ผู้เขียน หัวข้อ: มธุรัตถวิลาสินี พรรณนาวงศ์พระโคดมพุทธเจ้า  (อ่าน 5970 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ตถตา

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นไม้เล็กพริ้วไหวดั่งสายลม
  • *
  • กระทู้: 326
  • พลังกัลยาณมิตร 154
    • ดูรายละเอียด
ฝ่ายพระโพธิสัตว์ ทรงผนวชแล้ว ในประเทศนั้นนั่นแล มีสวน
มะม่วงชื่อ อนุปิยะ อยู่ จึงทรงยับยั้งอยู่ ณ อนุปิยอัมพวัน นั้น ๗ วัน ด้วย

ความสุขในบรรพชาภายหลังจากนั้น ก็ทรงสำรวมด้วยผ้ากาสาวะอันดี เหมือน

ดวงรัชนีกรเต็มดวง สำรวมอยู่ในหมู่เมฆที่อาบด้วยแสงสนธยา แม้ลำพัง

พระองค์ก็รุ่งเรืองเหมือนชนเป็นอันมากแวดล้อมแล้ว ทรงทำบรรพชานั้น

เหมือนน้ำอมฤตต้องของเหล่ามฤคและปักษีที่อยู่ป่า ทรงเที่ยวไป พระองค์

เดียวเหมือนราชสีห์ ทรงเป็นนรสีหะ เหมือนควาญผู้ รู้จักลีลาของช้างตกมัน

ยังแผ่นดินให้เบาด้วยฝ่าเท้า เสด็จเดินทาง ๓๐ โยชน์ วันเดียวเท่านั้น ทรง

ข้ามแม่น้ำคงคา ซึ่งคลั่งด้วยฤดูและคลื่น แต่ไม่ขัดข้อง เสด็จเข้าสู่นครราช-

คฤห์ เรือนหลวงอันแพรวพราวด้วยประกายแสงแห่งรัตนะ ครั้นเสด็จเข้าไป

แล้ว ก็เที่ยวแสวงหาภิกษาตามลำดับตรอก. ทั่วทั้งนครนั้นก็สะเทือนเพราะการ

เห็นพระรูปของพระโพธิสัตว์ เหมือนนครนั้นสะเทือน เมื่อช้างธนบาลเข้าไป

เหมือนเทวนครสะเทือน เมื่อจอมอสูรเข้าไป. เมื่อพระมหาบุรุษเสด็จเที่ยวแสวง

หาภิกษา พวกมนุษย์ชาวพระนคร เกิดความอัศจรรย์สำหรับผู้เกิดปีติโสมนัส

เพราะเห็นพระรูปของพระมหาสัตว์ ก็ได้มีใจนึกถึงการเห็นพระรูปของพระ

โพธิสัตว์.

บรรดามนุษย์เหล่านั้น มนุษย์ผู้หนึ่งกล่าวกะมนุษย์ผู้หนึ่งอย่างนี้ว่า
ท่านเอย เหตุอะไรหนอ จันทร์เพ็ญ ที่มีช่อรัศมีที่ถูกภัยคือราหูกำบังแล้ว ยังมาสู่

มนุษยโลกได้. มนุษย์อื่นนอกจากนั้น ก็ยิ้มพูดอย่างนี้ว่า พูดอะไรกันสหาย

ท่านเคยเห็นจันทร์เพ็ญมาสู่มนุษยโลกกันเมื่อไร นั่นกามเทพมีดอกไม้เป็นธง

มิใช่หรือ ท่านถือเพศอื่นเห็นความเจริญของลีลาอย่างยิ่งของมหาราชของเรา

และชาวเมือง จึงเสด็จมาเล่นด้วย. คนอื่นนอกจากนั้นก็ยิ้มพูดอย่างนี้ว่า ท่าน

เอย ท่านเป็นบ้ากันแล้วหรือ นั่น พระอินทรผู้มีสรีระร้อนเรืองด้วยความ

โหมของเพลิงยัญอันเรืองแรง ผู้เป็นท้าวสหัสนัยน์ เป็นเจ้าแห่งเทวดา

มาในที่นี้ด้วยความสำคัญว่า อมรปุระ คนอื่นนอกจากนั้น หัวร่อนิดหน่อย

แล้วกล่าวว่า ท่านเอย พูดอะไรกัน ท่านผิดทั้งคำต้นคำหลัง ท่านผู้นั้นมี

พันคาที่ไหน มีวชิราวุธที่ไหน มีช้างเอราวัณที่ไหน ที่แท้ ท่านผู้นั้นเป็น

พรหม ท่านรู้ว่าคนที่เป็นพราหมณ์ประมาทกันจึงมาเพื่อประกอบไว้ในพระเวทแล

เวทางค์เป็นต้นต่างหากเล่า. คนอื่นที่เป็นบัณฑิตก็ปรามคนเหล่านั้นทั้งหมดพูด

อย่างนี้ว่า ท่านผู้นี้มิใช่พระจันทร์เพ็ญ มิใช่กามเทพ มิใช่ท้าวสหัสนัยน์ มิใช่

พรหมทั้งนั้น แต่ท่านผู้นี้ เป็นอัจฉริยมนุษย์ จะเป็นศาสดาผู้นำโลกทั้งปวง.

เมื่อชาวนครเจรจากันอยู่อย่างนี้ พวกราชบุรุษก็กราบทูลเรื่องนั้นแด่
พระเจ้าพิมพิสารว่า ข้าแต่สมมุติเทพ เทพ คนธรรพ์ หรือนาคราช ยักษ์ หรือ

ใครหนอเที่ยวแสวงหาภิกษาในนครของเรา. พระราชาทรงสดับเรื่องนั้นแล้ว

ทรงยืน ณ ประสาทชั้นบน ทรงเห็นพระมหาบุรุษเกิดจิตอัศจรรย์ไม่เคยมี ทรงสั่ง

พวกราชบุรุษว่า พวกท่านจงไปทดสอบท่านผู้นั้น ถ้าเป็นอมนุษย์ ก็จักออก

จากนครหายไป ถ้าเป็นเทวดา ก็จักไปทางอากาศ ถ้าเป็นนาคราช ก็จักมุดดิน

ถ้าเป็นมนุษย์ ก็จักบริโภคภิกษาตามที่ได้มา.

ฝ่ายพระมหาบุรุษ มีอินทรีย์สงบ มีพระหฤทัยสงบเป็นประหนึ่งดึงดูด
สายตามหาชน เพราะความงามแห่งพระรูป ทรงแลชั่วแอก รวบรวมอาหาร

ระคนกัน พอยังอัตภาพให้เป็นไปได้ เสด็จออกจากนครทางประตูที่เสด็จเข้า

มา บ่ายพระพักตร์ไปทางตะวันออกแห่งร่มเงาภูเขาปัณฑวะ ประทับนั่งพิจารณา

อาหาร ไม่มีอาการผิดปกติเสวย. แต่นั้น พวกราชบุรุษก็ไปกราบทูลเรื่องนั้น

แด่พระราชา.

ลำดับนั้น พระเจ้าแผ่นดินแคว้นมคธ พระนามว่าพิมพิสาร ผู้อัน
เหล่าพาลชนนึกถึงได้ยาก ผู้มีเขาพระเมรุและเขามันทาระเป็นสาระ ผู้ทรงเป็น

แก่นสารแห่งสัตว์ ทรงมีความตื่นเต้นเพราะการเห็น ที่เกิดเพราะได้สดับคุณของ

พระโพธิสัตว์เหล่านั้น ทรงรีบเสด็จออกจากพระนคร บ่ายพระพักตร์ตรงภูเขา

ปัณฑวะ เสด็จไปแล้ว ลงจากพระราชยาน เสด็จไปยังสำนักพระโพธิสัตว์

อันพระโพธิสัตว์ทรงอนุญาตแล้วประทับนั่งเหนือพื้นศิลา อันเย็นด้วยความรัก

ของชนผู้เป็นพวกพ้องทรงเลื่อมใสในพระอิริยาบถของพระโพธิสัตว์ ทรงได้รับ

ปฏิสันถารแล้ว ทรงถามถึงนามและโคตร ทรงมอบความเป็นใหญ่ทุกอย่างแด่

พระโพธิสัตว์. พระโพธิสัตว์ตรัสว่า ข้าแต่พระมหาราช หม่อมฉันไม่ประสงค์

ด้วยวัตถุกาม หรือกิเลสกาม หม่อมฉันปรารถนาแต่พระปรมาภิสัมโพธิญาณ

จึงออกบวช. พระราชาแม้ทรงอ้อนวอนหลายประการ ก็ไม่ได้น้ำพระหฤทัย

ของพระโพธิสัตว์ จึงตรัสว่า จักทรงเป็นพระพุทธเจ้าแน่ จึงทูลว่าก็พระ-

องค์เป็นพระพุทธเจ้าแล้ว โปรดเสด็จมาแคว้นของหม่อมฉันก่อน แล้วเสด็จ

เข้าสู่พระนคร.


ออฟไลน์ ตถตา

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นไม้เล็กพริ้วไหวดั่งสายลม
  • *
  • กระทู้: 326
  • พลังกัลยาณมิตร 154
    • ดูรายละเอียด
อถ ราชคหํ วรราชคหํ
นรราชวเร นครํ ตุ คเต
คิริราชวโร มุนิราชวโร
มิคราชคโต สุคโตปิ คโต.
เมื่อพระนรราชผู้ประเสริฐ เสด็จสู่กรุงราชคฤห์
ซึ่งมีเรือนหลวงอย่างประเสริฐ พระจอมคีรีผู้ประเสริฐ
พระจอมมุนีผู้ประเสริฐ เสด็จไปเป็นเช่นพระยามฤค
[ราชสีห์] เสด็จไปแล้ว ชื่อว่าเสด็จไปดีแล้ว.
ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์เสด็จจาริกไปตามลำดับ เข้าไปหาอาฬารดาบส
กาลามโคตร และ อุทกดาบส รามบุตร ยังสมาบัติ ๘ ให้เกิดแล้ว ทรง

ดำริว่า ทางนี้ไม่ใช่ทางแห่งพระโพธิญาณ ไม่ทรงใส่พระหฤทัยถึงสมาปัตติ-

ภาวนานั้นมีพระประสงค์จะทรงตั้งความเพียร จึงเสด็จไปยังอุรุเวลาทรงดำริว่า

ภูมิภาคนี้น่ารื่นรมย์จริงหนอ ทรงเข้าอยู่ ณ ตำบลนั้น ทรงตั้งความเพียรยิ่งใหญ่.

ชน ๕ คนเหล่านี้คือบุตรของพราหมณ์ผู้ทำนายพระมหาปุริสลักษณะ ๔ คน

และพราหมณ์ชื่อโกณฑัญญะ บวชคอยอยู่ก่อน เที่ยวภิกษาจารไปในคามนิคม

ราชธานีทั้งหลาย บำรุงพระโพธิสัตว์ ณ ที่นั้น. ลำดับนั้น เมื่อพากันบำรุงพระ-

โพธิสัตว์ ผู้ตั้งความเพียรยิ่งใหญ่อยู่ถึง ๖ ปี ด้วยวัตรปฏิบัติมีกวาดบริเวณเป็นต้น

ด้วยหวังอยู่ว่า พระโพธิสัตว์จักทรงเป็นพระพุทธเจ้า บัดนี้ จักทรงเป็นพระพุทธ-

เจ้าบัดนี้ อยู่ประจำสำนักของพระโพธิสัตว์นั้น. แม้พระโพธิสัตว์ ก็ทรงยับยั้งอยู่

ด้วยงาและข้าวสารเมล็ดเดียว ด้วยทรงหมายจักทำทุกกรกิริยาอันถึงที่สุด ได้

ทรงตัดอาหารโดยประการทั้งปวง. แม้เทวดาทั้งหลาย ก็นำทิพโอชะใส่ลงตาม

ขุมขนทั้งหลาย.

ครั้งนั้น พระวรกายที่มีสีทองของพระองค์ผู้มีพระกายถึงความซูบผอม
อย่างยิ่ง เพราะไม่มีอาหารนั้นก็มีสีดำ. พระมหาปุริสลักษณะ ๓๒ ก็ถูกปกปิด.

ลำดับนั้นพระโพธิสัตว์ ทรงถึงที่สุดแห่งทุกกรกิริยา ทรงดำริว่า นี้ไม่ใช่ทาง

แห่งพระโพธิญาณ มีพระประสงค์จะเสวยอาหารหยาบ จึงเสด็จเข้าไปบิณฑบาต

ณ คามนิคมทั้งหลาย เสวยพระกระยาหาร. ลำดับนั้น พระมหาปุริสลักษณะ

๓๒ ก็กลับเป็นปกติ พระวรกายมีสีเหมือนสีทอง. ขณะนั้น ภิกษุปัญจวัคคีย์

เห็นพระองค์ ก็คิดว่า ท่านผู้นี้ แม้ทำทุกกรกิริยามา ๖ ปี ก็ไม่อาจแทงตลอด

พระสัพพัญญุตญาณได้ มาบัดนี้ยังเที่ยวบิณฑบาตไปในคามนิคมราชธานีทั้ง

หลาย บริโภคอาหารหยาบ จักอาจได้อย่างไร ท่านผู้นี้มักมากคลายความเพียร

ประโยชน์อะไรของเราด้วยท่านผู้นี้ แล้วก็ละพระมหาบุรุษ พากันไปยัง

ป่าอิสิปตนะ กรุงพาราณสี.

สมัยนั้น วันวิสาขบูรณมี พระมหาบุรุษเสวยข้าวมธุปายาส ซึ่งเทวดา
ใส่ทิพโอชะ อันหญิงวัยรุ่นชื่อสุชาดา ผู้บังเกิดในครอบครัวของเสนานีกุฎุมพี

ตำบลอุรุเวลา เสนานิคมถวายแล้ว ทรงถือถาดทองวางลงสู่กระแสแม่น้ำ

เนรัญชรา ปลุกพระยากาฬนาคราชผู้หลับให้ตื่นแล้ว. ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์

ทรงพักกลางวัน ณ สาลวัน ซึ่งประดับด้วยดอกไม้หอม มีแสงสีเขียว น่า

รื่นรมย์ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชราเวลาเย็น เสด็จมุ่งตรงไปยังต้นโพธิพฤกษ์ตาม

ทางที่เทวดาทั้งหลายประดับแล้ว. เทวดานาคยักษ์สิทธาเป็นต้น พากัน

บูชาด้วยดอกไม้ของหอมเครื่องลูบไล้. สมัยนั้น คนหาหญ้า ชื่อโสตถิยะ

ถือหญ้าเดินสวนทางมา รู้อาการของพระมหาบุรุษ จึงถวายหญ้า ๘ กำ พระ-

โพธิสัตว์ทรงรับหญ้าแล้วเสด็จเข้าไปยังโคนโพธิพฤกษ์ชื่อต้นอัสสัตถะ ซึ่ง

เป็นวิชัยพฤกษ์อันรุ่งโรจน์กว่าหมู่ต้นไม้ทั้งหลาย คล้ายอัญชันคิรีสีเขียวคราม

ประหนึ่งช่วยบรรเทาแสงทินกร มีร่มเงาเย็น เย็นด้วยพระกรุณา ดังพระหฤทัย

ของพระองค์ เว้นจากการชุมนุมของวิหคนานาชนิด ประดับด้วยกิ่งอันทึบ

ต้องลมอ่อน ๆ โชยมาประหนึ่งฟ้อนรำ และประดุจยินดีด้วยปีติ ทรงทำประ-

ทักษิณพญาอัสสัตถพฤกษ์ ๓ ครั้ง ประทับยืนทางทิศอีสาน ทรงจับยอดหญ้า

เขย่า. ทันใดนั่นเอง ก็มีบัลลังก์ ๑๔ ศอก หญ้าเหล่านั้น ก็เป็นเหมือนจิตรกร

วาดไว้. พระโพธิสัตว์ประทับนั่งขัดสมาธิเหนือสันถัตหญ้า ๑๔ ศอก ทรง

อธิษฐานความเพียรประกอบด้วยองค์ ๔ ทรงทำลำต้นโพธิพฤกษ์ ๕๐ ศอกไว้

เบื้องหลัง ดังลำต้นเงินที่เขาวางไว้เหนือตั่งทอง กั้นด้วยกิ่งโพธิพฤกษ์เหมือน

ฉัตรมณีไว้เบื้องบน ประทับนั่ง. ก็ยอดอ่อนโพธิพฤกษ์ล่วงลงมาที่จีวรสีทองของ

พระองค์ ก็รุ่งโรจน์เหมือนวางแก้วประพาฬไว้ที่แผ่นทอง.

เมื่อพระโพธิสัตว์ ประทับนั่ง ณ โพธิบัลลังก์นั้น วสวัตดีมารเทพบุตร
คิดว่าสิทธัตถกุมารประสงค์จะล่วงวิสัยของเรา บัดนี้เราจักไม่ให้สิทธัตถะกุมาร

นั้นล่วงวิสัย จึงบอกความนั้นแก่กองกำลังของมาร แล้วพากองกำลังมารออก

ไป. ได้ยินว่า ทัพมารนั้น ข้างหน้าของมาร ก็ขนาด ๑๒ โยชน์ ข้างขวาและ

ข้างซ้ายก็อย่างนั้น แต่ข้างหลัง ตั้งอยู่สุดจักรวาล เบื้องบนสูง ๙ โยชน์.

ได้ยินเสียงคำราม ดังเสียงแผ่นดินคำราม ตั้งแต่เก้าพันโยชน์.

สมัยนั้น ท้าวสักกเทวราช ทรงยืนเป่าสังข์ ชื่อวิชยุตตระ เขาว่า
สังข์นั้น ยาวสองพันศอก. คนธรรพ์เทพบุตรชื่อปัญจสิขะ ถือพิณสีเหลืองดัง

ผลมะตูม ยาวสามคาวุตบรรเลง ยืนขับร้องเพลงประกอบด้วยมงคล ท้าว-

สุยามเทวราช ทรงถือทิพยจามร อันมีสิริดังดวงจันทร์ยามฤดูสารท ยาวสาม

คาวุต ยืนถวายงานพัดลมอ่อน ๆ. ส่วนท้าวสหัมบดีพรหม ยืนกั้นฉัตรดัง

จันทร์ดวงที่สอง กว้างสามโยชน์ ไว้เบื้องบนพระผู้มีพระภาคเจ้า แม้แต่

มหากาฬนาคราช อันนาคฝ่ายฟ้อนรำแปดหมื่นแวดล้อม ร่ายคาถาสดุดีนับร้อย

ยืนนมัสการพระมหาสัตว์ เทวดาในหมื่นจักรวาล บูชาด้วยพวงดอกไม้หอม

และจุรณธูปเป็นต้น พากันยืนถวายสาธุการ.


ออฟไลน์ ตถตา

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นไม้เล็กพริ้วไหวดั่งสายลม
  • *
  • กระทู้: 326
  • พลังกัลยาณมิตร 154
    • ดูรายละเอียด
ลำดับนั้น เทวบุตรมารขึ้นช้างที่กันข้าศึกได้ เป็นช้างที่ประดับด้วย
รัตนะ ชื่อคิริเมขละ งามน่าดูอย่างยิ่ง เสมือนยอดหิมะคิรี ขนาดร้อยห้าสิบ

โยชน์ เนรมิตแขนพันแขน ให้จับอาวุธต่าง ๆ ด้วยการจับอาวุธที่ยังไม่ได้จับ.

แม้บริษัทของมารมีกำลังถือดาบ ธนู ศร หอก ยกธนู สาก ผาล เหล็กแหลม

หอก หลาว หิน ค้อน กำไลมือ ฉมวก กงจักร เครื่องสวมคอ ของมีคม มี

หน้าเหมือนกวาง ราชสีห์ แรด กวาง หมู เสือ ลิง งู แมว นกฮูก และมี

หน้าเหมือนควาย ฟาน ม้า ช้างพลายเป็นต้น มีกายต่าง ๆน่ากลัว น่าประหลาด

น่าเกลียด มีกายเสมือนมนุษย์ยักษ์ปีศาจ ท่วมทับพระมหาสัตว์โพธิสัตว์ ผู้

ประทับนั่ง ณ โคนโพธิพฤกษ์ เดินห้อมล้อม ยืนมองดูการสำแดงของมาร.

แต่นั้น เมื่อกองกำลังของมาร เข้าไปยังโพธิมัณฑสถาน บรรดาเทพ
เหล่านั้น มีท้าวสักกะเป็นต้น เทพแม้แต่องค์หนึ่ง ก็ไม่อาจจะยืนอยู่ได้. เทพ

ทั้งหลายก็พากันหนีไปต่อหน้า ๆ นั่นแหละ ก็ท้าวสักกะเทวราช ทำวิชยุตตร-

สังข์ไว้ที่ปฤษฎางค์ ประทับยืน ณ ขอบปากจักรวาล. ท้าวมหาพรหม วาง

เศวตฉัตรไว้ที่ปลายจักรวาลแล้วก็เสด็จไปพรหมโลก. กาฬนาคราชก็ทิ้งนาค-

นาฏกะไว้ทั้งหมด ดำดินไปยังภพมัญเชริกนาคพิภพลึก ๕๐๐ โยชน์ นอนเอา

มือปิดหน้า ไม่มีแม้แต่เทวดาสักองค์เดียว ที่จะสามารถอยู่ในที่นั้นได้. ส่วน

พระมหาบุรุษ ประทับนั่งอยู่แต่ลำพัง เหมือนมหาพรหมในวิมานว่างเปล่า. นิมิต

ร้าย ที่ไม่น่าปรารถนาเป็นอันมากปรากฏก่อนทีเดียวว่า บัดนี้ มารจักมา ดังนี้.

เมื่อเวลาการยุทธของพระยามาร และของพระ-
ผู้เผ่าพันธุ์แห่งไตรโลก ดำเนินไปอยู่ อุกกาบาตอัน
ร้ายกาจก็ตกลงโดยรอบ ทิศทั้งหลายก็มืดคลุ้มด้วยควัน.
แผ่นดินแม้นี้ไม่มีใจ ก็เหมือนมีใจ ถึงความ
พลัดพราก เหมือนหญิงสาวพลัดพรากสามี แผ่นดิน
ที่ทรงสระต่าง ๆ พร้อมทั้งสาครก็หวั่นไหว เหมือน
เถาวัลย์ต้องลมพัดแรง.
มหาสมุทรก็มีน้ำปั่นป่วน แม้น้ำทั้งหลายก็ไหล
ทวนกระแส ลำต้นไม้ต่าง ๆ ก็คดงอแตกติดดินแห่ง
ภูผาทั้งหลาย.
ลมร้ายก็พัดไปรอบ ๆ มีเสียงอึกทึกครึกโครม
ความมืดที่ปราศจากดวงอาทิตย์ ก็เลวร้าย ตัวกะพันธ์
ก็ท่องไปกลางหาว.
เขาว่า ลางร้ายอันพิลึก ดังกล่าวไม่น่าเจริญใจ
ไม่น่าปรารถนา ทั้งที่อยู่ในอากาศและที่อยู่ภาคพื้นดิน
เป็นอันมาก ก็มีโดยรอบในขณะที่มารมา.
ส่วนหมู่เทพทั้งหลาย เห็นมารประสงค์จะประ-
หารพระมหาสัตว์ ผู้เป็นเทพแห่งเทพนั้น ก็เอ็นดู
พร้อมด้วยหมู่เทพก็พากันทำเสียงว่า หา หา.
แม้ภายหลัง ก็เห็นมารนั้น พร้อมทั้งกองกำลัง
เป็นอันมาก ที่ฝึกมาดีแล้ว พากันหนีไปในทิศใหญ่
ทิศน้อย อาวุธในมือก็ตกไป.
พระผู้มีพระยศยิ่งใหญ่ ผู้แกล้วกล้า ปราศจาก
ภัย ประทับนั่งอยู่ท่ามกลางกองกำลังของมาร เหมือน
พระยาครุฑอยู่ท่ามกลางฝูงวิหค เหมือนราชสีห์ผู้ยิ่งยง
อยู่ท่ามกลางฝูงมฤคฉะนั้น.
ครั้งนั้น มารคิดว่า จักยังพระสิทธัตถะให้กลัวแล้วหนีไป แต่ไม่อาจ
ให้พระโพธิสัตว์หนีไปด้วยฤทธิ์มาร ๙ ประการ คือ ลม ฝน ก้อนหิน เครื่อง

ประหาร ถ่านไฟ ไฟนรก ทราย โคลน ความมืด มีใจขึ้งโกรธ บังคับ

หมู่มารว่า พนาย พวกเจ้าหยุดอยู่ไย จงทำสิทธัตถะให้ไม่เป็นสิทธัตถะ จง

จับ จงฆ่า จงตัด จงมัด จงอย่าปล่อย จงให้หนีไป ส่วนตัวเองนั่งเหนือ

คอคชสารชื่อคิรีเมขละ ใช้กรข้างหนึ่งกวัดแกว่งศร เข้าไปหาพระโพธิสัตว์

กล่าวว่า ท่านสิทธัตถะ จงลุกขึ้นจากบัลลังก์. ทั้งหมู่มารก็ได้ทำความบีบคั้น

ร้ายแรงยิ่งแก่พระมหาสัตว์.


ออฟไลน์ ตถตา

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นไม้เล็กพริ้วไหวดั่งสายลม
  • *
  • กระทู้: 326
  • พลังกัลยาณมิตร 154
    • ดูรายละเอียด
ครั้งนั้น พระมหาบุรุษตรัสคำเป็นต้นว่า ดูก่อนมาร ท่านบำเพ็ญ
บารมีเพื่อบัลลังก์มาแต่ครั้งไร แล้ว ทรงน้อมพระหัตถ์ขวาสู่แผ่นปฐพี. ขณะนั้น

นั่นเอง ลมและน้ำที่รองแผ่นปฐพี ซึ่งหนาหนึ่งล้านหนึ่งหมื่นสี่พันโยชน์ ก็ไหว

ก่อนต่อจากนั้น มหาปฐพีนี้ ซึ่งหนาสองแสนสี่หมื่นโยชน์ก็ไหว ๖ ครั้ง. สายฟ้า

แลบและอสนีบาตหลายพันเบื้องบนอากาศ ก็ผ่าลงมา. ลำดับนั้น ช้างคิรีเมขละ

ก็คุกเข่า. มารที่นั่งบนคอคิรีเมขละ ก็ตกลงมาที่แผ่นดิน. แม้พรรคพวกของ

มารก็กระจัดกระจายไปในทิศใหญ่ทิศน้อย เหมือนกำแกลบที่กระจายไปฉะนั้น.

ลำดับนั้น แม้พระมหาบุรุษ ทรงกำจัดกองกำลังของมารพร้อมทั้งตัว
มารนั้น ด้วยอานุภาพพระบารมีทั้งหลายของพระองค์ มีขันติ เมตตา วิริยะ

และปัญญาเป็นต้น ปฐมยามทรงระลึกถึงขันธ์ที่อาศัยมาแต่ก่อน มัชฌิมยาม

ทรงชำระทิพยจักษุ ปัจจุสมัยใกล้รุ่ง ทรงหยั่งญาณลงในปัจจยาการที่พระพุทธ-

เจ้าทุกพระองค์ทรงปฏิบัติมา ทรงยังจตุตถฌานมีอานาปานะเป็นอารมณ์ให้เกิด

แล้ว ทรงทำจตุตถฌานนั้นให้เป็นบาทแล้ว ทรงเจริญวิปัสสนา ทรงยังกิเลส

ทั้งปวงให้สิ้นไปด้วยมรรคที่ ๔ ซึ่งทรงบรรลุมาตามลำดับมรรค ทรงแทงตลอด

พระพุทธคุณทั้งปวง ที่พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ทรงปฏิบัติมา ทรงเปล่งพระ-

พุทธอุทานว่า

อเนกชาติสํสารํ สนฺธาวิสฺสํ อนิพฺพิสํ
คหการํ คเวสนฺโต ทุกฺขา ชาติ ปุนปฺปุนํ
คหการก ทิฏฺโฐสิ ปุน เคหํ น กาหิสิ
สพฺพา เต ผาสุกา ภคฺคา คหกูฏํ วิสงฺขตํ
วิสงฺขารคตํ จิตตํ ตณฺหานํ ขยมชฺฌคา.
เราแสวงหานายช่างผู้สร้างเรือนคือตัณหา เมื่อ
ไม่พบ ก็ต้องท่องเที่ยวไปตลอดชาติสงสารเป็นอันมาก
การเกิดบ่อย ๆ เป็นทุกข์ ดูก่อนนายช่างผู้สร้างเรือน
คือตัณหา เราพบท่านแล้ว ท่านจักสร้างเรือนแก่เรา
อีกไม่ได้แล้ว โครงสร้างเรือนของท่าน เราก็หักหมด
แล้ว ยอดเรือนคืออวิชชา เราก็รื้อเสียแล้ว จิตเราถึง
วิสังขาร ปัจจัยปรุงแต่งไม่ได้ เพราะเราบรรลุธรรมที่
สิ้นตัณหาแล้ว.
เรื่องนิทานใกล้
พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อประทับนั่งเปล่งพระพุทธอุทานแล้ว ก็ทรงมี
พระดำริว่า เราท่องเที่ยวมา ๔ อสงไขย กำไรแสนกัป ก็เพราะเหตุแห่งบัลลังก์

นี้ บัลลังก์นี้เป็นวิชัยบัลลังก์ มงคลบัลลังก์ของเรา เรานั่งเหนือบัลลังก์นี้ ความ

ดำริยังไม่บริบูรณ์ตราบใด เราก็จักไม่ลุกขึ้นจากบัลลังก์นี้ตราบนั้น ทรงเข้า

สมาบัตินับได้หลายแสนโกฏิ ประทับนั่งเหนือบัลลังก์นั้น ๗ วัน ที่ท่านหมาย

ถึงกล่าวไว้ว่า ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งเสวยวิมุตติสุข โดย

บัลลังก์เดียว ๗ วัน.

ครั้งนั้น เทวดาบางพวกเกิดปริวิตกว่า แม้วันนี้พระสิทธัตถะ ก็ยังมี
กิจที่จะต้องทำแน่แท้ ด้วยยังไม่ทรงละความอาลัยในพระบัลลังก์ ลำดับนั้น

พระศาสดาทรงทราบความวิตกของเทวดาทั้งหลาย ก็เหาะขึ้นสู่เวหาสทรงแสดง

ยมกปาฏิหาริย์ เพื่อระงับความวิตกของเทวดาเหล่านั้น ครั้นทรงระงับความ

วิตกของเทวดาทั้งหลาย ด้วยปาฏิหาริย์นี้อย่างนี้แล้ว ประทับยืน ณ ส่วนทิศ

อุดรอิงทิศปาจีนนิดหน่อย จากบัลลังก์ ทรงพระดำริว่า เราแทงตลอดพระ-

สัพพัญญุตญาณ. ณ บัลลังก์นี้แล้วหนอ ทรงสำรวจดูบัลลังก์และโพธิพฤกษ์

อันเป็นสถานที่ทรงบรรลุผาแห่งพระบารมีทั้งหลาย ที่ทรงบำเพ็ญมาตลอดสี่

อสงไขย. กับแสนกัป ด้วยดวงพระนครที่ไม่กระพริบ ทรงยับยั้งอยู่ ๗ วัน

สถานที่นั้น ชื่อว่า อนิมิสเจดีย์.

ลำดับนั้น ทรงเนรมิตที่จงกรม ระหว่างบัลลังก์และสถานที่ประทับยืน
เสด็จจงกรม ณ รัตนจงกรมกลับไปมาจากข้างหน้าข้างหลัง ทรงยับยั้งอยู่ ๗ วัน.

สถานที่นั้นชื่อว่า รัตนจงกรมเจดีย์.

แต่ในสัปดาห์ที่ ๔ เทวดาทั้งหลายเนรมิตรัตนฆระ เรือนแก้ว ทางทิศ
พายัพแต่โพธิพฤกษ์. ประทับนั่งขัดสมาธิ ณ เรือนแก้วนั้น ทรงพิจารณาพระ-

อภิธรรมปิฏก ยับยั้งอยู่ ๗ วัน. สถานที่นั้น ชื่อว่า รัตนฆรเจดีย์.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงยับยั้งอยู่ ๔ สัปดาห์ ใกล้โพธิพฤกษ์อย่างนี้
แล้ว ในสัปดาห์ที่ ๕ เสด็จจากโคนโพธิพฤกษ์ เข้าไปยังต้นอชปาลนิโครธ

ครั้นแล้ว ก็ประทับนั่งเลือกเฟ้นธรรมและเสวยวิมุตติสุข ณ ต้นอชปาล-

นิโครธ นั้น.

พระศาสดาครั้นทรงยับยั้ง ณ ต้นอชปาลนิโครธนั้น ๗ วันแล้ว ก็เสด็จ
ไปยังโคนต้นมุจลินท์ ณ ที่นั้น พระยานาคชื่อ มุจลินท์ เอาขนด ๗ ชั้นวง

ไว้รอบ เพื่อป้องกันความหนาวเป็นต้น เมื่อเกิดฝนตกพรำ ๗ วัน พระศาสดา

เสวยวิมุตติสุข เหมือนประทับอยู่ในพระคันธกุฎีที่ไม่คับแคบ ทรงยับยั้งอยู่ ณ

โคนต้นมุจลินท์นั้น ๗ วัน จึงเสด็จเข้าไปยังโคนต้นราชายตนะ ประทับนั่ง

เสวยวิมุตติสุข ณ ที่นั้น ๗ วัน. ครบ ๗ สัปดาห์บริบูรณ์ ด้วยประการฉะนี้.

ในระหว่างนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ไม่มีการบ้วนพระโอฐ ไม่มีการปฏิบัติ

สรีรกิจ ไม่มีการเสวยพระกระยาหาร ทรงยับยั้งอยู่ด้วยสุขในผลอย่างเดียว.

ลำดับนั้น พระศาสดา ทรงชำระพระโอฐด้วยไม้ชำระฟันชื่อนาคลดา และด้วย

น้ำในสระอโนดาต ที่ท้าวสักกะจอมทวยเทพทรงน้อมถวายในวันที่ ๔๙ วันสุด

ท้ายแห่ง ๗ สัปดาห์ ประทับนั่ง ณ โคนต้นราชายตนะ นั้นนั่นแล.

สมัยนั้น พาณิชสองคน ชื่อตปุสสะ และ ภัลลิกะ อันเทวดาผู้เป็น
ญาติสาโลหิต ให้ขมักเขม้นในอันถวายอาหารแด่พระศาสดา ถือข้าวสัตตุผง

และสัตตุก้อน เข้าไปเฝ้าพระศาสดายืนกราบทูลว่า ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงอาศัยความกรุณาโปรดทรงรับอาหารนี้ด้วย เพราะเหตุที่บาตรที่เทวดาถวาย

ครั้งทรงรับข้าวมธุปายาส อันตรธานไป พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระดำริว่า

พระตถาคตทั้งหลาย ย่อมไม่รับอาหารด้วยมือเปล่า เราจะพึงรับอาหารนี้ได้

อย่างไรหนอ.


ออฟไลน์ ตถตา

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นไม้เล็กพริ้วไหวดั่งสายลม
  • *
  • กระทู้: 326
  • พลังกัลยาณมิตร 154
    • ดูรายละเอียด
ครั้งนั้น ท้าวมหาราชทั้ง ๔ จาก ๔ ทิศ รู้อัธยาศัยของพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้านั้น ก็น้อมบาตร ๔ บาตรสำเร็จด้วยแก้วมณีและแก้วมรกตถวาย.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงห้ามบาตรเหล่านั้น. ท้าวจาตุมหาราชจึงน้อมบาตร ๔

บาตร สำเร็จด้วยศิลา สีเหมือนถั่วเขียว. พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงอาศัยความ

กรุณาเทวดาทั้ง ๔ องค์นั้น จึงทรงรับไว้ยุบรวมเป็นบาตรเดียวทรงรับอาหาร

ไว้ในบาตรสำเร็จด้วยศิลามีค่ามากนั้น เสวยแล้วทรงทำอนุโมทนา. พาณิชสอง

พี่น้องนั้น ถึงพระพุทธเจ้าและพระธรรมเป็นสรณะ เป็น ทเววาจิกอุบาสก.

ลำดับนั้น พระศาสดาเสด็จไปต้นอชปาลนิโครธอีกประทับนั่ง ณ โคน
ต้นนิโครธ. พอประทับนั่ง ณ ที่นั้นเท่านั้นทรงพิจารณาว่า ธรรมที่ทรงบรรลุ

นั้น ลุ่มลึก ก็เกิดพระปริวิตกที่พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ทรงปฏิบัติมา ถึงอาการ

คือ ความมีพระพุทธประสงค์จะไม่ทรงแสดงธรรมโปรดผู้อื่น โดยนัยว่า ธรรม

นี้เราบรรลุแล้ว. ครั้งนั้น ท้าวสหัมบดีพรหม ทรงดำริว่า โลกย่อยยับกันละท่าน

เอย โลกย่อยยับกันละท่านเอย ก็พา ท้าวสักกะ ท้าวสุยาม ท้าวสันดุสิต ท้าว

นิมมานรดี ท้าวปรนิมมิตวสวัตดีและมหาพรหม ในหมื่นจักรวาล มายังสำนัก

พระศาสดา ทูลอ้อนวอนให้ทรงแสดงธรรม โดยนัยเป็นต้นว่า ข้าแต่พระองค์

ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าโปรดทรงแสดงธรรม.

พระศาสดาประทานปฏิญาณรับแก่ท้าวสหัมบดีพรหมนั้นแล้ว ทรง
พระดำริว่า ควรแสดงธรรมโปรดใครก่อนหนอ ทรงทราบว่า อาฬารดาบสและ

อุททกดาบสทำกาละเสียแล้ว ทรงปรารภภิกษุปัญจวัคคีย์ใส่ไว้ในพระหฤทัยว่า

ภิกษุปัญจวัคคีย์ มีอุปการะมากแก่เราดังนี้ ทรงนึกว่า เดี๋ยวนี้ ภิกษุปัญจวัคคีย์

เหล่านั้น อยู่กันที่ไหนหนอ ก็ทรงทราบว่า ที่อิสิปตนะ มิคทายวัน กรุงพาราณสี

ทรงพระดำริว่า เราจักไปที่นั้นประกาศธรรมจักร แล้วเสด็จเที่ยวบิณฑบาต

ประทับอยู่ใกล้โพธิมัณฑสถานนั่นแหละ ๒ - ๓ วัน ในวันอาสาฬหบูรณมีทรง

พระดำริจักเสด็จไปกรุงพาราณสี ทรงถือบาตรจีวรเดินทางได้ ๑๘ โยชน์ ใน

ระหว่างทาง ทรงพบอาชีวกชื่ออุปกะเดินสวนทางมา ทรงบอกอาชีวกนั้นว่า

พระองค์เป็นพระพุทธเจ้า วันนั้นนั่นเอง เวลาเย็นเสด็จถึงอิสิปตนะ มิคทายวัน

กรุงพาราณสี.

ฝ่ายภิกษุปัญจวัคคีย์ เห็นพระตถาคตเสด็จมาแต่ไกล จึงทำการนัด
หมายกันว่า ผู้มีอายุ ท่านพระสมณโคดมนี้ เวียนมาเพื่อเป็นคนมักมากด้วย

ปัจจัย มีกายบริบูรณ์มีอินทรีย์เอิบอิ่ม มีผิวพรรณเพียงดังสีทองเสด็จมา เราจัก

ไม่ทำการอภิวาทเป็นต้นแก่ท่านละ เพียงแต่ปูอาสนะไว้. พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงทราบวาระจิตของภิกษุปัญจวัคคีย์เหล่านั้นทรงย่อเมตตาจิต ที่สามารถแผ่

ไปโดยไม่เจาะจงในสรรพสัตว์ มาเป็นแผ่เมตตาจิต โดยเจาะจง. ภิกษุ

ปัญจวัคคีย์เหล่านั้นอันเมตตาจิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าสัมผัสแล้ว เมื่อพระ-

ตถาคตเสด็จเข้าไปหา ก็ไม่อาจตั้งอยู่ในข้อนัดหมายของตนได้ พากันทำกิจ

ทุกอย่างมีการกราบไหว้เป็นต้น. ความพิศดาร พึงทราบตามนัย ที่ท่านกล่าว

ไว้ ในมหาวรรค แห่งวินัยเป็นต้น.

ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงยังภิกษุปัญจวัคคีย์เหล่านั้นให้เข้าใจ
ถึงความเป็นพระพุทธเจ้าของพระองค์แล้ว ประทับนั่งเหนือพุทธอาสน์อย่างดี

ที่จัดไว้แล้วเมื่อกาลประกอบด้วยนักษัตรเดือนอุตตราสาธอยู่ อันพรหม ๑๘ โกฏิ

แวดล้อมแล้ว ทรงเรียกพระเถระปัญจวัคคีย์มาแล้วทรงแสดงพระธรรมจักกัป-

ปวัตนสูตร บรรดาภิกษุปัญจวัคคีย์เหล่านั้น ท่านอัญญาโกณฑัญญะส่งญาณไป

ตามกระแสเทศนา จบพระสูตร ก็ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผลพร้อมด้วยพรหม ๑๘

โกฏิ ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า

บัดนี้เราเป็นพระสัมพุทธเจ้า ชื่อโคตมะ ผู้ยังสกุล
ศากยะให้เจริญ ตั้งความเพียรแล้ว บรรลุพระสัมโพธิ-
ญาณอันอุดม.
อันท้าวมหาพรหมอาราธนาแล้ว ก็ประกาศพระ-
ธรรมจักร อภิสมัยครั้งที่ ๑ ได้มีแก่พรหม ๑๘ โกฏิ.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น ด้วยบทว่า อหํ ทรงแสดงถึงพระองค์เอง. บทว่า
เอตรหิ แปลว่า ในกาลนี้. บทว่า สกฺยวฑฺฒโน แปลว่า ผู้ยังสกุลศากยะให้

เจริญ. ปาฐะว่า สกฺยปุงฺคโว ก็มี. ความเพียรท่านเรียกว่า ปธานะ. บทว่า

ปทหิตฺวาน ได้แก่ พากเพียร พยายาม. อธิบายว่า ทำทุกกรกิริยา. บทว่า

อฏฺฐารสนฺนํ โกฏีนํ ความว่า อภิสมัยครั้งที่ ๑ ได้มีแก่สัตว์ ๑๘ โกฏิมีพระ-

อัญญาโกณฑัญญะเถระเป็นประธานด้วยการตรัสพระธรรมจักกัปปวัตตนสูตร ณ

ป่าอิสิปตนะ มิคทายวัน กรุงพาราณสี.

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอภิสมัยอันล่วงมาแล้ว เมื่อจะตรัส
อภิสมัยที่ยังไม่มาถึง จึงตรัสคำเป็นต้นว่า

นอกจากนั้น เมื่อเราแสดงธรรม ในสมาคมแห่ง
มนุษย์และเทวดา อภิสมัยครั้งที่ ๒ จักมีแก่สัตว์นับ
จำนวนไม่ได้.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นรเทวสมาคเม ความว่า สมัยอื่นนอก
จากนั้น ในมหามงคลสมาคม ท่ามกลางเทวดาและมนุษย์ในหมื่นจักรวาล เวลา

จบมงคลสูตร อภิสมัยได้มีแก่มนุษย์และเทวดา เกินที่จะนับได้. บทว่า ทุติยา-

ภิสมโย อหุ ได้แก่ เหสฺสติ. เมื่อจะพึงกล่าวคำอนาคตกาล [ว่า เหสฺสติ] แต่

ก็กล่าวคำเป็นอดีตกาลว่า อหุ เพราะตกกระแสแล้ว. หรือจะว่ากล่าวเป็นกาล

วิปลาสก็ได้. ในคำนอกจากนี้และคำเช่นนี้ ก็นัยนี้. ต่อมาอีก ในการทรง

แสดงราหุโลวาทสูตร ก็ทรงยังสัตว์เกินที่จะนับให้ดื่มน้ำอมฤตคืออภิสมัย. นี้

เป็นอภิสมัยครั้งที่ ๓ ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า

บัดนี้เราสั่งสอนราหุลลูกของเราในที่นี้นี่แล
อภิสมัยครั้งที่ ๓ ก็มีแก่สัตว์นับจำนวนไม่ได้.
ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงมีสาวกสันนิบาตประชุมพระสาวก
ครั้งเดียวเท่านั้น คือ การประชุมพระอรหันต์สาวก ๑,๒๕๐ รูป เหล่านี้คือ

ชฏิลสามพี่น้องมีพระอุรุเวลกัสสปเป็นต้น ๑,๐๐๐ รูป พระอัครสาวกทั้งสอง ๒๕๐

รูป. ด้วยเหตุนั้นจึงตรัสว่า

เรามีสันนิบาตประชุมพระสาวกผู้แสวงหาคุณ
ยิ่งใหญ่เพียงครั้งเดียว คือการประชุมภิกษุ ๑,๒๕๐ รูป.
แก้อรรถ
บรรดาเหล่านั้น บทว่า เอโกสิ ตัดบทเป็น เอโกว อาสิ มีครั้ง
เดียวเท่านั้น . บทว่า อฑฺฒเตรสสตานํ แปลว่า สาวกของเรา ๑,๒๕๐ รูป.

บทว่า ภิกฺขูนาสิ ตัดบทเป็น ภิกฺขูนํ อาสิ. พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับอยู่

ท่ามกลางภิกษุสาวกเหล่านั้น ทรงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงในจาตุรงคสันนิบาต.

ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงแสดงพระประวัติของพระองค์
จึงตรัสคำเป็นต้นว่า

เราผู้ไร้มลทินรุ่งเรืองอยู่ อยู่ในท่ามกลางภิกษุ
สงฆ์ ให้ทุกอย่างที่สาวกปรารถนา เหมือนแก้วจินดา-
มณีให้ทุกอย่างที่ชนปรารถนาฉะนั้น.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วิโรจมาโน ได้แก่ รุ่งเรืองอยู่ด้วยพระ-
พุทธสิริอันไม่มีที่สุด. บทว่า วิมโล ได้แก่ ผู้ปราศจากมลทินคือกิเลสมีราคะ

เป็นต้น. บทว่า มณีว สพฺพกามโท ความว่า เราให้สุขวิเศษทั้งเป็นโลกิยะ

และโลกุตระทุกอย่างที่สาวกมุ่งมาดปรารถนา เหมือนแก้วจินดามณีให้ทุกอย่างที่

ชนปรารถนา.

บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงความปรารถนาที่สาวกปรารถนา จึงตรัสคำ
เป็นต้นว่า

ด้วยความเอ็นดูสัตว์ทั้งหลาย เราจึงประกาศ
สัจจะ ๔ แก่ผู้จำนงหวังผล ผู้ต้องการละความพอใจ
ในภพ.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ผลํ ได้แก่ ผล ๔ อย่างมีโสดาปัตติผล
เป็นต้น. บทว่า ภวจฺฉนฺทชเหสินํ ได้แก่ ผู้ละภวตัณหา ผู้ต้องการละ

ภวตัณหา. บทว่า อนุกมฺปาย ได้แก่ ด้วยความเอ็นดู.

บัดนี้ ครั้นทรงทำการประกาศสัจจะ ๔ แล้ว เมื่อจะทรงแสดงอภิสมัย
จึงตรัสว่า ทสวีสสหสฺสานํ เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทสวีส-

สหสฺสานํ ได้แก่ หนึ่งหมื่นและสองหมื่น. อธิบายว่า โดยนัยเป็นต้นว่า

หนึ่งหมื่นสองหมื่น. คาถาที่ ๙ และที่ ๑๐ ความง่ายแล.

พึงทราบวินิจฉัยในคาถาที่ ๑๑ และที่ ๑๒ ต่อไป. แม้สองศัพท์ว่า อิทา-
เนตรหิ ความก็อันเดียวกัน ท่านกล่าวเหมือนบุรุษบุคคล โดยเป็นเวไนยสัตว์.

อีกนัยหนึ่ง บทว่า อิทานิ ได้แก่ ในกาลเมื่อเราอุบัติแล้ว. บทว่า เอตรหิ

ได้แก่ ในกาลเมื่อเราแสดงธรรมอยู่. บทว่า อปตฺตมานสา ได้แก่ ผู้ยังไม่บรรลุ

พระอรหัตผล. บทว่า อริยญฺชสํ ได้แก่ อริยมรรคมีองค์ ๘. บทว่า โถมยนฺตา

แปลว่า สรรเสริญ. บทว่า พุชฺฌิสฺสนฺติ ความว่า จักแทงตลอดสัจธรรม

๔ ในอนาคตกาล. บทว่า สํสารสริตํ ได้แก่ สาครคือสังสารวัฏ.


ออฟไลน์ ตถตา

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นไม้เล็กพริ้วไหวดั่งสายลม
  • *
  • กระทู้: 326
  • พลังกัลยาณมิตร 154
    • ดูรายละเอียด
บัดนี้ เมื่อทรงแสดงถึงพระนครที่ทรงสมภพเป็นต้นของพระองค์ จึง
ตรัสคำเป็นต้นว่า

เรามีนครชื่อกบิลพัสดุ์ มีพระชนกพระนามว่า
พระเจ้าสุทโธทนะ พระชนนีพระนามว่าพระนางมายา
เทวี.
เราครองฆราวาสวิสัยอยู่ ๒๙ ปี มีปราสาทอย่าง
เยี่ยม ๓ หลัง ชื่อสุจันทะ โกกนุทะและโกญจะ.
มีพระสนมกำนัลสี่หมื่นนาง มีอัครมเหสีพระ-
นามว่า ยโสธรา มีโอรสพระนามว่า ราหุล.
เราเห็นนิมิต ๔ ออกอภิเนษกรมณ์ด้วยยานคือ
ม้า บำเพ็ญเพียรทำทุกกรกิริยา ๖ ปี.
เราประกาศธรรมจักร ณ ป่าอิสิปตนะกรุงพาราณ-
สี เราเป็นพระสัมพุทธเจ้า พระนามว่าโคตมะเป็น
สรณะของสัตว์ทั้งปวง.
คู่ภิกษุอัครสาวก ชื่อว่าพระโกลิตะ และพระอุป-
ติสสะ มีพระพุทธอุปัฏฐากประจำสำนัก ชื่อว่าพระ-
อานันทะ มีภิกษุณีอัครสาวิกา ชื่อว่าพระเขมา และ
พระอุบลวรรณา.
มีอัครอุปัฏฐาก ชื่อว่าจิตตะ และหัตถกะอาฬวกะ
มีอัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่านันทมาตาและอุตตรา.
เราบรรลุพระสัมโพธิญาณอันอุดม ณ โคนโพธิ-
พฤกษ์ ชื่อต้นอัสสัตถะ มีรัศมีกายวาหนึ่ง ประจำ กาย
สูง ๖ ศอก.
เรามีอายุน้อย ๑๐๐ ปี ในบัดนี้ เมื่อดำรงชีวิตอยู่
ประมาณเท่านั้น ก็ยังหมู่ชนเป็นอันมากให้ข้ามโอฆะ.
เราตั้งคบเพลิง คือธรรมไว้ปลุกชนที่เกิดมาภาย
หลังให้ตื่น ไม่นานนัก เราพร้อมทั้งสงฆ์สาวกก็จัก
ปรินิพพานในที่นี้นี่แหละ เพราะสิ้นอาหาร เหมือน
ไฟดับเพราะสิ้นเชื้อฉะนั้น.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพยากรณ์ทุกอย่างว่า เรามีปราสาท ๓ หลัง
ชื่อสุจันทะ โกกนุทะและโกญจะ มี ๙ ชั้น ๗ ชั้น และ ๕ ชั้น มีสนมนาฏกะ

สี่หมื่นนาง มีอัครมเหสีพระนามว่า ยโสธรา เรานั้นเห็นนิมิต ๔ ออกมหา-

ภิเนษกรมณ์ด้วยยานคือม้า แต่นั้น ก็ตั้งความเพียร ๖ ปี ในวันวิสาขบูรณมีก็

บริโภคข้าวมธุปายาสที่ธิดาของ เสนานิกุฎุมพี ณ อุรุเวลาเสนานิคม ชื่อสุชาดา

ผู้เกิดความเลื่อมใสถวายแล้ว พักกลางวัน ณ สาลวัน เวลาเย็นรับหญ้า ๘ กำ ที่

ค้นหาบหญ้าชื่อ โสตถิยะ ถวายแล้ว เข้าไปยังโคนโพธิพฤกษ์ชื่อ ต้นอัสสัตถะ

กำจัดกองกำลังของมาร ณ ที่นั้น บรรลุพระสัมโพธิญาณ.

แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สทฺธึ สาวกสงฺฆโต ก็คือ สทฺธึ
สาวกสงฺเฆน ความว่า พร้อมทั้งสงฆ์สาวก. บทว่า ปรินิพฺพิสฺสํ ก็คือ

ปรินิพพายิสฺสามิ แปลว่า จักปรินิพพาน. บทว่า อคฺคีวาหาร สงฺขยา

ก็คือ อคฺคิ วิย อินฺธนกฺขเยน ดุจไฟดับเพราะสิ้นเชื้อฉะนั้น ความว่า

แม้เราไม่มีอุปาทาน ก็จักปรินิพพานเหมือนไฟหมดเชื้อก็ดับฉะนั้น

บทว่า ตานิ จ อตุลเตชานิ ความว่า คู่พระอัครสาวกเป็นต้น
ที่มีเดชไม่มีผู้เสมอเหมือนเหล่านั้น. บทว่า อิมานิ จ ทสพลานิ ความว่า

ทศพลที่มีในพระสรีระเหล่านั้น. บทว่า คุณธารโณ เทโห ความว่า และ

พระวรกายที่ทรงคุณมีพระอสาธารณญาณ ๖ เป็นต้นนี้. บทว่า ตมนฺตรหิสฺ-

สนฺติ ความว่า คุณลักษณะดังกล่าวมานี้ จักอันตรธาน สูญหายไปสิ้น ศัพท์

ว่า นนุ ในคำว่า นนุ ริตฺตา สพฺพสงฺขารา นี้ เป็นนิบาตลงในอรรถว่า

อนุมัติคล้อยตาม. บทว่า ริตฺตา ได้แก่ ชื่อว่าเปล่า เพราะเว้นจากสาระคือ

เที่ยง สาระคือยั่งยืน ก็ทั้งหมดนั่นแล อันปัจจัยปรุงแต่ง มีอันสิ้นไปเป็นธรรมดา

เสื่อมไปเป็นธรรมดา คลายไปเป็นธรรมดา ดับไปเป็นธรรมดา ชื่อว่าไม่เที่ยง

เพราะมีแล้วไม่มี. ชื่อว่าทุกข์ เพราะอันความเกิดเป็นต้นบีบคั้นแล้ว ชื่อว่า

อนัตตา เพราะไม่อยู่ในอำนาจ เพราะฉะนั้น ท่านทั้งหลาย จงยกไตรลักษณ์

ลงในสังขารทั้งหลายแล้วเจริญวิปัสสนา จงบรรลุพระนิพพานที่ไม่ตาย ปัจจัย

ปรุงแต่งไม่ได้ ไม่จุติ นี้เป็นอนุศาสนี เป็นคำสั่งสอนของเรา สำหรับท่าน

ทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงยังประโยชน์ให้ถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาทเถิด.

ได้ยินว่า ในเวลาจบเทศนา จิตของเทวดาแสนโกฏิก็หลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย

เพราะไม่ยึดมั่นส่วนเทวดาที่ตั้งอยู่ในมรรคผลนอกนั้น เกินที่จะนับจำนวนได้.

พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จจงกรม ณ รัตนจงกรมในอากาศ ตรัสพุทธ-
วงศ์แม้ทั้งสิ้น กำหนดด้วยกัป นามและชาติเป็นต้นอย่างนี้แล้ว ยังหมู่พระประยูร-

ญาติให้ถวายบังคมแล้วลงจากอากาศ ประทับนั่งเหนือบวรพุทธอาสน์ที่จัดไว้แล้ว

เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับนั่งแล้ว สมาคมพระประยูรญาติก็ถึงความสูงสุด

ด้วยประการฉะนี้ พระประยูรญาติทุกพระองค์ก็ประทับนั่งมีจิตมีอารมณ์เดียว.

แต่นั้น มหาเมฆก็หลั่งฝนโบกขรพรรษลงมา ขณะนั้นเอง น้ำก็ส่งเสียงร้องไหล

ไปภายใต้ ผู้ต้องการจะเปียกก็เปียก ผู้ไม่ต้องการเปียก แม้แต่หยาดน้ำ ก็ไม่ตกลง

ที่ตัว พระประยูรญาติทั้งหมดเห็นความอัศจรรย์นั้นก็อัศจรรย์ประหลาดใจ พา

กันกล่าวว่า โอ น่าอัศจรรย์ โอ น่าประหลาดใจหนอ. พระศาสดาทรงสดับคำ

นั้นแล้วตรัสว่า มิใช่ฝนโบกขรพรรษตกลงในสมาคมพระประยูรญาติในปัจจุบัน

นี้เท่านั้น แม้ในอดีตกาลก็ตกลงมาเหมือนกัน. เพราะเหตุแห่งอัตถุปปัตตินี้ จึง

ตรัสเวสสันดรชาดก. พระธรรมเทศนานั้น เกิดประโยชน์แล้ว. ต่อนั้น พระ-

ศาสดาเสด็จลุกจากอาสนะเข้าพระวิหาร.

จบพรรณนาวงศ์พระโคดมพุทธเจ้า
แห่งอรรถกถาพุทธวงศ์ ชื่อมธุรัตถวิสาสินีด้วยประการฉะนี้

ออฟไลน์ แก้วจ๋าหน้าร้อน

  • สิ่งใดคือธรรมะ สิ่งนั้นย่อมดีแล้วสูงสุด
  • ทีมงานกวาดลานดิน
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 6503
  • พลังกัลยาณมิตร 1741
  • ธรรมะอวยพรความดีคุ้มครอง
    • kaewjanaron
    • facehot
    • ดูรายละเอียด
    • ใต้ร่มธรรม
 :13: อนุโมทนาครับพี่แฮม ขอบพระคุณครับผม
การโพสภาพโดยใช้เว็บฝากไฟล์ภาพ imageshack.us/ (เว็บกบ)
การปรับแต่งห้องสมาชิกไร้ขีดจำกัด Ultimate Profile + ห้องเพลงส่วนตัว
การตั้งกระทู้และการโพสกระทู้ในเว็บใต้ร่มธรรมครับ
การแก้ไข้ข้อมูล ชื่อ ระหัส ส่วนตัวของสมาชิกใต้ร่มธรรมครับ
การใส่รูปประจำตัวเรา Avatar รวมทั้งลายเซ็นต์ ในกระทู้หรือโพสของเราครับ
เพิ่มไอคอน ทวิสเตอร์ เฟชบุ๊ค ยูทูบ ในโปรโปรไฟล์ของเรา
การสร้างอัลบั้มภาพส่วนตัวในห้องสมาชิก Profile Pictures
การเพิ่มเพื่อน กัลยาณมิตรใต้ร่มธรรม ในห้องสมาชิกส่วนตัว
การดูกระทู้ทั้งหมดที่เรายังไม่ได้อ่านครับ
โค้ดสี bb color code ไว้สำหรับโพสกระทู้ครับ
*วิธีเคลียร์แคชในทุกเว็บเบราว์เซอร์ครับ เมื่อคอมอืด*

ห้องประชุมของทีมงาน
~ธรรมะอวยพรความดีคุ้มครองครับ~