ผู้เขียน หัวข้อ: พุทธวัจน์...คำสอนจากพระโอษฐ์ของพระพุทธเจ้า  (อ่าน 14392 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ lek

  • ต้นไม้ใหญ่ยืนหยัดมั่นคงดั่งภูผา
  • ****
  • กระทู้: 1724
  • พลังกัลยาณมิตร 687
    • ดูรายละเอียด
มนุษย์เป็นอันมาก...
ได้ยึดถือเอาที่พึ่งผิดๆ

มนุษย์ทั้งหลายเป็นอันมาก...
ถูกความกลัวคุกคามเอาแล้ว
ย่อมยึดถือเอาภูเขาบ้าง...
ป่าไม้ที่ศักดิ์สิทธิ์บ้าง...
สวนศักดิ์สิทธิ์บ้าง...
รุกขเจดีย์บ้าง...ว่าเป็นที่พึ่งของตนๆ

นั้นไม่ใช่ที่พึ่งอันทำความเกษมให้ได้เลย,
นั่นไม่ใช่ที่พึ่งอันสูงนสุด
ผู้ใดถือเอาสิ่งนั้นๆเป็นที่พึ่งแล้ว
ย่อมไม่หลุดพ้นไปจากทุกข์ทั้งปวงได้

ส่วนผู้ใด ที่ถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นที่พึ่ง
แล้วเห็นอริยสัจทั้ง 4  ด้วยปัญญาอันถูกต้อง...
คือ เห็นทุกข์, เห็นเหตุ เป็นเครื่องให้เกิดขึ้นของทุกข์,
เห็นความก้าวหน้าล่วงเสียได้ซึ่งทุกข์,
และเห็นมรรคประกอบด้วยองค์ 8 อันประเสริฐ
ซึ่งเป็นเครื่องให้ถึงความเข้าไปสงบรำงับแห่งทุกข์

นั่นแหละ คือ ที่พึ่งอันเกษม,
นั่นคือ ที่พึ่งอันสูงสุด
ผู้ใดถือเอาที่พึ่งนั้นแล้ว
ย่อมหลุดพ้นไปจากทุกข์ทั้งปวง ได้แท้

ออฟไลน์ lek

  • ต้นไม้ใหญ่ยืนหยัดมั่นคงดั่งภูผา
  • ****
  • กระทู้: 1724
  • พลังกัลยาณมิตร 687
    • ดูรายละเอียด
ภิกษุ ท. ! กิจอันใด
ที่ศาสดาผู้เอ็นดูแสวงหาประโยชน์
เกื้อกูล อาศัยความเอ็นดูแล้ว
จะพึงแก่สาวกทั้งหลาย,
กิจอันนั้น เราได้ทำแล้วแก่พวกเธอทั้งหลาย

ภิกษุ ท. ! นั่น 
โคนไม้ทั้งหลาย,
นั่น เรือนว่างทั้งหลาย

ภิกษุ ท. ! พวกเธอทั้งหลาย
จงเพียรเผากิเลส,
อย่าได้ประมาท

พวกเธอทั้งหลาย
อย่าได้เป็นผู้ที่ต้องร้อนใจ ในภายหลังเลย

นี่แล เป็นวาจาเครื่องพร่ำสอนพวกเธอทั้งหลายของเรา


ออฟไลน์ lek

  • ต้นไม้ใหญ่ยืนหยัดมั่นคงดั่งภูผา
  • ****
  • กระทู้: 1724
  • พลังกัลยาณมิตร 687
    • ดูรายละเอียด
นันทิ คือ ความเพลิน

สัมมาปัสสัง นิพพินทะติ
เมื่อเห็นอยู่โดยถูกต้อง ย่อมเบื่อหน่าย

นันทิกขะยา ราคักขะโย
เพราะความสิ้นไปแห่งนันทิ จึงมีความสิ้นไปแห่งราคะ

ราคักขะยา นันทิกขะโย
เพราะความสิ้นไปแห่งราคะ จึงมีความสิ้นไปแห่งนันทิ

นันทิราคักขะยา จิตตัง สุวิมุตตันติ วุจจะติ
เพราะความสิ้นไปแห่งนันทิและราคะ

กล่าวได้ว่าจิตหลุดพ้นด้วยดี

ออฟไลน์ lek

  • ต้นไม้ใหญ่ยืนหยัดมั่นคงดั่งภูผา
  • ****
  • กระทู้: 1724
  • พลังกัลยาณมิตร 687
    • ดูรายละเอียด
ทรงเป็นผู้เอ็นดูเกื้อกูลแก่สรรพสัตว์ทั้งปวง

"ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ! พระผู้มีพระภาค
ทรงเป็นผู้เอ็นดูเกื้อกูลสัตว์ทั้งปวง
มิใช่หรือพระเจ้าข้า"

คามณิ! ถูกแล้ว,
ตถาคตเป็นผู้เอ็นดูเกื้อกูลแก่สัตว์ทั้งปวงอยู่,

"ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ถ้าอย่างนั้น
ทำไมพระองค์จึงทรงแสดงธรรมแก่คนบางพวก
โดยเอื้อเฟื้อ และแก่คนบางพวก
โดยไม่เอื้อเฟื้อเล่า พระเจ้าข้า? "

คามณิ !   ถ้าอย่างนั้น
เราขอย้อนถามท่านในข้อนี้ ท่านจงตอบเราตามที่ควร

คามณิ !  ท่านจะสำคัญความข้อนี้เป็นไฉน
ในถิ่นแห่งเรานี้  ชาวนาผู้คหบดีคนหนึ่ง
มีนาอยู่ 3 แปลง...
แปลงหนึ่งเป็นนาชั้นเลิศ,
แปลงหนึ่งเป็นนาชั้นกลาง,
แปลงหนึ่งเป็นนาเลว มีดินเป็นก้อนแข็ง มีรสเค็ม พื้นที่เลว

คามณิ!  ท่านจะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร
ชาวนาผู้คหบดีนั้น เมื่อประสงค์จะหว่านพืช
เขาจะหว่านในนาแปลงไหนก่อน...
คือว่าแปลงที่นาชั้นเลิศ, นาปานกลาง,
หรือว่านาเลว มีดินเป็นก้อนแข็ง มีรสเค็ม พื้นที่เลว เล่า?

"ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ! ชาวนาคหบดีผู้ประสงค์จะหว่านพืชคนนั้น
ย่อมหว่านในนาเลิศก่อน, แล้วจึงหว่านในนาปานกลาง,
สำหรับนาเลว ซึ่งดินเป็นก้อนแข็ง รสเค็ม พื้นที่เลวนั้น
เขาก็หว่านบ้าง ไม่หว่านบ้าง เพราะเหตุว่า อย่างมากที่สุด
ก็หว่านไว้ให้โคกิน พระเจ้าข้า!"

คามณิ!  นาเลิศนั้น เปรียบเหมือนภิกษุภิกษุณีของเรา
เราย่อมแสดงธรรม งดงามในเบื้องต้น
งดงามในท่ามกลาง งดงามในที่สุด
ประกาศพรหมจรรย์บริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง
พร้อมทั้งอรรถะ พร้อมทั้งพยัญชนะ แก่ภิกษุภิกษุณีเหล่านั้น

ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า? คามณี! เพราะเหตุว่า
ภิกษุภิกษุณีทั้งหลายเหล่านั้น มีเราเป็นประทีป
มีเราเป็นที่ซ่อนเร้น มีเราป็นที่ต้านทาน มีเราเป็นที่พิงอาศัยอยู่

คามณี! นาปานกลางนั้น เปรียบเหมือนอุบาสกอุบาสิกาของเรา
เราย่อมแสดงธรรม งดงามในเบื้องต้น งดงามในท่ามกลาง
งดงามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์บริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง
พร้อมทั้งอรรถะ พร้อมทั้งพยัญชนะ แก่อุบาสกอุบาสิกาทั้งหลายเหล่านั้น

ข้อนั้นเป็นอย่างไรเล่า? คามณี! เพราะเหตุว่า
ชนทั้งหลายเหล่านั้นมีเราเป็นประทีป มีเราเป็นที่ซ่อนเร้น
มีเราเป็นที่ต้านทาน มีเราเป็นที่พิงอาศัยอยู่

คามณี!  นาเลว มีดินเป็นก้อนแข็ง รสเค็ม  พื้นที่เลวนั้น
เปรียบเหมือนสมณพราหมณ์ปริพพาชกทั้งหลาย
ผู้เป็นเดียรถีย์อื่นต่อเรา เราก็ย่อมแสดงธรรม งดงามในเบื้องต้น
งดงามในท่ามกลาง งดงามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์บริสุทธิ์
บริบูรณ์สิ้นเชิง พร้อมทั้งอรรถะ พร้อมทั้งพยัญชนะ
แก่ชนทั้งหลายเหล่านั้น

ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า? เพราะเหตุว่า
ถึงแม้ว่าเขาจะเข้าใจธรรมที่เราแสดง สักบทเดียว
นั่นก็ยังเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลและความสุข
แก่ชนทั้งหลายเหล่านั้น ตลอดกาลนาน

ออฟไลน์ lek

  • ต้นไม้ใหญ่ยืนหยัดมั่นคงดั่งภูผา
  • ****
  • กระทู้: 1724
  • พลังกัลยาณมิตร 687
    • ดูรายละเอียด
ดับตัณหา คือ ปลงภาระหนักลงได้

ภิกษุทั้งหลาย!  การปลงภาระหนักลงเสียได้ เป็นอย่างไรเล่า?
ภิกษุทั้งหลาย ! ความดับสนิทเพราะความจางคลาย...
โดยไม่เหลือของตัณหานั้นนั่นเทียว, ความละไปของตัณหานั้น,
ความสลัดกลับคืนของตัณหานั้น, ความหลุดออกไปของตัณหานั้น,
และความไม่มีที่อาศัยอีกต่อไปของตัณหานั้นอันใด

ภิกษุทั้งหลาย! อันนี้เราเรียกว่า การปลงภาระหนักลงเสียได้ ดังนี้

พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสพุทธวจนะนี้ ซึ่งเป็นคำร้อยกรองสืบต่อไป

"ขันธ์ทั้งห้า...เป็นของหนัก!
บุคคลแหละ...เป็นผู้แบกของหนักพาไป
การแบกถือของหนัก...เป็นความทุกข์ในโลก
การปลงภาระหนักเสียได้...เป็นความสุข
พระอริยเจ้าปลงภาระหนักลงเสียแล้ว...
ทั้งไม่หยิบฉวยเอาของหนักอันอื่นขึ้นมาอีก
ก็เป็นผู้ถอนตัณหาขึ้นได้กระทั่งราก(อวิชชา)
เป็นผู้หมดสิ่งปรารถนา...ดับสนิท...ไม่มีส่วนเหลือ" ดังนี้

ออฟไลน์ lek

  • ต้นไม้ใหญ่ยืนหยัดมั่นคงดั่งภูผา
  • ****
  • กระทู้: 1724
  • พลังกัลยาณมิตร 687
    • ดูรายละเอียด
ผู้แบกของหนัก

ภิกษุทั้งหลาย! เจ้าจักแสดงของหนัก
ผู้แบกของหนัก และการแบกของหนักแก่พวกเธอ,
เธอทั้งหลาย...จงฟังข้อความนั้น

ภิกษุทั้งหลาย! อะไรเล่า...ชื่อว่าของหนัก?
ภิกษุทั้งหลาย ! อุปาทานักขันธ์ทั้งห้านั่นแหละ
เรากล่าวว่าเป็นของหนัก...

อุปาทานักขันธ์ทั้งห้า...เหล่าไหนเล่า?
ห้าคือ...ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือ รูป,
ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือ เวทนา,
ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือ สัญญา,
ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือ สังขาร,
และขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือ วิญญาณ,
ภิกษุทั้งหลาย! นี้ เราเรียกว่า ของหนัก....

ภิกษุทั้งหลาย! อะไรเล่า?...ชื่อว่าผู้แบกของหนัก?
ภิกษุทั้งหลาย! บุคคล(ตามสมมติ)นั่นแหละ...
เราเรียกว่าผู้แบกของหนัก...เขามีชื่ออย่างนี้...
มีโคตรอย่างนั้น...ตามที่รู้กันอยู่...
ภิกษุทั้งหลาย! นี้  เราเรียกว่า  ผู้แบกของหนัก...

ภิกษุทั้งหลาย! อะไรเล่า?...ชื่อว่าการแบกของหนัก?
ภิกษุทั้งหลาย! ตัณหานี้ใดที่ทำให้มีการเกิดอีก...
อันประกอบด้วยความกำหนัดเพราะอำนาจแห่งความเพลิน
ซึ่งมีปรกติทำให้เพลิดเพลินในอารมณ์นั้นๆ....
ได้แก่ ตัณหาในกาม ตัณหาในความมีความเป็น
ตัณหาในความไม่มีไม่เป็น...
ภิกษุทั้งหลาย!นี้เราเรียกว่า การแบกของหนัก...


ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด



:12:     :13: :13: :13:

ออฟไลน์ lek

  • ต้นไม้ใหญ่ยืนหยัดมั่นคงดั่งภูผา
  • ****
  • กระทู้: 1724
  • พลังกัลยาณมิตร 687
    • ดูรายละเอียด
Re: พุทธวัจน์...คำสอนจากพระโอษฐ์ของพระพุทธเจ้า
« ตอบกลับ #27 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 01, 2011, 05:04:21 am »
ผู้มีหลักเสาเขื่อน

ภิกษุทั้งหลาย! ภิกษุผู้มีสังวรนั้นเป็นอย่างไรเล่า?
ภิกษุทั้งหลาย! ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เมื่อเห็นรูปด้วยตา,
ฟังเสียงด้วยหู, ดมกลิ่นด้วยจมูก, ลิ้มรสด้วยลิ้น,
สัมผัสโผฎฐัพพะด้วยกาย, รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจ,
ก็ไม่สยบอยู่ในอารมณ์ที่น่ารัก
ไม่เครียดแค้นในอารมณ์อันไม่น่ารัก
เป็นผู้ตั้งไว้ซึ่งกายคตาสติ
มีจิตหาประมาณไม่ได้, ย่อมรู้ตามที่เป็นจริงซึ่ง เจโตวิมุตติ
ปัญญาวิมุตติ อันเป็นที่ดับแห่งบาปอกุศลที่เกิดแล้ว แก่เขานั้นโดยสิ้นเชิง

ภิกษุทั้งหลาย! เปรียบเหมือนบุรุษจับสัตว์หกชนิด
อันมีที่อยู่อาศัยต่างกัน มีที่เที่ยวหากินต่างกัน
มาผูกรวมกันด้วยเชือกอันมั่นคง คือ เขาจับงูมาผูกด้วยเชือกเหนียวเส้นหนึ่ง,
จับจระเข้, จับนก, จับสุนัขบ้าน, จับสุนัขจิ้งจอก, และจับลิง
มาผูกด้วยเชือกเหนียวเส้นหนึ่งๆ ครั้นแล้วนำไปผูกไว้กับเสาเขื่อน
หรือเสาหลักอีกต่อหนึ่ง

ภิกษุทั้งหลาย! ครั้งนั้น สัตว์ทั้ง 6 ชนิดเหล่านั้นมีที่อาศัย
และที่เที่ยวต่างๆกัน ก็ยื้อแย่งฉุดดึงกัน
เพื่อที่จะไปสู่ที่อาศัยและที่เที่ยวของตนๆ
งูจะเข้าจอมปลวก, จระเข้จะลงน้ำ, นกจะบินขึ้นไปในอากาศ,
สุนัขจะเข้าบ้าน, สุนัขจิ้งจอกจะไปป่าช้า, และลิงก็จะไปป่า

ภิกษุทั้งหลาย! ในกาลใดแล
ความเป็นไปภายในของสัตว์ทั้ง 6 ชนิดเหล่านั้น
มีแต่ความเมื่อยล้าแล้ว,
ในกาลนั้น มันทั้งหลายก็จะพึงเข้าไปยืนเจ่า นั่งเจ่า นอนเจ่า
อยู่ข้างเสาเขื่อนหรือเสาหลักนั้นเอง ข้อนี้ฉันใด

ภิกษุทั้งหลาย! ภิกษุรูปใด
ได้อบรมกระทำให้มากในกายคตาสติแล้ว
ตาก็จะไม่ฉุดเอาภิกษุนั้นไปหารูปที่น่าพอใจ,
รูปที่ไม่น่าพอใจก็ไม่เป็นสิ่งที่เธอรู้สึกอึดอัดขยะแขยง,
หูก็จะไม่ฉุดเอาภิกษุนั้นไปหาเสียงที่น่าฟัง,
เสียงที่ไม่น่าฟังก็ไม่เป็นสิ่งที่เธอรู้สึกอึดอัดขยะแขยง,
จมูกก็จะไม่ฉุดเอาภิกษุนั้นไปหากลิ่นที่น่าสูดดม,
กลิ่นที่ไม่น่าสูดดมก็ไม่เป็นสิ่งที่เธอรู้สึกอึดอัดขยะแขยง,
กายก็จะไม่ฉุดเอาภิกษุนั้นไปหาสัมผัสที่ยั่วยวนใจ,
สัมผัสที่ไม่ยั่วยวนใจก็ไม่เป็นสิ่งที่เธอรู้สึกอึดอัดขยะแขยง,
และใจก็จะไม่ฉุดเอาภิกษุนั้นไปหาธรรมารมณ์ที่ถูกใจ,
ธรรมารมณ์ที่ไม่ถูกใจก็ไม่เป็นสิ่งที่เธอรู้สึกอึดอัดขยะแขยง,
ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ภิกษุทั้งหลาย! ภิกษุผู้มีสังวร เป็นอย่างนี้

ภิกษุทั้งหลาย!  คำว่า "เสาเขื่อน หรือเสาหลัก" นี้
เป็นคำเรียกแทนชื่อแห่งกายคตาสติ

ภิกษุทั้งหลาย! เพราะฉะนั้น ในเรื่องนี้
พวกเธอทั้งหลายพึงสำเหนียกใจไว้ว่า
"กายคตาสติของเราทั้งหลาย...
จักเป็นสิ่งที่เราอบรม กระทำให้มาก
กระทำให้เป็นยาน...เครื่องนำไป
กระทำให้เป็นของที่อาศัยได้...
เพียรตั้งไว้เนืองๆ เพียรเสริมสร้างโดยรอบคอบ
เพียรปรารภสม่ำเสมอด้วยดี" ดังนี้

ภิกษุทั้งหลาย !   พวกเธอทั้งหลาย
พึงสำเหนียกใจไว้อย่างนี้ แล ...


ออฟไลน์ lek

  • ต้นไม้ใหญ่ยืนหยัดมั่นคงดั่งภูผา
  • ****
  • กระทู้: 1724
  • พลังกัลยาณมิตร 687
    • ดูรายละเอียด
Re: พุทธวัจน์...คำสอนจากพระโอษฐ์ของพระพุทธเจ้า
« ตอบกลับ #28 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 03, 2011, 04:45:34 pm »
ทรงแสดงเรื่องที่เป็นไปได้ยากเกี่ยวกับพระองค์เอง

ภิกษุทั้งหลาย! สมมติว่ามหาปฐพีอันใหญ่หลวงนี้
มีน้ำทั่วถึงเป็นอันเดียวกันทั้งหมด
บุรุษคนหนึ่งทิ้งแอก(ไม้ไผ่!)
ซึ่งมีรูเจาะได้เพียงรูเดียว ลงไปในน้ำนั้น
ลมตะวันออกพัดให้ลอยไปทางทิศตะวันตก,
ลมตะวันตกพัดให้ลอยไปทางทิศตะวันออก,
ลมทิศเหนือพัดไปให้ลอยไปทางทิศใต้,
ลมทิศใต้พัดให้ลอยไปทางทิศเหนือ อยู่ดังนี้

ในน้ำนั้นมีเต่าตัวหนึ่ง...ตาบอด
ล่วงไปร้อยๆปี มันจะผุดขึ้นมาครั้งหนึ่งๆ
ภิกษุทั้งหลาย! เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนี้อย่างไร
จะเป็นไปได้ไหมที่เต่าตาบอดร้อยปีจึงจะผุดขึ้นมาสักครั้งหนึ่ง
จะพึงยื่นคอเข้าปในรู ซึ่งมีอยู่เพียงรูเดียวในแอกนั้น?

"ข้อนี้ ยากที่จะเป็นไปได้ พระเจ้าข้า!
ที่เต่าตาบอดนั้นร้อยปีผุดขึ้นเพียงครั้งเดียว
จะพึงยื่นคอเข้าไปในรู ซึ่งมีอยู่เพียงรูเดียวในแอกนั้น"

ภิกษุทั้งหลาย! ยากที่จะเป็นไปได้ฉันเดียวกัน
ที่ใครๆ จะพึงได้ความเป็นมนุษย์...
ยากที่จะเป็นไปได้ฉันเดียวกัน...
ที่ตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธะ
จะเกิดขึ้นในโลก...
ยากที่จะเป็นไปได้ฉันเดียวกัน
ที่ธรรมวินัยอันตถาคตประกาศแล้ว
จะรุ่งเรืองไปทั่วโลก...

ภิกษุทั้งหลาย! แต่ว่าบัดนี้
ความเป็นมนุษย์ก็ได้แล้ว...
ตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธะ
ก็บังเกิดขึ้นในโลกแล้ว...
และธรรมวินัยอันตถาคตประกาศแล้ว
ก็รุ่งเรืองไปทั่วโลกแล้ว...

ภิกษุทั้งหลาย! เพราะเหตุนั้น
ในกรณีนี้ พวกเธอพึงกระทำโยคกรรม
เพื่อให้รู้ว่า"นี้ ทุกข์...
นี้ เหตุให้เกิดทุกข์...
นี้ ความดับแห่งทุกข์...
นี้ หนทางให้ถึงความดับแห่งทุกข์" ดังนี้เถิด

ออฟไลน์ lek

  • ต้นไม้ใหญ่ยืนหยัดมั่นคงดั่งภูผา
  • ****
  • กระทู้: 1724
  • พลังกัลยาณมิตร 687
    • ดูรายละเอียด
Re: พุทธวัจน์...คำสอนจากพระโอษฐ์ของพระพุทธเจ้า
« ตอบกลับ #29 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 04, 2011, 05:16:59 am »
วิหารธรรมที่ทรงอยู่มากตลอดพรรษา
และทรงสรรเสริญมาก

ภิกษุทั้งหลาย! ถ้าพวกปริพพาชกเดียรถีย์อื่น
จะพึงถามเธอทั้งหลายอย่างนี้ว่า...
"ท่านผู้มีอายุ! พระสมณโคดมทรงอยู่จำพรรษาส่วนมาก
ด้วยวิหารธรรมไหนเล่า?" ดังนี้

ภิกษุทั้งหลาย! เมื่อพวกเธอถูกถามอย่างนี้แล้ว
พึงตอบแก่พวกปริพพาชกเดียรถีย์อื่นเหล่านั้น
อย่างนี้ว่า "ท่านผู้มีอายุ! พระผู้มีพระภาค
ทรงอยู่จำพรรษาส่วนมากด้วยวิหารธรรม
คือ อานาปานสติสมาธิ แล" ดังนี้

ภิกษุทั้งหลาย! ในกรณีนี้
เราเป็นผู้มีสติอยู่ หายใจเข้า,
มีสติอยู่ หายใจออก,
เมื่อหายใจเข้ายาวก็รู้สึกตัวทั่วถึงว่า
"เราหายใจเข้ายาว" ดังนี้,
เมื่อหายใจออกยาวก็รู้สึกตัวทั่วถึงว่า
"เราหายใจออกยาว" ดังนี้

ภิกษุทั้งหลาย! เมื่อใครจะกล่าววิหารธรรมใดโดยชอบ
ว่าเป็นอริยวิหารก็ดี พรหมวิหารก็ดี ตถาคตวิหารก็ดี,
เขาพึงกล่าวโดยชอบซึ่งอานาปานสติ สมาธินั้น
ว่าเป็นอริยวิหาร พรหมวิหาร ตถาคตวิหาร

ภิกษุทั้งหลาย! ภิกษุทั้งหลายเหล่าใดยังเป็นเสขะ
มีวัตถุประสงค์แห่งใจอันยังไม่บรรลุแล้ว...
ปรารถนาอยู่ซึ่งโยคักเขมธรรม
อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่าอยู่...
อานาปานสติสมาธิ อันภิกษุเหล่านั้นเจริญทำให้มากแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะ

ภิกษุทั้งหลาย! ส่วนภิกษุทั้งหลายเหล่าใดเป็นอรหันต์ขีณาสพ
มีพรหมจรรย์อันอยู่จบแล้ว มีกิจควรทำอันกระทำแล้ว
มีภาระหนักปลงลงแล้ว มีประโยชน์ตนอันตามบรรลุแล้ว
มีสัญโญชน์ในภพอันสิ้นแล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้ด้วยปัญญาโดยชอบ

อานาปานสติสมาธิ อันภิกษุเหล่านั้นเจริญทำให้มากแล้ว
ก็ยังเป็นไปเพื่อการอยู่เป็นสุขในปัจจุบันด้วย
เพื่อสติสัมปชัญญะอยู่ด้วย