ผู้เขียน หัวข้อ: ปรัชญาแห่งความมีอยู่ เสถียร โพธินันทะ  (อ่าน 2815 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด



ปรัชญาแห่งความมีอยู่


โดย.. เสถียร โพธินันทะ

เมื่อข้าพเจ้าได้เขียนหนังสือ “สารัตถปรัชญาพระพุทธศาสนามหายาน” เพื่อผู้สนใจในวิทยาการจะได้ใช้ศึกษาปรัชญามหายาน หนังสือเล่มนั้นข้าพเจ้าได้บรรยายถึงความเป็นมาของมหายาน และปรัชญามหายาน ๘ นิกายใหญ่ อย่างพอควรแก่ความต้องการในตอนท้าย ก็ได้นำนิกายทางฝ่ายสาวกยาน ๒ นิกาย ซึ่งเคยเจริญในประเทศจีนมาผนวกเข้าด้วย ๒ นิกายนั้น คือ นิกายสรวาสติวาทิน และนิกายสัตยสิทธิ ข้าพเจ้าได้เขียนปรัชญาของนิกายทั้ง ๒ รวบรัด แต่คิดจะทำอย่างละเอียดอีกครั้งหนึ่ง ในหนังสือเล่มใหญ่ชื่อ “ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา” และ อีกเล่มหนึ่งชื่อ “ปริทัศน์แห่งพุทธปรัชญา” ซึ่งกำลังเขียนอยู่ ได้มีผู้อ่านไต่ถามถึงความละเอียดในปรัชญาสรวาสติวาทินบ่อยครั้ง ข้าพเจ้าจึงแถลงถึงหลักธรรมะข้อสำคัญของนิกายนี้ด้วยบทความชิ้นนี้ แต่พอได้ความ

ในราวพุทธศตวรรษที่ ๓ สังฆมณฑลแห่งอินเดียได้เกิดการแตกแยกนิกายออกถึง ๑๘ นิกาย ในจำนวน ๑๘ นิกายนั้น มีอยู่ ๔ นิกายหรือ ๕ นิกาย ที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก ในหน้าประวัติศาสตร์แห่งพระพุทธศาสนา นิกายเหล่านั้น คือ

นิกายมหาสังฆิกะ  นิกายเถรวาทิน
นิกายสรวาสติวาทิน นิกายเสาตรันติก แลนิกายวัชชีบุตร

นิกายสรวาสติวาทินมีคุณลักษณะพิเศษประจำของนิกาย คือ การบูชาอภิธรรมปิฎกเป็นชีวิตจิตใจ ปรากฏว่านิกายนี้มีอภิธรรมปิฎกอันสมบูรณ์ของตนเอง แตกต่างจากอภิธรรมปิฎกฉบับบาลีของฝ่ายเถรวาทิน ภาษาที่ใช้เขียนพระธรรมวินัยของนิกายนี้ ได้เลือกใช้ภาษาสํสกฤตระคน อภิธรรมปิฎกของสรวาสติวาทิน เรียกว่า “ษัฏปาทาภิธรรม” มีอยู่ ๖ ปกรณ์ คือ

๑. อภิธรรมสังคีติบรรยายของพระสารีบุตร

๒. อภิธรรมสกันธปาทศาสตร์ของพระโมคคัลลานะ

๓. อภิธรรมบัญญัติปาทศาสตร์ของพระกัจจายนะ

๔. อภิธรรมวิญญาณกายปาทศาสตร์ ของพระเทวศรมัน

๕  อภิธรรมปกรณปาทศาสตร์พระวสุมิตร

๖. อภิธรรมธาตุกายปาทศาสตร์ของพระวสุมิตร



ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: ปรัชญาแห่งความมีอยู่ เสถียร โพธินันทะ
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 06, 2011, 02:21:23 pm »


ไม่ปรากฏว่าท่านผู้ใดเป็นต้นกำเนิดของสรวาสติวาทิน แต่เป็นการแน่นอนที่ว่า นิกายนี้เป็นกิ่งแยกออกมาจากนิกายเถรวาทิน ซึ่งเป็นนิกายบูชาภาษาบาลี อายุกาลของนิกายนี้ยังเป็นที่ไม่ตกลงกันแน่นอน ในปกรณ์ฝ่ายธิเบตกล่าวว่า เมื่อพุทธปรินิพพาน ๑๑๖ ปี เหล่าภิกษุสงฆ์ได้ใช้ภาษา ๙ ภาษา ในการบอกธรรมวินัย เป็นเหตุให้พระพุทธศาสนาแตกเป็น ๔ นิกาย คือสงฆ์พวกหนึ่งใช้ภาษาสํสกฤต พวกนี้เป็นสงฆ์สืบเนื่องมาแต่พระราหุล เรียกว่าพวกสรวาสติวาทิน แต่ในปกรณ์สํสกฤต ชื่อ “เภทธรรมติจักรศาสตร์” แต่งโดยพระวสุมิตร ในราวพุทธศตวรรษที่ ๔ กล่าวว่านิกายนี้ แตกจากเถรวาทินราวต้นพุทธศตวรรษที่ ๓และบูชาพระกัจจายนะ ในฐานะเป็นอภิธรรมาจารย์ อย่างไรก็ดีมูลเหตุสำคัญที่ทำให้สงฆ์หมู่หนึ่งแยกไปจากเถรวาทิน ก็คือ สงฆ์หมู่นี้มีความเห็นในหลักธรรมบางประการ ขัดกับฝ่ายเถรวาทิน และสงฆ์หมู่นี้ต้องการจะยกย่องอภิธรรมปิฎกขึ้นให้เป็นพิเศษ จึงแยกออกไปตั้งเป็นนิกายใหม่มีชื่อว่า “สรวาสติวาทิน” แปลว่า “วาทะที่กล่าวสิ่งทั้งปวงมีอยู่ในคัมภีร์กถาวัตถุเรียกนิกายนี้ว่า “สัพพัตถิกวาท” ซึ่งแปลอย่างเดียวกัน ในที่มาบางแห่งเรียกนิกายนี้ว่า “เหตุวาท"

ในหนังสือของศาสตราจารย์นลินักษทัตต์ ชาวอินเดียกล่าวสันนิษฐานว่า นิกายสรวาสติวาทิน น่าจะแยกออกมาจากนิกายมหิสาสกะ และว่านิกายมูลสรวาสติวาทินต่างกับนิกายสรวาสติวาทิน ซึ่งเกิดในตอนหลัง

ความเจริญของนิกายนี้ เป็นไปอย่างกว้างขวาง ทำให้นิกายอื่นหมดรัศมีลงไป นิกายเถรวาทินเองก็ถูกอิทธิพลของนิกายนี้ข่มจนอับแสง สรวาสติวาทินได้แพร่หลายตลอดไปทั่วอินเดียภาคเหนือ มีแคว้นคันธาระ.กาศมีระ อุทยาน มถุรา ฯลฯ และจากดินแดนเหล่านี้ นิกายนี้ได้ขยายตัวแพร่เข้าสู่อาเซียกลาง จากอาเซียกลางก็ได้ ข้ามไปประเทศจีนในพุทธศตวรรษที่ ๖ เป็นยุคที่นิกายนี้รุ่งโรจน์ที่สุด ได้มีการร้อยกรองอรรถกถาแห่งพระไตรปิฎก กับการแต่งปกรณ์วิเศษต่าง เกี่ยวกับหลักปรัชญาของนิกายนี้โดยคณาจารย์ผู้มีชื่อเสียง ภายใต้ความอุปถัมภ์ของพระเจ้ากนิษกะมหาราชกษัตริย์ชาติง้วนสี ซึ่งกำลังดำรงอำนาจปกครองอินเดียภาคเหนือ อภิธรรมปิฎกของนิกายนี้ ตลอดจนคัมภีร์ปกรณ์วิเศษที่สำคัญหลายสิบปกรณ์ ได้มีการแปลเป็นภาษาจีนตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๙ จนถึงพุทธศตวรรษที่ ๑๑ ส่วนวินัยปิฎก สุตตันตปิฎก ก็มีผู้แปลถ่ายออกเป็นภาษาจีนเป็นส่วนมากแล้วเช่นเดียวกัน การที่จะศึกษาหลักธรรมของนิกายนี้ให้ละเอียด จึงจำเป็นต้องศึกษาจากคัมภีร์ภาษาจีน ทั้งนี้เพราะฉบับสํสกฤตได้สาปสูญไปแล้วเป็นส่วนมาก



ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: ปรัชญาแห่งความมีอยู่ เสถียร โพธินันทะ
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 06, 2011, 02:50:48 pm »


ปรัชญา

นิกายนี้ มีหลักปรัชญาว่าด้วย “ความมีอยู่แห่งสิ่งทั้งหลาย” คือ “สรฺวมฺ อสฺติ” เป็นหัวใจสำคัญ นิกายนี้ถือว่า สิ่งทั้งหลายไม่ว่าสังขตะ ก็ดี อสังขตะก็ดี ย่อมมีสภาวะที่มีอยู่ด้วยตัวของมันเองตลอดกาล ทั้ง ๓ คือ มีอยู่ ดำรงอยู่ตลอดอดีตกาล ปัจจุบันกาล อนาคตกาล ตัวอย่างนามกับรูปซึ่งเป็นสังขตธรรม ก็มีสภาพเที่ยงคงที่ตลอดกาลทั้ง ๓ ความเกิดดับเป็นเพียงอาการของธรรมนั้น ๆ เท่านั้นกิริยาคุณของธรรมหนึ่ง หากยังมิได้ปรากฏอาการออกมา เรียกว่ายังเป็นสิ่งที่มิได้มาถึง คือ เป็นอนาคตกาล ในขณะที่กิริยาคุณของธรรมนั้น ๆ ปรากฏอาการออกมาเรียกว่า เป็นปัจจุบัน แล้วมีกิริยาคุณอันปรากฏอาการออกมาแล้วนั้นดับไป เรียกว่าอดีตกาล ฉะนั้นจึงเห็นได้ว่า ตัวสภาพธรรม มีนามกับรูปเป็นต้น นั้นเที่ยง มีอยู่ตลอดแต่อาการกิริยาคุณของมันต่างหากที่เกิดดับยักย้ายไป ตัวสภาวธรรมของนามรูป จักได้พลอยเกิดดับไปก็หาไม่ เหตุผลของนิกายนี้ก็คือ

๑. ทำกรรมใดไว้ย่อมมีวิบากของกรรมนั้น แต่กรรมซึ่งจักให้ผลเป็นวิบากนั้น เหตุกับผลจะมีขึ้นในขณะเดียวกันไม่ได้ ฉะนั้น ต้องมีกรรมสภาวะที่เป็นเหตุอยู่ในอดีต จึงสามารถให้ผลวิบากในปัจจุบันได้ แสดงว่าอดีตต้องมีอยู่ ถ้าอดีตกรรมไม่ดำรงอยู่ไซร้ ปัจจุบันนี้เป็นวิบากก็มีไม่ได้.

๒. วิญญาณความรู้ทางอายุตนะภายในทั้ง ๖ จักปรากฏมีขึ้นได้ ก็ต้องอาศัยวิสัยภายนอก ๖ มาเป็นอารมณ์ เช่น จักขุวิญญาณ จะเกิดขึ้นก็ต้องอาศัยรูปารมณ์ภายนอกมาเป็นปัจจัย มโนวิญญาณจะมีขึ้นก็ต้องอาศัยธรรมารมณ์เป็นปัจจัย ก็ธรรมารมณ์นั้น มีทั้งที่เป็นอดีต ปัจจุบัน อนาคต ถ้าไม่มีสภาวธรรมที่ดำรงอยู่ตลอดกาลทั้ง ๓ ไซร้ มโนวิญญาณก็จักมีขึ้นหาไม่ได้ ทั้งนี้เพราะมโนวิญญาณจักเสพอารมณ์ที่เป็นอดีตอยู่ให้เสพ จึงบังเกิดเป็นอดีตธรรมารมณ์ได้.

อาศัยเหตุผลดั่งนี้ จึงลงมติว่า มีสภาวธรรมทั้ง ๓ โดยตลอด สภาวธรรมตัวปรมัตถ์ของรูปนาม ขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ นั้นมีคงที่อยู่ตลอดไป ทั้งในอดีต ปัจจุบัน อนาคต ส่วนความเกิดดับสืบสันตตินั้นเป็นอาการกิริยาภายนอกของสภาวธรรมเท่านั้นเอง ตัวสภาพธรรมปรมัตถ์แห่งนามรูป จักพลอยเกิดดับไปด้วยก็หามิได้ สรวาสติวาทินไม่ยอมเห็นด้วยกับคติที่ว่า สิ่งที่เป็นอดีตย่อมดับไปแล้ว ปัจจุบันเท่านั้น ชื่อว่ามีอยู่ แต่ก็กำลังดับไปเป็นอดีตเหมือนกัน ส่วนอนาคตนั้นยังชื่อว่ายังไม่เกิดมีขึ้น อันเป็นคติธรรมของฝ่ายเถรวาทินเลย สรวาสติวาทินถือว่าทุกสิ่งมีสภาวะในตัวของมันเอง ซึ่งคงอยู่ตลอดไปไม่ยักย้ายแปรเปลี่ยน เช่น รูปธาตุ เมื่อทอนลงไปก็มีปรมาณูเป็นวัตถุสุดท้าย ซึ่งดำรงอยู่อย่างแท้จริง




ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: ปรัชญาแห่งความมีอยู่ เสถียร โพธินันทะ
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 06, 2011, 03:15:24 pm »



คณาจารย์แห่งสรวาสติวาทินได้มีมติเกี่ยวกับความมีอยู่แบ่งออกเป็น ๔ มติใหญ่ คือ :

๑. มติของอาจารย์ธรรมตาระกล่าวว่า สภาวธรรมทั้งหลายมีความต่างกันโดยลักษณะประเภท เช่นเดียวกับทองรูปพรรณ ที่ทำเป็นสายสร้อย ตุ้มหู กำไล แหวน เข็มขัด อันมีลักษณะต่าง ๆ กัน ลักษณะนี้บางทีก็ดับหายไปเป็นอดีต และเกิดใหม่ในปัจจุบันในร่างใหม่ เปรียบการยุบสร้อยทองลงทำเป็นกำไลมือ แต่ทั้งนี้ ธาตุเนื้อทองนั้นเป็นเนื้ออันเดียวกัน ไม่ว่าเราจะยุบมันแล้ว ทำใหม่อีกสักกี่ร้อยครั้ง แสดงว่าสภาวธรรมจะต้องมีอยู่ตลอดกาลทั้ง ๓

๒. มติของอาจารย์ศรีโฆษะกล่าวว่า สภาวธรรมทั้งหลายมีอยู่ตลอด ๓ กาล เหมือนดั่งบุรุษผู้หนึ่งมีบุตรหลายคน ในขณะที่เขาได้เห็นบุตรคนใดคนหนึ่ง ความรักบุตรคนนั้นย่อมปรากฏชัดขึ้น แต่มิได้หมายความว่า ความรักในบุตรคนอื่น ๆ ของเขาในขณะนั้นไม่มี ความรักในบุตรคนอื่น ๆ ของเขายังคงมีอยู่ในจิตใต้สำนึกแต่มิได้ปรากฏออกชัดเท่านั้นอดีต ปัจจุบัน อนาคต ก็มีอุปมัยเช่นกัน ย่อมมีอยู่ร่วมกัน  แต่ธรรมใดปรากฏชัดมาก ธรรมอื่นสงบอยู่ แต่กล่าวไม่ได้ว่าไม่มี ฉะนั้น ปรากฏการณ์แห่งธรรมจึงต้องมีอยู่ทั่วไปใน ๓ กาล จะห่างกันที่ปรากฏการณ์

๓. แต่ของอาจารย์วสุมิตรว่า อาศัยสถานะที่แตกต่างกัน จึงทำให้มีอดีต ปัจจุบัน อนาคต แต่แก่นของธรรมทั้งหลายนั้น หาได้เป็นอดีต ปัจจุบัน อนาคตไม่ เช่นเดียวกับเราเทน้ำใส่ลงในแก้ว เราเทน้ำใส่ลงในหม้อ น้ำก็มีลักษณะไปตามลักษณะของแก้วและของหม้อ แต่ความเป็นน้ำหรือความเป็นธรรมนั้น ๆ คงไม่บุบสลายไปตามสถานะนั้น ๆ เลย

๔. แต่ของอาจารย์พุทธเทวะว่า อาศัยการเปรียบเทียบจึงทำให้เห็นว่า มีอดีต ปัจจุบัน อนาคต เช่นอาศัยอดีตจึงมีปัจจุบัน อาศัยปัจจุบันจึงมีอนาคต แต่แท้จริงแก่นแห่งธรรมทั้งหลาย หาได้เกิดดับเปลี่ยนแปลงตามความเปรียบเทียบนั้นเลย อุปมาดั่งสตรีผู้หนึ่งย่อมดำรงภาวะความเป็น ภริยาของสามี และดำรงภาวะความเป็นมารดาของบุตรธิดา ดำรงภาวะเป็นคุณยายของหลาน ฯลฯ แต่ก็เป็นสตรีคนเดียวกันนั้นเอง

ในคัมภีร์บาลีกถาวัตถุ ได้มีข้อโต้แย้งของอาจารย์ฝ่ายเถรวาทิน ที่มีต่อฝ่ายสรวาสติวาทิน อันเป็นปรวาทีทำนองว่า ฝ่ายปรวาทิน ถือว่าขันธ์ทั้งหลายในกาลทั้ง ๓ ย่อมไม่ละสภาวะแห่งขันธ์ โดยยกบาลีพุทธวจนะขึ้นยืนยันว่า “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย รูปสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ซึ่งเป็นอดีต, ปัจจุบัน, อนาคต เป็นภายใน, ภายนอก, หยาบ, ละเอียด, เลว, ประณีต, อยู่ใกล้, ทั้งสิ้น ฯลฯ ชื่อว่ารูปขันธ์ ฯลฯ” พุทธภาษิตนี้แสดงให้เห็นอยู่ชัด ๆ ว่า รูปขันธ์ที่ดำรงสภาวะ ความเป็นรูปขันธ์ของมันตลอดกาลทั้ง ๓ พระพุทธองค์จึงดำรัสว่า รูปสิ่งใดสิ่งหนึ่งซึ่งเป็นอดีต, ปัจจุบัน, อนาคต ฯลฯ ดั่งนี้ ฝ่ายเถรวาทินแย้งขึ้นว่า ฝ่ายปรวาทีตีความพระพุทธภาษิตผิดไป อดีตดับไปแล้ว แปรไปแล้ว อนาคตยังไม่เกิดขึ้น ยังไม่ปรากฏ ขอถามท่านปรวาทีหน่อยเถอะว่า ปัจจุบันคืออะไร ? ฝ่ายปรวาทีตอบว่า ปัจจุบันคือสิ่งยังไม่ดับ ยังไม่ไปปราศ ยังไม่แปร ยังตั้งอยู่ ฝ่ายเถรวาทินสอดขึ้นว่า ถ้าเช่นนั้น อดีตก็ดี อนาคตก็ดี ที่ท่านถือว่ามีอยู่ ก็มิกลายเป็นปัจจุบันไปด้วยหรือ ?



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 06, 2011, 04:33:40 pm โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: ปรัชญาแห่งความมีอยู่ เสถียร โพธินันทะ
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 06, 2011, 03:50:42 pm »

               

อนึ่ง ถ้าท่านปรวาทีถือว่ารูป, เวทนา, สัญญา, สังขาร, วิญญาณ มีอยู่ตลอดกาลทั้ง ๓ ไซร้ รูป ฯลฯ อดีตก็จะไม่อาจละความเป็นรูปที่เป็นอดีต ซึ่งกำลังเป็นอดีต แม้รูป ฯลฯ อนาคต ก็เช่นกัน ทั้งนี้เพราะท่านถือว่ามันมีอยู่ตลอดทั้ง ๓ กาล ที่ฝ่ายปรวาทียกอุปมาว่า เหมือนผ้าขาวผืนหนึ่ง ถูกนำไปย้อมสีดำ ผ้านั้นละความเป็นของขาว สู่ความเป็นของดำ แต่ยังไม่ละความเป็นผ้า ฉันใด ขันธ์ทั้งหลายย่อมเป็นทั้งอดีต, ปัจจุบัน, อนาคตได้ แต่ไม่ละความเป็นขันธ์ในกาลทั้งปวง แม้ฉันนั้น อนึ่ง ท่านสกวาทีจักแยกความขาวกับผ้าไม่ออกฉันใด อดีตกับรูป, ปัจจุบันกับรูป, อนาคตกับรูป, ก็ไม่สามารถจะแยกออกจากกันได้ ฝ่ายเถรวาทีแย้งว่า ถ้าเช่นนั้น ผ้าขาวก็ไม่ควรไม่อาจละความขาวได้ด้วยซิ เหตุไฉนจึงละความขาวได้ด้วยเล่า ?


อนึ่ง การที่ท่านปรวาทีกล่าวว่า ขันธ์ไม่ละความเป็นขันธ์ใน ๓ กาล ท่านก็ชื่อว่ากำลังรับว่าขันธ์นี้เป็นของเที่ยง คงทน ค้านพระพุทธพจน์ที่ว่า รูปํ อนิจฺจํ เป็นต้น อนึ่ง พระนิพพานย่อมไม่ละความเป็นนิพพานตลอดกาลทั้ง ๓ พระนิพพานจึงเป็นของเที่ยง ถ้าขันธ์ทั้งหลายไม่ละความเป็นขันธ์ตลอดกาลทั้ง ๓ ขันธ์ก็เป็นเหมือนพระนิพพาน อนึ่งที่ท่านถือว่าสิ่งทั้งหลายมีอยู่ตลอดกาลทั้ง ๓ ไซร้ กิเลสของพระอรหันต์ในอดีตมีอยู่ แต่มาในปัจจุบัน ท่านบรรลุอรหัตผลแล้ว พระอรหันต์นั้นก็ยังนับว่าประกอบด้วยกิเลสที่เป็นอดีตอยู่อีกซี ? อนึ่ง ขันธ์ ๕ ก็ต้องเพิ่มจำนวนขึ้นเป็น ขันธ์ ๑๕ (กาละx ๕ ขันธ์) ธาตุก็ต้องเพิ่มเป็นธาตุ ๕๔ (กาละ x ๑๘) พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระเจ้าจักรพรรดิในโลกทั้ง ๓ ก็จักชื่อว่ามีอยู่พร้อมกัน มิกลายเป็นว่า ในโลกนี้มีพระพุทธเจ้า ๓ พระองค์ พระเจ้าจักรพรรดิ ๓ พระองค์พร้อมกันหรือ ?
(มีพระพุทธภาษิตว่า พระพุทธเจ้า, พระเจ้าจักรพรรดิ จะเกิดขึ้นในโลกพร้อมกันคราวเดียว ๒ องค์ ไม่ได้)

ฝ่ายเถรวาทีก็ยกพระพุทธพจน์ขึ้นอ้างว่า พระผัคคุนะทูลถามพระศาสดาว่า ตา, หู, จมูก, ลิ้น, กาย, ใจ ซึ่งเป็นอดีตที่ทำให้เห็นรูป ฯลฯ ธรรมารมณ์นั้นมีอยู่หรือ ? พระศาสดาก็ตรัสตอบว่า ไม่มี พระพุทธพจน์ข้อนี้ ท่านปรวาทียอมรับไหมเล่า ? และพระพุทธพจน์อื่น ๆ อีกเป็นอันมาก ที่ตรัสว่ารูป ฯลฯ วิญญาณที่เป็นอดีตล่วงไปแล้ว, ดับไปแล้ว มิได้ตั้งอยู่ ฯลฯ ดังนี้ท่านรับไหมเล่า ? ถ้าท่านรับ ก็ควรเชื่อว่าอดีตไม่มี เพราะล่วงไปแล้ว ปัจจุบันกำลังจะแปรไป ส่วนอนาคตนั้น ก็ยังไม่ปรากฏขึ้นตามคติของเรา

อย่างไรก็ดี เรื่องนี้เป็นปัญหาธรรมชั้นสูง ควรที่จักได้รับการไตร่ตรองโดยละเอียด




http://www.dharma-gateway.com/ubasok/ubasok-main-page.htm
Pics by : Google
อกาลิโกโฮม * สุขใจดอทคอม
อนุโมทนาสาธุที่มาทั้งหมดมากมายค่ะ