แสงธรรมนำใจ > จิตวิวัฒน์ กระบวนการนิวเอจ นิเวศแนวลึก

Back To Spirit : จิตวิญญาณใหม่ในโลกใบเดิม

(1/3) > >>

มดเอ๊กซ:

 
 
Back To Spirit
 
 
 
จิตวิญญาณใหม่ในโลกใบเดิม

 
ชั่วระยะเวลาไม่กี่เดือนที่ผ่านมา แม้แต่คนที่นั่งอยู่เฉย ๆ ก็น่าจะรับรู้ได้ถึง ' แรงกระเพื่อม ' ของปรากฏการณ์ทางศาสนาและจิตวิญญาณ ผ่านรูปแบบการเคลื่อนไหวอันเป็นรูปธรรมหลากหลายประการ ...

ไล่มาตั้งแต่ประเด็นข้อถกเถียงว่าด้วยจะบรรจุหรือไม่บรรจุคำว่า ' พระพุทธศาสนา ' ให้เป็นศาสนาประจำชาติในรัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 ซึ่งเป็นระลอกคลื่นที่เกิดไล่หลังปรากฏการณ์จตุคาม - รามเทพ ที่สร้างความตกตะลึงงุนงงให้แก่นักเศรษศาสตร์ด้วยเม็ดเงินหมุนเวียนใน ระบบหลายหมื่นล้านบาท ... มากพอที่จะดันตัวเลขจีดีพีของประเทศให้หรูหราสวยงามขึ้น

พร้อม ๆ กันนั้น แรงเหวี่ยงของปรากฏการณ์ความแปรปรวนของสภาพดินฟ้าอากาศและธรรมชาติอันมีสาเหตุหลักจากน้ำมือมนุษย์เอง ก็ได้สร้างความตื่นตระหนกให้กับผู้คนจนมีการส่งต่อข้อมูลภาพและคำทำนายถึงสภาพสังคมสภาพดินฟ้าอากาศอันเลวร้าย จนกลายเป็น ปรากฏการณ์ของความกลัวโดยไม่สามารถหาคำอธิบาย

แต่ในช่วงระยะใกล้ ๆ กันนั้นเอง ประเทศไทยก็มีโอกาสต้อนรับการกลับมาเยือนอีกครั้งของท่านติช นัท ฮันห์ พระเซนชาวเวียดนามซึ่งได้ รับความยอมรับนับถือจากผู้คนในฝั่ง ' ก้าวหน้า ' การมาเยือนประเทศไทยครั้งนี้สื่อมวลชนทั้งในประเทศและต่างประเทศต่างก็พร้อมใจ นำเสนอเป็นข่าวใหญ่ในช่วงวันวิสาขบูชาที่ผ่านมา

ภายใต้ปรากฏการณ์ที่ดูย้อนแย้งสับสนนี้ ... เป็นไปได้ไหมว่า มันอาจเป็นการ ' ส่งข่าว ' สำคัญบางอย่างมาสู่ผู้คนทั้งสังคม ... และทั้งโลก

มดเอ๊กซ:

 
 
 
วงล้อแห่งธรรม กับการกลับมาของ ท่านติช นัท ฮันห์


 
ในทางพุทธศาสนา ทุกสิ่งทุกอย่างนั้นสืบเนื่อง หมุนเวียนเปลี่ยนไปเป็น วัฏจักร
เฉกเช่นเดียวกันกับการสืบเนื่อง และการมาเมืองไทยอีกครั้งของท่านติช นัท ฮันห์ ครั้งนี้ถือเป็นครั้งที่ 2 ในการมาเมืองไทยของท่าน ห่างจากการมาเยือนครั้งแรกในเมษายน พ.ศ. 2518 ถึง 32 ปี


การกลับมาครั้งนี้ของท่าน หากมองให้ลึกถึงแก่นของปัญหา สถานการณ์บ้านเมืองในวันนี้แทบไม่ได้มีอะไรต่างไปจากเมื่อ 30 ปีก่อน เพราะยังคงเป็นความขัดแย้งทางศาสนา การเมือง สังคม มิจฉาทิฐิต่าง ๆ จะต่างกันก็เพียงตัวละครและห้วงเวลา


ระยะเวลา 14 วัน ตั้งแต่ 19 พฤษภาคม - 1 มิถุนายน 2550 ในการมาเยือนประเทศไทย การมาร่วมงานวิสาขบูชาโลก และการมาเผยแผ่วิถีปฏิบัติธรรมแนวทางหมู่บ้านพลัม ของท่านติช นัท ฮันห์ และคณะภิกษุ และภิกษุณี จากหมู่บ้านพลัม ประเทศฝรั่งเศส ถือเป็นปรากฏการณ์ที่น่าจับตามองเป็นอย่างยิ่ง เพราะแต่ละครั้งมีผู้ติดตามท่านไปปฏิบัติ และฟังการบรรยายธรรมเป็น จำนวนมาก


ที่น่าแปลกคือ มิใช่แต่กลุ่มคนที่เป็นนักกิจกรรมนักแสวงหา หรือแฟนพันธุ์แท้ที่ติดตามอ่านงานของท่านเท่านั้น แต่ยังเป็นการมารวมกัน ของคนหลากหลายอาชีพ ชนชั้น ตั้งแต่ ไฮโซ นักการเมือง นักสื่อสารมวลชนทั้งรุ่นใหญ่ รุนใหม่ เด็กเล็ก ๆ จนไปถึงวัยรุ่นหนุ่มสาว และผู้สูงวัยอีกมากมาย


หากวงล้อแห่งธรรมจะหมุนซ้ำ ก็นับว่าเป็นโอกาสอันดีที่ ' ระฆังแห่งสติ ' จะดังก้องกังวานอีกครั้งในสังคมไทยและให้ผู้คนได้หยุด ตระหนักรู้ สำรวจดูท่าที และความคิดของตน พร้อมเปิดโอกาสให้เมล็ดพันธุ์แห่งความเมตตา ความรัก และการให้อภัยที่ท่านติช นัท ฮันห์ หว่านไว้นั้น ได้งอกงามในทุกหัวใจของผู้ที่เห็นธรรมดังเช่นเมื่อ 30 กว่าปีก่อน


 
ก้าวแรกแห่งการผลิบาน
 
คนไทยที่บทบาทอย่างมากในการเป็นสะพานเชื่อมให้คนไทยได้รู้จักท่านติช นัท ฮันห์ ก็คือ สุลักษณ์ ศิวรักษณ์ โดยการเผยแพร่งานเขียน ของท่านในสังคมไทย ตั้งแต่ปี 2517 โดยเฉพาะในวารสารปาจารยสาร
ท่านติช นัท ฮันห์ ถือเป็นตัวอย่างของนักปฏิบัติธรรมที่ไม่ได้แยกการปฏิบัติทางจิตวิญญาณออกจากการใช้ชีวิตประจำวันและการทำงานเพื่อรับใช้สังคม หรือที่เรียกกันในชื่อ Engaged Buddhismอย่างที่ท่านเคยกล่าวว่า พุทธศาสนาจะต้องสัมพันธ์กับชีวิตและสังคมอย่าง แนบแน่น


เมื่อครั้งที่ท่านมาประชุมอาศรมแปซิฟิก อาจารย์สุลักษณ์ เป็นผู้จัดให้มีการบรรยายธรรมของท่านตัช นัท ฮันห์ ที่วัดผาลาด จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อเดือนเมษายน ปี 2518 กลุ่มคนที่ติดตามไปฟังครั้งนั้นส่วนใหญ่เป็นกลุ่มคนที่ศึกษาและติดตามงานของท่าน และสายธารความคิดจาก ครั้งนั้นทำให้เมล็ดพันธุ์ได้เบ่งบาน สืบเนื่องในกลุ่มคนที่ทำงานเพื่อสังคม และสร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับสังคมไทยอย่างมาก ดังที่เราคุ้น ชื่อกันดีไม่ว่าจะเป็นพระไพศาล วิสาโล , รสนา โตสิตระกูล , พจนา จันทรสันติ , ประชา หุตานุวัตร , สันติสุข โสภณศิริ และวันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์


" อาตมาจำได้ว่าใส่ชุดนักเรียนขาสั้นมาเชียงใหม่ การได้มาพบท่านนัท ฮันห์และภิกษุษีเจิงคอม ทำให้เราประทับใจ เพราะท่านทำให้เรา เห็นว่าการทำงานเพื่อสันติภาพหรืออะไรก็ตาม จิตใจเราต้องสงบ ต้องสันติเป็นประการแรก และท่านทำให้ชีวิตและการทำงานเพื่อสังคม ต้องสันติเป็นประการแรก และท่านทำให้ชีวิตและการทำงานเพื่อสังคมเป็นการปฏิบัติไปในตัว ไม่มีเส้นแบ่งระหว่างธรรมกับชีวิตประจำวัน และไม่มีเส้นแบ่งระหว่างธรรมะกับการงานเพื่อสังคม " พระไพศาล วิสาโล เล่าไว้ในงานเสวนา 3 ทศวรรษสารธารความคิด ติช นัท ฮันห์ กับสังคมไทย


ในช่วงปี 2517 - 18 ขณะที่ประเทศไทยกำลังเผชิญความขัดแย้งและการต่อสู้รุนแรง แน่นอนว่ามีผู้คนจำนวนมากที่ไม่อยากเลือกข้างไม่ว่า จะซ้ายหรือขวา เป็นช่วงเวลาเดียวกันที่งานของท่านติช นัท ฮันห์ และขบวนการชาวพุทธในเวียดนามได้เผยแผ่ออกไป ทำให้ผู้คนจำนวนหนึ่งได้เห็นทางเลือกที่สาม นั่นก็คือการไม่ใช้ความรุนแรง การอุทิศตัวให้สันติภาพ ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด เป็นการต่อสู้ที่เคลื่อน จากพลังแห่งความเมตตา กรุณา และใช้ความรักเข้าต่อสู้


" ตอนนั้นอาตมาไม่ค่อยได้ทำงานการเมือง เพราะไม่ค่อยเชื่อ แต่ทำงานเชิงมนุษยธรรมหรืองานสังคมมากกว่า และได้เรียนรู้ว่าระหว่าง ที่เราทำนั้นเราก็ได้ปฏิบัติธรรมไปด้วย สิ่งที่ทำให้เรามีกำลังใจคือ ในระหว่างทำงานจะมีการแลกเปลี่ยนจดหมายกัน ท่านนัท ฮันห์ จะเขียนจดหมายให้กำลังใจและเตือนพวกเรา สมัยก่อนท่านไม่ใช่คนดังมาก ท่านจะมีเวลาเขียนจดหมาย เคยไปเยี่ยมท่านที่ฝรั่งเศสเมื่อปี 2520 มีคนไปไม่กี่คน เรามีเวลาคุยกับท่านนาน ๆ ได้อยู่ไกล้ชิด เพราะฉะนั้นท่านเป็นฮีโร่ที่ใกล้ตัวเรายิ่งกว่าคานธี "

รสนา โตสิตระกูล เล่าว่าในยุคนั้นนักศึกษาที่ไม่เป็นฝ่ายซ้าย มักถูกเพื่อน ๆ ต่อว่า

" เมื่อก่อนเพื่อนถามว่า เขาอยู่ฝ่ายซ้ายกันแล้วเธอไปอยู่อะไรชุมนุมพุทธ เราบอกว่ากำลังแสวงหา เขาบอกว่า เขาพบกันหมดแล้ว เธอยังแสวงหาอยู่อีกหรือ ก็ไม่เป็นไร ตอนนี้พวกเขายังแสวงหากันอยู่เลย ... แต่เราพบแล้ว "
รสนาเล่าว่า เส้นทางเดินของเธอเมื่อ 30 ปีก่อนยังไม่ได้เปลี่ยนไป สิ่งที่เธอสนใจมากในงานของท่านนัท ฮันห์ คือ ท่านเสนอเป็นรูปแบบ และรูปธรรมของการต่อสู้ทางสังคม ขณะที่ความรุนแรงของการแบ่งขั้วระหว่างฝ่ายซ้ายกับฝ่ายขวา คนที่อยู่ตรงกลางจะดำรงตนได้อย่างไร ในการที่จะทำงานเพื่อประโยชน์ของสังคมด้วย แต่ในขณะเดียวกันไม่ตกไปอยู่ข้างใดข้างหนึ่ง ซึ่งเธอประทับใจมากกับขบวนการคนหนุ่มสาว ของไถ่ ( ท่านนัท ฮันห์ ) เมื่อ 30 ปีก่อน

มดเอ๊กซ:

 
 
 
ความสงบ ภายใต้ความขัดแย้ง และความเกลียดชัง

 

30 ปีที่ผ่านมา ความรุนแรง และความขัดแย้งในสังคมไม่ได้เลือนหายไปจากจิตใจมนุษย์แต่อย่างใด เราเปลี่ยนจากความขัดแย้ง และการต่อสู้ทางอุดมการณ์ทางการเมือง ทุนนิยม กับคอมมิวนิสต์ มาเป็นการต่อสู้กับบริโภคนิยม และความสุดโต่งในเรื่องต่าง ๆ ไม่ว่าจะศาสนา อุดมคติทางเชื้อชาติ ศาสนา ซึ่ง พระไพศาล เรียกว่า " วัฒนธรรมแห่งความเกลียดชัง "


" คำสอนของท่านนัท ฮันห์ ยังมีคุณค่า ไม่ว่าการใช้สันติวิธี การให้อภัยที่จะเผชิญความรุนแรงที่มาจากความสุดโต่งทางศาสนา หรือความสงบสุขภายในที่ต้องเผชิญกับการยั่วยุของบริโภคนิยม ทั้งหมดนี้เป็นเรื่องเดียวกัน ถ้าเรามีความสงบภายใน เราจะเผชิญกับ วัฒนธรรมแห่งความโกรธเกลียดและความละโมบได้ "


นอกจากนี้พระไพศาล ได้ยกตัวอย่างความประทับใจในมุมมองของท่านนัท ฮันห์ ในการสนทนาครั้งหนึ่งกับ เดเนียล เบอร์ริแกน บาทหลวงนิกายเยซูอิต ในช่วงสงครามเวียดนามเมื่อปี 2517 โดยเดเนียลถามท่านว่า " ระหว่างศาสนากับสันติภาพท่านจะเลือกอะไร "


ท่านนัท ฮันห์ ตอบว่า เลือกสันติภาพ เพราะว่าชาวพุทธหรือพุทธศาสนายอมไม่ได้ที่จะเลือกศาสนาแล้วไม่มีสันติภาพ


ท่านนัทฮันห์ บอกว่า พุทธศาสนาที่แท้จริงไม่ได้อยู่ที่โบสถ์ ไม่ได้อยู่ที่จีวร แต่อยู่ในใจ เพราะฉะนั้นตราบใดที่มีสันติภาพ เราก็แน่ใจได้ว่าสวันหนึ่งพุทธศาสนาจะงอกงามในใจคน สันติภาพที่เกิดขึ้นอาจจะหมายถึงการกดขี่บีฑาชาวพุทธและกิจกรรมทาง พุทธศาสนา แต่แต่มันไม่สามารถจะทำลายวัดหรือพุทธศาสนาในใจได้ ฉะนั้นท่านเลือกสันติภาพ


" ตรงกับบทกัลยณธรรมข้อแรกที่ว่า เธออย่ายึดติดอุดมการณ์ใด ๆ แม้กระทั่งพุทธศาสนา ถ้าเราทำทุกอย่างเพื่อพระพุทธศาสนา ถ้าเราเลือกพุทธศาสนาแต่หมายถึงการละทิ้งสันติภาพ อันนั้นเป็นความขัดแย้งในตัว ตรงนี้ทำให้เราคิดเลยว่า ถ้าจะเป็นชาวพุทธอย่าง แท้จริง ต้องไปพ้นจากยี้ห้อพุทธศาสนาด้วยซ้ำ ตรงนี้ชาวพุทธทั่วไปอาจทำใจยาก "


" นี่คือเหตุผลว่าทำไมลังกาถึงลุกเป็นไฟ เพราะคนจำนวนมากเลือกพุทธศาสนามากกว่าสันติภาพ สนับสนุนรัฐบาลให้ทำสงครามกับ ชาวทมิฬ เพราะเชื่อว่าอย่างนั้นจะทำให้พุทธศาสนาอยู่ได้ โดยหารู้ไม่ว่ายิ่งฆ่ากันมากเท่าไหร่ พุทธศาสนายิ่งถูกบั่นทอน เหลือแต่พุทธ ที่เป็นยี้ห้อ พุทธในใจหมดไปแล้ว เพราะว่าเกลียดกัน "

ในบทกวีของท่านนัท ฮันห์ กล่าวไว้ว่า " ศัตรูที่แท้จริงของเราไม่ใช่มนุษย์ ศัตรูของเราคือ ความโกรธ ความเกลียด ความยึดติดในอุดมการณ์ และตรงนี้เองเมื่อเราพยายามหยั่งลึกเข้าไปในจิตใจของคนเหล่านี้ จะพบว่าเขาเองก็เป็นเหยื่อ ในขณะที่เขาทำกับเราเขาก็เป็นเหยื่อของ ความรุนแรง "


" อาตมาคิดว่าในยุคแห่งความโกรธเกลียดโดยมีศาสนาเป็นเชื้ออย่างดีเช่นนี้ คำพูดอย่างนี้ยังไม่ล้าสมัย และจะเป็นอมตะไปตลอดกาล " พระไพศาลกล่าว



 
 
โอบอุ้มไว้ด้วยเมล็ดพันธุ์แห่งสติ


 
ปาฐกถาธรรมของท่าน นัท ฮันห์ ตั้งแต่สวนลุมพินี ที่จังหวัดเชียงใหม่ และตามที่ต่าง ๆ ในกรุงเทพ สารที่ท่านพยายาส่งถึงผู้ฟังก็คือ " การมีสติ และตระหนักรู้ให้ได้ถึงลมหายใจ เข้าและออกของเรา "

ทั้งหมดนี้ก็เพื่อให้เรามีสติที่จะอยู่กับปัจจุบันขณะ ทันทีที่เราอยู่กับปัจจุบันขณะ ความโกรธ ความเกลียดชัง ความกลัว ความทุกข์ทั้งหลาย จะเกิดขึ้นไม่ได้ เมื่อเราสงบ มีความสุข เราก็จะทำให้คนอื่น ๆ มีความสุขไปด้วย โดยเฉพาะ " ความสุขอันเป็นหนึ่งเดียวในครอบครัว และสังคม "

" สาเหตุที่เราป่วยกาย ส่วนหนึ่งเนื่องมาจากเราไม่รู้จักวิธีการดูแลจิตใจของเรานี่เอง ลมหายใจช่วยให้เราตระหนักรู้ และเอาสิ่งที่ปิดกั้น เมล็ดพันธุ์ที่ดีงามออก เมื่อเกิดความรู้สึกไม่ดี หรือเมล็ดพันธุ์ไม่ดีเกิดขึ้นในใจเรา เราสามารถเชื้อเชิญลมหายใจแห่งสติโอบอุ้มความรู้สึก เหล่านั้น เมื่อความโกรธได้อาบน้ำแห่งสติ สภาพแห่งจิตของเราจะดีขึ้น " ท่านติช นัท ฮันห์ กล่าว

นอกจากนี้ในเรื่องของศีลห้า หรือ ข้อฝึกอบรมสติ 5 ประการ ท่านติช นัท ฮันห์ได้นำศีล 5 มาตีความใหม่ ให้มีเนื้อหาร่วมสมัย เข้ากับสภาวการณ์สังคมปัจจุบัน โดยมีมิติที่กว้าง และลึกทำให้เห็นว่าสิ่งเหล่านี้ไม่ใช่เป็นข้อห้าม แต่จะเป็นการตระหนักรู้และเอาใจใส่ต่อ การใช้ชีวิตอย่างจริงจัง
 
 



ความรักอันไม่แบ่งแยก
 
เกือบทุกแห่งที่ท่านไปปาฐกถาธรรม คำถามหนึ่งที่มีผู้คนสนใจถามและอยากให้ท่านชี้ทางออก นั่นคือ เรื่องความขัดแย้งโดยมีความรุนแรง ในสามจังหวัดภาคใต้เป็นตัวอย่างกรณีศึกษา


ท่านนัท ฮันห์ กล่าวว่า " ชาวพุทธเปรียบดั่งมือขวา ชาวมุสลิมเปรียบดั่งมือซ้าย เราเป็นดั่งพี่น้องกัน หากเราทำให้อีกฝ่ายทุกข์ เราย่อมเป็น ทุกข์ด้วย "


" การจะอยู่ด้วยกันอย่างสันติ มิใช่เพราะเราต่างเป็นชาวพุทธเหมือนกัน ฉันเห็นชาวพุทธมากมายมิได้อยู่ร่วมกันอย่างสันติ แต่การจะอยู่ด้วยกันได้อย่างสงบสันตินั้นมีรากฐานมาจากความเข้าใจและความรัก ซึ่งความรักและความเมตตาต่อกัน มีพื้นฐานจาก การฝึกปฏิบัติ และ ความเข้าใจ "


ท่านให้ความเห็นว่า พี่น้องชาวมุสลิมในประเทศไทยอาจได้รับข้อมูลที่ผิด จึงทำให้พวกเขามีความโกรธ ความกลัว ความไม่เข้าใจ พวกเขาได้รับการรดน้ำเมล็ดพันธุ์แห่งความรุนแรง ความโกรธ และความกลัวมากเกินไป ในขณะที่เมล็ดพันธุ์แห่งสันติ ความเป็นพี่น้อง ความรัก ความเข้าใจ ไม่ได้รับการรดน้ำอย่างเพียงพอ ฉะนั้นสิ่งที่เราทำได้คือฝึกการฟังอย่างลึกซึ้ง ใช้วาจาแห่งสติ และเริ่มฟื้นฟูความสัมพันธ์


ท่านแนะนำให้ รัฐบาลไทยเชิญผู้มีปัญญาในสังคม และเชื้อเชิญทุกฝ่ายในความขัดแย้งนี้มาร่วมฟังกันอย่างลึกซึ้ง ด้วยความเมตตากรุณา เพื่อให้รู้ว่าอีกฝ่ายหนึ่งมีความโกรธแค้นชิงชังและสงสัยคลางแคลงเพราะอะไร แลกเปลี่ยนข้อมูลให้ทุกฝ่ายได้สร้างความเข้าใจกัน จากการฟังเช่นนี้เอง เราจะตระหนักว่า เราเองก็ได้ทำอะไรผิดพลาดเช่นกัน เราควรใช้โอกาสนี้ในการขอโทษและสัญญาว่า จะไม่ทำเช่นนั้นอีก เพื่อสมานไมตรีทีดีต่อกัน
 

ก้อนเมฆในน้ำชา


 
' ความสืบเนื่อง ' เป็นปาฐกถาธรรมครั้งสุดท้ายที่เชียงใหม่ หนึ่งในตัวอย่างที่ท่านนำมาอธิบายธรรม คือ ' ก้อนเมฆในน้ำชา ' เพราะก่อนที่จะมาเป็นก้อนเมฆนั้น ก็คือไอน้ำและไอน้ำก็เคยเป็นทั้งหิมะ แม่น้ำ ทะเล หรือแม้แต่หยดน้ำค้างบนใบหญ้า ซึ่งตอนนี้กลายเป็นน้ำชาในถ้วย และกลายเป็นคำพูดในการบรรยายธรรม

ถ้าเราสามารถเห็นก้อนเมฆในน้ำชาอย่างที่ท่านสอน เราก็จะเข้าใจการสืบเนื่องของสรรพสิ่ง ซึ่งไม่เพียงแต่ทำให้เราเห็นความจริงแห่งชีวิต และธรรมชาติเท่านั้น แต่จะทำให้เราตระหนักรู้ถึงการกระทำของเรา เพราะแค่เพียงความคิดด้านลบของเรา แม้ปล่อยให้เกิดขึ้น ก็มีผลทำร้ายทำลายโลกทั้งใบได้

มดเอ๊กซ:
5 คุรุ ผู้สร้างปรากฏการณ์
 
 



Hugging Mother " อ้อมกอดเปลี่ยนชีวิต "

 
20 , 000 คน คือ จำนวนของผู้คนที่เธอสวมกอดภายใน 1 วัน
22 ชั่วโมง คือ เวลาประมาณของชั่วโมงทั้งหมดที่เธอนั่งกอดและปลอบประโลมผู้คน
33 ปีมาแล้วที่เธอทำอยู่เช่นนี้ในการหยิบยื่นอ้อมกอดแห่งการเปลี่ยนแปลง
24 ล้านครั้งแล้วที่เธอสวมกอดผู้คน


Mata Amritanandamayi หรือที่คนทั่วไปเรียกเธอว่า ' อัมม่า ' คุรุฮินดูแห่งรัฐเกรละที่ได้รับการกล่าวขานจากผู้คนทั้งในและนอกประเทศ


แต่ละปีมีนักแสวงหาทางจิตวิญญาณ ที่ข้ามน้ำข้ามทะเลมาจากสหรัฐอเมริกา แคนาดา เยอรมันนี ประเทศไทย และอีกมากมายหลาย ประเทศไปยืนรอต่อคิวเพื่อให้ได้รับการสวมกอดจากเธอ


หลายคนยืนยันว่า " อ้อมกอดเธอนั้นมีพลังและสามารถหยิบยื่นพลังดี ๆ ให้กับคุณได้ "


" ถ้าคุณได้ให้เธอสวมกอดสักครั้ง ชีวิตคุณจะเปลี่ยนไปเลยทีเดียว " นี่คือเสียงของบรรดาผู้ที่ศรัทธาเธอ
ชื่อ Amaritanandamayi ! แปลว่า " แม่ของความสุขอันแท้จริง " อัมม่ามาจากคนวรรณะต่ำธรรมดาที่ครอบครัวมีอาชีพหาปลาในรัฐเกละ แต่ปัจจุบันเธอเป็นคุรุทางจิตวิญญาณที่มีลูกศิษย์ลูกหาอยู่ทั่วทุกมุมโลก ไม่ว่าจะเป็น โยลันดา คิงส์ ลูกสาวของ มาร์ติน ลูเธอร์ คิง จูเนียร์ หรือ ซาเบียร์ บูเทีย ผู้ก่อตั้ง Hotmail


คนไทยเราอย่างมีแม่ชีศันสนีย์ ก็เคยมาเยี่ยมถึงอาศรม และเขียนถึงอัมม่าไว้ที่อาศรมเมื่อวันที่ 26 กันยายน 2546 ว่า " อัมม่า เป็นผู้หยิบยื่น ความรักอันปราศจากเงื่อนไขและไร้ขีดจำกัด ให้กับทุก ๆ คนที่เธอได้พบ "
ในปี 1980 อัมม่าเริ่มก่อตั้งอาศรม อย่างเป็นทางการเพื่อต้อนรับผู้คนและมอบ " อ้อมกอดแห่งการเยียวยา "
มีคนเคยถามเธอว่า " ทำไมต้องสวมกอดผู้คน "

เธอตอบว่า " เช่นดียวกับเธอถามแม่น้ำว่า ทำไมต้องไหลริน " - " มันเป็นโชคชะตาของฉันที่จะต้องมาปลอบประโลมคนบนโลกนี้ที่ โศกเศร้า "

มีคนเคยถามอัมม่าว่าเธอนับถือศาสนาอะไร เธอตอบว่า ศาสนาของเธอคือ ความรัก และเธอก็บอกกับทุกคนที่เข้ามาหาเธอว่า " ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงความเชื่อใด ๆ ที่มีมาของเธอแต่ให้หันกลับไปสู่ แต่ให้หันกลับไปสู่ธรรมชาติที่แท้จริงของตนเอง และเชื่อมั่นในตนเองเท่านั้น "

The Mata Amritanandamayi Math ashram ตั้งอยู่ในเมือง โคลัม รัฐเกรละ แต่ละวันจะมีกิจธรรมทางจิตวิญญาณต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น การร้องเพลง นั่งสมาธิ สวดมนตรา นอกจากนั้นอาศรมยังมีกิจกรรมการกุศลในการช่วยเหลือคนยากจน ตรวจรักษาโรคให้กับคนจน แจกทาน และปลูกที่อยู่อาศัยให้กับคนไร้บ้าน
อย่างไรก็ตาม ' อัมม่า ' ก็ถูกวิจารณ์ว่า เธอมักจะกอดชาวต่างชาตินานกว่าคนอินเดีย บ้างก็ว่าเป็นเรื่องฝรั่งมังค่าที่อินเดีย เพื่อมองหาความตื่นเต้นทางจิตวิญญาณ และมันก็เป็นแค่ความศรัทธาของผู้คนที่ไม่จำเป็นต้องไปเสียเวลาพิสูจน์

มดเอ๊กซ:



ตามไปฟังทะไล ลามะ บรรยายธรรม
 
นอกจากเมืองธรรมศาลา ตอนเหนือของประเทศอินเดีย จะเป็นที่ตั้งของรัฐบาลทิเบตพลัดถิ่น วัดและวังของท่านทะไลลามะ ผู้นำทางจิตวิญญาณของชาวทิเบตแล้ว ที่นี่ยังเป็นเสมือนบ้านของชาวต่างชาติพลัดถิ่นด้วย แต่ละปีจะมีผู้คนมากมายมาจองโรงแรม เกสต์เฮาส์เพื่อให้ได้ฟังและเห็นท่านทะไลลามะ ในการบรรยายธรรม

หนึ่งในโปรแกรมการเดินทางแห่งจิตวิญญาณในอินเดียของชาวตะวันตก และปัจจุบันชาวตะวันออกอย่าง เกาหลี จีน ไต้หวัน ญี่ปุ่น ก็เช่นกัน นอกจากจะมาเรียนโยคะ ฝึกสมาธิ สัมผัสแม่น้ำคงคาแล้ว การมาได้ฟังท่านทะไลลามะเทศน์ ก็เสมือนหนึ่งได้บรรลุประสบการณ์ ทางจิตวิญญาณไปอีกขั้น

ใช่ว่ามีสตางค์แล้วจะซื้อบัตรกันได้ง่าย ๆ เพราะต้องคอยจับจ้องติตดามข่าวสารกันให้ดี ๆ ว่าท่านจะไปบรรยายธรรม หรือไปพบปะสนทนากับผู้คนที่เมืองไหนและเมื่อใด โดยปกตินั้นบัตรที่จะเข้าฟังการบรรยายก็มักจะหมดตั้งแต่ชั่วโมงแรกที่เริ่มจำหน่าย

แต่สำหรับการบรรยายธรรมของทะไลลามะ ณ ธรรมศาลา จะเริ่มในช่วงระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถึงมีนาคมของทุกปี บรรยายประมาณ 15 วัน ทุกคนไม่ว่าจะศาสนาไหนเชื้อชาติใดก็สามารถเข้าฟังได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย
 
ผู้ที่จะเข้าฟังต้องมีอุปกรณ์ของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นเสื่อผืนหมอนใบ เพราะต้องนั่งกับพื้น วิทยุ FM ไว้ฟังการแปลเป็นภาษาอังกฤษ พร้อมหูฟังเพื่อจะได้ไม่รบกวนคนข้าง ๆ อุปกรณ์ทุกอย่างจะผ่านการตรวจสอบอย่างละเอียดโดยเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย ผู้ที่ต้องการเข้าฟังต้องลงทะเบียนที่สำนักงานรักษาความปลอดภัยล่วงหน้าอย่างน้อย 4 วัน พร้อมรูปถ่าย พาสปอร์ต

ภายใต้ข้อขัดแย้งทางการเมืองกับรัฐบาลจีนต่อเนื่องมาหลายสิบปี ทะไลลามะ เพิ่งประกาศเมื่อไม่นานมานี้ว่าจะยุติความเคลื่อนไหว ทางการเมืองทั้งปวง เหลือไว้แต่กิจกรรมทางธรรมเท่านั้

นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

[#] หน้าถัดไป

ตอบ

Go to full version