แสงธรรมนำใจ > หยาดฝนแห่งธรรม
พุทธวัจน์...คำสอนจากพระโอษฐ์ของพระพุทธเจ้า
lek:
ทรงมีความชราทางกายภาพเหมือนคนทั่วไป
(ลำดับนั้น พระอานนท์ผู้มีอายุ
ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายอภิวาทแล้วลูบคลำทั่วพระกายของผู้มีพระภาคอยู่
พลางกล่าวถ้อยคำนี้ว่า)
"ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ! ข้อนี้น่าอัศจรรย์ ข้อนี้ไม่เคยมีมาก่อน
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ! บัดนี้ฉวีวรรณของพระผู้มีพระภาค
ไม่บริสุทธิ์ผุดผ่องเหมือนแต่ก่อน และพระกายก็เหี่ยวย่นหย่อนยาน
มีพระองค์ค้อมไปข้างหน้า อินทรีย์ทั้งหลายก็เปลี่ยนเป็นอย่างอื่นไปหมด
ทั้งจักษุ โสตะ ฆานะ ชิวหา กายะ"
อานนท์! นั่นต้องเป็นอย่างนั้น คือความชรามี(ซ่อน)อยู่ในความหนุ่ม,
ความเจ็บไข้มี(ซ่อน)อยู่ในความไม่มีโรค, ความตายมี(ซ่อน)อยู่ในชีวิต
ฉวีวรรณจึงไม่บริสุทธิ์ผุดผ่องเสียแล้ว และกายก็เหี่ยวย่นหย่อนยาน
ตัวค้อมไปข้างหน้า อินทรีย์ทั้งหลายก็เปลี่ยนเป็นอย่างอื่นไปหมด
ทั้งตา หู จมูก ลิ้น กาย ดังนี้
พระผู้มีพระภาคครั้งตรัสคำนี้แล้ว ได้ตรัสข้อความนี้(เป็นคำกาพย์กลอน)อีกว่า
โธ่เอ๋ย! ความแก่อันชั่วช้าเอ๋ย!
ความแก่อันทำความน่าเกลียดเอ๋ย!
กายที่น่าพอใจ บัดนี้ก็ถูกความแก่ย่ำยีหมดแล้ว
แม้ใครจะมีชีวิตอยู่ตั้งร้อยปี
ทุกคนก็ยังมีความตาย เป็นที่ไปในเบื้องหน้า
ความตายไม่ยกเว้นให้แก่ใครๆ มันย่ำยีหมดทุกคน
แก้วจ๋าหน้าร้อน:
:13: อนุโมทนาครับพี่เล็ก
lek:
ตั้งหน้าทำ...ก็แล้วกัน
ภิกษุทั้งหลาย! กิจของคฤหบดีชาวนา
ที่เขาจะต้องรีบทำมี 3 อย่างเหล่านี้,
3 อย่างอะไรบ้างเล่า?.....
3 อย่าง คือ คฤหบดีชาวนา รีบๆไถ คราด พื้นที่นาให้ดีเสียก่อน,
ครั้นแล้ว ก็รีบๆปลูกพืช, ครั้นแล้วก็รีบๆไขน้ำเข้าบ้าง ไขน้ำออกบ้าง,
ภิกษุทั้งหลาย! กิจของคฤหบดีชาวนา
ที่เขาจะต้องรีบทำ มี 3 อย่างเหล่านี้แล
แต่ว่าคฤหบดีชาวนานั้น
ไม่มีฤทธิ์หรืออานุภาพ ที่จะบันดาลว่า
"ข้าวของเรา จงงอกในวันนี้,
ตั้งท้องพรุ่งนี้, สุกมะรืนนี้"ดังนี้ได้เลย,
ที่แท้ ย่อมมีเวลาที่ข้าวนั้น
เปลี่ยนแปรสภาพไปตามฤดูกาล
ย่อมจะงอกบ้าง ตั้งท้องบ้าง สุกบ้าง
ภิกษุทั้งหลาย! ฉันใดก็ฉันนั้น
กิจของภิกษุที่เธอจะต้องรีบทำ
มี 3 อย่างเหล่านี้....
3 อย่างอะไรบ้างเล่า?....
3 อย่าง คือ การสมาทานการปฏิบัติในศีลอันยิ่ง,
การสมาทานการปฏิบัติในจิตอันยิ่ง,
และการสมาทานการปฏิบัติในปัญญาอันยิ่ง
ภิกษุทั้งหลาย! กิจของภิกษุ
ที่เธอจะต้องรีบทำ มี 3 อย่างเหล่านี้แล
แต่ว่าภิกษุนั้น ก็ไม่มีฤทธิ์หรืออานุภาพ
ที่จะบันดาลว่า "จิตของเรา จงหลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย
เพราะไม่มีอุปทานในวันนี้ หรือพรุ่งนี้ หรือมะรืนนี้"
ดังนี้ได้เลย, ที่แท้ย่อมมีเวลาที่เหมาะสม....
เมื่อภิกษุนั้นปฏิบัติไปแม้ในศีลอันยิ่ง,
ปฏิบัติไปแม้ในจิตอันยิ่ง, และปฏิบัติไปแม้ในปัญญาอันยิ่ง
จิตก็จะหลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่มีอุปทานได้เอง
lek:
ทรงสอนเฉพาะแต่เรื่องทุกข์
กับความดับสนิทของทุกข์
ทั้งที่เรามีถ้อยคำอย่างนี้
มีการกล่าวอย่างนี้...
สมณะและพราหม์บางพวก
ยังกล่าวตู่เราด้วยคำเท็จ เปล่าๆปลี้ๆ
ไม่มีจริงเป็นจริงว่า
"พระสมณโคดมเป็นคนจูงคน
ให้เดินผิดทาง ไปสู่ความฉิบหาย
ย่อมบัญญัติลัทธิความสูญเปล่า
ความวินาศ ความไม่มีของสัตว์
คน ตัวตน เราเขาขึ้นสั่งสอน" ดังนี้
สมณะและพราหมณ์บางพวกเหล่านั้น
กล่าวตู่เราด้วยคำเท็จ เปล่าๆปลี้ๆ
ไม่มีจริงเป็นจริง โดยประการที่เราไม่ได้กล่าว
หรือจะกล่าวอย่างนั้นก็หามิได้
ในกาลก่อนก็ตาม ในบัดนี้ก็ตาม
เราบัญญัติขึ้นสอนแต่เรื่องความทุกข์
และความดับสนิทไม่มีเหลือของความทุกข์ เท่านั้น
ในการกล่าวแต่เรื่องความทุกข์ และ
ความดับสนิทของความทุกข์ เช่นนี้
แม้จะมีใรมาด่าว่า ถากถาง กระทบกระเทียบ
เสียดสี ตถาคตก็ไม่มีความขุ่นแค้นโกรธเคือง
เดือดร้อนใจ เพราะเหตุนั้นแต่ประการใด
ในเรื่องเดียวกันนั้นเอง...
แม้จะมีใครมาสักการะเคารพสรรเสริญบูชาตถาคต
ก็ไม่มีความรู้สึกเพลิดเพลิน ชื่นชมหรือเคลิ้มใจไปตาม
ถ้ามีใครมาสักการะเคารพสรรเสริญบูชา
ตถาคตย่อมมีความคิดอย่างนี้ว่า....
ก่อนหน้านี้เรามีความรู้สึกตัวทั่วถึงอย่างไร
บัดนี้เราก็ต้องทำความรู้สึกตัวทั่วถึงอย่างนั้น, ดังนี้
ฐิตา:
:13: :45: :07: :45:
นำร่อง
[0] ดัชนีข้อความ
[#] หน้าถัดไป
[*] หน้าที่แล้ว
Go to full version