ผู้เขียน หัวข้อ: ประตูสู่การภาวนา : สรณะ และ โพธิจิต  (อ่าน 1812 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ มดเอ๊กซ

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7167
  • พลังกัลยาณมิตร 1518
    • ดูรายละเอียด



สรณะและโพธิจิต
 
 

สรณะ


เรารู้แล้วว่าการพิจารณาทิฎฐิสี่จะได้ผลก็ต่อเมื่อเราเริ่มแลเห็นถึงประสบ การณ์ทางโลกของเรา ว่ามันปราศจากแก่นสาร เป็นสิ่งไม่เที่ยงหรืออาจ ยึดถือได้ ถ้าดังนั้น จะมีสิ่งใดให้เราพึ่งพิงได้เล่า เราจะค้นพบสาระและ แก่นแท้ได้ในที่ใด เพียงในพระธรรมคำสอนอันศักดิ์สิทธิ์เท่านั้น เพียงใน หนทางธรรม ซึ่งเราอาจค้นพบคุณค่าอันสูงสุด

ทิฏฐิสี่ประการจัดอยู่ในหมวดธรรมเบื้องต้นที่เรียกว่าธรรมบทซึ่งปรากฏ อยู่ในพุทธศาสนาทุกนิกาย ถึงแม้ว่าจะเป็นรากฐานในการปฏิบัติธรรม แต่ก็หาใช่ขั้นตอนพื้นฐานในพุทธมรรคไม่ การที่จะล่วงรุดสืบไป เราจำ เป็นต้องปวารณาตนในไตรสรณาคมน์ นี่เป็นปะตูบานแรกที่นำไปสู่การ ปฏิบัติ

คำว่า " สรณะ " หมายถึงการปกป้องคุ้มครองหรือสถานที่อันปลอดภัย โดยเนื้อหาแล้วการรับสรณะหมายถึงการปวารณาที่จะเดินไปบนหนทาง อันปราศจากภัย แต่มิใช่ว่าเมื่อเราของรับสรณะแล้วจะมีพระพุทธองค์หรือ พระอรหันต์มาเสกเป่าให้เราพ้นทุกข์ ทว่าเราแน่ใจจะได้รับการปกป้อง โดยการยอมรับในแก่นแท้แห่งทุกข์ ซึ่งดำรงอยู่ในความคิดและการกระทำ อันเป็นกุศลของเราเอง ซึ่งหากสามารถลดทอนอกุศลเหล่านี้ลง ด้วยการ คุมกาย วาจา ใจ แล้วไซร้ เราจะแปรเปลี่ยนอกุศลกรรมและอาจลบล้าง ด้วยเหตุแห่งทุกข์ได้
 
แรงปรารถนาที่ผลักดันให้เรารับไตรสรณคมน์ในมหายานและวัชยานนิกาย ก็คือความกรุณาอย่างปราศจากการเห็นแก่ตัวต่อสรรพสัตว์อันทนทุกข์อยู่ ในสังสารวัฏ ทั้งเปี่ยมด้วยความตั้งใจอันบริสุทธิ์ที่จะเข้าถึงการตรัสรู้เพื่อ ช่วยเหลือส่ำสัตว์ การรับสรณคมน์จะไม่สิ้นสุดลงเพียงในชั่วชีวิตนี้เท่านั้น ทว่าจนกว่าเราจะบรรลุถึงการตรัสรู้ ไม่ว่าจะยาวนานเพียงใดในกาลภาย ภาคหน้า


เรารับเอาพระรัตนตรัยเป็นสรณะ คือพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ พระ พุทธองค์คือผู้ที่ได้ก้าวเดินไปบนหนทางจนถึงจุดหมายปลายทาง ท่านจึง รู้ซึ้งถึงเส้นทางสายนั้นและอาจชี้นำเรา หนทางสายนั้นก็คือพระธรรม และ บรรดาผู้ที่เดินดุ่มไป ผู้ที่คอยช่วยเหลือเกื้อกูล ผู้ที่เราอาจพึ่งพาอาศัย ก็คือ หมู่สงฆ์ ในการปวารณารับไตรสรณคมน์ก็เท่ากับว่าเราได้ดำเนินตามรอย เท้าของผู้ที่ได้เคยเดินไปบนหนทางแห่งการตรัสรู้


การถือเอาไตรสรณคมน์ เป็นที่พึ่ง เราต้องมีศรัทธาในพระรัตนตรัย เริ่มจาก องค์พระสัมมาสัมพุทธ มีคุรุยิ่งใหญ่และนักบุญเป็นอันมากในโลกที่ได้เผย แพร่สั่งสอนหลักธรรม ทว่าก็หามีผู้ใดยิ่งใหญ่เทียบเท่าองค์ศากยมุนีพุทธไม่ พระองค์ได้ชำระล้างมลทินกิเลสทั้งมวล ในอารมณ์ กรรม นิสัย และความ คิด พระพุทธองค์ได้ครองมหาปุริสลักษณะสามสิบสองประการ รวมถึงมง คลลักษณะย่อยอีกแปดสิบประการในกาย คุณลักษณ์ทั้งหกสิบประการใน วาจา และทิพยญาณสองประการในดวงจิต มหาปุริสลักษณะทั้งหนึ่งร้อย สิบสองประการนี้ มีอาทิ ประภารัศมีเรืองรองเป็นที่ประจักษ์แก่ชนทุกผู้ และบาทยามเดินนั้นมิได้สัมผัสพื้น เหล่านี้เป็นสิ่งบ่งชี้อย่างชัดเจนถึงการ ตรัสรู้อย่างสมบูรณ์ ผู้ที่ได้มาพบปะกับพระพุทธองค์ต่างพากันพิศวง ด้วย รู้ว่าคือมหาบุรุษโดยแท้ พระองค์ไม่จำเป็นต้องประกาศตนว่าเป็นศาสดา เพราะสิ่งนี้ปรากฏอยู่อย่างเด่นชัด

ท่วงทำนองอันเสนาะโสตทั้งหกสิบลีลาในวาจาของพระพุทธองค์มิได้ หมายความว่าพระองค์มีกระแสเสียงอันไพเราะดุจนักร้องหรือนักพูด ทว่าวาจาของพระองค์เป็นการสื่อสารอย่างชัดเจนหมดจด บรรดาผู้ที่มา สดับธรรมของพระองค์ ไม่ว่าจะมีมากที่สุดประมาณเพียงใดล้วนสดับได้ ยินอย่างแจ่มชัด เป็นถ้อยคำอันเปี่ยมล้นด้วยปรีชาญาณดุจเดียวกับปุจฉา วิสัชนากับผู้ที่มาสดับธรรม

ดวงจิตของพระพุทธองค์เปี่ยมล้นด้วยวิชชาสองประการ คือ สัพพัญญุตญาณ คือความหยั่งรู้อันหมดจดทั่วถ้วนในโลกธรรม และในโลกุตรธรรมทั้งมวล

ด้วยคุณลักษณ์เหล่านี้เอง เราจึงรู้ซึ้งว่าพระพุทธองค์เป็น คุรุผู้ยิ่งใหญ่ ซึ่งบำ เพ็ญบารมีมานานนับกัปนับอสงไขย ทั้งความเมตตากรุณาและไถ่ถอนกรรม ทั้งทานบารมีและปัญญาบารมี จนบรรลุถึงพระนิพพานผล พระพุทธองค์ ซึ่งเปรียบดังเพชรดิบที่ยังมิได้เจียระไน ได้ถูกเจียระไนขึ้นเหลี่ยมและขัดจน ส่องแสงแวววาวสมค่าอัญมณี ทว่าพวกเราทั้งหลาย แม้ว่าจะมีศักยภาพที่ จะกลายเป็นมณีล้ำค่าได้ ทว่ายังคงเป็นเพชรที่ยังมิได้เจียระไน ยังดิบหยาบ และมัวหมอง

 ในไตรสรณคมน์ เราถือเอาแบบอย่างของพระพุทธองค์เป็นที่พึ่งด้วยเหตุที่ พระองค์เจนจบในหนทาง จึงอาจชี้นำเรา ถ้าหากเราต้องฝ่าข้ามที่ลุ่มหนอง บึงซึ่งเต็มไปด้วยภยันตราย ผู้ที่เคยผ่านทางมาก่อน ผู้รู้หลบหลีกและเจนจบ ในหนทางซึ่งอาจนำเราฝ่าข้ามพ้น ย่อมเป็นผู้นำทางอันยอดเยี่ยม พระพุทธ องค์ย่อมเป็นผู้นำทางเยี่ยงนั้น พระองค์ได้ชี้ให้เราเห็นถึงสิ่งที่หลีกเลี่ยงและ สิ่งที่พึงโอบรับ ชี้หนทางที่ถูกต้องและไขแสดงทุกย่างก้าวบหนทางแห่งการ ตรัสรู้

ลำดับต่อมา เราย่อมถือพระธรรมเป็นที่พึ่ง พระธรรม คือคำสอนและหลัก ปฏิบัติเพื่อการบรรลุถึงของพระพุทธองค์ หลักปฏิบัติเหล่านี้คืออุบายอัน หลากหลายและสุมขุมแยบยล บริสุทธิ์บริบูรณ์ทั่วถ้วน อันเป็นมรดกทาง ธรรม ในพระธรรม ทุกสิ่งทุกอย่างจะถูกเผยออกอย่างหมดจด ไม่ว่าจะเป็น บาทฐาน และมรรคผล จะเริ่มปฏิบัติอย่างไร จะเอาชนะอุปสรรคต่าง ๆ อย่างไร จะบ่มเพาะกุศลลักษณะซึ่งเริ่มก่อเกิดขึ้นมาได้อย่างไร วิธีการหรือ ยานเหล่านี้ยังแบ่งออกเป็นเก้าขั้นตอน อันประกอบด้วยสามยานแรก ได้แก่ หีนยานมรรคแห่งปัจเจกพุทธยาน มหายานมรรคสำหรับผู้ใฝ่หาการหลุดพ้น เพื่อสรรพสัตว์ และวัชรยานมรรคอันดำรงอยู่ภายในมหายาน ซึ่งมักจะถูก กล่าวถึงในแง่ของ " หนทางลัด "

ลำดับสุดท้ายเราจึงถือสังฆะเป็นที่พึ่ง คือเหล่าผู้ปฏิบัติธรรม ผู้ประพฤติ ตามครรลองของพระพุทธองค์ซึ่งสืบสายธรรมอย่างไม่หยุดยั้งขาดตอน สืบทอดพระไตรปิฎกซึ่งจารึกหลักธรรมคำสอน คือผู้คนเหล่านี้เองที่ทำ ให้พระธรรมมิใช่สิ่งอันแห้งแล้งตายซาก ทว่ายังคงสดชื่นมีชีวิต เป็นเส้น สายแห่งการปฏิบัติอันถูกนำมาเรียงร้อยเข้าด้วยกันโดยอาศัยการภาวนา ตลอดหลายศตวรรษ เป็นแบบอย่างแห่งหลักธรรมคำสอนและธำรงรักษา สายการปฏิบัติอันมีชีวิต ซึ่งเรายังอาจเข้าถึงได้ในปัจจุบัน และจะยังเป็น เช่นนี้สืบไปในกาลภายภาคหน้า

พระรัตนตรัยย่อมเป็นที่พักพิงจากความทุกข์ อวิชชา และความสับสนอย่าง แน่แท้ ที่พักพิงอันปลอดภัยนี้ไม่ว่าสิ่งใดหรือผู้ใดก็ไม่อาจมอบให้ได้ หากยัง ติดเนื่องอยู่ในโลกธรรม ไมว่าจะงดงามมีชื่อเสียง ทรงอำนาจ มั่งคั่ง หรือ มีอิทธิพลอำนาจเพียงใด

คำว่า " สรณะ " ก็เป็นเช่นเดียวกับศัพท์ทางธรรมทั้งหลายซึ่งมีความหมายอยู่ สามนัยด้วยกัน เมื่อเราพูดถึงนัยภายนอก ก็มีความหมายภายใน และความลี้ลับ อยู่ด้วย ซึ่งเราจะกล่าวถึงอย่างรวบรัดในที่นี้ และบรรยายอย่างละเอียดพิศดาร ต่อภายหลัง

ในสายธรรมวัชรยาน ต้นกำเนิดภายในแห่งสรณะคือรากเหง้าทั้งสาม อันได้ แก่ ลามะ ยิดัม และฑากินี อันเป็นแหล่งกำเนิดแห่งพระพร การบรรลุธรรม และอริยกิจ

ลามะหรือคุรุ คือรากเหง้าแห่งพระพรในความหมายที่ว่าคุรุคือผู้ส่งผ่าน ความรู้ อุบาย และปัญญา ซึ่งช่วยให้เราบรรลุถึงอิสรภาพ ยิดัมหรือเทพนิมิต คือแก่นรากแห่งการบรรลุถึงสภาวธรรมเหล่านั้นโดยอาศัยการปฏิบัติ เรา ย่อมสามารถประจักษ์แจ้งถึงฑากินี อันเป็นเทวีแห่งปัญญา ซึ่งจะส่งผลสืบ เนื่องเป็นอริยกิจ

ความหมายลี้ลับของสรณะก็คือธรรมชาติที่แท้ของจิต อันเป็นแก่นแท้ของ ทุกชีวิต ไม่ว่าจะเป็นมนุษย์ สัตว์ เปรต หรือเทพ คือธรรมชาติแห่งพุทธะ อันนิรมล ธรรมชาตินี้มีสองแง่มุม หนึ่งคือ ธรรมกาย หรือธรรมชาติอัน สูงสุดแห่งจิต ซึ่งอยู่เหนือความคิดสามัญและอาจเปรียบได้กับดวงอาทิตย์ สองคือ รูปกาย ซึ่งอาจเปรียบได้กับรัศมีอันเจิดจ้าของดวงอาทิตย์ ซึ่งอุบัติ ขึ้นอย่างเป็นธรรมชาติ ความเจิดจ้านี้อุบัติขึ้นเพื่อประโยชน์ของเหล่าสัตว์ รูปกายนี้มีสองแง่มุม หนึ่งคือ สัมโภคกาย อันเป็นกายทิพย์ที่อาจรับรู้ได้ โดยธรรมจักษุของผู้ปฏิบัติที่บรรลุญาณ และ นิรมาณกาย คือ รูปปรากฏซึ่ง สำแดงออกเพื่อประโยชน์ของเหล่าชนผู้ไม่สามารถหยั่งเห็นสัมโภคกายได้

ในพุทธศาสนานิกายวัชรยาน โดยการยึดถือสรณะภายนอก ภายใน และ สรณะลี้ลับ เราก็อาจไถ่ถอนผลกรรมทั้งภายนอก ภายในและในระดับลี้ลับ ได้ตามลำดับ ดุจดังแทนที่เราจะตัดด้วยมีดใบเดียว ทว่าเรากลับตัดด้วยมีด ที่มีสามใบ

ประสบการณ์ของเราในวัฏทุกข์อันไร้สิ้นสุด อาจเปรียบได้กับแมลงวันที่ติด กับอยู่ในขวดนมที่ถูกปิดฝา ในความพยายามที่จะหนีออกมา มันจะบินขึ้น บินลงวนเวียนไปทั่ว แต่ก็ไม่อาจหาทางออกมาได้ การยึดถือสรณะโดยมีจุด หมายที่การบรรลุธรรมเพื่อประโยชน์สุขแก่สรรพสัตว์ จึงเป็นเหมือนการเปิด ฝาขวดออก แม้ว่าแมลงวันจะไม่อาจพบทางออกได้ในนทันที แต่ในที่สุด แล้วมันจะค้นพบและเป็นอิสระ เมื่อใดก็ตามที่เรายึดพระรัตนตรัยเป็นสรณะ ย่อมมั่นใจได้ว่าทุกข์แห่งวัฏสงสารย่อมมีวันสิ้นสุดลง
 
 
แต่ถึงแม้เราจะมีสรณะเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวแล้ว เราก็ไม่อาจนั่งรอพระ รัตนตรัยมาประสาทพรแก่เรา ถ้าหากเราไม่ลงมือปฏิบัติเพื่อทำตนให้ สุกงอม เราย่อมไม่อาจเปิดรับพรนั้นได้ การรับไตรสรณคมน์ยังหมายถึง ความรับผิดชอบ มันหาใช่เรื่องเล่น ๆ ไม่ ไม่ใช่เรื่องที่จะเปลี่ยนใจกลับ ไปกลับมาได้กลางคัน พวกเราล้วนเป็นสัตว์ที่สับสน คิดอะไรไปเรื่อย เปื่อย หวังอย่างโน้นอย่างนี้ อยากจะไปโน่นมานี่ ไม่เคยรับผิดชอบต่อ สิ่งใด และไม่เคยไปไกลถึงไหน

สมมติว่าเราอยากจะไปให้ถึงยอดเขา และมีหนทางขึ้นไปหลายสาย หาก เราเดินไปสองสามก้าวบทางสายหนึ่ง แต่แล้วก็คิดว่าอีกทางหนึ่งคงจะดี กว่า แล้วก็เปลี่ยนไปเดินทางนั้นอีกหน่อยหนึ่ง แต่แล้วก็คิดว่าหนทางที่ สามคงจะไปถึงเร็วกว่า เปลี่ยนใจไปมาดังนี้ เราย่อมไม่มีทางขึ้นไปจนถึง ยอด เราเพียงแต่เดินวนเวียนไปมาเท่านั้น ยามเมื่อเรายึดถือสิ่งใดเป็นสรณะ ก็เท่ากับได้ตัดสินใจลงไปแล้วว่า หนทางใดเหมาะสมกับตัวเรา และรับ ผิดชอบที่จะดำเนินไปตามทางสายนั้น


การคิดถึงความผูกพันรับผิดชอบดังนี้ บางครั้งทำให้ผู้คนรู้สึกหวาดกลัว ทว่าความรู้สึกหวาดกลัวดังกล่าวก็เหมือนกับความกลัวที่จะกินยาขจัดพิษ หลังจากกลืนยาพิษเข้าไป ช่วงเวลาแห่งความสงสัยน่าจะมีอยู่ก่อนกลืนกิน มิใช่ภายหลัง การรับสรณะหมายถึง การยอมรับข้อเท็จจริงที่ว่าคุณได้กลืน ยาพิษเข้าไป จึงต้องตัดสินใจกินยาถอนพิษ มันหมายถึงการบอกกับตนเอง ว่า " นี่คือสิ่งจำเป็นสำหรับฉัน ฉันตั้งใจที่จะไม่ทำร้ายผู้อื่น นี้แน่ ๆ อย่าง หนึ่ง ฉันยังตั้งใจว่าจะไม่กระทำกระทำการเพียงเพื่อประโยชน์ส่วนตนเท่า นั้น แต่เพื่อประโยชน์สุขของผู้อื่นอีกด้วย ฉันแน่ใจดังนั้น ฉันไม่เคยได้ใส่ ใจกับดวงจิตของตนเลย จนกระทั่งบัดนี้ ฉันไม่เคยได้พินิจดูธรรมชาติและ อาการของมันเลย ทว่าตั้งแต่นี้เป็นต้นไปฉันจะตื่นตัวมีสติอยู่ตลอดเวลา จะเฝ้ามองอย่างจดจ่อ จะพยายามเน้นและเกื้อหนุนสิ่งที่เป็นกุศลธรรมใน ตัว และพยายามขจัดแนวโน้มที่เป็นอกุศล " มีเพียงความตั้งใจมั่นอย่างไม่ คลอนแคลนเยี่ยงนี้เท่านั้นที่อาจทำให้สรณคมน์บังเกิดผล

กุศลแห่งการรับสรณคมน์เยี่ยงนี้ย่อมมีมากสุดประมาณ มีคัมภีร์เล่มหนึ่ง กล่าวไว้ว่า ถ้าหากกุศลเหล่านี้มีรูปร่างเป็นตัวเป็นตน ย่อมมีขนาดใหญ่ กว่าจักรวาลทั้งสามพันมารวมกัน คำว่า สามพันจักรวาลนี้หาได้ธรรมดา สามัญไม่ เพราะมันหมายถึงระบบดวงดาวนับพันล้านดวง ( ๑, ooo x ๑, ooo x ๑, ooo ) จากพระพรแห่งต้นกำเนิดแห่งสรณะ เราย่อมได้รับ การชี้นำวิถีและการเกื้อหนุนในการปฏิบัติเพื่อการบรรลุอิสรภาพ เมื่อใด ก็ตามที่ความมานะพากเพียรของเราได้บรรจบกับพรนี้ เราย่อมตื่นขึ้นสู่ ธรรมชาติเดิมแท้ อันเป็นธรรมชาติแห่งดวงจิต และนี่เองคือความหมาย อันนล้ำลึกของสรณคมน์
" มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

เกอเธ่...

ออฟไลน์ มดเอ๊กซ

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7167
  • พลังกัลยาณมิตร 1518
    • ดูรายละเอียด
Re: ประตูสู่การภาวนา : สรณะ และ โพธิจิต
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: มกราคม 06, 2011, 10:16:08 pm »



@ ถาม : เมื่อใดก็ตามที่เราได้ตรัสรู้ เราอาจถอยกลับคืนมาได้หรือไม่ จะมีสิ่งที่เรียกสภาวะการตรัสรู้หรือประสบการณ์ตรัสรู้หรือไม่
 
 
@ ตอบ : หามีสิ่งที่เรียกว่าประสบการณ์ตรัสรู้ไม่ ข้าพเจ้าเคยได้ยินผู้คน เป็นอันมากกล่าวถึงประสบการณ์นี้ ทว่าเขาหาได้เข้าใจความหมายของ การหลุดพ้นไม่ การจะเข้าถึงการตรัสรู้ได้ เราจำเป็นต้องชำระล้างมลทิน สี่ประการอันได้แก่ พิษร้ายในดวงจิต มลทินแห่งความคิด กรรมและ นิสัย โดยหันไปบ่มเพาะเหตุปัจจัยอันเป็นกุศลโดยการสั่งสมบุญบารมี ผู้ทำได้ดังนี้ย่อมสำแดงออกซึ่งสภาวธรรมและก่อเกิดคุณสองประการ หนึ่งคือคุณต่อตนเอง คือสามารถขจัดมลทินหมองมัวตระหนักได้ถึง ธรรมชาติเดิมแท้ของตน นั่นคือการประจักษ์แจ้งในธรรมกาย การประ จักษ์แจ้งในธรรมชาติแห่งพุทธะของเราจะช่วยปลดปล่อยเราจากอวิชชา และการเป็นอิสระจากอวิชชาจะช่วยปลดปล่อยเราออกจากวิบากกรรม และประการที่สองคือ คุณต่อผู้อื่น นั่นคือการประจักษ์ถึงกายสอง ซึ่งเป็น ดุจดังแสงสว่างและความอบอุ่นซึ่งแผ่ออกมาจากดวงอาทิตย์แห่งธรรมกาย


ครั้งหนึ่งมีหญิงผู้หนึ่งมาขอคำปรึกษาจากคณะกรรมการซึ่งข้าพเจ้าเป็น หนึ่งในนั้น โดยบอกว่าสามปีก่อน เธอได้รับอุบัติเหตุทางรถ เธอรู้สึกว่า เธอได้เข้าถึงการตรัสรู้ในตอนนั้นเอง และถามว่าเราคิดว่าสิ่งนี้เป็นไปได้ หรือไม่ กรรมการเหล่านั้นต่างก็พากันโยนกันไปโยนนกันมา จนกระทั่ง ที่สุด ข้าพเจ้าก็ถามเธอขึ้นว่า
 
 
" เธอยังมีความรู้สึกโกรธหรือไม่ "
" ยังมีอยู่ "
เธอตอบ " ยังมีความอยากอยู่หรือไม่ "
เธอตอบว่า " มี "
 เช่นเคย " ถ้าเช่นนั้น เธอยังมิได้ตรัสรู้ "
 
 
ในระหว่างการปฏิบัติสมาธิภาวนา เราอาจเข้าถึงปีติความกระจ่างแจ้ง หรือ หรือความตั้งมั่น และก็อาจเป็นไปได้ที่จะหลงผิดคิดไปว่านี่คือการตรัสรู้ ทว่าหาใช่ไม่ คุณลักษณ์แห่งการตรัสรู้ย่อมมีข้อแตกต่างอย่างเห็นได้ชัด เรา ย่อมไม่ติดข้องอยู่ด้วยโลกิยจิตหรือการดำรงอยู่อย่างโลก ๆ และไม่มีทาง เป็นไปได้ที่จะสูญเสียตัวการรู้แจ้งนั้น


@ ถาม : อะไรคือความแตกต่างระหว่างการปวารณารับสรณคมน์อย่างเป็น ทางการ กับเพียงแค่การไม่เบียดเบียน เหตุใดการผูกมัดอย่างเป็นทางการ จึงเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง
 
 
@ ตอบ : สมมติว่าเธอปวารณาว่าจะไม่ฆ่ามังกร ผู้คนส่วนใหญ่จะไม่มี โอกาสเห็นมังกรมาก่อนเลยในชีวิต บางคนก็คิดว่ามังกรหาได้มีอยู่จริง ไม่ ดังนี้เอง เธอจึงอาจถามว่าเหตุใดจึงมีผู้ปวารณาว่าจะไม่ฆ่ามังกร
 
 
ถ้าหากเธอไม่เคยฆ่ามังกร เธอก็มิได้ทำบาปใด ๆ ทว่าขณะเดียวกันก็ มิได้สร้างบุญกุศลใด ๆ ด้วย นับแต่วันที่เธอตั้งจิตมั่นว่าจะไม่ฆ่ามังกร และพยายามธำรงเจตนารมณ์นั้นไว้ ก็เท่ากับได้สร้างบุญกุศลขึ้นแล้ว ดังนั้นในการรับสรณคมน์ก็เท่ากับว่าเธอได้สร้างกุศลอันนิ่งใหญ่อยู่ทุก ขณะ ในขณะที่เธอยังครองปณิธานนี้อยู่
 
 
* จาก ประตูสู่การภาวนา *
-ธรรมเทศนาของ ท่านชักดุด ตุลกู หนึ่งในธรรมาจารย์ รุ่นสุดท้าย -
- แห่งวัชรนิกายของทิเบต-
" มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

เกอเธ่...

ออฟไลน์ แก้วจ๋าหน้าร้อน

  • สิ่งใดคือธรรมะ สิ่งนั้นย่อมดีแล้วสูงสุด
  • ทีมงานกวาดลานดิน
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 6503
  • พลังกัลยาณมิตร 1741
  • ธรรมะอวยพรความดีคุ้มครอง
    • kaewjanaron
    • facehot
    • ดูรายละเอียด
    • ใต้ร่มธรรม
Re: ประตูสู่การภาวนา : สรณะ และ โพธิจิต
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: มกราคม 06, 2011, 11:49:17 pm »
 :13: อนุโมทนาครับพี่มด ขอบคุณครับผม
การโพสภาพโดยใช้เว็บฝากไฟล์ภาพ imageshack.us/ (เว็บกบ)
การปรับแต่งห้องสมาชิกไร้ขีดจำกัด Ultimate Profile + ห้องเพลงส่วนตัว
การตั้งกระทู้และการโพสกระทู้ในเว็บใต้ร่มธรรมครับ
การแก้ไข้ข้อมูล ชื่อ ระหัส ส่วนตัวของสมาชิกใต้ร่มธรรมครับ
การใส่รูปประจำตัวเรา Avatar รวมทั้งลายเซ็นต์ ในกระทู้หรือโพสของเราครับ
เพิ่มไอคอน ทวิสเตอร์ เฟชบุ๊ค ยูทูบ ในโปรโปรไฟล์ของเรา
การสร้างอัลบั้มภาพส่วนตัวในห้องสมาชิก Profile Pictures
การเพิ่มเพื่อน กัลยาณมิตรใต้ร่มธรรม ในห้องสมาชิกส่วนตัว
การดูกระทู้ทั้งหมดที่เรายังไม่ได้อ่านครับ
โค้ดสี bb color code ไว้สำหรับโพสกระทู้ครับ
*วิธีเคลียร์แคชในทุกเว็บเบราว์เซอร์ครับ เมื่อคอมอืด*

ห้องประชุมของทีมงาน
~ธรรมะอวยพรความดีคุ้มครองครับ~