ผู้เขียน หัวข้อ: วันตรุษจีน หรือ ปีใหม่จีน  (อ่าน 9087 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: วันตรุษจีน หรือ ปีใหม่จีน
« ตอบกลับ #10 เมื่อ: มกราคม 13, 2013, 09:55:06 pm »
8 เรื่องดี ๆ ที่ลูกหลานชาวจีนควรทำรับวันตรุษจีน
-http://hilight.kapook.com/view/80636-




เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม

             รู้กันอยู่แล้วว่าเทศกาลตรุษจีนก็คือวันขึ้นปีใหม่ของชาวจีนทั่วโลกนั่นเอง ซึ่งหากเป็นเทศกาลขึ้นปีใหม่สากลอย่างช่วงวันที่ 1 มกราคม หลายคนก็จะพากันไปเดินทางท่องเที่ยว ไปทำบุญไหว้พระ สวดมนต์ข้ามปี พบปะญาติมิตรพี่น้อง เลี้ยงฉลอง เพื่อความเป็นสิริมงคลต้อนรับศักราชใหม่ที่กำลังจะมาถึง ไม่ต่างจากชาวจีน ที่พวกเขาเองก็มีการถือเคล็ดความเชื่อแบบนี้ในช่วงวันตรุษจีนเช่นกัน อยากรู้ไหมว่า มีสิ่งใดที่ชาวจีนควรปฏิบัติในช่วงเทศกาลตรุษจีนบ้าง เพื่อเป็นการต้อนรับ วันตรุษจีน 2556 ที่ใกล้จะมาถึงนี้ กระปุกดอทคอม ขอนำความรู้เรื่องสิ่งที่ควรทำในวันตรุษจีนมาบอกกันค่ะ

 1. ไหว้เจ้าที่ ไหว้บรรพบุรุษ ไหว้ผีไม่มีญาติ

            คนจีนทุกบ้านจะต้องไหว้เจ้าในช่วงเทศกาลตรุษจีนนี้ เพราะเป็นธรรมเนียมที่ลูกหลานชาวจีนสืบทอดต่อกันมานานแล้ว โดยเชื่อว่า การไหว้เจ้าที่ ไหว้บรรพบุรุษ จะนำความสุขมาสู่ครอบครัวนั้น โดยในช่วงเช้า ชาวจีนจะไหว้เจ้าที่ และบรรพบุรุษ จากนั้นในช่วงเที่ยงจะไหว้ผีไม่มีญาติ และจุดขี้ไต้ไว้ 2 ชิ้น เมื่อไหว้ผีไม่มีญาติเสร็จแล้ว จะจุดประทัด และโปรยข้าวสารผสมเกลือ เพื่อเป็นการขับไล่สิ่งไม่ดีให้หมดไป

2. ทำพิธีรับไฉ่ซิ้งเอี้ย

            ไฉ่ซิ้งเอี้ย หรือ ไฉสิ่งเอี้ย คือ เทพเจ้าแห่งโชคลาภ ให้คุณทางด้านเงินทอง และทรัพย์สิน ถือเป็นเทพเจ้าที่มีความสำคัญมากที่สุดของชาวจีนก่อนเริ่มเข้าสู่นักษัตรปีใหม่ จะเห็นได้ว่าชาวจีนหลายคนนิยมไปกราบไหว้บูชาเทพเจ้าไฉ่ซิ้งเอี้ยในช่วงตรุษจีนมากเป็นพิเศษ เป็นการเอาฤกษ์เอาชัย เรียกโชคลาภเข้ามาสู่ชีวิต ขณะที่หลายบ้านก็จะทำพิธีรับไฉ่ซิ้งเอี้ย ในช่วงหลังเที่ยงคืนของวันซาจั๊บ จนถึงก่อนตี 1
 


3. ประดับตุ๊ยเลี้ยง (คำกลอนอวยพรปีใหม่) ในบ้าน

            หากได้ไปเยือนบ้านคนจีน เราคงจะเห็นกระดาษสีแดง ๆ เขียนอักษรภาษาจีนสีทอง หรือสีดำตัวใหญ่ ๆ แปะอยู่ในบ้าน และที่ประตูบ้าน สิ่งนั้นเรียกว่า "ตุ๊ยเลี้ยง" หรือ คำกลอนอวยพรปีใหม่ของคนจีน ซึ่งเป็นคำกลอนที่มีความหมายดี ๆ อวยพรให้ร่ำรวย มั่งมีเงินทอง มีความสุข มีโชคมีลาภ ค้าขายได้กำไร ส่วนแผ่นที่ติดตรงประตูนั้นจะเขียนคำว่า "ชุก ยิบ เผ่ง อัง" แปลว่า เข้า-ออกโดยปลอดภัย นอกจากนี้ ชาวจีนจะติดภาพเด็กผู้หญิง และเด็กผู้ชาย ที่เรียกว่า "หนี่อ่วย" ไว้ในบ้านด้วย เพราะถือว่าเป็นภาพมงคลของจีน

4. กินเจในมื้อแรกของวันตรุษจีน

            ในเช้าวันใหม่ของวันชิวอิก หรือวันขึ้นปีใหม่ (ปี 2556 ตรงกับวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2556) ชาวจีนหลายบ้านจะรับประทานอาหารเจกันในมื้อแรกของปี งดเว้นการรับประทานเนื้อสัตว์ เพราะเชื่อว่าจะได้บุญเหมือนกับการกินเจตลอดปี

5. ใส่เสื้อผ้าใหม่ ๆ สีสันสดใส

            มีธรรมเนียมของชาวจีนอย่างหนึ่งที่สืบทอดกันมานานแล้ว นั่นก็คือ ชาวจีนจะนิยมหยิบเสื้อผ้าสีสันสดใส สีสว่าง ๆ เช่น สีแดง สีทอง ซึ่งเป็นสีแห่งความสุข สีของความมงคลออกมาใส่ในช่วงเทศกาลตรุษจีนนี้ เพราะเชื่อว่าจะนำความสว่างสดใส และเจิดจ้ามาให้ผู้สวมใส่ รวมทั้งใส่เสื้อผ้าใหม่ ๆ ด้วย ทั้งเด็กเล็ก ๆ ไปจนถึงผู้สูงอายุ เพื่อเอาเคล็ดในวันปีใหม่ให้ชีวิตสดใสราบรื่นเบิกบานไปตลอดปี ส่วนเสื้อผ้าสีขาว สีดำ ถือเป็นสีต้องห้ามในช่วงเทศกาลตรุษจีน เพราะเป็นสีไว้ทุกข์ แสดงถึงความโศกเศร้า

6. รวมญาติกินเกี๊ยว

            ในช่วงเทศกาลตรุษจีนถือเป็นโอกาสหนึ่งที่หลาย ๆ ครอบครัวจะได้เดินทางไปเยี่ยมเยียนญาติพี่น้อง เพื่ออวยพรวันปีใหม่ และพบปะสังสรรค์กัน จึงถือเป็น "วันรวมญาติ" อีกหนึ่งวัน ซึ่งในวันซาจั๊บ คนในครอบครัวจะมาร่วมโต๊ะรับประทานเกี๊ยวด้วยกันในมื้อสุดท้ายก่อนขึ้นปีใหม่ ซึ่ง "เกี๊ยว" นี้ จะต้องพับเป็นก้อนให้เหมือน "เงิน" ของจีน แทนความหมายว่า มั่งมีเงินทอง

 7. อวยพรผู้ใหญ่ ด้วยส้ม 4 ผล

            ตามประเพณีของชาวจีน ในวันชิวอิก ทุกคนจะนำส้ม 4 ผล ไปกราบขอพรผู้ใหญ่ ซึ่งเจ้าของบ้านนั้นก็จะต้องรับส้มมา 2 ผล และนำส้มที่ตัวเองเตรียมไว้วางคืนลง 2 ผล พร้อมกับเตรียมเมล็ดแตงโมย้อมสีแดงไว้ 1 พาน และสมอจีนไว้รับแขกที่มาอวยพรด้วย



8. รับอั่งเปา-แต๊ะเอีย

            ข้อนี้เด็ก ๆ คงยิ้มแก้มปริแน่นอน เพราะในวันตรุษจีนนี้ เด็ก ๆ จะได้รับซองสีแดง ๆ จากญาติผู้ใหญ่ จะเรียกว่า "อั่งเปา" หรือ "แต๊ะเอีย" ก็ได้ เพื่ออวยพรให้เด็ก ๆ เจริญเติบโตแข็งแรง มีโชคลาภ ส่วนคนทำงาน คนที่มีเงินเดือนเป็นของตัวเองแล้ว ก็จะต้องให้อั่งเปากับเด็ก ๆ ในบ้านที่มีอายุน้อยกว่าด้วยเช่นกัน หรือเจ้านายจะให้อั่งเปาลูกน้องก็ได้ อ่านเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ "อั่งเปา" ต่อได้ที่นี่เลย "ตามไปดู เรื่องน่ารู้ของ อั่งเปา และ แต๊ะเอีย"

           ยังมีความเชื่ออีกหลายข้อที่ขึ้นอยู่กับประเพณี และธรรมเนียมของแต่ละชุมชน ซึ่งแต่ละบ้าน แต่ละครอบครัวก็จะปฏิบัติแตกต่างกันไป เช่น บางคนอาจเชื่อเรื่องโชคลางมาก ก็อาจจะให้ซินแสช่วยหาฤกษ์ยามก่อนจะก้าวเท้าออกจากบ้านไปเยี่ยมเยียนญาติในวันปีใหม่ หรือหลายคนก็เชื่อว่า หากได้ยินเสียงนกนางแอ่นร้อง หรือเห็นนกสีแดงในวันปีใหม่ จะทำให้โชคดีไปตลอดปีก็มี

           อย่างไรก็ตาม นอกจากข้อควรปฏิบัติในวันตรุษจีนแล้ว ก็ยังมีความเชื่อเรื่องสิ่งที่ไม่ควรทำในวันตรุษจีนด้วย ตามมาอ่านต่อได้ที่นี่เลยจ้า "12 ข้อห้าม ที่ไม่ควรทำในวันตรุษจีน"



คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: วันตรุษจีน หรือ ปีใหม่จีน
« ตอบกลับ #11 เมื่อ: มกราคม 13, 2013, 09:56:11 pm »
12 ข้อห้าม ที่ไม่ควรทำในวันตรุษจีน
-http://hilight.kapook.com/view/66365-


เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม

          ซินเจียยู่อี่ ซินนี่ฮวดไช้ ใกล้เทศกาลวันตรุษจีน 2556 หรือวันขึ้นปีใหม่ของชาวจีนแล้ว เชื่อว่าหลาย ๆ คนที่เป็นคนไทยเชื้อสายจีน คงจะตื่นเต้นกันไม่น้อย เพราะช่วงเวลานี้ เป็นช่วงที่จะได้พบกับญาติมิตรที่ไม่เจอหน้ากันมานาน และบางคนก็อาจได้รับอั่งเปาของขวัญจากผู้หลักผู้ใหญ่ที่นับถือด้วย แต่ในเมื่อนี่คือวันขึ้นปีใหม่ของชาวจีนทั้งที หลาย ๆ บ้านก็คงจะมีธรรมเนียมปฏิบัติและข้อห้ามที่สืบทอดต่อกันมา ซึ่งในวันนี้จะพาไปดูกันว่ามีข้อห้ามอะไรบ้างที่ไม่ควรทำในช่วงตรุษจีน

          1. ห้ามทำความสะอาดบ้านในวันตรุษจีน

          ชาวจีนมีความเชื่อว่า การทำความสะอาดบ้าน และทิ้งขยะ ในวันตรุษจีนนั้น จะเป็นการการกวาดเอาโชคลาภ เงินทอง ออกไปจากบ้าน แม้ว่าบ้านในช่วงวันตรุษจีนจะสกปรกก็ตาม บางคนที่จำเป็นจะต้องทำความสะอาดบ้าน ก็จะเพียงกวาดเศษฝุ่นไปไว้ที่มุมบ้าน แล้วค่อยเอาเศษฝุ่นนั้นไปทิ้งในวันต่อไป ดังนั้น วันตรุษจีน จึงไม่ค่อยมีคนทำความสะอาดบ้าน แต่จะไปทำความสะอาดกันหนึ่งก่อนวันตรุษจีน เพื่อที่จะให้บ้านสะอาดรับปีใหม่ และใช้บ้านในการต้อนรับแขกที่จะมาเยี่ยมเยียนอีกทางหนึ่ง

          2. ห้ามสระผมหรือตัดผม

          ชาวจีนจะไม่นิยมสระผมหรือตัดผมกันในวันตรุษจีน หรือบางคนก็จะไม่สระผม 3 วันหลังจากวันตรุษจีน เนื่องจากคำว่า ผม เป็นคำพ้องเสียงและพ้องรูปกับคำว่า มั่งคั่ง ดังนั้น การสระหรือตัดผมในวันตรุษจีน จึงเหมือนกับการนำความมั่งคั่งออกไป

          3. ห้ามพูดคำหยาบและทะเลาะเบาะแว้ง

          ในวันตรุษจีน คนจีนจะงดพูดคำหยาบและสิ่งที่ไม่ดี รวมไปถึงการพูดถึงความตายหรือผี เนื่องจากเชื่อว่า การพูดสิ่งที่ไม่ดีในวันนี้ จะนำความโชคร้ายมาให้ตลอดทั้งปี รวมไปถึงการที่ไม่พูดถึงเลข 4 เนื่องจากเลข 4 ในภาษาจีน ออกเสียงคล้ายกับคำว่า ตาย ดังนั้น หลาย ๆ คนจึงพยายามไม่ใช้หรือไม่พูดอะไรที่เกี่้ยวข้องกับเลข 4

          4. ห้ามกินโจ๊กและเนื้อสัตว์

          คนจีนมักจะไม่กินโจ๊กในตอนเช้าของวันตรุษจีน เนื่องจากเชื่อว่า คนจนคือคนที่มักจะกินโจ๊กในตอนเช้า ดังนั้น การกินโจ๊กในตอนเช้าของวันตรุษจีนจึงเหมือนกับการขัดขวางไม่ให้ตัวเองร่ำรวย และทำตัวเหมือนคนจน ทั้งนี้ ยังรวมไปถึงการไม่กินเนื้อสัตว์ด้วย เนื่องจากเชื่อว่า เทพเจ้าที่ลงมาในตอนเช้าของวันตรุษจีนนั้นเป็นมังสวิรัติ

          5. ห้ามซักผ้าในวันตรุษจีน
 
          คนจีนเชื่อว่า เทพเจ้าแห่งน้ำเกิดในวันตรุษจีน ดังนั้น การซักผ้าในวันตรุษจีนจึงเปรียบเสมือนการลบหลู่ท่าน

            6. ห้ามใส่ชุดขาวดำ

          เสื้อผ้าที่เป็นสีขาวดำ เป็นสัญลักษณ์ของความตาย ดังนั้น การสวมเสื้อผ้าสีขาวดำในวันนี้จึงหมายถึงลางร้าย คนจีนจึงมักสวมเสื้อผ้าสีแดงกันเป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากเชื่อว่า สีแดงคือสีที่จะนำความโชคดีมาให้

            7. ห้ามให้ยืมเงิน

          คนจีนบางคนอาจจะหมายรวมการที่ไม่ให้ยืมสิ่งของต่าง ๆ นอกเหนือไปจากเงินแล้ว ซึ่งมีความเชื่อที่ว่า การให้ยืมเงินในวันนี้จะทำให้ทั้งปีมีคนเข้ามาขอยืมเงินตลอด รวมไปถึง หากใครที่ติดเงินใครไว้ ก็ควรที่จะคืนเงินก่อนวันตรุษจีน เพราะเชื่อกันว่า หากติดเงินใครในวันตรุษจีนแล้ว คน ๆ นั้นก็จะมีหนี้สินตลอดปีไม่จบไม่สิ้น

            8. ห้ามทำของแตก

          คนจีนเชื่อกันว่า การทำสิ่งของแตก เช่น ทำแก้วแตก ทำจานแตก หรือทำกระจกแตก ในวันตรุษจีนนั้น จะหมายถึงลางร้ายที่บอกว่าครอบครัวจะแตกแยก หรือมีคนเสียชีวิตในครอบครัว ดังนั้นในวันนี้ จึงควรระมัดระวังเป็นพิเศษไม่ให้สิ่งของในบ้านแตกหรือชำรุดเสียหาย แต่หากทำของแตกโดยไม่ได้ตั้งใจ ก็มีวิธีการแก้เคล็ดโดยการพูดว่า "luo di ka hua" ที่แปลว่า ดอกไม้จะเบ่งบานเมื่อตกลงสู่พื้น

            9. ห้ามซื้อรองเท้าใหม่

          คนจีนจะถือคติที่ว่า จะไม่ซื้อรองเท้าใหม่ในเดือนแรกของวันตรุษจีน เนื่องจากคำว่า รองเท้า ในภาษาจีนออกเสียงว่า Hai ซึ่งคำว่า Hai นี้ มีเสียงคล้ายกับการถอนหายใจ ซึ่งชาวจีนเชื่อว่า นั่นเป็นสัญญาณของการเริ่มต้นปีที่ไม่ดี

            10. ห้ามร้องไห้

          คนจีนเชื่อกันว่า หากร้องไห้ในวันขึ้นปีใหม่ จะทำให้พบกับเรื่องไม่ดี และเสียใจไปตลอดทั้งปี ดังนั้น แม้ในวันนี้เด็กเล็กจะดื้อขนาดไหน อากง อาม่า ก็อาจจะปล่อยให้วันหนึ่ง เพราะไม่อยากตีให้เด็กต้องร้องไห้ในวันนี้

            11. ห้ามใช้ของมีคม

          ของมีคมก็เป็นสิ่งต้องห้ามสำหรับวันนี้ ทั้งมีด กรรไกร และอย่างอื่นที่สามารถตัดสิ่งอื่นได้ นั่นเพราะชาวจีนเชื่อว่า การใช้ของมีคมตัดสิ่งของ จะเป็นการตัดโชคดีไปด้วย

            12. ห้ามเข้าไปในห้องนอนคนอื่น

          รู้ไหม คนจีนหลายบ้านมีความเชื่อที่ว่า ในวันตรุษจีนนี้ ห้ามเข้าไปหาใครในห้องนอนด้วย ดังนั้น แม้เจ้าของบ้านป่วย นอนอยู่ในห้องนอน แต่เมื่อมีแขกมาเยี่ยมก็ต้องแต่งตัวออกมานั่งในห้องรับแขก อย่าให้แขกเข้ามาเยี่ยมในห้องนอนเด็ดขาด เพราะถือว่าเป็นโชคร้าย

          อ่านแล้วอย่าลืมนำไปปฏิบัตินะคะ เพื่อจะได้รับเอาโชคลาภ เงินทอง เข้ามาตั้งแต่วันตรุษจีนตลอดจนทั้งปีนี้เลยนะคะ


คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: วันตรุษจีน หรือ ปีใหม่จีน
« ตอบกลับ #12 เมื่อ: มกราคม 13, 2013, 09:58:05 pm »
ตามไปดู เรื่องน่ารู้ของ อั่งเปา และ แต๊ะเอีย
-http://hilight.kapook.com/view/66692-


เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม


          ตรุษจีนปีนี้เตรียมรับแต๊ะเอียกันหรือยังจ๊ะ? เพื่อน ๆ ที่มีเชื้อสายจีนคงแฮปปี้สุด ๆ เพราะนอกจากบรรดาญาติพี่น้องจะมารวมตัวกันอวยพรปีใหม่แล้ว ยังมีธรรมเนียมปฏิบัติที่เด็ก ๆ จะได้รับซองสีแดง ๆ จากญาติผู้ใหญ่ที่หลายบ้านเรียกว่า "อั่งเปา" กันด้วย เอ...แล้วจริง ๆ ต้องเรียก "อั่งเปา" หรือ "แต๊ะเอีย" กันล่ะ แล้วเขามอบให้กันเพื่ออะไร รู้กันไหมคะ

          จริง ๆ แล้วสิ่งมงคลที่เราได้รับจากญาติ ๆ จะเรียกว่า "อั่งเปา" หรือ "แต๊ะเอีย" ก็ได้ทั้งนั้นค่ะ แต่ก็มีความแตกต่างกันนิดหน่อย


อั่งเปา

          โดยคำว่า "อั่งเปา" ในภาษาจีนแต้จิ๋ว หมายถึง ซองสีแดง คำว่า อั่ง แปลว่า แดง ส่วนเปา แปลว่า ซอง หรือ กระเป๋า (ภาษาจีนกลางจะเรียกซองแดงว่า "หงเปา") ซึ่งสีแดงถือเป็นสัญลักษณ์แสดงถึงความเป็นมงคล ความมีชีวิตชีวา และความโชคดีของชาวจีนอยู่แล้ว ดังนั้น ชาวจีนมักจะใส่เงิน หรือธนบัตรลงในซองแดง เพื่อนำมามอบให้คนรู้จัก หรืออาจจะแลกเปลี่ยนกันเองในหมู่ญาติพี่น้องก็ได้ โดยปกติแล้ว ชาวจีนจะนิยมมอบ "อั่งเปา" ให้ในวันตรุษจีน วันแต่งงาน หรือในโอกาสเปิดกิจการใหม่ เพื่อเป็นการอวยพร

          มาดู "แต๊ะเอีย" กันบ้าง เป็นภาษาจีนแต้จิ๋วเช่นกัน โดย "แต๊ะ" แปลว่า ทับ หรือ กด ส่วน "เอีย" แปลว่า เอว เมื่อรวมกัน "แต๊ะเอีย" ก็หมายถึง "ของที่มากดหรือทับเอว" หรือ "ผูกไว้ที่เอว" คำนี้มีที่มาจากคนจีนสมัยก่อนจะใช้เงินเหรียญที่มีรูอยู่ตรงกลาง หากจะพกไปไหนก็ต้องร้อยเหรียญเป็นพวงมาผูกไว้ที่เอว และในเทศกาลตรุษจีน ผู้ให้ก็จะนำเชือกสีแดงมาร้อยเหรียญไว้ แล้วมอบให้ผู้รับ ทีนี้ผู้รับก็จะนำพวงเหรียญนี้มาผูกไว้ที่เอว เรียกว่า "แต๊ะเอีย" นั่นเอง ส่วนในปัจจุบันไม่มีการใช้เงินเหรียญที่มีรูตรงกลางแล้ว "แต๊ะเอีย" จึงมีความหมายถึง "สิ่งของ" หรือ "เงิน" ที่ใส่ไว้ในซองสีแดง (ส่วนตัวซองจะเรียกว่า "อั่งเปา")


อั่งเปา

          เข้าใจเรื่อง "แต๊ะเอีย" กับ "อั่งเปา" แล้วใช่มั้ยคะ แล้วรู้ไหมว่า จริง ๆ แล้ว "แต๊ะเอีย" ก็มีวันหมดอายุนะ เพราะเมื่อเด็ก ๆ เติบโตขึ้น มีงานทำ มีเงินเดือนเป็นของตัวเองแล้ว ทีนี้จะไม่ได้รับ "แต๊ะเอีย" แล้วล่ะค่ะ แต่จะต้องเป็นคนให้เงิน "แต๊ะเอีย" กับเด็ก ๆ ในบ้านที่มีอายุน้อยกว่าต่อไป

          นอกจากนั้นแล้ว ไม่ใช่เฉพาะผู้ใหญ่ หรือเจ้านายที่จะให้ "แต๊ะเอีย" หรือ "อั่งเปา" กับเด็ก ๆ หรือลูกน้องได้เท่านั้น แต่ผู้น้อยก็ยังสามารถมอบอั่งเปาให้ผู้อาวุโสกว่าได้เช่นกัน โดยการมอบอั่งเปาให้ผู้อาวุโสกว่า หมายถึง การอวยพรให้ผู้ใหญ่มีสุขภาพดี แข็งแรง อายุยืนยาว

          ส่วนการมอบอั่งเปาให้เด็ก ๆ หมายถึง การอวยพรให้เด็ก ๆ โชคดี มีโชคลาภ เจริญเติบโตแข็งแรง หรือหากผู้ใหญ่มอบอั่งเปาให้ลูกหลานที่ทำงานแล้ว ก็เป็นการอวยพรให้หน้าที่การงานเจริญก้าวหน้า มีสุขภาพแข็งแรง และหากลูก ๆ ที่ทำงานแล้ว หรือแต่งงานไปแล้วมอบอั่งเปาให้พ่อแม่ ก็เป็นการแสดงถึงความกตัญญูกตเวที อวยพรให้พ่อแม่มีอายุยืนยาว ซึ่งการที่ลูก ๆ ให้อั่งเปาพ่อแม่ และพ่อแม่ก็ให้อั่งเปาลูก ๆ ด้วย จะต้องเป็นเงินของใครของมันเท่านั้น หากลูกให้พ่อแม่แล้ว พ่อแม่นำกลับมาให้ลูกต่ออีกที แบบนี้ไม่ได้ค่ะ



อั่งเปา

          ทีนี้ หลายบ้านอาจจะสงสัยกันว่า ควรจะให้อั่งเปาเป็นเงินเท่าไหร่ดีนะ ถึงจะเป็นสิริมงคล ซึ่งโดยปกติแล้ว ผู้ให้อั่งเปามักจะนิยมใส่จำนวนเงินเป็นเลขคู่ค่ะ เพราะคนจีนถือว่าเลขคู่เป็นเลขมงคล อีกทั้งหมายถึงทวีคูณ โชคสองต่อ โชคสองชั้น แต่จะให้จำนวนเงินเท่าไหร่ ก็ขึ้นอยู่กับรายได้ด้วยเหมือนกันนะ ถ้ารายได้ไม่มาก หรือให้เด็กเล็ก ๆ ก็อาจใส่ซองสัก 200 400 800 ถ้ารายได้มาก ให้ผู้ใหญ่ ก็อาจใส่จำนวนมากขึ้นตามแต่กำลังค่ะ

          แต่ถ้าพูดถึงจำนวนที่คนจีนนิยมให้ "แต๊ะเอีย" เลข 8 ดูน่าจะเป็นจำนวนยอดนิยมที่สุด เพราะในภาษาจีนเลข 8 อ่านออกเสียงคล้ายกับคำที่มีความหมายว่า ความร่ำรวย ความรุ่งโรจน์ ความรุ่งเรือง หรืออาจจะให้เป็นจำนวนเลข 2 ซึ่งหมายถึงคู่ก็ได้ ขณะที่บางบ้านก็เลือกให้จำนวนเลข 4 ซึ่งเรียกว่า "ซี่สี่" หมายถึง คู่สี่ เพราะถือเป็นสิริมงคล อย่างเช่นให้แต๊ะเอีย 400 ก็จะให้เป็นธนบัตร 100 บาท จำนวน 4 ใบ หรือจะให้เป็นสองเท่า หรือสามเท่าของ "ซี่สี่" ก็ได้ เช่น ให้ 800 หรือ 1,200 บาท ก็เป็นสิริมงคลเหมือนกันค่ะ

          อย่างไรก็ตาม สำหรับบางคนจะเหลือเงินแต๊ะเอียที่ได้รับมาบางส่วนเก็บไว้ในซอง เพราะถือว่า เงินแต๊ะเอียคือความเป็นสิริมงคล และเป็นเงินขวัญถุง เพื่อความเจริญรุ่งเรืองในวันปีใหม่นั่นเอง

          เอ้า...เข้าใจเรื่อง "แต๊ะเอีย" กับ "อั่งเปา" กันแล้วนะ ยังไงตรุษจีนปีนี้ ก็ขอให้เพื่อน ๆ ได้แต๊ะเอีย ได้อั่งเปากันเต็มกระเป๋านะจ๊ะ..."ซินเจียหยู่อี้ ซินนี้ฮวดไช้ อั่งเปาตั่วตั่วไก๊"

คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: วันตรุษจีน หรือ ปีใหม่จีน
« ตอบกลับ #13 เมื่อ: มกราคม 13, 2013, 10:02:15 pm »
มาจัดเตรียมของไหว้ตรุษจีน รับวันตรุษจีน 2556 กัน
-http://health.kapook.com/view21160.html-





เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม

          "ซินเจียยู่อี่ ซินนี้ฮวดไช้" ประโยคคุ้นหูที่เรามักได้ยินในช่วง "เทศกาลตรุษจีน" วันสำคัญของพี่น้องชาวไทยเชื้อสายจีน ที่เป็นเสมือนวันขึ้นปีใหม่ของจีนนั่นเอง โดย ตรุษจีน 2556 นี้ ตรงกับวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2556 ซึ่งในวันที่ 9 กุมภาพันธ์ ก่อนวันตรุษจีน หรือวันขึ้นปีใหม่ 1 วัน มีพิธีกรรมเซ่นไหว้บรรพบุรุษผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว ด้วยอาหารคาวหวานนานับชนิด ว่าแต่ของไหว้ตรุษจีนมีอะไรบ้างล่ะ ใครกำลังอยากรู้ว่า จัดของไหว้ตรุษจีน ต้องใช้อะไรบ้าง กระปุกดอทคอม มีคำตอบมาบอกค่ะ

          สำหรับในวันตรุษจีนนั้น จะมีการเตรียมของไหว้อย่างพิถีพิถัน แบ่งเป็นเนื้อสัตว์ ผลไม้ ขนมหวาน กับข้าวคาว กับข้าวเจ อย่างละ 3 หรือ 5 ชนิด พร้อมสุรา น้ำชา ข้าวสวย และกระดาษเงินกระดาษทองประเภทต่าง ๆ โดยจะจัดเรียงตามลำดับความสำคัญตามชนิดของอาหาร ซึ่งจะมีเสียงเรียกพ้องกับเสียงของคำมงคล และผลไม้ที่ขาดไม่ได้บนโต๊ะไหว้ก็คือ ส้มมหามงคลสีทอง ที่ชาวจีนเรียกว่าส้มไต่กิก เพราะมีความหมายหมายถึงความสวัสดีมงคลอย่างยิ่ง

          ทั้งนี้ "วันไหว้" จะทำกันในวันสิ้นปี ซึ่งปกติมีการไหว้ 3-4 ชุด เริ่มจาก "ไหว้เจ้าที่" ในช่วงเช้าด้วยชุดซาแซ คือ หมู เป็ด ไก่ ที่อาจเปลี่ยนเป็นไข่ย้อมสีแดงได้ ขนมเทียน และขนมถ้วยฟู หรือขนมอื่น ๆ ผลไม้ไหว้มีส้มสีทอง องุ่น แอปเปิ้ล พร้อมกับกระดาษเงิน กระดาษทอง ต่อด้วยช่วงสาย ๆ ไม่เกินเที่ยง "ไหว้บรรพบุรุษ" เครื่องไหว้จะประกอบด้วยชุดซาแซ อาหารคาวหวาน ส่วนมากก็ทำตามที่ผู้ล่วงลับไปแล้วชอบ เต็มที่จะมี 10 อย่าง นิยมว่าต้องมี น้ำแกง เพื่ออวยพรให้ชีวิตราบรื่น และกับข้าวเลือกที่มีความหมายมงคล ส่วนขนมไหว้บรรพบุรษต่าง ๆ ก็มีความหมายมงคลเช่นกัน

          อย่างไรก็ตาม หลังจากไหว้บรรพบุรษแล้ว ช่วงเที่ยงหรือบ่ายก็จะไหว้ผีไม่มีญาติ จากนั้นก็เป็นช่วงกลางดึกของคืนวันสิ้นปีย่างเข้าตรุษจีน ที่จะมีการไหว้ไฉ่ซิงเอี๊ย หรือเทพเจ้าแห่งโชคลาภ โดยให้หันโต๊ะไหว้ไปทางทิศตะวันตก ทั้งนี้ ชาวจีนจะเตรียมจัดของไหว้เทพเจ้าแห่งโชคลาภอย่างพิถีพิถัน เพราะในช่วงเวลาที่กำลังจะเข้าวันตรุษจีน โลกกำลังหมุนไปทางทิศนี้ แล้วเมื่อย่างเข้าวันปีใหม่จีนหรือวันตรุษจีน ก็ยังนิยมไปไหว้ขอพรและอวยพรจากญาติผู้ใหญ่ โดยจะนำส้มสีทองจำนวน 4 ใบ ไปมอบให้ด้วยเสมือนนำโชคดีไปให้ เพราะเสียงไปพ้องกับคำว่าทองในภาษาจีนแต้จิ๋ว





          ทั้งนี้ สำหรับความหมายของ "ของไหว้วันตรุษจีน" ได้แก่...


  ความหมายของผลไม้ไหว้วันตรุษจีน

          - กล้วย หมายถึง กวักโชคลาภเข้ามา และขอให้มีลูกหลานเต็มบ้านเต็มเมือง

          - แอปเปิล หมายถึง ความสันติสุข สันติภาพ

          - สาลี่ หมายถึง โชคลาภมาถึง (ควรระวังไม่นิยมไหว้บรรพบุรุษและวิญญาณไร้ญาติ)

          - ส้มสีทอง หมายถึง ความสวัสดีมหามงคล

          - องุ่น หมายถึง ความเพิ่มพูน

          - สับปะรด คำจีนเรียกว่า "อั้งไล้" แปลว่า มีโชคมาหา

  ความหมายของอาหารไหว้วันตรุษจีน

          - ไก่ หมายถึง ความสง่างาม ยศ และความขยันขันแข็ง ก้าวหน้าในหน้าที่การงาน ต้องเป็นไก่เต็มตัว หมายถึง มีหัว ตัว ขา ปีก มีความหมายถึง ความสมบูรณ์

          - เป็ด หมายถึง สิ่งบริสุทธิ์ ความสะอาด ความสามารถอันหลากหลาย

          - ปลา หมายถึง เหลือกินเหลือใช้ อุดมสมบูรณ์

          - หมู หมายถึง ความอุดมสมบูรณ์ มีกินมีใช้

          - ปลาหมึก หมายถึง เหลือกิน เหลือใช้ (เหมือนปลา)

          - บะหมี่ยาวหรือหมี่ซั่ว หรือ ฉางโซ่วเมี่ยน ตามชื่อหมายถึง อายุยืนยาว

          - เม็ดบัว หมายถึง การมีบุตรชายจำนวนมาก

          - ถั่วตัด หมายถึง แท่งเงิน

          - สาหร่ายทะเลสีดำ หมายถึง ความมั่งคั่งร่ำรวย

          - หน่อไม้ หมายถึง การอวยพรให้ร่ำรวยผาสุก

          สิ่งที่ต้องหลีกเลี่ยง คือ เต้าหู้ขาว เนื่องจากสีขาว คือ สีสำหรับงานโศกเศร้า



  ความหมายของขนมไหว้วันตรุษจีน

          - ขนมเข่ง คือ ความหวานชื่น ราบรื่นในชีวิต ขนมเข่งที่ใส่ในชะลอม หมายถึง ความหวานชื่นอันสมบูรณ์

          - ขนมเทียน คือ เป็นขนมที่ปรับปรุงขึ้นจากชาวจีนโพ้นแผ่นดินดัดแปลงมาจากขนมท้องถิ่นของไทย จากขนมใส่ไส้เปลี่ยนจากแป้งข้าวเจ้าผสมกะทิมาเป็นแป้งข้าวเหนียวแทน มีความหมายหวานชื่น ราบรื่น รูปลักษณ์เป็นกรวยแหลมมีลักษณะเป็นมงคลเหมือนเจดีย์

          - ขนมไข่ คือ ความเจริญเติบโต

          - ขนมถ้วยฟู คือ ความเพิ่มพูนรุ่งเรือง เฟื่องฟู

          - ขนมสาลี่ คือ รุ่งเรือง เฟื่องฟู

          - ซาลาเปา หรือ หมั่นโถว คือ ไหว้เพื่อให้เปาไช้ แปลว่าห่อโชค โดย หมั่นโถว มีแบบที่ทำจากหัวมัน เนื้อออกสีเหลือง และแบบไม่ผสมมัน เนื้อออกสีขาว นิยมทำให้แตกเหมือนดอกไม้บาน ถ้าลูกเล็กจะแต้มจุดแดง ลูกใหญ่จะปั๊มตัวหนังสือสีแดง เขียนว่า ฮก แปลว่า โชคดี ส่วนถ้ามีไส้ เรียก "ซาลาเปา" นิยมไส้เต้าซา แป้งไม่ผสมมัน หน้าไม่แตก มีตัวหนังสือปั๊มว่า เฮง แปลว่าโชคดี

           นอกจากนี้ยังมี ซิ่วท้อ เป็นซาลาเปาพิเศษ ทำเป็นรูปลูกท้อ ไส้เต้าซา เพราะถือว่าเป็นผลไม้สวรรค์ ใช้ในงานวันเกิด ใครได้กินอายุจะยืนยาว

          - จันอับ (จั๋งอั๊บ) หมายถึง ปิ่นโต หมายถึงความหวานที่เพิ่มพูน มีความสุขตลอดไป ใช้ไหว้เจ้าได้ทุกประเภท ประกอบด้วยขนม 5 อย่าง คือ เต้ายิ้งปัง คือ ขนมถั่วตัด, มั่วปัง คือ ขนมงาตัด, ซกซา คือ ถั่วเคลือบน้ำตาล, กวยแฉะ คือ ฟักเชื่อม และโหงวจ๊งปัง คือ ขนมข้าวพอง

กระดาษเงินกระดาษทอง

          นอกจากอาหารคาวหวานแล้ว ในการไหว้ตรุษจีนนั้น จะต้องมีการเตรียมกระดาษเงินกระดาษทอง สำหรับใช้ไหว้ด้วย เพราะคนจีนเชื่อกันว่า เมื่อตายไปแล้วจะไปยังอีกภพโลกหนึ่ง เรียกว่า "อิมกัง" ลูกหลานจึงต้องส่งเงินทองด้วยการเผากระดาษเงินกระดาษทองไปให้บรรพบุรุษได้ใช้ เพื่อแสดงความกตัญญู ซึ่งกระดาษเงินกระดาษทองก็ทั้งแบบที่ใช้ไหว้เจ้า และแบบที่ใช้ไหว้บรรพบุรุษ คือ

          - กอจี๊ หรือ จี๊จุ้ย เป็นกระดาษเงินกระดาษทองชิ้นใหญ่ มีกระดาษแดงตัดเป็นลายตัวหนังสือว่า "เผ่งอัน" เป็นคำอวยพร แปลว่า โชคดี ใช้สำหรับไหว้เจ้าที่ ไหว้เทพยดาฟ้าดิน

          - กิมจั้ว หรือ งึ้งจั๊ว หมายถึงกระดาษเงินกระดาษทอง เวลาจะไหว้จะทำเป็นชุด ก่อนไหว้ลูกหลานต้องนำมาพับเป็นรูปดอกไม้ ใช้ไหว้ได้ทุกอย่าง

          - กิมเต้า หรือ งึ้งเต้า หรือถังเงินถังทอง ใช้ไหว้เจ้าที่ ไหว้เทพยดาฟ้าดิน

          -  กิมเตี๊ยว คือ แท่งทอง ใช้ไหว้บรรพบุรุษ ไหว้คนตาย

          -  ค้อซี คือ กระดาษทอง ก่อนใช้ให้พับเป็นรูปร่างก่อน เช่น พับเป็นเรือ เรียกว่า "เคี้ยวเท่าซี" เชื่อกันว่าการพับเรือ จะได้มูลค่าสูงกว่าการพับอย่างอื่น ใช้ไหว้ได้ทุกอย่าง รวมทั้งไหว้คนตาย โดยเฉพาะพิธีทำกงเต๊ก ลูกหลานต้องพับค้อซี ให้มากที่สุด

          - อิมกังจัวยี่ คือ แบงก์กงเต๊ก

          -  อ่วงแซจิ่ว ใช้เผาเป็นใบเบิกทางไปสวรรค์สำหรับผู้ตาย

          -  เพ้า คือ ชุดของเทพเจ้า คล้ายกับที่คนไทยถวายผ้าห่มพระพุทธรูป มีการทำของเจ้าหลายองค์ เช่น ชุดของเจ้าแม่กวนอิม เจ้าแม่ทับทิม พระพุทธ

          - ตั้วกิม เป็นกระดาษเงินกระดาษทองที่ญาติสนิทนำไปไหว้ผู้ตาย การเผากระดาษเงินกระดาษทองจะต้องทิ้งไว้สักพัก เพื่อให้ทุกคนได้เส้นไหว้เสร็จ ก็จะทำการ "เหี่ยม" หรือจบเหนือศีรษะ ระหว่างนี้ให้ทำการอธิษฐานขอพรไปด้วย แล้วจึงนำไปเผา เมื่อไฟมอดแล้วจึงไหว้ลา เป็นการเสร็จพิธี





          รู้แล้วว่า "ของไหว้ตรุษจีน" มีอะไรบ้าง ทีนี้เราก็ควรจะมารู้จักวิธีการคัดเลือกอาหารเหล่านี้กันด้วย เพราะหลังจากไหว้ตรุษจีนเสร็จสิ้น ของไหว้เหล่านี้ก็จะถูกนำมาปรุงเป็นอาหารให้คนในครอบครัวทานกัน

          โดยนายสง่า ดามาพงศ์ ผู้จัดการโภชนาการสมวัย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้กล่าวกับเราว่า ในช่วงเทศกาลตรุษจีน หลายบ้านจะมีการไหว้บรรพบุรุษ ด้วยอาหารคาวหวาน ผัก-ผลไม้มากมาย แต่พึงระวังไว้สักนิดว่าอาหารที่นำมาปรุงนั้น ถูกหลักโภชนาการและปลอดภัยหรือไม่ เพราะอาหารเหล่านั้นอาจมีทั้งยาฆ่าแมลง และสารเคมีอื่น ๆ ที่ปนเปื้อน ถ้าเข้าสู่ร่างกายเราคงเป็นเรื่องที่ไม่ดีเป็นแน่

          "ในการไหว้บรรพบุรุษนั้น ส่วนใหญ่ก็จะใช้ผักไม่กี่ชนิด ซึ่งเราก็มีวิธีการในเลือกผักให้ปลอดภัย โดยดูที่ใบ ต้องไม่มีคราบดินหรือคราบขาวของสารพิษกำจัดศัตรูพืช หรือเชื้อราตามใบ และผักก็ควรมีรูพรุนเป็นรอยกัดแทะของหนอนแมลงอยู่บ้างเล็กน้อย เพราะผักลักษณะเช่นนี้จะมีคุณค่าทางโภชนาการเหลืออยู่มาก และถ้าเป็นไปได้ควรเลือกซื้อผักที่ปลอดสารพิษ หรือพวกผักเกษตรอินทรีย์น่าจะดีที่สุด" อ.สง่ากล่าว

          ส่วนในขั้นตอนก่อนการปรุงนั้น เราควรล้างผักด้วยน้ำสะอาด 2- 3 ครั้ง และควรแยกผักใบและผักหัวออกจากกันเวลาล้าง โดยผักหัวควรล้างด้วยน้ำเกลือประมาณ 5-7 นาที แล้วล้างด้วยน้ำสะอาดอีกครั้ง เพื่อล้างยาฆ่าแมลงที่สะสมอยู่ด้านในออกบางส่วน เพราะความร้อนไม่สามารถล้างยาฆ่าแมลงออกได้ เมื่อเรารับประทานเข้าไป จะเกิดการสะสมและอาจก่อให้เกิดโรคมะเร็ง และอาหารเป็นพิษตามมาได้

          "ผักประเภทหัวก็เช่นกัน อย่างกะหล่ำปลีก็ควรเอาเปลือกข้างนอกออก และพยายามล้างให้ถึงแกนด้านใน เพราะยาฆ่าแมลงจะตกค้างอยู่ภายใน รวมถึงแตงกวา ถั่ว ก็ควรแช่น้ำเกลือ หรือไม่ก็ใช้ด่างทับทิมล้างก่อน แล้วจึงล้างด้วยน้ำสะอาดอีกรอบ ที่สำคัญผักทุกชนิดเราควรล้างก่อนที่จะนำมาหั่น เพื่อไม่ใช้น้ำชะล้างคุณค่าทางโภชนาการออกหมด"

          ในส่วนของวิธีการปรุงนั้น ผักทุกชนิดเราไม่ควรต้มจนเละ เพราะนั่นจะทำให้ผักที่เรารับประทานเข้าไปมีคุณค่าทางโภชนาการน้อย รับประทานสด ๆ น่าจะดีที่สุด

          ผลไม้ก็เช่นกัน ควรเลือกร้านที่เราไว้ใจได้ ผลมันต้องสด ๆ และเลือกผลที่ไม่ช้ำ บางรายคัดแต่ลูกใหญ่ ๆ เพราะคิดว่าจะได้คุณค่าทางโชนาการมากกว่าลูกเล็ก ๆ ซึ่งความเป็นจริงแล้วก็ได้คุณค่าในปริมาณที่เท่ากันทั้งหมด

          "ผลไม้ที่ประชาชนใช้ไหว้บรรพบุรุษนั้น ส่วนใหญ่จะเป็นส้ม แก้วมังกร แอปเปิ้ล หรือส้มโอ ซึ่งก็ควรเลือกแบบสด ๆ ผลไม่มีรอยช้ำ และควรล้างก่อนรับประทาน เพราะยาฆ่าแมลงมักจะสะสมอยู่บริเวณผิวเปลือก เมื่อเราใช้มือแกะส้ม ยาฆ่าแมลงนั่นก็จะมาติดที่มือเรา และเราก็หยิบเข้าปากรับประทาน ซึ่งนั่นอันตรายมาก" อ.สง่า กล่าว

          ทีนี้มาถึงคราวของคาวอย่างการเลือกเนื้อสัตว์ เช่น เนื้อไก่ เราควรเลือกที่เนื้อไม่ซีด ไม่เหี่ยว เปลือกตาสด เนื้อต้องไม่มีรอยเลือดที่แห้งกรัง กลิ่นต้องไม่เหม็นเน่า เนื้อหมู ก็ต้องสีแดงสด แต่พึงระวัง เพราะปัจจุบันพ่อค้าแม่ค้ามักใช้ไฟสีแดงในการหลอกผู้บริโภคว่า หมูนั้นเนื้อแดง อีกทั้งเราควรเลือกร้านที่เราไว้ใจได้และซื้อประจำ เพราะจากการออกสำรวจของกระทรวงสาธารณสุข ยังคงพบร้านที่ใช้สารเร่งเนื้อ แดงอยู่จำนวนมาก และใช้นิ้วกดเนื้อหมูลงไป ถ้าเนื้อหมูบุ๋มลงไปโดยไม่กลับคืนมา แสดงว่าเนื้อหมูนั้นเก่าไม่ควรซื้อ ที่สำคัญอย่าเลือกหมูที่ติดมันมากนักเพราะการบริโภคมันหมูมาก ๆ ไม่เป็นผลดีอย่างแน่นอน

          "ในส่วนของการปรุงเนื้อสัตว์ทุกชนิดให้เน้นที่ปรุงให้สุกไว้ก่อน ถ้าจำเป็นต้องมีหมู 3 ชั้นในการประกอบอาหารก็ควรเจียวมันให้ออกไปบ้าง เพราะหากบริโภคมาก ๆ จะส่งผลให้แคลอรี่ในร่างกายเพิ่มก่อให้เกิดภาวะความดันโลหิตสูงได้" อ.สง่า บอก

          นอกจากนี้ ในระหว่างที่ประกอบพิธีไหว้บรรพบุรุษนั้น บางบ้านก็ปล่อยของไหว้ทิ้งไว้โดยไม่มีอะไรปิดให้มิดชิด หรือวางกับพื้น ทำให้มีแมลงวันตัวพาหะนำเชื้อโรคมาตอม และเราก็นำมารับประทานกันโดยไม่รู้ จึงอยากขอเตือนให้มีการอุ่นหรือปรุงใหม่ก่อนนำมารับประทาน เพราะนั่นเสี่ยงต่อโรคทางเดินอาหาร และโรคอุจจาระร่วงได้เช่นกัน

          อ.สง่า ทิ้งท้ายไว้ว่า อาหารที่ใช้ไหว้บรรพบุรุษส่วนใหญ่จะเป็นแบบผัด ๆ ทอด ๆ ก่อนรับประทานจงพึงระวังสักนิด เพราะอาจทำให้คุณเข้าสู่ภาวะโรคอ้วนได้ ทางที่ดีควรหันมารับประทานอาหารประเภทต้มน่าจะดีกว่า เช่น ต้มจับฉ่าย เป็นต้น อีกทั้งอาหารที่ใช้ไหว้ส่วนใหญ่ จะเน้นไปในทางรสชาติเค็มเราก็ควรหลีกเลี่ยง เพราะรสเค็มจะทำให้เลือดข้น ก่อให้เกิดภาวะความดันโลหิตสูง ซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพเราได้ทั้งสิ้น...

          ถึงแม้เทศกาลตรุษจีนจะเป็นเพียงช่วงเวลาสั้น ๆ แต่เราก็ควรจะใส่ใจสุขภาพของตนเองอยู่ทุกเวลา เพราะการมีสุขภาพดีไม่มีขาย ถ้าอยากได้เราต้องทำเอง...

ขอขอบคุณข้อมูลจาก-http://www.thaihealth.or.th/healthcontent/special_report/20405-


คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: วันตรุษจีน หรือ ปีใหม่จีน
« ตอบกลับ #14 เมื่อ: มกราคม 13, 2013, 10:05:34 pm »
ย้ำเตือนโทษ...ของผงชูรส
-http://health.kapook.com/view26815.html-

ย้ำเตือนโทษ...ของผงชูรส (Woman's Story)

          เชื่อว่าส่วนใหญ่แล้วในห้องครัวเกือบทุกบ้านต้องมี "ผงชูรส" เป็นหนึ่งเครื่องปรุงรสที่อยู่ในครัวอย่างแน่นอน ที่มาของผงชูรสนั้น มาจากประเทศญี่ปุ่น โดยศาสตราจารย์ ดร.คิคุนาเอะ อิเคดะ ค้นพบว่าผลึกสีน้ำตาลที่สกัดจากสาหร่ายทะเลที่ชื่อว่าคอมบุ นั่นก็คือ กรดกลูตามิก อีกทั้งเป็นอาหารประเทศญี่ปุ่นอีกด้วย

          แต่หากรับประทาน "ผงชูรส" มากเกินไป ก็ส่งผลเสียต่อสุขภาพได้ เพราะ "ผงชูรส" จะไปทำลายสมองส่วนที่ควบคุมการเจริญเติบโต นอกจากนั้นยังไปทำลายระบบสืบพันธุ์ ระบบประสาทตา และอาจจะเป็นต้นเหตุของโรคมะเร็งได้ โดยเฉพาะผู้หญิงที่กำลังตั้งครรภ์ ไม่ควรจะรับประทาน เพราะหากรับประทานมากเกินไป ผงชูรสจะผ่านเยื่อที่กั้นระหว่างรก ทำให้ทารกในครรภ์จะได้รับผลโดยตรง

          นอกจากนี้บางคนอาจจะมีอาการแพ้ผงชูรสอีกด้วย ผู้ที่แพ้ผงชูรสนั้นจะมีอาการชา ร้อนวูบที่ปากและลิ้น มีผื่นขึ้นตามร่างกาย แน่นหน้าอก หรืออาจจะมีอาการหายใจไม่สะดวก เพราะฉะนั้นควรหลีกเลี่ยงอาหารที่ใส่ผงชูรส หรือไม่ควรรับประทานเกินวันละ 2 ช้อนชาต่อวัน และควรใช้ผงชูรสแท้ที่มีตรา อย. อีกด้วย เพื่อสุขภาพที่ดีของคุณเองค่ะ


ขอขอบคุณข้อมูลจาก Woman's Story
-http://www.womanstoryonline.com/-

คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: วันตรุษจีน หรือ ปีใหม่จีน
« ตอบกลับ #15 เมื่อ: มกราคม 13, 2013, 10:07:21 pm »
ควันธูปภัยใกล้ตัว
-http://health.kapook.com/view19292.html-


ควันธูปภัยใกล้ตัว (สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค)

          ธูปทำมาจากขี้เลื่อย กาว น้ำมันหอมสกัดจากพืช ใบไม้ เปลือกไม้ รากไม้ เมล็ดพืช เรซิน และสารเคมีที่ใช้ในอุตสาหกรรมน้ำหอมพอกอยู่บนก้านไม้

          ธูปมีหลายรูปแบบ หลายขนาด ตั้งแต่เล็กถึงใหญ่มาก ๆ สามารถเผาไหม้หมดได้ในเวลา 20 นาที ถึง 3 วัน 3 คืนก็มี คาดว่า มีคนจุดธูปทั่วโลกปีหนึ่ง ๆ เป็นหมื่นถึงแสนตัน

          การเผาไหม้ของธูปจะปล่อยสารต่าง ๆ มากมาย มีทั้งฝุ่นละอองขนาดเล็ก ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ คาร์บอนมอนอกไซด์ ไนโตรเจนออกไซด์ มีเทน และสารก่อมะเร็งหลายชนิด เช่น สาร PAH ซึ่งพบว่า มีความสัมพันธ์กับมะเร็งปอด ผิวหนัง และกระเพาะปัสสาวะ , สารเบนซีน สัมพันธ์กับมะเร็งเม็ดเลือดขาว และสาร 1,3-บิวทาไดอีน สัมพันธ์กับมะเร็งของระบบเลือด

          นอกจากควันธูปเป็นมลพิษทางอากาศที่สำคัญในบ้าน อาคาร สถานที่ทำงาน วัด และศาลเจ้าที่มีการจุดธูปแล้ว การจุดธูปยังถือเป็นอีกหนึ่งพฤติกรรมในกิจวัตรประจำวันของมนุษย์ ที่ส่งผลให้เกิดภาวะโลกร้อนด้วย

          การจุดธูปเป็นวัฒนธรรมที่มีรากฐานจากความเชื่อที่มีมาแต่โบราณสืบทอดต่อ ๆ กันมาว่า ทำให้สิ่งที่เราสักการะรับทราบถึงการกระทำของเรา การจุดธูปนั้นก่อให้เกิดความสุขทางจิตใจ แต่สิ่งที่เราคาดไม่ถึงคือ การส่งผลให้เกิดภาวะโลกร้อน และอาจทำให้เกิดโรคมะเร็ง



 เราควรจะปรับเปลี่ยนความเชื่อและพฤติกรรมนี้ใหม่ โดยหันมาคำนึงถึงการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมและตัวเรา ด้วยการรณรงค์ให้ทั่วโลกลดการจุดธูปโดยเริ่มจากคนไทยก่อน


ทางเลือกใหม่...ใส่ใจสุขภาพ

          1.ใช้ธูปที่มีขนาดสั้นลง หรือเป็นแบบชนิดไฟฟ้า

          2.หากจำเป็นต้องจุดธูป ควรตั้งกระถางธูปไว้ภายนอกอาคารที่อากาศถ่ายเทสะดวก

          3.จุดธูปแล้วรีบดับ โดยจุ่มลงในน้ำหรือทราย

          4.อาจสักการะได้โดยการพนมมือ หรือถือธูปไว้ แต่ไม่จุด แล้วระลึกถึงสิ่งที่เราจะสักการะ

          5.การไหว้พระออนไลน์ ซึ่งเราสามารถจุดธูปเทียน ถวายดอกไม้ ปิดทองพระ ท่องบทสวด ภาวนาจิตผ่านทางคอมพิวเตอร์ได้

          หากทุกคนช่วยกันปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เราก็เป็นคนหนึ่งที่จะมีส่วนช่วยในการลดการปลดปล่อยมลพิษ และก๊าซเรือนกระจก ลดภาวะวิกฤติโลกร้อน และยังช่วยลดอุบัติการณ์การเกิดมะเร็งลงได้

ขอขอบคุณข้อมูลจาก
สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค
-http://thaincd.com/index.html-

.

คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: วันตรุษจีน หรือ ปีใหม่จีน
« ตอบกลับ #16 เมื่อ: มกราคม 13, 2013, 10:12:05 pm »
อาหารที่มีไขมัน...ตัวร้ายจริงหรือ
-http://health.kapook.com/view31303.html-



อาหารที่มีไขมัน...ตัวร้ายจริงหรือ (สุขกายสบายใจ)

          รอบ ๆ ตัวเรามีอาหารจำพวกไขมันสารพัดชนิด ทั้งไขมันจากสัตว์ และไขมันจากพืช ยิ่งภาวะที่เร่งรีบในแต่ละวัน ทำให้เราไม่มีเวลามาจำกัดในเรื่องของอาหารการกินมากนัก ฉะนั้นเราจึงหลีกเลี่ยงอาหารประเภทไขมันได้น้อยมาก

          เพราะน้ำมันบริโภคจะใช้ในการปรุงอาหารผัด ๆ ทอด ๆ สารพัดหลากหลายเมนู สำหรับคนที่ต้องการงดอาหารไขมัน เพียงเพราะกลัวความอ้วนนั้นก็เป็นเรื่องน่าห่วงสำหรับสุขภาพ เพราะร่างกายยังต้องการพลังงานเพื่อใช้ในกิจกรรมต่าง ๆ ที่สำคัญช่วยในการดูดซึมวิตามิน A, D, E, K ซึ่งละลายในไขมัน ฉะนั้นเราจึงควรเลือกทานอาหารที่มีไขมันดีต่อสุขภาพมาบริโภค

Good Fat



   ถั่วเหลือง ถั่วเหลืองประกอบไปด้วย กรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยวและเชิงซ้อน ซึ่งเป็นไขมันดีที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย นอกจากนี้ยังอุดมไปด้วยวิตามินอี โปรตีนและกรดไลโนเลอิก ซึ่งในแต่ละวันเรารับประทานอาหารประเภทถั่วเหลืองเพื่อสุขภาพที่ดี เช่น น้ำมันถั่วเหลือง น้ำเต้าหู้ โปรตีนเกษตร เป็นต้น



ปลาแซลมอน ปลาแซลมอนจัดว่าเป็นปลาทะเลที่มีโอเมกา-3 สูงกว่าปลาชนิดอื่น ๆ ซึ่งโอเมกา-3 นี้ประกอบไปด้วยกรด EPA และ DHA ซึ่งจำเป็นต่อร่างกาย และให้คุณค่าทางโปรตีนสูง


หัวหอมใหญ่

          หัวหอมใหญ่ ในหอมหัวใหญ่ 100 กรัม ให้พลังงาน 38 กิโลแคลอรี และมีไขมันดีอยู่มาก ซึ่งมีสรรพคุณช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ปรับความดันโลหิต และช่วยลดโคเลสเตอรอล


Bad Fat


แฮมเบอร์เกอร์

          แฮมเบอร์เกอร์ แฮมเบอร์เกอร์มักเต็มไปด้วยเนื้อที่เราลืมตรวจสอบแคลอรีและปริมาณไขมัน โดยทั่วไปจะเต็มไปด้วยไขมันอิ่มตัวและไขมันทรานส์ในปริมาณสูง สาวกคนรักสุขภาพทั้งหลายควรหลีกเลี่ยง



พิซซ่า


          พิซซ่า พิซซ่าจัดเป็นจังก์ฟู้ดส์ที่มีรสชาติอร่อย ประกอบไปด้วยแป้งขาว ชีส เนยแข็งที่เป็นผลิตภัณฑ์นมไขมันอิ่มตัวสูง ซึ่งทราบหรือไม่ว่าพิซซ่าขนาดกลางเพียง 1 ชิ้น (150 กรัม) ให้พลังงานถึง 350-500 กิโลแคลอรี



คุกกี้


          คุกกี้ คุกกี้เป็นขนมที่หลายคนชื่นชอบ แต่ต้องระวังอย่าเผลอทานมากเกินไป เพราะเป็นขนมที่มีน้ำตาลสูง ส่วนใหญ่ทำจากบัตเตอร์ เนยแข็งหรือเนยเทียม ซึ่งเป็นไขมันอิ่มตัวและโคเลสเตอรอลสูง



กาแฟเย็น

          กาแฟเย็น กาแฟเย็นที่ไม่ใช่กาแฟเอสเพรสโซ มักจะอุดมไปด้วยไขมันจากนมสดและครีมเทียมที่มีปริมาณไขมันอิ่มตัวสูง หากรับประทานมากเกินไปอาจทำให้ระดับคอเลสเตอรอลในเส้นเลือดสูงขึ้นอย่างไม่รู้ตัว

          การกินไขมันนั้น กินมากไปก็อ้วน กินน้อยไปร่างกายก็ขาดพลังงาน ฉะนั้นควรเลือกบริโภคแต่พอดี เพื่อสุขภาพที่ดีจะได้อยู่กับเราไปนาน ๆ


ขอขอบคุณข้อมูลจาก-http://www.happynow.in.th/-
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: วันตรุษจีน หรือ ปีใหม่จีน
« ตอบกลับ #17 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 09, 2013, 06:52:18 am »
รู้จักประเพณีในเทศกาลตรุษจีน
-http://www.manager.co.th/China/ViewNews.aspx?NewsID=9560000016674-
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์    
8 กุมภาพันธ์ 2556 19:29 น.



astvผู้จัดการออนไลน์--เทศกาลต้อนรับฤดูใบไม้ผลิ ที่เรียกว่า ชุนเจี๋ย (春节) หรือ ตรุษจีน ถือเป็นประเพณีเฉลิมฉลองวันขึ้นปีใหม่ที่ยิ่งใหญ่ของชนชาวฮั่น และยังถือเป็นการเริ่มต้นฤดูเพาะปลูกด้วย โดยกำหนดให้วันที่ 1 เดือน 1 ตามปฏิทินจันทรคติเป็นวันเริ่มต้นปีใหม่ ในอดีตช่วงเวลาแห่งการเฉลิมฉลอง จะเริ่มตั้งแต่พิธีเซ่นไหว้เทพเจ้าเตาไฟในวันที่ 23 หรือ 24 ของปีเก่า จนถึงเทศกาลหยวนเซียวหรือเทศกาลโคม (แรม 15 ค่ำเดือนอ้าย) โดยแต่ละช่วงจะมีพิธีกรรมธรรมเนียมปฏิบัติที่แตกต่างกัน บางส่วนยังคงสืบทอดกันมาถึงยุคปัจจุบัน ขณะที่บางส่วนได้เลือนหายไป หรือแปรเปลี่ยนไปตามกาลเวลา
       
       คลิกอ่าน "มาฉลองตรุษจีนกันเถอะ" คำ 'เทศกาลฤดูใบไม้ผลิ' เริ่มใช้แต่ใดมา


ตัวอักษร ฝูกลับหัว (福倒) โชคความสุขได้มาถึงบ้านแล้ว

       ติด “ฝูกลับหัว” (福倒) โชคมงคลได้มาถึงบ้านแล้ว
       ระหว่างเทศกาลตรุษจีน ชาวจีนนอกจากนิยมตกแต่งบ้านเรือนด้วยกระดาษแดง ภาพวาด และภาพกระดาษตัดสีสันสดใส สร้างบรรยากาศของความสนุกสนานรื่นเริง และเพื่อเป็นการต้อนรับความสุขและขอโชคขอพร ก็ยังนำอักษรมงคล เช่นตัว ‘福’ (ฝู) หรือตัว 春 (ชุน) มาติดที่บานประตูหน้าบ้าน ตามกำแพง หรือบริเวณเหนือกรอบบนของประตู
       
       การติดอักษรมงคลที่แพร่หลายที่สุด คือ 福 เป็นประเพณีมีมาตั้งแต่ก่อนสมัยซ่ง และมักติดกลับหัวซึ่งในภาาษจีนกลางเรียก 福倒 (ฝูเต้า)ที่มีความหมายว่า สิริมงคลหรือโชคดีได้มาถึงบ้านแล้ว
       
       เรื่องการกลับหัวตัวอักษรนี้มีเหตุที่มาเมื่อครั้งอดีตกาล ซึ่งเล่าสืบกันมาในหมู่สามัญชนว่า
       
       “สมัยจักรพรรดิหมิงไท่จู่จูหยวนจางแห่งราชวงศ์หมิง ได้ใช้อักษร‘ฝู’เป็นเครื่องหมายลับในการสังหารคน หม่าฮองเฮาทราบเรื่องจึงคิดอุบายเพื่อหลีกเลี่ยงภัยดังกล่าวไม่ให้เกิดแก่ราษฎร ด้วยมีพระราชเสาวนีย์ให้ทุกบ้านติดตัวฝูที่หน้าประตูเพื่อลวงให้ฮ่องเต้สับสน
       
       “รุ่งขึ้นชาวเมืองต่างนำตัวอักษรฝูมาติดที่หน้าประตูตามนั้น ทว่ามีบ้านหนึ่งไม่รู้หนังสือจึงติดตัวฝูกลับหัวด้วยความไม่ตั้งใจ เมื่อฮ่องเต้ทอดพระเนตรเห็นเข้าก็ทรงกริ้ว รับสั่งให้ประหารคนในบ้านทั้งหมด หม่าฮองเฮาเห็นท่าไม่ดีจึงรีบทูลยับยั้งไว้ว่า ‘บ้านนี้ทราบว่าพระองค์จะเสด็จมา จึงตั้งใจติดตัวฝูกลับหัว ( 福倒-ฝูเต้า) เพื่อแสดงความปิติยินดีต่อการเสด็จเยือนของพระองค์ ราวกับว่าความสุขสวัสดีและโชคลาภได้มาถึงที่บ้าน’ ได้ยินดังนี้แล้วจูหยวนจางจึงไว้ชีวิตชาวบ้านผู้นั้น การติดตัวฝูกลับหัวสืบต่อมานอกจากเพื่อขอโชคสิริมงคลตามความหมายของตัวอักษรแล้ว ยังเป็นการระลึกถึงคุณความดีของหม่าฮองเฮาในเหตุการณ์ครั้งนั้นด้วย”


       เชิญเทพผู้พิทักษ์ประตู
       ในวันส่งท้ายปีเก่าหรือที่เรียกว่า ฉูซี (除夕) ชาวจีนมีธรรมเนียมในการติด ‘เหมินเสิน (门神)’ หรือ ภาพเทพเจ้าผู้คุ้มครองประตู
       
       ‘เหมินเสิน’ มีประวัติความเป็นมาค่อนข้างยาวนาน ในอดีตกาลจะถือตัวประตูเป็นเทพเจ้าโดยตรง จนกระทั่งหลังสมัยราชวงศ์ฮั่น (202 B.C.- ค.ศ.220) จึงได้ปรากฏการใช้ภาพคนมาเป็นตัวแทนเทพเจ้า แรกเริ่มเดิมทีใช้ภาพนักรบผู้กล้านามว่า ‘เฉิงชิ่ง (成庆)’ ต่อมาเปลี่ยนเป็นภาพวาดของ ‘จิงเคอ (荆轲)’ จอมยุทธ์ชื่อดังสมัยจ้านกั๋ว (475 - 221 B.C.)
       
       ‘เหมินเสิน’ ในราชวงศ์ใต้และเหนือ (ค.ศ.420 - 589) จะเป็นภาพคู่เทพเจ้าสองพี่น้อง ‘เสินถู (神荼)’ ‘ยูไล (郁垒)’ ตลอดจนสองขุนพลเอกในสมัยราชวงศ์ถัง (ค.ศ.618 - 907) ที่มีชื่อว่า ‘ฉินซูเป่า (秦叔宝) และอี้ว์ฉือจิ้งเต๋อ (尉迟敬德)’แต่ต่อมากษัตริย์ถังไท่จงหลี่ซื่อหมินรู้สึกเห็นใจว่าสองขุนพลจะลำบากเกินไป จึงได้สั่งให้จิตรกรหลวงวาดภาพสองขุนพลขึ้นมา แล้วใช้ติดไว้ที่ประตูทั้งสองข้างแทน จึงได้กลายเป็นภาพ ‘เหมินเสิน’ ในเวลาต่อมาเมื่อถึงยุค 5 ราชวงศ์ (ค.ศ.907-960) ได้เริ่มนำภาพของ จงขุย (钟馗) เทพผู้ปราบภูตผีปีศาจ มาติดเพื่อเป็นสิริมงคลด้วย
       
       หลังราชวงศ์ซ่ง (ค.ศ.960 - 1127) ‘เหมินเสิน’ ยังมีรูปแบบเหมือนก่อนหน้านั้น แต่เพิ่มการประดับตกแต่งบ้านเรือนให้สวยงามขึ้น ในห้องรับแขกและห้องนอนจะมีการติดภาพเทพเจ้า 3 องค์ (三星) ที่เราคุ้นหูกันดีว่า ‘ฮก ลก ซิ่ว (福 - 禄 - 寿)’ นอกจากนั้น ยังมีภาพชุมนุมเทพเจ้า (万神图) ตามอย่างลัทธิเต๋า และภาพพระพุทธเจ้า 3 ปาง ซันเป่าฝอ (三宝佛) ฯลฯ ด้วย
       
       ว่ากันว่า การติดภาพ ‘เหมินเสิน’ ก็เพื่อป้องกันขับไล่สิ่งชั่วร้าย หรือเป็นเสมือนเทพผู้คอยปกปักษ์รักษานั่นเอง


สัตว์ประหลาดในคติปรัมปราจีน ที่มาทำร้านผู้คนในคืนส่งท้ายปีเก่า
       คืนส่งท้ายปีเก่า
       ชาวจีนมีตำนานเล่าขานเกี่ยวกับ “ฉูซีเยี่ย (除夕夜)” หรือ คืนส่งท้ายปีเก่าว่า ในยุคโบราณสมัยที่เกิดอุทกภัยครั้งใหญ่ มีสัตว์ประหลาดที่ดุร้ายมากตัวหนึ่ง ชื่อว่า “เหนียน (年)” ทุกปีในคืนวันส่งท้ายปี จะขึ้นจากทะเลมาอาละวาดทำร้ายผู้คนและทำลายเรือกสวนไร่นา ในวันนั้นของทุกปีชาวบ้านจึงมักจะหลบกันอยู่แต่ในบ้านตั้งแต่ฟ้ายังไม่มืด ปิดประตูหน้าต่างแน่นหนา และไม่หลับไม่นอนเพื่อเฝ้าระวัง รอจนถึงเช้าวันรุ่งขึ้นจึงเปิดประตูออกมา และกล่าวคำยินดีแก่เพื่อนบ้านที่โชคดีไม่ถูก “เหนียน” ทำร้าย
       
       ในคืนส่งท้ายปีของปีหนึ่ง “เหนียน” ได้เข้าไปอาละวาดในหมู่บ้านแห่งหนึ่ง กินชาวบ้านจนเรียบ ยกเว้นคู่บ่าวสาวที่เพิ่งแต่งงาน เนื่องจากสวมชุดสีแดงจึงปลอดภัย และเด็กคนหนึ่งที่กำลังเล่นประทัดอยู่กลางถนน ซึ่งเสียงดังจนทำให้ “เหนียน” ตกใจกลัวหนีไป ชาวบ้านจึงรู้จุดอ่อนของ “เหนียน”
       
       ดังนั้น เมื่อถึงคืนส่งท้ายปีเก่า ชาวบ้านจึงพากันสวมใส่เสื้อผ้าสีแดง นำสิ่งของที่มีสีแดงมาประดับตกแต่งบ้านเรือน และจุดประทัด ทำให้ “เหนียน” สัตว์ประหลาดตัวร้ายไม่กล้าออกมาอาละวาดอีก ชาวบ้านจึงอยู่กันอย่างสงบสุข จากนั้นมาจึงมีธรรมเนียมปฏิบัติ ในคืนส่งท้ายปีจะไม่ยอมนอนเพื่อ “เฝ้าปี” หรือเรียกในภาษาจีนว่า โส่วซุ่ย(守岁) เฝ้าดูปีเก่าล่วงไปจนวันใหม่ย่างเข้ามา
       
       ในคืน “เฝ้าปี” สมาชิกในบ้านมีกิจกรรมร่วมกันมากมาย ทั้งด้านการกินและดื่ม ไม่ว่าจะเป็นอาหารทั่วไป เกี๊ยว เหนียนเกา (ขนมเข่ง) เหล้า เบียร์ เมล็ดแตง ของว่าง การเล่นเกม ซึ่งส่วนใหญ่ก็เล่นกันในห้องรับแขก เช่นผู้ใหญ่ก็เล่นหมากล้อม หมากฮอร์ส ไพ่กระดาษ ไพ่นกกระจอก ส่วนเด็กๆ ก็มีเกมแบบเด็กๆ เช่น ขี่ม้าไม้ไผ่ วิ่งไล่จับ ซ่อนแอบ
       
       กระทั่งใกล้เวลาเที่ยงคืน ผู้อาวุโสในบ้านก็จะเริ่มตั้งโต๊ะเพื่อจัดเรียงธูปเทียนไหว้บรรพบุรุษ และต้อนรับเทพแห่งโชคลาภ นอกจากนั้นก็ยังมีการจุดประทัด จุดโคมไฟ ซึ่งเมื่อใกล้เวลาเที่ยงคืนเท่าไหร่ เสียงประทัดก็ยิ่งดังมากขึ้นเท่านั้น กระทั่งรุ่งอรุณแรกของปี ก็จะสวัสดีปีใหม่กัน กินเกี๊ยว เพื่อความเป็นสิริมงคล

คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: วันตรุษจีน หรือ ปีใหม่จีน
« ตอบกลับ #18 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 09, 2013, 06:52:49 am »
รู้จักประเพณีในเทศกาลตรุษจีน
-http://www.manager.co.th/China/ViewNews.aspx?NewsID=9560000016674-
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์    
8 กุมภาพันธ์ 2556 19:29 น.


       เซ่นไหว้บรรพบุรุษ
       ประเพณีการเซ่นไหว้บูชาบรรพบุรุษในช่วงเทศกาลตรุษจีน ถือกำเนิดขึ้นจากรากฐานแห่งคุณธรรมความกตัญญูกตเวที ที่ชาวจีนยึดมั่นและให้ความสำคัญยิ่ง
       
       ตามประเพณีแบบดั้งเดิม แต่ละบ้านจะนำบันทึกลำดับวงศ์ตระกูลหรือที่เรียกว่า ‘เจียพู่’ ( 家谱) หรือรูปภาพของบรรพบุรุษหรือแผ่นป้ายที่สลักชื่อบรรพบุรุษ เป็นต้น มาวางไว้ที่โต๊ะเซ่นไหว้ ที่มีกระถางธูปและอาหารเซ่นไหว้
       
       ในประเทศจีน บางแห่งจะทำพิธีสักการะเทพเจ้าแห่งโชคลาภหรือไฉเสิน (财神) หรือที่ไฉ่สิ่งเอี๊ย ในภาษาแต้จิ๋ว พร้อมๆกับเซ่นไหว้บรรพบุรุษ โดยอาหารที่นำมาใช้ถวายเทพเจ้าแห่งโชคลาภ ตามความนิยมของชาวจีนทางเหนือ โดยมากประกอบด้วย เนื้อแพะ อาหารคาว 5 อย่าง ของหวาน 5 อย่าง ข้าว 5 ชาม ขนมที่ทำจากแป้งสาลีไส้พุทรา 2 ลูก ( คล้ายกับขนมถ้วยฟูในบ้านเรา) และหมั่นโถวขนาดใหญ่ 1 ลูก
       
       แท้จริงแล้วการสักการะบูชาเทพเจ้าและไหว้บรรพบุรุษนั้น ก็คือการกล่าวอวยพรปีใหม่กับเทพและบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้วนั่นเอง ขณะเดียวกันก็เพื่อให้ลูกหลานได้รำลึกถึงบรรพชน หลังจากทำพิธีไหว้เทพเจ้าและบรรพบุรุษแล้ว ลูกหลานจะช่วยกันเผากระดาษเงิน กระดาษทอง
       
       สำหรับช่วงเวลาในการประกอบพิธีเซ่นไหว้บรรพบุรุษนั้น จะแตกต่างกันออกไป กล่าวคือบางบ้านจะเซ่นไหว้ก่อนการรับประทาน ‘เหนียนเย่ฟั่น’ หรืออาหารมื้อแรกของปีใหม่ ขณะที่บางบ้านนิยมเซ่นไหว้ก่อนหรือหลังคืนส่งท้ายปีเก่าหรือ ที่เรียกว่า ‘ฉุ่เย่’ บางบ้านก็นิยมประกอบพิธีในช่วงเช้าของในวันที่ 1 เดือน 1 หรือ ชูอี ( 初一)


มื้อส่งท้ายปีเก่า
       มื้อส่งท้ายปีเก่า
       ‘เหนียนเยี่ยฟ่าน (年夜饭)’ หมายถึงอาหารค่ำของคืนส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ ซึ่งเป็นกิจกรรมสำคัญก่อนขึ้นปีใหม่ ที่ชาวจีนให้ความสำคัญอย่างยิ่ง โดยมักไหว้บรรพบุรุษ และจุดประทัดกันก่อนที่จะลงมือรับประทานอาหารมื้อพิเศษนี้
       
       ‘เหนียนเยี่ยฟ่าน’ มีความพิเศษ ตรงที่เป็นมื้อใหญ่ที่สมาชิกในครอบครัวทุกรุ่นทุกวัยและทุกเพศจะพร้อมหน้าพร้อมตาล้อมวงร่วมรับประทานอาหารกัน สมาชิกที่แยกไปอยู่ที่อื่นจะพยายามกลับมาให้ทันวันส่งท้ายปี แต่หากกลับมาไม่ได้จริงๆ ครอบครัวจะเว้นที่ว่างพร้อมวางชามและตะเกียบไว้เสมือนหนึ่งว่ามากันครบ หลังจากทาน ‘เหนียนเยี่ยฟ่าน’ เสร็จแล้ว ผู้ใหญ่จะให้ ‘ยาซุ่ยเฉียน (压岁钱)’ หรือที่คนไทยเรียกกันว่า ‘อั่งเปา’ แก่เด็กๆ
       
       ความพิเศษของ ‘เหนียนเยี่ยฟ่าน’ ยังอยู่ที่อาหารหลากหลาย ให้สมาชิกที่เหน็ดเหนื่อยจากการทำงานมาทั้งปี ได้ผ่อนคลายร่วมทานอาหารอย่างมีความสุขอยู่กับครอบครัวในคืนสุดท้ายของปี
       
       ขณะที่ชื่อของอาหารที่นำมาตั้งโต๊ะยังแฝงไว้ด้วยความหมายที่เป็นสิริมงคล จานบังคับที่ทุกโต๊ะต้องมีคือ ‘จี’ (鸡 ไก่) และ ‘อี๋ว์’(鱼 ปลา) แทนความหมาย ‘จี๋เสียงหยูอี้ (吉祥如意 เป็นสิริมงคลสมดังปรารถนา)’ และ ‘เหนียนเหนียนโหยวอี๋ว์ (年年有余 มีเงินทองเหลือใช้ทุกปี)’


กิน “เกี๊ยวข้ามปี” โชคดีตลอดไป
       กิน “เกี๊ยวข้ามปี” โชคดีตลอดไป
       ประเพณีการกินเจี่ยวจือ 饺子หรือเกี๊ยวต้มจีนในวันตรุษจีนเริ่มเป็นที่นิยมกันมาตั้งแต่ในสมัยราชวงศ์หมิง(ค.ศ.1368-1644) โดยคนในครอบครัวจะต้องห่อเจี่ยวจือให้เสร็จก่อนเที่ยงคืนของวันสิ้นปี รอจนยามที่เรียกว่า 子时 -จื่อสือ ซึ่งเป็นเวลาประมาณ 23 - 1 นาฬิกาของวันถัดมาก็จะเริ่มรับประทานกัน และเป็นเวลาเริ่มต้นวันใหม่ของปีใหม่พอดี การทานเจี่ยวจือจึงมีความหมายว่า ‘เปลี่ยนปีเชื่อมเวลา更岁交子'เพราะคำเรียกอาหารชนิดนี้饺-เจี่ยวก็ออกเสียงคล้าย交-เจียวซึ่งมีความหมายว่าเชื่อมต่อกัน และ子-จื่อก็คือ子时 -จื่อสือนั่นเอง
       
       นอกจากนั้น การรับประทานอาหารชนิดนี้ยังมีความหมายสำคัญของการรวมตัวของคนในครอบครัวอีกด้วย เมื่อแป้งที่ห่อไส้เรียกว่า和面-เหอเมี่ยน คำว่า 和พ้องเสียงกับคำว่า 合 -เหอ ที่แปลว่าร่วมกัน และ饺 - เจี่ยวก็ออกเสียงคล้ายกับคำว่า 交 ที่มีอีกความหมายว่า มีความสัมพันธ์ต่อกันด้วย
       
       การที่เกี๊ยวเป็นอาหารสำคัญที่ไม่อาจขาดได้ในวันตรุษจีน ยังมีเหตุผลมาจากรูปลักษณ์ของเจี่ยวจือ ที่เป็นรูปทรงคล้ายเงินในสมัยโบราณ การรับประทานเจี่ยวจือ จึงเหมือนการนำเงินทองเข้ามาสู่ตัว
       
       นอกจากนั้น ไส้ในเจี่ยวจือก็ยังสะดวกต่อการบรรจุสิ่งที่เป็นมงคลลงไปให้เป็นความหวังต่อคนที่รับประทานด้วย เช่น ลูกกวาด ถั่วลิสง พุทราแดง เม็ดเกาลัด เหรียญเงิน โดยคนที่กัดเจอลูกกวาด ชีวิตในปีใหม่ก็จะยิ่งหอมหวาน ในขณะที่ถั่วลิสงมีความหมายว่าแข็งแรงและอายุยืนนาน ส่วนพุทราแดงและเกาลัด ก็จะมีบุตรภายในปีนั้น และหากกัดเจอเหรียญเงินก็จะยิ่งร่ำรวยเงินทอง


อาหารรับขวัญวันปีใหม่
       อาหารรับขวัญวันปีใหม่
       การตระเตรียมอาหารการกินในเทศกาลตรุษจีน นับเป็นงานช้างแห่งปีทีเดียว โดยราวสิบวันก่อนวันปีใหม่ชาวจีนจะเริ่มสาละวนกับการซื้อหาข้าวของ อาทิ เป็ด ไก่ ปลา เนื้อ ชา เหล้า ซอส วัตถุดิบเครื่องปรุงสำหรับอาหารผัดทอด ขนมนานาชนิด และผลไม้
       
       อาหารการกินในวันตรุษจีน ยังโปรยประดับด้วยคำที่เป็นสิริมงคล ชาสำหรับคารวะแขก ในวันปีใหม่ของคนเจียงหนันยังใส่ลูกสมอ 2 ลูกไว้ในจานรองถ้วยชาหรือถาดชุดชา เพื่อสื่อความหมายว่า ‘ชาเงิน’ และในสำรับอาหารจะต้องมีผัดผักกาดรวมอยู่ด้วย เพื่อเป็นเคล็ดว่า กินแล้วจะบันดาล ‘ความสนิทสนมอบอุ่น’ เนื่องจาก ‘ผัดผักกาด’ ในภาษาจีนคือ เฉ่าชิงไช่ (炒青菜) ซึ่งมีเสียงใกล้เคียงกับ ชินชินเย่อเย่อ (亲亲热热) ที่แปลว่า ‘ความสนิทสนมอบอุ่น’ และอาหารสำคัญอีกอย่างคือ ผัดถั่วงอก เนื่องจากถั่วงอกเหลืองมีรูปร่างคล้ายกับ ‘หยกหยูอี้’ ซึ่งมีเสียงพ้องกับคำว่า หยูอี้ (如意) ที่แปลว่า สมปรารถนา
       
       นอกจากนี้ ตามประเพณีการกินอาหารปีใหม่จะต้องกินหัวปลา แต่อย่าสวาปามจนเกลี้ยงจนแมวร้องไห้ ธรรมเนียมการกินปลาให้เหลือนี้เพื่อเป็นเคล็ดว่า ‘เหลือกินเหลือใช้’ ซึ่งในภาษาจีน มีคำว่า ชือเซิ่งโหย่วอี๋ว์ (吃剩有鱼) คำว่า ‘鱼-อี๋ว์’ ที่แปลว่าปลานั้น พ้องเสียงกับ ‘余 -อี๋ว์’ ที่แปลว่า เหลือ จึงเป็นเคล็ดว่า ขอให้ชีวิตมั่งมีเหลือกินเหลือใช้
       
       สำรับทั้งหมดนี้ล้วนเป็นสัญลักษณ์ของสิ่งดีงามของวันรุ่งอรุณแห่งปี
       
       หลังจากรับประทานอาหารมื้อแรกของวันตรุษแล้ว ชาวจีนนิยมไปศาลบรรพบุรุษบูชาบรรพบุรุษ และยังมีวิถีปฏิบัติเพื่อขอพรและขอความเป็นสิริมงคลในวันปีใหม่อื่นๆ ได้แก่ จุดโคมไฟ จุดประทัด ถวายเครื่องเซ่นไหว้เทพเจ้า ไปวัด ออกจากบ้านไปทัศนาจร รวมถึงการไปเก็บต้นงา เพราะเชื่อว่าชีวิตจะเจริญยิ่งๆขึ้นไปเหมือนต้นงาที่งอกขึ้นเป็นข้อๆชั้นๆ


กินขนมเข่ง อำนวยพรชีวิตเจริญยิ่งๆขึ้นทุกปีๆ
       กินขนมเข่ง (年糕) อำนวยพรชีวิตเจริญยิ่งๆขึ้นทุกปีๆ
       อาหารที่ขาดไม่ได้ในวันตรุษจีนอีกอย่างคือ ขนมเข่ง ขนมที่ชาวจีนเรียก เหนียนเกา (年糕) นิยมทำกินในหมู่ชาวจีนทางใต้ ประเพณีกินเหนียนเกาในวันตรุษมีมา 7,000 กว่าปีแล้ว เดิมทีทำขึ้นเพื่อเซ่นไหว้เทพเจ้าและบรรพบุรุษ ภายหลังกลายเป็นอาหารนิยมในช่วงตรุษจีน มีความหมายอำนวยพรให้ชีวิต ‘เจริญยิ่งๆขึ้นทุกปีๆ ’ (生活年年提高)


       จุดประทัดรับปีใหม่
       นอกจากคืนวันส่งท้ายปีเก่าและวันที่ 5 เดือน 1 ที่จะมีการจุดประทัดกันแล้ว ประเพณีการจุดประทัดในเช้าวันแรกของปีใหม่ก่อนออกจากบ้าน ก็เป็นความเชื่อของชาวจีนว่า จะเป็นการเริ่มต้นปีด้วยความคึกคักหรือที่เรียกว่า 开门炮 (ไคเหมินเพ่า) เพื่อต้อนรับวันแรกของปี
       
       ประทัดของจีนมีประวัติศาสตร์มายาวนาน เดิมทีใช้ปล้องไม้ไผ่ตั้งไฟเผาให้ระเบิดจนเกิดเสียงดัง ใช้ในการขับไล่ภูตผีป้องกันเสนียดจัญไร ต่อมาใช้ในพิธีไสยศาสตร์ของพ่อมดหมอผีและการเสี่ยงทาย จนในที่สุดกลายมาเป็นสัญลักษณ์ของการอธิษฐานขอความสงบร่มเย็น


       เดินสายอวยพรตรุษจีน
       กิจกรรมอีกอย่างที่ขาดไม่ได้ช่วงตรุษจีน คือ “ไป้เหนียน (拜年)” หรือ การอวยพรตรุษจีน หากกล่าวว่า “จี้จู่ (祭祖)” เป็นการเซ่นไหว้รำลึกถึงบรรพบุรุษที่ล่วงลับ “ไป้เหนียน” ก็จะเป็นการสังสรรค์กับญาติสนิทที่ยังมีชีวิตอยู่ในวันขึ้นปีใหม่ กิจกรรมทั้ง 2 อย่างต่างเป็นการแสดงออกถึงการสื่อสัมพันธ์กับญาติที่ใกล้ชิด
       
       ในอดีตหากญาติสนิทมิตรสหายมีมาก แวะไปเยี่ยมเยียนได้ไม่ทั่วถึง พวกชนชั้นสูงมักจะส่งคนรับใช้นำบัตรอวยพร หรือ “ฝูเต้า (福倒)” (ความสุขมาถึงแล้ว) ไปให้แทน ฝ่ายที่รับการ “ไป้เหนียน” ที่เป็นผู้สูงอายุมักจะให้ “ยาซุ่ยเฉียน (压岁钱)” แก่เด็กๆ ที่มาไหว้เยี่ยมเยียน
       
       ส่วนการ “ไป้เหนียน” ของชาวบ้านทั่วไปก็มีอิทธิพลต่อชนชั้นสูงเช่นกัน ซึ่งราชสำนักในสมัยหมิงชิงนิยมจัดงาน “ถวนไป้ (团拜)” หรืองานที่ชุมนุมญาติๆ ไว้ด้วยกัน ให้ทำการ “ไป้เหนียน” ซึ่งกันและกันในคราเดียว มาถึงปัจจุบันยังนิยมจัดงานเช่นนี้อยู่ ซึ่งคล้ายกับเป็นงานฉลองปีใหม่กับหมู่ญาติสนิทมิตรสหายไปในตัว
       
       สำหรับการ “ไป้เหนียน” ในปัจจุบันซึ่งเป็นยุคไฮเทค นอกจากการไปเยี่ยมเยือนถึงบ้านแล้ว ยังนิยมส่งบัตรอวยพร โทรศัพท์ อีเมล์ หรือส่งข้อความผ่านทางโทรศัพท์มือถือ เพื่อส่งความสุขซึ่งกันและกัน


กลับบ้านเยี่ยมพ่อแม่
       กลับบ้านเยี่ยมพ่อแม่
       หลังจากวันแรกของปีใหม่ผ่านพ้นไป บรรดาหญิงสาวที่ออกเรือนไปแล้วจะกลับไปอวยพรตรุษจีนพ่อแม่และญาติพี่น้อง พร้อมกับสามีและลูกๆ ที่ชาวจีนเรียกกันว่าการกลับบ้านแม่ หรือ ‘หุยเหนียงเจีย (回娘家)’ ซึ่งถือเป็นโอกาสพาเด็กๆ ไปเยี่ยมคารวะคุณตา คุณยาย คนเฒ่าคนแก่ และรับอั่งเปามาเป็นเงินก้นถุง
       
       ส่วนใหญ่จะไม่กลับบ้านแม่มือเปล่า แต่จะนำขนมคุกกี้ ลูกอม ไปฝากญาติพี่น้องและบ้านใกล้เรือนเคียง ตลอดจนพกอั่งเปาไปแจกหลานๆ ด้วยเช่นกัน เพื่อแสดงออกซึ่งความห่วงหาอาทรต่อบ้านเกิดของหญิงที่ออกเรือนไปแล้ว แต่การกลับไปบ้านแม่นี้ จะแค่กินข้าวเที่ยง ไม่มีการนอนค้าง
       
       ตามธรรมเนียมเดิม ก่อนกลับคุณตาคุณยายจะแต้มสีแดงที่หน้าผากหลาน เพื่อให้เป็นสิริมงคล และป้องกันภูติผีปีศาจมารังควาญ ด้วยหวังให้เด็กๆ เติบโตขึ้นอย่างแข็งแรง ปราศจากโรคภัย
       
       กิจกรรมที่สำคัญอีกอย่างในวันนั้นก็คือ การเชิญเทพเจ้าแห่งโชคลาภ โดยแต่ละบ้านจะทำการติดภาพเชิญเทพเจ้าโชคลาภเข้ามายังบ้านของตน


       เรื่องต้องห้ามก่อนวันที่ 5 ‘พ่ออู่ (破五)’
       ตรุษจีนเป็นเทศกาลแห่งความสุขสนุกสนาน และยังเป็นเทศกาลที่คงธรรมเนียมประเพณีดั่งเดิมไว้ ซึ่งในช่วงนี้จะมี ‘คำพูดหรือการกระทำต้องห้าม’ เช่น ในวันชิวอิก หรือวันขึ้นปีใหม่ ผู้หญิงห้ามออกจากบ้านไปอวยพรปีใหม่และห้ามกลับไปบ้านแม่ เด็กน้อยห้ามร้องไห้กระจองอแง ทุกคนห้ามพูดเรื่องอัปมงคล เพื่อนบ้านห้ามทะเลาะเบาะแว้ง รวมทั้งห้ามทำอุปกรณ์เครื่องใช้ เฟอร์นิเจอร์แตกเสียหาย ตลอดจนห้ามเชิญหมอมาที่บ้าน
       
       ตั้งแต่ชิวอิก หรือ ชูอี (初一) จนถึงชูซื่อ (初四) หรือวันที่ 1-4 ของปีใหม่ตามปฏิทินจันทรคติ ห้ามคนในบ้านทำสิ่งที่ไม่เป็นสิริมงคลทั้งหลายตั้งแต่ใช้เข็มเย็บผ้า กรรไกร กวาดบ้าน และยังห้ามกินข้าวต้มในวันที่ 1 ด้วย เพราะข้าวต้มจัดเป็นอาหารของขอทานคนยากจน
       
       เมื่อเข้าวันที่ 5 หรือชูอู่ (初五) จึงจะเริ่มผ่อนคลายกฎต้องห้ามต่างๆ และเข้าสู่ภาวะปกติ ชาวบ้านจึงเรียกว่า ‘พ่ออู่ (破五)’ ซึ่งหมายถึง ทำให้แตก หรือยกเลิกข้อห้ามในวันที่ 5 โดยสามารถกลับไปใช้ชีวิตได้ตามปกติ หุงหาอาหารได้ตามเดิม ส่วนอาหารยอดนิยมในวันนี้จะเป็นเกี๊ยวจีน (饺子) ที่ในสมัยก่อนเรียกว่า ‘เนียอู่ (捏五)’ โดยแทนการห่อเงินห่อทอง นำมาซึ่งความมั่งคั่งร่ำรวย
       
       นอกจากนั้น นับตั้งแต่วันที่ 5 ผู้คนจะสามารถนำขยะไปทิ้งข้างนอกได้ อย่างที่ชาวจีนเรียกว่า ‘เต้าฉานถู่ (倒残土)’ และยังถือวันที่ 5 นี้ เป็นวันเกิดของเทพเจ้าแห่งโชคลาภเงินทองที่ประจำทั้ง 5 ทิศ ซึ่งตามร้านค้าต่างๆ จะประกอบพิธีไหว้ เพื่อเป็นการเอาฤกษ์เอาชัยเปิดกิจการรับปีใหม่ด้วย


       อั่งเปา
       การแจกอั่งเปา (红包ซองแดง) หรือ *แต๊ะเอีย (กด/ทับเอว) สำหรับเด็กสมัยใหม่ต่างคาดหวังหรือหลงระเริงไปกับตัวเงินในซอง แต่หารู้ไม่ว่า กุญแจสำคัญอยู่ที่ซองแดงต่างหาก
       
       ชาวจีนนิยมชมชอบ “สีแดง” เป็นที่สุด อย่างที่มีคนเคยพูดว่า “จะถูกจะแพง ก็ขอให้แดงไว้ก่อน” เพราะว่า ตามความเชื่ออย่างจีน สีแดงเป็นสัญลักษณ์ของความมีชีวิตชีวา ความสุข และโชคดี
       
       เรามอบอั่งเปาให้แก่บุตรหลาน หรือญาติผู้ใหญ่ เพื่อเป็นการมอบโชคลาภและพรอันประเสริฐต่างๆ ให้แก่พวกเขา เงินในซองแดงแค่เพียงต้องการให้เด็กๆ ดีใจ แต่ตัวเอกของประเพณีนี้อยู่ที่ซองแดง ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของโชคดี ดังนั้น การเปิดซองอั่งเปาต่อหน้าผู้ให้ถือเป็นเรื่องที่ไม่สุภาพเช่นกัน
       
       อั่งเปาสามารถมอบให้ในระหว่างไหว้ตรุษจีนในหมู่ญาติพี่น้อง หรือวางไว้ข้างหมอนเวลาที่ลูกๆ หลับในคืนวันสิ้นปีก็ได้
       
       ประเพณีการให้แต๊ะเอียได้สืบทอดสู่ชาวจีนรุ่นต่อรุ่น ทั้งในประเทศจีนและจีนโพ้นทะเล ครอบครัวจีนส่วนใหญ่ถือว่า ลูกหลานที่ทำงานแล้ว จะไม่ได้แต๊ะเอีย แต่จะกลายเป็นผู้ให้แทน การให้อั่งเปา ว่าเป็นวิธีการกระชับสัมพันธ์ในหมู่ญาติอีกแบบหนึ่ง
       
       นอกจากนี้ ยังมีตำนานโบร่ำโบราณเกี่ยวกับเรื่องอั่งเปาอีกว่า เมื่อครั้งโบราณกาลมีปีศาจเขาเดียวนามว่า “ซุ่ย” (祟) อาศัยอยู่ใต้ทะเลลึก ทุกคืนวันส่งท้ายปีมันจะขึ้นฝั่งมาทำร้ายเด็กๆ โดยซุ่ยจะใช้มือลูบศีรษะเหยื่อ หลังจากนั้นเด็กจะจับไข้ จากเด็กฉลาดเฉลียวจะกลายเป็นเด็กที่สมองเชื่องช้า
       
       ชาวบ้านเกรงว่า ปีศาจซุ่ยจะมาทำร้ายลูกหลาน เมื่อถึงคืนวันสุดท้ายของปี ก็จะจุดไฟเฝ้ายาม ไม่หลับไม่นอนตลอดทั้งคืน เรียกว่า “โส่วซุ่ย” (守祟 หรือ เฝ้าตัวซุ่ย) ต่อมาแผลงเป็น “โส่วซุ่ย” (守岁) ประเพณี“เฝ้าปี” ที่ชาวจีนนิยมปฏิบัติกันในค่ำคืนก่อนผัดเปลี่ยนสู่ปีใหม่แทน
       
       ในคืนนั้นเองมีเรื่องเล่าว่า มีสามีภรรยาคู่หนึ่งแซ่ กวน นำเงินเหรียญออกมาเล่นกับลูก ครั้นลูกน้อยเหนื่อยล้าหลับไป จึงได้นำเงินเหรียญห่อใส่กระดาษแดงแล้ววางไว้ข้างหมอนลูก เมื่อปีศาจซุ่ยบุกเข้าบ้านสกุลกวนหวังทำร้ายเด็ก แต่เพราะแสงทองจากเหรียญโลหะข้างหมอนกระทบเข้าตา ทำให้ซุ่ยตกใจและหนีไป
       
       เรื่องราวดังกล่าวแพร่กระจายออกไปอย่างรวดเร็ว ชาวบ้านอื่นๆ ต่างพากันลอกเลียนแบบ โดยทุกวันสิ้นปีผู้อาวุโสจะมอบเงินห่อกระดาษแดงแก่ลูกหลาน “ซุ่ย” จะได้ไม่กล้ามาทำร้าย นับแต่นั้นมาจึงเรียกเงินที่ให้นี้ว่า “ยาซุ่ยเฉียน” (压祟钱หรือ เงินทับตัวซุ่ย)ต่อมาแผลงเป็น “เงินทับซุ่ย (ปี)” แทน
       
       * ที่มาของคำว่า “แต๊ะเอีย” มาจากสมัยก่อนเงินตราที่ชาวจีนโบราณใช้กันเป็นโลหะ ขณะนั้นยังไม่มีชุดเสื้อผ้าที่มีกระเป๋า จึงได้นำเงินใส่ถึงและผูกรอบเอว เงินยิ่งมากน้ำหนักยิ่งกดทับที่เอวมากตาม


       กินบัวลอยแล้วออกไปชมโคมไฟ ในคืน‘หยวนเซียว’
       เทศกาลหยวนเซียว(元宵节) คือวันที่ 15 เดือนอ้ายในปฏิทินจันทรคติ คำว่า 元หยวน มีความหมายว่า แรก ส่วน宵เซียว แปลว่า กลางคืน จึงใช้เรียกคืนที่พระจันทร์เต็มดวงครั้งแรกในรอบปีหลังผ่านพ้นตรุษจีน สำหรับคืนนี้ มีประเพณีว่า ชาวจีนจะต้องรับประทานบัวลอยกันในครอบครัวและออกไปชมโคมไฟที่จะนำมาประดับประดากันอย่างสวยงาม ดังนั้น จึงมีการเรียกเทศกาลนี้อีกอย่างว่า เทศกาลโคมไฟ (灯节)
       
       ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ทุกครั้งที่ถึงค่ำคืนเทศกาลหยวนเซียว ผู้คนก็จะหลั่งไหลไปตามท้องถนนเพื่อชมโคมไฟที่มีรูปทรงต่างๆ ทายปัญหาเชาวน์ที่ซ่อนอยู่ในโคมไฟ เล่นดอกไม้ไฟ จุดประทัด แห่สิงโต ซึ่งล้วนเป็นกิจกรรมบันเทิงใจ
       
       นอกจากการชมโคมไฟแล้ว สิ่งหนึ่งที่ลืมไม่ได้ คือการรับประทานบัวลอยที่ทำจากแป้งข้าวเจ้า ภายในมีไส้ทั้งไส้หวานและไส้เค็ม ปั้นเป็นลูกกลมๆ แล้วนำไปต้มหรือนำไปทอด ในยุคแรก ชาวจีนเรียกขนมชนิดนี้ว่า浮圆子ฝูหยวนจื่อ (,浮-ลอย 圆子-ลูกกลมๆ) ต่อมาก็เรียกว่า 汤团ทังถวน(汤-น้ำแกง团-ลูกกลมๆ ) หรือ 汤圆ทังหยวน โดยมีความหมายเหมือนกัน ทั้งออกเสียงใกล้เคียงกัน และ 团圆เมื่อรวมกันแล้ว ก็ได้ความหมายถึงการอยู่พร้อมหน้าพร้อมตากันของคนในครอบครัว
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: วันตรุษจีน หรือ ปีใหม่จีน
« ตอบกลับ #19 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 09, 2013, 06:57:19 am »
'มาฉลองตรุษจีนกันเถอะ' คำ “เทศกาลฤดูใบไม้ผลิ” เริ่มใช้แต่ใดมา
-http://mgr.manager.co.th/China/ViewNews.aspx?NewsID=9560000016444-
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์    
8 กุมภาพันธ์ 2556 12:27 น.



คู่ชีวิตตายาย กำลังใช้โทรศัพท์มือถือถ่ายภาพโคมแดงที่ประดับ อยู่บนถนนและทางเท้า ในนครเซี่ยงไฮ้ เมื่อคืนวันที่ 6 ก.พ. ก่อน จะเข้าสู่ เทศกาลต้อนรับฤดูใบไม้ผลิ หรือ ตรุษจีน (ภาพรอยเตอร์ส)

       ในโอกาสร่วมฉลอง "เทศกาลต้อนรับฤดูใบไม้ผลิ" ที่เรียกว่า ชุนเจี๋ย (春节) หรือ ตรุษจีน ที่จะมาถึงนี้ "มุมจีน" ขออำนวยพรให้ท่านผู้อ่านทุกๆ ท่าน รวมถึงครอบครัว สุข สมปรารถนา และมั่งมีศรีสุขตลอดปีและตลอดไป … ซินเจียยู่อี่ ซินนี้ฮวดไช้ (新正如意,新年发财) พร้อมกันนี้ ขออนุญาตนำเกร็ดฯ ของเทศกาล กลับมาบอกเล่าความหมายอันดีนี้อีกครั้ง
       
       'มาฉลองตรุษจีนกันเถอะ'
       เทศกาลต้อนรับฤดูใบไม้ผลิ ที่เรียกว่า ชุนเจี๋ย (春节) หรือ ตรุษจีน ถือเป็นประเพณีเฉลิมฉลองวันขึ้นปีใหม่ที่ยิ่งใหญ่ของชนชาวฮั่น และยังถือเป็นการเริ่มต้นฤดูเพาะปลูกด้วย โดยกำหนดให้วันที่ 1 เดือน 1 ตามปฏิทินจันทรคติเป็นวันเริ่มต้นปีใหม่ ในอดีตช่วงเวลาแห่งการเฉลิมฉลอง จะเริ่มตั้งแต่พิธีเซ่นไหว้เทพเจ้าเตาไฟในวันที่ 23 หรือ 24 ของปีเก่า จนถึงเทศกาลหยวนเซียวหรือเทศกาลโคม (แรม 15 ค่ำเดือนอ้าย) โดยแต่ละช่วงจะมีพิธีกรรมธรรมเนียมปฏิบัติที่แตกต่างกัน บางส่วนยังคงสืบทอดกันมาถึงยุคปัจจุบัน ขณะที่บางส่วนได้เลือนหายไป หรือแปรเปลี่ยนไปตามกาลเวลา
       
       'คืนส่งท้ายปีเก่า 除夕夜'
       ชาวจีนมีตำนานเล่าขานเกี่ยวกับ “ฉูซีเยี่ย (除夕夜)” หรือ คืนส่งท้ายปีเก่าว่า ในยุคโบราณสมัยที่เกิดอุทกภัยครั้งใหญ่ มีสัตว์ประหลาดที่ดุร้ายมากตัวหนึ่ง ชื่อว่า “เหนียน (年)” ทุกปีในคืนวันส่งท้ายปี จะขึ้นจากทะเลมาอาละวาดทำร้ายผู้คนและทำลายเรือกสวนไร่นา ในวันนั้นของทุกปีชาวบ้านจึงมักจะหลบกันอยู่แต่ในบ้านตั้งแต่ฟ้ายังไม่มืด ปิดประตูหน้าต่างแน่นหนา และไม่หลับไม่นอนเพื่อเฝ้าระวัง รอจนถึงเช้าวันรุ่งขึ้นจึงเปิดประตูออกมา และกล่าวคำยินดีแก่เพื่อนบ้านที่โชคดีไม่ถูก “เหนียน” ทำร้าย
       
       ในคืนส่งท้ายปีของปีหนึ่ง “เหนียน” ได้เข้าไปอาละวาดในหมู่บ้านแห่งหนึ่ง กินชาวบ้านจนเรียบ ยกเว้นคู่บ่าวสาวที่เพิ่งแต่งงาน เนื่องจากสวมชุดสีแดงจึงปลอดภัย และเด็กคนหนึ่งที่กำลังเล่นประทัดอยู่กลางถนน ซึ่งเสียงดังจนทำให้ “เหนียน” ตกใจกลัวหนีไป ชาวบ้านจึงรู้จุดอ่อนของ “เหนียน”
       
       ดังนั้น เมื่อถึงคืนส่งท้ายปีเก่า ชาวบ้านจึงพากันสวมใส่เสื้อผ้าสีแดง นำสิ่งของที่มีสีแดงมาประดับตกแต่งบ้านเรือน และจุดประทัด ทำให้ “เหนียน” สัตว์ประหลาดตัวร้ายไม่กล้าออกมาอาละวาดอีก ชาวบ้านจึงอยู่กันอย่างสงบสุข จากนั้นมาจึงมีธรรมเนียมปฏิบัติ ในคืนส่งท้ายปีจะไม่ยอมนอนเพื่อ “เฝ้าปี” หรือเรียกในภาษาจีนว่า โส่วซุ่ย(守岁) เฝ้าดูปีเก่าล่วงไปจนวันใหม่ย่างเข้ามา
       ในคืน “เฝ้าปี” สมาชิกในบ้านมีกิจกรรมร่วมกันมากมาย ทั้งด้านการกินและดื่ม ไม่ว่าจะเป็นอาหารทั่วไป เกี๊ยว เหนียนเกา เหล้า เบียร์ เมล็ดแตง ของว่าง การเล่นเกม ซึ่งส่วนใหญ่ก็เล่นกันในห้องรับแขก เช่นผู้ใหญ่ก็เล่นหมากล้อม หมากฮอร์ส ไพ่กระดาษ ไพ่นกกระจอก ส่วนเด็กๆ ก็มีเกมแบบเด็กๆ เช่น ขี่ม้าไม้ไผ่ วิ่งไล่จับ ซ่อนแอบ
       
       กระทั่งใกล้เวลาเที่ยงคืน ผู้อาวุโสในบ้านก็จะเริ่มตั้งโต๊ะเพื่อจัดเรียงธูปเทียนไหว้บรรพบุรุษ และต้อนรับเทพแห่งโชคลาภ นอกจากนั้นก็ยังมีการจุดประทัด จุดโคมไฟ ซึ่งเมื่อใกล้เวลาเที่ยงคืนเท่าไหร่ เสียงประทัดก็ยิ่งดังมากขึ้นเท่านั้น กระทั่งรุ่งอรุณแรกของปี ก็จะสวัสดีปีใหม่กัน กินเกี๊ยว เพื่อความเป็นสิริมงคล


ชายผู้หนึ่งกำลังประนมไหว้เจ้า ขอพรสิริมงคลชีวิต ที่ศาลเจ้า ในสวนยู่หยวน เซี่ยงไฮ้ เมื่อเช้าวันที่ 4 ก.พ. (ภาพรอยเตอร์ส)

       ‘เหนียนเยี่ยฟ่าน (年夜饭)’ มื้อส่งท้ายปีเก่า
       ‘เหนียนเยี่ยฟ่าน (年夜饭)’ หมายถึงอาหารค่ำของคืนส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ ซึ่งเป็นกิจกรรมสำคัญก่อนขึ้นปีใหม่ ที่ชาวจีนให้ความสำคัญอย่างยิ่ง โดยมักไหว้บรรพบุรุษ และจุดประทัดกันก่อนที่จะลงมือรับประทานอาหารมื้อพิเศษนี้
       
       ‘เหนียนเยี่ยฟ่าน’ มีความพิเศษ ตรงที่เป็นมื้อใหญ่ที่สมาชิกในครอบครัวทุกรุ่นทุกวัยและทุกเพศจะพร้อมหน้าพร้อมตาล้อมวงร่วมรับประทานอาหารกัน สมาชิกที่แยกไปอยู่ที่อื่นจะพยายามกลับมาให้ทันวันส่งท้ายปี แต่หากกลับมาไม่ได้จริงๆ ครอบครัวจะเว้นที่ว่างพร้อมวางชามและตะเกียบไว้เสมือนหนึ่งว่ามากันครบ หลังจากทาน ‘เหนียนเยี่ยฟ่าน’ เสร็จแล้ว ผู้ใหญ่จะให้ ‘ยาซุ่ยเฉียน (压岁钱)’ หรือที่คนไทยเรียกกันว่า ‘อั่งเปา’ แก่เด็กๆ
       
       ความพิเศษของ ‘เหนียนเยี่ยฟ่าน’ ยังอยู่ที่อาหารหลากหลาย ให้สมาชิกที่เหน็ดเหนื่อยจากการทำงานมาทั้งปี ได้ผ่อนคลายร่วมทานอาหารอย่างมีความสุขอยู่กับครอบครัวในคืนสุดท้ายของปี
       
       ขณะที่ชื่อของอาหารที่นำมาตั้งโต๊ะยังแฝงไว้ด้วยความหมายที่เป็นสิริมงคล จานบังคับที่ทุกโต๊ะต้องมีคือ ‘จี’ (鸡 ไก่) และ ‘อี๋ว์’(鱼 ปลา) แทนความหมาย ‘จี๋เสียงหยูอี้ (吉祥如意 เป็นสิริมงคลสมดังปรารถนา)’ และ ‘เหนียนเหนียนโหยวอี๋ว์ (年年有余 มีเงินทองเหลือใช้ทุกปี)’ ส่วนที่ไต้หวันยังนิยมทานลูกชิ้น หมายถึงการกลับมาอยู่พร้อมหน้าพร้อมตา นอกจากนี้ ยังมี ‘จิ่วไช่ (韭菜 ผักกุ้ยช่าย)’ ที่หมายถึงอายุมั่นขวัญยืน (年寿长久)สำหรับชาวหมิ่นหนัน ชนกลุ่มน้อยในมณฑลฝูเจี้ยน ทางตอนใต้ของจีน เรียกแครอทในภาษาถิ่นว่า ‘ไช่โถว’ (菜头)แฝงความหมายการเริ่มต้นปีที่ดี (好彩头)และในบางพื้นที่จะกินเกี๊ยว หรือเรียกในภาษาจีนว่า ‘เจี่ยวจือ’ (饺子)ที่มีรูปร่างคล้ายกับเงินแท่งสมัยโบราณที่ปลาย 2 ด้านงอนขึ้น บางครั้งก็ใส่เหรียญเงินไว้ในเกี้ยวด้วย เพื่อบันดาล ‘โชคลาภเงินทอง’ เป็นต้น.

คุณตากำลังอุ้มหลานของตน เดินชื่นชมกับความงดงามของโคมประดับ ในนครเซียงไฮ้ (ภาพรอยเตอร์ส)

       คำ“เทศกาลฤดูใบไม้ผลิ” เริ่มใช้แต่ใดมา
       ตรุษจีน ซึ่งถือเป็นวันปีใหม่ของชาวมังกรนั้น จัดว่าเป็นเทศกาลที่มีสืบทอดมายาวนาน โดยในปัจจุบัน จะใช้คำว่าชุนเจี๋ย (春節) หรือ “เทศกาลฤดูใบไม้ผลิ” มาเป็นชื่อเรียกวันปีใหม่จีน แต่จะมีสักกี่คนที่จะรู้ว่า คำว่า “เทศกาลฤดูใบไม้ผลิ” เป็นคำที่ถูกใช้มาตั้งแต่เมื่อไหร่?
       
       นายเจิ้งอีหมิน รองประธานสมาคมนักศิลปะเอกชน ได้ออกมาระบุผลการตรวจค้นหลักฐานต่างๆพบว่า ในอดีตที่ผ่านมา เทศกาลตรุษจีนถูกขนานนามต่างๆกันไปในแต่ละยุคสมัย หรือแต่ละราชวงศ์ในอดีต เช่นถูกเรียกว่าไก่ซุ่ย (改歲) หรือ “วันเปลี่ยนปี”, หยวนโส่ว (元首) หยวนรื่อ (元日) ที่หมายถึงวันเริ่มต้นแห่งปี
       
       โดยเจิ้งได้ชี้ว่า เทศกาลฤดูใบไม้ผลิ เป็นชื่อที่ถูกใช้ครั้งแรกเมื่อวันที่ 31 ธ.ค. 1911 หรือเมื่อ 96 ปีที่แล้ว โดยรัฐบาลทหารของหูเป่ยเป็นผู้ประกาศ ให้เรียกปีใหม่ของจีนว่า”เทศกาลฤดูใบไม้ผลิ” จนกระทั่งวันที่ 27 ก.ย. 1949 ในขณะที่มีการตัดสินใจจะสถาปนาชื่อสาธารณะรัฐประชาชนจีนขึ้น ก็ได้มีการระบุให้เรียกวันที่ 1 ม.ค. ของทุกปี ที่ถือเป็นวันปีใหม่สากลว่าหยวนตั้น (元旦) หรือวันเริ่มต้นปี ส่วนวันปีใหม่จีน หรือวันตรุษจีนนั้นให้เรียกว่า “เทศกาลฤดูใบไม้ผลิ”


: หนุ่มสาวคู่หนึ่ง ชวนกันเดินเล่นในสวนตี้ถัน ปักกิ่ง ผ่านกลองใบใหญ่ที่ ประดับด้วยงานศิลปะกระดาษตัดรูปงู ซึ่งเป็นนักษัตรประจำปี 2556 (ภาพรอยเตอร์ส)
       'วันแห่งการขอบคุณ'
       วันตรุษจีนยังเป็นวันที่มีความเกี่ยวข้องกับดาราศาสตร์ ภูมิอากาศ และการเกษตรกรรม โดยในอดีตวันนี้จะเป็นวันที่นำเอาผลผลิตมากราบไหว้บูชาต่อบรรพบุรุษและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ อีกทั้งเป็นการแสดงความขอบคุณต่อธรรมชาติและเทพยดาฟ้าดิน
       
       นักวิชาการด้านประเพณีท้องถิ่นของจีนได้ระบุว่า ในแต่ละวันของเทศกาล ต่างเป็นวันแห่งการขอบคุณ ตั้งแต่ขึ้น 1 ค่ำเดือน 1 ไปจนถึงขึ้น 7 ค่ำเดือน 1 (ตามปฏิทินทางจันทรคติ) จะถูกขนานนามเป็น “วันไก่” “วันสุนัข” “วันหมู” “วันแกะ” “วันวัว(ควาย)” “วันม้า” และ “วันคน” เพื่อเป็นการแสดงความเคารพและขอบคุณต่อธรรมชาติ
       
       นอกจากนั้น ในวันตรุษจีน ชาวจีนยังจะกราบไหว้ “เทพเจ้าเตาไฟ” และ “พระแม่ธรณี” เพื่อแสดงความขอบคุณที่ทำให้ชาวโลกได้มีไฟ และมีผืนดินไว้ใช้ประโยชน์ เพียงแต่น่าเสียดายที่ประเพณีเหล่านี้ ได้ค่อยๆจางหายไปตามวิทยาการที่ล้ำสมัยมากขึ้น
       
       นายฮั่วซั่งเต๋อ เลขาสมาคมศิลปะและวัฒนธรรมจีนได้ระบุว่า ในวันตรุษจีน ยังคงถือการกราบไหว้บรรพชนเป็นหลัก โดยในครอบครัวคนจีน มักจะให้หัวหน้าครอบครัว นำพาลูกหลานในบ้าน มากราบไว้บรรพบุรุษกันอย่างพร้อมหน้าพร้อมตา เพราะการกราบไหว้บรรพบุรุษ นอกจากจะเป็นการแสดงความขอบคุณต่อบรรพบุรุษ และขอให้บรรพชนปกปักษ์รักษาแล้ว ยังเป็นการอบรมให้รู้ถึงวัฒนธรรมในครัวเรือน ที่บุพการีควรมีความโอบอ้อมอารี ส่วนลูกหลานก็ควรมีความกตัญญู และพี่น้องก็ควรจะสามัคคีปรองดอง



.
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)