ผู้เขียน หัวข้อ: กิจของจิตโดยย่อ  (อ่าน 2289 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
กิจของจิตโดยย่อ
« เมื่อ: ธันวาคม 31, 2010, 01:49:01 pm »

   กิจของจิตโดยย่อ

     1.ปฏิสนธิกิจ (เกิด)

     2.ภวังคกิจ (ดำรงภพชาติ)

     3. อาวัชชนกิจ (รู้ว่าอารมณ์กระทบ)

     4.ทัสสนกิจ (เห็น)

     5. สวนกิจ (ได้ยิน)

     6.ฆายนกิจ (ได้กลิ่น)

     7.สายนกิจ (ลิ้มรส)

     8.ผุสสนกิจ (สัมผัสทางกาย)

     9.สัมปฏิจฉันนกิจ (รับอารมณ์)

     10.สันตีรณกิจ (พิจารณาอารมณ์)

     11.โวฏฐัพพนกิจ (ตัดสินอารมณ์) 

     12.ชวนกิจ (แล่นไปในอารมณ์)

     13.ตทาลัมพณกิจ(รับอารมณ์ต่อจากชวนจิต)

     14.จุติกิจ (ตาย)


http://agaligohome.fix.gs/index.php?topic=2136.msg7815;topicseen#msg7815
สุขใจดอทคอม
อนุโมทนาสาธุที่มาทั้งหมดมากมายค่ะ

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: กิจของจิตโดยย่อ
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: ธันวาคม 31, 2010, 07:40:09 pm »

ชนิดของจิตในพระอภิธรรม

อกุศลจิต คือ อกุศล+จิต หมายความว่า
จิตมีอกุศลปรุงแต่งอยู่ ๑๒ ชนิด

อเหตุกจิต คือ อเหตุก+จิต หมายความว่า
จิตไม่มีโลภะ โทสะ โมหะ,อโลภะ อโทสะ อโมหะเป็นเหตุให้เกิด ๑๘ ชนิด

กามาวจรจิต คือ กามาวจร+จิต หมายความว่า
จิตที่ท่องเที่ยวอยู่ในอารมณ์อันน่ารักใคร่ ๒๔ ชนิด ได้แก่ บุคคลชั้นเทพ ๖ ชั้น

รูปาวจรจิต คือ รูปาวจร+จิต หมายความว่า
จิตที่ท่องเที่ยวในรูปพรหม ๑๕ ชนิด

อรูปาวจรจิต คือ อรูปาวจร+จิต หมายความว่า
จิตที่ท่องเที่ยวอยู่ในอรูปพรหม ๑๒ ชนิด

โลกุตตรจิต หมายความถึง
มรรคและผลที่เข้าไปประกอบจิตทำให้อยู่เหนือโลก (อารมณ์) รวม ๘ ชนิด
และในแต่ละชนิดเหล่านี้ ต่างก็มีปัญจมฌาน (ฌาน ๕) ประกอบอยู่ด้วย
ดังนั้น จึงเป็นจิตโดยละเอียด เท่ากับ ๘x๕ คือ ๔๐ ชนิด

เพราะฉะนั้น
ในพระอภิธรรมจึงมีจิต โดยย่อ ๘๙ ชนิด โดยละเอียด ๑๒๑ ชนิด


การที่เรียก จิต เป็น ชนิด
เรียกตามชนิดของอารมณ์ที่เข้ามาปรุงแต่ง
แต่ในพระอภิธรรม เรียกระบุเป็น ๘๙ ดวง และ ๑๒๑ ดวง...



agaligohome * สุขใจดอทคอม
อนุโมทนาสาธุที่มาทั้งหมดมากมายค่ะ

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 31, 2010, 07:44:26 pm โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ แก้วจ๋าหน้าร้อน

  • สิ่งใดคือธรรมะ สิ่งนั้นย่อมดีแล้วสูงสุด
  • ทีมงานกวาดลานดิน
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 6503
  • พลังกัลยาณมิตร 1741
  • ธรรมะอวยพรความดีคุ้มครอง
    • kaewjanaron
    • facehot
    • ดูรายละเอียด
    • ใต้ร่มธรรม
Re: กิจของจิตโดยย่อ
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: มกราคม 01, 2011, 10:24:14 am »
 :13: อนุโมทนาครับ ขอบคุณครับพี่แป๋ม
การโพสภาพโดยใช้เว็บฝากไฟล์ภาพ imageshack.us/ (เว็บกบ)
การปรับแต่งห้องสมาชิกไร้ขีดจำกัด Ultimate Profile + ห้องเพลงส่วนตัว
การตั้งกระทู้และการโพสกระทู้ในเว็บใต้ร่มธรรมครับ
การแก้ไข้ข้อมูล ชื่อ ระหัส ส่วนตัวของสมาชิกใต้ร่มธรรมครับ
การใส่รูปประจำตัวเรา Avatar รวมทั้งลายเซ็นต์ ในกระทู้หรือโพสของเราครับ
เพิ่มไอคอน ทวิสเตอร์ เฟชบุ๊ค ยูทูบ ในโปรโปรไฟล์ของเรา
การสร้างอัลบั้มภาพส่วนตัวในห้องสมาชิก Profile Pictures
การเพิ่มเพื่อน กัลยาณมิตรใต้ร่มธรรม ในห้องสมาชิกส่วนตัว
การดูกระทู้ทั้งหมดที่เรายังไม่ได้อ่านครับ
โค้ดสี bb color code ไว้สำหรับโพสกระทู้ครับ
*วิธีเคลียร์แคชในทุกเว็บเบราว์เซอร์ครับ เมื่อคอมอืด*

ห้องประชุมของทีมงาน
~ธรรมะอวยพรความดีคุ้มครองครับ~

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: กิจของจิตโดยย่อ
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: มกราคม 01, 2011, 06:08:34 pm »

จิตตสังขาร (ได้แก่ เจตนาเจตสิก ที่ประกอบกับ
อกุศลจิต ๑๒ มหากุศลจิต ๘ รูปาวจรกุศลจิต ๕ อรูปาวจรจิต ๔
หรือเรียกว่า เจตนา ๒๙ )

ที่ชื่อว่า จิตตสังขาร เพราะอรรถว่า เป็นสังขาร (การปรุงแต่ง) อันจิตเป็นไป หรือเพราะจิต หรือเป็นไปแต่จิต

ชื่อว่า วจีสังขาร กายสังขาร และจิตตสังขาร ที่พระธัมมทินนาเถรีกล่าวในประโยคอาทิว่า
“ดูก่อนวิสาขะผู้มีอายุ เมื่อภิกษุเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ วจีสังขารย่อมดับก่อน
ต่อจากนั้นกายสังขารก็ดับ ต่อจากนั้นจิตตสังขารก็ย่อมดับ” ๓ ดังนี้

วจีสังขาร ได้แก่ วิตก วิจาร

กายสังขาร ได้แก่ ลมหายใจเข้า ลมหายใจออก

จิตตสังขาร ได้แก่ สัญญา และเวทนา

   ดูกรคฤหบดี ลมหายใจเข้าและลมหายใจออกเป็นของเกิดที่กาย
   ธรรมเหล่านี้เนื่องด้วยกาย
   ฉะนั้น ลมหายใจเข้าและลมหายใจออกจึงชื่อว่ากายสังขาร

   
บุคคลย่อมตรึกตรองก่อนแล้ว จึงเปล่งวาจาภายหลัง
   ฉะนั้น วิตกวิจาร จึงชื่อว่าวจีสังขาร
   สัญญาและเวทนาเป็นของเกิดที่จิต ธรรมเหล่านี้เนื่องด้วยจิต
   ฉะนั้น สัญญาและเวทนาจึงชื่อว่าจิตตสังขาร


ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: กิจของจิตโดยย่อ
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: มกราคม 01, 2011, 06:12:20 pm »

จิตตสังขาร... เมื่อดับไป... ก็ยังไม่ใช่พระนิพพาน
ได้แต่เข้าไปอาศัยอยู่ใน สัญญาเวทยิตนิโรธ เท่านั้น

สัญญาเวยิทนิโรธนั้น ไม่ใช่พระนิพพาน...

กามภูสูตร

สังขาร ๓ และวิธีดับ
ปัญหา กายสังขาร วจีสังขาร จิตตสังขารคืออะไร และสังขารทั้ง ๓ นี้ดับไปเมื่อใด ?

พระกามภูตอบ "ดูก่อนคฤหบดีลมหายใจเข้าและหายใจออก
ชื่อว่ากายสังขาร...ลมหายใจเข้าหายใจออกเป็นของเกิดที่กายธรรมเหล่านี้เนื่องด้วยกาย
ฉะนั้น...จึงชื่อว่ากายสังขาร...

"วิตกวิจารชื่อว่าวจีสังขาร...บุคคลตรึกตรองก่อนจึงเปล่งวาจาภายหลัง
ฉะนั้น วิตกวิจารจึงชื่อว่า วจีสังขาร...

"สัญญาและเวทนาชื่อว่าจิตตสังขาร...สัญญาและเวทนาเป็นของเกิดที่จิต
ธรรมเหล่านี้เนื่องด้วยจิตฉะนั้น...จึงชื่อว่าจิตตสังขาร

"ดูก่อนคฤหบดี เมื่อภิกษุเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ วจีสังขารดับก่อน
ต่อจากนั้นกายสังขารดับต่อจากนั้นจิตตสังขารจึงดับ..."


กามภูสูตรที่ ๒

agaligohome * sookjai.com
อนุโมทนาสาธุที่มาทั้งหมดมากมายค่ะ