ผู้เขียน หัวข้อ: ฟังเพลงก็บรรลุธรรมได้ (สุภาษิตสูตร)  (อ่าน 1569 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ เลดี้เบื๊อก

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นไม้เล็กพริ้วไหวดั่งสายลม
  • *
  • กระทู้: 165
  • พลังกัลยาณมิตร 119
    • ดูรายละเอียด
 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 415
   
   บทว่า  จตูหิ  องฺเคหิ   คือแต่เหตุ  ๔  หรือด้วยส่วน ๔.   เหตุแห่ง
   วาจาสุภาษิต  ๔  มีเว้นจากพูดเท็จเป็นต้น   ส่วน  ๔  มีพูดจริงเป็นต้น.   อนึ่ง
   อังคศัพท์ใช้ในอรรถว่า เหตุ.  บทว่า สมนฺนาคตา  คือมาตามเสมอ เป็นไป
   แล้วและประกอบแล้ว. บทว่า วาจา ได้แก่วาจาที่สนทนากันมาในบทมีอาทิว่า
   การเปล่งวาจาไพเราะ   และการเปล่งวาจาไม่มีโทษ  ไพเราะหู,   วิญญัตติวาจา
   (พูดขอร้อง) อย่างนี้ว่า  หากท่านทำกรรมด้วยวาจาเป็นต้น.   วิรติวาจา (พูดเว้น )
   อย่างนี้ว่า  การงดเว้นจากวจีทุจริต  ๔ นี้เรียกว่าสัมมาวาจา๑เป็นต้นต้น   และเจตนา-
   วาจา  (พูดด้วยเจตนา)    อย่างนี้ว่า    ดูก่อนภิกษุทั้งหลายวาจาหยาบที่เสพมาก
   อบรมแล้วทำให้มากจะยังสัตว์ให้ไปนรก  ดังนี้เป็นต้น   ย่อมมาด้วยบทว่า  วาจา
   วาจานั้นท่านไม่ประสงค์เอาในสูตรนี้.   เพราะเหตุไร  เพราะไม่ควรพูด.
           บทว่า  สุภาสิตา   โหติ ได้แก่ กล่าวคำชอบ  ด้วยเหตุนั้นท่านแสดง
   ความที่วาจานั้นนำประโยชน์มาให้.    บทว่า  น  ทุพฺภาสิตา   ได้แก่  กล่าว
   
   ๑. อภิ.  วิ. ๓๕/ ข้อ ๑๗๘.
   
   พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 416
   
   ไม่ชอบ.    ด้วยบทนั้นท่านแสดงความที่วาจานั้นนำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์มาให้.
   บทว่า  อนวชฺชา  ได้แก่  เว้นจากโทษมีราคะเป็นต้นที่จัดว่าเป็นโทษ.   ด้วย
   บทนั้น ท่านแสดงความที่วาจานั้นบริสุทธิ์ด้วยเหตุ   และความที่วาจานั้นไม่มีโทษ
   อันทำให้ถึงอคติเป็นต้น .   บทว่า   อนนุวชฺชา  จ  ได้แก่   เว้นจากการติเตียน.
   ด้วยบทนั้นท่านแสดงถึงความถึงพร้อมด้วยอาการทั้งหมดของวาจานั้น.  บทว่า
   วิญฺญูนํ ได้แก่   บัณฑิตทั้งหลาย.    ด้วยบทนั้นท่านแสดงว่า    ในการนินทา
   และสรรเสริญ  คนพาลเอาเป็นประมาณไม่ได้.   บทว่า   กตเมหิ   จตูหิ  เป็น
   คำถามที่พระองค์มีพระประสงค์จะตอบเอง.   บทว่า   อิธ    คือในศาสนานี้.
   บทว่า  ภิกิขเว  ได้แก่ ร้องเรียกผู้ที่ประสงค์จะกล่าวด้วย.   บทว่า  ภิกฺขุ   ชี้ถึง
   บุคคลที่จะกล่าวถึง   โดยประการดังกล่าวแล้ว.
           บทว่า   สุภาสิตํเยว   ภาสติ   ได้แก่  โดยเทศนาเป็นบุคลาธิษฐาน
   เป็นคำชี้ถึงองค์ใดองค์หนึ่งในองค์ของวาจา  ๔.    บทว่า  โน  ทุพฺภาสิตํ
   ได้แก่  ห้ามการกล่าวทักท้วงองค์ของวาจานั้น.  ด้วยบทนั้นย่อมปฏิเสธความเห็น
   ว่า  บางครั้งแม้มุสาวาทเป็นต้นก็ควรพูดได้. หรือว่าด้วยบทว่า  โน  ทุพฺภาสิตํ
   นี้  ท่านแสดงการละมิจฉาวาจา.  บทว่า  สุภาสิตํ  นี้เป็นลักษณะของคำพูดที่
   ผู้ละมิจฉาวาจานี้ได้แล้วควรกล่าว  เหมือนกล่าวถึง  ปาปสฺส อกรณํ  กุสลสฺส
   อุปสมฺปทํ  การไม่ทำความชั่ว   การเข้าถึงกุสล.   แต่ท่านกล่าวถึงคำที่ไม่ควร
   กล่าวเพื่อแสดงองค์      ควรกล่าวเฉพาะคำที่ไม่ได้กล่าวมาในบท.     แม้ในคำ
   มีอาทิว่า  ธมฺมํเยว ก็มีนัยนี้แล.   ในสูตรนี้ท่านกล่าวถึงคำที่ทำให้สุภาพเว้นจาก
   โทษมีส่อเสียดเป็นต้น  ด้วยบทนี้ว่า  สุภาสิตํเยว  ภาสติ  โน  ทุพฺภาสิตํ
   
   พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 417
   
   กล่าวเเต่คำที่เป็นสุภาษิต    ไม่กล่าวคำที่เป็นทุพภาษิต.   ด้วยบทว่า  ธมฺมํเยว
   ภาสติ  โน   อธมฺมํ  ย่อมกล่าวคำที่เป็นธรรมเท่านั้น   ไม่กล่าวคำที่ไม่เป็นธรรม
   นี้    ท่านกล่าวถึงคำที่เป็นปัญญา     ไม่ปราศจากธรรมเว้นจากโทษคือคำ
   เพ้อเจ้อ.  ด้วยบททั้งสองนี้    ท่านกล่าวถึงคำน่ารักเป็นสัจจะ  เว้นจากคำหยาบ
   และคำเหลาะแหละ.
           พระผู้มีพระภาคเจ้า     เมื่อจะทรงแสดงองค์เหล่านั้นโดยประจักษ์  จึง
   ทรงสรุปคำนั้นด้วยบทมีอาทิว่า   อิเมหิ  โข  ดังนี้.  ส่วนโดยพิสดารในบทนี้
   พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า     ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย    วาจาประกอบด้วยองค์  ๔
   เหล่านี้แล   เป็นวาจาสุภาษิต   ทรงปฏิเสธคำที่พวกอื่นบัญญัติว่า   วาจาสุภาษิต
   ประกอบด้วยส่วนทั้งหลายมีปฏิญญาเป็นต้น   ด้วยบทนามเป็นต้น    และด้วยการ
   ประกอบลิงค์  วจนะ   วิภัตติ์   กาล   และการกเป็นต้น    จากธรรม.
           วาจาประกอบด้วยการพูดส่อเสียดเป็นต้น  แม้ถึงพร้อมด้วยส่วนเป็นต้น
   ก็เป็นวาจาทุพภาษิตอยู่นั่นเอง     เพราะเป็นวาจาที่นำความฉิบหายมาให้แก่ตน
   และคนอื่น.    วาจาประกอบด้วยองค์  ๔  เหล่านี้   แม้หากว่านับเนื่องด้วยภาษา
   ของชาวมิลักขะ (คนป่าเถื่อน) หรือนับเนื่องด้วยภาษาของหญิงรับใช้และนักขับ
   ร้องแม้ดังนั้นก็เป็นวาจาสุภาษิตได้เหมือนกัน     เพราะนำโลกิยสุขและโลกุตรสุข
   มาให้. เมื่อหญิงรับใช้ผู้ดูแลข้าวกล้าที่ข้างทางในเกาะสีหลขับเพลงขับเกี่ยวด้วย
   ชาติ  ชรา  พยาธิ   และมรณะด้วยภาษาสีหล   ภิกษุผู้บำเพ็ญวิปัสสนาประมาณ
   ๖๐  รูป  เดินไปตามทางได้ยินเข้าก็บรรลุพระอรหัต  ณ  ที่นั้นเอง  นี่เป็นตัวอย่าง.
   อนึ่ง    ภิกษุผู้เริ่มวิปัสสนาชื่อติสสะไปใกล้สระปทุม    เมื่อหญิงรับใช้เด็ดดอก
   ปทุมในสระปทุมขับเพลงขับนี้ว่า
   
   พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 418
   
                     ปาตผุลฺลํ  โกกนทํ     สูริยาโลเกน  ตชฺชียเต
                   เอวํ  มนุสฺสตฺตคตา    สตฺตา  ชราภิเวเคน  มิลายนฺติ
                       ดอกบัวบานในเวลาเช้า  ถูกแสง-
                   อาทิตย์แผดเผาย่อมเหี่ยวแห้ง    สัตว์ทั้งหลาย
                   ผู้ถึงความเป็นมนุษย์ก็เหมือนอย่างนั้น  ย่อม
                   เหี่ยวแห้งไปด้วยอำนาจของเรา  ดังนี้.
   ภิกษุนั้นก็บรรลุพระอรหัต.
           ในระหว่างพุทธกาล  บุรุษผู้หนึ่งมาจากป่าพร้อมด้วยบุตร ๗ คน  ได้
   ยินเพลงขับของหญิงคนหนึ่งซ้อมข้าวอยู่ว่า       
                      ชราย  ปริมทฺทิตํ  เอตํ  มิลาตจฺฉวิจมฺมนิสฺสิตํ
                  มรเณน  ภิชฺชติ  เอตํ    มจฺจุสฺส  ฆสมามิสํ  คตํ
                  กิมีนํ  อาลยํ  เอตํ         นานากุณเปน  ปูริตํ
                  อสุจิสฺส  ภาชนํ  เอตํ      กทลิกฺขนฺธสมํ  อิทํ.
                       สรีระนี้ถูกชราย่ำยี  ผิวหนังเหี่ยวแห้ง
                  ย่อมแตกไปด้วยมรณะ  ถึงความเป็นอาหาร
                  และเหยื่อของมัจจุ.
                       สรีระนี้เป็นที่อาศัยของเหล่าหนอน
                  เต็มไปด้วยซากศพนานาชนิด    สรีระนี้เป็น
                  ภาชนะของอสุจิ    สรีระนี้   เสมอด้วยต้น
                  กล้วย  ดังนี้.
   
    พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 419
   
           บุรุษนั้นได้บรรลุปัจเจกโพธิญาณ     พร้อมกับบุตรทั้งหลาย.  อนึ่ง
   ยังมีตัวอย่างผู้อื่นที่บรรลุอริยภูมิด้วยอุบายเช่นนี้อีก.     นั้นยังไม่น่าอัศจรรย์นัก
   ภิกษุ  ๕๐๐  รูปฟังคาถาที่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ฉลาดในอาสยานุสยญาณ   (รู้
   อัธยาศัยของสัตว์)  ตรัสไว้โดยนัยเป็นต้นว่า  สพฺเพ    สงฺขารา    อนิจฺจา
   สังขารทั้งหลายทั้งปวงไม่เที่ยง  ดังนี้   ได้บรรลุพระอรหัต.  อนึ่ง  เทวดา
   และมนุษย์เหล่าอื่นไม่น้อย  ฟังกถาภาษิตประกอบด้วยขันธ์และอายตนะเป็นต้น
   ได้บรรลุพระอรหัต.         
            วาจาประกอบด้วยองค์  ๔  เหล่านี้อย่างนี้   แม้หากว่าเป็นวาจาที่เนื่อง
   ด้วยภาษาของพวกมิลักขะ   และเนื่องด้วยภาษาของหญิงรับใช้   และนักขับร้อง
   พึงทราบว่าเป็นวาจาสุภาษิตเหมือนกัน.   เพราะเป็นวาจาสุภาษิตนั่นเอง  จึงเป็น
   วาจาไม่มีโทษ   และวิญญูชน คือ  กุลบุตรผู้ต้องการประโยชน์   ยึดอรรถไม่ยึด
   พยัญชนะไม่พึงติเตียน.       
   
http://www.samyaek.com/pratripidok/index.php?topic=190.0
http://agaligohome.fix.gs/index.php?topic=2133.0

ออฟไลน์ แก้วจ๋าหน้าร้อน

  • สิ่งใดคือธรรมะ สิ่งนั้นย่อมดีแล้วสูงสุด
  • ทีมงานกวาดลานดิน
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 6503
  • พลังกัลยาณมิตร 1741
  • ธรรมะอวยพรความดีคุ้มครอง
    • kaewjanaron
    • facehot
    • ดูรายละเอียด
    • ใต้ร่มธรรม
Re: ฟังเพลงก็บรรลุธรรมได้ (สุภาษิตสูตร)
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: มกราคม 01, 2011, 10:14:57 am »
 :13: อนุโมทนาครับ ขอบคุณครับพี่สาว
การโพสภาพโดยใช้เว็บฝากไฟล์ภาพ imageshack.us/ (เว็บกบ)
การปรับแต่งห้องสมาชิกไร้ขีดจำกัด Ultimate Profile + ห้องเพลงส่วนตัว
การตั้งกระทู้และการโพสกระทู้ในเว็บใต้ร่มธรรมครับ
การแก้ไข้ข้อมูล ชื่อ ระหัส ส่วนตัวของสมาชิกใต้ร่มธรรมครับ
การใส่รูปประจำตัวเรา Avatar รวมทั้งลายเซ็นต์ ในกระทู้หรือโพสของเราครับ
เพิ่มไอคอน ทวิสเตอร์ เฟชบุ๊ค ยูทูบ ในโปรโปรไฟล์ของเรา
การสร้างอัลบั้มภาพส่วนตัวในห้องสมาชิก Profile Pictures
การเพิ่มเพื่อน กัลยาณมิตรใต้ร่มธรรม ในห้องสมาชิกส่วนตัว
การดูกระทู้ทั้งหมดที่เรายังไม่ได้อ่านครับ
โค้ดสี bb color code ไว้สำหรับโพสกระทู้ครับ
*วิธีเคลียร์แคชในทุกเว็บเบราว์เซอร์ครับ เมื่อคอมอืด*

ห้องประชุมของทีมงาน
~ธรรมะอวยพรความดีคุ้มครองครับ~