ผู้เขียน หัวข้อ: การขอขมา-กิจของผู้มีบุญบารมีจะพ้นทุกข์  (อ่าน 3118 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด



การขอขมา-กิจของผู้มีบุญบารมีจะพ้นทุกข์
(ตอนที่๑/๓)
บทความธรรมะ โดย : น้อมเศียรเกล้า

สมเด็จพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ ในติณกัฏฐสูตรว่า “เหล่าสัตว์ผู้มีอวิชชา
เป็นเครื่องกางกั้น และมีตัณหาเป็นเครื่องประกอบ ย่อมเที่ยวไปมาหาที่เบื้องต้นและที่สุดไม่ได้”

ดังนั้นการเวียนว่ายตายเกิดจึงมีผลทำให้ก่อกำเนิดสายสัมพันธกับบุคคลและสัตว์ต่างๆ ไม่เป็นที่สิ้นสุด หากเพียงจะคะเนว่าสังสารนี้มีความยาวนาน กำหนดได้อย่างไร ให้ลองจินตนาการถึงการนำทุกยอดหญ้า กิ่งไม้ทุกกิ่ง และใบไม้ทุกใบ ทั่วทั้งชมพูทวีป นำมาทำให้เป็นมัด มัดละ ๔ นิ้ว สมมุติว่านี่เป็นมารดา นี่เป็นมารดาของมารดา ฯลฯ ย่อมไม่ปรากฏว่าจะหมด หรือ สิ้นสุดได้แต่อย่างไร…สังสารนี้ก็เช่นนั้นย่อมกำหนดเบื้องต้นและปลายไม่ได้

ความสัมพันธ์อันยาวนานตลอดจนการเกี่ยวเนื่องกับบุคคลและสัตว์ทั้งหลาย ย่อมก่อกำเนิดวัฏจักรของกรรม อันเป็นอำนาจอันยิ่งใหญ่ และสานต่อวัฏจักรออกไปให้ไม่มีที่สิ้นสุด

ดังนั้นการพบเจอกันของบุคคลต่างๆในภพชาติใดๆก็ตาม จึงคล้ายมีสายใยแห่งกรรมทอประสานบุคคลและสัตว์ต่างๆไว้ด้วยกัน ซึ่งปุถุชนมองไม่เห็น แต่ผู้รู้ท่านเห็นได้

คำว่า"กรรม"ในทางพระพุทธศาสนา ท่านหมายเอาถึงการกระทำ ซึ่ง เป็นคำกลางๆ ที่ไม่เฉพาะเจาะจงว่าเป็นการกระทำที่ดีหรือไม่ดี แต่คนไทยโดยมาก มักหมายความถึง “ความไม่ดี” อันได้แก่ อกุศลธรรม หรือบาปกรรม

คำสอนในพระพุทธศาสนาชี้ว่า ผลของกรรมเป็นไปตามเหตุของเหตุอันได้กระทำ คือ ผลดีก็เกิดแต่เหตุดี และ ผลชั่วก็เกิดแต่เหตุชั่ว บุคคลทั้งหลายมีกรรมเป็นของตน..

หนังสือ “อำนาจอันยิ่งใหญ่แห่งกรรม” บทพระนิพนธ์ของสมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราช กล่าวไว้ตอนหนึ่งว่า “อำนาจของกรรมยิ่งใหญ่ในโลก ไม่มีอำนาจใดทำลายล้างได้ แม้อำนาจของกรรมดีก็ไม่อาจทำลายอำนาจของกรรมชั่ว และอำนาจของกรรมชั่วก็ไม่อาจทำลายอำนาจของกรรมดี"

สายใยกรรมซึ่งมองไม่เห็น จึงเป็นพันธการแน่นหนาที่ยากจะถอดถอน
ดั่งเช่นบางคนมีเจตนาทางกาย วาจา ใจ อันประกอบไปด้วยความเบียดเบียนกับผู้อื่น จึงเข้าถึงโลกที่ได้รับการเบียดเบียน ได้เสวยเวทนาที่มีการเบียดเบียน อันเป็นทุกข์โดยส่วนเดียว, บางคนไม่มีความเบียดเบียน จึงได้รับสัมผัสที่ไม่มีการเบียดเบียน ได้เสวยเวทนาอันเป็นสุข ส่วนเดียว, ผู้ใดมีวิบากกรรมทั้งดีทั้งไม่ดี ก็จะเสวยทุกข์บ้าง สุขบ้าง ส่วนผู้ใดมีเจตนาละกรรมดีและกรรมไม่ดี ย่อมเป็นไปเพื่อสิ้นกรรม

โดยเฉพาะเมื่อประกอบกรรมดำ ย่อมส่งผลให้ต้องมาเสวย เวทนา อันเป็นทุกข์ เดือดร้อน เมื่อกรรมดึงดูดบุคคล และสัตว์ให้ต้องมาชดใช้วิบากกรรมต่อกัน ซึ่งไม่มีทางทราบได้ตั้งแต่แรก ว่าความสัมพันธ์ต่อกัน จะออกมาในลักษณะใด


ดังนั้นมีวิธีใดบ้างที่พอจะถอดถอน และตัดรอนวิบากกกรรมดำที่มีต่อกันได้?

วิธีการหนึ่งที่จะช่วยบรรเทาวิบากกรรมทางพระพุทธศาสนาได้
ก็คือการเพิ่มพูนบารมีความดีให้มากและสม่ำเสมอในภพภูมินี้ ก็อาจทำให้อำนาจ
กรรมชั่วที่ได้ทำมาแล้วตามถึงได้ยาก ดั่งมีเครื่องขวางไว้

ดังเช่นที่สมเด็จพระผู้มีพระภาคทรงตรัสไว้ว่า การเอาเมล็ดเกลือ ใส่จอกน้ำเล็กๆ
น้ำในจอกนั้นก็เค็มได้ แต่ถ้าเอาใส่ลงไปในแม่น้ำคงคาก็ไม่เค็ม
เปรียบเหมือนพื้นฐานภายในของคนในการอบรมกาย อบรมศีล อบรมจิต อบรมปัญญา เป็นต้น
(ถ้าอบรมมากก็เป็นดังห้วงน้ำใหญ่ ที่ใส่เกลือลงไปแล้วไม่เค็ม)

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 02, 2011, 10:33:30 pm โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: การขอขมา-กิจของผู้มีบุญบารมีจะพ้นทุกข์
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 02, 2011, 09:03:38 pm »

การขอขมา-กิจของผู้มีบุญบารมีจะพ้นทุกข์ (ตอนที่๒/๓)

การขอขมา เป็นสิ่งที่สำคัญและไม่ควรละเลย เพราะ เป็นพุทธกิจ อริยกิจ เป็นกิจของผู้มีบุญบารมีที่จะพ้นทุกข์ แม้แต่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและพระอรหันตเจ้าทั้งหลาย ถึงแม้นจะเข้าสู่พระนิพพานสันติบทไปแล้ว ท่านเหล่านั้นก็ยังไม่ละเลยต่อขมาปนกิจ

ถ้าหากการขอขมา ไม่มีความจำเป็นและไม่มีอานิสงส์เสียแล้ว ก็คงจะไม่ได้เห็น พิธีการขอขมาในรูปแบบต่างๆ มากมาย เช่น การขอขมาโทษต่อพระรัตนตรัยก่อนนั่งภาวนา, การขอขมาบิดามารดาและญาติ สำหรับผู้ที่จะบวชเป็นต้น

ตามปกติ เราไม่สามารถที่จะติดตามดูกรรม และผลของกรรมที่เกิดขึ้นได้ เราไม่อาจทราบได้ว่าในอดีตเราเคยได้เบียดเบียนและทำความเดือดร้อนให้กับบุคคลและสัตว์ใดๆไว้หรือไม่ อย่างไร...

แต่เราต้องเคยได้ประกอบกรรมไม่ดี อย่างน้อยอย่างหนึ่งไว้อย่างแน่นอน เพราะความเป็นปุถุชน จึงไม่มีใครเลย ในโลกนี้ที่จะไม่เคยทำความผิดพลาด

ท่านผู้รู้จึงให้ขอขมาซึ่งกันมื่อมีโอกาส เพราะเป็นการแสดงความอ่อนน้อมถ่อมตน ปลดละวางทิฏฐิมานะ และเบื้องต้นเพื่อให้ใจของผู้ขอขมาเป็นอิสระจากบาปในใจตน,

การขอขมามีมหาอานิสงส์สูง เป็นพุทธกิจ เป็นกิจของพระพุทธเจ้าทุกพระองค์ เป็นกิจของพระอรหันตเจ้าทั้งหลาย เป็นอริยกิจ เป็นกิจของพระอริยเจ้าทั้งหลาย เป็นกิจของผู้มีบุญญาบารมีที่จะพ้นทุกข์ทั้งปวงในจักรวาล เป็นกิจเพื่อพระนิพพานอย่างแท้จริงเป็น ๑


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 02, 2011, 10:31:09 pm โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: การขอขมา-กิจของผู้มีบุญบารมีจะพ้นทุกข์
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 02, 2011, 09:45:43 pm »

อานิสงส์การขอขมา

การขอขมามีอานิสงส์ปลดเปลื้องทุกข์ในใจ เป็นการแสดงความตั้งใจจริงในการยอมรับความผิดพลาด ผู้ที่มองเห็นความผิดพลาดและสำนึกในบาปที่กระทำ ย่อมเป็นการยากที่จะหันกลับไปทำความชั่วอีก

ทั้งผู้รับการขอขมาหากเห็นความตั้งใจของผู้ขอขมา ก็ย่อมมีจิตใจน้อมไปทางตัดรอนความพยาบาทอาฆาตที่เคยมีต่อกัน การขอขมาจึงมีอานิสงส์สูงทั้งต่อผู้ขอขมาและผู้รับการขอขมา เพราะเป็นการบำเพ็ญคุณธรรมขึ้นภายในดวงใจ ได้แก่ ความอ่อนน้อม หิริโอตัปปะ และการให้อภัย

การขอขมาจึงเป็นกิจของผุ้มีบุญบารมีที่จะพ้นทุกข์ทั้งปวงในจักรวาล แม้นสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้เป็นศาสดาของมนุษย์และเทวดาทั้งหลาย ทรงเป็นพระจอมไตรโลก มียศยิ่งใหญ่กว่าผู้ใดในโลกสาม แลพระอรหันตเจ้าทั้งหลายท่านยังเอื้อนพระโอษฐ์ขอขมา

ยกตัวอย่างเช่น เมื่อครั้งเมื่อพระนางพิมพาผู้เป็นพระชายาของเจ้าชายสิทธัตถะคู่รักคู่บารมีของพระโพธิสัตว์ ได้ร่วมสุข ร่วมทุกข์ยาวนานกว่าสตรีอื่น เมื่อครั้งพระนางเป็นภิกษุณีกราบทูลลานิพพานต่อสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า พระนางก็ได้เอื้อนพระโอษฐ์ กล่าวขอขมาพระมุนีเจ้าดั่งนี้

“ข้าแต่พระมหาวีรเจ้า เมื่อหม่อมฉันท่องเที่ยวไปในวัฏสงสาร หากมีความพลั้งพลาดใดในพระองค์ ขอพระองค์ทรงโปรดประทานโทษแก่หม่อมฉันด้วยเถิด”

ครั้งนั้นสมเด็จพระผู้มีพระภาคตรัสอดโทษแก่พระนาง และตรัสให้พระนางอดโทษานุโทษต่อพระองค์ ดังนี้

“…โทษผิดอันใดที่เจ้าเคยมีต่อเราตถาคตแต่ปางก่อน วันนี้เป็นวันที่เราตถาคตอดโทษให้แก่เจ้าจนหมดสิ้น อนึ่ง โทษานุโทษอันใด ที่เราตถาคตได้เคยประมาทล่วงเกินเจ้า ด้วยความพลาดพลั้งทั้งลับหลังและต่อหน้าตลอดเวลาที่ยังต้องท่องเที่ยวเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในวัฏสงสาร ขอเจ้าจงอดโทษานุโทษนั้น ให้แก่เราตถาคตเสียให้สิ้น แล้วจงดับขันธ์เข้าสู่ปรินิพพานอันเป็นเอกันตบรมสุขไปก่อนเถิดนะ เจ้าพิมพา"

ภาพที่บุคคลขอขมาซึ่งกันและกันจึงเป็นภาพอัศจรรย์ประการหนึ่งในโลก เพราะแม้นแต่สมเด็จพระจอมไตรยังทรงตรัสขอขมา การขอขมาจึงเป็นประหนึ่งการปลดหนี้วิบากกรรมที่มีต่อกัน เป็นการลาทุกข์ ปลูกมรคผล ได้เลิศล้นพ้นมารภัย


บุคลควรตั้งจิตน้อมไปเพื่อขอขมาต่อสรรพสัตว์ทุกชีวิต สูงสุดคือพระรัตนตรัย บิดา มารดา ครูบาอาจารย์ แม้แต่ต่อบุคคลผู้อยู่ในทิศเบื้องล่าง ก็ควรที่จะกล่าวขอขมาได้

การขอขมาไม่ใช่เป็นการทำตนให้ต่ำต้อยด้อยค่าแต่อย่างใด ตรงกันข้ามผู้ขอขมาเป็นผู้ที่กำลังจะได้รับการเลื่อนขั้นทางจิตวิญญาณ เพราะการขอขมาเป็นการลดละตัวตนและเพิ่มพูนบารมีในดวงใจ เป็นสิ่งที่ทวนกระแสกิเลส และกระทำได้ยากสำหรับบุคคลโดยทั่วไป ดังนั้นจึงเป็นประเพณีของบุคคลผู้จะพ้นทุกข์ทั้งหลาย


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 02, 2011, 10:29:04 pm โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: การขอขมา-กิจของผู้มีบุญบารมีจะพ้นทุกข์
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 03, 2011, 07:36:50 am »


การขอขมา-กิจของผู้มีบุญบารมีจะพ้นทุกข์ (ตอน ๓/๓ จบ)

ในการเวียนว่ายตายเกิดชีวิตเราต่างต้องพบปะและมีกรรมสัมพันธ์กับบุคคลและหมู่สัตว์มากมาย

วิบากกรรมดีจากเหตุคือกรรมสัมพันธ์อันดีที่มีต่อกัน ก็ต้องมาเสวยวิบากอันเป็นสุขร่วมกัน หากเป็นเหตุอันเกิดจากกรรมสัมพันธ์ที่เป็นอกุศลเข้าแล้ว ก็ต้องมาชดใช้กันอีกในลักษณะแห่งความเดือดร้อน ทุกข์ทนทรมาน มีน้ำตาร้อนอบายภูมินองหน้า

ไม่มีใครเลยสักคนที่จะพ้นจากวิบากกรรมศักดิ์สิทธิ์ทั้งดีและชั่ว ประหนึ่งดั่งจดจำเจ้าของได้อย่างแม่นยำเที่ยงตรงที่สุดในโลกนี้ไปได้

สมเด็จพระสัพพัญญูเจ้าท่านทรงมีพระมหากรุณาตรัสสอนไว้ว่า “บุคคลทำความชั่วย่อมได้รับผลแห่งความชั่วนั้น” ถึงแม้ขณะนั้นจะมีการปฏิบัติขั้นสุดยอดควรจะได้เป็นถึงพระโสดาบัน หากมีอนันตริยกรรมก็ต้องถูกปิดกั้นไม่ให้เห็นพระนิพพานไปอย่างน่าเสียดาย ตายไปต้องเกิดในนรกอเวจีเป็นต้น

แต่หากท่านใดพิจารณาแล้วว่าไม่เคยต้องอนันตริยกรรม ท่านก็ว่าจงอย่าได้นิ่งนอนใจ แต่ให้พิจารณาต่อไปอีกด้วยว่า...

ท่านเคยมีความผิดต่อผู้มีคุณเหล่านี้หรือไม่ คือ พระอริยบุคคล บิดามารดาบุพการีชน อุปัชฌาย์ อาจารย์ โดยได้เคยล่วงเกินดูหมิ่น ด่าทอท่านให้ได้รับความเจ็บช้ำน้ำใจหรือไม่ เคยทำร้ายทำลายทุบตีท่านบ้างหรือไม่? เพราะบาปกรรมลักษณะนี้ก็มีสิทธิ์ทำให้การบรรลุธรรมกลายเป็นเรื่องเนิ่นช้าไปได้

ทั้งนี้ยังไม่รวมถึงบุคคลอื่นและหมู่สัตว์ทั้งหลายทั้งในชาตินี้และในอดีตจะนับประมาณอีกไม่ได้อีกเล่า แน่นอน ล้านเปอร์เซ็นต์ ที่บุคคลผู้ยังตกเป็นบ่าวเป็นทาสของกิเลส ย่อมเคยผิดพลาดประมาทล่วงเกินต่อสัตว์ทั้งหลายไว้ อย่างมากมายนับไม่ถ้วนเพราะความโง่เขลาก็ดี เพราะอกุศลเข้าสิงจิตบ้างก็ดี

ครูบาอาจารย์ท่านจึงแนะนำให้บุคคลทั้งหลายหมั่นทำกิจสำคัญอย่างหนึ่ง ซึ่งเรียกว่า “ขมาปนกิจ” คือการขอขมาโทษ เพื่อความบริสุทธิ์ของตนต่อไป



ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: การขอขมา-กิจของผู้มีบุญบารมีจะพ้นทุกข์
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 03, 2011, 08:29:12 am »


การขอขมาเป็นอริยประเพณีที่ได้รับการปฏิบัติสืบต่อมานานจนถึงปัจจุบัน สังเกตเห็นได้ว่าในประเทศไทยเองยังได้รับอิทธิพลจากคำสอนของพระพุทธศาสนานี้ โดยเห็นได้จากพิธีการขอขมา อันปรากฏได้ในหลายรูปแบบ เช่น ประเพณีการขอขมาของกุลบุตรผู้ที่ซึ่งจะบรรพชาอุปสมบท เป็นต้น

และยังพบเห็นพิธีขอขมาต่อธรรมชาติ เช่นแม่น้ำ พืชพันธุ์ เช่น ต้นข้าว ซึ่งปรากฏชัดเจนว่าเป็นสิ่งไม่มีชีวิต ไม่มีความรู้สึก ไม่สามารถรับรู้สิ่งใดๆได้ หรือรวมถึงยังมีพิธีการขอขมาสัตว์ใช้แรงงาน อย่างเช่น โค กระบือ เป็นต้น

เมื่อกลับมาพิจารณาทบทวนอีกด้านหนึ่ง มองว่าอาจจะเป็นกุศโลบายของคนโบราณที่พยายามสั่งสอนให้ลูกหลาน มีความอ่อนโยน รู้จักคุณค่าและระมัดระวังในการบริโภคและใช้ทรัพยากรต่างๆที่มีอยู่รอบตัว ก็เป็นได้

ซึ่งเป็นเรื่องที่ดี หากไม่ได้มองว่าธรรมชาติเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ควรให้ความเคารพเหนือพระรัตนตรัย แต่มองในแง่ของการใช้ทรัพยากรต่างๆด้วยเห็นคุณค่า และฝึกความมีวินัย

ข้อวัตรการขอขมาของครูบาอาจารย์

“เมื่อพระจะลาไปจากสำนักที่อาศัยอยู่ หรืออกไปธุดงค์ ตามแบบแผนธรรมเนียมที่ดีงาม ต้องขอขมาผู้เป็นครูบาอาจารย์ เพื่อเป็นการแสดงอโหสิกรรมซึ่งกันและกัน”
(หลวงพ่อ ชาสุภัทโท)

ดังที่ได้กล่าวไว้ข้างต้นแล้วว่า ข้อวัตรเรื่องการขอขมาได้มีการสืบทอดมาจวบจนถึงปัจจุบัน ดังเช่นหนังสือ”อุปลมณี” (แสดงชีวประวัติของหลวงพ่อชา สุภัทโท) พระอาจารย์เลี่ยมได้อธิบาย เรื่องการขอขมาไว้ว่า

“การขอขมาลาโทษนั้น ปราชญ์ทั้งหลายถือว่าเป็นการลบสิ่งไม่ดีออกจากใจ ในบางครั้งเราอาจประมาทพลาดพลั้ง หรือรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ทำให้เกิดอกุศลจิตขึ้น เมื่ออยากให้สิ่งเหล่านี้ลบเลือนคลี่คลายหายไป จึงประกอบพิธีนี้ขึ้น เพื่อทำให้เกิดอโหสิกรรม…”

“อันนี้ถือว่าเป็นประโยชน์สำหรับผู้ปฏิบัติธรรม เพราะจะได้ไม่มีนิวรณ์ครอบงำ หมดความหวาดระแวงแคลงใจ ทำให้เกิดความผ่องใส ความสบาย จะอยู่ก็มีความรู้สึกสบาย จะออกไปก็มีความรู้สึกสบาย การขอขมาลาโทษจึงเป็นประเพณีที่ดีงาม...”



ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: การขอขมา-กิจของผู้มีบุญบารมีจะพ้นทุกข์
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 03, 2011, 08:30:34 am »

วิธีขอขมา

ความผิดที่มีต่อสรรพสัตว์ทั้งหลาย ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน อาจเป็นอุปสรรคคอยปิดกั้นไม่ให้บุคคลเข้าสู่นิพพานสันติบทได้ แม้แต่ผู้ปฏิบัติธรรมเองก็ตาม

อาจารย์ท่านจะแนะนำแก้ไขให้ออกจากการบำเพ็ญกรรมฐานชั่วคราวเพื่อมุ่งหน้าไปสู่บุพการีชน เพื่อไปทำการขมาปนกิจ คือขอขมาลาโทษต่อท่านเหล่านั้นเสียก่อน เมื่อท่านงดโทษงดบาปจึงกลับเข้ามาสู่การบำเพ็ญวิปัสสนากรรมฐานต่อไป ในปัจจุบันได้มีการจัดพิธีขอขมาตั้งแต่ก่อนพิธีบรรพชาอุปสมบท นับว่าเป็นโอกาสที่ดีที่กุลบุตรจะได้หมดกังวล และสามารถปฏิบัติธรรมได้อย่างสะดวกใจ

อย่างไรก็ตามหากบุคคลที่ท่านต้องการขอขมาได้ถึงแก่ชีพิตักษัยไปก่อนแล้ว ก็มีวิธีอยู่คือ ไปที่สุสานป่าช้าขอขมาที่หลุมฝังศพของท่าน หรือหากมีการฌาปนกิจเหลือแต่อัฐิ ก็ต้องขอขมาลาโทษที่อัฐิของท่าน และถ้าหากบังเอิญว่าไม่สามารถทราบได้ว่าท่านอยู่ ณ ที่ไหน หรือถ้าเสียชีวิตไปแล้ว ก็หาหลุมศพไม่ได้ ไม่มีอัฐิ ครูบาอาจารย์ท่านแนะนำว่าให้นำดอกไม้ธูปเทียนเข้าไปหาองค์พุทธปฏิมากร กราบนมัสการระลึกถึงพระพุทธคุณแล้วอ้างท่านเป็นพยานในการตั้งจิตขอขมา

(หนังสือวิมุตติรัตนมาลี)

การขอขมาจัดเป็นบุญอย่างหนึ่ง ในบุญกิริยาวัตถุ ๑๐...

อาจสงเคราะห์เข้าข้อทิฏฐุชุกัมม์ เป็นต้น คือ การทำความเห็นให้ตรง ในที่นี้คือ ทำความเห็นของตนให้ถูกต้องตามความเป็นจริง คือเป็นว่า บิดามารดามีคุณเป็นต้น การล่วงเกินต่อบุคคลผู้มีคุณด้วยกาย วาจา ใจเป็นบาป นี่คือความเห็นที่ตรงตามความเป็นจริง

การขอขมาลาโทษ นับว่าเป็นการกล่าวคำที่ประเสริฐบริสุทธิ์ สามารถระงับความรุนแรง ร้อนร้าย ขจัดปัดเป่าความเคียดแค้นทั้งหลายให้ ดับหาย มลายสูญฉับพลัน เกิดแต่สันติสุข สันติภาพ สันติธรรม ในดวงใจยิ่งๆขึ้นไป

การขอขมาเป็นการบำเพ็ญบุญของบุคคลทั้งสองฝ่าย ฝ่ายหนึ่งได้ละตัวตน ปล่อยวางทิฏฐิมานะ สำนึกดีรู้ผิดชั่ว จึงกล้าเอ่ยวาจาขอขมา อีกฝ่ายอาจได้บำเพ็ญทานที่ยิ่งใหญ่ ซึ่งให้กันได้ยาก คือ "อโหสิกรรม" ให้อภัย

ดังนั้นการขอขมาจึงจะไม่เป็นเรื่องที่น่ามหัศจรรย์ได้อย่างไร เพราะการขอขมาเท่ากับเป็นการขูดรีดเอากิเลสออกจากใจของตน...
ขอขมาผู้ใดก็ได้ที่เราเคยผิดพลาดล่วงเกิน ไม่จำเป็นต้องเป็นผู้ที่เหนือกว่าเรา หรือมีคุณกับเราเท่านั้น
นี้....นับว่า เป็นกิจของผู้มีบุญบารมีจะพ้นทุกข์อีกประการ...






http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=tilltomorrow&date=10-01-2011&group=2&gblog=27
ขอบพระคุณ
บทความธรรมะ : รจนาโดย : น้อมเศียรเกล้า
Pics by : น้อมเศียรเกล้า
เรียนขออนุญาตนำมาเผยแผ่ค่ะ
อกาลิโกโฮม * สุุขใจดอทคอม
อนุโมทนาสาธุที่มาทั้งหมดมากมายค่ะ