ผู้เขียน หัวข้อ: ส่งท้าย 20 ปี “ฮับเบิล” กับ 20 ภาพสวยจากอวกาศ  (อ่าน 1869 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ มดเอ๊กซ

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7167
  • พลังกัลยาณมิตร 1518
    • ดูรายละเอียด


ส่งท้ายปลายปีกันด้วย 20 ภาพสวยจาก “ฮับเบิล” กล้องโทรทรรศน์อวกาศที่ทำหน้าที่เป็นดวงตาอวกาศมาร่ว ม 2 ทศวรรษ ซึ่งนอกจากภาพสวยแล้วยังเป็นหลักฐานสำคัญต่อการทำควา มเข้าใจอวกาศและดวงดาว ที่มากขึ้นด้วย

ฮับเบิล (Hubble) เป็นกล้องโทรทรรศน์อวกาศตัวแรกของโลกที่องค์การบริหา รการบินอวกาศสหรัฐฯ (นาซา) ส่งขึ้นสู่วงโคจรโดยกระสวยอวกาศดิสคัฟเวอรี (Discovery) เมื่อวันที่ 24 เม.ย.1990 โดยโคจรอยู่ที่ความสูง 569 กิโลเมตร ด้วยความเร็วรอบละ 28,000 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

สิ่งที่ฮับเบิลไม่สามารถบันทึกภาพถ่ายได้คือดวงอาทิต ย์และดาวพุธที่ อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากเกินไป ทั้งนี้ กล้องฮับเบิลสามารถบันทึกภาพวัตถุที่เล็กขนาดเส้นผมใ นระยะทางไกล 1.6 กิโลเมตรได้ และส่งภาพกลับมาให้นาซาด้วยปริมาณข้อมูลสัปดาห์ละ 120 กิกะไบต์ หรือเทียบเท่ากับหนังสือในชั้นที่สูง 1,097 เมตร และทีมข่าววิทยาศาสตร์ ASTV-ผู้จัดการออนไลน์ ได้คัดเลือก 20 ภาพที่น่าสนใจมานำเสนอ ดังนี้





ภาพคล้ายฟองสีแดงนี้คือเศษซากจากการระเบิดระหว่างดวง ดาวในเมฆแมเจ ลแลนใหญ่ (Large Magellanic Cloud: LMC) ซึ่งเป็นกาแลกซีขนาดเล็กที่อยู่ไกลจากโลก 160,000 ปีแสง โดยเศษซากดังกล่าวเรียกว่า “เอสเอ็นอาร์ 0509” (SNR 0509)





ภาพของกระจุกดาราจักร (galaxy cluster) เอเบลล์ 1689 (Abell 1689) ซึ่งเป็นกลุ่มกาแลกซีขนาดใหญ่ที่ห่างจากโลก 2.2 พันล้านปีแสง ทั้งนี้ เราไม่สามารถบันทึกภาพสสารมืดได้โดยตรง แต่นักวิทยาศาสตร์ได้ทำแผนที่สสารมืดจากการวาดเส้นโค ้งจำนวนมากที่เกิดจาก แสงทางพื้นหลังกาแลกซี ซึ่งแสงดังกล่าวถุกทำให้บิดเบี้ยวโดยสนามโน้มถ่วงของ กระจุกกาแลกซีที่อยู่ ด้านหน้า ภาพสสารมืดถูกนำเสนอเป็นรอยเปื้อนสีน้ำเงิน ทั้งนี้ความหนาแน่นและการกระจายตัวของสสารมืดจะทำให้ เราเข้าใจธรรมชาติของ พลังงานมืดได้ดีขึ้น สำหรับภาพนี้ฮับเบิลบันทึกเมื่อปี 2002 ด้วยแสงธรรมชาติ





ภาพเนบิวลาคารินาหรือกระดูกงูเรือ (Carina Nebula) ที่นาซานำมาเผยแพร่ฉลองครบรอบ 20 ปีการส่งกล้องโทรทรรศน์ฮับเบิลขึ้นสู่วงโคจร เป็นเนบิวลาในกลุ่มดาวกระดูกงูเรือซึ่งห่างจากโลก 7,500 ปีแสง ในภาพเผยให้เห็นความอลหม่านของก๊าซและฝุ่นที่กินระยะ ทาง 3 ปีแสงของบริเวณด้านบนเนบิวลาคล้ายเสาหินนี้ ซึ่งก๊าซและฝุ่นกำลังถูกกลืนกินโดยดาวที่สุกสว่างข้า งเคียง และในบริเวณคล้ายเสาหินยังถูกจู่โจมจากดาวเกิดใหม่ที ่อยู่ภายในซึ่งเราเห็น เป็นภาพของลำก๊าซที่พวยพุ่งออกมาบริเวณยอดเสา





ภาพการเกิดแสงเหนือ-แสงใต้ที่ขั้วดาวเสาร์ทั้ง 2 ด้าน ซึ่งเป็นเหตุการ์ณที่พบได้ยาก โดยฮับเบิลบันทึกภาพนี้ได้เมื่อปี 2009 โดยแสงเหนือ-แสงใต้หรือออโรรา (aurorae) นั้น เกิดจากอนุภาคมีประจุเข้าปะทะสนามแม่เหล็กของดาวเครา ะห์ และกระตุ้นให้ก๊าซในชั้นบรรยากาศเกิดการเรืองแสง ซึ่งปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นนี้เป็นปรากฏการณ์เดียวกัน กับที่เกิดขึ้นบริเวณ ขั้วโลก





ภาพกาแลกซีแอนเทนเน (Antennae) ที่ได้จากการผสมผสานระหว่างข้อมูลกล้องฮับเบิล ซึ่งให้ภาพในส่วนสีทองและน้ำตาล กล้องโทรทรรศน์อวกาศรังสีเอกซ์จันทรา (Chandra X-ray Observatory) ซึ่งให้ภาพในส่วนสีน้ำเงิน และกล้องโทรทรรศน์อวกาศสปิตเซอร์ (Spitzer Space Telescope) ซึ่งให้ภาพสีแดง กาแลกซีนี้อยู่ห่างจากโลกออกไป 62 ล้านปีแสง และแรงโน้มถ่วงจากการชนกันจึงทำให้กาแลกซีดังกล่าวมี ลักษณะยาวๆ และเป็นที่มาของชื่อกาแลกซี





“ภาพเสาหลักแห่งการสร้าง” (Pillars of Creation) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเนบิวลานกอินทรี (Eagle Nebula) ที่เป็นแหล่งกำเนิดของดวงดาวอยู่ในกลุ่มดาวงู (Serpens) ที่ห่างจากโลก 6,500 ปีแสง ภาพนี้ถือเป็นภาพสุดคลาสสิคของฮับเบิลที่สร้างความตะ ลึงงันให้แก่ผู้พบเห็น โดยบันทึกไว้เมื่อวันที่ 1 เม.ย.1995 ซึ่งสีของภาพนั้นเกิดการผสมภาพ 3 ภาพจากการปลดปล่อยแสงของอะตอมที่แตกต่างกัน สีแดงนั้นเกิดจากการปลดปล่อยพลังงานของซัลเฟอร์ สีเขียวเกิดจากการปลดปล่อยพลังงานของอะตอมไฮโดรเจน และสีน้ำเงินเกิดจากการปลดปล่อยพลังงานของอะตอมไฮโดร เจน





ภาพใจกลางกาแลกซีกังหัน “เอ็ม51” (M51) ซึ่งมีรูป “เอกซ์” (X) สีดำตัดกลางกาแลกซี ซึ่งการเกิดรูปเอกซ์นี้ขึ้นอยู่กับดูดกลืนโดยฝุ่นและ เอกซ์ยังเป็นตำแหน่งของ หลุมดำที่อาจจะมีมวลเทียบเท่ากับดาวฤกษ์อย่างดวงอาทิ ตย์ 1 ล้านดวง โดยแถบที่เข้มที่สุดนั้นอาจเป็นขอบวงแหวนฝุ่นที่มีเส ้นผ่านศูนย์กลาง 100 ปีแสง ส่วนอีกขอบนั้นอาจจะอีกวงแหวนหรือก๊าซที่หมุนวน





ภาพที่คล้าย “ดวงตาของพ่อมดซอรอน” (Sauron) ในภาพยนตร์และนิยายเรื่อง “ลอร์ดออฟเดอะริง” (The Lord of the Rings) นี้ คือภาพเนบิวลาตาแมว (Cat's Eye Nebula) หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ เอ็นจีซี 6543 ซึ่งเป็นเนบิวลาดาวเคราะห์แรกที่ถูกค้นพบ และยังเป็น1 ในเนบิวลาที่ซับซ้อนที่สุดในอวกาศ





ภาพดาวพฤหัสบดีและการเรียงกันของดวงจันทร์บริวาร 3 ดวง คือ ไอโอ (Io) แกนีมีด (Ganymede) และคาลลิสโต (Callisto) ด้านหน้าดาวเคราะห์ซึ่งเป็นภาพที่หาดูได้ยาก โดยในภาพนี้จะเห็นจุดดำ 3 จุดซึ่งเป็นเงาของดวงจันทร์ จุดขาว 1 จุดซึ่งเป็นภาพของดวงจันทร์ไอโอ และจุดฟ้าอีก 1 จุด ซึ่งเป็นภาพของดวงจันทร์แกนีมีด แต่ฮับเบิลไม่สามารถบันทึกภาพดวงจันทคาลลิสโตที่ด้าน ขวาของดาวพฤหัส โดยเห็นเพียงเงาอยู่ด้านขวาบน





ภาพแสงออโรราหรือแสงเหนือบนขั้วเหนือของดาวพฤหัสบดี





ภาพซูเปอร์โนวา 1987เอ (Supernova 1987A) ซึ่งมีแสงสว่างล้อมรอบราวไข่มุก





ใจกลางกาแลกซีทางช้างเผือกของเราซึ่งเป็นบริเวณที่ดา วมวลยักษ์ก่อตัว ขึ้น ภาพนี้เป็นภาพในย่านรังสีอินฟราเรดที่คมชัดที่สุด และเกิดจากการผสมผสานข้อมูลจากกล้องฮับเบิลและกล้องโ ทรทรรศน์อวกาศอินฟราเรด สปิตเซอร์ (Spitzer)





วงแหวนรอบๆ บริเวณที่น่าจะเป็นหลุมดำในกาแลกซี เอ็นจีซี 4261 (NGC 4261)





ภาพพลวัตของแสงออโรราที่ขั้วดาวเสาร์





ภาพดาวอังคารในนาทีที่เข้าใกล้โลกมากที่สุดในรอบ 60,000 ปี เมื่อวันที่ 27 ส.ค.2003 โดยในภาพนี้บันทึกขณะที่ดาวแดงอยู่ห่างโลก 55,757,930 กิโลเมตร





ภาพสวยราวกับภาพวาดมากกว่าจะเป็นภาพถ่ายอวกาศนี้เป็น ผลงานชิ้นเอกของ การผสานข้อมูลระหว่างกล้องฮับเบิลและสปิตเซอร์ของนาซ า ซึ่งบันทึกภาพเนบิวลานายพราน (Orion nebula) ในย่านรังสีอินฟราเรด รังสีอัลตราไวโอเลตและแสงที่ตามองเห็น โดยภาพนี้ "ถูกแต่งแต้ม" ด้วยดาวเกิดใหม่ที่ห่อตัวด้วยผ้าอ้อมแห่งก๊าซและฝุ่น ที่มีความเข้มของรังสี อัลตราไวโอเลตสูงและมีกระแสลมรุนแรงระหว่างดวงดาวเป็ นเหมือน "พู่กัน" ระบายสีให้ภาพนี้





ภาพดาวยูเรนัสดาวเคราะห์วงนอกของระบบสุริยะ ซึ่งเผยให้เห็นวงแหวนและดวงจันทร์บริวาร 6 ดวง ในภาพเราเห็นวงแหวนนอกสุดที่มีความสว่างมากอยู่ด้านล ่างของดาวเคราะห์ ซึ่งวงแหวนนี้สร้างขึ้นจากฝุ่นและและกรวดก้อนเล็กๆ ที่เรียงตัวกันอย่างบางๆ สำหรับดวงจันทร์ที่มุมขวาล่างซึ่งสว่างที่สุดนั้นคือ ดวงจันทร์แอเรียล (Ariel) ที่มีพื้นผิวปกคลุมด้วยหิมะ ส่วนดวงจันทร์ที่เหลือเรียงตามเข็มนาฬิกาจากดวงที่อย ู่บนสุดคือ เดสเดโมนา (Desdemona) เบลินดา (Belinda) พอร์เชีย (Portia) เครสซิดา (Cressida) และพัค (Puck) สำหรับภาพนี้บันทึกเมื่อเดือน ส.ค.2003





ภาพการเปลี่ยนแปลงบนผิวดาวพลูโต (Pluto) อดีตดาวเคราะห์ในระบบสุริยะที่ปัจจุบันถูกปรับให้เป็ นดาวแคระเคราะห์ โดยภาพที่ได้บันทึกขึ้นระหว่างปี 2002-2003 แต่กล้องฮับเบิลไม่ละเอียดพอที่จะบันทึกภาพหลุมและภู เขาบนดาว และภาพสีส้ม-ดำบนพื้นผิวลางๆ ที่บันทึกได้นั้นแสดงให้เห็นถึงความซับซ้อนและหลากหล ายบนดาวเคราะห์ดวงนี้ ซึ่งสีทั้งหมดที่เห็นนั้นเชื่อว่าเป็นผลจากรังสีอัลต ราไวโอเลตจากดวงอาทิตย์ ที่สลายก๊าซมีเทนบนผิวดาวพลูโต จึงทำให้เกิดสีสันดังที่เห็นและคงเหลือคาร์บอนไว้จำน วนมาก





ภาพสะท้อนแสงของเนบิวลาที่ไม่มีแสงในตัวเอง แต่ส่องสว่างเพราะแหล่งกำเนิดแสงที่ฝังตัวอยู่ภายใน เหมือนแสงจากหลอดไฟบนท้องถนนสะท้อนให้เห็นหมอก และดาวเกิดใหม่ที่เห็นสุกสว่างอยู่กลางๆ ภาพนั้นทำให้เนบิวลา เอ็นจีซี 1999 (NGC 1999) นี้สว่างไสว โดยก๊าซและฝุ่นของเนบิวลาหลงเหลือจากการก่อเกิดดวงดา ว

ปิดท้ายด้วยภาพแรกของฮับเบิลที่อาจไม่สวยงามนักแต่เป ็นก้าวแรกที่สำคัญ...





ภาพแรกที่ฮับเบิลส่งภาพเป็นภาพกระจุกดาว เอ็นจีซี 3532 (NGC 3532) ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับภาพเดียวกันที่บันทึกโดยกล้อ งจากหอดูดาวลาสคัมปานัส (Las Campanas Observatory) สถาบันคาร์เนกีในวอชิงตัน (Carnegie Institute of Washington) ในภาพซ้ายแล้ว ภาพจากฮับเบิล (ขวา) มีความคมชัดกว่า

กล้องฮับเบิลนั้นผ่านการอัพเกรดอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์อยู่ หลายครั้ง และมีการปรับปรุงครั้งสุดท้ายเมื่อปี ค.ศ.2009 ที่ผ่านมา ซึ่งนาซาเชื่อว่าจะยืดอายุการใช้งานกล้องโทรทรรศน์อว กาศอันเป็นตำนานนี้ออก ไปได้อย่างน้อย 5 ปี จากนั้นกล้องโทรทรรศน์อวกาศรุ่นน้อง เจมส์เวบบ์ (James Webb Space Telescope) ที่มีกำหนดการแล้วเสร็จในปี 2013 จะถูกส่งขึ้นไปปฏิบัติหน้าที่แทน
 
http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9530000183624


" มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

เกอเธ่...

ออฟไลน์ แก้วจ๋าหน้าร้อน

  • สิ่งใดคือธรรมะ สิ่งนั้นย่อมดีแล้วสูงสุด
  • ทีมงานกวาดลานดิน
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 6503
  • พลังกัลยาณมิตร 1741
  • ธรรมะอวยพรความดีคุ้มครอง
    • kaewjanaron
    • facehot
    • ดูรายละเอียด
    • ใต้ร่มธรรม
 :13: อนุโมทนาครับ ขอบคุณครับพี่มด
การโพสภาพโดยใช้เว็บฝากไฟล์ภาพ imageshack.us/ (เว็บกบ)
การปรับแต่งห้องสมาชิกไร้ขีดจำกัด Ultimate Profile + ห้องเพลงส่วนตัว
การตั้งกระทู้และการโพสกระทู้ในเว็บใต้ร่มธรรมครับ
การแก้ไข้ข้อมูล ชื่อ ระหัส ส่วนตัวของสมาชิกใต้ร่มธรรมครับ
การใส่รูปประจำตัวเรา Avatar รวมทั้งลายเซ็นต์ ในกระทู้หรือโพสของเราครับ
เพิ่มไอคอน ทวิสเตอร์ เฟชบุ๊ค ยูทูบ ในโปรโปรไฟล์ของเรา
การสร้างอัลบั้มภาพส่วนตัวในห้องสมาชิก Profile Pictures
การเพิ่มเพื่อน กัลยาณมิตรใต้ร่มธรรม ในห้องสมาชิกส่วนตัว
การดูกระทู้ทั้งหมดที่เรายังไม่ได้อ่านครับ
โค้ดสี bb color code ไว้สำหรับโพสกระทู้ครับ
*วิธีเคลียร์แคชในทุกเว็บเบราว์เซอร์ครับ เมื่อคอมอืด*

ห้องประชุมของทีมงาน
~ธรรมะอวยพรความดีคุ้มครองครับ~