ผู้เขียน หัวข้อ: มโนคำนึง เสถียร โพธินันทะ  (อ่าน 1879 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
มโนคำนึง เสถียร โพธินันทะ
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 02, 2011, 03:36:23 pm »



มโนคำนึง
เสถียร โพธินันทะ

สิ่งที่ มนุษยชาติปรารถนาอย่างยิ่งก็คือความสุข พระพุทธศาสนาของเรา
ได้สอนถึงวิธีการบรรลุความสุขอย่างมีเหตุผลประกอบด้วยธรรม
เราจะเห็นได้ว่า พระพุทธองค์มิได้สอนแต่เฉพาะพวกนักปรัชญา หรือสมณะเท่านั้น
แต่แม้บุคคลธรรมคา เช่นชาวไร่ชาวนาตลอดจนเด็ก ๆ ที่รู้เดียงสาแล้ว
คำสอนของพระองค์ก็ยังเป็นประโยชน์ ต่อการดำรงชีวิตของเขาเหล่านั้นอย่างมากที่สุด
ถ้าแหละเขาทั้งหลายได้ปฏิบัติประพฤติตาม

ทั้งนี้เพราะพระพุทธศาสนาไม่ใช่เป็นสิ่งที่ลึกลับจนเกินปัญญาของมนุษย์
ที่จะพิจารณาไปถึงเลย พระพุทธศาสนาจะเป็นของยากเย็นก็เฉพาะบุคคลที่ไม่เคยคิดสนใจ
และไม่ยอมที่จะสนใจเท่านั้น พระพุทธองค์ไม่ได้สอนให้เราหลบหนีชีวิตอย่างขี้ขลาด
แต่พระองค์ตรัสว่าเราจะต้องเข้มแข็ง กล้าผจญต่อชีวิตด้วยความรู้เท่าทัน
และการรู้เท่าทันนั้น ที่สามารถนำความพ้นทุกข์ ให้แก่เราได้

ความทุกข์ที่มนุษยชาติต้องทรมานอยู่นั้น เป็นผลที่มนุษย์ก่อขึ้น การทำลายความทุกข์
ไม่ใช่ทำลายที่ผลของมัน เราจะต้องแก้ไขเหตุของมันต่างหากและการแก้ไขเหตุนั้น
ก็มิใช่เป็นการแก้ไขชนิดไปอ้อนวอนสิ่งลึกลับที่ไหน หรือการแก้ไขที่สิ่งภายนอกเช่น
เศรษฐกิจและสังคมด้านเดียว เพราะการแก้ไขแต่สิ่งภายนอกด้านเดียว ย่อมนำมาซึ่งการ
นองเลือด การเบียดเบียนประโยชน์ของกันและกัน และ ผลสำเร็จที่เกิดจากการแก้ไขนั้นเล่า
ก็เป็นผลสำเร็จที่ตั้งอยู่บนฐานแห่งการใช้อำนาจบังคับและระบายสีงดงามแต่เพียงภายนอก

ส่วนภายในส่วนลึกของหัวใจก็ยังคงไม่ต่างอะไรกับความรู้สึกของมนุษย์ในยุคหิน
คือความเห็นแก่ตนเห็นแก่คณะพรรคของตน และการมุ่งมาตรความร้ายกาจเข้าหากัน
ซึ่งแม้การปฏิบัติเพื่อสนองกิเลสเหล่านี้ จะมีวิธีการอันชาญฉลาดแนบเนียนกว่า
การปฏิบัติของมนุษย์ยุคหินก็ตาม ความจริงมิได้พิสูจน์แก่เราหรอกหรือว่า สัญชาตญาณ
แห่งการเอารัดเอาเปรียบ
ของสัตวโลกนั้น มิอาจแก้ไขได้แม้ด้วยการศึกษา
หรือลัทธิเศรษฐกิจใด ๆ เรามีหลักประกันอะไรเล่า ที่ยืนยันได้ว่า ถ้ามนุษยชาติ
มีการกินอยู่หลับนอนสบายแล้ว สงครามจะไม่เกิดขึ้นอีก ?

แม้พระมหาจักรพรรดิราชในประวัติศาสตร์ อาทิเช่น อเล็กซานเดอร์, เจ็งกีสข่าน,
นะโปเลียน ๆลฯ ก็ยังมีความรู้สึกพระองค์ว่ายากจน มีอาณาเขตไม่พอครอบครอง
ในคัมภีร์ชาดก กล่าวถึงพระเจ้ามันธาตุราชผู้บรมจักรพรรดิราช
มีอาณาเขตแผ่ไปในทวีปทั้ง ๔ ยังทรงไม่รู้สึกพอพระทัยในความสุขที่ได้รับ จนในที่สุด
เสด็จขึ้นไปเสวยความสุขในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ร่วมกับพระอินทร์ จนพระอินทร์ล่วงลับ
ไปแล้วถึง ๓๖ องค์ ท้าวเธอก็ยังรู้สึกว่าความสุขที่ได้รับนั้นน้อยนิดเดียวเท่านั้น
คิดใคร่จะแย่งสมบัติของพระอินทร์มาครอบครองเสียเองฉะนี้



เป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้เลย ตราบใดใจของมนุษย์ยังเกลือกกลั้วอยู่กับอกุศลบาปธรรม
มีจุดดำแห่งอหังการติดตรึงอยู่ ตราบนั้นการประกอบกรรมใด ๆ ของมนุษย์
จะบริสุทธิ์ิ์ พอที่จะอำนวยความสวัสดีให้แก่ตนเองและโลกหาได้ไม่ และดังนั้นเรา
จึงต้องปฏิวัติใจของตนเอง ก่อนที่จะคิดไปปฏิวัติผู้อื่น หรือก่อนที่จะคิดไปปฏิวัติ
ต่อสิ่งภายนอก เมื่อทุก ๆ คนต้องลงมือปฏิวัติ. ขัดเกลาจุดดำแห่งอหังการของตนเองแล้ว
โลกก็หมุนไปสู่สภาพแห่งความร่มเย็น เป็นการปฏิวัติสังคมไปในตัวเองเสร็จ
การแก้ไขจากภายในออกไปหาภายนอกจึงเป็นผลสำเร็จอย่างบริสุทธิ์
ปลดความทุกข์
ทรมานของปวงมนุษย์ทั้งทางใจ
และทางกายให้หมดสิ้นไปได้ โดยมิต้องใช้อาวุธหรืออำนาจอาญาใด ๆ เลย


พระพุทธศาสนาไม่ได้ปฏิเสธว่า เหตุภายนอกหรือผลทางวัตถุไม่มีค่า
เช่นโรคภัยของมนุษย์เป็นต้น พระพุทธองค์ตรัสว่า โรคบางอย่างเกิดเพราะกรรมในอดีต
เป็นสมุฏฐานก็มี เกิดจากลมฟ้าอากาศอาหารและความวิปริตของธาตุในร่างกาย
เป็นสมุฏฐาน ก็มี พระองค์หาได้ตรัสว่า
 พฤติกรรมของมนุษย์ล้วนเป็นกรรมเก่าบันดาลเสมอไปไม่ แต่พระพุทธองค์ตรัสว่า
ผู้ที่สามารถชนะใจของตนเองได้ ก็สามารถจะชนะความวิปริตและทุกข์ทางร่างกายเหมือนกัน
โดยวิธีไม่ไปยึดถือเกาะเกี่ยวกับมันจนเกินไป สิ่งแวดล้อมอาจจะสำคัญเฉพาะ
ผู้ที่ยังมี ใจอ่อนแอ แต่สำหรับพระอริยบุคคลแล้ว
สิ่งแวดล้อมจะไปทำความหวั่นไหวหรือเปลี่ยนแปลงอะไรในท่านไม่ได้เลย


เพราะฉะนั้นใจจึงเป็นผู้นำโลกและมีความสำคัญกว่าวัตถุ ความมุ่งหมายในการ
แก้ไขปรับปรุงภาวะของใจ
มิใช่มุ่ง ให้ทุกคนต้องหลุดพ้นอย่างพระอรหันต์

แต่หมายความว่าอย่างน้อยที่สุดเราจะต้องบรรเทากิเลสในจิตของตน
ให้ลดน้อยลงมากว่าระดับเดิม
อย่างน้อยก็ด้วยการปฏิบัติตนตามศีล ๕ และประพฤติตน
ตามธรรมมีเมตตากรุณาเพียงเท่านี้ก็พอแล้ว ที่จะนำสันติสุขมาให้แก่ตนเองและแก่สังคม

และเพราะฉะนี้กระมัง พระราชาธิราชเทวานัมปียะศรีอโศกผู้ยิ่งใหญ่แห่งปาฏลีบุตร หลังจากการแผ่อานาๆด้วยแสนยานุภาพทั่วแผ่นดินชมพูทวีปแล้วกลับได้รับแต่ความสลดใจ
และทรงตระหนักในความจริงว่า
ชัยชนะที่แท้จริงและมั่นคง คือชัยชนะด้วยธรรมานุภาพ





http://www.dharma-gateway.com/ubasok/ubasok-main-page.htm
Pics by : Google
อกาลิโกโฮม * สุขใจดอทคอม
อนุโมทนาสาธุที่มาทั้งหมดมากมายค่ะ