ผู้เขียน หัวข้อ: เรียนรู้หลากกระบวนทัศน์กับ เฉินหลง ในหนัง ใหญ่พลิกแผ่นดินฟัด  (อ่าน 2316 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ มดเอ๊กซ

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7167
  • พลังกัลยาณมิตร 1518
    • ดูรายละเอียด
วัตถุนิยม VS ธรรมชาตินิยม

เรียนรู้หลากกระบวนทัศน์กับ เฉินหลง ในหนังเรื่อง “Little Big Soldier” (ใหญ่พลิกแผ่นดินฟัด)



 
หนังเกือบทุกเรื่องที่มีเฉินหลงแสดงส่วนใหญ่จะรับประกันได้ถึงความความทุ่มเทของนักแสดง Action Super Star คนนี้ ที่เล่นจริงเจ็บจริง และบทถนัดของเขาส่วนใหญ่จะเป็นลักษณะออกตลกนิดๆ หนังเรื่องนี้ก็เป็นอีกเรื่องที่บ่งบอกถึงตัวตนดังที่ผมกล่าวมา เพราะเขาทั้งอำนวยสร้าง เขียนบท เองด้วย และยังนำ วังลีฮอม Super Star ดาวรุ่งไต้หวัน สัญชาติอเมริกัน (http://www.pingbook.com/dvd/view.php?id=18)  มาร่วมงานด้วย เรื่องรายได้ของหนังเรื่องนี้ประสบความสำเร็จพอสมควร ส่วนเรื่องกล่อง หนังก็ได้เข้าร่วมในเทศกาลหนังของเบอร์ลินครั้งที่ 60 (60th Berlin International Film Festival) ถึงแม้จะไม่ได้รางวัลมาก็ตาม แต่ผมคิดว่าเนื้อหาของเรื่องมีอะไรหลายอย่างที่สอดคล้องกับแนวคิดของ LOKM เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะเรื่องแนวคิดกระบวนทัศน์ในแต่ละมุมมอง โดยเนื้อหาที่สื่อออกมาส่วนใหญ่จะเป็นแนวเสียดสีได้พอแสบๆ คันๆ กระตุกให้ได้ฉุกคิดกัน

 

 
เนื้อเรื่องหลักของเรื่องเป็นเรื่องเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของพลทหารของกองทัพเหลียง (เฉินหลง) ที่จับตัวแม่ทัพของกองทัพเว่ย (วังลีฮอม) ขณะที่กำลังบาดเจ็บมาเป็นเชลยเพื่อนำตัวไปแลกกับทรัพย์สินที่ดินใกล้เขาเหลียงซานของทางการเมืองเหลียง ด้วยมีความหวังว่าจะนำไปทำกินอย่างสงบสุขเรียบง่ายตามประสาชีวิตในชนบท ระหว่างเดินทางกลับเมืองเหลียงทั้งสองต้องพบกับเหตุการณ์และผู้คนที่เข้ามามีผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตในรูปแบบต่างๆ ทำให้เกิดการเรียนรู้ซึ่งกันและกันจนในที่สุดหนังก็จบลงด้วยความสวยงาม ที่หักมุมพอสมควร และในการผจญภัยของคนทั้งสองนี้แหละเป็นที่มาของการเขียนบันทึกนี้กับเรื่องการเรียนรู้หลากกระบวนทัศน์

 

 
หนังได้สื่อให้เห็นถึงความแตกต่างของคนทั้งสองอย่างสิ้นเชิงทั้งสถานะทางสังคม และแนวคิด ซึ่งผมคิดว่าน่าจะเปรียบได้กับแนวคิดวัตถุนิยม กับแนวคิดธรรมชาตินิยม แม่ทัพเว่ยเกิดมาท่ามกลางความเจริญของวัตถุนิยม ทรัพย์บริวาร ดังนั้นเขาจึงคิดว่าการที่จะมีความสุขได้นั้นต้องมีทรัพย์สินและบริวารมากๆ และมีแนวคิดปัจเจกนิยม คือต้องรวบรวมแผ่นดินให้เป็นปึกแผ่นเป็นหนึ่งเดียวเพื่อจะได้พัฒนาไปในแนวทางเดียวกันให้คนกินดีอยู่ดี ส่วนพลทหารเหลียงเติบโตมากับชีวิตในชนบททำมาหากินมีอยู่กับธรรมชาติอย่างกลมกลืน มีจิตใจอ่อนโยน ที่สืบทอดแนวคิดจากบิดาของเขาที่คอยพร่ำสอนในเรื่องคุณธรรม และเป้าหมายของชีวิตที่เรียบง่ายพอเพียง แต่บางครั้งก็ดูเหมือนเขาเป็นคนกะล่อน เอาตัวรอด ไม่รักศักดิ์ศรีของชายชาติทหาร แต่สุดท้ายเขาก็แสดงให้เห็นถึงสิ่งที่เขาทำว่านั่นคือวิถีชีวิตที่ควรจะเป็น ทั้งสองมีเป้าหมายเดียวกันคือ “สันติสุข” แต่สันติสุขของแต่ละคนไม่เหมือนกัน แม่ทัพมีแนวคิดเป็นหนึ่งเดียวเท่าเทียมกัน ส่วนพลทหารมีแนวคิดที่กลมกลืนกับธรรมชาติ

 

 
ตรงนี้ผมคิดว่าน่าจะเป็นเรื่องเสียดสีให้กับผู้มีอำนาจนักปกครองทั้งหลายถึงการพัฒนาแก้ไขความยากจน โดยหว่านเงินลงไปในชนบทสร้างค่านิยมเรื่องวัตถุนิยม เช่น โทรทัศน์ โทรศัพท์มือถือ เครื่องเสียง VCD ฯลฯ ให้กับคนในสังคม เพราะตีความคำว่า “ยากจน” คือความทุกย์จากเรื่องของทรัพย์สินเงินทอง ซึ่งการไม่มีทรัพย์สินเงินทอง ไม่ได้หมายความว่าไม่มีความสุข ทำให้เกิดการแปลกแยกไปจากวิถีชีวิตที่เคยสงบสุขเรียบง่าย  และทำให้ผมนึกถึงการปฏิรูปการศึกษาจากส่วนกลาง ที่นำความรู้ ประเภทที่ไม่สอดคล้องและขัดต่อวิถีชิวิตของชุมชน เช่น ทางการมีเป้าหมายให้เด็กต้องสอบวิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี สังคม ภาษาไทย ได้ด้วยคะแนนมาตรฐานที่สร้างขึ้นมา ตามมาตรฐานของคนเมือง แต่กับวิถีชีวิตชนบทแล้ว ผมคิดว่ามันเป็นสิ่งแปลกปลอมกับคนในชุมชน เด็กควรได้รับการเรียนรู้ที่สอดคล้องและเหมาะสมต่อชีวิตในชุมชน เพราะปกติแล้วชีวิตในชนบทเด็กจะเรียนรู้จากพ่อแม่และคนในชุมชมกันเองในเรื่องการทำมาหากิน เช่น การปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ หาปลา จับสัตว์ในธรรมชาติ การทำอาหาร ทำหัตกรรม เป็นต้น เมื่อเด็กต้องท่องตำรา อ่านหนังสือเพื่อทำข้อสอบให้ได้ตามมาตรฐานที่ส่วนกลางได้ตั้งไว้ ทำให้เวลาการเรียนรู้จากพ่อแม่และคนในชุมชมกันเองถูกแย่งไป



ภาพจาก http://hilight.kapook.com/view/34889

เรื่องเหล่านี้ผมขอชื่นชม “แหลม อรหันต์ชาวนา : พูนศักดิ์ สมบูรณ์”  (http://hilight.kapook.com/view/34889)  ที่ปฏิเสธการศึกษาในระบบ ไม่จำเป็นต้องเรียนจบสูงๆ เพื่อทำงานดีๆ จะได้มีเงินทองไว้ทำกินต่อไป เขาบอกว่าเรียนจบมาก็มาทำมาหากิน แล้วทำไมต้องทำหลายขั้นตอน เรียนจบทำงาน หาเงิน ได้เงินมาก็ ซื้อของ ซื้อกิน เขาตัดวงจรของเงินออกไป โดยทำงานในที่ดินของตัวเองได้เท่าไหร่ก็ใส่ปากกินได้เลย ไม่ต้องเสียเวลาไปแลกเป็นเงิน เขายังได้ให้แนวคิดของการศึกษาไว้ว่า พ่อแม่คือครูที่ดีที่สุดของลูก และเป็นผู้ถ่ายทอดวิธีการทำมาหากินให้แก่ลูกได้ดีที่สุด แต่ส่วนใหญ่คนเรามีความหวังว่าอยากให้ลูกได้เรียนสูงๆ จบออกมาจะได้เป็นเจ้าคนนายคน ทำงานดีๆ มีหน้าตาของสังคม เป็น หมอ วิศวกร เป็นต้น เหล่านี้ทำให้ขัดต่อวิถีชีวิตของชุมชน อาจถึงกับล่มสลายได้ เพราะคนมุ่งสู่ชีวิตเมืองกันหมด สุดท้าย ไม่มีใครปลูกข้าว ให้กิน




หนังได้เสียดสีให้เห็นถึงการพร่ำเพ้อถึงทฤษฎีและการปฏิบัติจากเหตุการณ์ของบัณทิต 2 คน ที่คุยถกเถียงกันเรื่องบทสรุปของการสงคราม แต่นั่นก็เป็นเพียงแนวคิดทางอุดมคติเท่านั้นไม่สามารถที่จะนำไปปฏิบัติได้จริง เปรียบเทียบได้กับนักวิชาการบนหอคอยงาช้างนั่นเอง

 
 
 
ภาพและข้อมูลบางส่วนจาก

- http://movie.kapook.com/view10098.html , http://www.takungpao.com/2tkp_site2/news/images/10/01/23/UHK-33.jpg , http://hktopten.blogspot.com/2010/01/20100123-little-big-soldier.html  และ http://www.sharetera.com/movies/Little-Big-Soldier-2010-RETAiL-DVDRip-XviD-AC3-ViSiON-231743.html



http://gotoknow.org/blog/attawutc/361261






" มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

เกอเธ่...