คลังธรรมปัญญา > พรรณาอักษร

เซนศิลปะแห่งการรู้แจ้ง แง้มประตูพุทธธรรม ผ่าน บทกวีไฮกุ

(1/8) > >>

มดเอ๊กซ:

 
 
เซนถือว่าถ้อยคำประกาศสัจจะที่แสดงถึงภูมิปัญญาของผู้แถลง
ไม่มีความหมาย จนกว่าประสบการณ์ของเราจะซึมซับมันเข้ามาเป็น
ส่วนหนึ่งของเรา และเราได้ให้ความหมายเฉพาะตัวของเราแก่มัน
เท่านั้น

การมองภาพเซนจึงไม่ต้องใช้ทฤษฎีเกี่ยวกับศิลปะ ไม่ต้องคร่ำ
เคร่งศึกษาเพื่อจะได้เข้าใจภูมิหลังของมันเพราะหัวใจของภาพเซนคือ
ความเป็นไปของชีวิตและการดำรงอยู่ของพลังจักรวาล ท่ามกลาง
ความแปรปรวนอันยิ่งใหญ่ของธรรมชาติ

สิ่งที่เราใช้มองภาพเซนจึงเป็นประสบการณ์ชีวิต ประสบการณ์
ที่แตกต่างจะได้ประโยชน์ที่แตกต่าง และเมื่อการมองภาพเซนสิ้นสุด
มันก็ไม่ได้ทิ้งความประทับใจหลงเหลือไว้ให้เรา แต่เรากลับกระปรี้
กระเปร่าขึ้น จากการค้นพบคุณค่าบางอย่าง ที่ทำให้โลกภายในของ
เราสงบนิ่งและสว่างไสว

จากหนังสือ เซนศิลปะแห่งการรู้แจ้ง เข้าถึงคติธรรมเซนผ่านภาพเซน
และบทกวีไฮกุ " เหล่าซือ " เรียบเรียง

มดเอ๊กซ:


ไฮกุ ( Haiku, The )

คำประพันธ์ที่มีรูปแบบพิเศษของญี่ปุ่น มี ๓ บรรทัด บรรทัดแรกมี ๕
พยางค์ บรรทัดที่สองมี ๗ พยางค์ และบรรทัดที่สามมี ๕ พยางค์ ความ
เพลิดเพลินดื่มด่ำที่ได้มาจากไฮกุนี้ ทำให้ชาวญี่ปุ่นนิยมอ่านไฮกุกันมาก
มีนิตยสารไม่ต่ำกว่า ๕o ฉบับที่อุทิศตัวให้แก่ไฮกุโดยเฉพาะ

ไฮกุ ไม่มีโครงสร้าง แต่เป็นไปเพื่อความรู้สึกเพลิดเพลินอันลึกซึ้ง
หรือความดื่มด่ำกับความรู้อันล้ำลึก

ตัวอย่างไฮกุ เช่น

ยามเช้าอันเจิดจ้า
และแล้ววันนี้ดูเหมือนว่า
เป็นเรื่องชีวิตส่วนตัวของฉัน

ดอกโบตั๋นร่วงโรย
โปรยกลีบสองสามกลีบแผ่วเบา
ค่อยซ้อนบนกลีบหนึ่ง

เจ้าผีเสื้อตัวหนึ่ง
ง่วงหงาวหาวนอน เกาะอยู่บน
ระฆังของอาราม

เจ้าหัวขโมย
ปล่อยทิ้งมันไว้ที่ด้านหลัง
พระจันทร์ที่หน้าต่าง

มดเอ๊กซ:



ถึงอย่างไร ตัวอย่างเหล่านี้ ไม่จัดว่าเป็นเซนเสียหมดทีเดียว
มันเพียงกอปรด้วยความคิดมากมาย ไกล้เคียงปรัชญา อะไรที่เรา
เรียกว่า ไฮกุแบบเซน ก็คือสิ่งที่เพิ่มพูนส่งเสริมการรับรู้ ดังที่ บลิธ( Blyth)
กล่าวไว้ว่า " ไฮกุ ไม่ใช่คำประพันธ์ ไม่ใช่วรรณคดี มันเป็นมือที่กำลังกวัก
ประตูที่เปิดไว้เพียงครึ่งเดียว กระจกที่ขัดถูจนสะอาด มันเป็นทางกลับ
สู่ธรรมชาติ .. แม้ธรรมชาติแห่งพุทธะของเรา " ต่อไปเป็นตัวอย่างไฮกุเซน
ของ บาโช (Basho)





สระเก่าแก่สระหนึ่ง
กบตัวหนึ่งกระโดดลงสระ
จ๋อม .....

บนคาคบไม้แห้ง
อีกาหยุดบินร่อนลงเกาะ
ฤดูใบไม้ร่วงอันมืดมิด

เราจ้องมองดู
แม้ที่ม้าหลายตัว
เข้านี้เต็มด้วยหิมะ

กล่าวกันว่าการจับคุณสมบัติที่แท้จริงหรือผลของไฮกุแต่ละบท
จะต้องอ่านมันซ้ำ ๆ กันหลายเที่ยวหรือบางทีมากจนนับไม่ถ้วน ด้วยการ
สัมผัสอันลึกซึ้งซึ่งมาจากการหยั่งรู้ หรือการหยั่งเห็น สิ่งนี้คล้ายกับ
ความสามารถที่ก่อให้เกิดความอัศจรรย์ใจ ความสามารถนี้ เหมือนการ
เปิดแห่งจิต ซึ่งอยู่เหนือความคิด หรือการรับรู้ทางใจ ( ไม่ใช่การรับรู้ทาง
ประสาทสัมผัส ) เป็นบางสิ่งที่กว้างขวางซึ่งเกิดขึ้นจากรูปแบบของ
ไฮกุดังนั้นมันจึงผลิตความสมดุลหรือชุดแห่งความสมดุลที่ไวต่อการรับรู้
แห่งความคิด สมมุติว่า แทนที่เราจะมองผ่านหน้าต่างแล้วพูดว่า

" ฝนกำลังตกอีกแล้วเช้านี้ " .............เรากลับพูดว่า

" ฝนกำลังตก
อีกแล้ว
เช้านี้ "

พูดเช่นนี้จะทำให้รู้สึกแตกต่างกันหรือไม่


Mr. R. H. Blyth ได้เขียนเรื่องเกี่ยวกับไฮกุไว้ ๔ ชุด ชึ่งประกอบ
ด้วยข้อมูลมากมายและตรงจุด ซึ่งถือว่าเป็นชุดที่ดีชุดหนึ่งของเซนที่อยู่
ในวรรณคดีภาษาอังกฤษ

จากหนังสือ เรียง ร้อย ถ้อย เซน ของ จงชัย เจนหัตถการกิจ

มดเอ๊กซ:



ประสบการณ์ เกี่ยวกับบทกวีไฮกุและภาพ

พวกเรากี่คนที่เคยมีประสบการณ์เกี่ยวกับบทกวีไฮกุมาแล้ว ?
เรามาอ่านบทกวีไฮกุของโจโสะร่วมกันสักบทหนึ่งดีกว่า

ทุ่งนาและภูเขา
ล้วนถูกหิมะจับไว้
ไม่มีอะไรเหลือ

ผู้แต่งไฮกุบทนี้ไม่ได้ให้ลักษณะอื่นใดแก่เราเลยนอกจากภาพ
ภาพหนึ่ง ซึ่งเป็นลวดลายเล็ก ๆ ส่วนหนึ่งของภาพชีวิตอันใหญ่โต
กว้างขวางตามที่เขามองเห็น ถ้ามันปราศจากนัยที่สื่อให้เห็นภาพใด ๆ
ละก็ ย่อมขึ้นอยู่กับเราเองที่จะสร้างมันขึ้นมา

เราลองนึกให้เห็นภาพในใจโดยใช้ถ้อยคำในบทกวีไฮกุนี้เป็น
พื้นฐานดูกันบ้าง ความขาวปกคลุมไปทั่ว ทั้งห้วยละหานลำธาร
พุ่มไม้ ก้อนหิน ไม้ไร่ และบ้านเรือน รูปทรงของแต่ละสิ่งละอย่าง
ล้วนแต่ถูกขจัดทิ้งไปจนหมดสิ้น หลังจากคุณนึกเห็นภาพในใจแล้ว
จงเปิดตัวเองให้รู้สึกถึงความว่างของทิวทัศน์นี้ คุณกำลังเผชิญหน้า
กับความไม่มีอะไรเลยแทนที่จะนึกของลำธารที่นั่นกำแพงหินที่นี่
และบ้านหลังคามุงฟางใต้ชะเงื้อมเขาบัดนี้คุณเห็นแต่ลอนสีขาวเท่านั้น
เมื่อปราศจากสิ่งใดโดยเฉพาะมากระตุ้นเราให้เกิดจินตนาการเสียแล้ว
คุณจึงได้แต่นั่งนิ่ง ๆ

ในระหว่างคุณนั่งนิ่ง ๆ อยู่นี้ คุณกำลังเปิดรับสิ่งที่ผู้ฝึกเซนมา
หมายความถึงเมื่อพวกเขาพูดถึงความว่างคือความเต็ม หรือความว่าง
คือครรภ์ของรูปแบบ เพราะภายใต้ปกการคลุมของหิมะนั้น มีรูปแบบ
จำนวนเหลือคณานับดำรงอยู่ เป็นต้นว่า ตาของต้นไม้ที่กำลังรอคอย
เวลาผลิบาน สัตว์ที่กำลังจำศีล แบคทีเรีย พืชเล็ก ๆ จำพวกไลเคน
และตระไคร่บนหิน เมล็ดหญ้า น้ำในลำธารที่กำลังไหลริน แต่ละสิ่ง
ละอย่างพร้อมที่จะเติบโตและเคลื่อนไหวตามกฎเกณฑ์แห่งชีวิตของ
มันเอง แต่ละสิ่งละอย่างคือการแสดงออกที่แตกต่างกันของพลัง
รากฐานทั้งสิ้น ในทำนองเดียวกัน เมื่อจิตสำนึกของเราหยุดการแปรรูป
ออกมาเป็นคำพูด และคำพูดในใจที่เกือบจะไม่มีวันหยุดยั้งได้ยุติลง
ส่วนที่เฉลียวฉลาดมากที่สุดภายในตัวเรา ซึ่งเป็นอะตอมหนึ่งของ
พลักรากฐาน ก็จะมีโอกาสที่จะพัฒนาเช่นกัน

โจเสะไม่ได้พูดทั้งหมดนี้ แต่ก้อนหินที่เขาทิ้งลงในสระแห่ง
ความตระหนักรู้ของเราก่อให้เกิดระลอกคลื่นนี้ ทั้งระลอกนี้และอีก
มากมายหลายระลอกนักภายในจิตใจของคนอื่น ๆ

จากหนังสือ เซนศิลปะแห่งการรู้แจ้ง เข้าถึงคติธรรมเซนผ่านภาพเซน
และบทกวีไฮกุ " เหล่าซือ " เรียบเรียง

มดเอ๊กซ:

 
คติธรรมเซน

คติธรรม ๑ : ความเป็นจริงต่าง ๆ ของชีวิต ส่วนใหญ่มองเห็นได้อย่าง
แท้จริงจากสิ่งต่าง ๆ และการกระทำต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน

คติธรรม ๒ : ทุกสิ่งทุกอย่างดำรงอยู่อย่างสอดคล้องกับธรรมชาติของ
มันเอง การรับรู้ส่วนตัวของเราในเรื่องเกี่ยวกับค่า ความถูกต้อง ความ
งาม ขนาด และคุณค่า ล้วนแต่อยู่ในหัวของเรา ไม่ได้อยู่ข้างนอกเลย

คติธรรม ๓ : ทุกสิ่งทุกอย่างดำรงอยู่โดยสัมพันธ์กับสิ่งอื่นๆ

คติธรรม ๔ : ตัวตนและสิ่งอื่น ๆ ที่เหลือไว้ในจักรวาลไม่ได้แบ่งแยกกัน
อย่างแท้จริง แต่ทำหน้าที่เป็นองค์รวม

คติธรรม ๕ : มนุษย์เกิดขึ้นจากธรรมชาติ และก้าวหน้าไปอย่างมีประสิทธิ
ผลที่สุดด้วยการร่วมมือกับธรรมชาติ แทนที่จะพยายามเอาชนะมัน

คติธรรม ๖ : ไม่มีอัตตาในความหมายของจิตวิญาณส่วนตัวหรือบุคคลิก
ภาพที่ไม่เปลี่ยนแปลงอันคงอยู่ต่อไปได้อย่างไม่มีที่สิ้นสุดซึ่งข่มร่างกาย
เอาไว้เป็นการเป็นการชั่วคราว

คติธรรม ๗ : ความเข้าใจอย่างลึกซึ้งที่แท้จริงไม่ได้เกิดจากความรู้เฉพาะ
ด้าน จากการเป็นสมาชิกของคณะกลุ่มบุคคล จากลัทธิหรือหลักความเชื่อ
มันมาจากญาณหยั่งรู้ก่อนจิตสำนึกแห่งการดำรงอยู่ทั้งปวงทั้งปวงของตน
จากรหัสของตนเอง

คติธรรม ๘ : รูปแบบต่าง ๆ เกิดจากความว่าง เมื่อผู้ใดว่างจากสมมุติฐาน
และการวินิจฉัยที่สั่งสมมาหลายปี ผู้นั้นจะเข้าไกล้ธรรมชาติดั้งเดิมของตน
ย่อมเข้าใจแนวคิดดั้งเดิม และสามารถแสดงปกิกิริยาตอบโต้ได้อย่างใหม่สด

คติธรรม ๙ : การทำตนเป็นผู้สังเกตุการณ์ในขณะที่เป็นผู้มีส่วนร่วมพร้อม
กันด้วยนั้น จักทำให้การกระทำของผู้นั้นเสื่อมเสียไป

คติธรรม ๑o : ความมั่นคงและความไม่เปลี่ยนแปลงนั้นถักทอขึ้นด้วยจิตใจ
ที่ถูกครอบงำโดยอัตตาและหาได้ดำรงอยู่ในธรรมชาติไม่ การยอมรับความ
ไม่มั่นคง และผูกพันตนเองกับสิ่งที่ไม่รู้จะก่อให้เกิดศรัทธาต่อจักรวาล

คติธรรม ๑๑ : คนเราสามารถมีชีวิตอยู่ได้ก็แต่ในขณะปัจจุบันเท่านั้น

คติธรรม ๑๒ : กระบวนการแห่งการใช้ชีวิตและถ้อยคำต่าง ๆ เกี่ยวกับมัน
ไม่ใช่สิ่งเดียวกัน และไม่ควรได้รับการปฏิบัติต่ออย่างมีคุณค่าเท่าเทียมกัน

คติธรรม ๑๓ : เมื่อเราเข้าใจถึงความไม่ลงรอยกันระหว่างทฤษฏีต่าง ๆ
เกี่ยวกับชีวิตและสิ่งที่เรารู้สึกได้จากญาณหยั่งรู้ว่าเป็นความจริง โดยไม่
ต้องใช้คำพูดและไม่ได้อาศัยการวินิจฉัย ก็ไม่มีอะไรที่ต้องทำอีกแล้วนอก
จากหัวเราะ

คติธรรม ๑๔ : ศิลปะเซนมีคุณสมบัติในลักษณาการดังนี้ มันสามารถหลอม
รวมเอาความชื่นชมต่องานทัศนศิลป์ ความรู้เกี่ยวกับชีวิต และประสบการณ์
และญาณหยั่งรู้ส่วนตัวให้เข้ากันเป็นเหตุการณ์ที่สร้างสรรค์หนึ่งเดียวกัน

คติธรรม ๑๕ : เราแต่ละคนจะพัฒนาไปสู่ความเป็นเอกปัจเจกชน ผู้ติดต่อโดย
จำเพาะเจาะจงกับโลกที่ดำรงอยู่สำหรับคนคนนั้น

นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

[#] หน้าถัดไป

ตอบ

Go to full version