โสตถิธรรม๑. พระผู้รู้ผู้แจ้งเหตุแห่งผล
ผู้บันดลความดีบริสุทธิ์
เป็นมรรคาครรลองของมนุษย์
พ้นสมมติมีเป็นเหมือนเช่นเคย
ด้วยความรู้และกระทำตามที่รู้
พระเป็นครูเหนือครูผู้ผ่าเผย
รู้ทุกอย่างอย่างผู้รู้แจ้งเลย
มิต้องเอ่ยแต่พระองค์ทรงกระทำ
๒. สรรพสิ่งนิ่งวางและว่างอยู่
ว่างจากผู้ผูกจิตอันผิดเขลา
ไร้พันธะที่จิตยึดติดเอา
เป็นเราเขาขานนามนิยามตน
นั่นมิใช่ไม้หญ้าฟ้าดินน้ำ
เพียงวาทะถ้อยคำย้ำเพื่อผล
การแบ่งแยกเพื่อประโยชน์จดจำยล
คราที่คนเกี่ยวข้องขานพ้องนาม
๓. ทุกข์และสุขสารพันนั้นบ่งชัด
สารพัดสารพิษย่อมติดหลง
ล้วนสายใยยึดจิตให้ติดกรง
จำกัดวงจักรวาลบันดาลดล
ณ โคนต้นไม้มีนามว่าความรู้
พระองค์ผู้พบเลิศเหตุและผล
พระเกิดแล้วโดยไร้ในตัวตน
อันปวงชนเชิดนิยามนามพุทธะ
๔. ความเป็นไปปรกตินี้ปรากฏ
โดยหมดจดแจ่มชัดทุกอัตถา
ย่อมยังโลกที่กำลังคลั่งมายา
ให้เห็นหน้าเห็นหลังอย่างแท้จริง
ความตรงข้ามที่เคยคิดเคยติดอยู่
ก็กลับสู่สภาพใหม่ในทุกสิ่ง
โลกมัวเมาเคล้าหมักเหมือนปลักปลิง
กลับเพริศพริ้งผ่องประภัสร์อัศจรรย์
๕. ข้าน้อยนี้น้อมค้อมเคารพ
พระผู้พบผู้หยั่งถึงฝั่งหล้า
อยู่ในโลกเหนือโลกโชคชะตา
พระผู้ปรากฏแล้วทุกแนวทาง
เคล้าระคนปนไปในความคิด
ในชีวิตที่วุ่นตามความแตกต่าง
มากชนชั้นขันแข่งเคลือบแคลงคลาง
ในท่ามกลางสังคมกลมเกลียวกลืน
๖. ร่างกายอันยาววาหนาคืบนี้
มีโลกที่เกิดทุกข์สุขพร้อมสรรพ
สิ่งทั้งหลายบรรดาคณานับ
ย่อมเกิดดับเป็นไปในจิตนี้
มิมีใดเกิดดอกนอกจากจิต
จิตปรุงคิดเป็นนั่นมันเป็นนี่
สิ่งทั้งมวลมีได้เพราะใจมี
จิตดับพลีสิ่งสรรพก็ดับตาม...เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์:bloggang.com =truthoflife พระรัตนตรัยเจ้าส่อง สว่างโลก
เป็นที่ดับทุกข์โศก สัตว์นั้น
หนทางอภินิโมกข์ ที่สุด
ตามพุทธฎีกาชั้น โปรดพ้นสงสารฯ
ณ ฤดูกาลพรรษามาแล้ว
จาก วันแรม 1 ค่ำ เดือน แปด
ถึง วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน สิบเอ็ด
แล้ว ชาวพุทธล่ะ
เริ่ม ในเวทีเสรีชัย “สุภาษิตคำโคลงจรรโลงวรรณกรรม”
ครบ สามเดือน (เพื่อน) พรรษา
ได้ ข้อคิดเตือนใจ ในศีล ในธรรม
ยัง ความสุข ความเจริญ
ใคร ใคร่ประพฤติ ใคร่ปฏิบัติ แล้วใครล่ะได้
สุภาษิตคำโคลง ถ้าพูดตามเนื้อหาจากหนังสือประกอบด้วย
โคลงสี่สุภาพ (ล้วนๆ) 6 บท จำนวน 200 โคลง ดังนี้
1.บทการบูชาพระรัตนตรัย 8 โคลง
2.บทพระพุทธเจ้าทรงเปิดโลก บันดาลให้เทวดา มนุษย์ และสัตว์นรก แลเห็นซึ่งกันและกัน 40 โคลง
3.บทพระเทวทัตสำแดงฤทธิ์ให้อชาตสัตตุราชกุมารเลื่อมใสเพื่อให้รับเป็นโยมอุปัฎฐาก 24 โคลง
4.บทพระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนาธัมมจักกัปปวัตนสูตร โปรดเบญจวัตคีย์ให้ได้ดวงตาเห็นธรรม 48 โคลง
5.บทพระมาลัยเทพเถรเจ้าเสด็จจาริกไปโปรดสัตว์นรก 64 โคลง
6.บทพระมหากัสสปกับพระอริยสงฆ์ยกปฐมสังคายนาสืบอายุพระศาสนามาถึงบัดนี้ 16 โคลง
ร้อยสี่สิบสองปีวันนี้มีสุภาษิตคำโคลง
พูดถึงสุภาษิตคำโคลงเป็นหนังสือเก่าหายากพิมพ์เป็นครั้งแรกที่โรงพิมพ์ ครูสมิทที่บางคอแหลมในปีมะแม ตรีศก จุลศักราช 1233 หรือประมาณ พ.ศ. 2414 (หรือประมาณ 142 ปี) แต่งเป็นโคลงสี่สุภาพ เริ่มด้วยการบูชาพระรัตนตรัย แล้วจึงนำหลักธรรมคำสั่งสอนในพระพุทธศาสนา และศาสนสุภาษิตมาพรรณาให้เห็นเป็นสัจธรรม เป็นข้อคิดเตือนใจให้คนประพฤติปฏิบัติตนอยู่ในศีลในธรรม อันจะนำมาซึ่งความสุข ความเจริญ แก่ผู้ปฏิบัติ
ในการนี้กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ ได้พิจารณาเห็นสมควรพิมพ์ “สุภาษิตคำโคลง” นี้ เป็นหนังสือในชุดความรู้ภาษาไทย อันดับที่ 27 เพื่อเผยแพร่แจกให้แก่สถานศึกษาหน่วยงาน และห้องสมุดต่าง ๆ ซึ่งนอกจากจะเป็นประโยชน์โน้มน้าวใจในการปฏิบัติตนให้เป็นประโยชน์ และเป็นคุณแล้ว ยังเป็น “การอนุรักษ์วรรณกรรมคำสอน” ที่มีคุณค่าด้วย
เวทีเสรีชัยฉบับนี้ ภูมิใจ
เสนอสุภาษิตคำโคลงใน เล่มนี้
จรรโลงวรรณกรรมไทย พุทธศาสน์
อย่างน้อยศีลห้าบ่งชี้ เหนี่ยวน้าวเท่าธรรม
พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนาฯ
พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนาธัมมจักกัปปวัตนสูตร
โปรดเบญจวัคคีย์ให้ได้ดวงตาเห็นธรรม
อุปสมานุสติ นฤพาน
ลำลึกตรึกตรองการ มั่นไว้
ตามพุทธแสดงสาร จงแจ้ง
พอเห็นวิถีได้ ไต่เต้าตามทาง
อุปสมาหาสองโอ้ จนใจ
หนึ่งแน่อย่าสงสัย สอดแคล้ว
สิ่งเดียวแม้ผู้ไป บกลับ มานา
ใช่เงินแลทองแก้ว ยื่นให้กันเห็นกายคตานุสตินี้ กรรมฐาน
จงอุตส่าห์พิจารณ์ ร่างร้าย
มีเกศาโลมาขาน เป็นต้น
ถึงมัตถเกสุดท้าย จบถ้วนสามสิบสอง
กายคตานุสติป้อง กำบัง
ฉวีวรรณผิวหนัง ห่อไซร้
จึงเห็นเป็นงามดัง แสนสวาท
ตัวอภิชฌาหุ้มไว้ พิเคราะห์แล้วดูแสยง มรณานุสติห้อง กรรมฐาน
จงกำหนดมรณญาณ คิดไว้
นามรูปอสุภกาล เปื่อยเน่า
ล้วนหมู่กิมิชาติไซ้ บ่อนร่างปฐวี
หนีเจ้าหนี้หนีทั้ง ภัยพญา
หนีศึกซุ่มซ่อนมา ห่างพ้น
หนีพญามัจจุรา หนียาก จริงแล
แม้นมีฤทธิ์เลิศล้น ห่อนลี้ความตายอานาปานุสติล้ำ กรรมฐาน
พิจารณาลมฆาน ออกเข้า
แห่งมุขทวาร ช่องนา สิกแฮ
ยาวสั้นหย่อนเร่งเช้า รอบรู้กำหนดหมาย
นุสติแสดงจบสิ้น สิบทัศ
ตามพุทธบัญญัติ กล่าวไว้
เรียงเรียบแต่พอชัด ความบ้าง
หวังเป็นประโยชน์ไซร้ ผ่ายหน้าคตกาลอธิบายคำศัพท์
โคลง คำนำ อภินิโมกข์ หมายถึง ความหลุดพ้นอันวิเศษ
อุปสมานุสติ หมายถึง ระลึกถึงธรรมเป็นที่สงบระงับกิเลส และ ทุกข์ หรือนิพพาน
กายคตานุสติ หมายถึง ระลึกทั่วไปในกายให้เห็นว่าไม่งาม
มรณานุสติ หมายถึง ระลึกถึงความตายที่จะต้องมีเป็นธรรมดา
อสุภ หมายถึง สภาพที่ไม่งาม
อานาปานุสติ หมายถึง ตั้งสติกำหนดลมหายใจเข้าออก
ทัศ หมายถึง ครบ, ถ้วน
สุภาษิตคำโคลงจรรโลงวรรณกรรม โดย พรโสภา เรียบเรียง
http://www.sereechai.com/index.php/2013-05-01-06-34-27/2013-05-01-07-30-22/846-2013-08-21-22-32-53