ผู้เขียน หัวข้อ: คุณค่าแห่งพระวินัยที่ชาวพุทธควรเข้าใจ  (อ่าน 2381 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
ที่มา โพสต์ทูเดย์

http://www.posttoday.com/%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%B0-%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B9%83%E0%B8%88/%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%81


คุณค่าแห่งพระวินัย ที่ชาวพุทธควรเข้าใจ (๑)


คุณค่าแห่งพระวินัยที่ชาวพุทธควรเข้าใจ



คุณค่าแห่งพระวินัย...ที่ชาวพุทธควรเข้าใจ (ตอน๓)


คุณค่าแห่งพระวินัย...ที่ชาวพุทธควรเข้าใจ (ตอน ๔)


คุณค่าแห่งพระวินัย...ที่ชาวพุทธควรเข้าใจ(ตอน๕)


คุณค่าแห่งพระวินัย...ที่ชาวพุทธควรเข้าใจ (ตอน๖)


คุณค่าแห่งพระวินัย...ที่ชาวพุทธควรเข้าใจ(ตอน๗)


คุณค่าแห่งพระวินัย...ที่ชาวพุทธควรเข้าใจ (ตอน๘)


คุณค่าแห่งพระวินัย...ที่ชาวพุทธควรเข้าใจ (ตอน ๙)


คุณค่าแห่งพระวินัย...ที่ชาวพุทธควรเข้าใจ(ตอน ๑๐)


คุณค่าแห่งพระวินัย...ที่ชาวพุทธควรเข้าใจ (ตอน ๑๑)


คุณค่าแห่งพระวินัย...ที่ชาวพุทธควรเข้าใจ (ตอน๑๒)


คุณค่าแห่งพระวินัย...ที่ชาวพุทธควรเข้าใจ (ตอน ๑๓)


คุณค่าแห่งพระวินัย...ที่ชาวพุทธควรเข้าใจ (จบ)




คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: คุณค่าแห่งพระวินัยที่ชาวพุทธควรเข้าใจ
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: ธันวาคม 19, 2010, 07:17:46 am »
คุณค่าแห่งพระวินัย ที่ชาวพุทธควรเข้าใจ (๑)


คุณค่าแห่งพระวินัยที่ชาวพุทธควรเข้าใจ



คุณค่าแห่งพระวินัย...ที่ชาวพุทธควรเข้าใจ (ตอน๓)


คุณค่าแห่งพระวินัย...ที่ชาวพุทธควรเข้าใจ (ตอน ๔).

ปุจฉา : นมัสการพระอาจารย์อารยะวังโส
โดย...พระอาจารย์อารยะวังโส
ปุจฉา : นมัสการพระอาจารย์อารยะวังโส
ได้อ่านธรรมส่องโลก ในเรื่องที่เกี่ยวกับการบัญญัติวินัย ว่าด้วยเรื่องการลักทรัพย์ ถึงขั้นปาราชิก คือขาดจากความเป็นพระสงฆ์ และท่านอาจารย์เทียบเคียงให้เห็นคุณประโยชน์ของการบัญญัติวินัยหรือศีลไว้ อย่างแข็งแรงของพระพุทธศาสนา โดยเฉพาะการไม่ปล่อยให้พระสงฆ์ประพฤติออกนอกกรอบความเป็นสาวกของพระผู้มีพระ ภาคเจ้า อ่านแล้วได้สาระความรู้อย่างยิ่งในสิกขาบทที่ ๒ จากจำนวน ๔ สิกขาบทของโทษปาราชิก
จึงใคร่ขอให้ท่านอาจารย์แสดงความสำคัญในเนื้อหาสาระอีก ๓ สิกขาบท ว่ามีความสัมพันธ์กันอย่างไร มีสาระที่จะนำมาใช้ประโยชน์กับการบริหารประเทศอย่างไรบ้าง หากไม่เป็นการรบกวน ขอพระอาจารย์ช่วยเขียนตอบให้ด้วย ผ่านคอลัมน์ธรรมส่องโลก เพื่อการศึกษาของชาวพุทธที่ควรรู้
นมัสการด้วยความเคารพยิ่ง
ศรัทธาธรรมส่องโลก
วิสัชนา : ขอเจริญพรสาธุชนผู้มีความศรัทธาในพระพุทธศาสนา และมีความสนใจในการศึกษาธรรมะจาก “ธรรมส่องโลก” ก่อนจะวิสัชนาธรรมขอนำจดหมายอีกฉบับหนึ่งมาตอบในเบื้องต้น มีข้อความดังนี้
นมัสการพระอาจารย์อารยะวังโสที่เคารพ
ผมได้รับหนังสือ “แสงสว่างแห่งธรรม” และ “ธรรมส่องโลก ๒” แล้วในวันนี้เอง ขอกราบขอบพระคุณเป็นอย่างสูง โดยเฉพาะเล่มที่มีภาคภาษาอังกฤษ มีประโยชน์กับผมมากเวลาที่ผมต้องการจะสื่อสารกับชาวต่างชาติเกี่ยวกับพุทธ ศาสนา รู้สึกติดขัดมากเกี่ยวกับศัพท์แสงต่างๆ ปัญหาดังกล่าวคงเบาลงไปมากเมื่อได้หนังสือเล่มนี้ ไม่ทราบว่าอาจารย์ทราบได้อย่างไรว่า ผมกำลังมีปัญหาดังกล่าวและต้องการหนังสือที่ช่วยผมได้ในเรื่องนี้ดังกล่าว ราวกับว่าท่านหยั่งรู้จิตใจของผม จึงตอบสนองได้ตรงตามความต้องการ น่าอัศจรรย์มาก ขอกราบขอบพระคุณเป็นอย่างยิ่งมา ณ ที่นี้อีกครั้งหนึ่ง ในโอกาสหน้า หากมีสิ่งใดที่ผมจะทำประโยชน์แก่อาจารย์และแก่พระพุทธศาสนาได้ โปรดแจ้งให้ผมทราบด้วย จะเป็นพระคุณอย่างยิ่ง
กราบนมัสการมาด้วยความเคารพยิ่ง
นพ.อุทิตย์ พิทักษ์ทอง
อาตมาขออนุโมทนาในกระแสศรัทธาของคุณหมออุทิตย์ ที่ปวารณาตนเพื่อการทำประโยชน์ในพระพุทธศาสนา ซึ่งทุกฝ่ายในบริษัท ๔ จะต้องช่วยกันเพื่อปกป้อง รักษา และสืบทอดพระพุทธศาสนาให้สืบเนื่องต่อไป อย่างมีคุณภาพ ทรงคุณประโยชน์ เพื่ออนุเคราะห์โลกให้มีความสงบสุข อันเป็นไปตามพระพุทธประสงค์ขององค์สมเด็จพระผู้มีพระภาค ในระหว่างนี้ขอเจริญพรให้คุณหมอศึกษาพระธรรมคำสั่งสอน ให้เข้าถึงเนื้อแท้แก่นธรรมของพระธรรมวินัย ที่สำคัญต้องสามารถนำไปประพฤติปฏิบัติ จนเกิดด้วยปัญญาอันรู้ชอบรู้แจ้งในสภาวธรรมทั้งหลาย และมีสติรู้ทันในสังขารธรรมทั้งปวงของโลกขันธ์นี้ เพื่อจะได้รู้จักการคลายออก ปล่อยวางจากความยึดมั่นถือมั่นในอัตตะสัญญา อันเกิดจากความสำคัญผิดในความจริงมายาวนาน...



จาก ปุจฉาที่ตั้งขึ้นในฉบับนี้ คงเป็นความสืบเนื่องจากเรื่องที่อาตมาเขียนวิสัชนา การแก้ไขปัญหาทุจริตคอร์รัปชัน โดยยกตัวอย่างจากระเบียบแบบแผนในพระพุทธศาสนา ซึ่งได้อ้างอิงสิกขาบทเรื่องการลักทรัพย์ ในปาราชิก ๔ ทั้งนี้ เพื่อต้องการแสดงให้เห็นถึงความประณีตแยบคายของพระพุทธศาสนา ในแนวทางเพื่อการจรรโลงพระพุทธศาสนาให้สืบเนื่องต่อไปอย่างมีคุณค่า และมีคุณประโยชน์ต่อสัตว์มนุษย์ผู้ประเสริฐทั้งหลาย ที่มุ่งหวังสู่หนทางความสิ้นทุกข์...
โดย...พระอาจารย์อารยะวังโส
จากปุจฉาที่ตั้งขึ้นในฉบับนี้ คงเป็นความสืบเนื่องจากเรื่องที่อาตมาเขียนวิสัชนา การแก้ไขปัญหาทุจริตคอร์รัปชัน โดยยกตัวอย่างจากระเบียบแบบแผนในพระพุทธศาสนา ซึ่งได้อ้างอิงสิกขาบทเรื่องการลักทรัพย์ ในปาราชิก ๔ ทั้งนี้ เพื่อต้องการแสดงให้เห็นถึงความประณีตแยบคายของพระพุทธศาสนา ในแนวทางเพื่อการจรรโลงพระพุทธศาสนาให้สืบเนื่องต่อไปอย่างมีคุณค่า และมีคุณประโยชน์ต่อสัตว์มนุษย์ผู้ประเสริฐทั้งหลาย ที่มุ่งหวังสู่หนทางความสิ้นทุกข์...
อาตมาขออนุโมทนากับปุจฉาที่มีเข้ามาสู่ “ธรรมส่องโลก” ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความไม่สูญเปล่าต่อการให้การศึกษาบนหน้าหนังสือพิมพ์ตาม ที่ได้ตั้งใจไว้ เมื่อมีจดหมายหรือมีคำถามเข้ามา จึงรู้สึกยินดียิ่งที่จะขวนขวายค้นคว้าหาความรู้ เพื่อจะได้วิสัชนาสาธุชนทั้งหลายได้อย่างถูกต้องสมบูรณ์ ไม่ผิดพลาด โดยเฉพาะการตอบแบบจุดประกายให้รู้จักคิด อันจะนำไปสู่ความสามารถที่จะวิสัชนาธรรมได้ด้วยตนเอง ซึ่งเป็นความประสงค์อย่างยิ่งของอาตมา จึงไม่นิยมการถามมาและตอบไปแบบตรงประเด็น จนผู้ถามขาดการคิดพิจารณา ซึ่งออกจะไร้ค่า เพราะไม่ได้ช่วยให้เกิดการเรียนรู้ เพื่อสร้างสรรค์ความคิด ประดิษฐ์ปัญญา ตามแนววิถีพุทธที่แท้จริง
จากจดหมายที่ปุจฉา ด้วยความสืบเนื่องจากการเรียนรู้ แนวทางการแก้ไขปัญหาความประพฤติผิด มีการลักทรัพย์ ฉ้อโกง คอร์รัปชัน โดยการอ้างอิงสิกขาบทที่ ๒ ในปาราชิก ๔ ที่ว่าด้วยการลักทรัพย์ จึงนำมาสู่ความต้องการเรียนรู้เพิ่มเติมในอีก ๓ สิกขาบทว่า ในปาราชิกทั้ง ๔ สิกขาบท มีความสัมพันธ์กันอย่างไร!? และจะนำมาใช้ประโยชน์อันสัมพันธ์และเกี่ยวเนื่องกับทางโลกได้อย่างไร!?
อย่างไรก็ตาม ก่อนจะวิสัชนาในประเด็นปัญหาดังกล่าว ก็ขอย้อนกลับมาหาหลักความจริงที่กล่าวกันว่า สังคมโลกที่สืบเนื่องอยู่กันได้มายาวนาน เพราะมีหลักคุรุธรรมคุ้มครองรักษาอยู่ แม้ในสมัยไม่มีพระพุทธศาสนาก็ตาม จึงพออนุมานกล่าวได้ว่า หลักคุรุธรรม เป็นธรรมสากลที่เกิดขึ้น เพื่อการอภิบาลรักษาโลกให้มีความสงบสุข ที่สำคัญคือ เกิดขึ้นมีมาก่อนพระพุทธศาสนา อันปรากฏอยู่ในพื้นที่ชมพูทวีป ซึ่งชาวโลกตะวันตก ขนานนามว่า Land of Freedom ดังนั้น คุรุธรรมจึงเป็นรากฐานเบื้องต้นของศาสนาทุกศาสนาก็ว่าได้...
หลักคุรุธรรมของชาวโลกที่มีอารยธรรมในเบื้องต้นนั้น เกิดขึ้นก็ด้วยจุดมุ่งหมายในการจัดความสัมพันธ์กับสังคม ภายใต้ความเกี่ยวเนื่องกับธรรมชาติให้เป็นระบบระเบียบ ด้วยการยอมรับความจริงตามนัย “กฎแห่งกรรม” ที่มีอยู่จริงในธรรมชาติ หรือความเป็นไปตามตัวกฎในสภาวะหรือธรรมชาตินั้น ทั้งนี้ เพื่อเอื้ออำนวยให้สัตว์มนุษย์สามารถบำเพ็ญกรณียกิจที่ดีงาม ที่สามารถนำไปสู่ความสงบสุข และเป็นประโยชน์ต่อตนและภาคสังคมได้ เพื่อการบรรลุจุดมุ่งหมายสูงสุดของชีวิต ตามความตกลงนับถือของมหาชน ที่พยายามสร้างสรรค์ความประเสริฐให้กับตนและพวกพ้อง
หลักคุรุธรรม จึงเป็นบรรทัดฐานของสังคมที่ถือสืบเนื่องกันมา ซึ่งต่อมาในพระพุทธศาสนากำหนดชื่อเรียกว่า ศีล อันแปลว่า ความปกติ เป็นเครื่องป้องกันไม่ให้ทำความชั่ว อันเป็นความผิดปกติของสัตว์ประเสริฐ ซึ่งศีลพื้นฐานขั้นต้นที่สุดนั้น จึงได้แก่ คุรุธรรมนั่นเอง ที่วางกรอบเอาไว้ให้สัตว์สังคมที่ก้าวย่างไปสู่ความประเสริฐ และเพื่อประโยชน์สุขความดีงาม จะต้องไม่เบียดเบียนผู้อื่นไม่ว่าด้วยกายหรือวาจา และการไม่ทำลายสติสัมปชัญญะ ที่เป็นตัวคุ้มกันศีลของตนที่บัญญัติไว้ ๕ ประการ ซึ่งชาวพุทธเรียกว่า ศีล ๕ หรือเบญจศีล
ด้วยหมายเหตุแห่งศีล ๕ ที่ถ่ายแบบมาจากหลักคุรุธรรมสู่เบื้องต้นแห่งสิกขาบท ดังปรากฏอยู่ในคำสอนของพระพุทธศาสนา ย่อมแสดงให้เห็นพระพุทธจริยาอันเป็นเลิศ หรือพระปัญญาธิคุณอันประเสริฐและทรงคุณ ที่ได้นำส่วนดีที่ปรากฏมีอยู่ก่อนการอุบัติของพระพุทธศาสนา เข้ามาปฏิรูปให้เพื่อประโยชน์ของสังคมในรูปของ กรรมบถ อันมีอยู่ ๑๐ ประการ ทั้งฝ่ายกุศลและอกุศล อันปรากฏอยู่ในรูป กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม เพื่อแสดงให้เห็นความสำคัญของอินทรีย์สังวร อันเป็นเบื้องแรกก้าวย่างของการทำความดีหรือการประกอบกุศล
การนำหลักคุรุธรรมเข้ามาใช้เป็นพื้นฐานในพระพุทธศาสนา แล้วปฏิรูปให้อยู่ในรูปของ กรรมบถ ๑๐ จึงเป็นเรื่องที่ยิ่งใหญ่ของพุทธศาสนา ที่แสดงความเป็นหนึ่งของหลักธรรมคำสั่งสอน ที่มุ่งเน้นไปสู่ความสงบสุขและความดับทุกข์อย่างแท้จริง (อนุปาทาปรินิพพาน) ดังจะเห็นได้จากการจัดความสัมพันธ์ของกรรมบถ ๑๐ ในรูปของ สุจริต ๓ อันสืบเนื่องมาจากปฐมบท คือ อินทรีย์สังวร และนำสืบเนื่องไปสู่ สติปัฏฐาน ๔ ซึ่งเป็น เอกายนมรรค ที่มุ่งสู่ วิสุทธิธรรม ในรูป ญาณทัสสนวิสุทธิ ที่เป็นผลการพัฒนาตามกระบวนการพัฒนาจิตตามหลักวิปัสสนาญาณ ที่แบ่งไว้ ๙ ลำดับในพระพุทธศาสนา ซึ่งสามารถแสดงให้เห็นในอีกรูปแบบหนึ่งตามหลักวิสุทธิ ๗ ได้อย่างน่าอัศจรรย์ในพระปัญญาธิคุณอันไม่มีประมาณของพระพุทธองค์ อันเป็นไปตามเส้นทางสายกลาง หรือที่เรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา
ดังนั้น ศีลในพระพุทธศาสนา จึงถูกจัดวางไว้อย่างประณีตแยบคายในรูปของพระวินัย ที่มีปรากฏเชื่อมโยงเป็นดุจตาข่ายเพชร ดังปรากฏให้เห็นรายละเอียดแยกย่อยไปตามสิกขาบทน้อยใหญ่ ซึ่งหากพิจารณาให้ลุ่มลึก ก็จะเห็นความลุ่มลึกของศีลที่อ้างอิงหลักคุรุธรรม และได้แผ่กระจายไปอย่างประณีต เชื่อมโยงกันถูกขั้นตอน ส่งสืบต่อไปไม่ขัดแย้งกัน ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาจิตสู่ขั้นปรมัตถธรรม จึงมีการจัดแบ่งให้เห็นตามสภาพความจริงของศีลว่า มี ๒ ระดับ ได้แก่ ระดับธรรม หรือเป็นคำแนะนำสั่งสอน ที่สอดคล้องและเป็นไปตามความจริงที่มีอยู่ในธรรมชาติ ในรูปกฎแห่งกรรม (กรรมนิยาม) ที่สรุป การทำความดี การทำความชั่ว ย่อมได้รับผลดีชั่วนั้น อันเป็นไปตามหลักธรรมดา (ธรรมะ) ของเหตุปัจจัย ซึ่งหลักพุทธศาสนามักจะกล่าวว่า “มันเป็นเช่นนั้นเอง (อิทัปปัจจยตา)”




ปุจฉา : นมัสการพระอาจารย์อารยะวังโส
โดย....พระอาจารย์อารยะวังโส
ปุจฉา : นมัสการพระอาจารย์อารยะวังโส
ได้อ่านธรรมส่องโลก ในเรื่องที่เกี่ยวกับการบัญญัติวินัย ว่าด้วยเรื่องการลักทรัพย์ ถึงขั้นปาราชิก คือขาดจากความเป็นพระสงฆ์ และท่านอาจารย์เทียบเคียงให้เห็นคุณประโยชน์ ของการบัญญัติวินัยหรือศีลไว้อย่างแข็งแรงของพระพุทธศาสนา โดยเฉพาะการไม่ปล่อยให้พระสงฆ์ประพฤติออกนอกกรอบความเป็นสาวกของพระผู้มีพระ ภาคเจ้า อ่านแล้วได้สาระความรู้อย่างยิ่งในสิกขาบทที่ ๒ จากจำนวน ๔ สิกขาบทของโทษปาราชิก
จึงใคร่ขอให้ท่านอาจารย์แสดงความสำคัญในเนื้อหาสาระอีก ๓ สิกขาบท ว่ามีความสัมพันธ์กันอย่างไร มีสาระที่จะนำมาใช้ประโยชน์กับการบริหารประเทศอย่างไรบ้าง หากไม่เป็นการรบกวน ขอพระอาจารย์ช่วยเขียนตอบให้ด้วย ผ่านคอลัมน์ธรรมส่องโลก เพื่อการศึกษาของชาวพุทธที่ควรรู้
นมัสการด้วยความเคารพยิ่ง
ศรัทธาธรรมส่องโลก
วิสัชนา : สำหรับศีลอีกระดับหนึ่งนั้น ได้แก่ ระดับวินัย หรือระดับที่เป็นวินัย ซึ่งได้แก่ ข้อบังคับที่บัญญัติขึ้น เพื่อกำกับความประพฤติ การกระทำของมวลสมาชิก ในฐานะสัตว์สังคมที่ประเสริฐ ให้อยู่ร่วมกันได้อย่างดีงาม มีความสงบสุขในหมู่คณะ ที่ถือปฏิบัติตามตัวบทกฎระเบียบ หรือกฎหมายนั้นๆ ซึ่งสมาชิกในสังคมผู้ใดล่วงละเมิดกฎระเบียบดังกล่าว ก็ย่อมจะมีความผิดที่ถูกตราไว้ในระเบียบการนั้น ซ้อนขึ้นมาอีกชั้นหนึ่ง เพิ่มเติมจากผลที่จะต้องเป็นไปตามกฎแห่งกรรม ที่ไม่มีใครจะหลีกเลี่ยงหรือปฏิเสธได้ ดังพระบาลีที่กล่าวไว้ว่า
ยาทิสํ วปเต พีชํ ตาทิสํ ลภเต ผลํ
กลฺยาณการี กลฺยาณํ ปาปการี จ ปาปกํ
แปลความว่า บุคคลหว่านพืชเช่นใด ย่อมได้ผลเช่นนั้น
ผู้ทำกรรมดี ย่อมได้ผลดี ผู้ทำกรรมชั่ว ย่อมได้ผลชั่ว
จึงมีการจัดความสัมพันธ์สืบเนื่องส่งต่อกันไว้อย่างดี ทั้งในระดับธรรมขั้นศีล สู่ศีลขั้นวินัย อันเป็นการปฏิรูปอย่างละเอียดประณีตจากรากฐานเดิมที่ชาวโลกที่มีอารยธรรม ก่อนพุทธศาสนาได้ถือปฏิบัติกันอยู่ในรูปคุรุธรรม ซึ่งมีข้อฝึกหัดความประพฤติ ๕ อย่าง โดยเชื่อมั่นตามกฎแห่งกรรม อันสอดคล้องกับบัญญัติที่ไม่มีสัตว์ใดปฏิเสธได้ ที่นิยมเรียกว่า ศีล ๕ ซึ่งพระพุทธศาสนาได้นำมาวางเป็นพื้นฐานและขยายความประณีต เพื่อประโยชน์ของผู้ถือปฏิบัติสู่ความเป็น “ศีลในกรรมบถ” ตามที่กล่าวมาในเบื้องต้น อันปรากฏอยู่ในรูปกรรมบถ ๑๐ ซึ่งมีลักษณะศีลอยู่ ๗ ข้อ และขยายความสู่รูปศีลในองค์มรรค ที่ปรากฏอยู่ในองค์แห่งมรรคที่ ๔, ๕, ๖
ได้แก่ สัมมาวาจา สัมมากัมมันโต สัมมาอาชีโว ซึ่งวางไว้ตามฐานะที่เป็นธรรม และจะปรับสภาพสู่ความเป็นพระวินัย มีสิกขาบทน้อยใหญ่มากมาย รวมอยู่ในพระจตุรปริสุทธิศีลของพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนา ซึ่งเป็นอนาคาริยวินัย ได้แก่ ปาฏิโมกข์สังวรศีล อินทรีย์สังวรศีล ปัจจยสัตนิสิตศีล และอาชีวปริสุทธิศีล ซึ่งจะลุ่มลึกละเอียดประณีต และจัดวางอยู่ในกรอบ อันเป็นไปตามองค์ธรรมที่ปรากฏอยู่ในพระโอวาทปาฏิโมกข์ ที่พระพุทธองค์ทรงประทานแด่พระภิกษุสงฆ์สาวกของพระองค์ เมื่อวันมาฆบูชาก่อนเข้าสู่พรรษาที่ ๒ ณ วัดเวฬุวันมหาวิหาร เมืองราชคฤห์ แคว้นมคธ ชมพูทวีปในอดีต โดยมีสาระธรรมว่า



ปุจฉา : นมัสการพระอาจารย์อารยะวังโส
โดย...พระอาจารย์อารยะวังโส
ปุจฉา : นมัสการพระอาจารย์อารยะวังโส
ได้อ่านธรรมส่องโลกในเรื่องที่เกี่ยวกับการบัญญัติวินัยว่าด้วยเรื่องการ ลักทรัพย์ ถึงขั้นปาราชิก คือ ขาดจากความเป็นพระสงฆ์ และท่านอาจารย์เทียบเคียงให้เห็นคุณประโยชน์ของการบัญญัติวินัยหรือศีลไว้ อย่างแข็งแรงของพระพุทธศาสนา โดยเฉพาะการไม่ปล่อยให้พระสงฆ์ประพฤติออกนอกกรอบความเป็นสาวกของพระผู้มีพระ ภาคเจ้า อ่านแล้วได้สาระความรู้อย่างยิ่งในสิกขาบทที่ ๒ จากจำนวน ๔ สิกขาบทของโทษปาราชิก
จึงใคร่ขอให้ท่านอาจารย์แสดงความสำคัญในเนื้อหาสาระอีก ๓ สิกขาบท ว่ามีความสัมพันธ์กันอย่างไร มีสาระที่จะนำมาใช้ประโยชน์กับการบริหารประเทศอย่างไรบ้าง หากไม่เป็นการรบกวน ขอพระอาจารย์ช่วยเขียนตอบให้ด้วย ผ่านคอลัมน์ธรรมส่องโลก เพื่อการศึกษาของชาวพุทธที่ควรรู้
นมัสการด้วยความเคารพยิ่ง
ศรัทธาธรรมส่องโลก
วิสัชนา :
ขนฺติ ปรมํ ตโป ตีติกฺขา นิพฺพานํ ปรมํ วทนฺติ พุทฺธา
น หิ ปพฺพชิโต ปรูปฆาตี สมโณ โหติ ปรํ วิเหฐยนฺโต
สพฺพปาปสฺส อกรณํ กุสลสฺสูปสมฺปทา
สจิตฺตปริโยทปนํ เอตํ พุทฺธานสาสนํ
อนูปวาโท อนูปฆาโต ปาฏิโมกเข จ สังวโร
มตฺตญฺญุตา จะ ภตฺตสฺมิ ํ ปนฺตญฺจ สยนาสนํ
อธิจิตฺเต จ อาโยโค เอตํ พุทฺธานสาสนํ
แปลความว่า ขันติ คือความอดทนอดกลั้น เป็นเครื่องเผากิเลสอย่างยิ่ง พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ทรงตรัสสรรเสริญว่า พระนิพพานเป็นธรรมอันยิ่ง
การไม่ทำบาปทั้งปวง การทำกุศลให้ถึงพร้อม การทำจิตให้บริสุทธิ์
นี่คือคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
ผู้เข้าไปทำร้ายผู้อื่น ไม่ชื่อว่าเป็นบรรพชิตเลย ผู้เข้าไปเบียดเบียนผู้อื่น ไม่ชื่อว่าเป็นสมณะเลย ความสำรวมในปาติโมกข์ การบริโภคหรือขบฉันแต่พอประมาณ การดำรงอยู่ในที่เงียบสงัด และการทำจิตให้บริสุทธิ์ นี่คือคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
จากพระโอวาทปาฏิโมกข์ที่อัญเชิญขึ้นมากล่าวบูชา ด้วยพระพุทธพจน์ที่เปล่งจากพระโอษฐ์ของพระองค์ หากได้พิจารณาให้ลึกซึ้ง ก็จะพบความละเอียด ที่นำไปสู่การจัดรูปแบบของ พระจตุรปาริสุทธิศีล ตลอดจนจะเห็นการกระจายความเชื่อมโยง และมีความสัมพันธ์กับหมวดอธิศีลในอริยมรรค ซึ่งมีองค์ธรรมที่ ๔๕๖ ปรากฏอยู่ ซึ่งสามารถเห็นความเจริญเติบโตของพระวินัยหรือศีลระดับวินัยในพระพุทธศาสนา ซึ่งมีพระประสงค์ทรงบัญญัติวินัย เพื่อจัดระบบระเบียบพฤติกรรมของพระสงฆ์สาวก ที่มุ่งตรงสู่ความเป็น “อริยบุคคล” ในรูปของ “อริยสงฆ์” ที่จะต้องยอมรับหลัก “อริยวินัย” ที่ปรากฏอยู่ในรูปของพระจตุรปาริสุทธิศีล อันสืบเนื่องมาจากต้นกำเนิด ได้แก่ พระโอวาทปาฏิโมกข์ ทั้งนี้เพื่อจะได้นำไปศึกษาปฏิบัติให้เกิดประโยชน์สูงสุด ตามจุดมุ่งหมายของการศึกษาปฏิบัติในพระพุทธศาสนา
ในขณะเดียวกัน หากไล่เรียงสอบสวนสาวสืบไปหารากแก้วของอริยวินัย ซึ่งมาจาก อนาคาริยวินัย หรือวินัยของผู้ละออกจากบ้านเรือน ก็ต้องกลับเข้าไปพิจารณาดูอาชีวัฏฐมกศีล หรือศีลอันมีสัมมาอาชีวะเป็นที่ ๘ (สัมมาวาจา = วจีกรรม ๔ + สัมมากัมมันโต = กายกรรม ๓ + สัมมาอาชีโว) ก็จะพบความละเอียดขององค์ธรรมในรูปวินัย ที่มุ่งเน้นสู่กระบวนการปฏิบัติชอบ สุจริต ปราศจากความเศร้าหมอง อันสืบเนื่องมาจากอาคาริยวินัย (คิหิวินัย) หรือวินัยของผู้ครองเรือน ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ในสิงคาลกสูตร โดยมีสาระสำคัญอยู่ที่ การเว้นอคติ ๔ การไม่เสพอบายมุข ๖ และความสัมพันธ์ในทิศทั้ง ๖ ซึ่งเป็นรูปแบบวินัยขั้นศีล ในหมู่ผู้ครองเรือนหรือคฤหัสถ์ ที่น่าสนใจเพื่อพิจารณาให้เข้าถึง ประโยชน์ที่เกิดขึ้นในสังคมของคฤหัสถ์ ซึ่งมีรากฐานมาจากหลักกรรมบถสิบ ซึ่งลงในรายการศีลในรูปกรรมบถ อันได้แก่ กายกรรม ๓ และวจีกรรม ๔ นั่นเอง โดยพระพุทธศาสนาได้ขยายความไปสู่สองส่วนของกรรมบถ ได้แก่ กุศลกรรมบถ และ อกุศลกรรมบถ ที่มีข้างละ ๑๐ เหมือนกัน ในรูปของกายกรรม ๓ วจีกรรม ๔ (ฝ่ายศีล) และมโนกรรม ๓ (ฝ่ายธรรม) ซึ่งมีรากฐานเบื้องต้นมาจากหลักครุธรรมของชาวโลก (ในชมพูทวีป) ซึ่งมีข้อฝึกหัดความประพฤติ ๕ อย่าง ดังที่กล่าวมา.

ที่มา โพสต์ทูเดย์
โพสต์ทูเดย์ ธรรมส่องโลก

.
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: คุณค่าแห่งพระวินัยที่ชาวพุทธควรเข้าใจ
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: ธันวาคม 19, 2010, 07:18:32 am »
คุณค่าแห่งพระวินัย...ที่ชาวพุทธควรเข้าใจ(ตอน๕)


คุณค่าแห่งพระวินัย...ที่ชาวพุทธควรเข้าใจ (ตอน๖)


คุณค่าแห่งพระวินัย...ที่ชาวพุทธควรเข้าใจ(ตอน๗)


คุณค่าแห่งพระวินัย...ที่ชาวพุทธควรเข้าใจ (ตอน๘)


คุณค่าแห่งพระวินัย...ที่ชาวพุทธควรเข้าใจ (ตอน ๙)

ปุจฉา : นมัสการพระอาจารย์อารยะวังโส ได้อ่านธรรมส่องโลก ในเรื่องที่เกี่ยวกับการบัญญัติวินัย ว่าด้วยเรื่องการลักทรัพย์ ถึงขั้นปาราชิก คือขาดจากความเป็นพระสงฆ์
โดย...พระอาจารย์อารยะวังโส
ปุจฉา : นมัสการพระอาจารย์อารยะวังโส ได้อ่านธรรมส่องโลก ในเรื่องที่เกี่ยวกับการบัญญัติวินัย ว่าด้วยเรื่องการลักทรัพย์ ถึงขั้นปาราชิก คือขาดจากความเป็นพระสงฆ์ และท่านอาจารย์เทียบเคียงให้เห็นคุณประโยชน์ ของการบัญญัติวินัยหรือศีลไว้อย่างแข็งแรงของพระพุทธศาสนา โดยเฉพาะการไม่ปล่อยให้พระสงฆ์ประพฤติออกนอกกรอบความเป็นสาวกของพระผู้มีพระ ภาคเจ้า อ่านแล้วได้สาระความรู้อย่างยิ่งในสิกขาบทที่ ๒ จากจำนวน ๔ สิกขาบทของโทษปาราชิก
จึงใคร่ขอให้ท่านอาจารย์แสดงความสำคัญในเนื้อหาสาระอีก ๓ สิกขาบท ว่ามีความสัมพันธ์กันอย่างไร มีสาระที่จะนำมาใช้ประโยชน์กับการบริหารประเทศอย่างไรบ้าง หากไม่เป็นการรบกวน ขอพระอาจารย์ช่วยเขียนตอบให้ด้วย ผ่านคอลัมน์ธรรมส่องโลก เพื่อการศึกษาของชาวพุทธที่ควรรู้
นมัสการด้วยความเคารพยิ่ง
ศรัทธาธรรมส่องโลก
วิสัชนา : จากการสืบสาว สัมพันธ์แห่งศีล ที่ยกระดับสู่พระวินัยในพระพุทธศาสนา ก็จะพบเห็นความสัมพันธ์อันสืบเนื่องจากรากแก้วอันเดียวกัน อันได้แก่ หลักคุรุธรรม หรือศีล ๕ (สิกขาบท ๕ หรือข้อฝึกหัดความประพฤติ ๕ อย่าง) ที่ได้ถูกกระจายลงรายละเอียดไปในโครงสร้างของพระวินัยอย่างประณีตแยบคาย อันเป็นไปตามความประสงค์ ซึ่งแตกต่างไปตามฐานะดังที่แสดงมานั้น ก็เพื่อความประสงค์ให้มีความสัมพันธ์ในเชิงเกื้อกูลกันในส่วนของการปฏิบัติ ที่มุ่งตรงต่อจุดมุ่งหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา คือ ความสิ้นทุกข์ หรือความดับทุกข์สิ้น... พระพุทธองค์จึงทรงได้บัญญัติสิกขาบทน้อยใหญ่ขึ้นมา เป็นแบบแผนในการควบคุมพฤติกรรมทางกายวาจา และพัฒนาการสร้างความสำนึกสำเหนียกทางจิตใจ ให้มีความเห็นอันชอบ
ความดำริอันควร ต่อการยอมรับหลักศีลในระดับธรรม และการพัฒนาศีลสู่ระดับวินัย ได้แก่ ประมวลแห่งสิกขาบททั้งหลายนั่นเอง ซึ่งจะสามารถพัฒนาจิตสำนึกในขั้นประโยชน์แห่งตน ที่มีความก้าวหน้าในคุณธรรมที่ยิ่งๆ ขึ้นไป ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์สุขแห่งตนในการดำเนินชีวิตในฐานะสัตว์ประเสริฐ สู่การมองเห็นคุณค่าแห่งการสร้างความสัมพันธ์ที่ดี โดยรู้จักคำนึงถึงประโยชน์ต่อภาคสังคม หรือประโยชน์ของผู้อื่นเป็นสำคัญด้วย โดยเฉพาะในวินัยของพระสงฆ์นั้น จะให้ความสำคัญถึงสัมพันธภาพที่ดี และให้ประโยชน์กับผู้อื่นกับภาคสังคมเป็นสำคัญด้วย นี่คือ ความโดดเด่นเป็นหนึ่งของพระพุทธศาสนา
เราจึงเห็นข้ออ้างอิง ที่จะทำให้กระบวนการความสำนึกความเห็น ความดำริ เป็นไปอย่างมีคุณธรรม บนวิถีการปฏิบัติตนอันต้องตามพระธรรมวินัย โดยการอบรมจิตให้มีพรหมวิหารธรรม และสื่อสัมพันธ์การกระทำออกไปในรูปสังคหวัตถุ ๔ เพื่อคุณภาพของชีวิตที่ต้องสร้างพลังสร้างสรรค์ ที่เกื้อกูลขวนขวายในความพึงใจต่อการประพฤติความดีโดยตลอด ซึ่งจะต้องสร้างอิทธิบาท ๔ ให้ดำรงอยู่ในจิตวิถีอย่างต่อเนื่อง และเพิ่มพูนกำลังด้วยพละ ๕ จนสติแกล้วกล้าเป็นมหาสติ สามารถรู้เท่าทันในสังขารธรรมทั้งปวงแห่งโลกขันธ์นี้ได้ เพื่อเป็นบาทวิถีไปสู่ความสำเร็จบนอุปการะธรรมที่เกิดจากสติสัมปชัญญะ ซึ่งจะใช้ดำเนินไปอย่างมีระเบียบแบบแผนตามพระธรรมวินัย เพื่อประโยชน์สูงสุดตามจุดมุ่งหมาย บนเส้นทางการศึกษาปฏิบัติตามหลักธรรมในพระพุทธศาสนา จึงมีคำกล่าวว่า “สติเป็นพ่อของศีล สัมปชัญญะเป็นแม่ของศีล และศีลมีพรหมวิหารธรรมเป็นอาหาร แสดงคุณภาพออกสู่ความสร้างสรรค์ สร้างประโยชน์ด้วย สังคหวัตถุธรรม...
ดังนั้น พุทธสาวกจะต้องดำเนินชีวิตอย่างรู้จักการพิจารณาก่อนส้องเสพ รู้จักการพิจารณาก่อนใช้สอย รู้จักการพิจารณาก่อนการบรรเทา หรือรู้จักการพิจารณาก่อนการงดเว้น ทั้งนี้ ต้องมีคติชีวิต ประพฤติปฏิบัติ เพื่อประโยชน์สูงสุดของมหาชน... เพื่อเอื้อเฟื้ออนุเคราะห์โลก และเพื่อจะได้เป็นแบบอย่างที่ดีงามแก่อนุชนรุ่นหลัง ดังที่พระมหากัสสปเถรเจ้า เคยถวายความประสงค์ของการดำรงอยู่ข้อธุดงควัตร ในข้ออยู่ป่าเป็นวัตรของท่าน ต่อพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า เพื่อต้องการถือการปฏิบัติอย่างเคร่งครัด เพื่อให้เป็นตัวอย่างแก่กุลบุตรทั้งหลายในภายหลัง ที่จะได้มีความศรัทธาปสาทะ เลื่อมใสในจริยาวัตร และมุ่งประพฤติตามแบบอย่าง... และตั้งมั่นอยู่ในความเคารพธรรม... เคารพวินัย ดังพระอริยบุคคลที่ตั้งเจตนารักษาศีลปฏิบัติอยู่ในเหตุผลอย่างเคร่งคัด ด้วยความเข้าใจในวัตถุประสงค์ คือ ประโยชน์ที่มุ่งหมายของวินัยที่พระพุทธเจ้าทรงแถลง




ปุจฉา : นมัสการพระอาจารย์อารยะวังโส
โดย....พระอาจารย์อารยะวังโส
ปุจฉา : นมัสการพระอาจารย์อารยะวังโส
ได้อ่านธรรมส่องโลก ในเรื่องที่เกี่ยวกับการบัญญัติวินัย ว่าด้วยเรื่องการลักทรัพย์ ถึงขั้นปาราชิก คือขาดจากความเป็นพระสงฆ์ และท่านอาจารย์เทียบเคียงให้เห็นคุณประโยชน์ของการบัญญัติวินัยหรือศีลไว้ อย่างแข็งแรงของพระพุทธศาสนา โดยเฉพาะการไม่ปล่อยให้พระสงฆ์ประพฤติออกนอกกรอบความเป็นสาวกของพระผู้มีพระ ภาคเจ้า อ่านแล้วได้สาระความรู้อย่างยิ่งในสิกขาบทที่ ๒ จากจำนวน ๔ สิกขาบทของโทษปาราชิก
จึงใคร่ขอให้ท่านอาจารย์แสดงความสำคัญในเนื้อหาสาระอีก ๓ สิกขาบท ว่ามีความสัมพันธ์กันอย่างไร มีสาระที่จะนำมาใช้ประโยชน์กับการบริหารประเทศอย่างไรบ้าง หากไม่เป็นการรบกวน ขอพระอาจารย์ช่วยเขียนตอบให้ด้วย ผ่านคอลัมน์ธรรมส่องโลก เพื่อการศึกษาของชาวพุทธที่ควรรู้
นมัสการด้วยความเคารพยิ่ง
ศรัทธาธรรมส่องโลก
วิสัชนา : ก่อนบัญญัติสิกขาบทแต่ละข้อ ซึ่งมีอยู่ ๑๐ ประการ คือ
๑.เพื่อความดีงามที่เป็นไปโดยความเห็นชอบร่วมกันของสงฆ์
๒.เพื่อความผาสุกแห่งสงฆ์
๓.เพื่อคำรามคนหน้าด้าน ไม่รู้จักอาย
๔.เพื่อความอยู่ผาสุกแห่งเหล่าภิกษุผู้มีศีลงาม
๕.เพื่อปิดกั้นความเสื่อมเสีย ความทุกข์ ความเดือดร้อน ที่จะมีในปัจจุบัน
๖.เพื่อบำบัดความเสื่อมเสีย ความทุกข์ ความเดือดร้อน ที่จะมีในภายหลัง
๗.เพื่อความเลื่อมใสของคนที่ยังไม่เลื่อมใส
๘.เพื่อความเลื่อมใสยิ่งขึ้นไปของคนที่เลื่อมใสแล้ว
๙.เพื่อความดำรงมั่นแห่งสัทธรรม
๑๐.เพื่อส่งเสริมความเป็นระเบียบเรียบร้อย สนับสนุนวินัยให้หนักแน่น
จากที่กล่าวมาทั้งหมดโดยสรุป เพื่อแสดงให้เห็นรากฐานการเกิดเติบโตของพระวินัย ที่มาจากหลักคุรุธรรม หรือศีล ๕ ของโลกที่มีอยู่เป็นปกติแล้ว โดยเฉพาะในพื้นที่ชมพูทวีป ซึ่งได้ถูกนำมาปฏิรูปให้เป็นไปตามฐานะความเหมาะสม และเพื่อประโยชน์ทั้งของผู้ปฏิบัติและภาคสังคม หรือบุคคลอื่นๆ ที่จะได้รับผลประโยชน์สุขโดยธรรม จากการรักษาศีล บำเพ็ญวัตร ทำตามระเบียบแบบแผนพิธี อย่างสัตบุรุษผู้รู้ทั้งหลายที่ได้ถือปฏิบัติ ทั้งนี้ โดยมีวัตถุประสงค์ แสดงถึงเจตนารมณ์ที่มุ่งเน้นความดีงามและประโยชน์สุข โดยเฉพาะของภาคสังคม ซึ่งนี่เองจึงเป็นจุดเด่นของพระพุทธศาสนา ที่บัญญัติสิกขาบทน้อยใหญ่ไว้อย่างน่าสนใจศึกษา
มีความลุ่มลึก ละเอียด สวยงาม สานสัมพันธ์กันอย่างดียิ่ง โดยเฉพาะความเป็นประโยชน์แห่งการดำรงอยู่ของสงฆ์ ซึ่งบทบาทในส่วนของสงฆ์และสังฆกรรมทั้งหลายจะต้องเป็นไปด้วยดี ทั้งนี้ เพราะสงฆ์จะต้องมีความสามัคคี ไม่แตกแยก ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงย้ำ ความสำคัญของสังฆเภทและสังฆสามัคคี ดังที่ทรงตรัสไว้ว่า สังฆสามัคคีเป็นธรรมเอก ที่เมื่อเกิดมีในโลกก็จะเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของพหูชน หรือดังพระบาลีที่กล่าวว่า “สุขา สังฆัสสะ สามัคคี” แปลว่า ความสามัคคีในหมู่สงฆ์ย่อมนำความสุขมาให้
ดังนั้น เรื่องของศีลในทางสังคมซึ่งจัดอยู่ฝ่ายวินัยนั้น จึงเป็นเรื่องสำคัญ ที่มีเจตนาเพื่อมุ่งจัดความสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมภายนอก เพื่อให้มีสภาวะที่เกื้อกูล เกิดความเจริญงอกงามของชีวิตในส่วนตนและส่วนรวม อันควรได้รับประโยชน์จากความประพฤติแห่งตนตามสิกขาบทนั้นๆ ดังที่กล่าวมาตามเจตนาแห่งศีลในระดับวินัย “ตนก็มีความสุข... กับคนก็มีความสงบเรียบร้อย ดีงาม...” ตามที่ปรากฏในสิกขาบท ๔ ของปาราชิก ที่เริ่มต้นด้วย สิกขาบทที่ ๑ คือ การเสพเมถุน ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องร้ายแรงต่อการประพฤติปฏิบัติ เพื่อทำที่สุดแห่งพรหมจรรย์ หรือเพื่อทำความทุกข์ให้สิ้น ซึ่งหากมองย้อนกลับไปที่หลักคุรุธรรม ซึ่งวางศีลขั้นธรรมไว้ในเบื้องต้น เพื่อการควบคุมความประพฤติ มิให้เป็นโทษกับผู้อื่น ก็จะเห็นความปรากฏเกี่ยวเนื่องจัดสัมพันธ์อยู่ในข้อที่ ๓ กาเมสุมิจฉาจารา...
คือ ให้งดเว้นความเกี่ยวข้องทางกามคุณในบุคคลที่เขาหวงแหนมิได้ยกให้ ซึ่งรวมถึงการกำกับดูแลสิทธิโดยกฎหมาย เช่น การพิทักษ์สิทธิเด็กและเยาวชน ซึ่งในข้อดังกล่าวนี้เป็นการวางกฎระเบียบความสืบเนื่องกับกฎแห่งกรรม หากกระทำการอกุศล ล่วงละเมิดบุคคลที่เจ้าของมิได้ยกให้ หรือบุคคลเหล่านั้นไม่ยินยอม เช่น ลูก ภรรยาของผู้อื่น จึงให้งดเว้นความประพฤติในกามอย่างเด็ดขาด เพื่อความไม่ก่อการอกุศล ทำร้าย หรือเบียดเบียนใคร และเมื่อยกสู่ศีลขั้นวินัยของคฤหัสถ์ ซึ่งประณีตละเอียดยิ่งขึ้นในศีล ๘ และอุโบสถศีล ก็จะพบว่า ในสิกขาบทที่ ๓ นั้น
เป็นการสมาทานสิกขาบท เว้นจากการประพฤติที่มิใช่พรหมจรรย์ ให้ดำรงอยู่อย่างเป็นผู้ประพฤติพรหมจรรย์ ห่างไกลจากกามคุณ เว้นจากการประพฤติของคนที่อยู่กันเป็นคู่ อันเป็นธรรมของชาวบ้าน ซึ่งในองค์ศีลข้อที่ ๓ ในศีล ๘ และอุโบสถศีล จะมุ่งเน้นการปฏิบัติตนแบบพระอริยเจ้า เพื่อสร้างสมบารมี สืบเนื่องการปฏิบัติ ให้น้อมโน้มไปสู่การประพฤติอย่างสมณะในพระพุทธศาสนา ซึ่งมีจุดมุ่งมั่นในเจตนาธรรมอยู่ที่การละวาง คลายออก ไม่เข้าไปเกี่ยวพันเกี่ยวเนื่องในกามคุณทั้งปวง เพื่อยกระดับจิตให้ถึงวิราคะธรรม เพื่อการทำให้รู้แจ้ง อันหมายถึง การดับสิ้นถึงกิเลสาสวะ



ปุจฉา : นมัสการพระอาจารย์อารยะวังโส
โดย....พระอาจารย์อารยะวังโส
ปุจฉา : นมัสการพระอาจารย์อารยะวังโส
ได้อ่านธรรมส่องโลก ในเรื่องที่เกี่ยวกับการบัญญัติวินัย ว่าด้วยเรื่องการลักทรัพย์ ถึงขั้นปาราชิก คือขาดจากความเป็นพระสงฆ์ และท่านอาจารย์เทียบเคียงให้เห็นคุณประโยชน์ของการบัญญัติวินัยหรือศีลไว้ อย่างแข็งแรงของพระพุทธศาสนา โดยเฉพาะการไม่ปล่อยให้พระสงฆ์ประพฤติออกนอกกรอบความเป็นสาวกของพระผู้มีพระ ภาคเจ้า อ่านแล้วได้สาระความรู้อย่างยิ่งในสิกขาบทที่ ๒ จากจำนวน ๔ สิกขาบทของโทษปาราชิก
จึงใคร่ขอให้ท่านอาจารย์แสดงความสำคัญในเนื้อหาสาระอีก ๓ สิกขาบท ว่ามีความสัมพันธ์กันอย่างไร มีสาระที่จะนำมาใช้ประโยชน์กับการบริหารประเทศอย่างไรบ้าง หากไม่เป็นการรบกวน ขอพระอาจารย์ช่วยเขียนตอบให้ด้วย ผ่านคอลัมน์ธรรมส่องโลก เพื่อการศึกษาของชาวพุทธที่ควรรู้
นมัสการด้วยความเคารพยิ่ง
ศรัทธาธรรมส่องโลก
“ความเป็นคนบำรุงยาก ความเป็นคนมักมาก ความเป็นคนไม่สันโดษ ความคลุกคลี ความเกียจคร้าน และตรัสคุณแห่งความเป็นคนเลี้ยงง่าย ความเป็นคนบำรุงง่าย ความเป็นคนมักน้อย ความเป็นคนสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการที่น่าเลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภความเพียร ทรงแสดงธรรมที่สมควรแก่เรื่องนั้น แก่ภิกษุทั้งหลาย และรับสั่งแสดงเหตุผลแห่งการที่ทรงบัญญัติสิกขาบท แก่ภิกษุทั้งหลาย”
วิสัชนา : เรื่องดังกล่าว จึงเป็นเรื่องสำคัญที่สุดของศีลในระดับวินัย โดยเฉพาะของพระสงฆ์ ดังจากการปรากฏในบัญญัติปาราชิกของสิกขาบทที่ ๑ ซึ่งทรงบัญญัติชัดแจ้งว่า “หากภิกษุใดเสพเมถุนธรรม เป็นปาราชิก หาสังวาสมิได้”
ต้นบัญญัติของปฐมสิกขาบทปาราชิก ก็มาจากกรณีพระสุทินน์กลันทบุตร ชาวราชคฤห์ ได้เสพเมถุนธรรมกับภรรยาเก่า แม้ขณะนั้นยังมิได้ทรงบัญญัติในโทษดังกล่าว และพระสุทินน์ก็ยังมีความเห็นว่า ไม่มีโทษ แต่ด้วยอานุภาพแห่งความเป็นพรหมจรรย์ของพระธรรมวินัยอันบริสุทธิ์ จึงทำให้เกิดผลกรรมฟากอกุศล ส่งผลให้เกิดความรำคาญใจ ความเดือดร้อนใจ บาลีเรียกว่า วิปฏิสาร จนทำให้พระสุทินน์กลันทบุตร มีร่างกายซูบผอม เศร้าหมอง ผิวพรรณเลวทราม ซึ่งต่อมาความทราบถึงพระผู้มีพระภาคเจ้า
จึงได้ทรงประชุมสงฆ์ และติเตียนการกระทำของพระสุทินน์ ที่ได้เสพเมถุนธรรมในปุราณทุติยิกา (ภรรยาเก่า) ถึง ๓ ครั้ง เพื่อหวังให้ลูกกับนาง จนสำเร็จความประสงค์ นางได้ตั้งครรภ์เพราะความประพฤติดังกล่าว...ซึ่งพระพุทธองค์ ทรงติเตียนว่า “เป็นการกระทำอันเป็นโทษ ได้ชื่อว่า ต้องอสัทธรรม เป็นเรื่องของชาวบ้าน เป็นมารยาทของคนชั้นต่ำ อันชั่วหยาบ มีน้ำที่สุด...และการกระทำนั้น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของบุคคลที่เลื่อมใสแล้ว...”
ก่อนจะบัญญัติสิกขาบทที่ ๑ ในโทษปาราชิกดังกล่าว ได้ตรัสโทษแห่งความเป็นคนเลี้ยงยาก ความเป็นคนบำรุงยาก ความเป็นคนมักมาก ความเป็นคนไม่สันโดษ ความคลุกคลี ความเกียจคร้าน และตรัสคุณแห่งความเป็นคนเลี้ยงง่าย ความเป็นคนบำรุงง่าย ความเป็นคนมักน้อย ความเป็นคนสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการที่น่าเลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภความเพียร ทรงแสดงธรรมที่สมควรแก่เรื่องนั้น แก่ภิกษุทั้งหลาย และรับสั่งแสดงเหตุผลแห่งการที่ทรงบัญญัติสิกขาบท แก่ภิกษุทั้งหลาย
โดยอาศัยอำนาจประโยชน์ ๑๐ ประการ จึงทรงปฐมบัญญัติในเรื่องดังกล่าวขึ้น และต่อมาเมื่อมีผู้ประพฤติผิดในลักษณะทำนองดังกล่าว เกี่ยวกับการเสพเมถุนธรรม แม้จะเปลี่ยนวัตถุไป จากผู้หญิงไปเป็นสัตว์เดรัจฉาน ก็ยังทรงจัดเข้าเป็นความผิดฐานเดียวกันในปาราชิกของสิกขาบทที่ ๑ ซึ่งทรงบัญญัติว่า “อนึ่ง ในภิกษุใดเสพเมถุน โดยที่สุดแม้กับสัตว์ดิรัจฉานตัวเมีย ก็ให้ภิกษุนั้นเป็นปาราชิก หาสังวาสมิได้เช่นเดียวกัน...” และเพิ่มเติมเป็นอนุบัญญัติที่ ๒ เมื่อกรณีพระภิกษุไม่บอกคืนสิกขา ไม่ทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง แล้วเสพเมถุนธรรม โดยที่สุด
แม้ในสัตว์ดิรัจฉานตัวเมีย ก็ให้เป็นโทษปาราชิก หาสังวาสมิได้ เป็นอาบัติร้ายแรงที่สุดในพระพุทธศาสนา ซึ่งการเสพเมถุนธรรมในมรรคทั้ง ๓ คือ วัจจมรรค ปัสสาวมรรค และมุขมรรค เป็นเรื่องของชาวบ้านผู้ครองเรือน ไม่ควรแปดเปื้อนในพระพุทธศาสนา ในฐานะของผู้ประพฤติพรหมจรรย์อย่างพระภิกษุสงฆ์ จึงทรงบัญญัติบทลงโทษไว้ขั้นสูงสุด
เพื่อจัดระบบองค์กรสงฆ์ให้เข้มแข็ง มีระเบียบแบบแผนที่ชัดเจน ไม่คลุมเครือ ซึ่งนี้คือความโดดเด่นของพระพุทธศาสนาที่น่าเลื่อมใสยิ่ง เพราะจะต้องมีความอดทน อดกลั้น อันเป็นตบะหรือเครื่องเผากิเลสอย่างยิ่ง ซึ่งตรงกับหัวข้อธรรมประโยคแรกในพระโอวาทปาฏิโมกข์ ที่ทรงกล่าวว่า “ขันติ ปรมัง ตโป ตีติกขา...”

ปุจฉา : นมัสการพระอาจารย์อารยะวังโส
โดย...พระอาจารย์อารยะวังโส
ปุจฉา : นมัสการพระอาจารย์อารยะวังโส
ได้อ่านธรรมส่องโลก ในเรื่องที่เกี่ยวกับการบัญญัติวินัย ว่าด้วยเรื่องการลักทรัพย์ ถึงขั้นปาราชิก คือขาดจากความเป็นพระสงฆ์ และท่านอาจารย์เทียบเคียงให้เห็นคุณประโยชน์ ของการบัญญัติวินัยหรือศีลไว้อย่างแข็งแรงของพระพุทธศาสนา โดยเฉพาะการไม่ปล่อยให้พระสงฆ์ประพฤติออกนอกกรอบความเป็นสาวกของพระผู้มีพระ ภาคเจ้า อ่านแล้วได้สาระความรู้อย่างยิ่งในสิกขาบทที่ ๒ จากจำนวน ๔ สิกขาบทของโทษปาราชิก
จึงใคร่ขอให้ท่านอาจารย์แสดงความสำคัญในเนื้อหาสาระอีก ๓ สิกขาบท ว่ามีความสัมพันธ์กันอย่างไร มีสาระที่จะนำมาใช้ประโยชน์กับการบริหารประเทศอย่างไรบ้าง หากไม่เป็นการรบกวน ขอพระอาจารย์ช่วยเขียนตอบให้ด้วย ผ่านคอลัมน์ธรรมส่องโลก เพื่อการศึกษาของชาวพุทธที่ควรรู้
นมัสการด้วยความเคารพยิ่ง
ศรัทธาธรรมส่องโลก
“ภิกษุใดจงใจพรากกายมนุษย์จากชีวิต หรือแสวงหาศัสตรา อันจะปลิดชีวิตให้แก่กายมนุษย์นั้น หรือพรรณนาคุณแห่งความตาย หรือชักชวนเพื่อให้ตาย... ดังนี้ เธอมีจิตใจอย่างนี้ มีความหมายหลายอย่าง อย่างนี้ พรรณนาคุณในความตายก็ดี ชักชวนเพื่ออันตายก็ดี โดยหลายนัย แม้ภิกษุนั้นก็เป็นปาราชิก หาสังวาสมิได้”
วิสัชนา : โดยความอดทน ในความหมายของ “ตีติกขาขันติ” นี้ เป็นความงามเลิศของพระสงฆ์ เพราะเป็นความหมายของความอดทนอดกลั้นต่อความยั่วยวน เย้าใจ กับสภาพแห่งอารมณ์ที่เร้าใจให้ถูกใจ (อิษฐารมณ์) หรือไม่ถูกใจ (อนิษฐารมณ์) หรือความชอบ ความไม่ชอบ ที่เกิดจากอารมณ์ที่ถูกใจ ไม่ถูกใจ ซึ่งขันติประเภทนี้ต้องใช้กำลังการอดทนสูงมาก เพราะเป็นสภาพการณ์ที่เกิดขึ้นทางจิตใจ การใช้มโนธรรมขั้นนี้สูงมาก ในฐานะของผู้มีอุดมการณ์ขั้นสูง ที่ต้องการประพฤติพรหมจรรย์เพื่อให้ถึงความสิ้นทุกข์ ดังเช่น พระภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
การควบคุมการประพฤติการปฏิบัติในเรื่องดังกล่าว จึงเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุดสำหรับพระพุทธศาสนา จึงทรงบัญญัติปรับโทษหนักที่สุด ซึ่งภิกษุต้องเข้าแล้ว ต้องขาดจากความเป็นภิกษุ
แม้ในสิกขาบทที่ ๓ ของปาราชิก ก็เช่นเดียวกัน ซึ่งว่าด้วยการฆ่ามนุษย์ หรือการพรากกายมนุษย์จากชีวิต ก็เป็นโทษปาราชิก จากความเดิมก่อนเกิดปฐมบัญญัติขึ้น พระภิกษุได้ฟังพระธรรมเทศนา ซึ่งพระผู้มีพระภาคทรงพรรณนาคุณแห่งอสุภกรรมฐาน สรรเสริญคุณแห่งการเจริญอสุภกรรมฐาน เมื่อภิกษุทั้งหลายพากันเจริญอสุภกรรมฐานแล้ว ก็ให้อึดอัดระอา เกลียดชังร่างกายของตน สมัยนั้นพระผู้มีพระภาคได้ทรงหลีกเร้นอยู่ในที่สงัดโดยลำพังตลอดกึ่งเดือน ภิกษุเหล่านั้นได้เข้าถึงอารมณ์แห่งความเบื่อหน่ายในธาตุขันธ์
จึงได้ปลงชีวิตตนเองบ้าง วานกันและกันปลงชีวิตบ้าง ตลอดจนว่าจ้างให้ผู้อื่นช่วยปลงชีวิตบ้าง จนภิกษุได้ล้มตายกันไปเยอะ ต่อมาครบกึ่งเดือน พระพุทธองค์ทรงเสด็จออกจากที่หลีกเร้น และทราบความดังกล่าวจากพระอานนท์ จึงทรงสั่งให้ประชุมสงฆ์ในนครเวสาลี แล้วทรงแสดงอานาปานสติกรรมฐาน สรรเสริญคุณของอานาปานสติ หลังจากปรับสภาพจิตใจของภิกษุให้สมบูรณ์ด้วยธรรมปฏิบัติดังกล่าวแล้ว จึงได้ทรงสอบถามความจริงในเรื่องดังกล่าวจากภิกษุ ซึ่งกราบทูลเล่าเรื่องตามความเป็นจริงทุกประการ
พระพุทธองค์ทรงติเตียนเป็นอันมาก แล้วมีพระบัญญัติว่า “ภิกษุใด จงใจพรากกายมนุษย์จากชีวิต เป็นปาราชิก”
และมีพระอนุบัญญัติเกิดขึ้น จากกรณีพระฉัพพัคคีย์ ซึ่งมีจิตปฏิพัทธ์ในภรรยาของอุบาสกผู้เป็นไข้คนหนึ่ง จึงมีเจตนาแสร้งพรรณนาคุณแห่งความตายแก่อุบาสกนั้น เพื่อโน้มน้าวให้อุบาสกเข้าใจผิด สำคัญว่าตายเสียดีกว่าอยู่ ตายจากโลกนี้แล้วจักเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ซึ่งอุบาสกก็ได้เห็นจริงตามนั้น จึงได้รับประทานโภชนะที่แสลง จนเกิดป่วยหนักถึงแก่ความตาย ต่อมาภรรยาของอุบาสกดังกล่าวได้เพ่งโทษว่า พระสมณะนี้ไม่ละอาย พูดเท็จ ปราศจากความเป็นสมณะ พรรณนาคุณแห่งความตายแก่สามีของเรา สามีเราถูกสมณะนี้ทำให้ตาย
เรื่องดังกล่าวได้ถูกแพร่กระจายไปยังคนกลุ่มอื่นๆ และได้เพ่งโทษติเตียน จนความทราบถึงพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงได้ทรงมีพระอนุบัญญัติในข้อสิกขาบทดังกล่าวว่า
“อนึ่ง ภิกษุใดจงใจพรากกายมนุษย์จากชีวิต หรือแสวงหาศัสตรา อันจะปลิดชีวิตให้แก่กายมนุษย์นั้น หรือพรรณนาคุณแห่งความตาย หรือชักชวนเพื่อให้ตาย... ดังนี้ เธอมีจิตใจอย่างนี้ มีความหมายหลายอย่าง อย่างนี้ พรรณนาคุณในความตายก็ดี ชักชวนเพื่ออันตายก็ดี โดยหลายนัย แม้ภิกษุนั้นก็เป็นปาราชิก หาสังวาสมิได้”
จากสิกขาบทที่ ๓ ในปาราชิกตามที่กล่าวมา จะเห็นได้ว่า มาจากพื้นฐานของคุรุธรรม หรือศีล ๕ เรื่องห้ามฆ่าสัตว์ตัดชีวิตในข้อที่ ๑ แต่ประณีตและละเอียดตรงที่มุ่งไปสู่ “การห้ามการฆ่ามนุษย์” เป็นวัตถุหลัก เพื่อเป็นการป้องกันสังคม เพื่อให้ดำรงสืบเนื่องไปอย่างปกติ หรือไม่ทำให้สังคมของมวลมนุษย์เกิดความพินาศ ในสิกขาบทข้อนี้ จึงมุ่งเน้นรักษาและปกป้องให้มนุษย์ดำรงวิถีชีวิตไปอย่างมีความปกติ โดยการจัดให้มีวินัยหรือศีลขึ้นมาควบคุมดูแลในเรื่องดังกล่าว




ปุจฉา : นมัสการพระอาจารย์อารยะวังโส
โดย...พระอาจารย์อารยะวังโส
ปุจฉา : นมัสการพระอาจารย์อารยะวังโส
ได้อ่านธรรมส่องโลก ในเรื่องที่เกี่ยวกับการบัญญัติวินัยว่าด้วยเรื่องการลักทรัพย์ถึงขั้น ปาราชิก คือ ขาดจากความเป็นพระสงฆ์ และท่านอาจารย์เทียบเคียงให้เห็นคุณประโยชน์ของการบัญญัติวินัยหรือศีลไว้ อย่างแข็งแรงของพระพุทธศาสนา โดยเฉพาะการไม่ปล่อยให้พระสงฆ์ประพฤติออกนอกกรอบความเป็นสาวกของพระผู้มีพระ ภาคเจ้า อ่านแล้วได้สาระความรู้อย่างยิ่งในสิกขาบทที่ ๒ จากจำนวน ๔ สิกขาบทของโทษปาราชิก
จึงใคร่ขอให้ท่านอาจารย์แสดงความสำคัญในเนื้อหาสาระอีก ๓ สิกขาบท ว่ามีความสัมพันธ์กันอย่างไร มีสาระที่จะนำมาใช้ประโยชน์กับการบริหารประเทศอย่างไรบ้าง หากไม่เป็นการรบกวน ขอพระอาจารย์ช่วยเขียนตอบให้ด้วยผ่านคอลัมน์ธรรมส่องโลก เพื่อการศึกษาของชาวพุทธที่ควรรู้
นมัสการด้วยความเคารพยิ่ง
ศรัทธาธรรมส่องโลก
วิสัชนา : เพื่อปกป้องสังคมอย่างเต็มที่ พิจารณาลดหลั่นโทษลงไป ในกรณีพรากกายจากชีวิตอันเป็นไปตามหลักเจตนาเป็นเครื่องบ่งชี้ รวมถึงการประเมินสิ่งแวดล้อมทั้งหลายเข้าประกอบด้วย เพื่อพิจารณาน้ำหนักของการกระทำ ซึ่งนำไปสู่การทำมนุษย์ให้ตาย
หากเรามองย้อนกลับไปดูความจริงในสมัยพุทธกาล ก็จะพบว่ามีหลายลัทธิที่สามารถกระทำการฆ่ามนุษย์ บูชายัญตามความเชื่อของพราหมณ์ได้ การเสพเมถุนในหมู่นักบวชบางลัทธิ การขโมยของหรือการลักทรัพย์ตามการสอนของครูอชิตเกสกัมพล ซึ่งเป็นหนึ่งในหกครูที่มีชื่อเสียงมากในขณะนั้น มีพฤติกรรมดังกล่าวกันมาก อันกลายเป็นเรื่องที่น่ารังเกียจของชาวเมืองที่มีความรู้ความเข้าใจในหลัก ศีลธรรมเบื้องต้น ซึ่งได้กล่าวโทษ เพ่งติเตียนในเรื่องดังกล่าวที่น่ารังเกียจกันมาก
พระพุทธศาสนาได้พิจารณาเห็นความสำคัญในเรื่องดังกล่าว เพื่อต้องการปกป้องพหูชน จึงได้บัญญัติโทษแด่ภิกษุที่ละเมิดปฏิบัติถึงขั้นปาราชิก คือ ให้ขาดจากความเป็นภิกษุทันที เพื่อการจำแนกแจกแจงให้เห็นความต่างฐานะ และต่างการกระทำระหว่างภิกษุกับผู้ครองเรือน ว่ามีความประณีต ละเอียดต่างกัน ดังที่ปรากฏในพระโอวาทปาฏิโมกข์ที่กล่าวไว้ในอุดมการณ์ ๔ ว่า
“...น หิ ปพฺพชิโต ปรูปฆาตี สมโณ โหติ ปรํ วิเหฐยนฺโต...”
แปลว่า ผู้เข้าไปฆ่าผู้อื่น ไม่ชื่อว่าเป็นบรรพชิต ผู้เข้าไปเบียดเบียนผู้อื่น ไม่ชื่อว่าเป็นสมณะเลย...”
ดังนั้น ความตามบัญญัติในปาราชิก ซึ่งมีสิกขาบท ๔ จึงมีความชัดเจนยิ่งต่อการแสดงเจตนาสอดรับกับพระโอวาทปาฏิโมกข์ และสอดคล้องกับหลักคุรุธรรมของโลกที่ปรากฏอยู่ในศีล ๕ เพียงแต่ความประณีตนั้นถูกขยายความละเอียดจนต่างกันตามความมุ่งหมายของฐานะ
อันบ่งชี้ถึงจุดมุ่งหมาย ด้วยความต่างระดับของศีล จึงทำให้อาจจะมองได้ว่า ระหว่างผู้ออกบวชกับผู้ครองเรือนเป็นคนละเรื่องกันก็ว่าได้ แต่หากพิจารณาให้ละเอียดก็มาจากเรื่องเดียวกันอย่างแท้จริง เพียงแต่ต่างระดับความประณีตลุ่มลึก ซึ่งศีล ๕ หรือคุรุธรรม จัดวางรูปแบบให้เห็นความจริงของศีลขั้นธรรม อันอาศัยอ้างอิงกฎแห่งกรรมเป็นที่ศึกษา แต่ในขณะที่ศีลขั้นวินัยนั้น เราสามารถเห็นปัจจัยสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นจากการกระทำของบุคคลกับสภาพสิ่งแวด ล้อมในสังคมนั้นๆ ซึ่งส่งผลต่อสังคมมาก.


ที่มา โพสต์ทูเดย์
โพสต์ทูเดย์ ธรรมส่องโลก


.
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: คุณค่าแห่งพระวินัยที่ชาวพุทธควรเข้าใจ
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: ธันวาคม 19, 2010, 07:19:10 am »
คุณค่าแห่งพระวินัย...ที่ชาวพุทธควรเข้าใจ(ตอน ๑๐)


คุณค่าแห่งพระวินัย...ที่ชาวพุทธควรเข้าใจ (ตอน ๑๑)


คุณค่าแห่งพระวินัย...ที่ชาวพุทธควรเข้าใจ (ตอน๑๒)


คุณค่าแห่งพระวินัย...ที่ชาวพุทธควรเข้าใจ (ตอน ๑๓)


คุณค่าแห่งพระวินัย...ที่ชาวพุทธควรเข้าใจ (จบ)

ปุจฉา นมัสการพระอาจารย์อารยะวังโส
โดย...พระอาจารย์อารยะวังโส
ปุจฉา นมัสการพระอาจารย์อารยะวังโส
ได้อ่านธรรมส่องโลกในเรื่องที่เกี่ยวกับการบัญญัติวินัย ว่าด้วยเรื่องการลักทรัพย์ถึงขั้นปาราชิก คือขาดจากความเป็นพระสงฆ์ และท่านอาจารย์เทียบเคียงให้เห็นคุณประโยชน์ของการบัญญัติวินัยหรือศีลไว้ อย่างแข็งแรงของพระพุทธศาสนา โดยเฉพาะการไม่ปล่อยให้พระสงฆ์ประพฤติออกนอกกรอบความเป็นสาวกของพระผู้มีพระ ภาคเจ้า อ่านแล้วได้สาระความรู้อย่างยิ่งในสิกขาบทที่ ๒ จากจำนวน ๔ สิกขาบทของโทษปาราชิก
จึงใคร่ขอให้ท่านอาจารย์แสดงความสำคัญในเนื้อหาสาระอีก ๓ สิกขาบท ว่ามีความสัมพันธ์กันอย่างไร มีสาระที่จะนำมาใช้ประโยชน์กับการบริหารประเทศอย่างไรบ้าง หากไม่เป็นการรบกวน ขอพระอาจารย์ช่วยเขียนตอบให้ด้วย ผ่านคอลัมน์ธรรมส่องโลก เพื่อการศึกษาของชาวพุทธที่ควรรู้
นมัสการด้วยความเคารพยิ่ง
ศรัทธาธรรมส่องโลก
“การกล่าวโอ้อวดสำนัก โอ้อวดครูบาอาจารย์ว่าเก่ง ว่ามีธรรมยิ่งยวดของมนุษย์ หรืออวดอุตริมนุสสธรรมนั้น เป็นเรื่องมีกันมากในอินเดีย หรือชมพูทวีปในยุคนั้น แม้ถึงปัจจุบันนี้ก็ยังเป็นอยู่อย่างนี้ ปัจจุบันจะพบกันมากในบ้านเรา ซึ่งก็เช่นเดียวกันกับในชมพูทวีป เราจะพบเห็นการโปรโมตพระอาจารย์ เกจิอาจารย์ทั้งหลายกันอย่างน่ากลัว โดยการใช้สื่อทุกรูปแบบเป็นเครื่องมือ ดังเช่น มีการออกหนังสือ เล่าเรื่องราวปาฏิหาริย์ต่างๆ กันมากมาย มีการชักชวนกันไปหาอาจารย์องค์นั้น องค์นี้ เพราะมีความเก่งด้านนั้น ด้านนี้ ก็มีเยอะ เรียกว่า เริ่มเข้าสู่ยุคอาจารวาท”
วิสัชนา : ดังนั้น จุดมุ่งหมายของศีลขั้นวินัยจึงประสงค์ให้มีการควบคุมลงลึกไปในรายละเอียดของ องค์ประกอบ ซึ่งเป็นเงื่อนไขทางสังคม จึงต้องสัมพันธ์เชิงเกื้อกูลต่อกัน ดังการจัดรูปพระวินัยในพระพุทธศาสนา เช่นที่ปรากฏในสิกขาบทที่ ๔ ในบทปาราชิก ที่ทรงบัญญัติว่า ...การกล่าวอวดอุตริมนุสสธรรมอันไม่มีอยู่จริง ในภิกษุผู้แสดงเจตนาการกล่าวอวดนั้นเป็นปาราชิก... และทรงมีพระอนุบัญญัติเพิ่มเติมในปาราชิกสิกขาบทที่ ๔ นี้อีกว่า “อนึ่ง ภิกษุใดไม่รู้เฉพาะกล่าวอวดอุตริมนุสสธรรม อันเป็นความรู้ความเห็นอย่างประเสริฐ อย่างสามารถน้อมเข้ามาในตัวเองว่า ข้าพเจ้ารู้อย่างนี้ ข้าพเจ้าเห็นอย่างนี้ ครั้นสมัยหนึ่งแต่นั้น ผู้ใดผู้หนึ่งถือเอาตามก็ตาม ไม่ถือเอาตามก็ตาม เป็นอันต้องอาบัติแล้ว เพื่อมุ่งความหมดจดจะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า แนะท่าน ข้าพเจ้าไม่รู้อย่างนั้น ได้กล่าวว่ารู้ ข้าพเจ้าไม่เห็นอย่างนั้น ได้กล่าวว่าเห็น ได้พูดพล่อยๆ เป็นเท็จเปล่าๆ เว้นไว้แต่สำคัญว่า ได้บรรลุ แม้ภิกษุนี้ก็เป็นปาราชิก หาสังวาสมิได้...”
ก่อนอื่นต้องยอมรับว่า การกล่าวโอ้อวดสำนัก โอ้อวดครูบาอาจารย์ว่าเก่ง ว่ามีธรรมยิ่งยวดของมนุษย์ หรืออวดอุตริมนุสสธรรมนั้น เป็นเรื่องมีกันมากในอินเดียหรือชมพูทวีปในยุคนั้น แม้ถึงปัจจุบันนี้ก็ยังเป็นอยู่อย่างนี้ ปัจจุบันจะพบกันมากในบ้านเรา ซึ่งก็เช่นเดียวกันกับในชมพูทวีป เราจะพบเห็นการโปรโมตพระอาจารย์ เกจิอาจารย์ทั้งหลายกันอย่างน่ากลัว โดยการใช้สื่อทุกรูปแบบเป็นเครื่องมือ ดังเช่นมีการออกหนังสือ เล่าเรื่องราวปาฏิหาริย์ต่างๆ กันมากมาย มีการชักชวนกันไปหาอาจารย์องค์นั้น องค์นี้ เพราะมีความเก่งด้านนั้น ด้านนี้ ก็มีเยอะ เรียกว่า เริ่มเข้าสู่ยุคอาจารวาท หรือมีอาจารย์เป็นสำคัญ ซึ่งเป็นการเข้าสู่ยุคปิดทับพุทธศาสน์ ปิดปังพระรัตนตรัย ดังเช่นในปลายสมัยก่อนล่มสลายของศาสนาพุทธในอินเดียก็ว่าได้
ดังนั้น เราจึงเห็นการจัดวางโทษสูงสุดไว้เพียง ๔ ข้อ ต่อการควบคุมอย่างเข้มแข็งและเป็นไปตามหลักคุรุธรรมอย่างชัดเจน ซึ่งในสิกขาบททั้ง ๔ ในปาราชิก โดยเฉพาะในสิกขาบทข้อที่ ๔ นับว่ามีความโดดเด่น เป็นความสวยงามของพระพุทธศาสนา ที่ทรงบัญญัติให้เห็นวินัยสำหรับพระภิกษุสงฆ์ อันแสดงเจตนารมณ์ที่มุ่งเพื่อประโยชน์ของส่วนรวม โดยให้ความสำคัญของสงฆ์มากกว่าบุคคล จึงมีพุทธบัญญัติมิให้ภิกษุอวด “อุตริมนุสสธรรม” อันได้แก่ การบรรลุธรรมอย่างสูงที่เกินปกติของมนุษย์สามัญ เช่น ฌานสมาบัติ มรรคผล ซึ่งถ้าอวดโดยที่ตนไม่มีคุณวิเศษนั้นจริง ก็เข้าข่ายหลอกลวง... ย่อมต้องอาบัติปาราชิก ขาดจากความเป็นพระภิกษุ และถึงแม้จะมีคุณวิเศษอยู่จริง หากนำไปพูดอวดหรือบอกกล่าวชาวบ้านก็ยังมีโทษ เพียงแต่เบาบางลงเป็น อาบัติปาจิตตีย์



ปุจฉา : นมัสการพระอาจารย์อารยะวังโส
โดย...พระอาจารย์อารยะวังโส
ปุจฉา : นมัสการพระอาจารย์อารยะวังโส
ได้อ่านธรรมส่องโลก ในเรื่องที่เกี่ยวกับการบัญญัติวินัยว่าด้วยเรื่องการลักทรัพย์ ถึงขั้นปาราชิก คือ ขาดจากความเป็นพระสงฆ์ และท่านอาจารย์เทียบเคียงให้เห็นคุณประโยชน์ของการบัญญัติวินัยหรือศีลไว้ อย่างแข็งแรงของพระพุทธศาสนา โดยเฉพาะการไม่ปล่อยให้พระสงฆ์ประพฤติออกนอกกรอบความเป็นสาวกของพระผู้มีพระ ภาคเจ้า อ่านแล้วได้สาระความรู้อย่างยิ่งในสิกขาบทที่ ๒ จากจำนวน ๔ สิกขาบทของโทษปาราชิก
จึงใคร่ขอให้ท่านอาจารย์แสดงความสำคัญในเนื้อหาสาระอีก ๓ สิกขาบท ว่ามีความสัมพันธ์กันอย่างไร มีสาระที่จะนำมาใช้ประโยชน์กับการบริหารประเทศอย่างไรบ้าง หากไม่เป็นการรบกวน ขอพระอาจารย์ช่วยเขียนตอบให้ด้วย ผ่านคอลัมน์ธรรมส่องโลก เพื่อการศึกษาของชาวพุทธที่ควรรู้
นมัสการด้วยความเคารพยิ่ง
ศรัทธาธรรมส่องโลก
วิสัชนา : จากต้นเหตุของพุทธบัญญัตินี้ เกิดจากในคราวทุพภิกขภัย ภิกษุพวกหนึ่ง อาศัยอยู่ฝั่งแม่น้ำวัดคุมุทา ในเขตวัชชีชนบท คิดหาอุบายจะให้พวกตนมีอาหารฉันโดยไม่ลำบาก จึงกล่าวสรรเสริญกันและกันให้ชาวบ้านฟังตามที่เป็นจริงบ้าง ไม่จริงบ้าง ว่าท่านรูปนั้นได้ฌาน ท่านรูปนั้นเป็นโสดาบัน ท่านรูปนั้นเป็นพระอรหันต์ ฯลฯ ชาวบ้านจึงเลื่อมใสพากันบำรุงเลี้ยงภิกษุกลุ่มนั้นอย่างสมบูรณ์ เมื่อพระพุทธเจ้าทรงทราบจึงทรงพุทธบัญญัติสิกขาบทขึ้นห้าม โดยทรงติเตียนว่าไม่สมควรที่จะอวดอ้างคุณความดีพิเศษ เพราะเห็นแก่ความต้องการขบฉัน หรือหวังลาภปัจจัย ดุจดังมหาโจรที่เลวร้ายที่สุดในโลก เพราะบริโภคอาหารของชาวบ้านดุจขโมย เปรียบเทียบดุจมหาโจร ๕ จำพวก
จำพวกที่ ๑ นั้น มหาโจรบางคนในโลกนี้ ย่อมปรารถนาให้บุรุษร้อยหนึ่ง พันหนึ่ง แวดล้อมแล้วเที่ยวเบียดเบียน คามนิคม ราชธานี ดังภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ที่เลวทราม “ย่อมปรารถนาว่า เมื่อไรหนอ เราจักมีภิกษุ ร้อยหนึ่ง พันหนึ่ง แวดล้อม เที่ยวจาริกไปให้คฤหัสถ์และบรรพชิต สักการะ เคารพบูชา ถวายปัจจัย มีประการต่างๆ”
จำพวกที่ ๒ ภิกษุผู้เลวทรามบางพวกในธรรมวินัยนี้ เล่าเรียนธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว “ย่อมยกตนขึ้นว่า ตนเองรู้ ไม่มีศาสดาสอน” นี่เป็นมหาโจรพวกที่ ๒
จำพวกที่ ๓ ภิกษุผู้เลวทรามบางพวกในธรรมวินัยนี้ “ย่อมตามกำจัดเพื่อนพรหมจารี ผู้หมดจด” ผู้ประพฤติพรหมจรรย์อันบริสุทธิ์อยู่ ด้วยธรรมอันเป็นข้าศึกแก่พรหมจรรย์อันหามูลมิได้ นี่เป็นมหาโจรพวกที่ ๓
จำพวกที่ ๔ ภิกษุผู้เลวทรามบางพวกในธรรมวินัยนี้ “ย่อมสงเคราะห์เกลี้ยกล่อมคฤหัสถ์ทั้งหลาย ด้วยครุภัณฑ์ ครุบริขารของสงฆ์...” นี่เป็นมหาโจรพวกที่ ๔
จำพวกที่ ๕ ภิกษุผู้อวดอุตริมนุสสธรรม อันไม่มีอยู่จริง อันไม่เป็นจริง นี้ “จัดเป็นยอดมหาโจร ในโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดา และมนุษย์นั้น” ข้อนั้น เพราะเหตุอะไร “เพราะภิกษุนั้น ฉันก้อนข้าวของชาวแว่นแคว้น ด้วยอาการแห่งคนขโมย”
นอกจากนั้น ในประมวลเรื่องราวเกี่ยวกับการห้ามอวดอุตริมนุสสธรรม เช่น ในเชิงอิทธิปาฏิหาริย์ทั้งหลาย ก็ทรงติเตียน และมีพุทธบัญญัติให้มีสิกขาบท ที่ห้ามมิให้ภิกษุแสดงอิทธิปาฏิหาริย์แก่ชาวบ้าน ภิกษุใดแสดง ภิกษุนั้นมีความผิด หรือมีอาบัติต้องทุกกฎ
จากสิกขาบทบัญญัติตามที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่า ศาสนจักรนั้น พระพุทธเจ้าทรงยกพระธรรมวินัยเป็นใหญ่ และให้ความสำคัญกับพระสงฆ์มากกว่าตัวบุคคล เพื่อหวังความพร้อมเพรียงของสงฆ์ จะได้เป็นประโยชน์เกื้อกูลต่อมหาชนและอนุเคราะห์โลก ซึ่งองค์คุณแห่งพระธรรมวินัยนั้น จะต้องสืบทอดด้วยคณะสงฆ์ ดังนั้นการกระทำการใดๆ ที่ไม่เป็นไปเพื่อประโยชน์แห่งสงฆ์ และไม่ทำให้เกิดความบริสุทธิ์ในพระพุทธศาสนา อีกทั้งไม่เป็นไปเพื่อประโยชน์ต่อส่วนรวม พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรงสนับสนุน แต่ในทางกลับกัน ยังได้ทรงกล่าวติเตียน พร้อมทั้งทรงพุทธบัญญัติวางพระวินัยไว้ เพื่อควบคุมดูแลกิจการของคณะสงฆ์ ให้เป็นไปตามระเบียบแบบแผนในพระธรรมวินัย ที่พระองค์ตรัสแสดงไว้ดีแล้ว เพื่อทรงอนุเคราะห์แก่ชนหมู่มาก
นอกจากจะทรงบัญญัติปาราชิกทั้ง ๔ สิกขาบทไว้เป็นโทษอาบัติขั้นสูงสุดแล้ว ก็ยังได้ทรงบัญญัติสิกขาบทน้อยใหญ่ไว้อีกหลายหมวด เช่น สังฆาทิเสส ๑๓ สิกขาบท อนิยต ๒ สิกขาบท นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐ สิกขาบท ปาจิตตีย์ ๙๒ สิกขาบท ปาฏิเทสนียะ ๔ สิกขาบท เสขิยะ ๗๕ สิกขาบท และอธิกรณสมถะอีก ๗ สิกขาบท
โดยในสิกขาบทน้อยใหญ่ ก็จะแยกย่อยไปตามลักษณะของแต่ละเรื่อง ที่แตกกระจายมาจากปาราชิก ๔ สิกขาบท โดยมีเงื่อนไขอันเป็นเหตุให้เกิดการปรับโทษอาบัติหนักเบา ไล่เรียงกันไปตามน้ำหนักของเรื่อง ซึ่งหากพิจารณาให้ชัดเจนก็คงสามารถจัดแยกออกเป็นส่วนๆ เพื่อแสดงให้เห็นถึงลักษณะของแต่ละสิกขาบท ซึ่งสามารถจัดให้สัมพันธ์สอดคล้องเข้ากับจตุราปาริสุทธิศีลได้ โดยมีจุดมุ่งหมายของพระวินัยเป็นไปในทิศทางเดียวกัน โดยอาศัยประโยชน์ ๑๐ ประการ จึงทรงบัญญัติสิกขาบทแก่ภิกษุทั้งหลาย และได้ทรงแสดงอานิสงส์ที่บุคคลผู้ทรงวินัย



ปุจฉา : นมัสการพระอาจารย์อารยะวังโส
โดย....พระอาจารย์อารยะวังโส
ปุจฉา : นมัสการพระอาจารย์อารยะวังโส
ได้อ่านธรรมส่องโลก ในเรื่องที่เกี่ยวกับการบัญญัติวินัย ว่าด้วยเรื่องการลักทรัพย์ ถึงขั้นปาราชิก คือขาดจากความเป็นพระสงฆ์ และท่านอาจารย์เทียบเคียงให้เห็นคุณประโยชน์ของการบัญญัติวินัยหรือศีลไว้ อย่างแข็งแรงของพระพุทธศาสนา โดยเฉพาะการไม่ปล่อยให้พระสงฆ์ประพฤติออกนอกกรอบความเป็นสาวกของพระผู้มีพระ ภาคเจ้า อ่านแล้วได้สาระความรู้อย่างยิ่งในสิกขาบทที่ ๒ จากจำนวน ๔ สิกขาบทของโทษปาราชิก
จึงใคร่ขอให้ท่านอาจารย์แสดงความสำคัญในเนื้อหาสาระอีก ๓ สิกขาบท ว่ามีความสัมพันธ์กันอย่างไร มีสาระที่จะนำมาใช้ประโยชน์กับการบริหารประเทศอย่างไรบ้าง หากไม่เป็นการรบกวน ขอพระอาจารย์ช่วยเขียนตอบให้ด้วย ผ่านคอลัมน์ธรรมส่องโลก เพื่อการศึกษาของชาวพุทธที่ควรรู้
นมัสการด้วยความเคารพยิ่ง
ศรัทธาธรรมส่องโลก
“จะต้องเป็นไปตามพุทธประเพณี เป็นไปตามพระธรรมวินัยเป็นใหญ่ เป็นการใช้อำนาจตามธรรม เรียกว่า ธรรมาธิปไตย จึงต้องให้ทุกอย่างเคลื่อนไหวไปตามธรรม สมควรแก่ธรรม”
วิสัชนา : จะพึงได้รับจากการประพฤติปฏิบัติตนให้อยู่ในกรอบแห่งสิกขาบทน้อยใหญ่ ซึ่งจะพึงได้รับนั้นมี ๕ ประการ คือ
๑.สีลขันธ์ของตนเป็นอันคุ้มครองมีแล้ว
๒.เป็นที่พึงของภิกษุผู้มักระแวงสงสัย
๓.เป็นผู้กล้าพูดในท่ามกลางสงฆ์
๔.ข่มเหล่าคนผู้เป็นข้าศึกได้ราบคาบดีโดยสหธรรม
๕.เป็นผู้ปฏิบัติ เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม
หากจะมีคำถามต่อเนื่องว่า “เอ๊ะ! แล้วทำไม พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรงบัญญัติสิกขาบทไว้ให้สมบูรณ์เสียเลยทีเดียว จะได้ไม่ต้องรอให้มีผู้ประพฤติปฏิบัติผิดเกิดขึ้น จนนำมาเป็นปฐมเหตุในการบัญญัติสิกขาบทนั้น” ก็คงจะตอบได้ว่า การที่ทรงปฏิบัติในเรื่องใดๆ ของพระองค์นั้น “จะต้องเป็นไปตามพุทธประเพณี เป็นไปตามพระธรรมวินัยเป็นใหญ่ เป็นการใช้อำนาจตามธรรม เรียกว่า ธรรมาธิปไตย จึงต้องให้ทุกอย่างเคลื่อนไหวไปตามธรรม สมควรแก่ธรรม”
ต่อไปเบื้องหน้า ซึ่งจะได้ไม่มีใครมาว่าได้ว่า พระธรรมวินัยนี้ เป็นไปตามความต้องการของพระองค์ เป็นสำคัญ อันจะถูกครหาดังกล่าวได้ว่า พระองค์มิได้รับฟังเสียงจากภายนอกเลย ประการสำคัญ ซึ่งทรงแสดงพุทธจริยาดังกล่าว เพื่อแสดงให้หมู่สาวกและชนทั้งหลายได้ประจักษ์ว่า แม้พระองค์ก็ยังให้ความเคารพในพระธรรมเป็นใหญ่ ดุจดังพระพุทธเจ้าทุกพระองค์ ดังพระบาลีที่ว่า “เย จ พุทฺธา อตีตา จ เย จ พุทฺธา อนาคตา ปจฺจุปฺปนฺนา จ เย พุทฺธา อหํ สทฺธมฺม ครุโย” ไม่ว่าจะเป็นบัณฑิตในกาลไหนๆ แม้แต่ในอนาคต หากเป็นสัตบุรุษ มีการเรียนรู้ เข้าใจ และยอมรับในสัจธรรม
ดังนั้นเราจึงเห็นได้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงมีพระสัพพัญญู แม้จะรู้แจ้งในทุกๆ เรื่องได้ตามพระประสงค์ และแม้ว่าจะทรงทราบอยู่ที่ย่อมตรัสก็มี และทรงทราบอยู่ที่ย่อมไม่ตรัสก็มี ทรงทราบแล้วตรัสถาม ทรงทราบแล้วไม่ตรัสถาม ย่อมตรัสถามสิ่งที่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่ตรัสถามสิ่งที่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ นี่เป็นพุทธจริยาอันสวยงามและบริสุทธิ์ ซึ่งพระองค์ทรงจำกัดด้วยข้อปฏิบัติ




ปุจฉา : นมัสการพระอาจารย์อารยะวังโส
โดย...พระอาจารย์อารยะวังโส
ปุจฉา : นมัสการพระอาจารย์อารยะวังโส
ได้อ่านธรรมส่องโลก ในเรื่องที่เกี่ยวกับการบัญญัติวินัยว่าด้วยเรื่องการลักทรัพย์ถึงขั้น ปาราชิก คือ ขาดจากความเป็นพระสงฆ์ และท่านอาจารย์เทียบเคียงให้เห็นคุณประโยชน์ของการบัญญัติวินัยหรือศีลไว้ อย่างแข็งแรงของพระพุทธศาสนา โดยเฉพาะการไม่ปล่อยให้พระสงฆ์ประพฤติออกนอกกรอบความเป็นสาวกของพระผู้มีพระ ภาคเจ้า อ่านแล้วได้สาระความรู้อย่างยิ่งในสิกขาบทที่ ๒ จากจำนวน ๔ สิกขาบทของโทษปาราชิก
จึงใคร่ขอให้ท่านอาจารย์แสดงความสำคัญในเนื้อหาสาระอีก ๓ สิกขาบท ว่ามีความสัมพันธ์กันอย่างไร มีสาระที่จะนำมาใช้ประโยชน์กับการบริหารประเทศอย่างไรบ้าง หากไม่เป็นการรบกวน ขอพระอาจารย์ช่วยเขียนตอบให้ด้วยผ่านคอลัมน์ธรรมส่องโลก เพื่อการศึกษาของชาวพุทธที่ควรรู้
นมัสการด้วยความเคารพยิ่ง
ศรัทธาธรรมส่องโลก
วิสัชนา : ดังพระผู้มีพระภาคเจ้าทั้งหลาย ซึ่งย่อมสอบถามภิกษุทั้งหลายด้วยอาการ ๒ อย่าง คือ จักทรงแสดงธรรมอย่างหนึ่ง จักทรงบัญญัติสิกขาบทแก่พระสงฆ์สาวกทั้งหลายอย่างหนึ่ง ซึ่งมีเจตนาเป็นไปเพื่อต้องการสงเคราะห์พระสงฆ์สาวก และเพื่อทรงมีพระประสงค์ให้คณะสงฆ์ได้สงเคราะห์มหาชน อนุเคราะห์โลกสืบต่อไป ดังปรากฏอยู่ในพระโอวาทปาฏิโมกข์ อันควรค่าแก่การศึกษาอย่างยิ่ง เพื่อความเข้าใจในความเป็นหนึ่งเดียวของพุทธศาสนา ที่จะน้อมโน้มไปสู่ความบริสุทธิ์ และเป็นไปได้จริงๆ ตามที่ทรงแสดงและบัญญัติไว้ ซึ่งจะรู้แจ้งได้และถึงประโยชน์ได้จริงก็เมื่อจะต้องประพฤติปฏิบัติตามพระ ธรรมวินัยดังกล่าว



ปุจฉา : นมัสการพระอาจารย์อารยะวังโส
โดย...พระอาจารย์อารยะวังโส
ปุจฉา : นมัสการพระอาจารย์อารยะวังโส
ได้อ่านธรรมส่องโลก ในเรื่องที่เกี่ยวกับการบัญญัติวินัยว่าด้วยเรื่องการลักทรัพย์ ถึงขั้นปาราชิก คือ ขาดจากความเป็นพระสงฆ์ การบัญญัติวินัยหรือศีลไว้อย่างแข็งแรงของพระพุทธศาสนา อ่านแล้วได้สาระความรู้อย่างยิ่งในสิกขาบทที่ ๒ จากจำนวน ๔ สิกขาบทของโทษปาราชิก จึงใคร่ขอให้ท่านอาจารย์แสดงความสำคัญในเนื้อหาสาระอีก ๓ สิกขาบท ว่ามีความสัมพันธ์กันอย่างไร มีสาระที่จะนำมาใช้ประโยชน์กับการบริหารประเทศอย่างไรบ้าง
นมัสการด้วยความเคารพยิ่ง
ศรัทธาธรรมส่องโลก
วิสัชนา : อย่างถูกต้อง ตรงธรรม สมควรแก่ธรรม... นี้คือความสำคัญที่สุดของพระพุทธศาสนา ซึ่งมุ่งเน้นการปฏิบัติบูชาเป็นสำคัญที่สุด เหนือการบูชาทั้งปวง พระพุทธศาสนาจึงมีพระธรรมวินัยเป็นใหญ่ ซึ่งแสดงคุณสมบัติของความเป็นองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าอย่างแท้จริง ดังคำกล่าวที่ว่า “ผู้ใดเห็นธรรม (พระธรรมวินัย) ผู้นั้นเห็นตถาคต ผู้ใดเห็นตถาคต ผู้นั้นจะถึงซึ่งพระนิพพาน”
พระพุทธศาสนาจึงมีพระธรรมวินัยเป็นพระบรมศาสดา เมื่อองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเสด็จปรินิพพานแล้ว ดังที่ทรงตรัสกับพระอานนท์ เป็นภาษาบาลีว่า “โย โว อานนฺท ธมฺโม จ วินโย จ เทสิโต ปญฺญตฺโต โสโว มมจฺจเยน สตฺถา” แปลว่า ดูกรอานนท์ ธรรมวินัยที่เราแสดงบัญญัติไว้แก่พวกเธอ นั่นแหละจะเป็นศาสดาของพวกเธอทั้งหลายเมื่อเราสิ้นไป
ดังนั้น เราทั้งหลายที่มีความศรัทธาเลื่อมใสในพระผู้มีพระภาคเจ้า จงมาทำความพร้อมเพรียงกัน ในการปฏิบัติบูชาพระธรรมวินัย ที่พระพุทธองค์ทรงตรัสแสดงและบัญญัติไว้ดีแล้ว เพื่อเป็นการแสดงความเคารพสักการะแด่พระพุทธองค์อย่างแท้จริง เพื่อจะได้เข้าถึงแก่นธรรมแท้ในพระศาสนาของพระองค์ อันได้แก่ พระนิพพาน เทอญ
ขอเจริญพร

ที่มา โพสต์ทูเดย์
โพสต์ทูเดย์ ธรรมส่องโลก

.



.



.
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ แก้วจ๋าหน้าร้อน

  • สิ่งใดคือธรรมะ สิ่งนั้นย่อมดีแล้วสูงสุด
  • ทีมงานกวาดลานดิน
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 6503
  • พลังกัลยาณมิตร 1741
  • ธรรมะอวยพรความดีคุ้มครอง
    • kaewjanaron
    • facehot
    • ดูรายละเอียด
    • ใต้ร่มธรรม
Re: คุณค่าแห่งพระวินัยที่ชาวพุทธควรเข้าใจ
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: ธันวาคม 19, 2010, 10:07:14 pm »
 :13: อนุโมทนาครับ
ขอบคุณครับพี่หนุ่ม
การโพสภาพโดยใช้เว็บฝากไฟล์ภาพ imageshack.us/ (เว็บกบ)
การปรับแต่งห้องสมาชิกไร้ขีดจำกัด Ultimate Profile + ห้องเพลงส่วนตัว
การตั้งกระทู้และการโพสกระทู้ในเว็บใต้ร่มธรรมครับ
การแก้ไข้ข้อมูล ชื่อ ระหัส ส่วนตัวของสมาชิกใต้ร่มธรรมครับ
การใส่รูปประจำตัวเรา Avatar รวมทั้งลายเซ็นต์ ในกระทู้หรือโพสของเราครับ
เพิ่มไอคอน ทวิสเตอร์ เฟชบุ๊ค ยูทูบ ในโปรโปรไฟล์ของเรา
การสร้างอัลบั้มภาพส่วนตัวในห้องสมาชิก Profile Pictures
การเพิ่มเพื่อน กัลยาณมิตรใต้ร่มธรรม ในห้องสมาชิกส่วนตัว
การดูกระทู้ทั้งหมดที่เรายังไม่ได้อ่านครับ
โค้ดสี bb color code ไว้สำหรับโพสกระทู้ครับ
*วิธีเคลียร์แคชในทุกเว็บเบราว์เซอร์ครับ เมื่อคอมอืด*

ห้องประชุมของทีมงาน
~ธรรมะอวยพรความดีคุ้มครองครับ~