วิถีธรรม > จิตภาวนา-ปัญญาบารมี

จงฝึกมหาสติ เพื่อช่วยโลก ( หลวงปู่พุทธะอิสระ )

<< < (2/3) > >>

มดเอ๊กซ:


 

การพิจารณาโครงกระดูกในท่ายืน

 
ทั้งหมดยืนขึ้น ทำการสำรวจโครงสร้างภายในกาย การยืนก็ต้องมีสติ โดยต้องระลึกรู้ว่า กายเรา โครงสร้างเราเป็นยังไง เท้าเราแตะพื้นครบมั้ย ฝ่าเท้าแนบพื้นมั้ย นิ้วเท้าชี้ตรงไป ข้างหน้าหมดทุกนิ้วหรือเปล่า ถ้าไม่ก็ขยับให้ตรง เดี๋ยวหลวงปู่จะสอนให้ ทะลวงจุดกลาง กระหม่อมในท่ายืน อันเป็นพื้นฐานของวิชาลม ๗ ฐาน
 
เริ่มไล่ความรู้สึกไปตั้งแต่ปลายเท้าขึ้นมา โดยเริ่มจากนิ้วเท้าก่อน ให้มีสติอยู่ที่กระดูกนิ้วเท้า ฝ่าเท้า ส้นเท้า ข้อเท้า ไล่ขึ้นมาเรื่อย จนถึงกระดูกขาท่อนล่าง ว่ากระดูกขาท่อนล่างมีสภาพ อย่างไร ไล่ให้เห็นกระดูกนะ เนื้อหนังไม่เอา กระดูกขาท่อนล่างมีสองท่อน เป็นเหมือน ตะเกียบใหญ่อัน เล็กอัน อยู่คู่กันมีเอ็นร้อยรัดผูกไว้กับข้อเท้า จากนั้นขึ้นมาพิจารณากระดูก หัวเข่าทั้งสองข้าง มีสะบ้าเป็นกระดูกท่อนหนึ่งมีสัณฐานเหมือนเบี้ย ติดอยู่ที่หัวเข่าด้านบน ข้อต่อระหว่างสองข้าง แล้วมีเส้นเอ็นแผ่นใหญ่ยึดระหว่างข้างล่างกับข้างบนช่วงเข่า จาก นั้นดูขึ้นไปจนถึงกระดูกต้นขาด้านบนทั้งสองข้าง ซึ่งเป็นกระดูกท่อนเดียวจนถึงก้นกบ ซึ่ง เป็นแผ่นกระดูกคล้ายกระดองเต่า แล้วมีหางเป็นติ่งงอกออกมาหน่อยนึง ....
 
จากกระดูกก้นกบก็ไล่ขึ้นมาที่กระดูกสันหลัง จับความรู้สึกจากกระดูกสันหลังข้อที่ ๑ ไล่ขึ้น ไปทีละข้อ จากข้อที่ ๒ ... ข้อที่ ๓ ...ข้อที่ ๔ ....ข้อที่ ๕ ... ข้อที่ ๖ พอข้อที่ ๗ ให้ดูกระดูกซี่โครง ซึ่งมี ๑๒ ท่อนพร้อมกันไปด้วย ... ข้อที ๘ ... ข้อที่ ๙ ... ข้อที่ ๑o ... ข้อที่ ๑๑ ...ข้อที่ ๑๒ ... ข้อที่ ๑๓ ... ข้อที่ ๑๔ ... ข้อที่ ๑๕ ... ข้อที่ ๑๖ ... และข้อที่ ๑๗ จนถึงบ่า ... บ่านี้ก็มีกระดูกสะบัก ไหปลาร้า หัวไหล่ ... ตอนที่ยังไม่ขึ้นไปที่ลำคอ ... บ่าหรือกระดูกไหล่เป็นเหมือนไม้คาน โดยมีกระดูกสันหลังเป็นตัวรับน้ำหนัก ไม้คานข้างซ้ายก็เป็นแขนซ้าย ไม้คานข้างขวาก็เป็น แขนขวาถ่วงไว้ ทำให้ไม้คานเที่ยงตรง ไม่เอียงไปข้างใดข้างหนึ่ง ...

ทีนี้ก็ดูไปที่กระดูกหัวไหล่ต่อกับท่อนแขนด้านบน ไหลเรื่อยลงไปที่ข้อศอก ไล่ไปที่กระดูก แขนด้านล่างทั้งสองข้าง .... ตามลงไปจนถึงกระดูกข้อมือทั้งสองข้าง ซึ่งเป็นกระดูกชิ้นเล็ก ๆ ติดกันประมาณ ๘ ชิ้นต่อข้าง ... กระดูกฝ่ามือทั้งสองข้าง ... กระดูกนิ้วโป้งทั้ง ๒ ข้าง ไล่ไป ทีละนิ้ว นิ้วชี้ ... นิ้วกลาง .. นิ้วนาง ...นิ้วก้อย ....พอถึงตรงนี้เราจะรู้สึกว่าเหมือนกับมีลมอุ่น ๆ ที่ขุ่นมัวไหลออกจากปลายนิ้ว ถ่ายเทของเสียออกไป ปราณที่เสีย ๆ จะโดนไหลทิ้งไป จาก นั้นให้จับความรู้สึกที่ปลายนิ้วมือทั้งสิบใหม่ คราวนี้ดูดเอาปราณที่ดีกลับเข้ามา คนที่ทำวิธี นี้ได้ดีแล้ว เขาจะสามารถหายใจทางผิวหนังได้ เพราะปลายนิ้วทั้งสิบนี้จะดูดเอาลมบริสุทธิ์ เข้ามา ผิวหนังมีลมเข้าลมออกได้ ... จากนั้นไล่กลับไปทีละข้อ จนถึงฝ่ามือ ถึงข้อมือ ถึง กระดูกแขนด้านล่าง ถึงกระดูกแขนท่อนบน เอาละ สำรวมให้ดี ...... ไล่จิตมาถึงหัวไหล่ ... จากหัวไหล่มา ถึงกระดูกต้นคอ ...
 
เมื่อกี้เราพักเอาไว้ ไม่ขึ้นไปที่หัว ลองจับความรู้สึก สูดลมหายใจเข้าลึก ๆ พักเอาไว้ที่จุดเดิม ตรงต้นคอ แล้วก็พ่นลมออกยาว ๆ หายใจเป็นปกติ ... จงทำความรู้สึกราวกับว่า ไออุ่นของเรา แล่นขึ้นจากฝ่าเท้าสองข้างจนถึงขา ก้นกบ กระดูกสันหลัง แล้วมาประจวบกับไออุ่น ที่เกิดจากฝ่ามือทั้งสองข้าง แล้วไปหยุดที่หัวไหล่ และต้นคอ พลังปราณทั้ง ๓ สายนี้ รวมกันเป็นหนึ่ง แล้วพุ่งเข้าไปที่กระดูกต้นคอข้อที่หนึ่ง ... ข้อที่สอง ... ข้อที่สาม ... ข้อที่สี่ ...ข้อที่ห้า ... ข้อที่หก ... ข้อที่เจ็ด แล้วไปที่กระโหลกศีรษะ ...

กลางกระหม่อม เอาจิตอยู่ที่นี่ สักพัก แล้วเราจะรู้สึกเหมือนกับมีไออุ่นหลุดรอดออกไปนอกกะโหลกศีรษะ ....สูดลมหายใจเข้าแล้วก็พ่นลมออกยาว ๆ
ทีนี้มาจับโครงสร้างของด้านหน้า หน้าผาก โดยใช้ความรู้สึกจับจากหน้าผาก ไปที่โหนกคิ้ว กระบอกตา กระดูกจมูก โหนกแก้ม ฟันบน ฟันล่าง คาง กระดูกกราม กกหูซ้ายขวา แล้วก็ ขึ้นมารวมที่จุดจอมประสาทตรงกลางกระหม่อม ... ลืมตาได้ สงบมั้ย ทำอย่างนี้แหละ ค่อย ๆ ทำไป ทำเรื่อย ๆ มีโอกาสทำที่ใหนก็ทำไป ฝึกตัวรู้เอาไว้บ่อย ๆ แล้วเราจะฉลาด สมองเรา จะผ่องใส คิดอะไรก็ออก ทำอะไรก็เบาสบาย ผ่อนคลาย ก้าวไกล

จงหมั่นพิจารณากระดูกแบบนี้ เห็นสังขารตามความเป็นจริงของขันธ์ทั้งปวง มันจะได้ไม่มีความปรุงแต่ง จิตก็จะมีเสรีภาพ มีความปล่อยวาง เบาสบาย โปร่งโล่งผ่อนคลายจากการปรุง ไม่กระเพื่อมไปตามกระบวนการปรุงแต่ง ของจิต

มดเอ๊กซ:



จงฝึกมหาสติเพื่อช่วยโลก
 
หลวงปู่อยากบอกว่า ถ้าหากหลวงปู่เป็นคนมีความคิดอย่างพวกเธอ และมีครูสอนอย่างพวก เธอ ป่านนี้ พวกเธอคงไม่ได้เห็นหน้าหลวงปู่หรอก เพราะถ้าหากหลวงปู่คิดว่า นิพพานอัน แปลว่าดับและเย็นเป็นที่หวังของหลวงปู่จริง ๆ หลวงปู่คงไม่ต้องมานั่งลำบากทนสอนผู้คน อยู่อย่างนี้หรอก แต่เพราะพระโพธิสัตว์นั้นเขาจะไม่เอาวิถีชีวิตของเขาไปสู่เป้าหมายนิพพาน ก่อนที่จะโปรดสัตว์ให้พ้นทุกข์ เพราะเมื่อใดที่อยู่ในวิถีของพระนิพพานแล้ว จะไม่สามารถ เป็นพระโพธิสัตว์ได้ เพราะจะหมดสิทธิ์ในการกลับมาเกิดเป็นพระพุทธเจ้า เพราะฉะนั้น พระโพธิสัตว์จะต้องมีดุลยพินิจและมีความสามารถในการเรียนรู้ทุกอย่างที่พระพุทธเจ้ารู้ แล้วก็ปฏิบัติให้ได้ เป็นครูสอนคนอื่นได้ต้อง รู้จริง รู้แจ้ง มิใช่แค่รู้จำเฉย ๆ และเขาจะไม่ทำ ตัวเองให้หมดจากอาสวะกิเลส เพราะเขาจะต้องกลับมาเกิดเพื่อปลดปล่อยสรรพสัตว์ให้พ้นภัย
 
เพราะแค่พระโพธิสัตว์เดินเข้าสู่เป้าหมายของวิถีแห่งพระนิพพาน เพียงแค่ก้าวเดียว คือ พระโสดาบันก็หมดสิทธิ์จะมาเป็นพระโพธิสัตว์แล้ว พวกเธอมีปัญญาพอที่สามารถรับรู้ สิ่งต่าง ๆ ที่จะอบรมสั่งสอน หรือถ่ายทอดจากครูบาอาจารย์ได้เยอะแยะ การณ์ข้างหน้า สังคมและโลกกำลังสับสน มันจะเกิดกลียุค ถ้าหากพวกเธอเรียนรู้มหาสติอย่างจริง ๆ จัง ๆ มหาสติปัฏฐานที่พวกเธอมีและกำลังฝึกอยู่มันจะช่วยโลกได้ โดยการถ่ายทอดออกไปสู่สังคม ข้างนอกให้มีสติยั้งคิด จะทำ-พูด -คิด ก็ต้องไม่ผิดพลาด ความรัก-โลภ-โกรธ-หลง ทั้งหลาย ที่กำลังเร่าร้อนอยู่ในสังคมมันก็จะลดน้อยถดถอยลงไป ความยื้อแย่ง อวดดีอวดฉลาด แก่งแย่งชิงดี เอารัดเอาเปรียบ โหดร้าย อาฆาต พยาบาท ฆ่าฟันกัน มันก็จะลดน้อยถอย ลงไป เพราะฉะนั้น การฝึกมหาสติจึงเป็นสูตรที่ยิ่งใหญ่ที่สามารถช่วยสรรพสัตว์ให้พ้น จากทุกข์ภัยได้ ถ้าหากเราฝึกมันอย่างจริง ๆ จัง ๆ ไม่ใช่เพียงแค่ท่องจำมันเฉย ๆ

มดเอ๊กซ:


 
การเรียนรู้มหาสติปัฏฐานเป็นหัวใจของพุทธศาสนา
 
ในการเจริญปฏิบัติธรรม เราต้องระวังเรื่องการผิดศีล การผิดศีลด้วยกาย ด้วยวาจา ยังไม่ร้าย แรงเท่ากับการผิดศีลด้วยใจ เพราะมันสร้างสม สะสม ทำให้เกิดกระบวนการต่อเนื่องไม่จบสิ้น พระพุทธองค์จึงทรงสอนให้เรา ระวังรักษาใจ จิตนี้มหัศจรรย์นัก การฝึกจิต ถ้าเริ่มต้นจากส่วน ที่เป็นมลภาวะของจิต มันก็จะกลายเป็นมลภาวะตลอดไป แม้ว่าในขณะจิตหนึ่ง อาจจะเกิด อกุศลขึ้นในดวงจิตบ้าง หรือจิตดวงต่อมาอาจจะเป็นอกุศลบ้าง แต่ถ้าเรารู้เท่าทันมัน จิตดวงที่เป็นอกุศลเราก็ไม่จับมันไว้ จิตดวงที่เป็นกุศลก็เข้าไปเรียนรู้ และศึกษามัน อย่างนี้ พระพุทธเจ้ากล่าวว่า เป็นการเรียนจิตถึงจิต รู้ภายในจิตของตนว่า จิตนี้มันมีจิตซ้อนจิต สารพัดจิตประกอบกันอยู่เป็นกุศลจิต เป็นอกุศลจิต เป็นโลภมูลจิต เป็นอโลภมูลจิต เป็น พยาบาทจิต เป็นอพยาบาทจิต มันสัมพันธ์ สัมผัสซับซ้อน ซ่อนเงื่อนมากมายหมาศาล และมีทั้งหยาบ ปานกลาง ละเอียด สุขุม และปราณีต กระบวนการของจิตมีอานุภาพมหาศาล ถ้ารู้จักฝึกให้ดีมันจะยังประโยชน์สุขมาให้สังคมและตัวเราเอง
 
หลวงปู่อยกจะย้ำว่า การเรียนรู้มหาสติปัฏฐานเป็นสูตรที่ยิ่งใหญ่และเป็นหัวใจสำคัญของพุทธศาสนา สูตรใด ๆ ก็ไม่เทียบเท่าสูตรมหาสติปัฏฐาน แม้แต่ธัมมจักกัปปวัตนสูตรก็ไม่มี อานุภาพเทียมเท่ามหาสติปัฏฐานสูตรนี้ พระศาสดาจึงเรียกว่า ทางนี้เป็นหนทางแห่งบุคคล ผู้เป็นเอกและเป็นทางเดียวที่จะเข้าไปสู่เป้าหมายแห่งชีวิตสุงสุดไม่มีทางอื่น

มหาสติปัฏฐานนี้ก็มาจากกระบวนการสัมมาสติ ถ้ามีสัมมาสติ สัมมาอื่น ๆ ได้แก่ สัมมาสมาธิ สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาทิฐิ ก็ปรากฏตามมาด้วย หลวงปู่อยากจะบอกว่า สติปัฏฐาน ไม่ใช่ของพุทธ ไม่ใช่ของคริสต์ ไม่ใช่ของอิสลาม ไม่ใช่ของขงจื้อ ไม่ใช่ของชินโต หรือ ไม่ใช่ของใครที่ใหน แต่มันเป็นของโลก ของจักรวาล ของมนุษยชาติ ที่ทุกคนมีสิจน์ที่จะเรียนรู้ มัน ต่างกันตรงที่ว่า พระศาสดาทรงเป็นผู้ที่มีปัญญาอันเลิศ ทรงเห็นถึงขุมทรัพย์อันประเสริฐ นี้ก่อนใครในสองพันกว่าปีก่อน พระองค์จึงยกขึ้นมาและใช้สอนต่อ ๆ กันมา


หลวงปู่รู้ว่า สิ่งที่หลวงปู่เรียน สิ่งที่หลวงปู่ศึกษาและสิ่งที่หลวงปู่ปฏิบัตินั้น มันเป็นการเรียน ศึกษาและปฏิบัติ เพื่อทำให้สรรพสัตว์พ้นจากทุกข์ภัย ไม่ใช่เพื่อตามสรรพสัตว์ เพราะฉะนั้น พวกเธอจงฝึกเข้าไว้บ่อย ๆ อย่าปล่อยเวลาให่เสียไปกับสิ่งไร้ค่า จงเริ่มจากการฝึกตัวเองก่อน การมีสติช่วยตัวเองและช่วยโลกได้อย่างไร ? ถ้าหากเรามีสติอันยืนหยัดตั้งมั่นไม่หวั่นไหว ไม่สั่นคลอน เหมือนดั่งขุนเขาที่ยืนตระหง่านต้านทานกำลังลมและพายุร้ายได้อย่างไม่โยกคลอน มีหรือใครจะไม่ยอมทำตาม มีหรือใครจะไม่ยอมรับ ?
 
พวกเธอจงเรียนรู้ให้มาก พยายามเรียนรู้ได้ด้วยตนเองไม่ต้องอาศัยคนอื่น พวกเธอจงพยายาม ศึกษาหาความรู้ ครูสอนมาหนึ่ง เราต้องขนขวายหาได้สิบ นั่นจึงเรียกว่าคุณสมบัติของผู้นำ พระโพธิสัตว์ต้องเป็นผู้นำคนอื่น การเจริญวิปัสสนากรรมฐานเป็นเครื่องยังมิให้กิเลสกำเริบ พระโพธิสัตว์ก็ต้องมีวิปัสสนา ถ้าพระโพธิสัตว์ไม่มีวิปัสสนา ศีลของพระโพธิสัตว์ก็รักษา ไม่ได้ เพราะพระโพธิสัตว์ต้องมีคุณสมบัติรักษาศีล และมีสมาธิจิตอันเลิศ เรียกว่าฌานสมาบัติ เพื่อจะใช้เป็นเครื่องปลดปล่อยสรรพสัตว์

มดเอ๊กซ:


 
จงฝึกอย่างจริงจังและตั้งใจ
 
สิ่งแรกที่จำเป็นที่สุดของการเจริญมหาสติปัฏฐาน ก็คือ การมีศรัทธา ถ้าไม่ศรัทธากำลังใจ ก็ไม่มา ความมั่นใจที่จะฝึกสำเร็จก็ไม่มีเพราะฉะนั้นก่อนอื่น เราต้องมีศรัทธาก่อนว่าวิธีนี้ เป็นวิธีที่ทำให้เรา ฉลาด สะอาด สว่าง สงบได้
 
ไม่ว่าอะไรจะปรากฏขึ้นในขณะที่กำลังเจริญสติ จงรู้ไว้ด้วยเถิดว่า มันจะเป้นตัวทำร้าย ทำลายมหาสติ เพราะฉะนั้น เราต้องเพิกถอนหรือไม่ก็อย่าใส่ใจมัน รักษาความรู้เนื้อรู้ตัว เอาไว้ จงจำไว้ว่า ในการฝึก สติ จิต สมาธิ และปราณ เราต้องมีสติก่อน เมื่อมีสติแล้ว จิตตั้งมั่นสมาธิปรากฏ ปราณกับจิต สติ สมาธิจะผสมผสานกัน ปราณเป็นพลังที่เกิดจากจิต จากสติ จากสมาธิ ปราณมันเป็นทั้งกระแสอบอุ่นที่อยู่ในเลือด เป็นทั้งสารอาหารที่อยู่ในกาย รวมทั้งเป็นความสมดุลของจิต วิญญาณและอารมณ์ ถ้าไม่มีสติ ไม่มีสมดุล ไม่มีสมาธิ ก็ไม่มีพลัง หากจิตไม่ตั้งมั่น โยกคลอน ปราณก็ไม่ปรากฏอีก ก่อนจะถึงคำว่าปราณ และลม ๗ ฐาน ต้องมี สติ มีจิต มีสมาธิ มีความตั้งมั่นก่อน
 
หลวงปู่อยากจะบอกพวกเธอว่า การที่จะเอาชนะความฟุ้งซ่าน หงุดหงิด รำคาญ เมื่อย เหนื่อย เบื่อ เซ็ง หรืออารมณ์ฟุ้งซ่านทั้งหลาย บางครั้งมันก็ยากเหมือนกัน แต่ถ้าเราไม่ ยอมแพ้ เราไม่ยอมล้มเลิก เราไม่หยุดฝึก เราทำมันด้วยความเพียรมานะ ทำบ่อย ๆ สักวันหนึ่งเราต้องชนะมันจนได้ อย่าเพิ่งไปท้อแท้ ท้อถอย หวาดกลัว เบื่อหน่ายที่จะ ทำ วันนี้เวลานี้ทำไม่ได้ แต่อีกชั่วโมงข้างหน้า เวลาหน้าถ้าทำอาจจะทำได้ จึงอย่าไป ผัดต้องทำมันทุกเวลาเมื่อมีโอกาส แล้วชัยชนะมันจะปรากฏขึ้น ใหม่ ๆ หลวงปู่ก็เหมือน พวกเธอนั่นแหละ ไม่รู้เรื่องอะไร เขาบอกว่าทำอย่างนี้ดีก็ทำมันไป แล้วก็พยายามทำมัน ไม่หยุดหย่อน หลวงปู่ตอนฝึกกสินใหม่ ๆ นี่ หลวงปู่ฝึกจนดวงตาหลวงปู่สามารถมอง พระอาทิตย์ยามกลางวันได้ หลวงปู่เคยฝึกเตโชกสินจนกระทั่งขี้เทียนสูงเป็นศอก ๆ จากพื้น พอฉันข้าวเสร็จก็ฝึกเตโชกสิน สมัยนั้นตอนแรก ๆ ฝึกก็มองไม่รู้อะไร แต่ต่อ ๆ ไป สติก็เริ่มปรากฏ ก็เริ่มรับรู้ สภาพสภาวธรรม ทีนี้กสินก็ไม่จำเป็น
 
แต่ใหม่ ๆ หลวงปู่ก็เหมือนตาบอดคลำช้าง ( พุทธธรรม ) คลำไปเรื่อย สำคัญที่สุดคือต้อง ขยันคลำ ถ้าคนตาบอดคลำช้างแล้ว แค่ไปจับงวงก็บอกว่านี่คือช้าง เป็นอันจบเห่กัน หมดสิทธิ์บรรลุธรรม หากรู้ตัวว่า ตัวเองตาบอด ( ยังตกอยู่ใน สามไม่รู้ คือ ไม่รู้ว่าตัวเอง จะตายเมื่อไหร่ ไม่รู้ว่าตัวเองจะบรรลุธรรมเมื่อไหร่ และไม่รู้ว่าแนวทางที่ปฏิบัติอยู่จะทำ ให้บรรลุธรรมจริงหรือไม่ ) ผู้นั้นต้องมีความขยัน ต้องคลำให้มันตลอด ต้องคลำมันทั้งหู ทั้งหาง ทั้งตัว แล้วเราจะรู้ว่าช้างรูปร่างอย่างไรอย่าเป็นเหมือนคนที่จับแค่งวงแล้วเลิกคลำ โดยบอกว่ารู้แล้ว พอแล้วแค่นี้ไม่ได้ นั่นไม่ใช่ช้าง ! เพราะฉะนั้น อย่าไปท้อยถอย บุคคล ล่วงทุกข์ได้เพราะความเพียร บุคคลมีความสำเร็จได้เพราะความเพียร
 
คุณเครื่องยังให้สำเร็จ พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้ว่ามีทั้งหมดอยู่ ๔ อย่าง อย่างแรกคือ ฉันทะ ต้องสร้างความรัก ความพอใจที่จะทำ ในที่นี้หลวงปู่อยากใช้คำว่า " ศรัทธา " ทำให้เกิดศรัทธา เชื่อมั่นพร้อมที่จะทำ แล้วก็ทำมันบ่อย ๆ อย่างที่สองคือ วิริยะ ทำด้วยความเพียร ทำประจำ ทำเรื่อย ๆ ทำไม่ปล่อย อย่างที่สามคือ จิตตะมีใจจดจ่อ ที่หลวงปู่เรียกว่า " จอจ่อ จริงจัง จับจ้อง และตั้งใจ " อย่างที่สี่คือ วิมังสา มีปัญญาใคร่ครวญพิจารณาว่าทำอย่างนี้ถูกมั้ย วิธีนี้ ใช้ได้มั้ย วิธีนี้ทำมานานแล้วไม่ได้ผลก็เปลี่ยนวิธีใหม่ เหล่านี้เป็นต้น ถ้ารู้จักทำตามหลัก อิทธิบาท ๔ นี้ พระพุทธองค์ตรัสว่า แม้นปรารถนาจะเป็นจอมจักรพรรดิ์ สักวันก็ได้เป็น แม้ปรารถนาจะเป็นธรรมราชา คือ เป็นพระศาสดาก็ได้เป็น


มดเอ๊กซ:

 

อานิสงส์ของมหาสติปัฏฐาน
 
การปฏิบัติธรรมในหลักมหาสติปัฏฐาน เป็น วิชาสูงสุดของพระพุทธศาสนาหลวงปู่ถ่ายทอด ให้แก่พวกเธอด้วยใจอารี เพื่อให้พวกเธอนำไปทำให้มีสาระ ทำตัวให้อยู่รอดปลอดภัย เป็นคน ฉลาด องอาจ สามารถ สง่างาม ยืนหยัดอยู่ได้ด้วยการทำถูก พูดถูกและคิดถูก ไม่ตกเป็น ทาสของความโง่เขลา
 
การศึกษามหาสติปัฏฐานสูตร แม้พวกเธอบางคนอาจฟังแล้วยังไม่รู้เรื่อง ขอเพียงตั้งใจฟัง ( ตั้งใจอ่าน ) อานิสงส์ของมันก็นำพาเราไป ตายไปแล้ว ๗ ชาติ ไม่มีโอกาสโง่เลย ไม่ว่า เราจะไปอยู่ในที่ใด ภพใด ชาติใหน ใครก็หลอกเราไม่ได้ เพราะเราเคยฟังอบรมมหาสติ ปัฏฐานมา
 
นี่ย่อมหมายความว่า มหาสติปัฏฐานเป็นคุณสมบัติของคนฉลาด ของสัตบุรุษ ของมหาบุรุษ ผู้ยิ่งใหญ่ เป็นคุณสมบัติของเอกสตรี ของสตรีผู้เจริญ เป็นคุณสมบัติของเอกบุรุษ ผู้องอาจ แกล้วกล้า เพราะฉะนั้น การได้สดับมหาสติปัฏฐานสูตร นอกจากจะมีอานิสงส์ให้กลายเป็น คนชาญฉลาด องอาจ สามารถแล้ว ยังมีผลส่งให้เรากลายเป็นผู้มีสติตั้งมั่น รอบรู้สภาวะตาม ความเป็นจริง มีวิธีบริหารการจัดการชีวิตได้อย่างเจริญ ประเสริฐ งามพร้อมและรุ่งเรือง นอกจากนี้ชีวิตและจิตวิญญาณของผู้นั้น ยังได้รับการปลดปล่อยจากการทำผิด คิดผิด พูดผิด อีกด้วย ทำให้ชีวิตเรามีแต่ความสง่างาม สวยงาม แถมยังช่วยขับไล่โรคร้ายที่เกิดจากใจเราได้อีกด้วย
 
มหาสติปัฏฐานของผู้มีสติตั้งมั่นจึงเป็นยารักษาโรคใจ โรคใด ๆ ที่เกิดจากใจ ไม่ว่าจะเป็น ราคะ โทสะ โมหะ หรือการตกเป็นทาส รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ถ้ามียาชนิดนี้แล้ว มันจะช่วยผ่อน คลายได้ ถึงแม้สำหรับบางคนอาจจะยังรักษาไม่ได้เด็ดขาด แต่ก็ยังทำให้สบายขึ้นได้ อยู่เป็นสุข ขึ้นได้

 
ในช่วงเวลาที่พวกเธอมารับการถ่ายทอดมหาสติปัฏฐานจากหลวงปู่นี้ พวกเธอจงรู้ไว้ด้วยเถิดว่า พวกเธอได้บำเพ็ญครบทั้ง เนกขัมมะ ขันติ อธิษฐาน สัจจะ วิริยะ เมตตา ศีล ทาน อุเบกขา และปัญญา คือครบทั้งทศบารมีเลยทีเดียว บารมีเหล่านี้เป็นบารมีที่ยิ่งใหญ่ ที่ทำให้ผู้คนปวงชน ทั้งหลายเข้าถึง วิถีพุทธทำให้มนุษย์ธรรมดาที่เดินดินก็กลายเป็นพระพุทธะได้ กลายเป็นพระ อริยะได้ กลายเป็นพระโพธิสัตว์ได้ กลายเป็นผู้วิเศษได้ กลายเป็นผู้ประเสริฐได้ กลายเป็นพรหม เป็นเทวดาผู้เจริญด้วยฤทธิ์ บุญญาภินิหารได้ ก็เพราะมีบารมี ๑o อย่าง หรือทศบารมีนี้
 
ทศบารมีทั้งหลายที่พวกเธอร่วมกันทำขึ้นมานี้ มันเป็นบารมีแห่งชัยชนะ พลัง อำนาจ ตบะ ความสำเร็จ ปัญญา ทรัพย์ ลาภ กำลัง และความสุขของพระพุทธะ หลวงปู่จึงอยากจะบอก พวกเธอว่า อย่าไปเสื่อมถอยศรัทธาพร้อมด้วยปัญญาที่จะสร้างบารมีเลย




 
 
ก่อนจากกัน หลวงปู่ขออำลาพวกเธอด้วยวิถีทางแห่งพุทธว่า
 
" เมล็ดพืชแห่งพุทธะ ข้าได้หว่านลงไปในเนื้อนาบุญและนาใจของพวกท่านทั้งหลายแล้ว หน้าที่ ของพวกท่านคือดูแล รักษา รดน้ำ พรวนดิน ให้เมล็ดพืชนี้แตกกระเปาะ ตั้งลำต้น ผลิใบออกดอก ยืนหยัดตระหง่าน และสร้างผลใบให้เป็นที่พึ่งพาอาศัยของชนทั้งทั้งหลายในโลก และจักรวาลได้ ... จิตวิญญาณของพระพุทธะ ความศักดิ์สิทธิ์ของพระพุทธะ อำนาจและพลังของพระพุทธะ ความรู้ ความสามารถและปัญญาญาณของพระพุทธะล้วนอยู่ในเมล็ดพืชนี้ อยู่ในลำต้นโพธิ์ เพราะฉะนั้น เมื่อเมล็ดพืชและต้นแห่งโพธิ์มันเจริญงอกงามอยู่ในวิญญาณของพวกท่านแล้ว ก็แสดงว่า พวกท่าน ทั้งหลายต้องทำตนให้เป็นที่พึ่งแห่งตนได้ และก็เป็นที่พึ่งแก่คนชนทั้งหลายได้ ... ความอาทร ความ การุณย์ ความหวังดี ความเมตตา ความอนุเคราะห์เกื้อกูล นี่คือกลิ่นอายของพระพุทธะ คือวิญญาณ ของพระพุทธะ คือคุณสมบัติพิเศษของพระพุทธะ ทั้งหมดเป็นวิถีญาณ วิถีธรรม และเป็นพุทธวิถี เป็นพุทธอุบาย และเป็นพุทธธรรม อันเป็นธรรมที่ยังให้สัตว์ทั้งปวงเป็นพระพุทธะ และยังเป็น โพธิญาณ เป็นโพธิปัญญา เป็นโพธิศรัทธา ที่เกิดจากโพธิจิต ขอโพธิทั้งหลายที่มีอยู่ในสามโลก และในอนันตจักรวาล จงเบ่งบาน งอกงาม ไพบูลย์ ให้ลูกหลานของข้าจงสำเร็จลุล่วง และเจริญ ด้วยอำนาจ พลัง ตบะ ชัยชนะ ความสำเร็จ ทรัพย์ ลาภ กำลัง ความสุข ทุกทิวาราตรีกาลเทอญ "
 
 
จาก วัชรเซน บทสุดท้าย  ชื่อ พุทธะธรรม ของหลวงปู่พุทธอิสระ

http://www.sookjai.com/index.php?topic=136.0#quickreply

นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

[#] หน้าถัดไป

[*] หน้าที่แล้ว

ตอบ

Go to full version