ผู้เขียน หัวข้อ: เจาะชีวิตฉายา 'เภสัชกรยิปซี 'ดร.กฤษณา ไกรสินธุ์' 'บุคคลแห่งปีเอเชีย' นักสู้เอดส์  (อ่าน 3541 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ มดเอ๊กซ

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7167
  • พลังกัลยาณมิตร 1518
    • ดูรายละเอียด


จาก เดลินิวส์ (ออนไลน์)
วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2551



ชื่อยาต้านไวรัสเอดส์อย่างซีโดวูดีน หรือเรียกสั้น ๆ ว่า เอแซดที และ จีพีโอเวียร์ เป็นที่รู้จักในสังคมไทยมาระยะหนึ่งแล้ว ซึ่งยานี้คิดค้นและผลิตโดยเภสัชกรไทย ขายโดยองค์การเภสัชกรรมของไทย ทำให้ลดค่าใช้จ่ายในการซื้อยาจากต่างชาติได้ถึง 26 เท่า โดยบุคคลที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จนี้ เมื่อหลายปีก่อนได้เดินทางไปถ่ายทอดการผลิตยาในหลายประเทศในทวีปแอฟริกา จนได้รับฉายา "เภสัชกรยิปซี"


เจ้าของฉายา "เภสัชกรยิปซี" คนที่ว่านี้ ก็คือ "ดร.กฤษณา ไกรสินธุ์" ซึ่งล่าสุดได้รับรางวัล "บุคคลแห่งปีของเอเชีย ประจำปี ค.ศ. 2008"” จากนิตยสารรีดเดอร์ส ไดเจสท์ ในฐานะที่เป็นบุคคลที่ทุ่มเททำงานอย่างมิรู้จักเหน็ดเหนื่อย เพื่อผลักดันให้ผู้ป่วยยากไร้ทั่วโลกมีโอกาสได้ใช้ยารักษาโรคเอดส์


เปิดฉากบทสนทนากับทีม "วิถีชีวิต" ถึงเหตุผลการลาออกจากตำแหน่งผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา องค์การเภสัชกรรม ของ ดร.กฤษณา ไกรสินธุ์ เมื่อ พ.ศ. 2545 เจ้าตัวบอกว่า ก็เพื่อไปช่วยคนที่แอฟริกาตามสัญญา เพราะประเทศไทยไปประกาศในที่ประชุมองค์การอนามัยโลก เมื่อ พ.ศ. 2545 ว่าเราจะไปช่วยเขา  แต่นักการเมืองซีกรัฐบาลที่เกี่ยวข้องตอนนั้นประกาศเสร็จแล้วก็แล้วไป กลายเป็นสัญญาปากเปล่า ทีนี้คนแอฟริกันที่รู้จักกันเขาก็ถามว่าเมื่อไหร่จะไปสักที ก็รู้สึกอายแทนเมืองไทย ก็เลยลา ออกดีกว่า แล้วก็ไปช่วยเขาเอง


"ในประเทศไทยผู้ป่วยโรคเอดส์เยอะแยะ แต่เราก็ช่วยแล้ว ทำยาแล้ว และคนไทยได้ใช้กันหมดแล้ว เราก็เลยไป และคิดว่าตัวเองมีความหมายกับที่อื่นมากกว่า เขาต้องการเรามากกว่า ไปเพราะว่าอยากไป และชอบทวีปนั้นมาตั้งแต่เรียนหนังสือที่อังกฤษแล้ว มีเพื่อนชาวแอฟริกันเยอะ รูมเมท (เพื่อนร่วมห้อง) เป็นทั้งชาวไนจีเรีย และอาหรับ ก็รู้สึกมีความผูกพันกับพวกเขา"


ดร.กฤษณาบอกต่อไปว่า ที่ไปก็เป็นการไปตามสัญญา ไปรักษาสัญญา เพราะว่าเป็นคนเขียนโครงการนี้ขึ้นมากับมือ แล้วเสนอขึ้นไปตามลำดับงาน ก็มีการไปประกาศในที่ประชุมองค์การอนามัยโลก ทุกคนก็ชื่นชมตบมือกันใหญ่ แต่เอาเข้าจริงคนพูดก็พูดไป แต่ตนเป็นคนทำ จึงรู้สึกว่าต้องรับผิดชอบ และก็เต็มใจที่จะไป ส่วนงานที่องค์การเภสัชกรรมนั้นไม่ห่วง เพราะมีคนพร้อมที่จะสานต่อได้อย่างดี โดยเฉพาะเรื่องยาต้านไวรัสเอดส์


"ไม่ได้ยึดติดกับตำแหน่ง กับเงินเดือน โชคดีที่ไม่ได้ยากจนเท่าไหร่ ก็สบาย จึงใช้เงินตัวเองไปได้ อีกอย่างมันอยู่ที่ใจ ถ้าคิดว่าพอ เราก็ไม่จำเป็นจะต้องใช้อะไรมากมาย"





อดีตผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา องค์ การเภสัชกรรม บอกอีกว่า ที่เลือกประเทศในทวีปแอฟริกา เพราะเขายังมีปัญหาเรื่องผู้นำ ประชาชนยากจน และประเทศมหาอำนาจเอาทรัพยากรไปหมด ทำให้ด้อยโอกาส ไม่มีจะกิน มีโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ ทั้งเอดส์ มาลาเรีย วัณโรค


ในโลกนี้มีคนติดเชื้อเอดส์อยู่ 38 ล้านคน อยู่ที่ทวีปนี้ 30 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 90 และแต่ละปีคนตายเพราะมาลาเรีย 2 ล้านคน ตายมากกว่าโรคเอดส์ 2 เท่า ก็มองว่าถ้าไปอยู่ตรงนั้น น่าจะช่วยเขาได้มาก

ประเทศแรกในดินแดนกาฬทวีปที่ ดร.กฤษณาได้เดินทางไปคือ “คองโก” ประเทศที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติ อย่างเพชร แทนทาลัม น้ำมัน ฯลฯ แต่ประชากรยากจนที่สุด เพราะถูกประเทศมหาอำนาจเอารัด เอาเปรียบ และมีการสู้รบในประเทศตลอดเวลา

สิ่งที่ไปทำคือไปสร้างโรงงานยา ไปวาดแผนผังโรงงานยา และสอนผลิตยา จนเขาผลิตยาได้ สูตรยาที่ใช้ในทุกประเทศทวีปแอฟริกา คือสูตรเดียวกับในเมืองไทย แต่ต่างกันก็ที่วัตถุดิบ ซึ่ง ดร.กฤษณายังได้ไปลองที่ประเทศจีนอีกด้วย ซึ่งราคาถูกกว่าของประเทศไทยมากทีเดียว


ดร.กฤษณาบอกว่า ไปช่วยคราวนั้น ค่าเดินทาง ค่าที่พัก และ  อื่น ๆ ใช้ทุนส่วนตัวทั้งหมด เริ่มต้นที่เจ้าของโรงงานยาในคองโกติดต่อมา เพราะอ่านเรื่องราวของตนและยาต้านไวรัสเอดส์ในนิตยสารภาษาเยอรมัน และเห็นว่ายานี้ดี ก็ติดต่อตนขอให้ไปพบที่เมืองเจนีวา สวิตเซอร์แลนด์  โดยเจ้าของโรงงานบอกว่าจะช่วยพนักงานของเขาฟรี และช่วยคนพื้นเมือง ซึ่งก็เห็นว่าเขาจะช่วยฟรี ก็เลยไป ตอนแรกก็ไม่มีใครช่วยเหลือ แต่พอผ่านไปหนึ่งปี รัฐบาลเยอรมันก็เข้ามาช่วยเหลือโรงงานในการซื้อเครื่องจักรต่าง ๆ


"อยู่ที่คองโก 3 ปี ตรงนั้นรบกันตลอด เรื่องความปลอดภัยไม่มี บางทีเข้าประเทศนั้นไปทำงานแต่ตกเย็นมานอนอีกประเทศหนึ่ง  และเราก็ไม่รู้ว่าใครจะยิงเราเมื่อไหร่ ช่วงแรกมีคนคุ้มกันตลอด แต่ตอนหลังไม่มี เพราะถ้ามีมากจะยิ่งกลายเป็นเป้า  เรียกว่าตื่นเต้นจนไม่ตื่นเต้นแล้ว และเคยถูกจี้ตอนลงจากรถที่ประเทศไนจีเรีย ซึ่งไปทำโครงการให้สหภาพยุโรป (อียู)  พอตอนหลังก็เฉย ๆ แล้ว คนที่จี้เขาต้องการเงินเท่านั้น ไม่ได้ต้องการชีวิต  แต่ที่ประเทศอื่นอาจจะต้องการชีวิตก็ได้  ไม่รู้นะ เพราะว่าเราเป็นคนต่างชาติเข้าไปที่นั่น ที่นั่นไม่มีนักท่องเที่ยวเลย เพราะมันอันตรายมาก"


ช่วงเวลาประมาณ 5 ปี ดร.กฤษณาเดินทางไปทั่วทวีปแอฟริกา เพื่อช่วยการสร้างโรงงานผลิตยา สอนวิธีการผลิตยาต้านไวรัสเอดส์ จนสามารถผลิตยา "แอฟริเวียร์" ในคองโกได้สำเร็จ และยารักษามาลาเรีย "ไทยแทนซูเนท" ยาเหน็บทวาร "อาร์เตซูเนท" เพื่อรักษาโรคมาลาเรีย ในเด็ก ในประเทศแทนซาเนีย รวมถึงฟื้นฟูโรงงานยาในประเทศมาลีซึ่งใกล้ปิดกิจการได้สำเร็จ ผลิตยารักษามาลาเรียระดับอุตสาหกรรมได้ ซึ่งทำให้กว่า 10 ประเทศในแอฟริกา อาทิ อิริคเทอร์เรีย เบนิน รวันดา บุรุนดี ไลบีเรีย ได้รับอานิสงส์มากมาย


เหล่านี้เกิดจากพันธสัญญาที่เคยมีการประกาศไว้ในนามประเทศไทย บวกกับแรงบันดาลใจที่สมัยเรียนที่อังกฤษ ดร.กฤษณามีเพื่อนร่วมห้องเป็นชาวแอฟริกัน และทวีปนี้ก็ธรรมชาติสวยงาม ทุกอย่างจึงลงตัว


ตัดกลับมาที่ประวัติส่วนตัวของเภสัชกรไทยผู้นี้ ดร.กฤษณา ไกรสินธุ์ เป็นชาว อ.เกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี ปัจจุบันอายุ 55 ปี เรียนจบคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่ไม่ได้จบแพทย์ก็ด้วยเหตุผลที่ว่าคะแนนไม่ถึงคณะแพทยศาสตร์ ขาดไปเพียง 1 คะแนนเท่านั้น


ส่วนปริญญาโท จบสาขาเภสัชวิเคราะห์ มหาวิทยาลัยสตราห์ ไคลด์ และปริญญาเอก สาขาเภสัชเคมี มหาวิทยาลัยบาธ ประเทศอังกฤษ จากนั้นรับตำแหน่งหัวหน้าภาควิชาเภสัชเคมี ที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 2 ปี ก่อนที่จะลาออกเพื่อทำงานที่องค์การเภสัชกรรม เมื่อปี พ.ศ. 2532 และได้รับเลือกเป็นผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา ด้วยอายุเพียง 37 ปี


"จริง ๆ แล้วชอบศิลปะมาก อยากเป็นวาทยกร เพราะชอบ  ดนตรี ชอบศิลปะ แต่งกลอน เขียนหนังสือ แต่พ่อแม่เป็นหมอเป็นพยาบาล หากจะเลือกเรียนศิลปะก็รู้สึกยังไง ๆ อยู่ ใจจริงอยากเป็นคนคุมวงดนตรีมากกว่าเป็นเภสัชกร เพราะมันสนุกดี ได้คุมจังหวะ แต่ตอนนี้เราก็เหมือนกับคอนดักเตอร์น่ะแหละ เพราะเราไปคุมให้เขาสร้างโรงงาน ให้เขาผลิตยา ก็พยายามปลอบใจตัวเอง เมื่อเราไม่ได้เป็นในสิ่งที่เราอยากจะเป็น เราก็ต้องชอบสิ่งที่เรามีอยู่ ต้องทำให้ดีที่สุด"


ดร.กฤษณาบอกอีกว่า เมื่อมีเวลาก็จะฟังดนตรีของทุกประเทศ อย่างเอธิโอเปีย มาเลเซีย อารบิก เพลงไทย ฟังหมด  นอกจากนี้สมัยอยู่โรงเรียนราชินีก็ได้เข้าร่วมวงดนตรีไทย เล่นระนาดเอกอยู่ถึง 6 ปี ซึ่งทำให้ชอบดนตรี  เมื่อไม่ได้ประกอบอาชีพทางด้านนี้แล้ว ก็ไม่ได้เสียใจอะไร ทำอาชีพไหน ก็ต้องทำให้ดีที่สุด

นอกจากแอฟริกา ดร.กฤษณายังเป็นศาสตราจารย์พิเศษที่มหาวิทยาลัยฮาบิน ประเทศจีน  สอนวิชาสร้างโรงงาน สอนวิชาเครื่องมือ เพราะประเทศจีนกำลังจะสร้างโรงงานสมุนไพรเล็ก ๆ แห่งหนึ่ง ซึ่งก็ได้ไปช่วยเพิ่มเติมหลายอย่างให้ที่นั่น โดยสิ่งที่ไปช่วยนอกประเทศก็คือสิ่งที่เมืองไทยทำเสร็จหมดแล้ว


"อย่าเพิ่งท้อแท้ ท้อถอย ไม่ว่ากับเรื่องอะไร ขอให้อดทน เรื่อง การเมืองก็อย่าไปอินกับสถานการณ์การเมืองมากนัก อย่าเอามาเป็นทุกข์ เพราะเราทำอะไรไม่ได้ ทำหน้าที่แค่เป็นประชาชนที่ดีก็พอแล้ว"...เป็น    คำทิ้งท้ายฝากถึงเพื่อนคนไทย ก่อนจะปิดฉากบทสนทนา ของ "ดร.กฤษณา ไกรสินธุ์"


"เภสัชกรยิปซี" เลือดไทยแท้ !!.





รางวัลแห่งความภูมิใจ


กว่า 30 ปีแห่งการเรียนรู้ การทำงาน รวมถึงการอุทิศชีวิตให้กับสังคม ทำให้ ดร.กฤษณา ไกรสินธุ์ ได้รับรางวัลมากมาย อาทิ รางวัลนักวิทยาศาสตร์โลก (Global Scientist Award) ประจำปี พ.ศ. 2547 จาก Letten Foundation ประเทศนอร์เวย์, ผู้หญิงคนแรกที่ได้รับปริญญาเอกกิตติมศักดิ์ สาขาวิทยาศาสตร์ จาก Mauny Holly Oke College, USA รวมถึงปริญญากิตติมศักดิ์อีกไม่รู้กี่ใบต่อกี่ใบ


เรื่องราวของ ดร.กฤษณา ได้รับความสนใจจากสื่อต่างประเทศ จนถูกนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์สารคดี ความยาว 45 นาที เรื่อง A Right to Live-AIDS medication for Millions (2006) ได้รับรางวัลจากเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติเมืองคานส์ และยังถูกนำไปสร้างเป็นละครบรอดเวย์ ชื่อ Cocktail


แต่เมื่อถ้าถามว่ารางวัลไหน ที่ภูมิใจที่สุด ดร.กฤษณาบอกว่าคือ  “รางวัลศิษย์เก่าดีเด่นของโรงเรียนราชินี” ซึ่งที่ภูมิใจมาก เพราะโรงเรียนสอนตนเองมาดี สอนให้เข้ากับคนได้ สอนให้มีมนุษยสัมพันธ์กับคน ไม่ได้สอนแต่วิชาความรู้ให้ ซึ่งคนเราต้องมี  หลาย ๆ ด้านประกอบกัน ไม่ใช่ว่าเก่ง...แต่เอาตัวไม่รอด ต้องมีน้ำใจ นี่คือสิ่งที่ภูมิใจที่สุดไม่ว่าใครจะถาม โดยที่รางวัลนี้เป็น เข็มอักษร สผ.ประดับเพชร


“อายุกว่า 50 ปีแล้ว เพิ่งจะมาได้รับ  ดูเหมือนไม่มีอะไร แต่คนเราความภูมิใจต่างกัน เราเหมือนเป็นโมเดล เป็นไอดอลให้เด็ก ๆ  ส่วนตัวมีความภูมิใจในโรงเรียนแห่งนี้เสมอ และความคิดดี ๆ ยังได้รับการปลูกฝังอย่างดีจากคนในครอบครัวด้วย โดยเฉพาะอิทธิพลความคิดจาก คุณ ยายเยื้อน วิชัยดิษฐ์ ซึ่งเป็นแม่ชี ที่สอนให้ทำดีทุกครั้งที่มีโอกาส” ดร.กฤษณากล่าว


พร้อมทั้งบอกว่า เคยได้รางวัลเป็นเงินเป็นทองเยอะ ๆ แต่ก็เฉย ๆ ก็บริจาคไป และไปที่แอฟริกา หรือไปทำงานที่ไหน ก็จะไปตั้ง มูลนิธิกฤษณา ไกรสินธุ์ แล้วก็เอาเงินจากยอดขายยามาเข้ามูลนิธิฯ เพื่อจะช่วยเด็กกำพร้าที่พ่อแม่ตายเพราะเอดส์ และเด็กก็ติดเอดส์ด้วย ซึ่ง “เด็กพวกนี้น่าสงสารมาก”.



สุภารัตน์ ยอดศิริวิชัยกุล / วิภาพร เปลี่ยนเจริญ : รายงาน
สุรเกตุ พงศ์สถาพร : ภาพ




ที่มา www.dailynews.co.th

http://www.nathoncity.com/paper/1155
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 25, 2010, 04:25:34 pm โดย มดเอ๊กซ »
" มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

เกอเธ่...

ออฟไลน์ มดเอ๊กซ

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7167
  • พลังกัลยาณมิตร 1518
    • ดูรายละเอียด

เวลาเดินทางไกล สิ่งหนึ่งที่เลือกนำไปเป็นเพื่อนเดินทาง คือ "หนังสือ" คราวนี้ตั้งใจหยิบ "เภสัชยิปซี ภาค2" ไปด้วย
เหตุง่ายๆ ของการซื้อหนังสือเล่มนี้ คือ "ปลื้ม" ผู้หญิงเก่งคนนี้มากๆ 

ดร.กฤษณา ไกรสินธุ์ เภสัชกรคนไทยที่ไปสร้างคุณูปการและชื่อเสียงในต่างแดนมากมาย
แต่แปลกที่...คนไทยไม่ค่อยรู้จักนัก


เพราะ...ประเทศไทยมัวติด “กับดัก” ของลิขสิทธิ์ยากับประเทศตะวันตก
และการแลกเปลี่ยนภายใต้เงื่อนไข “การค้าเสรี” ที่ไม่เคยเป็นธรรม กับประเทศที่อำนาจต่อรองน้อยกว่า

ในทำนอง FREE TRADE  but  NOT FAIR TRADE


ทำให้เราสูญเสียโอกาสที่จะได้คนดีๆ อย่าง ดร.กฤษณา
เพื่อทำงานที่อาจารย์ถนัดเพื่อประโยชน์ของคนไทย และการเข้าถึงยาของคนยากจนในสังคมไทย



แต่...อาจารย์ก็ได้ทำความฝันของตนเอง
โดยการไปสอนการทำยาต้านเอดส์ และมาลาเรีย เพื่อให้คนยากจนในทวีปแอฟริกา
ได้เข้าถึงยา รอดตาย และมีชีวิตที่ดีขึ้นได้






กลับมางานเขียน เภสัชกรยิปซี 2”
เขียนเล่าเรื่องการทำงานของอาจารย์ที่ ประเทศแทนซาเนีย ในทวีปแอฟริกา
รวมไปถึงเล่าบรรยากาศ ความสวยงามของธรรมชาติ และประสบการณ์ต่างๆ
ที่น่าสนใจ เข้าใจง่าย


หยิบบางส่วนที่ประทับใจมาบอกต่อ (ทางที่ดี หาอ่านทั้งเล่มจะได้อรรถรสกว่า)




คนแทนซาเนีย ตั้งชื่อให้อาจารย์ว่า “ซิมบาจิเค” แปลว่า สิงโตตัวเมีย
(หรือแปลว่า “นางสิงห์” สมกับการต่อสู้ของอาจารย์)


แทนซาเนีย มีชนเผ่าถึง 120 เผ่า แต่ไม่มีการสู้รบกันเลย สามารถอยู่ร่วมกันได้
แต่ชนเผ่าที่อาจารย์อธิบายได้น่ารักคือ คนมาไซ (Masai)




พวกมาไซ มีลักษระผอมสูง จมูกแหลม ....
ผู้ชายจะถือหอกเป็นอาวุธ และแต่งกายด้วยผ้าทอสีแดงเป็นพื้น อาจจะมีลายเส้นเป็นสีอื่นตัดกันบ้าง ...

พวกมาไซมีความเชื่อว่า  วัวทุกตัวในโลกนี้เป็นของเขา ดังนั้น หากเขาเดินทางไปในหมู่บ้านใด
ห็นวัวอยู่ในบ้าน เขาก็จะเข้าไปเอามาเลี้ยงโดยไม่ขออนุญาตเจ้าของ
เพราะถือว่า พระเจ้าได้มอบวัวในโลกนี้ให้พวกเขาแล้ว…

(ดีจัง ฉันจะเอาไว้ใช้ตอนขโมยวัว เพราะฉันเป็น “มาไซ”)


หรือ นิสัยเรื่อยๆ ไม่ค่อยดิ้นรนของคนแทนซาเนีย ไว้ว่า

...มีอยู่วันหนึ่ง ฉันเห็นกล้วยวางอยู่เยอะมาก ก็อยากซื้อไปเก็บไว้ทานวันต่อๆ ไปด้วย
แม่ค้าขายให้ฉันครึ่งเดียว แล้วบอกว่าที่เหลือจะเก็บเอาไว้ขายพรุ่งนี้ 
พอเขาขายให้ฉันครึ่งเดียวเสร็จ ก็เอากล้วยที่เหลือกลับบ้าน ค่อยหอบมาขายให้ใหม่วันพรุ่งนี้...

แล้วอาจารย์ก็สรุปว่า

...พวกเขาเป็นคนพอเพียงมาก แม้กระทั่งวิชาความรู้...

...คนที่นั่นไม่ขยัน และไม่ให้ความสนใจกับการฝึกอบรม เพราะพวกเขาได้รับตลอดเวลาจนเป็นความเคยชิน...

(มหันภัยจาก ระบบอุปถัมภ์แบบครอบงำ หรือในประเทศไทยเทียบได้กับ “ประชานิยม”)




ยอดเขาที่อาจารย์เล่าถึงอย่างประทับใจ คือ “คิลิมันจาโร” (Kilimanjaro)
เป็นยอดเขาที่สูงสุดในแอฟริกา และอยู่ในแทนซาเนีย จินตนาการที่ถ่ายทอดภาพ คือ

...หน้าตาเหมือนขนมเค้ก ที่มีน้ำตาลไอซิ่งแผ่นบางๆ คลุมอยู่ด้านบน...




แทนซาเนียยังมีความสมบูรณ์ในเรื่องธรรมชาติ ป่า และสัตว์ป่า
แถมยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวแบบซาฟารีที่นักท่องเที่ยวนิยมไพรหลงใหล
และในหนังสือเล่มนี้อาจารย์บรรยายไว้ได้อย่างงดงาม (ต้องอ่านเอง)

(เอารูปมาให้ดูประกอบ-แต่ไม่ใช่รูปในหนังสือค่ะ)



สัตว์ประจำชาติของแทนซาเนีย คือ ยีราฟ (Giraffe)
แต่มีสัตว์ชนิดหนึ่งที่เราไม่คุ้น แต่อาจารย์พูดถึงได้อย่างมีชีวิตชีวา คือ

“วิลเดอบีสต์” (Wildebeest) คำอธิบายคือ

..หน้าตาแปลกประหลาด ดูเป็นสัตว์ที่ไม่ฉลาด รูปร่างเหมือนม้า แต่สีเหมือนควาย
มีเขาเล็กๆ ขึ้นมา 2 อัน ตาโตสีดำ ขนสีดำไม่สม่ำเสมอ ทำให้ดูเหมือนสัตว์เป็นโรคผิวหนัง
เวลาวิ่งคอจะเอียงเล็กน้อย…

(ไปค้นรูปมาประกอบให้ เพื่อความเข้าใจค่ะ)




โรคมาลาเรียคร่าชีวิตคนในทวีปแอฟริกาแต่ละปีประมาณ 1.5-2.7 ล้านคน 90% เป็นเด็กอายุต่ำกว่า 5 ขวบ

แทนซาเนีย มีผู้ติดเชื้อเอดส์สูงถึง 2.2 ล้านคน
และคาดว่าปี 2553 โรคเอดส์จะทำให้อายุเฉลี่ยของคนแทนซาเนียลดลงจาก 65 ปี เหลือเพียง 37 ปี
แต่...มีผู้ป่วยเพียง 1,500-2,000 คน เท่านั้นที่ได้รับยาและมีกำลังพอที่จะซื้อยา



อาจารย์เล่าประสบการณ์และความพยายามในการสอนให้คน
ในประเทศแทนซาเนีย คองโก และ เบนิน 
เพื่อทำยาต้านมาลาเรียชนิดเม็ด ชนิดน้ำ และชนิดเหน็บทวาร และ ยาต้านเชื้อเอดส์ 
เอาไว้อย่างละเอียดทีเดียว

ทำให้รู้ถึงขั้นตอนการทำงาน  อุปสรรคที่เกิดขึ้น ความสำเร็จและความล้มเหลวของงานที่ทำ
และในขณะเดียวกันก็เห็น ความตั้งใจ ความหวัง ความยินดี ที่เกิดขึ้นกับการทำงานที่อาจารย์ทุ่มเทลงไป

(แต่สิ่งหนึ่งที่ฉันเห็นในการทำงานตลอดเวลา คือ “ความมุ่งมั่น อย่างไม่รู้จักย่อท้อ” ของผู้หญิงคนนี้ค่ะ)




ยิ้มเล็กๆ ที่อาจารย์เล่าไว้จนฉันต้องอมยิ้มกับวิธีการถ่ายทอดของอาจารย์ เช่น

....ฉันเหนื่อยมาก กลับมาถึงโรงแรมตอนเย็น เข้านอนทันที
เพราะชิมยาผงของเด็กจนอิ่ม ไม่อยากทานอะไรอีก...


ความสุขของอาจารย์จากงานที่ทำแล้วสำเร็จ คือ

...ฉันดีใจเมื่อทราบว่ายานี้เป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย
และมียอดจำหน่ายเป็นอันดับหนึ่งในแทนซาเนีย...
บางครั้งยาก็ขาดตลาด...ฉันเคยเห็นผู้ป่วยเข้ามาซื้อยาที่โรงงานด้วย...

...นี่คือความสุขของฉัน ที่เห็นผู้ป่วยได้รับยาของฉันแล้วเขาหายป่วย
หรือมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น...

...ความสุขเล็กๆ น้อยๆ เช่นนี้ ทำให้ฉันพอใจที่จะทำงานแบบนี้...


ความจริงที่น่าเจ็บปวดของอาจารย์ คือ

...ทวีปแอฟริกามีคนรวย มีคนมีการศึกษา ประสบความสำเร็จในชีวิต
และสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศอื่นมากมาย
แต่คนเหล่านี้ไม่เคยคิดจะกลับมาสร้างความเจริญให้ทวีปของตนเอง…

(ทรัพย์สินของคนรวยในแอฟริกา 40% อยู่นอกทวีป)


ข้อคิดในการทำงานของอาจารย์ในทวีปแอฟริกา คือ 

...ภาษาไม่ได้เป็นอุปสรรคในการสอนคนแอฟริกัน...

เพราะ...คนแทนซาเนีย ที่อาจารย์รู้จักเป็นอย่างดี สื่อสารกันได้ดี
แต่กลับเรียนรู้จากอาจารย์ในได้น้อยและช้ามาก ในขณะที่ คนคองโก และ เบนิน
ซึ่งอาจารย์สื่อสารทางภาษาไม่ได้ แต่กลับเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็ว ข้อสรุปของอาจารย์คือ

...ความยากจน และขาดแคลนของคนที่นี่ ทำให้เขาอยากเรียนรู้ อยากจะมีความรู้...





.....................

แด่...ผู้หญิงที่เป็นต้นแบบของความมุ่งมั่นที่จะทำสิ่งดีๆ สำหรับคนในโลกใบนี้.


ขอบคุณ รูปทุกรูปที่นำมาประกอบค่ะ.

http://gotoknow.org/blog/socialwithoutborders/259665?page=1
" มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

เกอเธ่...

ออฟไลน์ มดเอ๊กซ

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7167
  • พลังกัลยาณมิตร 1518
    • ดูรายละเอียด
สัมภาษณ์พิเศษ เภสัชกรยิปซี ยิ้มร่าใช้หนี้ฯ ม.อุบลราชธานี

ช่วงเดือนกันยายน ผมในฐานะแฟนคลับของเภสัชกรยิปซี ได้เขียนอีเมลฉบับหนึ่งไปถึงเภสัชกรยิปซี ดร.กฤษณา ไกรสินธุ์ เพื่อสอบถามทุกข์สุขของท่านเป็นอย่างไรในแอฟริกา ผมได้ข่าวว่าท่านไม่ค่อยสบายค่อนข้างบ่อย หลังจากท่านได้รับอีเมลของผมแล้ว ผมได้อ่านข้อความแล้วกลับไม่ได้รับคำตอบเกี่ยวกับสุขภาพและความเป็นอยู่ของท่าน




ท่านเพียงแค่เขียนบอกว่า ท่านอยากกลับเมืองไทยเพื่อไปมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีให้เร็วที่สุด เมื่อได้อ่านก็ยิ่งชวนให้ผมสงสัย และแล้วผมก็ขออนุญาตนัดหมายกับท่านเพื่อสัมภาษณ์พิเศษ เกิดอะไรขึ้นระหว่างเภสัชกรยิปซีและ ม.อุบลฯ

และแล้ววันนัดหมายของผมก็มาถึง วันที่ 8 พฤศิกายน 2008 ดร.กฤษณาอนุญาตให้ผมเข้าพบเพื่อทำการสัมภาษณ์พิเศษที่ร้านกาแฟแห่งหนึ่ง ผมขอนำบทสนทนาของผมบางช่วงมาเล่าสู่กันฟังดังนี้นะครับ




Kibangkok: อาจารย์เป็นอย่างไรบ้างครับ อาการป่วยเป็นอย่างไรบ้างครับ
เภสัชกรยิปซี: ตอนนี้สบายดีแล้วค่ะ มีไข้นิดหน่อย เป็นๆๆ หาย ตามอายุขัยค่ะ

Kibangkok: อาจารย์ครับ ผมได้รับอีเมลของอาจารย์เขียนสั้นๆๆว่าอยากจะไป ม.อุบลฯเพื่อทำอะไรบางอย่าง เขียนก็ไม่ละเอียด ทำให้ผมอดสงสัยไม่ได้ครับว่าเกิดอะไรขึ้น หรือว่า อาจารย์มีคดีความอะไรหรือเปล่าครับ

เภสัชกรยิปซี : อ๋อ....... นึกว่าจะถามเรื่องอะไรกัน ไม่มีอะไรหรอกค่ะ พี่กำลังจะทำโครงการพิเศษ เพื่อตอบแทนบุญคุณ คณะเภสัชศาสตร์ ม.อุบลราชธานี เพื่อเป็นการตอบแทนบุญคุณ ที่ทางมหาลัยช่วยเหลือพี่ในช่วงที่พี่เจอปัญหาใหญ่ที่ประเทศบุรุนดิค่ะ




Kibangkok: ปัญหาอะไรหรือครับที่ทาง ม.อุบลฯช่วยเหลืออาจารย์ ถึงขั้นที่ต้องเรียกว่า “บุญคุณ” (ผมถามพร้อมกับยักคิ้วแบบสงสัย เพราะเภสัชกรยิปซี พูดไปยิ้มไป เหมือนมีเลศนัยบางอย่างแอบแฝง)

เภสัชกรยิปซี : ในช่วงที่พี่ช่วยเหลือชาวพื้นเมืองบุรุนดิในเรื่องการผลิตยามาเลเรีย เราเจอปัญหาใหญ่คือเราไม่มีเครื่องมือสำหรับการอัดยาค่ะ ทีแรกก็มีโรงงานในบุรุนดิ รับปากว่าจะช่วย แต่คุยไปคุยมากลับไม่ช่วยเรา ปัดความช่วยเหลือเราค่ะ ในตอนนั้นพี่ได้สอนคนและเตรียมวัสดุไว้พร้อมแล้ว แต่พอจะอัดยากลับไม่มีเครื่องมืออัดยา พี่ติดต่อขอยืมเครื่องอัดยาเก่าๆๆของหน่วยงานราชการไทยหลายแห่ง แต่ก็ดูเหมือนว่าเค้าต้องใช้เวลาในการอนุมัติหลายอาทิตย์ และก็ไม่รู้ด้วยว่าจะอมัติช่วยพี่หรือเปล่า ติดต่อไปที่บริษัทผลิตเครื่องมือในประเทศไทย เค้าก็บอกว่า ต้องใช้เวลาหลายอาทิตย์กว่าจะผลิตเครื่องใหม่ให้ได้ ตอนนั้นพี่กลุ้มมากค่ะ ไม่รู้จะทำอย่างไรดี




Kibangkok : อ๊าว... ถ้าไม่มีเครื่องอัดยา โครงการก็ล้มพับไม่เป็นท่าเลยซิครับอาจารย์
เภสัชกรยิปซี: โครงการนี้สำคัญมากค่ะ เพราะเป็นโครงการที่รัฐบาลไทยให้ความช่วยเหลือแบบให้เปล่าในการผลิตยามาเลเรียแก่ประเทศบุรุนดิค่ะ ถ้าโครงการนี้สำเร็จ เราจะสามารถช่วยเหลือชีวิตของเด็กและประชาชนได้ที่นี่ได้มากทีเดียวค่ะ

คุณกิ๊รู้ไหมว่า เด็กเกิดใหม่ในประเทศนี้มีอัตราการป่วยด้วยมาเลเรียและเสียชีวิตเป็นจำนวนมากทีเดียว แต่ละปีเด็กเสียชีวิตเพราะมาเลเรียเป็นจำนวนมหาศาล มิหนำซ้ำเด็กจำนวนมากก็มีเชื้อ HIV ติดตัวมาตั้งแต่กำเนิด มันเป็นเรื่องน่าเศร้าค่ะ สำหรับความโหดร้ายที่มีอยู่ในโลกใบนี้ เท่านั้นยังไม่พอ ประชาชนที่นี่ยากจนมากค่ะ ติดอันดับโลกทีเดียวนะคะ ถ้าพวกเค้าไม่มีเงิน เค้าก็ไม่มีสิทธิมีชีวิตอยุ่ในโลกนี้ได้ค่ะ คนมีเงินเท่านั้นที่จะมีชีวิตอยู่ได้ค่ะ พี่จึงมีความฝันและตั้งใจอยากจะช่วยเหลือประชาชนที่นี่ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ค่ะ




Kibangkok: โห..........ถ้าไม่มีเครื่องอัดยา การอบรมที่ผ่านมารวมทั้งวัสดุที่เตรียมไว้ก็สูญเปล่า ดับฝันอาจารย์ไปเลยละซิครับ
เภสัชกรยิปซี : ไม่ถึงกับดับฝันของพี่หรอกค่ะ ในช่วงที่พี่กลุ้มใจหาทางแก้ไขปัญหาอยู่นั้น พี่ได้นึกถึงผู้ใหญ่ท่านหนึ่งค่ะ รศ.ดร.นงนิตย์ ธีระวัฒนษณ์ ท่านเป็นคณบดีคณะเภสัช ม.อุบลราชธานีค่ะ ทันทีที่นึกถึงท่าน พี่ก็รีบโทรศัพท์เพื่อไปขอยืมเครื่องมืออัดยาจากท่านทันทีค่ะ เครื่องอัดยาชนิดที่พี่ต้องการ มันเป็นเครื่องมือที่ต้องใช้แรงคนอัด ทันทีที่พี่ร้องขอความช่วยเหลือจากท่าน ท่านก็รับปากจะจัดส่งเครื่องมือให้ทันทีเลยค่ะ พี่ก็รีบประสานงานให้เจ้าหน้าที่สถานฑูตไทยให้ช่วยหิ้วเครื่องมือนี้จากประเทศไทยไปให้พี่ค่ะ

Kibangkok: ม.อุบลใจดีจังเลยนะครับ สงสัย คณะเภสัช ม.อุบล คงมีนางฟ้าเยอะนะครับ
เภสัชกรยิปซี : เค้าเป็นนางฟ้าจริงๆๆค่ะ หลังจากที่พี่ได้รับเครื่องมือ และนำไปใช้งานแล้ว คณบดีคณะเภสัชศาสตร์ รศ.ดร.นงนิตย์ ธีระวัฒนสุข ม.อุบล ก็แจ้งให้พี่ทราบว่า เครื่องอัดยาที่ยืมไป ไม่ต้องเอามาคืน เพราะ ทาง ม.อุบลฯยินดีขอบริจาคเครื่องมืออัดยานี้ให้กับประเทศบุรุนดิ เพื่อมนุษยธรรม ช่วยเหลือชีวิตเพื่อนมนุษย์ด้วยกันให้รอดพ้นจากความโหดร้ายของมาเลเรีย

Kibangkok: ผมดีใจแทนคนบุรุนดิครับอาจารย์ น่าปลื้มใจกับความช่วยเหลือของ ม.อุบลฯนะครับ เภสัชกรยิปซี : การบริจาคเครื่องอัดยาอาจจะเป็นเรื่องเล็กๆๆของ ม.อุบล แต่สำหรับพี่แล้ว พี่คิดว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่ของพี่ค่ะ เครื่องอัดยานี้มีความสำคัญในการช่วยชีวิตของเด็กให้รอดพ้นจากความตายค่ะ เป็นเรื่องที่ยิ่งใหญ่สำหรับผู้ป่วยชาวบุรุนดิและตัวพี่เองค่ะ พี่รุ้สึกว่า พี่ติดหนี้บุญคุณ ม.อุบล อย่างใหญ่หลวงค่ะ พี่จึงอยากจะทำอะไรบางอย่างเพื่อตอบแทนบุญคุณ คณะเภ สัช ม.อุบลค่ะ

Kibangkok: ผมเข้าใจแล้วครับ !!!!!! ที่อาจารย์บอกผมว่า ทำไมอาจารย์ถึงอยากจะไป ม.อุบลฯทันทีที่กลับถึงเมืองไทย อาจารย์กำลังจะทำอะไรเพื่อ ม.อุบลหรือครับ
เภสัชกรยิปซี : พี่จะเสนอตัวเข้าไปอาสาช่วยงานที่ ม.อุบล ค่ะ พี่วางแผนไว้ว่า จะทำ 2 โครงการค่ะ โครงการที่ 1 คือหน่วยงานวิเคราะห์ยา พี่อยากจะช่วยเหลือในการจัดตั้งหน่วยงานนี้ เพื่อให้คณะเภสัชฯได้ใช้หน่วยงานนี้เพื่อการวิจัยและช่วยเหลือส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากสมุนไพรไทยค่ะ เพื่อยกระดับสมุนไพรไทยในภาคอิสานและเพิ่มงานเพิ่มรายได้ให้กับเกษตกรด้วยค่ะ งานเหล่านี้พี่เคยทำมาแล้วค่ะที่ องค์การเภสัชในสมัยที่พี่เป็น ผอ.หน่วยงานวิจัยค่ะ

Kibangkok : โหหหหหหหหหหหหหหหห หน่วยงานวิเคราะห์ยา อีกไม่นานผมอาจจะได้เห็น ครีม หรือ ยาสมุนไทยดีๆๆ ออกมาสู่ตลาดซิครับ อยากจะเห็นโครงการนี้สำเร็จเร็วๆๆๆจังเลยครับ เออออออออ เผื่อผมจะได้ไปขอครีมหน้าเด้งมาให้แม่ของผมใช้บ้างครับ
เภสัชกรยิปซี: ครีมหน้าเด้ง ก็เป็นอีกตัวอย่างที่สำเร็จของหน่วยงานวิเคราะห์ยาของไทยค่ะ สมุนไพรไทยมีศักยภาพและคุณภาพสูง ควรเร่งส่งเสิรมงานวิเคราะห์และการวิจัยสิ่งใหม่ออกมาค่ะ

Kibangkok : แล้วโครงการที่ 2 ที่อาจารย์อยากจะทำ คืออะไรครับ
เภสัชกรยิปซี : โครงการที่ 2 เป็นโครงการผลิตโรงงานผลิตยาค่ะ พี่อยากจะสร้างโรงงานเล็กๆๆค่ะ เพื่อผลิตยาสมุนไพรไทย พี่อยาจะสร้างโรงงานนี้ เพื่อจะผลิตทั้งยา และอยากจะให้สถานที่แห่งนี้ เป้นที่ฝึกงานของนักศึกษาเภสัชด้วยค่ะ ปัญหาอย่างหนึ่งของนักศึกษาเภสัชก็คือหาที่ฝึกงานยากค่ะ โรงงานเค้าไม่ค่อยรับนักศึกษาเข้าไปฝึกค่ะเพราะมันเสียเวลาและค่าใช้จ่ายของพวกเค้าเยอะค่ะ นักศึกษาฯจึงไม่ค่อยได้มีที่ฝึกงานกันค่ะ พี่ก็อยากจะใช้โรงงานนี้เป้นที่ฝึกงานของนักศึกษาค่ะ นอกจากนั้นก็ยังจะช่วยเพิ่มงานเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรได้ด้วยค่ะ

Kibangkok: เมื่อไรจะเริ่มโครงการนี้ครับอาจารย์ ผมฟังแล้ว ตื่นเต้นแทนนักศึกษา ม.อุบลฯครับ เภสัชกรยิปซี: ในเดือนพฤศจิกายน พี่จะเดินทางไป ม.อุบล พร้อมด้วย ดร.หยาง จาก Habin Institution of Technology (HIT) เพื่อประชุมหารือในการเริ่มโครงการนี้ค่ะ

Kibangkok: ดร.หยาง เป็นใครหรือครับอาจารย์
เภสัชกรยิปซี: ดร.หยาง ท่านเป็นคณะบดี ของคณะ Bio Engineering ของ HIT แห่งเมือง Hilong Jiang ประเทศจีนค่ะ พี่เป็นอาจารย์พิเศษที่มหาวิทยาลัยแห่งนี้มากว่า 10 ปีแล้วค่ะ ที่เดินทางไปเมืองจีน ก็ไปสอนหนังสือที่มหาลับแห่งนี้แหละค่ะ ตอนนี้พี่อยากจะประสานความความมือกันระหว่าง ม.อุบล กับ HIT ในการแลกเปลี่ยนความรู้และเทคโนโลยีระหว่างกันค่ะ พี่ก็หวังว่า โครงการนี้จะช่วยเหลือให้ทั้งสองประเทศให้คิดค้น และเปลี่ยนความรู้ ร่วมมือกันคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆๆ เพื่อผลิตยาช่วยเหลือชีวิตคนให้มากขึ้นค่ะ พี่ก็หวังเล็กๆๆเพียงเท่านี้แหละค่ะ




Kibangkok: อาจารย์ครับ เยี่ยมยอดจริงๆๆค่รับ ดีใจแทน ม.อุบลครับกับโครงการนี้ได้ช่วยเหลือทั้งนักศึกษาเภสัช และได้ช่วยส่งเสริมให้เกษตรมีอาชีพ มีรายได้เพิ่มขึ้นด้วย ฮึม...... ดร.กฤษณา ไกรสินธ์ นางฟ้าจริงๆๆครับ
เภสัชกรยิปซี... เอออออออ... ไม่รู้ว่าจะได้เป็นหรือเปล่านะค๊ะ ถ้าพี่เป็นพี่คงจะเป็นนางฟ้าที่มีอายุเยอะไปหน่อยนะคะ ตอนนี้บินไม่ไหว เร่ร่อนสอนทำยาอยู่บนโลกนี้แหละค่ะ







หลังจากเภสัชกรยิปซีพูดจบ ท่านก็ค่อยๆๆ หยิบถุงพลาสติกถุงหนึ่งขึ้นมา แล้วหยิบซองกระดาษขึ้นมาหนึ่งชิ้น แล้วบอกผมว่า อัน นี้เป็นขนมปังไส้แฮมค่ะ ท่าทางจะอร่อยนะค๊ะ ทานรองท้องก่อนกลับบ้านสักชิ้นน๊ะคะ และก็ในถุงอีก 2-3 ชิ้นฝากคุณกิ๊นำไปทานที่บ้านด้วยนะค๊ะ

ผมเดินลาจากท่านพร้อมด้วยถุงขนมปัง และผมหวังว่าจะได้เจอท่านอีกในเร็วๆๆนี้นะครับ ผมอยากจะทานขนมปังจากท่านอีกครับ........หมอยาเร่ร่อน เภสัชยิปซี ดร.กฤษณา ไกรสินธุ์

ดูรายละเอียดเกี่ยวกับ คณะเภสัช ม.อุบล คลิ๊กที่นี่ครับ

หากต้องการให้กำลังใจ เภสัชกรยิปซี กรุณาคลิ๊กที่นี่ครับ ขอบพระคุณครับ

เชิญอ่าน "เภสัชกรยิปซี ได้รับคัดเลือกเป็นบุคคลดีเด่นแห่งชาติ " ได้ที่นี่ครับ

 
http://www.oknation.net/blog/thaithai/2008/11/25/entry-2
" มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

เกอเธ่...

ออฟไลน์ มดเอ๊กซ

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7167
  • พลังกัลยาณมิตร 1518
    • ดูรายละเอียด






รายการชีพจรโลก โดย สุทธิชัย หยุ่น ที่แพร่ภาพทางช่อง 9 อสมท. ได้สัมภาษณ์ ภก.ดร.กฤษณา ไกรสินธุ์ เภสัชกรยิปซี เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2009 ถามตอบกันแบบเปิดใจ คำถามและคำตอบที่ฟังแล้วทำให้คนไทยยิ่งปลื้มกับผู้หญิงคนนี้


ตอนที่1 ออกอากาศเมื่อ 2009-08-25

<a href="http://video.nationchannel.com/player.swf?file=http://video.nationchannel.com/data/6/2009/08/31/h96ib78bbafaa8kb8ei56.flv&amp;image=http://video.nationchannel.com/thump/6/2009/08/31/h96ib78bbafaa8kb8ei56.jpg&amp;autostart=false&amp;showfsbutton=false" target="_blank" rel="noopener noreferrer" class="bbc_link bbc_flash_disabled new_win">http://video.nationchannel.com/player.swf?file=http://video.nationchannel.com/data/6/2009/08/31/h96ib78bbafaa8kb8ei56.flv&amp;image=http://video.nationchannel.com/thump/6/2009/08/31/h96ib78bbafaa8kb8ei56.jpg&amp;autostart=false&amp;showfsbutton=false</a>

ตอนที่ 2 ออกอากาศเมื่อ 2009-09-01

<a href="http://video.nationchannel.com/player.swf?file=http://video.nationchannel.com/data/6/2009/09/04/djj659fjgjbkeb566agbf.flv&amp;image=http://video.nationchannel.com/thump/6/2009/09/04/djj659fjgjbkeb566agbf.jpg&amp;autostart=false&amp;showfsbutton=false" target="_blank" rel="noopener noreferrer" class="bbc_link bbc_flash_disabled new_win">http://video.nationchannel.com/player.swf?file=http://video.nationchannel.com/data/6/2009/09/04/djj659fjgjbkeb566agbf.flv&amp;image=http://video.nationchannel.com/thump/6/2009/09/04/djj659fjgjbkeb566agbf.jpg&amp;autostart=false&amp;showfsbutton=false</a>
" มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

เกอเธ่...

ออฟไลน์ แก้วจ๋าหน้าร้อน

  • สิ่งใดคือธรรมะ สิ่งนั้นย่อมดีแล้วสูงสุด
  • ทีมงานกวาดลานดิน
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 6503
  • พลังกัลยาณมิตร 1741
  • ธรรมะอวยพรความดีคุ้มครอง
    • kaewjanaron
    • facehot
    • ดูรายละเอียด
    • ใต้ร่มธรรม
^^  ดร.กฤษณา ท่านน่ารักดีนะครับ ขอบคุณครับพี่มด
การโพสภาพโดยใช้เว็บฝากไฟล์ภาพ imageshack.us/ (เว็บกบ)
การปรับแต่งห้องสมาชิกไร้ขีดจำกัด Ultimate Profile + ห้องเพลงส่วนตัว
การตั้งกระทู้และการโพสกระทู้ในเว็บใต้ร่มธรรมครับ
การแก้ไข้ข้อมูล ชื่อ ระหัส ส่วนตัวของสมาชิกใต้ร่มธรรมครับ
การใส่รูปประจำตัวเรา Avatar รวมทั้งลายเซ็นต์ ในกระทู้หรือโพสของเราครับ
เพิ่มไอคอน ทวิสเตอร์ เฟชบุ๊ค ยูทูบ ในโปรโปรไฟล์ของเรา
การสร้างอัลบั้มภาพส่วนตัวในห้องสมาชิก Profile Pictures
การเพิ่มเพื่อน กัลยาณมิตรใต้ร่มธรรม ในห้องสมาชิกส่วนตัว
การดูกระทู้ทั้งหมดที่เรายังไม่ได้อ่านครับ
โค้ดสี bb color code ไว้สำหรับโพสกระทู้ครับ
*วิธีเคลียร์แคชในทุกเว็บเบราว์เซอร์ครับ เมื่อคอมอืด*

ห้องประชุมของทีมงาน
~ธรรมะอวยพรความดีคุ้มครองครับ~