แสงธรรมนำใจ > ดอกบัวโพธิสัตว์

มธุรัตถวิลาสินี

<< < (9/12) > >>

ตถตา:
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เอวาหํ ตัดบทว่า เอวํ อหํ ความว่า
เราคิดโดยประการที่กล่าวมาแล้วในหนหลัง. บทว่า นาถานาถามํ ความว่า

เราให้แก่คนที่มีที่พึ่งและคนที่ไม่มีที่พึ่ง คือทั้งคนมั่งมี ทั้งคนยากจน พร้อม

ทั้งซุ้มประตูและเรือน ด้วยกล่าวว่า ผู้ต้องการก็จงรับเอา. บทว่า หิมวนฺตสฺสา-

วิทูเร ได้แก่ ในที่ไม่ไกล คือใกล้ขุนเขาหิมวันต์. บทว่า ธมฺมิโก นาม

ปพฺพโต ได้แก่ ภูเขามีชื่ออย่างนี้. ถามว่า เพราะเหตุไร ภูเขาลูกนี้จึงมีชื่อว่า

ธัมมิกะ. ตอบว่า ก็พระโพธิสัตว์ทั้งหลายโดยมาก บวชเป็นฤาษี เข้าอาศัย

ภูเขาลูกนั้นทำอภิญญาให้เกิดแล้วทำสมณธรรม เพราะฉะนั้นภูเขาลูกนั้นจึงได้

ปรากฏชื่อว่า ธัมมิกะ เพราะเป็นที่อาศัยแห่งบุคคลผู้มีสมณธรรม. ด้วยคำว่า

อสฺสโม สุกโต มยฺหํ เป็นต้น ตรัสไว้เหมือนว่าสุเมธบัณฑิต สร้างอาศรม

บรรณศาลาที่จงกรมด้วยฝีมือตนเอง แต่แท้จริง หาได้สร้างด้วยฝีมือตนเองไม่

ท้าวสักกเทวราชทรงส่งวิสสุกรรมเทพบุตรไปสร้าง มิใช่หรือ. แต่พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าทรงหมายถึงผลสำเร็จนั้น ซึ่งเกิดด้วยบุญญานุภาพของพระองค์ในครั้งนั้น

จึงตรัสเป็นต้นว่า ดูก่อนสารีบุตร ณ ภูเขานั้น

เราทำอาศรม สร้างบรรณศาลา สร้างที่จงกรม
อันเว้นโทษ ๕ ประการ ไว้ ณ ที่นั้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปณฺณสาลา ได้แก่ ศาลามุงบังด้วย
ใบไม้. บทว่า ตตฺถ ได้แก่ ณ อาศรมบทนั้น. บทว่า ปญฺจโทสวิวชฺชิตํ

ได้แก่ เว้นห่างไกลจากโทษแห่งที่จงกรม ๕ ประการ. ชื่อว่า โทษแห่งที่จงกรม

๕ ประการ อะไรบ้าง อันเว้นจากโทษ ๕ ประการเหล่านี้ คือ เป็นที่แข็ง

ขรุขระ ๑ อยู่ในต้นไม้ ๑ มีที่รกกำบัง ๑ แคบเกินไป ๑ กว้างเกินไป ๑

ด้วยการกำหนดอย่างสูง ท่านกล่าวว่า ที่จงกรมยาว ๖๐ ศอก กว้างศอกครึ่ง.

อีกนัยหนึ่ง บทว่า ปญฺจโทสวิวชฺชิตํ ได้แก่เว้นห่างไกลจากโทษ
คือนิวรณ์ ๕ ประการ พึงเห็นว่า เชื่อมความกับบทหลังนี้ว่า อภิญฺญาพลมา-

หริ ดังนี้. บทว่า อฏฺฐคุณสมุเปตํ ความว่า ชักนำกำลังเเห่งอภิญญา

อันประกอบด้วยคุณ ๘ ประการ คือ เมื่อจิตตั้งมั่นอย่างนี้ หมดจด สะอาด

ไม่มีมลทิน ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่งาน มั่นคง ไม่หวั่นไหว.

แต่อาจารย์บางพวก กล่าวเชื่อมความกับอาศรมว่า เราสร้างอาศรม
อันประกอบด้วยสมณสุข ๘ ประการ คือ ประกอบพรักพร้อมด้วยสมณสุข ๘

ประการเหล่านี้ คือ ชื่อว่าสมณสุข ๘ ประการเหล่านี้คือ ไม่หวงทรัพย์และ

ข้าวเปลือก แสวงแต่บิณฑบาตที่ไม่มีโทษ บริโภคแต่ก้อนข้าวเย็นแล้ว ไม่มี

กิเลสเครื่องเบียดเบียนรัฐในเมื่อพวกราชบุรุษเอาแต่เบียดเบียนรัฐ ถือเอาทรัพย์

และข้าวเปลือกเป็นต้น ปราศจากฉันทราคะในเครื่องอุปกรณ์ทั้งหลาย ไม่มีภัย

เพราะการปล้นของโจร ไม่คลุกคลีกับพระราชาและมหาอำมาตย์ของพระราชา

ไม่ถูกกระทบกระทั่งใน ๔ ทิศ คำนั้นไม่สมกับบาลี.

บทว่า สาฏกํ แปลว่า ผ้า. บทว่า ตตฺถ ได้แก่ ในอาศรมนั้น. ด้วย
บทว่า นวโทสมุปาคตํ ทรงแสดงว่า ดูก่อนสารีบุตร เราเมื่ออยู่ในที่นั้น

ก็เสียสละผ้าที่มีค่ามากที่ตนนุ่งห่มเสีย ก็เมื่อจะละผ้า ได้เห็นโทษ ๙ ประการ

ในผ้านั้นจึงละเสีย. ความจริงประกาศโทษ ๙ ประการในผ้า แก่ผู้บวชเป็น

ดาบสทั้งหลาย. โทษ ๙ ประการคืออะไร ทรงแสดงว่า เราละผ้าที่ประกอบ

ด้วยโทษ ๙ ประการเหล่านี้คือ ผ้าเป็นของมีค่า ชีวิตนักบวชอยู่ได้ด้วยผู้อื่น

ผ้าหมองไปทีละน้อยด้วยการใช้ ผ้าที่หมองแล้วจำต้องซักต้องย้อม ผ้าเก่า

ไปด้วยการใช้ ผ้าที่เก่าแล้วจำต้องทำการชุน ทำการปะ ผ้าเกิดได้ยากในการ

แสวงหาใหม่ ไม่เหมาะแก่การบวชเป็นดาบส เป็นของสาธารณะทั่วไปแก่พวก

โจร ต้องคุ้มครองโดยที่พวกโจรลักไปไม่ได้ เป็นฐานการแต่งตัวของผู้นุ่งห่ม

ผู้ที่พาเที่ยวไปกลายเป็นคนมักมาก แล้วจึงนุ่งผ้าเปลือกไม้. บทว่า วากจีรํ

ความว่า เราถือเอาผ้าที่สำเร็จด้วยเปลือกไม้ ซึ่งกรองด้วยหญ้ามุงกระต่ายเป็นเส้น ๆ

ทำแล้ว เพื่อใช้นุ่งห่ม. บทว่า ทฺวาทสคุณมุปาคตํ ได้แก่ ประกอบด้วย

อานิสงส์ ๑๒ ประการ. ในบทนี้ คุณ ศัพท์มีอรรถว่า อานิสงส์ เหมือนใน

ประโยคเป็นต้นว่า สตคุณา ทกฺขิณา ปาฏิกงฺขิตพฺพา พึงหวังได้ทักษิ-

ณามีอานิสงส์ร้อยหนึ่ง. ม อักษรทำการต่อบท ถึงพร้อมด้วยคุณ ๑๒ ประการ

เหล่านี้ คือ ผ้าเปลือกไม้มีอานิสงส์ ๑๒ ประการคือ มีค่าน้อย ๑ ไม่เนื่อง

ด้วยผู้อื่น ๑ อาจทำได้ด้วยมือตนเอง ๑ แม้เมื่อเก่าเพราะการใช้ก็ไม่ต้องเย็บ ๑

ไม่มีโจรภัย ๑ ผู้แสวงหาก็ทำได้ง่าย ๑ เหมาะแก่การบวชเป็นดาบส ๑ ไม่

เป็นฐานการแต่งตัวของผู้ใช้ ๑ มีความมักน้อยในปัจจัยคือจีวร ๑ ใช้สะดวก ๑

เปลือกไม้ที่เกิดก็หาได้ง่าย ๑ แม้เมื่อผ้าเปลือกไม้สูญหายก็ไม่เสียดาย ๑.

ครั้งนั้น สุเมธบัณฑิต อยู่ ณ บรรณศาลาอาศรมนั้น ตอนใกล้รุ่ง
ก็ลุกขึ้นพิจารณาถึงเหตุออกบวชของตน คิดอย่างนี้ว่า เราละบ้านเรือนซึ่งมี

อาการประหนึ่งที่อยู่อันประเสริฐของเทพยดา อันงดงามด้วยสมบัติอันโอฬาร

น่ารื่นรมย์ของคฤหัสถ์ชนด้วยการสัมผัสกำไลมือกำไลเท้าทองใหม่เป็นต้นระคน

ด้วยเสียงและการหัวเราะการพูดที่ไพเราะเหมือนละก้อนเขฬะ เข้าไปยังป่าตโป-

วัน บำเพ็ญตบะเครื่องลอยบาปของชนทั้งปวง เพราะเป็นผู้เพลินด้วยวิเวก

แต่การอยู่ที่บรรณศาลา ณ อาศรมนี้ของเรา ก็เป็นเหมือนการครองเรือนครั้ง

ที่สอง เอาเถิด เราจะอยู่เสียที่โคนไม้ ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า

เราละบรรณศาลา อันเกลื่อนด้วยโทษ ๘ ประ-
การ.

ตถตา:
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อฏฺฐโทสสมากิณฺณํ ความว่า เกลื่อน
คือประกอบพร้อมด้วยโทษ ๘ ประการ. โทษ ๘ ประการอะไรบ้าง. พระมหา

สัตว์เห็นโทษ ๘ เหล่านี้คือ การที่สร้างให้สำเร็จจำต้องใช้เครื่องสัมภาระมาก ๑

จำต้องบำรุงอยู่เป็นนิตย์ด้วยหญ้าใบไม้และดินเหนียวเป็นต้น ๑ จำต้องออกไป

โดยเข้าใจว่า ไม่มีเอกัคคตาจิตสำหรับผู้จำต้องออกไปในเวลาไม่สมควร ด้วย

คิดว่า ขึ้นชื่อว่าเสนาสนะ จักทรุดโทรมไป ๑ ต้องทนุถนอมกาย เพราะกระ-

ทบเย็นร้อน ๑ ต้องปกปิดคำครหาที่ว่า ผู้เข้าไปบ้านเรือนอาจทำชั่วอย่างใดอย่าง

หนึ่งได้ ๑ ต้องหวงแหนว่านี้ของเรา ๑ ต้องนึกอยู่เสมอว่า นี้บ้านเรือน มีอยู่

อย่างผู้มีเพื่อน ๑ ต้องเป็นของทั่วไปเป็นอันมาก เพราะต้องทั่วไปแก่สัตว์ทั้ง

หลายมีเล็น เลือด จิ้งจกเป็นต้น ๑ ดังนี้แล้วจึงละบรรณศาลาเสีย.

บทว่า คุเณหิ ทสหุปาคตํ ความว่า เราปฏิเสธที่กำบัง เข้าไปยัง
โคนไม้อันประกอบด้วยคุณ ๑๐ ประการ คุณ ๑๐ ประการอะไรบ้าง. ตรัสว่า

เราเห็นคุณ ๑๐ เหล่านี้ คือ มีความริเริ่มขวนขวายน้อย ๑ ได้ความไม่มีโทษ

โดยง่ายว่าเพียงเข้าไปโคนไม้นั้นเท่านั้น ๑ ทำอนิจจสัญญาให้ตั้งขั้นด้วยการเห็น

ความแปรปรวนของต้นไม้และใบไม้ ๑ ไม่ตระหนี่เสนาสนะ ๑ เมื่อจะทำ

ชั่ว ณ โคนไม้นั้นย่อมละอาย เพราะฉะนั้น จึงไม่มีที่ลับทำชั่ว ๑ ไม่ทำความ

หวงแหน ๑ อยู่กับเทวดาทั้งหลาย ๑ ปฏิเสธที่กำบัง ๑ ใช้สอยสะดวก ๑ ไม่

ห่วงใยเพราะเสนาสนะคือโคนไม้ หาได้ง่าย ในทุกสถานที่ไป ๑ แล้วจึงเข้า

ไปยังโคนไม้ และตรัสว่า

โคนไม้ พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสรรเสริญแล้ว
และตรัสว่า เป็นนิสสัย ที่อาศัย ที่อยู่ของผู้สงัด เสมอ
ด้วยโคนไม้ จะมีแต่ไหน.
แท้จริง ผู้อยู่โคนไม้อันสงัด อันกำจัดความ
ตระหนี่ที่อยู่ อันเทวดารักษาแล้ว ชื่อว่าผู้มีวัตรดี.
ผู้เห็นต้นไม้และใบไม้ ที่มีสีแดง เขียว เหลือง
อันหล่นแล้ว ย่อมบรรเทานิจจสัญญาเข้าใจว่าเที่ยงเสีย
ได้.
เพราะฉะนั้นแล ผู้มีปัญญาเห็นประจักษ์ ไม่
ควรดูหมิ่นโคนไม้อันสงัด ที่เป็นทรัพย์มรดกของ
พระพุทธเจ้า เป็นที่อยู่ของผู้ยินดียิ่งในภาวนา.
ครั้งนั้น สุเมธบัณฑิต เป็นผู้เห็นโทษของบรรณศาลา ได้อานิสงส์
ในเสนาสนะคือโคนไม้อยู่ จึงคิดยิ่งขึ้นไปว่า การที่เราเข้าไปยังหมู่บ้านเพื่อ

แสวงหาอาหาร เป็นทุกข์ในการแสวงหาอาหาร เรามิใช่เพราะสิ้นไร้อย่างไรจึง

ออกบวชด้วยความต้องการเพื่ออาหาร แต่ทุกข์มีการแสวงหาอาหารเป็นมูลไม่มี

ประมาณ ถ้ากระไรเราจะยังอัตภาพให้เป็นไป ด้วยผลไม้ที่มีอยู่ตามธรรมชาติ

แต่เมื่อจะทรงแสดงความที่วิเศษของประโยชน์นี้จึงตรัสคาถาเป็นต้นว่า

เราสละธัญชาติที่หว่านแล้ว ที่ปลูกแล้วโดยไม่
เหลือเลย บริโภคแต่ผลไม้ที่มีอยู่ตามธรรมชาติอัน
พรั่งพร้อมด้วยคุณเป็นอันมาก.

ตถตา:
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วาปิตํ ได้แก่ ที่หว่านเสร็จแล้ว. บทว่า
โรปิตํ ได้แก่ ที่ปลูกเสร็จแล้ว ข้าวกล้าจะสำเร็จผล มี ๒ วิธี คือ ด้วยการหว่าน

และการปลูก. เราก็ละเสียทั้ง ๒ วิธี ยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยผลไม้ที่มีอยู่ตาม

ธรรมชาติ เพราะตัวเรามักน้อย. บทว่า ปวตฺตผลํ ได้แก่ ผลไม้ที่หล่นเอง.

บทว่า อาทิยึ ได้แก่ บริโภค.

บุคคลผู้สันโดษด้วยผลไม้ที่มีอยู่ตามธรรมชาติ
เลี้ยงชีพไม่เนื่องด้วยผู้อื่น ละความละโมบในอาหารเสีย
ย่อมเป็นมุนีใน ๔ ทิศ.
มุนีย่อมละความอยากในรส การเลี้ยงชีพของ
ท่านจึงบริสุทธิ์ เพราะฉะนั้นแล จึงไม่ควรดูหมิ่นการ
บริโภคผลที่ไม้มีอยู่ตามธรรมชาติ.
สุเมธบัณฑิต เมื่อประพฤติอยู่อย่างนี้ ไม่นานนักก็บรรลุสมาบัติ ๘
และอภิญญา ๕ ภายใน ๗ วัน พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อทรงประกาศความข้อ

นี้ จึงตรัสว่า ตตฺถปฺปธานํ ปทหึ เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า

ตตฺถ ได้แก่ ในอาศรมนั้น. บทว่า ปธานํ ได้แก่ความเพียร. จริงอยู่ความ

เพียรท่านเรียกว่า ปธานะ เพราะเป็นคุณควรตั้งไว้ หรือเพราะทำภาวะคือการ

ตั้งไว้. บทว่า ปทหึ ได้แก่ เริ่มความเพียร บทว่า นิสชฺชฏฺฐานจงฺกเม

แปลว่า ด้วยการนั่ง การยืน และการเดิน.

แต่สุเมธบัณฑิต ปฏิเสธการนอน ยังคืนและวันให้ล่วงไปด้วยการนั่ง
ยืนและเดินเท่านั้น จึงบรรลุกำลังแห่งอภิญญาได้ภายใน ๗ วันเท่านั้น. ก็แล

เมื่อสุเมธดาบสครั้นบรรลุกำลังแห่งอภิญญาอย่างนี้แล้ว ก็ยับยั้งอยู่ด้วยสุขใน

สมาบัติ. ครั้งนั้น พระศาสดาพระนามว่าทีปังกรผู้ทรงทำการสงเคราะห์ชนทั้ง

ปวงผู้ทรงทำภัยแก่พลแห่งมาร ทรงทำประทีปคือพระญาณเสด็จอุบัติในโลก.

เมื่อว่าโดยสังเขปเท่านั้น การกล่าวลำดับเรื่องพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น
มีดังนี้ ได้ยินว่า พระมหาสัตว์พระนามว่าทีปังกรพระองค์นี้ ทรงบำเพ็ญ

พระบารมี ๓๐ ทัศ ทรงดำรงอยู่ ในอัตภาพเสมือนอัตภาพของพระเวสสันดร

ทรงให้มหาทาน เป็นเหตุให้แผ่นดินไหวเป็นต้น เมื่อสุดสิ้นพระชนมายุ ก็บัง-

เกิดในสวรรค์ชั้นดุสิต ทรงดำรงอยู่ ณ ที่นั้น จนตลอดพระชนมายุ เมื่อเทวดา

ในหมื่นจักวาลประชุมกันทูลว่า

กาโลยํ๑ เต มหาวีร อุปฺปชฺช มาตุกุจฺฉิยํ
สเทวกํ ตารยนฺโต พุชฺฌสฺสุ อมตํ ปทํ.
ข้าแต่พระมหาวีระ นี้เป็นกาลอันสมควรสำหรับ
พระองค์ โปรดเสด็จอุบัติในครรภ์พระมารดาเถิด
พระองค์เมื่อทรงยังโลกพร้อมทั้งเทวโลก ให้ข้ามโอฆ-
สงสาร ก็โปรดตรัสรู้อมตบทเถิด.
ดังนี้แล้ว แต่นั้น ทรงสดับคำของเทวดาทั้งหลายแล้วทรงพิจารณามหาวิโลก-

นะ ๕ ทรงจุติจากดุสิตสวรรค์นั้นแล้วทรงถือปฏิสนธิ โดยดาวนักษัตรในเดือน

อาสาฬหะหลัง เพ็ญเดือนอาสาฬหะ ในพระครรภ์ของ พระนางสุเมธาเทวี

ในสกุลของพระราชาพระนามว่า สุเทวะ ผู้เป็นเทพแห่งนรชน ดังท้าววาสุเทพ

ผู้พิชิตด้วยความเจริญแห่งพระยศของพระองค์ ณ กรุงรัมมวดี มีราชบริพาร

หมู่ใหญ่คอยบริหาร ไม่ทรงแปดเปื้อนด้วยของไม่สะอาดไรๆ ในพระครรภ์

ของพระมหาเทวี เหมือนก้อนแก้วมณี อยู่ตลอดทศมาส ก็ประสูติจากพระ

ครรภ์ของพระนาง เหมือนดวงจันทร์ในฤดูสารทโคจรไปในหลืบเมฆ.

บุพนิมิต ๓๒
ก็บุพนิมิต ๓๒ ประการ ปรากฏเป็นปาฏิหาริย์ของพระทีปังกรราชกุมาร
พระองค์นั้น ทั้งขณะปฏิสนธิ ทั้งขณะประสูติ ปาฏิหาริย์ ๓๒ ประการ เป็น

ไปในฐานะ เหล่านี้คือ เมื่อพระสัพพัญญูโพธิสัตว์ทุกพระองค์ เสด็จสู่

๑. ในที่บางแห่งเป็นกาโล โข

พระครรภ์ของพระมารดา ๑ ประสูติ ๑ ตรัสรู้ ๑ ประกาศพระธรรมจักร ๑

เพราะฉะนั้น เราจึงแสดงบุพนิมิต ๓๒ ในการประสูติของพระทีปังกรราชกุมาร

เพราะเป็นของปรากฏแล้ว ดังนี้ว่า

เมื่อพระทีปังกรราชกุมาร ผู้ทำความงาม ผู้ทำ
ความเจริญ ผู้ทำความสงบ ประสูติแล้ว ในครั้งนั้น
หมื่นโลกธาตุก็สะเทือนสะท้านหวั่นไหวโดยรอบ.
ครั้งนั้น เทวดาในหมื่นจักรวาล ก็พากันประชุม
ในจักรวาลหนึ่ง.
พอพระมหาสัตว์ ผู้เป็นพระโพธิสัตว์ประสูติ
เทวดาทั้งหลายก็รับก่อน ภายหลัง พวกมนุษย์จึงรับ
พระองค์.
ขณะนั้น กลองหุ้มหนังและกลองทั้งหลาย ช่อง
พิณและพิณทั้งหลาย อันใครๆ มิได้ประโคม เครื่อง
อาภรณ์ทั้งหลายที่ใครๆ มิได้แตะต้อง ก็ส่งเสียงร้อง
อย่างไพเราะไปรอบ ๆ.
เครื่องพันธนาการทั้งหลายทุกแห่ง ก็ขาดหลุด
ไป โรคภัยทั้งปวงก็หายไปเอง คนตาบอดแต่กำเนิด
ก็มองเห็นรูปทั้งหลาย คนหูหนวกก็ได้ยินเสียงรอบตัว.
คนใบ้แต่กำเนิด ก็ได้สติระลึกได้ คนขาพิการ
ก็ใช้เท้าเดินได้ เรือก็เดินไปต่างประเทศแล้วกลับท่า
เรือสุปัฏฏนะได้อย่างรวดเร็ว.

ตถตา:
รัตนะทุกอย่าง ทั้งที่อยู่ในอากาศ ทั้งที่อยู่ภาค
พื้นดิน ก็เรืองแสงได้เองไปรอบ ๆ ไฟในนรกอันร้าย
กาจก็ดับ แม้น้ำในแม่น้ำทั้งหลายก็ไม่ไหล.
แสงสว่างอันโอฬารไพบูลย์ ก็ได้มีในโลกันตริก-
นรก แม้มีทุกข์ไม่ว่างเว้น ครั้งนั้น มหาสมุทรนี้ก็มี
เกลียวคลื่นละลอกสงบ ทั้งน้ำก็มีรสจืดอร่อยด้วย.
ลมที่พัดแรงหรือร้ายกาจ ก็ไม่พัด ต้นไม้ทั้งหลาย
ก็ออกดอกบานสะพรั่ง ดวงจันทร์พร้อมทั้งดวงดาว
ก็จรัสแสงยิ่ง แม้แต่ดวงอาทิตย์ก็ไม่ร้อนแรง.
ฝูงนก ก็ร่าเริงลงจากฟากฟ้าและต้นไม้ มาอยู่
พื้นดินเบื้องล่าง เมฆฝนที่อยู่ใน ๔ มหาทวีป ก็หลั่ง
น้ำฝนรสอร่อยไปโดยรอบ.
เทวดาทั้งหลายอยู่ในภพทิพย์ของตน มีจิตเลื่อม
ใส ก็พากันฟ้อนรำ ขับร้อง ประโคม โห่ร้อง สรวลเส
กันอึงมี.
เขาว่า ในขณะนั้น ประตูเล็กบานประตูใหญ่ก็
เปิดได้เอง เขาว่า ความอดอยากหิวระหาย มิได้บีบคั้น
มหาชน ไม่ว่าโลกไรๆ.
ส่วนหมู่สัตว์ที่เป็นเวรกันเป็นนิตย์ ก็ได้เมตตาจิต
เป็นอย่างยิ่ง ฝูงกาก็เที่ยวไปกับฝูงนกเค้าแมว ฝูง
หมาป่าก็ยิ้มแย้มกับฝูงหมู.
งูมีพิษ ทั้งงูไม่มีพิษ ก็เล่นหัวกับพังพอนทั้งหลาย
ฝูงหนูบ้าน มีใจคุ้นกันสนิทก็จับกลุ่มกันใกล้กับหัวของ
แมว.
ความระหายน้ำ ในโลกของปีศาจ ที่ไม่ได้น้ำมา
เป็นพุทธันดร ก็หายไป คนค่อมก็มีกายงามสมส่วน
คนใบ้ก็พูดได้ไพเราะ.
ส่วนหมู่สัตว์ ที่มีจิตเลื่อมใส ก็กล่าวปิยวาจาแก่
กันและกัน ฝูงม้าที่มีใจร่าเริงก็ลำพองร้อง แม้ฝูงช้าง
ใหญ่เมามันก็ส่งเสียงโกญจนาท.
รอบๆ หมื่นโลกธาตุ ก็เกลื่อนกลาดด้วยจุรณ-
จันทน์หอมกรุ่น อบอวลหวลหอมด้วยกลิ่นดอกไม้
หญ้าฝรั่นและธูป มีมาลัยเป็นธงใหญ่งามต่างๆ.
ก็ในบุพนิมิต ๓๒ นั้น
๑. ความไหวแห่งหมื่นโลกธาตุ เป็น บุพนิมิต แห่งการได้พระสัพ-
พัญญุตญาณ ของพระองค์

๒. การประชุมเทวดาทั้งหลายในจักรวาลเดียว เป็น บุพนิมิต แห่ง
การประชุมพร้อมเพรียงกันรับธรรม ในกาลที่พระองค์ทรงแสดงพระธรรมจักร

๓. การรับของเทวดาทั้งหลายก่อน เป็น บุพนิมิต แห่งการได้
รูปาวจรฌาน ๔

๔. การรับของมนุษย์ทั้งหลายภายหลัง เป็น บุพนิมิต แห่งการได้
อรูปวจรฌาน ๔

๕. การประโคมของกลองหุ้มหนังและกลองทั้งหลายได้เอง เป็นบุพ-
นิมิต แห่งการยังมหาชนให้ได้ยินเสียงกลองธรรมขนาดใหญ่

๖. การบรรเลงเสียงเพลงได้เองของพิณและอาภรณ์เครื่องประดับเป็น
บุพนิมิต แห่งการได้อนุบุพวิหารสมาบัติ.

๗. การที่เครื่องพันธนาการขาดหลุดได้เอง เป็น บุพนิมิต แห่ง
การตัดอัสมิมานะ

๘. การปราศจากโรคทุกอย่างของมหาชนเป็น บุพนิมิต แห่งการได้
ผลแห่งสัจจะ ๔

๙. การเห็นรูปของคนตาบอดแต่กำเนิด เป็น บุพนิมิต แห่งการได้
ทิพยจักษุ

๑๐. การได้ยินเสียงของคนหูหนวก เป็น บุพนิมิต แห่งการได้ทิพ-
โสตธาตุ

๑๑. การเกิดอนุสสติของคนใบ้แต่กำเนิด เป็น บุพนิมิต แห่งการ
ได้สติปัฏฐาน ๔

๑๒. การเดินไปได้ด้วยเทาของคนขาพิการ เป็น บุพนิมิต แห่งการ
ได้อิทธิบาท ๔

๑๓. การกลับมาสู่ท่าเรือสุปัฏฏนะได้เองของเรือที่ไปต่างประเทศ เป็น
บุพนิมิต แห่งการบรรลุปฏิสัมภิทา ๔

๑๔. การรุ่งโรจน์ได้เองของรัตนะทั้งหลาย เป็น บุพนิมิต แห่งการ
ได้แสงสว่างในธรรม

๑๕. การดับของไฟในนรก เป็น บุพนิมิต แห่งการดับไฟ ๑๑ กอง
๑๖. การไม่ไหลแห่งน้ำในแม่น้ำทั้งหลาย เป็น บุพนิมิต แห่งการ
ได้จตุเวสารัชญาณ

๑๗. แสงสว่างในโลกันตริกนรก เป็น บุพนิมิต แห่งการกำจัด
ความมืดคืออวิชชา แล้วเห็นแสงสว่างด้วยญาณ

๑๘. ความที่มหาสมุทรมีน้ำอร่อย เป็น บุพนิมิต แห่งความที่ธรรม
วินัยมีรสเดียว คือรสพระนิพพาน

๑๙. ความไม่พัดแห่งลม เป็น บุพนิมิต แห่งการทำลายทิฏฐิ ๖๒
๒๐. ความที่ต้นไม้ทั้งหลายออกดอกบาน เป็น บุพนิมิต แห่งความ
ที่ธรรมวินัยออกดอกบาน โดยดอกคือวิมุตติ

๒๑. ความจรัสแสงยิ่งของดวงจันทร์ เป็น บุพนิมิต แห่งความที่
พระองค์เป็นที่รักใคร่ของคนเป็นอันมาก

๒๒. ความที่ดวงอาทิตย์สุกใสแต่ไม่ร้อนแรง เป็น บุพนิมิต แห่ง
ความเกิดขึ้นแห่งความสุขกายสุขใจ

๒๓. การโผบินจากท้องฟ้าเป็นต้นสู่แผ่นดินของฝูงนก เป็น บุพนิมิต
แห่งการฟังพระโอวาทแล้วถึงสรณะด้วยชีวิตของมหาชน

๒๔. การตกลงมาแห่งเมฆฝน ที่เป็นไปในทวีปทั้ง ๔ ห่าใหญ่ เป็น
บุพนิมิต แห่งฝนคือธรรมขนาดใหญ่

๒๕. การอยู่ในภพของตนๆ ระเริงเล่นด้วยการฟ้อนรำเป็นต้นของ
เทวดาทั้งหลาย เป็น บุพนิมิต แห่งการทรงบรรลุความเป็นพระพุทธเจ้าแล้ว

ทรงเปล่งพระอุทาน

ตถตา:
ได้ยินว่า ครั้งนั้น สุเมธบัณฑิต ยับยั้งอยู่ด้วยสุขในสมาบัติ ไม่
เห็นนิมิตเหล่านั้น ไม่เห็นนิมิตแห่งการไหวของแผ่นดิน ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า

เมื่อเราประสบความสำเร็จ เป็นผู้ชำนาญใน
ศาสนาอย่างนี้ พระชินเจ้าผู้นำโลก พระนามว่าทีปังกร
ก็เสด็จอุบัติ.
เรามัวเอิบอิ่มด้วยความยินดีในฌานเสีย จึงไม่
ได้เห็นนิมิต ๔ ในการเสด็จอุบัติ การประสูติ การ
ตรัสรู้ การแสดงธรรม.
แก้อรรถ
ทรงแสดงคำที่พึงตรัส ณ บัดนี้ ด้วยบทว่า เอวํ ในคาถานั้น. บทว่า
เม แปลว่า เมื่อเรา. บทว่า สิทฺธิปฺปตฺตสฺส ได้แก่ ถึงความสำเร็จอภิญญา

๕. บทว่า วสีภูตสฺส ได้แก่ เป็นผู้ชำนาญแล้ว อธิบายว่า ถึงความเป็นผู้

เชี่ยวชาญ. บทว่า สาสเน ได้แก่ ในศาสนาของดาบสผู้อาศัยความสงัด. ฉัฏฐี

วิภัตติพึงเห็นว่าใช้ในลักษณะอนาทระ. บทว่า ชิโน ได้แก่ ชื่อว่าชินะเพราะ

ชนะข้าศึกคือกิเลส.

บทว่า อุปฺปชฺชนฺเต ได้แก่ ในการถือปฏิสนธิ. บทว่า ชายนฺเต
ได้แก่ ในการประสูติจากพระครรภ์พระมารดา. บทว่า พุชฺฌนฺเต ได้แก่ ใน

การตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ. บทว่า ธมฺมเทสเน ได้แก่ ในการ

ประกาศพระธรรมจักร. บทว่า จตุโร นิมิตฺเต ได้แก่ นิมิต ๔. อธิบายว่า

นิมิตมีหมื่นโลกธาตุไหวเป็นต้น ในฐานะ ๔ คือ ถือปฏิสนธิ ประสูติ ตรัสรู้

และประกาศพระธรรมจักร ผู้ทักท้วงในข้อนี้กล่าวว่า นิมิตเหล่านั้นมีมาก

เหตุไรจึงตรัสว่านิมิต ๔ ไม่สมควรมิใช่หรือ. ตอบว่า ไม่สมควร หากว่า

นิมิตเหล่านั้นมีมาก แต่ตรัสว่า นิมิต ๔ เพราะเป็นไปในฐานะ ๔. บทว่า

นาทฺทสํ ได้แก่ นาทฺทสึ แปลว่าไม่ได้เห็นแล้ว. บัดนี้เมื่อทรงแสดงเหตุ

ในการไม่เห็นนิมิต ๔ นั้น จึงตรัสว่า มัวเอิบอิ่มด้วยความยินดีในฌาน ดังนี้.

คำว่า ฌานรติ นี้ เป็นชื่อของสุขในสมาบัติ อธิบายว่า ไม่ได้เห็นนิมิต

เหล่านั้น เพราะเพียบพร้อมอยู่ด้วยความยินดีในฌาน.

ก็สมัยนั้น พระทีปังกรทศพล อันพระขีณาสพสี่แสนรูปแวดล้อม
แล้ว เสด็จจาริกไปตามลำดับ ก็ลุนครชื่อ รัมมะ ที่น่ารื่นรมย์อย่างยิ่ง ประ-

ทับอยู่ ณ พระสุทัสสนมหาวิหาร ชาวรัมมนครฟังข่าวว่า ได้ยินว่า พระ

ทีปังกรทศพลทรงบรรลุพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ประกาศพระธรรมจักร

อันประเสริฐแล้ว เสด็จจาริกมาโดยลำดับ ถึง รัมมนคร แล้วประทับอยู่ ณ

พระสุทัสสนมหาวิหาร ก็ถือเอาเภสัชมีเนยเป็นต้น ฉันอาหารเช้าแล้ว ก็

ห่มผ้าอันสะอาด ถือดอกไม้ธูปและของหอม เข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้า ครั้นเฝ้า

แล้ว ก็ถวายบังคม บูชาด้วยดอกไม้เป็นต้น นั่ง ณ ที่สมควรส่วนหนึ่ง ฟัง

ธรรมกถาอันไพเราะยิ่ง นิมนต์พระผู้มีพระภาคเจ้าเพื่อเสวยในวันรุ่งขึ้น ลุก

จากที่นั่งแล้ว ทำประทักษิณพระทศพลแล้วกลับไป.

วันรุ่งขึ้น ชาวเมืองเหล่านั้น ก็จัด อสทิสมหาทาน สร้างมณฑป
มุงบังด้วยดอกบัวขาบ อันไร้มลทินและน่ารัก ประพรมด้วยของหอม ๘ ชนิด

โรยดอกไม้หอมครบ ๕ ทั้งข้าวตอก ตั้งหม้อน้ำ เต็มด้วยน้ำเย็นอร่อยไว้ ๔

มุม มณฑปปิดด้วยในตอง ผูกเพดานผ้า งามน่าชมอย่างยิ่ง เสมือนดอก

ชะบา ไว้บนมณฑป ประดับด้วยดาวทอง ดาวแก้วมณีและดาวเงิน ห้อย

พวงของหอมพวงดอกไม้พวงใบไม้และพวงรัตนะ สะเดาะวันเคราะห์ร้ายด้วย

ธูปทั้งหลาย และทำรัมมนครที่น่ารื่นรมย์นั้นให้สะอาดสะอ้านทั่วทั้งนคร ตั้งต้น

กล้วยพร้อมทั้งผลและหม้อเต็มน้ำประดับด้วยดอกไม้ และยกธงประฏากทั้งหลาย

หลากๆ สี ล้อมด้วยกำแพงผ้าม่านทั้งสองข้างถนนใหญ่ ตกแต่งทางเสด็จมา

ของพระทีปังกรทศพล ใส่ดินฝุ่นตรงที่น้ำเซาะ ถมตรงที่เป็นตม ทำที่ขรุ-

ขระให้เรียบ โรยด้วยทรายที่เสมือนมุกดา โรยด้วยดอกไม้ครบ ๕ ทั้งข้าวตอก

จัดหนทาง ที่มีต้นกล้วยต้นหมากพร้อมทั้งผลไว้.

สมัยนั้น สุเมธดาบสโลดขึ้นจากอาศรมของตนเหาะไปทางอากาศส่วน
เบื้องบนของมนุษย์ชาวรัมมนครเหล่านั้น เห็นพวกเขากำลังแผ้วถางทางและ

ตกแต่งกัน ก็คิดว่า เหตุอะไรหนอ ลงจากอากาศทั้งที่คนเห็นกันหมด ยืน ณ

ที่สมควรส่วนหนึ่ง ถามคนเหล่านั้นว่า ท่านผู้เจริญ พวกท่านแผ้วถางทางนี้

เพื่อประโยชน์อะไรดังนี้ ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า

มนุษย์ทั้งหลาย แถบถิ่นปัจจันตประเทศนิมนต์
พระตถาคตแล้ว มีใจเบิกบาน ช่วยกันแผ้วถางหนทาง

เสด็จมาของพระองค์.

สมัยนั้น เราออกจากอาศรมของตน สลัดผ้า
เปลือกไม้เหาะไปในบัดนั้น.

เห็นคนที่เกิดความโสมนัส ยินดีร่าเริงบันเทิง
ใจแล้ว ก็ลงจากท้องฟ้า ถามมนุษย์ทั้งหลายไปทันที.

มหาชนผู้เกิดความโสมนัส ยินดีร่าเริงบันเทิง
ใจแล้ว พวกท่านแผ้วถางหนทางเพื่อใคร.

นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

[#] หน้าถัดไป

[*] หน้าที่แล้ว

ตอบ

Go to full version