วิถีธรรม > ศีลเจพรต

มงคลชีวิต ๓๘ ประการ ประกอบ ภาพจิตรกรรมไทย

(1/2) > >>

แปดคิว:

ที่มาของมงคล ๓๘ ประการ

กาลเมื่อ ๒๕๐๐ กว่าปีที่ผ่านมา ณ.ชมพูทวีป
มหาชนและคนทั้งหลาย ผู้อาศัยอยู่ในโลกใบนี้
ต่างคนต่างก็มีความปริวิตก หวาดกลัวต่อความทุกข์ยากเดือดร้อนจากภัย
ที่จักเป็นอันตรายต่อตน และคน ทั้งทรัพย์สินในครอบครัว
ด้วยอาศัยอำนาจแห่งความกลัวนี้
ชนทั้งหลายได้พากันขวนขวายแสวงหาที่พึ่งพาอาศัย ที่ตนเชื่อว่าประเสริฐ
และทรงอำนาจอันศักดิ์สิทธิ์ เพื่อจักได้คุ้มครองปกปักรักษาชีวิตและทรัพย์สินของตนๆ
ให้อยู่รอดปลอดภัยจากอันตรายทั้งปวงที่จักอุบัติขึ้น
บางขณะก็ใช้ที่พึ่งนั้น ให้ช่วยปัดเป่า รักษาอาการเจ็บไข้และโรคร้ายทั้งปวง
บางทีก็ใช้ที่พึ่งนั้นดลบันดาลให้พืชผลทางเกษตรของตนเจริญงอกงาม
หรือไม่ก็ใช้ที่พึ่งนั้นช่วยปกป้องภัยพิบัติอันจักพึงมีแก่พืชผลทางเกษตรทรัพย์สินและชีวิตตน
ซึ่งบางครั้งก็ดูเหมือนว่าที่พึ่งเหล่านั้นได้ดลบันดาลให้สำเร็จประโยชน์ตามที่ขอได้จริง


๑. ความเชื่อของมนุษย์สมัยโบราณ นับถือเทพเจ้า และสัตว์ต่างๆ

๒. ความเชื่อเรื่องบูชายัญ

๓. การแห่นางแมวขอฝน


๔. ความเชื่อเรื่องน้ำศักดิ์สิทธิ์


๕. ขอหวยที่ต้นไม้


๖. รักษาโรคด้วยหมอผี


แต่ก็บ่อยครั้งหรือหลายครั้งที่ที่พึ่งเหล่านั้นมิได้ช่วยให้สำเร็จประโยชน์ตามที่ขอได้เลย
แถมยังป็นตัวทำลายชีวิตทรัพย์สินของผู้เคารพยอมรับบูชาเสียอีก
และชนิดของที่พึ่งเหล่านั้นก็มีมากมายหลายชนิดหลายประเภท
มีชีวิตบ้าง ไม่มีชีวิตบ้าง ตัวอย่างเช่น
ผู้คนที่ตั้งบ้านเรือนอยู่ใกล้แม่น้ำลำคลองก็พากันเคารพบูชา
แม่พระคงคา บูชาเจ้าสมุทร บูชาผีน้ำ พรายภูติน้ำ
หรือที่สุดก็บูชาสิ่งมีชีวิตที่อยู่ในน้ำนั้น
พวกที่อยู่ในป่าเขาต่างก็พากันบูชาเจ้าป่า เจ้าเขา รุกขเทวดา นางไม้ เจ้าที่ จอมปลวก
แม้ในที่สุด ก็เคารพบูชาสัตว์น้อยใหญ่ที่อิงอาศัยอยู่ในป่านั้น ว่าเป็นที่พึ่งอันศักดิ์สิทธิ์ประเสริฐ
พวกที่อาศัยอยู่ในเมืองก็พากันเคารพบูชาดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ดวงดาว ฟ้าแลบ ฟ้าร้อง ฟ้าผ่า
บางพวกก็บูชาลม ฝน ไฟ
บางพวกก็บูชาทาง ๓ แพร่งและทางแยกต่างๆ
บางพวกก็บูชาสัตว์เลี้ยงในบ้าน และนอกบ้าน ได้แก่ วัว งู นก ไก่ ปลา
และบางพวกก็บูชามนุษย์ที่ประพฤติพรต บำเพ็ญตบะ


๗. มนุษย์เกิดความสงสัยอะไรที่เป็นมงคล

เมื่อมหาชนและผู้คนทั้งหลายพากันบูชาสิ่งเคารพของตนๆ ดังได้กล่าวมาแล้ว
ต่างก็พากันบูชาด้วยของบูชาอันเลิศ พร้อมกระนั้นก็ขอความคุ้มครองรักษา
บำบัดปัดเป่าขจัดทุกข์ภัยจากสิ่งเคารพของตน ซึ่งผลที่ตอบรับบางทีก็ได้บ้างไม่ได้บ้าง
จนทำให้เป็นที่โจษจัน เคลือบแคลงระแวงสงสัยแก่มหาชนคนทั้งหลายว่า
สิ่งเคารพอันใดกันแน่ ที่จัดว่าเป็นสิ่งเคารพที่ศักดิ์สิทธิ์ที่ดีมีมงคล
มหาชนทั้งหลายต่างฝ่ายต่างพากันถกเถียงกันอยู่เกลื่อนกล่นอลหม่าน
ก็ยังหาข้อยุติไม่ได้ ว่าอะไรคือสิ่งเคารพที่เป็นมงคลสูงสุด

เหล่าเทวดาทูลถาม ท้าวสักกเทวราช "อะไรคือมงคล"


จนร้อนถึงเทวดาชั้นกามาวจร อันได้แก่เทวดาที่สถิตอยู่ใกล้ชิดกับมนุษย์
เมื่อได้สดับคำโจษขานของมนุษย์ที่อยู่ในความดูแลของตนๆ
ก็พากันสอบถามกันและกันว่า

"เอ...พวกมนุษย์เขาถามกันไปมาว่า อะไรคือสิ่งดีมีมงคลสูงสุด"

"นั่นซิท่าน! อะไรล่ะ ข้าพเจ้าก็มิได้รู้เหมือนกัน"

"ถ้าอย่างนั้นชาวเราทั้งหลาย พากันไปเฝ้ามหาเทพ เพื่อทูลถามปัญหานี้เถิด"

เหล่าเทพเทวาทั้งหลาย ก็ได้พากันเข้าเฝ้ามหาเทพ ผู้เป็นใหญ่ในสรวงสวรรค์
พร้อมกับทูลถามปัญหาว่า อะไรเป็นมงคลสูงสุด
องค์อินทราธิราชผู้เป็นใหญ่ในสรวงสวรรค์ เมื่อได้ทรงฟังปัญหา
ของเหล่าเทพเทวาทั้งหลายดังนั้นแล้ว ก็วิเคราะห์ใคร่ครวญพิจารณาดู ก็หาได้รู้ไม่
สุดปัญญาที่จอมเทพไทจักแก้ไข ก็เลยตรัสขึ้นว่า
เห็นทีปัญหานี้ จักต้องกราบทูลอาราธนาขอให้พระจอมบรมศาสดา ทรงเมตตาแก้ปัญหาในครั้งนี้
ด้วยเหตุที่ว่า พระองค์ทรงเป็นพระสัพพัญญู มิมีอะไรที่ไม่ทรงรู้
คิดดังนั้นแล้ว ก็ชวนเหล่าเทวดาทั้งหลายมาเฝ้าทูลถามปัญหา
ณ เชตวันมหาวิหารอารามของอนาถปิณฑิกเศรษฐี ใกล้เมืองสาวัตถี


ท้าวสักกเทวราชทูลถาม พระพุทธเจ้า
ณ เชตวันมหาวิหารอารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้เมืองสาวัตถี

แปดคิว:
มงคลที่ ๑
ความไม่คบคนพาล


๑. คนพาลทุบตีคน ยิงกวาง


๒. คนพาลที่มีนิสัยชอบดื่มสุราเมามาย

๓. ผู้หญิงนอกใจสามี

๔. คนพาลชอบยุแหย่คนให้ทะเลาะกัน

๕. คนพาลที่ขโมยของบ้านคนอื่น

๖. บิดาจูงมือบุตรหนีจากกลุ่มคนพาลทั้งหลาย
ลักษณะของคนพาลมีดังนี้คือ

การตัดประโยชน์ชาตินี้มี ๔ ประการ
๑. เป็นคนขี้เกียจขี้คร้าน ไม่ทำกิจกรรมการงาน และหาวิชาความรู้ที่จะนำมาซึ่งลาภผล
๒. ไม่รักษาทรัพย์ของตนด้วยอุบายแห่งปัญญา
๓. เลี้ยงชีวิตด้วยความประมาทในทรัพย์ คือทรัพย์น้อยใช้จ่ายมาก
๔. คบคนพาลสันดานบาป

การตัดประโยชน์ชาติหน้ามี ๕ ประการ
๑. ไม่ศรัทธาในคุณพระรัตนตรัย
๒. ไม่มีศีล ๕ ศีล ๘ เครื่องรักษากายวาจา
๓. ไม่มีสุตะมัยปัญญา การฟังธรรมเทศนาแล้วเกิดปัญญา
๔. ไม่มีจาคะการบริจาคทาน ข้าว น้ำ เป็นต้น
๕. ไม่มีปัญญาพิจารณาเห็นตามความเป็นจริงแห่งสังขาร
 

แปดคิว:
มงคลที่ ๒
บูชาคนที่ควรบูชา

พุทธศาสนิกชนร่วมกันทำบุญ


]บุตรสวัสดีมารดาเมื่อกลับจากโรงเรียน

นักเรียนไหว้ครูผู้ให้ความรู้

ดูแลผู้มีพระคุณเมื่อท่านแก่เฒ่า


บุคคลใดกระทำสักการะบูชา แก่สิ่งที่ควรบูชา
มีพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ บิดา มารดา ครู อุปัชฌาย์อาจารย์ และท่านผู้มีอุปการแก่ตน
จัดเป็นมงคลอันประเสริฐเป็นบ่อเกิดแห่งบุญ การบูชามี ๒ อย่างคือ

๑. อามิสบูชา
ได้แก่การให้วัตถุต่างๆ มีดอกไม้ธูปเทียนของหอม และข้าวน้ำ
ผ้านุ่ง ผ้าห่ม ยารักษาโรค ที่อยู่อาศัย ปัจจัยลาภทั้งหลาย พร้อมเครื่องใช้ไม้สอยที่จำเป็น เป็นต้น
ขุดสระบ่อ และทำถนน สร้างพุทธรูป สถูปเจดีย์
เหล่านี้ เรียกว่า อามิสบูชา

๒. ปฏิบัติบูชา
ได้แก่การปฏิบัติตามคำสั่งสอน เชื่อถ้อยฟังคำ ทำตามจนเห็นผลประจักษ์แจ้งแก่ตน
จนเชื่อใจ วางใจ เบาใจแก่ผู้รับการบูชา พร้อมผู้บูชาเอง
เหล่านี้เรียกว่า ปฏิบัติบูชา
 



]มงคลที่ ๓
ความคบบัณฑิต

กลุ่มบัณฑิต หมั่นฝึกหาความรู้


จัดเป็นมงคลความเจริญสุขสวัสดี ทั้งชาตินี้ชาติหน้า
ด้วยบัณฑิตย่อมแสวงประโยชน์ ๒ ประการคือ
ประโยชน์ชาตินี้ และประโยชน์ชาติหน้า
ผู้ใดไปคบหาแล้วย่อมจะชักพาให้ทำดี คือ ทาน ศีล ภาวนา เป็นต้น
และให้ประพฤติตนอยู่ในสุจริตทั้ง ๓ คือ

๑. กายสุจริต
๑.๑ ไม่ฆ่าสัตว์
๑.๒ ไม่ลักทรัพย์
๑.๓ ไม่ประพฤติผิดในกาม

๒. วจีสุจริต
๒.๑ ไม่พูดปดผู้อื่น
๒.๒ ไม่พูดส่อเสียดยุยงผู้อื่น
๒.๓ ไม่พูดคำหยาบ
๒.๔ ไม่พูดจาเพ้อเจ้อเป็นคำพูดที่ไม่มีประโยชน์

๓. มโนสุจริต
๓.๑ ไม่โลภคิดลักของผู้อื่น
๓.๒ ไม่พยาบาทอาฆาตผูกเวร
๓.๓ ไม่เห็นผิดจากพุทธศาสนา


มงคลที่ ๔
ความอยู่ในประเทศอันสมควร


มีวัดที่ดี พระมีวินัย

พระไม่ปฏิบัติธรรม

คนเอาแต่นอนไม่ยอมทำงาน


]โรงเรียนขาดระเบียบวินัย

มีโรงเรียนที่ดี


ความอยู่ในประเทศอันสมควรได้แก่
ประเทศใดที่มี พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ และภิกษุบริษัท ๔
ทรงไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา สั่งสอนปวงชนให้ประพฤติธรรมอยู่เนืองๆ
ก็จักทำให้ผู้คนในประเทศนั้นขยันขันแข็ง
พัฒนาจัดสร้างสาธารณูปโภคอย่างพอเหมาะพอดีด้วยวิธีที่ถูกต้อง และซื่อสัตย์สุจริต
ประเทศนั้นก็จะเจริญทั้งวัตถุและจิตใจ







แปดคิว:
มงคลที่ ๕
เคยทำบุญในกาลก่อน

วิธีทำบุญ มีอยู่ ๑๐ อย่าง คือ
๑. ทานมัย บุญสำเร็จด้วยการบริจาคทาน
๒. สีลมัย บุญสำเร็จด้วยการรักษาศีล
๓. ภาวนามัย บุญสำเร็จด้วยการเจริญภาวนา
๔. อปจายนมัย บุญสำเร็จด้วยการประพฤติถ่อมตนแก่ผู้ใหญ่
๕. เวยยาวัจจมัย บุญสำเร็จด้วยการขวนขวายในกิจ
๖. ปัตติทานมัย บุญสำเร็จด้วยการให้ส่วนบุญ
๗. ปัตตานุโมทนามัย บุญสำเร็จด้วยการอนุโมทนาส่วนบุญ
๘. ธัมมัสวนมัย บุญสำเร็จด้วยการฟังธรรม
๙. ธัมมเทสนามัย บุญสำเร็จด้วยการแสดงธรรม
๑๐. ทิฏฐชุกรรม การทำความเห็นให้ตรงฯ

วิมานของเทวดา และมีทิพยสมบัติ


ชนเหล่าใด แต่ชาติก่อนมีความเพียรก่อสร้างสั่งสมกองการบุญกุศลทั้งหลาย
แต่กาลก่อนดังกล่าวมา ย่อมให้สำเร็จสมบัติ ๓ คือ
๑. มนุษย์สมบัติ
๒. สวรรค์สมบัติ
๓. นิพพานสมบัติ

ด้วยพระศาสดาทรงตรัสไว้ว่า
" บุคคลใดได้สร้างกุศลไว้ดีแล้วแต่ปางก่อน
ย่อมเป็นนิสัยทางมรรคผลแห่งบุคคลนั้น
ได้สำเร็จดังสิ่งที่หวัง "


มงคลที่ ๖
ความตั้งตนไว้ชอบ


การตั้งตนไว้ในกุศลกรรมบท ๑๐ ประการ และมรรคมีองค์ ๘ ประการ


ฆ่าไก่

เล่นการพนัน ทะเลาะกัน


กุศลกรรมบท ๑๐ ประการ

กายกรรม ๓ อย่าง
๑. ปาณาติปาตา เวรมณี เว้นจากการทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วง
๒. อทินนาทานา เวรมณี เว้นจาการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้ ด้วยการขโมย
๓. กาเมสุ มิจฉาจารา เวรมณี เว้นจากการประพฤติผิดในกาม

วจีกรรม ๔ อย่าง
๑. มุสาวาทา เวรมณี เว้นจากการพูดเท็จ
๒. ปิสุณาย วาจาย เวรมณี เว้นจากการพูดส่อเสียด
๓. ผรุสาย วาจาย เวรมณี เว้นจากการพูดคำหยาบ
๔. สัมผัปปลาปา เวรมณี เว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ

มโนกรรม ๓ อย่าง
๑. อนภิชฌา ไม่โลภอยากได้ของเขา
๒. อัพยาปาท ไม่พยาบาทปองร้ายเขา
๓. สัมมาทิฏฐิ เห็นชอบตามคลองธรรมฯ
มรรคมีองค์ ๘

๑. สัมมาทิฏฐิ ปัญญาอันเห็นชอบ คือเห็นอริยสัจ ๔ มี
๑.๑ ทุกข์ คือ ความไม่สบายกาย ไม่สบายใจ
๑.๒ สมุหทัย คือ เหตุให้เกิดทุกข์
๑.๓ นิโรธ คือ ทางดับทุกข์
๑.๔ มรรค คือ ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์

๒. สัมมาสังกัปปะ ดำริชอบ คือ
๒.๑ ดำริที่จะออกจากกาม
๒.๒ ดำริที่จะไม่พยาบาท
๒.๓ ดำริที่จะไม่เบียดเบียน

๓. สัมมาวาจา เจรจาชอบ คือเว้นจากวจีทุจริต ๔
๓.๑ มุสาวาท เวรมณี คือไม่พูดปดล่อลวงอำพรางท่านผู้อื่น
๓.๒ ปิสุณาย วาจาย เวรมณี ไม่พูดส่อเสียดยุยงให้ผู้อื่นแตกร้าวจากกันด้วยความอิจฉา
๓.๓ ผรุสาย วาจาย เวรมณี ไม่กล่าวคำหยาบ ด่าชาติตระกูลผู้อื่น
๓.๔ สัมผัปปลาปา เวรมณี ไม่กล่าวคำที่หาประโยชน์มิได้ในชาตินี้ และชาติหน้า

๔. สัมมากัมมันตะ ทำการงานชอบ คือ เว้นจากการทุจริต ๓
๔.๑ ปาณาติปาตา เวรมณี ไม่ฆ่าสัตว์ทั้งหลายที่มีชีวิต ให้ตายด้วยกาย และวาจา
๔.๒ อทินนาทานา เวรมณี ไม่ลักฉ้อข้าวของที่เจ้าของเขาไม่ให้ ด้วยกาย และวาจา
๔.๓ กาเมสุมิจฉาจารา เวรมณี เป็นบุรุษไม่ร่วมประเวณีในสตรีที่มีคนหวงแหนรักษา เป็นสตรีไม่นอกใจสามีไปคบบุรุษอื่น


๕.สัมมาอาชีวะ เลี้ยงชีวิตชอบ คือ เว้นการเลี้ยงชีวิตในทางที่ผิด

gทำงานในบ้านตน

จักสาน

ค้าขาย

ปั้นหม้อ


๖. สัมมาวายามะ เพียรชอบ คือ เพียรในที่ ๔ สถาน มีดังนี้คือ
๖.๑ เพียรระวัง คือ ระวังไม่ให้บาปเกิดขึ้นในจิตใจ
๖.๒ เพียรละ คือ ละบาปที่เกิดขึ้นแล้ว ไม่ให้เกิดขึ้นอีก
๖.๓ เพียรเจริญ คือ ละบาปที่เกิดขึ้นแล้ว ไม่ให้เกิดขึ้นอีก
๖.๔ เพียรรักษา คือ รักษาความดีที่ทำแล้ว ไม่ให้เสื่อมไป ให้อยู่ในจิตใจของตนตลอดไป

๗. สัมมาสติ ระลึกชอบคือ ระลึกในสติปัฏฐานทั้ง ๔
สติปัฏฐาน แปลว่า การตั้งสติไว้เป็นประธานเป็นเบื้องหน้า
การตั้งมั่นแห่งสติ หรือว่าสติที่เข้าไปตั้งมั่นในอารมณ์ มี ๔ ประการคือ
๑. สติกำหนดพิจารณาว่า กายนี้ก็สักว่ากาย ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา
๒. สติกำหนดพิจารณาดูเวทนา คือ สุข ทุกข์ และไม่ใช่ทุกข์ ไม่ใช่สุข เป็นอารมณ์ว่า เวทนานี้ก็สักว่าเวทนา ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา
๓. สติกำหนดพิจารณา ดูใจที่เศร้าหมองหรือผ่องแผ้วเป็นอารมณ์ว่า ใจนี้ก็สักว่าใจ
๔. สติกำหนดพิจารณาดูธรรมที่เป็นกุศล ที่บังเกิดขึ้นกับใจเป็นอารมณ์ว่า ธรรมนี้ก็สักว่าธรรม

๘. สัมมาสมาธิ ตั้งใจไว้ชอบ คือ เจริญฌานทั้ง ๔ ในที่นี้จะไม่ขออธิบาย

บุคคลใดตั้งตนไว้ในกุศลกรรมบท ๑๐ อย่างและ มรรค์มีองค์ ๘ เป็นมงคลอันประเสริฐ


--------------
มงคลที่ ๗
ความได้ฟังมามาก

ในหลวงทรงวางนโยบายโครงการหลวง


การฟังแล้วจะได้ประโยชน์ต้องฟังด้วยดี
คือสนใจตั้งใจฟัง ฟังแล้วต้องพิจารณาใคร่ครวญตาม
แล้วจึงจะเชื่อเหมือนกับมีคำวลีย่อมา ๔ คำ คือ
สุ จิ ปุ ลิ

๑. สุ สุตตะ การฟัง การฟังที่ดีต้องตั้งใจฟัง ฟังแล้วอย่าพึ่งเชื่อ
การไม่เชื่อ นั้นไม่ใช่ไม่เชื่อเลย ต้องคิดตามในหัวข้อที่กำลังฟัง
๒. จิ จิตตะ ใจจดจ่อ เมื่อมีใจจดจ่อในเรื่องที่เราฟังแล้ว
ทำให้เกิดแง่คิดเป็นคำถามขึ้น ก็ต้องดูในหัวข้อต่อไป
๓. ปุ ปุจฉา การถาม เมื่อมีความสงสัยอันเกิดจากการขบคิดปัญหา
ก็ต้องถามในคำถามที่เราสงสัยให้หายคลางแคลงในสิ่งนั้นๆ แต่เมื่อถามแล้วได้คำตอบแล้ว
เพื่อกันลืมทีหลังเราก็ต้องทำในข้อต่อมาว่า
๔. ลิ ลิขิต การเขียน การเขียนในสิ่งที่เราได้คำตอบ
เพื่อที่จะได้ไม่ลืมในภายหลังเมื่อถึงเวลาที่เราทบทวนในิส่งที่เราสงสัยอีก

เมื่อบุคคลใดที่ได้ฟังมาแล้ว ไม่ลืมคำว่า สุ จิ ปุ ลิ บุคคลนั้นก็จะได้ชื่อว่าเป็นพหูสูตร



แปดคิว:
]เป็นคนรับผิดชอบการงาน


บิดามารดานั้นจะมีคุณ ๔ ประการ คือ
๑. ชื่อว่าเป็นพรหม คือ มีเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา เหมือนท้าวมหาพรหม
๒. ชื่อว่าเป็นบุพพเทวดา คือ ได้พิทักษ์รักษาทารกนั้นมาก่อนกว่าเทพยดาทั้งปวง
๓. ชื่อว่าเป็นบุพพาจารย์ คือ ให้โอวาทคำสั่งสอนแก่ทารกนั้นมาก่อนกว่าอาจารย์ทั้งปวง
๔. ชื่อว่าเป็นอาหุเนยยา คือ มารดาบิดาควรจะรับของที่บุตรนำมาให้ เป็นข้าวน้ำ ผ้าผ่อนท่อนสไบ ที่บุตรหญิงชายนำมาสักการบูชา


พาบิดา มารดาเดินออกกำลังกาย


กุลบุตรหญิงชายทั้งหลายเมื่อได้รับการปฏิบัติจากบิดา มารดาดังนี้แล้วจะต้องตอบแทนคุณบิดามารดาด้วยวิธี ๕ อย่างคือ
๑. มารดาบิดาไม่มีศรัทธา ก็ชักชวนและทำให้มีศรัทธา
๒. มารดาบิดาไม่มีศีล ก็แนะนำและทำให้มีศีล
๓. มารดาบิดาไม่ได้ฟังธรรม ก็แสวงและทำให้ได้ฟังธรรม
๔. มารดาบิดาไม่ได้บริจาคทาน ก็วิงวอนให้ท่านได้บริจาคทาน
๕. มารดาบิดาไม่มีปัญญา ก็แนะนำสั่งสอนให้ท่านมีปัญญา

ถ้ากุลบุตร กุลธิดาปฏิบัติบิดามารดา พร้อมด้วยองค์ ๕ ดังนี้ จึงเรียกว่าปฏิบัติบูชา ยกบิดามารดาให้พ้นจากทุกข์อย่างแท้จริง



มงคลที่ ๑๓
ความสงเคราะห์ภริยา


ลักษณะของภรรยามี ๗ ข้อ
๑. วธการภรรยา เมียที่เป็นข้าศึกแก่สามี คือคิดประทุษร้ายสามีอยู่เนืองๆ มิได้ขาด
๒. โจรีภรรยา เมียเป็นโจรคอยลักข้าวของแห่งสามี
๓. อัยยภรรยา เมียข่มขี่ผัวให้อยู่ในอำนาจดังนายกับบ่าว
๔. มาตาภรรยา เมียรักผัวดังมารดารักบุตรที่บังเกิดแก่อุทร ไม่มีความเดือดร้อนให้แก่สามี
๕. ภคินิภรรยา เมียดังน้องหญิง เป็นที่สมัครรักยิ่งดังพี่และน้องร่วมท้องมารดาเดียวกัน
๖. ทาสีภรรยา เมียดังทาสทาสี เป็นที่ยินดีเกรงกลัวผัวยิ่งนัก ทั้งกลัวทั้งรักเป็นที่เคารพ
๗. สุขีภรรยา เมียราวกะว่าสหายเป็นเพื่อนเจ็บเพื่อนตายของสามี มิได้คิดหน่ายหนี
ภรรยาจำพวกที่ ๔-๗ สามีใดสงเคราะห์ ถือว่าเป็นมงคลในชีวิต


ภรรยาดูแลเอาใจใส่งานบ้านงานเรือน


สามีควรจะสงเคราะห์ภรรยาด้วยเหตุ ๕ สถานคือ
๑. ให้เกียรติกล่าวยกย่องแก่ภรรยาด้วยวาจาอันอ่อนหวาน ไม่กล่าวคำดูถูกดูหมิ่น
๒. สามีอย่างโกรธทุบตีก่อน แล้วจึงสั่งสอนต่อภายหลัง
๓. สามีอย่าคิดนอกใจภรรยาเที่ยวหาภรรยาใหม่ เป็นที่ไม่ชอบใจของสตรีที่ปรารถนาหาสามีแต่ผู้เดียว
๔. สามีจงให้ภรรยาเป็นใหญ่ในเคหสถาน คือเป็นคนเก็บทรัพย์ที่สามีได้มา
๕. สามีจงแสวงหาเครื่องประดับให้แก่ภรรยาโดยสมควรแก่ทรัพย์และตระกูล


สามีให้กำลังใจภรรยายามไม่สบาย


ภรรยาเมื่อได้รับการสงเคราะห์จากสามีแล้ว ก็ควรจะสงเคราะห์สามีด้วยองค์ ๕ ประการ เป็นการตอบแทนคือ
๑. ฉลาดในการทำอาหารให้สามีรับประทาน
๒. ภรรยานับถือญาติทั้งสองฝ่าย ญาติของสามีและญาติของตนให้เสมอกัน
๓. ภรรยามีใจซื่อตรงต่อสามี
๔. ภรรยาหมั่นภักดีปฏิบัติสามี ให้เป็นที่ยินดีตามอัธยาศัย
๕. ภรรยาเป็นผู้ฉลาดรักษาทรัพย์ที่สามีได้มา อย่าให้ฉิบหาย

ความฉิบหายในทรัพย์ คือ
๑. ไม่รู้ประมาณในการบริโภค ใช้สอยทรัพย์
๒. เล่นการพนัน
๓. เกียจคร้านไม่ทำงาน
๔. นักเลงสุรา
๕. นักเลงเจ้าชู้


มงคลที่ ๑๔
การงานไม่อากูล


คนสร้างบ้านให้สำเร็จลุล่วง


บุคคลใดไม่มีความเกียจคร้านในกิจการงานทั้งปวง จัดเป็นมงคลอันประเสริฐย่อมนำมาซึ่งความสุขความเจริญในโลกนี้และโลกหน้า

เหตุที่ทำให้การงานอากูลมี ๖ อย่างคือ
๑. มักอ้างว่า หนาวนัก แล้วไม่ทำงาน
๒. มักอ้างว่า ร้อนนัก แล้วไม่ทำงาน
๓. มักอ้างว่า ยังเช้าอยู่ แล้วไม่ทำงาน
๔. มักอ้างว่า เวลาเย็นเกิน แล้วไม่ทำงาน
๕. มักอ้างว่า หิวนัก แล้วไม่ทำงาน
๖. มักอ้างว่า กระหายนัก แล้วไม่ทำงาน

เมื่อบุคคลอ้างอย่างนี้แล้ว ก็ไม่ทำงานย่อมทำให้การงานคั่งค้างอากูล เป็นปลงภาระไม่ได้ จักยืน เดิน นั่ง นอน ก็จักวิตกกังวลหาความสุขไม่ได้ แถมยังอาจเป็นภาระแก่ผู้อื่นอีกด้วย ซึ่งก็จักทำให้เป็นที่ไม่น่าเชื่อถือของคนรอบข้าง


คนเล่นการพนัน คนเอาแต่นอน คนทำงานคั่งค้าง


มงคลที่ ๑๕
ความให้ทาน


การให้ทานมีลักษณะ ๓ อย่างคือ
๑. บุคคลที่มีศรัทธาเลื่อมใส คิดจะให้ซึ่งทาน
๒. บุคคลที่มีหิริโอตตัปปะ ละเว้นในปัญจขันธ์ทั้ง ๕ คือ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส แล้วไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์เป็นต้น
๓. บุคคลมีปัญญารู้จักพิจารณาในการ ให้ข้าวน้ำผ้านุ่ง ผ้าห่มเป็นต้น

ทานทั้ง ๓ ประการที่บังเกิดขึ้นในสันดานมนุษย์ทั้งปวงนั้น บุคคลเห็นว่าให้ทานและรักษาศีล ได้บุญได้กุศลย่อมนำมาซึ่งความสุข แต่การให้ทานก็อาศัยเจตนาในการให้การให้ทานนั้นสัมฤทธิผลยิ่งขึ้น มี ๓ คือ
๑. ปุพพเจตนา มีจิตเลื่อมใสคิดจะให้ซึ่งทาน (ก่อนทำเต็มใจ)
๒. มุญจนเจตนา มีความเลื่อมใสเมื่อขณะให้ทาน (ขณะทำตั้งใจ)
๓. อปราปรเจตนา มีความเลื่อมใสเมื่อให้ทานแล้ว (ทำแล้วสบายใจ)

ทำบุญใส่บาตร

ปล่อยนก ปล่อยปลา

เลี้ยงดูบ้านเด็กกำพร้า




นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

[#] หน้าถัดไป

ตอบ

Go to full version