ผู้เขียน หัวข้อ: คุณลักษณะเด่นในการเผยแผ่ศาสนาของ หลวงปู่ชา สุภัทโท  (อ่าน 6335 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
มีนักปฏิบัติธรรมคนหนึ่งเรียนถามหลวงปู่ชาว่า นั่งสมาธิ บางครั้งจิตรวม แต่มันวูบเหมือนอย่างสัปหงกแต่ก็รู้ อย่างนี้เรียกว่าอะไร ท่านตอบแบบตัดปัญหาว่า “มันตกหลุมอากาศ ขึ้นเครื่องบินก็เจอแบบนี้ พระชาวต่างชาตินั่งอยู่ด้านข้าง อุทานขึ้นว่า หลวงพ่อตอบปัญหาเหมือนพระเซนจริง ๆ หลวงปู่ชาจึงบอกว่า ไม่ใช่ ๆ เหมือนหลวงพ่อต่างหาก” (คณะศิษย์, 2536: 272)

การตอบปัญหาในลักษณะเช่นนี้ ท่านจะตอบด้วยวิธีตัดปัญหา เพราะหากจะตอบปัญหาเล็กๆ น้อย ๆ ทุกคำถามคนเหล่านั้นก็จะถามเรื่อยไปเหมือนกับเด็กตัวเล็ก ๆ ที่คอยถามแม่เรื่อยไป จะสังเกตได้ว่า บางครั้งหลวงปู่ชาก็ตอบด้วยอารมณ์ขัน เป็นการสร้างบรรยากาศในการสนทนา

พระครูพัฒนกิจวิศาล (สัมภาษณ์) บอกว่า หลวงปู่ชา จะเปิดโอกาสให้ทุกคนถามท่านตลอดเวลาโดยเฉพาะเรื่องการปฏิบัติสมาธิภาวนาใน การปฏิบัติธรรมความสงสัยเป็นเรื่องธรรมดา เพราะมีเกจิอาจารย์ และสำนักปฏิบัติธรรมมากมาย และอาจเรียนรู้จากความสงสัยนั้น จึงมีคำถามเกี่ยวกับกรณีต่าง ๆ เช่น หลวงพ่อมีความคิดเห็นเกี่ยวกับวิธีปฏิบัติอื่น ๆ อย่างไร หลวงปู่ชา กล่าวว่า เหมือนเราเข้าเมือง บางคนอาจเข้าเมืองด้านทิศเหนือ บางคนอาจเข้าด้านทิศใต้ จากถนนหลายสาย โดยมากแล้วแนวทางการปฏิบัติสมาธิภาวนา แตกต่างกันเพียงรูปแบบเท่านั้น ไม่ว่าท่านจะเดินทางสายไหน เดินช้าเดินเร็ว ถ้าท่านมีสติอยู่เสมอก็ไม่ต่างกัน ข้อสำคัญที่สุด คือ ท่านจะปฏิบัติถูกต้องได้ในที่สุด โดยการไม่ยึดมั่นถือมั่นท้ายที่สุด แนวทางการทำสมาธิทุกแบบ จะต้องเพื่อการปล่อยวาง (สันติภูมิ, 2530: 71)

จากคำกล่าวของหลวงปู่ชา แสดงให้เห็นว่า ท่านสอนไม่ให้ยึดติดกับวิธีปฏิบัติ วิธีใดวิธีหนึ่งเพียงอย่างเดียว เพื่อไม่ให้ผู้ฝึกปฏิบัติสมาธิติดรูปแบบหรือติดในครูอาจารย์ของตน รวมทั้งเป็นการให้กำลังใจแก่ผู้ปฏิบัติที่ใช้วิธีที่แตกต่างกันด้วยหลวงปู่ ชากล่าวว่า สมาธิมีทั้งคุณและโทษ โทษของสมาธิ คือ เมื่อผู้ปฏิบัติเข้าถึงอัปปนาสมาธิจะพบกับความสุขลึกอยู่ภายใน และจะติดในความสุขนั้น จะทำให้เกิดความยึดมั่นในอารมณ์ไม่ต้องการพิจารณาในสิ่งอื่น ผู้ปฏิบัติจะอาศัยความสุขนั้นเป็นเครื่องอยู่จึงถือได้ว่าเป็นโทษแก่ผู้ปฏิบัติอย่างหนึ่ง คุณของสมาธิ คือ ขณะจิตเข้าถึงอุปจารสมาธิและส่งเข้าสู่อัปปนาสมาธิ เมื่อจิตสงบเต็มที่จิตจะถอนออกสู่อาการภายนอกแล้วจะเกิดปัญญา
(พระอาจารย์ชา สุภัทโท, 2535: 24)



ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด

การสอนแบบสนทนา

ตามปกติหลวงปู่ ชา ท่านจะใช้ใต้ถุนกุฎีของท่านเป็นสถานที่รับแขก ในบางวันท่านจะนั่งพูดคุยกับญาติโยมตลอดวัน เพราะมีคนเป็นจำนวนมาก มุ่งสู่วัดหนองป่าพง หลวงปู่ชาสนทนากับใครมักให้ข้อคิดเสมอ ในเวลาที่คนไปเยี่ยมหรือต้องการไปถามความคิดเห็นของท่าน ท่านจะใช้คำตอบที่สั้น แต่ได้ใจความ บางครั้งเมื่อมีผู้รู้มากมาเยี่ยม หลวงปู่ชาจะเป็นผู้ฟัง ดังกรณีนายทหารคนหนึ่ง เมื่อไปถึงก็พูดธรรมะมากมาย มีความตอนหนึ่งว่า สมัยเป็นทหารหนุ่มเขาไปล่ากระทิงในขณะลั่นไกลปืน กระทิงกระโดดเข้ามาขวิดเฉียดไปนิดเดียว กระทิงมันร้ายจริง ๆ หลวงปู่ชาจึงบอกว่า คนต่างหากที่ร้ายกว่า กระทิงอยู่ป่าของมันดี ๆ ยังอุตส่าห์ตามล่ามัน สัตว์ก็รักชีวิตเหมือนกันและต้องสู้เพื่อเอาตัวรอด แต่บางครั้งสัตว์สู้คนไม่ได้ คุณจึงร้ายกว่ากระทิง
(คณะศิษย์, 2536: 437)

กรณี นายหนูผีไปสนทนากับหลวงปู่ชา แกมีความเชื่อว่า ศาสนาไม่มี บาป บุญไม่มี ทำไมพระต้องกลัวบาป ถึงกลับหนีเข้าป่าไปเพื่อบำเพ็ญตบะ เป็นการทรมานร่างกายโดยเปล่าประโยชน์ และนิมนต์ หลวงปู่ชา ให้ไปอยู่วัดบ้าน เหมือนพระทั่วไป นอนดูทีวี ฉันข้าววันละสองครั้ง จัดงานบุญประเพณีดีกว่า หรือไม่ก็ลาสิกขาไปบริโภคกามจะได้รู้รสชาติกับเขาบ้าง หรือบางทีบาปบุญอาจมีจริง คิดแล้วปวดหัว จะเชื่อก็ไม่แน่ใจไปถามพระหลายรูปก็ไม่ได้ความกระจ่าง และสรุปว่า ที่เขาคิดเช่นนี้ถูกหรือไม่ และขอให้หลวงปู่ชา เทศน์โปรดหลวงปู่ชาจึงได้โอกาส คนที่คิดอย่างพ่อหนูผีนี้ พระพุทธเจ้าท่านไม่โปรด เสียเวลาเปล่าเหมือนบัวใต้ตม "ถ้าไม่เชื่อว่า บาป บุญ มีจริงทำไมไม่ไปปล้นหรือฆ่าคนอื่นล่ะ และได้เปรียบเทียบว่า ที่อาตมาประพฤติธรรมวินัย หากบาปบุญ ไม่มี ก็เสมอตัว ถ้าบาปบุญมี ก็ได้กำไร ระหว่างกำไรกับขาดทุนจะเอาอะไร ถ้าอยากรู้เรื่องบาปบุญมีจริงหรือไม่ ต้องทดลองละบาป บำเพ็ญบุญ ไม่ต้องพูดมาก" ทำให้พ่อหนูผีคลายพยศ เปลี่ยนนิสัยจากคนมุทะลุ เป็นผู้อ่อนน้อมยอมถวายตัวเป็นศิษย์

การสนทนา ท่านจะใช้ปฏิภาณในการโต้ตอบ และมีอุบายในการสอน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าหัวข้อในการสนทนานั้น พระวิสุทธิสังวรเถร (สัมภาษณ์) กล่าวว่า ส่วนมากทุกคนที่สนทนากับหลวงปู่ชา จะให้ความเคารพกับท่านจะไม่โต้ตอบ และอาจมีบ้างเพื่อต้องการจะรู้ เช่น กรณีพ่อหนูผี ไม่ใช่เพื่อทดสอบภูมิปัญญาของท่าน บางกรณี เมื่อมีการโต้ตอบท่านจะสังเกตว่าบุคคลผู้นั้นจะสอนได้หรือไม่



ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด

การสอนแบบบรรยาย

เมื่อหลวงปู่ชาบรรยายธรรมะให้ลูกศิษย์ของท่านฟัง จากการค้นคว้าภาคเอกสารพบว่าท่านจะไม่ใช้ คำศัพท์บาลี ในการบรรยาย แต่จะใช้คำธรรมดา ในบางครั้งจะใช้ภาษาท้องถิ่นภาคอีสาน ในกรณีบรรยายให้ชาวอีสานฟัง อย่างไรก็ตามเมื่อท่านยกคำบาลีขึ้นมา ท่าน จะอธิบายความข้อนั้นโดยการใช้คำธรรมดาก่อน จึงจะยกคำบาลีขึ้นภายหลัง เพื่อเชื่อมโยงให้ลูกศิษย์เข้าใจอย่างเป็นทางการในหัวข้อธรรมนั้น ๆการบรรยายธรรมะของหลวงปู่ชา จะบรรยายตามเหตุการณ์ ยกตัวอย่างจากธรรมชาติใกล้ตัว และอธิบายให้เข้าใจตามความเป็นจริงของสิ่งนั้น ๆ เช่น กรณีคณะครูนำเด็กนักเรียนไปฟัง
ธรรมะที่วัดหนองป่าพง เรื่องความสามัคคี หลวงปู่ชา เล่าไว้ว่า ครูบอกว่าเด็กสอนยาก ครูมีด้วยกัน 40 คน สามัคคีกันหรือไม่ แล้วไปโทษเด็ก เด็กที่ทำผิดควรให้อภัย หากครูทำผิดไม่ควรให้อภัย คนที่ไม่รู้เราต้องสอนให้เขารู้ คนที่รู้แต่ไม่ปฏิบัติตามนั้นสอนไม่ได้
(ปัจจุบันธรรม, 2545: 48-49)

พระอาจารย์คูณ อัคคธัมโม (สัมภาษณ์)
เล่าถึง การยกตัวอย่างจากสิ่งใกล้ตัวของหลวงปู่ชาไว้ว่า

1. คนเราไม่เข้าใจสิ่งที่เป็นธรรมชาติ เช่นธรรมชาติของนกฮูก ในยามค่ำคืนนกฮูกบินมาจับกิ่งไม้ใกล้บ้าน ส่งเสียงร้อง คนไม่เข้าใจเสียงนกจึงเอาปืนไปไล่ยิง และคิดไปเองว่านกฮูกร้องเรียกวิญญาณคนบริเวณนั้น ความจริงนั่นเป็นธรรมชาติของเสียงนกฮูก จะให้นกฮูกร้องเป็นอีกาหรือขันเป็นไก่จะได้อย่างไร เพราะธรรมชาติของนกฮูกก็ต้องร้องเช่นนั้น

2. คนเราส่วนมากชอบอวดอ้างยศ อ้างฐานะ อ้างหน้าที่การงาน ชอบดูหมิ่นบุคคลอื่น บางคนอวดอ้างตนว่ามีความรู้กว่าบุคคลอื่น บุคคลเหล่านั้น ไม่เข้าใจคุณค่าของความเป็นมนุษย์ เหมือนกับอีแร้งที่บินอยู่บนท้องฟ้า นึกว่าตัวเองบินสูง สายตาแหลมคม สุดท้ายก็ร่อนลงกินของเน่าที่พื้นดิน

จากตัวอย่างจะเห็นได้ว่า หลวงปู่ชา อธิบาย โดยนำธรรมชาติใกล้ตัวหรือสิ่งที่เราเคยพบเห็นมาประกอบการสอน เนื่องจากเมื่อเราเห็นด้วยตนเองแล้ว ก็จะเข้าใจบุคคลอื่น เพราะคนมีธรรมชาติเหมือนกัน และยกตัวอย่างเครื่องดื่ม โค้ก และเป๊ปซี่ ซึ่งเป็นเครื่องดื่มเหมือนกัน ต่างกันตรงองค์ประกอบภายนอกเท่านั้น



ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด


การสอนแบบทำให้ดู

การทำความสะอาด ข้อวัตรเรื่องการทำความสะอาดบริเวณวัด และอาคารสถานที่ ในระหว่างสายไกลออกรับบิณฑบาต ท่านจะถือไม้กวาด กวาดบริเวณวัดก่อนออกรับบิณฑบาต และเก็บให้เรียบร้อย บางวันท่านจะเก็บกิ่งไม้ตามทางเดินรอบศาลา พระลูกศิษย์จึงทำตามหลวงปู่ชาเปรียบเทียบการกวาดขยะว่า เป็นการนำเอาสิ่งสกปรกออกจากใจไปด้วย เป็นการทำจิตให้บริสุทธิ์
(คณะศิษย์, 2536: 74)

เนื่องจากหลวงปู่ชา เห็นความสำคัญของพระวินัย ท่านจึงสอนให้ลูกศิษย์ปฏิบัติตามโดยเฉพาะพระวินัยข้อห้ามรับเงินและพระวินัย เกี่ยวกับสตรี เนื่องจากท่านเห็นว่าทั้งเงินและสตรีเป็นสิ่งนำความเสื่อมมาสู่เพศบรรพชิต ได้มากที่สุด ท่านจึงทำให้ดูเกี่ยวกับการรับเงิน และการปฏิบัติต่อสตรี ดังนี้

1. ท่านไม่รับเงินไว้ใช้เป็นการส่วนตัว เมื่อมีผู้นำเงินมาถวายไม่ว่าจะเป็นกรณีใด ท่านจะให้เจ้าหน้าที่เก็บไว้ใช้ในกิจของสงฆ์

2. ที่วัดหนองป่าพง แม้จะมีชีอยู่มากมาย แต่ชีกับพระไม่มีโอกาสได้สนทนา และอยู่ใกล้ชิดกันเป็นการส่วนตัว เว้นไว้แต่มีเหตุจำเป็นเท่านั้น ส่วนตัวท่านเองระวังมาก ใต้ถุนกุฎีของท่านซึ่งเป็นที่รับแขกก็โล่ง และถ้ามีแขกผู้หญิงมา ต้องมีพระหรือสามเณรหรืออุบาสกเป็นพยานรู้เห็นสิ่งที่หลวงปู่ชา สนทนากับผู้หญิงด้วยเสมอ พระอาจารย์คณู อัคคธัมโม (สัมภาษณ์) กล่าวว่า สองเรื่องที่ท่านเน้น คือเรื่องวินัยของสงฆ์ การรับเงิน และการปฏิบัติต่อสตรี ในระยะที่พระอาจารย์คูณอยู่วัดหนองป่าพง ท่านไม่เคยเข้าไปในเขตที่อยู่ของชีเลย

3. การออกรับบิณฑบาต มีกติกาว่า ถ้าพระหรือสามเณรรูปใดขาดการออกบิณฑบาต จะด้วยตื่นสายหรือขี้เกียจไปก็ตาม วันนั้นต้องอดอาหารไปตามธรรมเนียมของการปฏิบัติตามธุดงควัตร ข้อที่ว่า ถือบิณฑบาตเป็นวัตร (เว้นไว้แต่อาพาธ) ขณะที่หลวงปู่ชาแข็งแรงท่านจะออกบิณฑบาตทุกวัน ระยะหลังเมื่อสุขภาพร่างกายไม่เอื้ออำนวยท่านจึงหยุด สิ่งของเครื่องใช้มีผู้นำมาถวาย ตามกติกาของเหล่านั้นต้องตกเป็นของสงฆ์ พระภิกษุสามเณรทุกรูป มีความจำเป็นต้องใช้สามารถเบิกกับพระเจ้าหน้าที่ได้ เพื่อให้เกิดความทั่วถึงและเป็นธรรม ไม่ใช้จ่ายสุรุ่ยสุร่าย เป็นการสอนให้รู้จักประมาณ

พระวิสุทธิสังวรเถร (สัมภาษณ์) เล่าว่าหากพระภิกษุหรือสามเณรรูปใดอยากได้บาตรดี ๆท่านจะเปลี่ยนเอาบาตรไม่ดีมาให้ เพื่อเป็น

การทรมานกิเลส

การอดนอน วัดหนองป่าพงและวัดสาขามีกติกาที่เด่นชัดถือกันมาจนกระทั่งปัจจุบัน คือทุกวันพระ จะถือการนั่งสมาธิตลอดทั้งคืน ทั้งพระภิกษุสามเณร ชี และฆราวาส ซึ่งเป็นธุดงควัตรข้อที่ 13 หลวงปู่ชาได้ปฏิบัติให้ดูในเรื่องนี้ คือ หลังทำวัตรเย็นและอบรมธรรมะเสร็จแล้ว ท่านจะนั่งสมาธิในศาลาตลอดทั้งคืน

จากการค้นคว้าได้ข้อมูลตรงกับ พระครูพัฒนกิจวิศาล (สัมภาษณ์) คือ ประเด็นหลักที่หลวงปู่ชาเน้น คือ เรื่องพระวินัยและข้อวัตร กิจวัตรทุกอย่างทำตลอดไม่มีการหยุด ทุกคืนวันพระ หลังอบรมธรรมะเสร็จแล้ว จะนั่งสมาธิ เดินจงกรมตลอดทั้งคืนในอุปลมณี เล่าไว้ว่า การปฏิบัติสมาธิของ หลวงปู่ชา ในบางวันหลังจากทำวัตรเย็นเสร็จแล้ว ท่านจะนั่งสมาธิต่อ บางวัน ท่านจะนั่งสมาธิถึงเที่ยงคืน จึงอนุญาตให้พระภิกษุสามเณรพักผ่อนและมีเวลาพักเพียง 2 ชั่วโมงเท่านั้น เพราะถึงเวลา 3.00 น. หลวงปู่ชาจะให้สัญญาณระฆัง เพื่อให้พระภิกษุสามเณรเริ่มทำความเพียรต่อ
(คณะศิษย์, 2536: 77)

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 29, 2011, 12:34:52 pm โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด

     

๐๐๐ บทสรุป ๐๐๐


1. หลวงปู่ชามีปฏิปทาถูกต้อง ตรงประเด็น และเคร่งครัดตามหลักพระธรรมวินัยและนำพาสานุศิษย์สู่ชีวิตที่เรียบง่ายและ บริสุทธิ์งดงาม

2. หลวงปู่ชาสามารถประยุกต์หลักธรรมคำสอนที่เข้าใจยากมาสอนสานุศิษย์ให้เข้าใจ ได้โดยง่าย และประการสำคัญคือ หลักและวิธีการสอนทุกอย่างของท่านทั้งสองไม่สร้างความเบื่อหน่ายให้แก่ สานุศิษย์ จนสามารถบรรลุผลตามที่ท่านทั้งสองสอนไว้จนสามารถที่จะกระทำการเผยแผ่พระพุทธ ศาสนาต่อไปได้

3.หลวงปู่ชาคำนึงถึงลักษณะของผู้เรียนว่ามีความต้องการ หรือมีจริตอย่างไรจากนั้นก็จะสอนตามจริตที่เหมาะสมของแต่ละบุคคล

4.การ ปฏิบัติตามข้อวัตรเป็นหลักการเบื้องต้นที่หลวงปู่ชาใช้ในการอบรมสั่งสอน สานุศิษย์ ข้อวัตรจึงเป็นเครื่องฝึกให้คนมีคุณสมบัติพร้อมที่จะรับฟังคำสั่งสอน เป็นบททดสอบความอดทน เป็นเครื่องพิสูจน์ความศรัทธาเลื่อมใส และเพื่อกลั่นกรองผู้ที่จะเข้ามาบวชให้มีความตั้งใจจริง พร้อมที่จะให้ความร่วมมือในการปฏิบัติธรรม ทั้งนี้ก็เพื่อความสำเร็จของผู้บวชเอง

5.การสอนของหลวงปู่ชา แม้จะเป็นคำสอนที่เรียบง่าย ใช้คำพูดสั้น ๆ แต่เป็นคำสอนที่ถูกต้องตรงตามเนื้อหาไม่ออกนอกเรื่องสอนตรงประเด็น การสอนบางครั้งแม้จะไม่อธิบายความหมาย ผู้ฟังก็เข้าใจได้ด้วยคำสอนเพียง ประโยคเดียวที่ชัดเจน และไม่ต้องอาศัยการตีความที่ซับซ้อน


อ้างอิงจาก พระ นพวรรณ ตู้ทอง



http://www.sookjai.com/index.php?topic=4334.0
ขอบพระคุณ
ผู้รวบรวมข้อมูลนำมาแบ่งปัน : น้อง sometime
Pics by : Google
อกาลิโกโฮม * สุุขใจดอทคอม
อนุโมทนาสาธุที่มาทั้งหมดมากมายค่ะ