อริยะสงฆ์ผู้ปฏิบัติธรรมอันดี > หลวงพ่อชา สุภทฺโท
๐๐๐ ปั จ จุ บั น ธ ร ร ม หลวงพ่อชา ๐๐๐
ดอกโศก:
อนุโมทนาค่ะพี่แป๋ม
คำสอนของท่านเรียบง่ายแต่ลุ่มลึกเสมอ...
:13:
ฐิตา:
อย่างไรก็ช่างมันเถอะ ให้เข้าใจว่า..การมาทำบุญสุนทาน ทำเพื่ออะไร?
ทำเพื่อให้มันไม่มีทุกข์ ให้มันบรรเทาทุกข์ ให้มันค่อยๆหมดไป
ถ้าทำบุญให้บรรเทาทุกข์มันต้องทำบุญด้วย ทำกุศลธรรมด้วย
ถ้าไม่ทำกุศลธรรมมันไม่มีปัญญา บุญอย่างเดียวมันเหมือนเนื้อกับปลาที่มันสดๆ
เราทิ้งไว้เฉยๆ มันก็เน่าเท่านั้นแหละ อาศัยเกลือเป็นอยู่เนื้อหรือ
ปลานั้นจะมีอายุได้นาน หรือเข้าตู้เย็นซะ อย่างนี้มันเป็นซะอย่างนั้น
ปัญญานี้ท่านจึงบอกว่า นัตถิ ปัญญา สมาอาภา
แสงสว่างเสมอด้วยปัญญาไม่มี
นัต ถิ ตัณหา สมานที แม่น้ำเสมอด้วยตัณหาไม่มี
คำนี้ยันกันเลย ยันกัน ร้อยเปอร์เซ็นต์เท่ากันเลย ก็จริงอย่างนั้น
ความอยากนี้ไม่มีจบ ตัณหาคือความอยาก
ดังนั้น พระพุทธเจ้าท่านว่า การทำก็ทำเถอะ อย่าให้มันเป็นตัณหา
การกินก็กินเถอะอย่าให้มันเป็นตัณหา การดูก็ดูเถอะอย่าให้มันเป็นตัณหา
อยู่ในโลกนี้ก็อยู่ไปเถอะ ให้มันรู้จักโลก อย่าให้มันเป็นตัณหา
คือทำโดยการปล่อยวางมันเสีย มันก็อยู่ตรงนั้นแหละ
ให้คิดเสมอว่า เรามีช้อนอันหนึ่ง เอาไว้ทำไมช้อน เอาไว้ตักแกง
แต่ว่าเราไม่ทานช้อนใช่ไหม
เราเอาช้อนเข้าในปาก แต่เราไม่ทาน ช้อน หรอก
ทานแกง ทานแล้วก็เก็บช้อนนั้นไว้อีก
ถ้ามีคนมาถามว่า เก็บช้อนไว้ทำไม เก็บไว้ซดแกง
ไม่ใช่ คุณกินช้อนสิ นี่เขาจะว่าเราก็ช่างเขา
ความเป็นจริง เรารู้จักว่าช้อนไม่ใช่ของบริโภคอย่างนี้
เรารู้เราอย่างนี้ เขาจะว่าเราเอาช้อนไปซดแกงอะไร
ไม่ทานช้อนอะไร เราก็เฉย สบาย นี่คือเรารู้อย่างชัดเจน
นี่อยู่ด้วยการปล่อย เราก็ใช้ช้อน ของเราเรื่อยไป
หรือขันตักน้ำเรานี่ น้ำอย่างหนึ่ง โอ่ง น้ำอย่างหนึ่ง ขันตักน้ำอย่างหนึ่ง
สามอย่าง สี่ก็ตัวเรา เราจะต้องดื่มน้ำ ดื่มน้ำก็เอาขันไปตัก
แต่ไม่ใช่ว่าเราไปทานขัน เสร็จแล้วก็เก็บขันนั้นไว้ โดยการปล่อยวาง
ที่ว่าขันนี้เราทานมันไม่ได้หรอก ที่เราจะดื่มมันก็คือน้ำ แล้วก็มีเก็บไว้
มีคนคนหนึ่งมาว่าเราว่าเก็บขันไว้ ไม่บริโภคอย่างนี้
เราก็สบายของเราอยู่ เพราะเราไม่เป็นอย่างนั้น
ดังนั้น พระพุทธเจ้าท่านว่า อาศัยตัวเอง
คำที่ว่า ตัวเองนั้นคือไม่ใช่ตัวนั่นแหละ
ถ้าจะอาศัยตัวเอง ที่จริงๆ แล้วนี่ เดี๋ยวมันก็ล้มอีกไม่กี่ปีก็ล้มนะ
เราอาศัยตัวอันนี้ มันเป็นเรื่องสมมุติซ้อนกัน
สมมุติมันซ้อนสมมุติกัน ก็ต้องเรียกตามภาษาสมมุติ คนเราเรียกว่าตน
เพื่อให้มันเป็นภาษาเฉยๆ
ความเป็นจริง สิ่งทั้งหลายเหล่านี้พระพุทธเจ้าท่านสอนว่า
ถ้าเรารู้ธรรมะให้มันจบเสียแล้ว ก็ไม่มีอะไรเป็นเหตุให้ทุกข์เกิดขึ้นมา
อะไรๆมันเป็น คนละอย่างๆ ไม่ได้เกี่ยวพันกัน
แต่เราจับให้มันมาเกี่ยวพันกันซะ เราก็ไปยุ่งกับเขาซะ เราก็ไปยุ่งกับเขา
ความเป็นจริงสิ่งทั้งหลายมันไม่ยุ่ง
อย่างที่ว่าก้อนหินก้อนนั้นมันนิ่งอยู่อย่างนั้น ไม่ยุ่งกับเรา
มันจะยุ่งกับเรา เมื่อเราอยากจะได้ก้อนหินก้อนนั้นเท่านั้นแหละ
ตัวก้อนหินก้อนนั้นไม่ได้มีอะไร มันก็อยู่เป็นธรรมชาติอย่างนั้น
เมื่อความคิดอยากได้ก้อนหินก้อนนั้น ก็ไปยกมันก็หนักนะซิ
มันหนักเดี๋ยวนี้ หนักเมื่อเรายกเดี๋ยวนี้
เมื่อก่อนมันหนักไหม ไม่มีหนักหรอก ยังไม่เกิด มันไม่เกิดหนัก
มันก็อยู่อย่างนั้นแหละ มันไปหนักตรงที่ว่า เราไปต้องการมัน
เราไปยุ่งกับมัน ไม่ใช่มันมายุ่งเรา ความเป็นจริงมันฝ่ายเดียวทั้งนั้นแหละ
ฐิตา:
อย่างเราใช้ถ้วยใบหนึ่งมันแตก เราเสียดาย ใครผิด ใครเป็นทุกข์
ถ้วยหรือเราเป็นทุกข์ มันไม่เกี่ยวข้องกับเราเลยนะ
ถ้วยมันก็แตกไปเฉยๆ หรือมันไม่แตกก็เฉยๆ อยู่นี่แหละ
มันไม่น่าเป็นทุกข์อย่างนั้น มันคนละอย่างกัน
แต่เราว่าถ้วย เรามันแตก เป็นทุกข์นี่เพราะอะไร
มันเห็นชัดอยู่อย่างนี้ ท่าน แยกออกอย่างนี้ พระพุทธเจ้าของเราน่ะ
ถ้าเราเห็นว่ามันเป็นอยู่อย่างนั้น เราไม่ไปยุ่งกับมัน
มันก็ไม่มีอะไรกับเรา มันก็หมดเรื่องกันเท่านั้น
โยม ที่มีจานมากๆ มีถ้วยมากๆ อยู่ในบ้านก็ต้องพิจารณาอย่างนั้น
แต่ก็บอกลูกให้ มันระวัง ให้มันเช็ดให้สะอาด ให้เก็บให้ดี กลัวมันจะแตก
สอนลูกต้องสอนอย่างนั้น อย่าไปสอนว่าช่างมันเถอะลูก
มันจะแตกก็ช่างมันเถอะ ไม่ใช่ของเราหรอก
ไม่มีถ้วยใส่แกงนะ มันจะหมดนะ
นี่เรื่องสอนคนต้อง สอนอย่างนี้ มันเป็นคนละเรื่อง
จำเป็นที่จะต้องสอนอย่างนั้น ให้ลูกระวังนะ ลูกนะ
เก็บมันให้ดีกลัวมันจะแตก ดุมันอยู่เรื่อยๆ
แต่เราพูดอย่างใจอย่างนะ ถ้ามันแตกเพล้ง! จริงๆ ก็ไม่ต้องว่าอะไรมัน
แต่ว่ามันเจ็บๆ เรื่อยๆ ให้มัน ระวังไว้
ไม่งั้นไม่มีเงินจะซื้ออะไรมาใช้ มันหมดไป
คือบอกให้คนปฏิบัติมุ่งธรรม มุ่งวินัยอย่างนี้
ถ้าไปสอนอย่างธรรมะสูงๆอย่างผู้ใหญ่ ถ้วยไม่มีแล้วในบ้าน
หมดแตกหมด ไม่มีใครล้างมันหรอก มันเป็นเรื่องของอย่างนี้
ดังนั้น พระพุทธเจ้าให้ฟังธรรมะแล้วเข้าใจ
ผู้รู้จักธรรมะไม่ใช่ผู้ที่เกียจคร้าน ต้องเป็นคนฉลาดและเป็นคนขยัน
เป็นคนขยันหมั่นเพียร แต่ขยันพูดขยันทำ กระทำด้วยการปล่อยวาง
ทำด้วยความสงบระงับ อย่างนั้นพระพุทธเจ้าท่านจึงสอนว่า
ทำงานมันก็สบาย ทำโน่นทำนี่มันก็สบาย
ที่มันเป็นสัมมาอาชีวะ มันก็สบาย
ถึงแม้มันหนักหน่อยมันก็สบาย เพราะโทษตรงนั้นไม่มี อย่างนี้
ทิฐิ คือ ความเห็น
มานะ คือ ความไปยึดไว้
สองอย่างนี้มันเกาะกัน
ทิฐินี้พระพุทธเจ้าไม่ต้องอะไรหรอก ดูที่ ในใจของเรา
ความเห็นวันหนึ่งมันเกิด ยังไงบ้างมั้ย
ที่มันเกิดขึ้นมานี่เราตามดูมันได้ไหม นี่มันเกิดความคิด หลายๆอย่าง
แต่อย่างไรก็ช่างมันเถอะ ตัวมานะที่เข้าไปยึดมันเป็นตัวที่สำคัญมากที่สุด
ดีชั่วเราอย่าไปยึดมัน อย่าไปยึดมัน ให้ดูมันเถอะ
พระพุทธเจ้าท่านว่าอย่าไปยึดมัน ทิฐิแปลว่า ความเห็น
ถ้าทิฐิไม่ฟังใครมันก็เป็นมานะ ความเป็นจริงท่านให้ปล่อยวาง
ถ้ามนุษย์เรามาคิด เราปล่อยวางเราจะเอาอะไร อย่างนี้เป็นต้น
มันก็ลำบาก ยังไม่เข้าใจธรรมะ
อย่างพระพุทธองค์ท่านสอน อย่างคนเราถ้าหากว่า
ทำสิ่งไม่ดีจะตายไม่ได้เกิดหรอก เสียใจซะแล้วตกใจ กลัวจะไม่ได้เกิด
ความเป็นจริงที่พระพุทธเจ้าท่านสอนว่า อย่ามาเกิดนั่นนะมันดี
ถ้าเราไม่ได้เกิดแล้วกลัวจะไม่ได้เห็นหน้าลูก หน้าหลาน
อะไรวุ่นขึ้นมาเลย เราไม่คิดหรือว่าที่เราทุกข์ทุกวันนี้
เพราะเราเกิดมาเราจึงมีทุกข์เกิดขึ้นมา
ชาติทุกข์ ชราทุกข์ พยาธิทุกข์ ทุกข์เพราะการเกิดมา
ถ้าหากว่าคนเราบางคนคิดว่ามันบาปไม่รู้จักผุดจักเกิดแล้ว
ก็เข้าแง่ของพระพุทธเจ้าสอนว่าไม่ให้เกิด มันเป็นอย่างนั้น
http //www zone-it.com
ขอบพระคุณ
ผู้รวบรวมข้อมูลนำมาแบ่งปัน : naruphol
Pics by : Google
อกาลิโกโฮม * สุขใจดอทคอม
อนุโมทนาสาธุที่มาทั้งหมดมากมายค่ะ
นำร่อง
[0] ดัชนีข้อความ
[*] หน้าที่แล้ว
Go to full version