ผู้เขียน หัวข้อ: ความทรงจำนอกมิติ : ศัตรู ของ สังคมมนุษยชาติ คือ อวิชชา  (อ่าน 1739 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ มดเอ๊กซ

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7167
  • พลังกัลยาณมิตร 1518
    • ดูรายละเอียด

 
อวิชชาในภาษาบาลีไม่ได้แปลว่าโง่ ภาษาสันสกฤตเรียกว่าอวิทยาที่แปลตรงไปตรงมาว่าไม่มีวิชา หรือไม่มีวิทยาหรือไม่มีการเรียนรู้วิทยาอะไรเลย เหมือนคนปกติธรรมดาที่ถูกขังอยู่ในคุกมืดตั้งแต่ยังเป็นเด็กเล็กๆ โดยไม่พบใครเลย ว่าไปแล้วคนเหล่านี้จึงไม่ได้เรียนรู้อะไรเลย แถมยังดื้อด้าน (ignorant) พอคนพวกนี้ออกมาจากคุกมืด ได้รับข้อมูลที่ผิด หรือด้านเดียวซ้ำแล้วซ้ำอีกไม่ว่าอะไรก็เชื่อเลย และเมื่อเชื่อแล้วก็ยากที่จะเปลี่ยนแปลงความเชื่อของตน คนพวกนี้จึงไม่ใช่โง่ มอหร่อน หรืออีเดียต และเป็นผู้ใหญ่ที่มีเยอะแยะในสังคมมนุษย์ โดยเฉพาะสังคมที่ด้อยพัฒนา ซึ่งแย่ยิ่งกว่าโง่เง่าเต่าตุ่นเสียอีก เพราะอวิชชาเป็นที่มาของแรงกรรมอันดับหนึ่ง
 
 
ในปี 1987 เออร์วิน ลาซโล่ ได้เขียนหนังสีอที่ขายดีมากและเป็นข้อเท็จจริงทางวิทยาศาสตร์ที่ดีที่สุดเกี่ยวกับวิวัฒนาการของโลกและจักรวาลที่แล้วๆ มาจนบัดนี้ก็ยังไม่มีผู้ใด-ได้เขียนชัดเจนและกระจ่างได้เท่า (Erwin Lazslo : The Grand Synthesis, 1987) ซึ่งผู้เขียนคิดว่าเขาคงได้ความคิดที่สำคัญนี้จากปรัชญาดึกดำบรรพ์ที่ผู้เขียนเรียกว่า ปรัชญาสากลนิรันดร (perennial philosophy) ซึ่งมีลิปนิตซ์ (Liebnitz) นักปราชญ์ชาวเยอรมัน คู่ปรับไอแซค นิวตัน เป็นคนแปลมาคนแรก นั่นคือ ดิน มนุษย์ ฟ้า (สวรรค์) หรือสสารวัตถุ (matter) ชีวิต (life) เทพเทวา หรือพระเจ้า (Spirit) - ที่ผู้เขียนบอกว่าไม่รู้ว่าใครเป็นคนคิด และเป็นไปได้ที่มนุษย์โครมันยองเป็นคนคิดขึ้นมาตั้งแต่ 30,000 ปีก่อน (อ้างแล้ว) - ที่ต่อมามีผู้ขยายเป็นห้า และเป็นเจ็ด คือบวกสอง - จิต (mind) กับวิญญาณ (soul) ไว้ที่หน้าของฟ้าของดิน มนุษย์ ฟ้า (สวรรค์ หรือ Spirit) และในไดอะแกรมรูปพีระมิดในหนังสือของเออร์วิน ลาซโล่ ได้ขยายต่อไปหรือบวกอีกสองห่วงโซ่แห่งชีวิต (A Great Chain of being) เป็นเจ็ดห่วง คือบวกกับชีวิต (life) ไว้ข้างหน้ามนุษย์ และที่ขยายเป็นเจ็ดโดยเติมคำว่า สังคมวัฒนธรรม (socio-cultural) ลงไป ตามหลังคำว่ามนุษย์ เป็นสสารวัตถุ ชีวิต มนุษย์ สังคมของมนุษย์ จิต วิญญาณ กับสปิริตหรือพระเจ้านั้นผู้เขียนเห็นว่าไม่จำเป็น เพราะว่าดิน มนุษย์ ฟ้า (สวรรค์) นั้น มีการให้รางวัลและการลงโทษด้วย และการให้รางวัลกับการลงโทษ (retribution) นั้นผู้เขียนคิดว่าเป็นที่มาของกฎแห่งกรรม
 
 
เราที่นับถือศาสนาพุทธทุกคนไม่ว่านิกายไหนต่างก็รู้เรื่องของกรรมและการเกิดใหม่ที่มีหลักการคล้ายๆ กัน แม้ว่าคนอินเดีย (และคนลังกา) อาจจะมีโลกทัศน์และวิสัยทัศน์ไม่เหมือนกันกับคนจีน คนญี่ปุ่น คนทิเบต ฯลฯ ที่กลัวและชอบกรรมไม่เหมือนกัน เช่น คนอินเดียอาจกลัวการลงโทษเฉพาะหน้า คือ กลัวไม้เรียวมากกว่าคนจีน ซึ่งกลัวการลงโทษทีหลัง เป็นต้นว่า กลัวอุปัทวเหตุมากกว่า หรือคนอินเดียจะกลัวกฎหมายมากกว่าคนจีนที่กลัวการลงโทษจากสวรรค์ เช่น กลัวว่าถูกฟ้าผ่ากลางแดดจ้ากลางวันแสกๆ ตาย เป็นต้น
 
ผู้เขียนคิดเอาเองว่าที่ตั้งเป็นหัวเรื่องของบทความของวันนี้ เรื่องศัตรูของสังคมของมนุษย์โดยรวมนั้นน่าจะเป็นอวิชชายิ่งกว่าตัณหาราคะหรือความอยากความต้องการมากนัก ซึ่งตัวอย่างที่เราอาจยกมาให้พิจารณาดู ได้แก่ ความแตกแยกของสังคมไทยออกเป็นกลุ่มๆ โดยการใส่เสื้อต่างสีกันแล้วต่างเชื่อมั่นในข้อมูลของฝ่ายตัวฝ่ายเดียวที่จนกระทั่งบัดนี้ นานแล้วเราที่อยู่ตรงกลาง ก็ยังไม่รู้ว่าอะไรเป็นเรื่องจริงและอะไรไม่ใช่เรื่องจริงหรือเป็นอวิชชา? ส่วนตัณหาราคะน่าจะเป็นเรื่องของปัจเจกบุคคลมากกว่า แน่นอนทั้งสองอย่างเป็นที่มาของกรรมในฐานะเป็นสาเหตุของการก่อกรรม - ไม่ว่าจะเป็นกรรมที่ทำในภพชาตินี้ หรือในภพชาติก่อนภพชาติไหนในอดีต - เพราะกรรมนั้นไม่มีทางหลีกหนีได้พ้น และการเกิดใหม่ในสังสารวัฏภพภูมิไหนนั้นสำหรับผู้เขียนซึ่งเชื่อมั่นในความมีเหตุผลของพุทธศาสนาและลัทธิพระเวท การเกิดใหม่จะต้องมีแน่ๆ จริงๆ แล้วศาสนาใหญ่ๆ ศาสนาอื่นๆ ก็มีพูดไว้ด้วย เช่น ศาสนาเต๋าที่ไปไกลถึงขนาดที่ว่า กรรมหรือการกระทำเป็นบุพเพสันนิวาสหรือเป็นเจตนาที่กำหนดหรือ “ลิขิต” ที่กำหนดให้เป็นเช่นนั้นๆ ไว้แล้วล่วงหน้าของฟ้าดิน
 
จะพูดเล็กน้อยเกี่ยวกับที่มาและการเปลี่ยนแปลงของทฤษฎีของกรรมที่ก็คือ ทฤษฎีหรือกฎธรรมชาติที่สำคัญยิ่งของลัทธิพระเวทกับพุทธศาสนา เป็นปรัชญาของอินเดียโบราณก่อนที่มีศาสนาฮินดูดังที่ระบุไว้ในเวทันตะ การเปลี่ยนแปลงของทฤษฎีกรรมนั้นเป็นไปเมื่อศาสนาฮินดูและพุทธศาสนาได้แผ่ไปถึงดินแดนอื่นๆ การให้รางวัลหรือการลงโทษจากสวรรค์ ที่มีอยู่นานแล้วในที่นั้นๆ โดยไม่รู้ว่าใครคิดขึ้นมาดังที่ผู้เขียนพูดมาหลายครั้งแล้วว่า นั่นคือ ปรัชญาสากลนิรันดร (perennial philosophy) โดยเฉพาะเมื่อแผ่มาถึงตะวันตก ซึ่งเดี๋ยวนี้เราต้องถือว่าทฤษฎีว่าด้วยกรรมและการเกิดใหม่ แม้จะมีการเปลี่ยนแปลงไปบ้าง เราก็ต้องถือว่ามันได้กลายเป็นประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของตะวันตกไปแล้วก็ได้ ส่วนใครจะเชื่อหรือไม่เชื่อเป็นคนละประเด็น นักปรัชญาฮินดูต่างยุคสมัยกันล้วนมีความเห็นเหมือนๆ กันว่า ทฤษฎีกรรมและการเกิดใหม่นั้น เราต้องเอากรรมเป็นหลักและการเกิดใหม่ (ในวัฏสงสาร) เป็นรอง ซึ่งผู้เขียนเชื่อมั่น - โดยมีเหตุผล - ร้อยเปอร์เซ็นต์ว่า มนุษย์โลกทุกคนจะต้องเกิดใหม่ทั้งนั้นไม่ว่าผู้นั้นๆ จะนับถือพุทธศาสนาหรือศาสนาที่เกิดจากลัทธิพระเวทหรือไม่ นักวิทยาศาสตร์กับนักวิชาการจำนวนมากทั่วทั้งโลกเชื่อว่าเพราะกรรมคือทฤษฎีธรรมชาติของจักรวาลเพื่อความยุติธรรมหรือความมีระเบียบเรียบร้อย ซึ่งเป็นคุณสมบัติของจักรวาลทางวิทยาศาสตร์หรือจักรวาลวิทยา ทฤษฎีกรรมที่สรุปว่า “สภาพปัจจุบันของเราล้วนเป็นผลของการกระทำของเราเองในอดีต และการกระทำของมนุษย์เราในปัจจุบันวันนี้ คืออนาคตของเรา” ส่วนที่นักจิตวิทยาของฝรั่งหรือของตะวันตก “สมัยใหม่” รวมทั้งสาธารณชนจำนวนไม่น้อยของไทยเรา - ที่เป็นฝรั่งจ๋าหรือคิดว่าตนเป็นคน “ทันสมัย” โดยไม่คิดให้ถี่ถ้วน คิดง่ายๆ ว่าคนเราต้องเท่ากัน ฉะนั้น ถ้ามันเป็นกฎธรรมชาติอย่างนั้นจริงๆ แล้วจะให้จักรวาลตอบเราว่าอย่างไร? กับคำว่าเสรีภาพ ฟรีวิลล์หรือความเป็นธรรมของสังคมที่เราเชื่อตามฝรั่งโดยไม่คิดให้รอบคอบ เช่นว่า เรื่องของสิทธิมนุษยชน? ราษฎรกฤษนันท์ นักปรัชญาของอินเดียที่มีอิทธิพลยิ่งไม่จำเพาะแต่ที่อินเดีย แต่ทว่าในตะวันตกด้วยได้เขียนไว้ในเรื่องนี้เมื่อปี 1908 ว่า “จริงๆ แล้วกฎแห่งกรรมไม่ได้ขัดกับการสรรค์สร้าง (ของพระเจ้า) เลยในเรื่องเสรีภาพแม้แต่น้อย...มันเหมือนกับการเล่นไพ่ (บริดจ์) เราไม่ได้แจกไพ่ ไพ่ที่เราถือมันได้ถูกแจกมาของมันเอง แต่เราก็ยังเป็นอิสระที่จะเลือกเล่นไพ่ที่อยู่ในมือของเราไปตามใจชอบ แพ้หรือชนะขึ้นอยู่กับโอกาสอันเป็นอิสระหรือการเลือกที่จะเล่นของเราเอง” นักปรัชญาที่ถือศาสนาพราหมณ์หลายคนยังเชื่อว่า คนเรานั้นไม่เท่าเทียมกันในด้านของวิวัฒนาการของจิต บางคนโง่เง่าเต่าตุ่นแล้วยังไม่ขวนขวายไร้ความเพียรพยายาม บางคนมีปัญญาเลิศล้ำ แต่เห็นแก่ตัวและชั่วร้าย บางคนมีสัจจะซื่อตรงและอยู่ในศีลในธรรม บางคนไปไกลยิ่งกว่านั้น คือมีจิตที่สูงล้ำอยู่ในสภาวะของจิตวิญญาณ
 
 
(spirituality) ตลอดกาล ที่สำคัญอย่างยิ่งเราต้องรู้ว่าจิตจักรวาลนั้น หากเราคิดว่าชีวิตและมนุษย์ไม่ได้มาจากความบังเอิญ และแต่ละชีวิตต่างมีคุณค่าและมีเป้าหมาย ชีวิตหรือมนุษย์ในภาพรวมอาจจะถูกกำหนดด้วยกรรมจริงๆ แต่กรรมของสังคม กรรมร่วมของคนที่เกิดและอยู่ในประเทศไทย ย่อมไม่เหมือนกรรมร่วมของคนที่เกิดและอยู่ในประเทศอังกฤษ หรือคนในประเทศใดๆ ทั่วทั้งโลก กรรมร่วมก็เป็นเช่นเดียวกับความอิสรเสรีหรือฟรีวิลล์ ที่จะให้เหมือนกันหมดทั้งโลกคงไม่ได้ คนที่เกิดและอยู่ในสังคมชุมชนกระทั่งตำบลของประเทศใดเป็นไปตามกรรมทั้งสิ้น และจะเอาแต่องค์ประกอบเล็กย่อยๆ ว่า เราก็เป็นมนุษย์เหมือนกัน ไม่ว่าเกิดและอยู่ที่ไหน ไทยหรืออังกฤษ อเมริกา หรือญี่ปุ่นก็เป็นคนเหมือนๆ กันคงไม่ได้อย่างแน่นอน ไม่เช่นนั้นคนเราทุกคนคงมีฟรีวิลล์ที่จะเลือกเกิดทั้งหล่อ ทั้งรวย ทั้งขาวเหมือนกันทั้งหมด
 
กรรมร่วมของสังคมโดยรวมนั้น ผู้เขียนคิดว่าเป็นผลรวมของจิตแต่ละคนที่อยู่ในสังคมนั้นๆ เป็นปัจเจก ซึ่งยังมีองค์ประกอบอื่นๆ ที่ว่ากำหนด เช่น ฐานะทางการเมือง เศรษฐกิจ กฎหมาย ฯลฯ ทำให้ความอิสรเสรีที่มีคุณค่าและความหมายสำหรับคนในสังคมนั้นๆ รู้สึกแตกต่างกันไปกับทางเลือกของตัวเอง อย่าลืมว่าความเป็นอิสระอย่างแท้จริงนิรันดรหรือฟรีวิลล์ที่แท้จริงนั้น ขึ้นกับสภาวะของจิตว่าอยู่ในระดับไหน เสรีที่ฟรีวิลล์ของผู้ที่ผ่านการตรัสรู้หรือผู้ที่อยู่ในสภาวะจิตวิญญาณ (spiritual being) ย่อมแตกต่างจากที่คนปกติธรรมดาคิดอยากที่จะมีมากนัก
 
ว่าจะพูดเล็กน้อย แต่ก็เข้าไปหนึ่งในสี่ของบทความ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็เกี่ยวข้องกับสังคมกับที่มาของกฎแห่งกรรม และอวิชชา - หนึ่งในสองที่ร่วมกับตัณหาราคะก่อประกอบเป็นแรงกรรมผลักดันให้ชีวิตของสัตว์โลก รวมทั้งมนุษย์ที่จำต้องเวียนว่ายตาย-เกิดในภพภูมิต่างๆ ของสังสารวัฏ หรือจักรวาลแห่งนี้ และผู้เขียนคิดว่า เราทำผิดที่ไปขยายดิน มนุษย์ ฟ้า (สวรรค์) อันเป็นองค์รวมรวบยอดได้มาจากจิตปฐมภูมิกับพลังงาน ปฐมภูมิ (primordial vinjhanna and jhannapranna) ที่แยกออกจากกันไม่ได้ ที่มาจากที่ว่างอันสมบูรณ์ (absolute space) ของพุทธศาสนา
 
อย่าลืมว่าทั้งสองแรงกรรมหรือพลังงานกรรมที่ผลักดันให้กฎแห่งกรรมทำงานนั้นมาจากจิตปฐมภูมิ - หรือจิตจักรวาลที่ผ่านการบริหารที่สมองเป็นจิตสำนึกหรือเจตนา (อวิชชากับตัณหาราคะ) ที่แยกออกจากพลังงานไม่ได้ดังที่ได้พูดมาแล้ว ผู้เขียนเชื่อว่าอวิชชาคือปัญหาของกรรมโดยรวมของสังคมชุมชนมากกว่าจะเป็นปัจเจกกรรมของแต่ละคน และตัณหาราคะเป็นกรรมของปัจเจกบุคคลแต่ละคนมากกว่า แน่นอนทั้งสองคือแรงกรรมที่เป็นสาเหตุของจิตสำนึกเจตนาทั้งอวิชชากับตัณหาทั้งสอง ผิดกันที่อันไหนเป็นหลักอันไหนเป็นรอง ดังนั้น ศัตรูของสังคมชุมชนโดยรวมถึงได้คิดว่าเป็นผลของอวิชชามากกว่าตัณหาราคะยิ่งนัก ซึ่งการเป็นเช่นนี้ก็ดูได้จากอุปัทวเหตุต่างๆ ที่หลายคนประสบพร้อมๆ กัน เช่น รถคว่ำ หรือเรือล่ม เป็นต้น และคิดว่าจิตเจตนาเป็นสาเหตุของกรรมทั้งสองกรรมเป็นตรงข้ามกันและกัน.
 
 
http://www.thaipost.net/sunday/040710/24406
 
 
ภาพจาก
 
http://www.flickr.com/photos/14405515@N03/collections/
" มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

เกอเธ่...

ออฟไลน์ แก้วจ๋าหน้าร้อน

  • สิ่งใดคือธรรมะ สิ่งนั้นย่อมดีแล้วสูงสุด
  • ทีมงานกวาดลานดิน
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 6503
  • พลังกัลยาณมิตร 1741
  • ธรรมะอวยพรความดีคุ้มครอง
    • kaewjanaron
    • facehot
    • ดูรายละเอียด
    • ใต้ร่มธรรม
 :13: อนุโมทนาครับ ขอบคุณครับพี่มด
การโพสภาพโดยใช้เว็บฝากไฟล์ภาพ imageshack.us/ (เว็บกบ)
การปรับแต่งห้องสมาชิกไร้ขีดจำกัด Ultimate Profile + ห้องเพลงส่วนตัว
การตั้งกระทู้และการโพสกระทู้ในเว็บใต้ร่มธรรมครับ
การแก้ไข้ข้อมูล ชื่อ ระหัส ส่วนตัวของสมาชิกใต้ร่มธรรมครับ
การใส่รูปประจำตัวเรา Avatar รวมทั้งลายเซ็นต์ ในกระทู้หรือโพสของเราครับ
เพิ่มไอคอน ทวิสเตอร์ เฟชบุ๊ค ยูทูบ ในโปรโปรไฟล์ของเรา
การสร้างอัลบั้มภาพส่วนตัวในห้องสมาชิก Profile Pictures
การเพิ่มเพื่อน กัลยาณมิตรใต้ร่มธรรม ในห้องสมาชิกส่วนตัว
การดูกระทู้ทั้งหมดที่เรายังไม่ได้อ่านครับ
โค้ดสี bb color code ไว้สำหรับโพสกระทู้ครับ
*วิธีเคลียร์แคชในทุกเว็บเบราว์เซอร์ครับ เมื่อคอมอืด*

ห้องประชุมของทีมงาน
~ธรรมะอวยพรความดีคุ้มครองครับ~