสมบูรณ์ด้วยรัตนะ ๗ มีหัตถิรัตนะ จากภูมิภาค

อันเป็นที่ประทับอยู่ขององค์จักรพรรดิ. บทว่า นานาชนสมากุลํ ได้แก่

กลาดเกลื่อนด้วยชนทั้งหลายที่มีถิ่นและภาษาต่างๆ กัน. บทว่า สมิทฺธํ ได้แก่

สำเร็จแล้ว เจริญแล้ว ด้วยเครื่องอุปโภคและเครื่องอุปกรณ์ทุกอย่างของมนุษย์.

บทว่า เทวนครํ ว ท่านอธิบายว่า อมรวดีนคร มั่งคั่งเจริญเหมือนนคร

ของเทพ เหมือนอาลกมันทาเทพธานี. บทว่า อาวาสํ ปุญฺญกมฺมินํ

ความว่า ชนทั้งหลายผู้มีบุญกรรม ย่อมอยู่ในประเทศนั้น เหตุนั้นประเทศนั้น

จึงชื่อว่าเป็นที่อยู่. พึงทราบว่าเมื่อควรจะกล่าวว่า อาวาโส แต่ก็ทำให้ต่าง

ลิงค์กล่าวว่า อาวาสํ. ซึ่งว่าบุญ เพราะเป็นเครื่องปรากฏอธิบายว่า ปรากฏ

โดยตระกูล รูป มหาโภคะและความเป็นใหญ่. หรือว่า ชื่อว่าบุญ เพราะชำระ.

อธิบายว่า บุญกรรมของชนเหล่าใดมีอยู่ เพราะลอยละอองมลทินของกุศลทั้ง

ปวง ชนเหล่านั้น ชื่อว่ามีบุญกรรม. นครนั้นเป็นที่อยู่อาศัยของผู้มีบุญกรรม

เหล่านั้น.

พราหมณ์ชื่อ สุเมธ อาศัยอยู่ใน นครอมรวดี นั้น เขาเป็นอุภโต-
สุชาต เกิดดีทั้งสองฝ่าย คือ ฝ่ายมารดาและฝ่ายบิดาเป็นผู้ถือเอาครรภ์บริสุทธิ์

มาตลอด ๗ ชั่วสกุล ไม่มีผู้คัดค้านและรังเกียจด้วยเรื่องชาติ สะสวยน่าชมน่า

เลื่อมใสประกอบด้วยผิวพรรณงามอย่างยิ่ง เขาศึกษาจบไตรเพทพร้อมทั้งนิฆัณ-

ฑุศาสตร์ เกฏุภศาสตร์ ทั้งอักขระประเภท ครบ ๕ ทั้งอิติหาสศาสตร์ ชำนาญ

บทกวี ชำนาญไวยากรณ์ ชำนาญในโลกายตศาสตร์และมหาปุริสลักษณศาสตร์

แต่มารดาบิดาได้ตายเสียครั้งเขายังเป็นเด็กรุ่น. สหายผู้จัดการกองทรัพย์ของเขา

นำบัญชีทรัพย์สินมาแล้วเปิดห้องหลายห้อง ที่เต็มไปด้วยรัตนะต่างๆ มีทองเงิน

แก้วมณี แก้วมุกดา เป็นต้น บอกถึงทรัพย์ว่า ข้าแต่นายหนุ่ม นี่ทรัพย์สินส่วน

ของมารดา นี่ทรัพย์สินส่วนของบิดา นี่ทรัพย์สินส่วนของปู่ทวด จนตลอด

๗ ชั่วสกุล แล้วมอบให้ว่า ท่านจงดำเนินการทรัพย์นี้เถิด. เขารับคำว่า ดีละ

ท่าน แล้วทำบุญทั้งหลายอยู่ครองเรือน. ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า

ในนครอมรวดี มีพราหมณ์ชื่อว่าสุเมธ สะสม
ทรัพย์ไว้หลายโกฏิ มีทรัพย์และข้าวเปลือกมาก.
เป็นผู้คงแก่เรียน ทรงจำมนต์ จบคัมภีร์ไตรเพท
ในลักษณศาสตร์และอิติหาสศาสตร์ ก็บรรลุถึงฝั่งใน
พราหมณ์ธรรมของตน.

ออฟไลน์ ตถตา

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นไม้เล็กพริ้วไหวดั่งสายลม
  • *
  • กระทู้: 326
  • พลังกัลยาณมิตร 154
    • ดูรายละเอียด
Re: มธุรัตถวิลาสินี
« ตอบกลับ #36 เมื่อ: ธันวาคม 13, 2010, 07:38:49 pm »
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นคเร อมรวติยา ได้แก่ ในนครที่
เรียกกันว่าอมรวดี. ในบทว่า สุเมโธ นาม นี้ ปัญญาท่านเรียกว่า เมธา.

เมธานั้นของพราหมณ์นั้นดี อันปราชญ์สรรเสริญแล้ว เหตุนั้น พราหมณ์นั้นเขา

จึงรู้กันว่า สุเมธ ผู้มีปัญญาดี. บทว่า พฺราหฺมโณ ความว่า ชื่อว่าพราหมณ์

เพราะศึกษาซึ่งมนต์ของพรหม อธิบายว่า ท่องมนต์. ปราชญ์ทางอักษรศาสตร์

กล่าวว่าเหล่ากอของพรหม ชื่อว่า พราหมณ์. แต่ปราชญ์ทั้งหลายกล่าวว่า

พระอริยะทั้งหลาย ชื่อว่า พราหมณ์ เพราะเป็นผู้ลอยบาปได้. บทว่า อเนก-

โกฏสนฺนิจโย ความว่า การสะสมแห่งทรัพย์หลายโกฏิ ชื่อว่าโกฏิสันนิจยะ.

การสะสมทรัพย์มากโกฏิของผู้ใดมีอยู่ ผู้นี้นั้น ชื่ออเนกโกฏิสันนิจยะ

อธิบายว่าผู้สะสมทรัพย์มากหลายโกฏิ. บทว่า ปทูตธนธญฺญวา แปลว่า ผู้มี

ทรัพย์และข้าวเปลือกมาก. คำต้นพึงทราบว่าตรัสโดยเป็นทรัพย์และข้าวเปลือก

ที่อยู่ภาคพื้นดินและอยู่ในห้อง คำนี้ พึงทราบว่า ตรัสโดยเป็นทรัพย์และข้าว

เปลือกที่กินที่ใช้อยู่ประจำ.

บทว่า อชฺฌายโก ความว่า ผู้ใดไม่เพ่งฌาน เหตุนั้นผู้นั้น ชื่อว่า
อัชฌายกะผู้ไม่เพ่งฌาน อธิบายว่า ผู้เว้นจากการทำการเพ่งฌาน สมจริงดังที่

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อน วาเสฏฐะ บัดนี้พราหมณ์เหล่านี้ไม่เพ่ง

บัดนี้ พราหมณ์เหล่านี้ไม่เพ่ง ดังนั้นแลอักษรที่ ๓ ว่า อชฺฌายโก อชฺฌายกา

ผู้ไม่เพ่ง ผู้ไม่เพ่งจึงเกิดขึ้น เพราะเหตุนั้น คำครหาพราหมณ์พวกที่เว้นจาก

การเพ่งฌานจึงเกิดขึ้นครั้งมนุษย์ต้นกัปด้วยประการฉะนี้ บัดนี้ชนใดเพ่งมนต์

เหตุนั้น ชนนั้นจึงชื่อว่าผู้เพ่งมนต์ พวกพราหมณ์ทั้งหลาย ทำการสรรเสริญ

กล่าวด้วยความนี้ว่าร่ายมนต์, ผู้ใดทรงจำมนต์ เหตุนั้นผู้นั้นชื่อว่าผู้ทรงจำมนต์

บทว่า ติณฺณํ เวทานํ ได้แก่คัมภีร์เวท ๓ [ไตรเพท] คืออิรุเวท ยชุเวท

และสามเวท. ก็ เวท ศัพท์นี้ ใช้ในอรรถว่า ญาณ โสมนัส และ คันถะ.

จริงอย่างนั้น เวท ศัพท์นี้ ใช้ในอรรถว่า ญาณ ได้ในประโยคเป็นต้น
ว่า ยํ พฺราหฺมณํ เวทคุํ อภิชญฺญา อกิญฺจนํ กามภเว อสตฺตํ เราเห็นผู้ใด

เป็นพราหมณ์ บรรลุ ญาณ มีความรู้ยิ่ง ไม่กังวลไม่ขัดข้องในกามภพ.

ใช้ในอรรถว่า โสมนัส ได้ในประโยคเป็นต้นว่า เย เวทชาตา
วิจรนฺติ โลเก ชนเหล่าใดเกิดโสมนัส เที่ยวไปในโลก.

ใช้ในอรรถว่า คันถะ ได้ในประโยคเป็นต้นว่า ติณฺณํ เวทานํ ปารคู
สนิฆณฺฑุเกฏุภานํ ผู้จบคัมภีร์ไตรเพท พร้อมทั้งนิฆัณฑุศาสตร์และเกฏุภ-

ศาสตร์. แม้ในที่นี้ก็ใช้ในอรรถว่า คันถะ คัมภีร์. บทว่า ปารคู ได้แก่ ชื่อว่า-

ปารคูเพราะถึงฝั่งแห่งคัมภีร์ไตรเพท ด้วยเพียงทำให้คล่องปาก. บทว่า ลกฺข-

เณ ได้แก่ ในลักษณศาสตร์ มีลักษณะสตรีลักษณะบุรุษและมหาปุริสลักษณะ.

บทว่า อิติหาเส ได้แก่ ในคัมภีร์พิเศษ กล่าวคือโบราณคดี อันประกอบ

ด้วยคำเช่นนี้ว่าเล่ากันว่าดังนี้ เล่ากันว่าดังนี้. บทว่า สธมฺเม ได้แก่ ในธรรม

ของตนหรือในอาจารย์ของตัวพราหมณ์ทั้งหลาย. บทว่า ปารมึ คโต แปลว่า

ถึงฝั่ง อธิบายว่า ได้เป็นอาจารย์ทิศาปาโมกข์.

ต่อมาวันหนึ่ง สุเมธบัณฑิต เป็นบัณฑิตผู้เพลินอยู่ด้วยกองคุณ ๑๐
ประการนั้น ก็อยู่ในที่ลับ ณ ปราสาทชั้นบน นั่งขัดสมาธิดำริว่า ขึ้นชื่อว่า

การถือปฏิสนธิในภพหมู่เป็นทุกข์ การแตกดับแห่งสรีระในสถานที่เกิดแล้ว

เกิดเล่า ก็เหมือนกันคือเป็นทุกข์ ก็เรามีชาติ ชรา พยาธิ มรณะเป็นธรรมดา

เราเป็นอยู่อย่างนี้ ก็ควรแสวงหาพระนิพพาน อันไม่มีชาติ [ชรา] พยาธิ

มรณะ เป็นที่จำเริญสุข อันจะพ้นจากการท่องเที่ยวไปในภพ จะพึงมีได้ก็

ด้วยมรรคอย่างหนึ่ง ซึ่งจะให้ถึงพระนิพพานแน่แท้. ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า

ในครั้งนั้น เรานั่งคิดอยู่ในที่ลับอย่างนี้ว่า ขึ้น
ชื่อว่าการเกิดใหม่และการแตกดับแห่งสรีระเป็นทุกข์.
ครั้งนั้น เรามีชาติชราพยาธิเป็นธรรมดา จำเรา
จักแสวงหาพระนิพพาน ซึ่งไม่แก่ไม่ตาย แต่เกษม.
ถ้ากระไร เราผู้ไม่เยื่อใย ไม่ต้องการ จะพึงละ
กายอันเน่านี้ ซึ่งเต็มด้วยซากศพต่างๆ ไปเสีย.
มรรคใดมีอยู่ จักมี มรรคนั้นไม่เป็นเหตุหามิได้
จำเราจักแสวงหามรรคนั้น เพื่อหลุดพ้นจากภพ.

ออฟไลน์ ตถตา

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นไม้เล็กพริ้วไหวดั่งสายลม
  • *
  • กระทู้: 326
  • พลังกัลยาณมิตร 154
    • ดูรายละเอียด
Re: มธุรัตถวิลาสินี
« ตอบกลับ #37 เมื่อ: ธันวาคม 13, 2010, 07:39:50 pm »
แก้อรรถ
ก็ในคาถานั้น จำเราจักกล่าวเชื่อมความแห่งคาถา และความของบท
ที่ยากต่อไป. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า รโหคโต แปลว่า ไปแล้วในที่ลับนั่ง

ในที่ลับ. บทว่า เอวํ จินฺเตสหํ ตัดบทเป็น เอวํ จินฺเตสึ อหํ แปลว่า

เราคิดแล้วอย่างนี้ ทรงแสดงอาการคือคิดด้วย บทว่า เอวํ นี้. บทว่า ตทา

ได้แก่ ครั้งเป็นสุเมธบัณฑิตเป็นคนเดียวกันกับพระองค์ ด้วยบทว่า เอวํ

จินฺเตสหํ นี้ เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อทรงประกาศว่า ครั้งนั้น

สุเมธบัณฑิตนั้น ก็คือเรานี่แล จึงตรัสโดยอุตตมบุรุษว่า เอวํ จินฺเตสหํ

ตทา. บทว่า ชาติธมฺโม แปลว่า มีชาติเป็นสภาพ. แม้ในบทที่เหลือก็นัย

นี้. บทว่า นิพฺพุตึ ได้แก่ พระนิพพาน.

ศัพท์ว่า ยนฺนูน เป็นนิบาตลงในอรรถว่าปริวิตก ความว่า ก็ผิว่า
เรา. บทว่า ปูติกายํ แปลว่า กายอันเน่า. บทว่า นานากุณปปูริตํ ได้แก่

เต็มไปด้วยซากศพเป็นอันมาก มีปัสสาวะ อุจจาระ หนอง เลือด เสมหะ น้ำลาย

น้ำมูก เป็นต้น. บทว่า อนเปกฺโข ได้แก่ ไม่อาลัย. บทว่า อตฺถิ ได้แก่

อันเขาย่อมได้แน่แท้. บทว่า เหหิติ แปลว่า จักมี คำนี้เป็นคำแสดงความ

ปริวิตก. บทว่า น โส สกฺกา น เหตุเย ความว่า ไม่อาจจะมีได้ด้วย

มรรคนั้นหามีได้ ก็มรรคนั้นเป็นเหตุนั่นเอง. บทว่า ภวโต ปริมุตฺติยา

ได้แก่ เพื่อหลุดพ้นจากเครื่องผูกคือภพ.

บัดนี้ เพื่อทรงทำความที่พระองค์ทรงปริวิตกให้สำเร็จผล จึงตรัสว่า
ยถาปิ เป็นต้น. เหมือนอย่างว่า ธรรมดาสุขอัน เป็นข้าศึกของทุกข์มีอยู่ ฉัน

ใด เมื่อความเกิดมีอยู่ ความไม่เกิดอันเป็นข้าศึกของความเกิดนั้นก็พึงมีฉันนั้น

อนึ่ง เมื่อความร้อนมีอยู่ แม้ความเย็นอันระงับความร้อนนั้น ก็มีอยู่ฉันใด

นิพพานอันเครื่องระงับไฟคือกิเลสมีราคะเป็นต้น ก็พึงมี ฉันนั้น อนึ่งแม้

ธรรมอันไม่มีโทษเป็นความดี ที่เป็นปฏิปักษ์ต่อธรรมอันเป็นความชั่วลามก ก็

มีอยู่ฉันใด เมื่อความเกิดอันเป็นฝ่ายชั่วมีอยู่ แม้นิพพานที่นับได้ว่าความไม่เกิด

เพราะห้ามความเกิดได้ ก็พึงมีฉันนั้นเหมือนกันแล. ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า

เมื่อทุกข์มีอยู่ แม้ธรรมดาสุขก็ย่อมมีฉันใด เมื่อ
ภพมีอยู่ แม่ภาวะที่มิใช่ภพ บุคคลก็พึงปรารถนา
ฉันนั้น.
เมื่อความร้อนมีอยู่ ความเย็นตรงกันข้ามก็มีอยู่
ฉันใด เมื่อไฟ ๓ กองมีอยู่ นิพพานเครื่องดับไฟ
บุคคลก็พึงปรารถนา ฉันนั้น.
เมื่อความชั่วมีอยู่ แม้ความดีก็ย่อมมีฉันใด เมื่อ
ชาติมีอยู่ แม้ที่มิใช่ชาติ บุคคลก็พึงปรารถนา ฉันนั้น.
แก้อรรถ
ในคาถานั้น ศัพท์ว่า ยถาปิ เป็นนิบาตลงในอรรถข้ออุปมา. บทว่า
สุขํ ได้แก่ สุขทางกายและทางใจ. ที่ชื่อว่าสุข เพราะขุดทุกข์ด้วยดี. บทว่า

ภเว แปลว่า เมื่อความเกิด. บทว่า วิภโว แปลว่า ความไม่เกิด. เมื่อความ

เกิดมีอยู่ แม้ธรรมคือความไม่เกิด บุคคลก็พึงปรารถนา. บทว่า ติวิธคฺคิ

วิชฺชนฺเต ความว่า เมื่อไฟ ๓ กอง มีราคะเป็นต้นมีอยู่. บทว่า นิพฺพานํ

ความว่า ก็พระนิพพาน อันเป็นเครื่องดับเครื่องระงับไฟมีราคะ เป็นต้นทั้ง ๓

กองนั้น บุคคลควรปรารถนา. บทว่า ปาปเก ได้แก่ เมื่ออกุศลเลวทราม.

บทว่า กลฺยาณมฺปิ ได้แก่ แม้กุศล. บทว่า เอวเมว ได้แก่ เอวเมวํ อย่าง

นี้ก็ฉันนั้น. บทว่า ชาติ วิชฺชนฺเต ความว่า เมื่อความเกิดมีอยู่. ท่าน

กล่าวให้ต่างลิงค์และลบวิภัตติ. บทว่า อชาติปิ ความว่า แม้นิพพานคือ

ความไม่เกิด เป็นเครื่องห้ามกันความเกิด บุคคลก็พึงปรารถนา.

ครั้งนั้น เราก็คิดถึงแม้ประการอื่นว่า บุรุษผู้จมลงในกองอุจจาระ แล
เห็นหนองน้ำที่มีน้ำใสประดับด้วยบัวหลวง บัวสาย และบัวขาว ก็ควรแสวงหา

หนองน้ำ ด้วยความคำนึงว่า ควรจะไปที่หนองน้ำนั้น โดยทางไหนหนอ.

การไม่แสวงหาหนองน้ำนั้น ไม่ใช่ความผิดของหนองน้ำนั้น เป็นความผิดของ

บุรุษผู้นั้นผู้เดียว ฉันใด เมื่อหนองน้ำใหญ่ คืออมตธรรมซึ่งเป็นเครื่องชำระ

มลทินคือกิเลสมีอยู่ การไม่แสวงหาหนองน้ำใหญ่คืออมตธรรมนั้น นั่นไม่ใช่

ความผิดของหนองน้ำใหญ่ คืออมตธรรม เป็นความผิดของบุรุษผู้เดียว ก็ฉัน

นั้นเหมือนกัน. อนึ่งบุรุษถูกพวกโจรล้อมไว้ เมื่อทางหนีแม้มีอยู่ ถ้าบุรุษนั้น

ไม่หนีไปเสีย นั่นก็ไม่ใช่ความผิดของทางนั้น เป็นความผิดของบุรุษผู้นั้นผู้

เดียว ฉันใด บุรุษที่ถูกพวกโจรคือกิเลสล้อมจับไว้ เมื่อทางใหญ่อันรุ่งเรือง

อันจะไปยังมหานครคือพระนิพพาน แม้มีอยู่ ก็ไม่แสวงหาทางนั้น ก็ไม่ใช่

ความผิดของทาง เป็นความผิดของบุรุษแต่ผู้เดียว ก็ฉันนั้นเหมือนกัน. บุรุษ

ถูกความเจ็บป่วยบีบคั้น เมื่อหมอที่จะเยียวยาความเจ็บป่วยมีอยู่ ถ้าไม่แสวงหา

หมอนั้น ไม่ยอมให้หมอนั้นเยียวยาความเจ็บป่วย นั่นก็ไม่ใช่ความผิดของ

หมอ เป็นความผิดของบุรุษนั้นแต่ผู้เดียว ฉันใด ก็ผู้ใดถูกความเจ็บป่วยคือ

กิเลสบีบคั้นหนัก ไม่แสวงหาอาจารย์ผู้ฉลาดในทางระงับกิเลสซึ่งมีอยู่ ก็เป็น

ความผิดของผู้นั้นผู้เดียว ไม่ใช่ความผิดของอาจารย์ผู้ขจัดความเจ็บป่วยคือกิเลส

ก็ฉันนั้นเหมือนกัน. ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า

บุรุษตกบ่ออุจจาระ เห็นหนองน้ำมีน้ำเต็ม ก็ไม่
ไปหาหนองน้ำนั้น นั่นไม่ใช่ความผิดของหนองน้ำ
ฉันใด.
เมื่อหนองน้ำคืออมตะ เป็นเครื่องชำระมลทินคือ
กิเลสมีอยู่ บุคคลไปไม่หาหนองน้ำนั้น ก็ไม่ใช่ความ
ผิดของหนองน้ำคืออมตะ ก็ฉันนั้น.
บุรุษถูกข้าศึกรุมล้อมไว้ เมื่อทางไปมีอยู่ บุรุษ
ผู้นั้นก็ไม่หนีไป นั่นก็ไม่ใช่ความผิดของทาง ฉันใด.
บุคคลถูกกิเลสรุมล้อมไว้ เมื่อทางอันรุ่งเรืองมี
อยู่ ก็ไม่ไปหาทางนั้น นั่นก็ไม่ใช่ความผิดของทาง
อันรุ่งเรือง ก็ฉันนั้น.
บุรุษถูกความเจ็บป่วยเบียดเบียนแล้ว เมื่อหมอที่
จะเยียวยามีอยู่ ก็ไม่ยอมให้หมอนั้นเยียวยาความเจ็บ
ป่วยนั้น นั่นก็ไม่ใช่ความผิดของหมอ แม้ฉันใด.
บุคคลถูกความเจ็บป่วยคือกิเลส บีบคั้นเป็นทุกข์
ก็ไม่ไปหาอาจารย์นั้น นั่นก็ไม่ใช่ความผิดของอาจารย์
ฉันนั้น.

ออฟไลน์ ตถตา

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นไม้เล็กพริ้วไหวดั่งสายลม
  • *
  • กระทู้: 326
  • พลังกัลยาณมิตร 154
    • ดูรายละเอียด
Re: มธุรัตถวิลาสินี
« ตอบกลับ #38 เมื่อ: ธันวาคม 13, 2010, 07:40:46 pm »
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า คูถคโต ได้แก่ ตกลงสู่บ่ออุจจาระ หรือ
ตกบ่อถูกอุจจาระเปื้อน. บทว่า กิเลสมลโธวํ ได้แก่ เป็นที่ชำระมลทิน

คือกิเลส. คำนี้เป็นปฐมาวิภัตติ ลงในอรรถสัตตมีวิภัตติ. บทว่า อมตนฺตเฬ

แปลว่า ของหนองน้ำกล่าวคืออมตะ. คำนี้เป็นสัตตมีวิภัตติ พึงเห็นว่า ลงใน

อรรถฉัฏฐีวิภัตติ ท่านกล่าวใส่นิคคหิตไว้. บทว่า อรีหิ ได้แก่ อันปัจจามิตร

ทั้งหลาย. บทว่า ปริรุทฺโธ ได้แก่ ล้อมโดยรอบ. บทว่า คมนมฺปเถ คือ

คมนปเถ คือ เมื่อทางไป. คำนี้ท่านกล่าวลงนิคคหิตอาคม เพื่อไม่ให้

เสียฉันทลักษณ์. บทว่า น ปลายติ ได้แก่ ผิว่าไม่พึงหนีไป. บทว่า โส

ปุรโส ได้แก่ บุรุษที่ถูกพวกโจรรุมล้อมไว้นั้น. บทว่า อญฺชสฺส แปลว่า

ของทาง. จริงอยู่ทางมีชื่อเป็นอันมาก คือ

มคฺโค ปนฺโถ ปโถ ปชฺโช อญฺชลํ วฏุมายนํ
นาวา อุตฺตรเสตุ จ กุลฺโล จ ภิสิ สงฺกโม.
แปลว่า ทาง ทั้งหมด แต่ในที่นี้ ทางนั้น ท่านกล่าวโดยใช้ชื่อว่า อัญชสะ.

บทว่า สิเว ได้แก่ ชื่อว่า สิวะเพราะไม่มีอุปัทวะทั้งปวง. บทว่า สิวมญฺชเส

ความว่า ของทางที่ปลอดภัย. บทว่า ติกิจฺฉเก ได้แก่ หมอ. บทว่า น ติกิจฺ

ฉาเปติ ได้แก่ ไม่ยอมให้เยียวยา. บทว่า น โทโส โส ติกิจฺฉเก ได้แก่

ไม่ใช่ความผิดของหมอ. อธิบายว่าเป็นความผิดของผู้ป่วยฝ่ายเดียว. บทว่า

ทุกฺขิโต ได้แก่ มีทุกข์ทางกายทางใจที่เกิดเอง. บทว่า อาจริยํ ได้แก่

อาจารย์ผู้บอกทางหลุดพ้น. บทว่า วินายเก แปลว่า ของอาจารย์.

ก็เราครั้นคิดดังกล่าวมานี้แล้ว จึงคิดยิ่งๆ ขึ้นไปอย่างนี้ว่า บุรุษผู้ชอบ
แต่งตัวสวย ๆ ทิ้งซากศพที่คล้องคอเสีย ก็พึงเป็นสุขไป แม้ฉันใด แม้เราก็

ทิ้งกายอันเน่านี้เสีย ไม่อาลัย พึงเข้าไปยังมหานครคือนิพพาน ก็ฉันนั้น. อนึ่ง

บุรุษสตรีถ่ายอุจจาระปัสสาวะลงที่พื้นดินอันเปื้อนอุจจาระปัสสาวะแล้ว ก็หาเอา

ใส่ชายพกหรือเอาชายผ้าห่ออุจจาระปัสสาวะนั้นพาไปไม่ ที่แท้ ก็พากันเกลียด

ไม่อยากแม้แต่จะดู ไม่อาลัยทิ้งไปเลย ฉันใด แม้เราก็ไม่อาลัยกายอันเน่านี้

ควรที่จะละทิ้งเข้าไปยังอมตนครคือนิพพาน ก็ฉันนั้น. อนึ่ง ธรรมดานายเรือ

ทั้งหลาย ก็ละทิ้งเรือที่นำน้ำอันคร่ำคร่าไม่เยื่อใยไปเลย ฉันใด แม้เราก็ละทิ้ง

กาย ที่ของโสโครกไหลออกจากปากแผลทั้ง ๙ แผลนี้ ไม่เยื่อใยจักเข้าไปยัง

มหานครคือนิพพาน ก็ฉันนั้น. อนึ่ง บุรุษบางคน พกพารัตนะมากอย่างมี

แก้วมุกดาแก้วมณีและแก้วไพฑูรย์เป็นต้น เดินทางไปกับหมู่โจร จำต้องละ

ทิ้งโจรเหล่านั้น เพราะกลัวสูญเสียรัตนะ เลือกถือเอาแต่ทางที่เกษมปลอดภัย

ฉันใด กายอันเน่าแม้นี้ก็เสมือนโจรปล้นรัตนะ ถ้าเราจักทำความอยากในกาย

นี้ รัตนะคืออริยมรรคและกุศลธรรมของเราก็จักสูญเสียไป เพราะฉะนั้นจึง

ควรที่เราจำต้องละทิ้งกรัชกายที่เสมือนมหาโจรนี้ แล้วเข้าไปยังมหานครคือ

นิพพาน ก็ฉันนั้น. ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า

บุรุษเกลียดซากศพที่ผูกคออยู่ ปลดออกไปเสีย
ก็มีสุข มีเสรี มีอิสระ ฉันใด.
เราทิ้งกายอันเน่านี้ ที่สะสมซากศพต่างๆ ไว้ไป
เสีย ไม่อาลัย ไม่ต้องการ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน.
บุรุษสตรีทิ้งอุจจาระไว้ในที่ถ่ายอุจจาระ ไปเสีย
ไม่อาลัย ไม่ต้องการ ฉันใด.
เราทอดทิ้งกายนี้ ที่เต็มไปด้วยซากศพต่าง ๆ
เหมือนทิ้งส้วมไป ก็ฉันนั้น.
เจ้าของเรือ ทิ้งเรือลำเก่าชำรุด รั่วน้ำไป ไม่เยื่อใย
ไม่ต้องการ ฉันใด.
เราก็ทอดทิ้งกายนี้ ที่มี ๙ ช่อง เป็นที่ไหลออก
ของสิ่งโสโครกอยู่เป็นนิตย์ไป เหมือนเจ้าของเรือสละ
ทิ้งเรือลำเก่า ก็ฉันนั้นเหมือนกัน.
บุรุษพกพาของมีค่าไปกับพวกโจร แลเห็นภัย
จากการเสียหายของๆ มีค่า จึงละทิ้งโจรไป ฉันใด.
กายนี้ก็เปรียบเสมอด้วยมหาโจร เพราะกลัวการ
เสียหายแห่งกุศล เราจึงจำต้องละกายนี้ไป ก็ฉันนั้น
เหมือนกัน.

ออฟไลน์ ตถตา

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นไม้เล็กพริ้วไหวดั่งสายลม
  • *
  • กระทู้: 326
  • พลังกัลยาณมิตร 154
    • ดูรายละเอียด
Re: มธุรัตถวิลาสินี
« ตอบกลับ #39 เมื่อ: ธันวาคม 13, 2010, 07:41:51 pm »
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยถาปิ กุณปํ ปุริโส ความว่า บุรุษ
วัยรุ่น ผู้รักสวยรักงาม อึดอัดระอา เกลียด ด้วยซากงู ซากสุนัข หรือซาก

มนุษย์ ที่ถูกผูกคอไว้ จึงปลดซากศพนั้นออกไปเสีย แม้ฉันใด. บทว่า สุขี

ได้แก่ ประสบสุข. บทว่า เสรี ได้แก่ อยู่ตามอำเภอใจ. บทว่า นานากุณปสญฺจยํ

ได้แก่ เป็นกองซากศพต่างๆ มากหลาย. ปาฐะว่า นานากุณปปูริตํ ดังนี้

ก็มี.

บทว่า อุจฺจารฏฺฐานมฺหิ ความว่า คนทั้งหลายย่อมอุจจาระ คือถ่าย
อุจจาระในประเทศนั้น เหตุนั้นประเทศนั้น จึงชื่อว่า เป็นที่ถ่ายอุจจาระ.

ประเทศที่ถ่ายอุจจาระนั้นด้วย เป็นฐานด้วย เหตุนั้นจึงชื่อว่าฐานเป็นประเทศ

ถ่ายอุจจาระ อีกอย่างหนึ่ง ประเทศอันเขาถ่ายอุจจาระ เหตุนั้นจึงชื่อว่าประเทศ

ที่ถ่ายอุจจาระ คำนี้เป็นชื่อของอุจจาระ. ที่ของอุจจาระนั้น ชื่อว่าที่ของอุจจาระ

ในฐานแห่งอุจจาระ อธิบายว่า ในฐานที่เปื้อนด้วยของสกปรก. บทว่า วจฺจํ

กตฺวา ยถา กุฏึ ความว่า เหมือนบุรุษสตรี ละทิ้งกุฏิที่ถ่ายอุจจาระ คือส้วม

ฉะนั้น.

บทว่า ชชฺชรํ ได้แก่ เก่า. บทว่า ปุลคฺคํ ได้แก่ ชำรุด อธิบายว่า
กระจัดกระจาย. บทว่า อุทคาหินึ ได้แก่ ถือเอาน้ำ. บทว่า สามี ได้แก่

เจ้าของเรือ. บทว่า นวจฺฉิทฺทํ ได้แก่ ชื่อว่ามี ๙ ช่อง เพราะประกอบด้วย

ปากแผล ๙ แผล มีตา หู เป็นต้น ทั้งช่องเล็กช่องน้อย. บทว่า ธุวสฺสวํ

ได้แก่ เป็นที่ไหลออกเป็นประจำ. อธิบายว่า มีสิ่งไม่สะอาดไหลออกเป็นนิตย์.

บทว่า ภณฺฑมาทิย ได้แก่ ถือเอาทรัพย์สินมีรัตนะเป็นต้นอย่างใด
อย่างหนึ่ง. บทว่า ภณฺฑจฺเฉทภยํ ทิสฺวา ความว่า เห็นภัยแก่การชิง

ทรัพย์สิน. บทว่า เอวเมว ความว่า เหมือนบุรุษพกพาทรัพย์สินเดินไปฉะนั้น.

บทว่า อยํ กาโย ความว่า สภาพนี้ เป็นบ่อเกิดแห่งสิ่งที่เขาเกลียดแล้วที่

น่าเกลียดอย่างยิ่ง เหตุนั้น จึงชื่อว่ากาย. คำว่า อายะ ได้แก่ ที่เกิด. อาการ

ทั้งหลายย่อมมาแต่สภาพนั้น เหตุนั้น สภาพนั้น จึงชื่อว่า อายะ เป็นแดน

มา. อาการทั้งหลายมีผมเป็นต้น อันเขาเกลียดแล้ว. สภาพเป็นแดนมาแห่ง

อาการทั้งหลายมีผมเป็นต้นอันเขาเกลียดแล้ว ด้วยประการฉะนั้น เหตุนั้น

สภาพนั้น จึงชื่อว่า กาย. บทว่า มหาโจรสโม วิย ความว่า กายชื่อว่า

มหาโจรสมะ เพราะเป็นโจรมีปาณาติบาตและอทินนาทานเป็นต้นคอยปล้น

กุศลทุกอย่าง โดยอำนาจความยินดีเป็นต้นในปิยรูปทั้งหลาย มีรูปารมณ์เป็นต้น

ด้วยจักษุเป็นอาทิ เพราะฉะนั้น จึงควรทราบการเชื่อมความว่า บุรุษผู้ถือ

ทรัพย์สินที่เป็นรัตนะ ไปกับหมู่โจรนั้นจำต้องละโจรเหล่านั้นไปเสีย ฉันใด

แม้เราก็จำต้องละกายอันเสมอด้วยมหาโจรนี้ไปเพื่อแสวงหาทางที่ทำความสวัสดี

ให้แก่ตน ฉันนั้นเหมือนกัน. บทว่า กุสลจฺเฉทนาภยา ความว่า เพราะ

กลัวแต่การปล้นกุศลธรรม.

ครั้งนั้น สุเมธบัณฑิตครั้นครุ่นคิดถึงเหตุแห่งเนกขัมมะการออกบวช
ด้วยอุปมานานาประการอย่างนี้แล้ว จึงคิดอีกว่า บิดาและปู่เป็นต้นของเรารวบ

รวมกองทรัพย์ใหญ่นี้ไว้ เมื่อไปปรโลกก็พาเอาแม้แต่กหาปณะเดียวไปไม่ได้.

ส่วนเราควรจะถือเอาเพื่อทำเหตุไปปรโลก ดังนี้แล้วก็ไปกราบทูลพระราชาว่า

ข้าแต่พระมหาราชเจ้า ข้าพระบาทมีหัวใจถูกชาติชราเป็นต้นรบกวน จำจักออก

จากเรือนบวชไม่มีเรือน ข้าพระบาทมีทรัพย์อยู่หลายแสนโกฏิ ขอพระองค์

ผู้สมมติเทพโปรดทรงดำเนินการกะทรัพย์นั้นเถิด พระเจ้าข้า. พระราชาตรัสว่า

เราไม่ต้องการทรัพย์ของท่านดอก ท่านนั้นเองจงทำตามปรารถนาเถิด.

สุเมธบัณฑิตนั้นทูลรับว่า ดีละพระเจ้าข้า แล้วให้ตีกลองร้องป่าวไปใน
พระนคร ให้ทานแก่มหาชน ละวัตถุกามและกิเลสกามแล้ว ก็ออกจากอมรนคร

ซึ่งเสมือนเทพนครอันประเสริฐไปแต่ลำพังผู้เดียว อาศัยธัมมิกบรรพต ในป่า

หิมวันตประเทศที่มีฝูงเนื้อนานาชนิด ทำอาศรม สร้างบรรณศาลาลงในที่นั้น

สร้างที่จงกรมที่เว้นโทษ ๕ ประการ ละทิ้งผ้าอันประกอบด้วยโทษ ๙ ประการ

แล้ว นุ่งห่มผ้าเปลือกไม้ที่ประกอบด้วยคุณ ๑๒ ประการ เพื่อรวบรวมกำลัง

แห่งอภิญญาที่ประกอบด้วยคุณ ๘ ประการ บวชแล้ว.

เขาบวชอย่างนี้แล้ว ก็ละบรรณศาลาที่เกลื่อนด้วยโทษ ๘ ประการ
เข้าอาศัยโคนไม้ ที่ประกอบด้วยคุณ ๑๐ ประการ ละธัญชาติหลากชนิดทุก

อย่าง บริโภคแต่ผลไม้ที่มีอยู่ตามธรรมชาติ ตั้งความเพียร โดยการนั่งยืน

และเดิน ก็ได้สมาบัติ ๘ และอภิญญา ๕ ภายใน ๗ วันเท่านั้น. ด้วยเหตุนั้น

จึงตรัสว่า

เราคิดอย่างนี้แล้ว ก็ให้ทรัพย์หลายร้อยโกฏิเป็น
ทาน แก่คนที่มี่ที่พึ่งและไม่มีที่พึ่ง แล้วก็เข้าไปยัง
หิมวันตประเทศ.
ไม่ไกลหิมวันตประเทศ มีภูเขาชื่อว่าธัมมิกะ
เราก็ทำอาศรม สร้างบรรณศาลา.
ณ ที่นั้น เราก็สร้างที่จงกรม อันเว้นโทษ ๕
ประการ รวบรวมกำลังแห่งอภิญญา อันประกอบด้วย
คุณ ๘ ประการ.
เราสละผ้า อันมีโทษ ๙ ประการไว้ ณ ที่นั้น
นุ่งผ้าเปลือกไม้ อันมีคุณ ๑๒ ประการ.
เราสละบรรณศาลา อันเกลื่อนด้วยโทษ ๘ ประ-
การ เข้าอาศัยโคนไม้ อันประกอบด้วยคุณ ๑๐ ประการ
เราสละธัญชาติ ที่หว่านที่ปลูก โดยมิได้เหลือ
เลย บริโภคแต่ผลไม้ที่มีอยู่ตามธรรมชาติ อันพรั่ง
พร้อมด้วยคุณเป็นอันมาก.
เราตั้งความเพียรในที่นั้น ด้วยการนั่งยืนและเดิน
ก็ได้บรรลุกำลังแห่งอภิญญาภายใน ๗ วัน เท่านั้น.