อริยะสงฆ์ผู้ปฏิบัติธรรมอันดี > มาลาบูชาครู
พรหมจรรย์ บนเส้นทางธรรม เร้นกายมุ่งทางสงบ หลวงปู่แหวน
ฐิตา:
สงครามกามกิเลส
- หลวงปู่แหวน สุจิณโณ
กามนี้มันหมุนรอบโลก มันเป็นเจ้าโลก กามกิเลสนี่แหละที่ทำให้เกิดสงครามต่อ
สู้ เกิดก็เพราะกาม ตายก็เพราะกาม รักก็เพราะกาม ชังก็เพราะกาม
... กามทุกอย่างนี้เรียกว่ากามกิเลส การต่อสู้กามกิเลสเป็นสงครามอันยิ่งใหญ่ กาม
กิเลสนี้ร้ายนัก มันมาทุกทิศทุกทาง
... ความพอใจก็คือกามกิเลส ความไม่พอใจก็คือกามกิเลส
... กิเลสนี้อุปมาเหมือนแม่น้ำ ธารน้ำน้อยใหญ่ไม่มีประมาณ ไหลลงสู่ทะเลไม่มีที่
เต็มฉันใดก็ดี กามตัณหาที่ไม่พอดี ภวตัณหา วิภวตัณหา เป็นแหล่งก่อทุกข์ ก่อ
ความเดือดร้อนไม่มีที่สิ้นสุด
... ทั้งหมดอยู่ที่ใจ สุขก็อยู่ที่ใจ ทุกข์ก็อยู่ที่ใจ ใจนี่แหละคือตัวเหตุ ทำความรักษา
หู รักษาตัว รักษาปาก
... สำรวมอินทรีย์ รักษาธาตุ4 ขันธ์5 พิจารณาเข้าไป ตจปัญจกกรรมฐาน5
กายคตากรรมฐาน พิจารณาให้รู้แจ้งเห็นจริงจะถอนได้
... พวก หมู หมา เป็ด ไก่ มันก็เสพกามกันทั่วแผ่นดิน อย่าได้ไปอัศจรรย์
มีแต่ ศีล สมาธิ ปัญญา ผู้ใดรักษาศีลภาวนาเข้าจนเกิดสมาธิแล้ว
สติก็ดิ่งเข้าไปแล้ว ก็จะได้ทำจิตทำใจของตนให้บริสุทธิ์
...พระธรรมแปดหมื่นสี่พันพระธรรมขันธ์ ท่านก็ชี้เข้าหาใจนี่แหละ
ทำใจให้บริสุทธิ์ให้มีสติสัมปชัญญะนำคืนออกให้หมด ถ้ามีสติแล้วก็นำความผิด
ออกจากใจของตน อย่าหลงสมมติทั้งหลาย มีรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส
อย่าเอามาหมักไว้ในใจ... ... ... .
ฐิตา:
ตัณหาเป็นเชือกผูกคอ ปอผูกศอก โซ่ล่ามขา
- หลวงปู่แหวน สุจิณโณ
ตัณหาทั้งสามมันปกครองสัตว์ทั้งโลก ความพอใจก็ดี ความไม่พอใจก็ดี จัดเป็นตัณหา กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ตัณหาทั้งสามนี้ เป็นไตรวัฎฎ์อยู่นี่ มันหมุนอยู่นี่
กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา เปรียบเหมือนธารแม่น้ำน้อยใหญ่นับไม่ถ้วน ไหลมาสู่ทะเลอันไม่มีฝั่ง ไม่มีที่เต็ม ฉันใดก็ดี ความพอใจก็ดี ความไม่พอใจก็ดี ก็เพราะกามตัณหานี้เอง
กามตัณหา เปรียบเหมือนเชือกผูกคอ ภวตัณหาเปรียบเหมือนปอผูกศอก วิภวตัณหา เปรียบโซ่ผูกขา จะเอาอาวุธมีมีดหรือขวาน มาตัดมันเท่าไรมันก็ไม่ขาด ยกเว้นแต่ผู้มีปัญญาบารมี
มนุษย์ผู้อาชาไนยเป็นผู้องอาจกล้าหาญ ต่อสู้สงครามกามกิเลส ความพอใจความไม่พอใจก็ดี ความพอใจ ความไม่พอใจนี้แหละตัดมันไม่ขาด
เวลาเราทำความเพียรบางครั้ง ดูเหมือนกับสบายเย็นใจ เย็นกาย แต่พอเร่งทำความเพียรเข้า มันกลับเป็นไปอีกอย่างหนึ่งมันไม่ใช่ง่าย พวกกามกิเลสนี้
มนุษย์ผู้อาชาไนยผู้องอาจแกล้วกล้า สามารถจะต่อสู้กามกิเลสนี้ อันเป็นข้าศึกในสงครามการต่อสู้ต้องระวังอินทรีย์ตา มันก็เป็นเหตุอันหนึ่ง หู ก็เป็นเหตุอันหนึ่ง จมูก ก็เป็นเหตุอันหนึ่ง กาย ใจ เป็นเหตุอันหนึ่ง ธรรมทั้งหลายไหลมาจากเหตุ
กายนี้เป็นมรรค เป็นที่ตั้งของมรรค กายสมบัติอันนี้ท่านยกขึ้นเป็น มรรค นะ เป็น พุทโธ โม เป็นพระเจ้า อาศัยบิดามารดาเกิดก็เพราะ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา
กามตัณหานี้มันไม่พอ ตัณหา ๓ นี้ก็เกิดขึ้นจากกายจากใจเรานี้แหละ ได้ลูกได้หลานมามันก็พอใจ
ชังก็เพราะกาม เกิดก็เพราะกาม ทุกข์ก็เพราะกาม ตายก็เพราะกาม สุขก็เพราะกาม นี้กามตัณหา
ท่านจึงเปรียบว่า กามตัณหา เหมือนเชือกผูกคอ ภวตัณหา เหมือนปอผูกศอก วิภวตัณหา เหมือนโซ่ผูกขา เพราความรัก ความโลภ ความโกรธ ความหลง มันไหลมาแต่ตัณหาทั้งสามนี้แหละ
การจองล้างจองผลาญฆ่าฟันกันเพราะกามนี้แหละ ความพอใจก็เพราะกาม ความไม่พอใจก็เพราะกามนี้แหละ
อนิจจังทั้ง ๕ ก็ชี้เข้ามาในนี้แหละ ทุกขังทั้ง ๕ ก็ดี อนัตตาทั้ง ๕ ก็ดี ก็ชี้เข้ามาในรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ไม่เที่ยงเป็นทุกข์
อนัตตา ความไม่มีตัว ไม่มีตน ถ้าเข้าไปยึดถือ มันก็เป็นทุกข์ สภาพเหล่านี้มีอยู่เป็นอยู่อย่างนี้
แม้แต่พ่อแม่จะไปแต่งให้เป็นอย่างนั้นอย่างนี้ ก็แต่งไม่ได้ แต่ถ้าเป็น ปุญญาภิสังขาร อปุญญาภิสังขาร อันนี้เราแต่งเอาเองได้ แต่งไม่ให้มันโลภ แต่งไม่ให้มันหลง แต่งไม่ให้มันโกรธ ไม่ให้มันโลภ โกรธ หลง อันเป็นรากเหง้าแห่งกิเลสทั้งหลาย เพราะตัณหานี้แหละเป็นต้นเหตุ
ทำให้เป็น อโลภะ อโทสะ อโมหะ ให้มันหมดโลภ หมดโกรธ หมดหลงแล้ว มันก็สบาย ถ้าโลภก็ยังละไม่ได้ โกรธก็ยังละไม่ได้ มันเกิดขึ้นก็เป็นการทำลายตนเอง เพราะไม่รู้จักพอ
โลภะ โทสะ โมหะ เป็นรากเหง้าของกิเลสพันห้าตัณหาร้อยแปด เราเกิดก็เพราะกาม ตายก็เพราะกาม ทุกข์ก็เพราะกาม ความพอใจก็เพราะกาม ความไม่พอใจก็เพราะกาม ความรักความชังที่เกิดขึ้นก็เพราะกามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหานี้แหละ
จะไปเอาที่ไหนพระธรรมแปดหมื่นสี่พันพระธรรมขันธ์ ท่านชี้ลงสู่กายสู่ใจนี้แหละ อันเป็นสมบัติของเจ้าพ่อเจ้าแม่ อันเป็นฐานที่ตั้งแห่งศีล เป็นที่ตั้งแห่งธรรม นี่แหละสมบัติอันนี้ความโลภ ความโกรธ ความหลง มันเกิดขึ้นภายในนี้แหละไม่ได้เกิดที่อื่น
ภาวนาพุทโธก็ดี ธัมโมก็ดี สังโฆก็ดี ระวังอย่าให้เป็นธรรมเมา ต้องกำหนดลงสู่กายสู่ใจของเรานี้แหละ อย่าไปกำหนดที่อื่น
ปี พ.ศ. ๒๔๖๔ ไปเมือง พม่า อินเดีย เขาก็สอนอย่างนี้แหละสอนอย่างเดียวกันนี้แหละ ไปดูที่ประสูติ ที่ตรัสรู้ ที่ปรินิพพาน มันก็เห็นแต่ดิน สู้ สุปฏิปันโน น้อมเข้ามาสู่กายปฏิบัติให้รู้แจ้งในภายในมันจึงใช้ได้ มัวรู้แต่ภายนอกกลายเป็นธรรมเมาไป
เมาโลภ เมาโกรธ เมาหลง เมาตัว เมาตน พวกนี้เป็นธรรมเมา ทั้งนั้นแหละ
อาจารย์วิปัสสนาของพม่าสมัยก่อน สอนกายานุปัสสนา เวทนานุปัสสนา จิตตานุปัสสนา ธัมมานุปัสสนา เวลาเราถามเข้าจริงๆจับผมบนหัวให้ดู ถามว่าผมมีกี่เส้น ขนในตัวเรานี้มีกี่เส้น ลำไส้ของหญิงยาวกี่ศอกกี่วา เขาบอกว่าไม่รู้ นั่นไม่รู้ยังจะไปชี้อีก
มันต้องค้นเข้ามาหาภายในนี้แหละต้นเหตุนี้ ตา มันก็เป็นเหตุอันหนึ่ง หู มันก็เป็นเหตุอันหนึ่ง จมูก ลิ้น มันก็เป็นเหตุอันหนึ่ง กาย ใจ มันก็เป็นเหตุอันหนึ่ง อกุศลธรรม มันเกิดขึ้นมันเกิดในเหตุเหล่านี้
ศีล ๕ ก็ดี ศีล ๘ ก็ดี ก็รวมเข้ามาในนี้แหละ ถ้านอกไปจากนี้เป็นความหลง เป็นธรรมเมาไป
จำไว้ให้แม่น พระธรรมแปดหมื่นสี่พันพระธรรมขันธ์ ชี้ไปในกายนี้ ชี้ไปในใจนี้ ต้องเอาสมบัติของเจ้าพ่อ เจ้าแม่นี้ เป็นที่ตั้ง เป็นฐานของศีล ของทาน ของภาวนา เอาสมบัติอันนี้เป็นที่ตั้งของปัญญา เพื่อทำลายอกุศลธรรม คือ ความโลภ ความโกรธ ความหลง
พระพม่าถามว่า วินัย ศีลปฏิบัติอย่างไร วินัยปฏิบัติอย่างไร
บอกเขาไปว่า ปฏิบัติน้อมเข้ามาสู่กายสู่ใจนี้ ต้องรู้เหตุสำรวมระวังเหตุ ตาเป็นเหตุ ตาเห็นรูป ถ้าไม่รู้เท่าทันมันความยินดีก็เกิดขึ้น ความยินร้ายก็เกิดขึ้น ความโลภก็เกิดขึ้น เพราะเหตุนั้นเราต้องรู้เหตุ สำรวมระวังเหตุให้น้อมเข้ามาสู่กาย เอากายเป็นมรรค เอากายเป็นผล ค้นลงในสกลกายของเรานี้ วินี วินัย ก็คือการนำความชั่ว ความผิดออกจาก กาย วาจา ใจ นี้แหละ นี้แหละเป็นวินัย
ต้องทำให้มาก ให้มีสติ เข้าหาพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ปฏิบัติให้รู้จักที่เกิดของธรรม รู้จักที่ดับของธรรม ถ้าบริกรรมพุทโธ ก็เอาพุทโธไป ถ้าพูดมากฟังมากทำน้อยก็ไม่ได้ผล
แต่ถ้าฟังแต่น้อยเอาความหมั่น ความเพียร ให้มาก ภาวนาให้มาก น้อมเข้ามาสู่กายสู่ใจของตน อุปาทานทั้ง ๕ อนิจจังทั้ง ๕ ทุกขังทั้ง ๕ อนัตตาทั้ง ๕ ภาราหเวปญฺจกฺขนฺธา ภาราหาโร จ ปุคฺคโล วางขันธ์ ๕ ธาตุ ๕ ได้แล้ว อุปาทานทั้ง ๕ อนิจจังทั้ง ๕ ทุกขังทั้ง ๕ รวมลงในธาตุ ๔ ขันธ์ ๕ นี้แหละ
ขันธ์แยกออกเป็นดิน เป็นน้ำ เป็นลม เป็นไฟ พิจารณาอันนี้ให้มันรู้ ให้มันละมันวาง
ภาวนา พุทโธ นี้แหละ เห็นว่ามันน้อยๆอย่างนี้ไปดูถูกไม่ได้ ความหมั่นความเพียรนี้แหละ เป็นประโยชน์มาก
ถ้าฟังมากๆได้เฉพาะคำพูด แต่ทำเพียงเล็กน้อยแล้วก็แล้วไป มัวแต่เจ็บแข้ง เจ็บขา เจ็บหลัง เจ็บเอว อยู่อย่างนี้ มันไม่ได้ความอะไร
มันเจ็บที่ไหนก็กำหนดเข้าที่นั่น ความเจ็บความปวดธรรมทั้งหลายไหลมาจากเหตุ หู จมูก ลิ้น กาย ใจ นี่แหละเป็นเหตุ มันไหลมาจากนี้แหละ มีที่เดียวนี้แหละ คือ รักษาตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ให้แข็งแรง
ความรักเกิดขึ้นก็นำออกเสีย ความชังเกิดขึ้นก็นำออกเสีย ความโลภ ความโกรธ ความหลง เกิดขึ้นทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ก็นำออกเสีย
นี้ท่านยกขึ้นเป็นศีล ท่านยกขึ้นเป็นวินัย จะเป็นศีล ๕ ศีล ๘ อันใดก็ตาม ศีล ๕ นี้ก็อันนี้ประจำตน คือ ขา ๒ แขน ๒ หัว ๑
ขันธ์ ๕ นี้แหละรักษาให้มันคุ้ม รักษา ตา นี้สำคัญ ตาเห็นรูป รูปที่พอใจก็ดี ไม่พอใจก็ดี ถ้าเราหลงลายมันก็มักเกิดความชั่ว
ศีล ๕ ศีล ๘ ศีลมากมายเหมือนของภิกษุก็ต้องรักษาตานี้แหละ ตา หู จมูก ลิ้น กาย เป็นตัวเหตุมันไหลเข้ามา
ธรรมทั้งหลายไหลมาจากเหตุ กำหนดเข้าๆรู้เท่าทันเหตุ เหตุดับมันก็ถึงความสุข เพราะวางอุปทานเหตุจึงดับไป อวิชชา ความมืด ไม่รู้แจ้งมันก็ดับไป เวลาพูดดูเป็นของง่ายแต่เวลาทำยาก
อย่าไปยึดเอาสิ่งนั้นสิ่งนี้ ฟังแต่น้อยแต่ต้องทำให้มาก อาศัยความพากความเพียร ทำการงานด้วยกายของเราทุกสิ่งทุกอย่าง ทำให้เป็นอริยมรรค อย่าให้เป็นกิเลส ถ้าเป็นกิเลสเป็นทุกข์
นำมาแบ่งปันโดย : naruphol
:http://www.zone-it.com/
อนุโมทนาสาธุที่มาทั้งหมดมากมายค่ะ
ดอกโศก:
อนุโมทนาค่ะ
:13:
ฐิตา:
มรณานุสสติ หลวงปู่แหวน
ความเกิดมีแล้ว ความแก่ ความตายมันก็มีอยู่ ไม่มีใครพ้นตาย เกิดก็เกิดเต็มแผ่นดิน ตายก็ตายเต็มแผ่นดิน อยู่เกิดแล้วตาย ตายแล้วเกิดอยู่นี้แหละ ความตายเต็มแผ่นดินอยู่ เป็นเป็ด ไก่ หมู หมา เขาก็ตาย มนุษย์ชายหญิงก็ตาย ใครล่ะ เกิดมาแล้วไม่ตาย
ถ้าเกิดมาขวางโลกเขา เกิดมาแล้วไม่ตาย ไม่เฒ่า ไม่แก่ ไม่เจ็บ ไม่ตาย ขวางบ้าน ขวางแผ่นดิน ขวางโลก เขาอยู่ได้อย่างไร ให้ภาวนา มรณานุสสติอยู่อย่างนี้แหละ
เป็นเป็ดเป็นไก่มันก็ตาย เป็น วัว ควาย ช้าง ม้า หมู หมา เขาก็ตาย คนแก่ก็ตาย คนหนุ่มก็ตาย ถ้ากลัวตายมีใครพ้นตายไหม ทุกคนทุกสิ่งสรุปลงสู่ความตายทั้งหมด
เป็ด ไก่ วัว ควาย หมู ปลา ถ้ามันไม่ตายเอง เขาก็ฆ่าเอาให้มันตาย อยู่ในสภาพไหนล่ะมันจะพ้นจากความตาย ถึงจะมีอายุผ่านพ้นไปร้อยปีพันปี มันก็ต้องตายอยู่นั่นแหละ สัจจธรรมข้อนี้ใครๆ ก็พ้นไปไม่ได้ นั่งอยู่ก็ตาย นอนอยู่ก็ตาย กินอยู่ก็ตาย ไม่กินก็ตาย เจ็บป่วยอยู่ก็ตาย ไม่เจ็บไม่ป่วยมันก็ตาย ความตายมันมีอยู่ทุกฐานะทุกสถานที่
ความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย มันครอบงำเราอยู่ทุกเมื่อ พิจารณาให้รู้แจ้งเห็นจริงเสีย แม้อบายโลก เขาก็ฆ่ากันกินกันอยู่ ความตายจึงไม่มีที่จะหลีกเร้นซ่อนหนี
ที่พึ่งอย่างอื่นไม่มีนอกจาก พุทฺธํ ชีวิตํ ยาว นิพฺพานํ สรณํ คจฺฉามิ ธมฺมํ ชีวิตํ ยาว นิพฺพานํ สรณํ คจฺฉามิ สงฆํ ชีวิตํ ยาว นิพฺพานํ สรณํ คจฺฉามิ ที่พึ่งอย่างอื่นของข้าพเจ้าไม่มี นอกจากพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เราต้องหาที่พึ่งอันประเสริฐไว้เสียแต่บัดนี้ แต่ยังมีชีวิตอยู่อย่างนี้ ยังแข็งแรงอยู่อย่างนี้ ถ้าร่างกาย จิตใจมันไม่อำนวยแล้วจะไปคิดถึงอะไรจะไปยึดไปถือเอาอะไรเป็นที่พึ่งมันยาก
ศีลเราก็ต้องรักษาให้มันดี ศีลก็คือการนำความผิดความชั่วออกจากกายจากวาจาของเรานี้แหละ ธรรมทั่วทั้งสิ้นแปดหมื่นสี่พันพระธรรมขันธ์ พระพุทธเจ้าพระองค์ชี้ลงสู่กายสู่ใจของเรา พระองค์ทรงบัญญัติพระวินัย ก็ทรงบัญญัติเพื่อให้รักษาไตรทวาร พระอุปัชฌายอาจารย์ท่านสอนมูลกัมมัฏฐาน เกสา โลมา นขา ทันตา ตะโจ ท่านก็สอนย้ำลงในสิ่งของที่มีอยู่ในตัวของเรา
ปัญจกกัมมัฏฐาน ๕ นี้แหละเป็นที่ตั้งของกรรม กรรมมันหมุนอยู่นี้แหละ ในไตรทวารนี้แหละ ความรัก ความโลภ ความโกรธอันใด มันหมุนอยู่ในฐานอันนี้แหละ กุสลา ธมฺมา อกุสลา ธมฺมา กุศลนำสัตว์ให้ไปเกิดในทางเจริญ อกุศล นำสัตว์ไปสู่อบายภูมิ มีเปรต นรก สัตว์เดียรัจฉานก็ดี มันหมุนอยู่ในไตรโลกอันนี้ ตกอยู่ในกามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหานี้ เกิดแก่ เจ็บ ตาย ของจริงมันมีอยู่ประจำอยู่อย่างนี้ มันหมุนเป็นกงจักรบดสัตว์โลกทั้งหลาย อยู่ประจำอิริยาบถ เจ็บแข้ง เจ็บขา ปวดหลัง ปวดเอว เจ็บไข้ได้ป่วย เป็น อนิจจํ ทุกขํ อนตฺตา มันแสดงให้เราดูอยู่อย่างนี้ เว้นแต่เรามองไม่เห็นมันเท่านั้น
ส่วนมากจะตกอยู่ใต้อำนาจของสังขาร มันปรุงมันแต่งเป็น อดีต อนาคตไป ส่วนปัจจุบันสัจจธรรมที่เขาแสดงตัวให้ปรากฏอยู่ มันไม่ใคร่เอามานึกมาคิด ไม่เคยน้อมเข้าหากายหาใจของเรา มันคอยแต่จะเป็น ธรรมเมาไป.
-http://board.palungjit.com/showthread.php?t=16641
* Agaligo Home บ้านที่แม้จริง อกาลิโก โฮม
กุศลผลบุญใดที่พึงบังเกิดจากธรรมทานนี้ ขอจงเป็นบุญเป็นปัจจัย
แด่ท่านผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในธรรมทานนี้ ทุกๆท่าน
รวมทั้งท่านเจ้าของภาพ ทุกๆภาพ เรียนขออนุญาตใช้ภาพ
ไว้ ณ ที่นี้... นะคะ
อนุโมทนาสาธุที่มาทั้งหมดมากมายค่ะ
ฐิตา:
ตา หู จมูก เป็นเหตุ (หลวงปู่แหวน)
ภาวนา กำหนดใจ ถ้ากำหนดใจได้แล้ว มันจึงรู้พุทโธ เป็นมรรคของใจ ถ้าภาวนากำหนดจิตยังไม่ได้ มันก็แพ้กิเลส
ต้องมีสติรักษาใจจึงจะดี ถ้าไม่มีสติก็จะไปเกาะเกี่ยวอันนั้นอันนี้ทั่วไป พาให้หลงไป เวลาหลงไป เช่นหลงอะไรก็ให้ยกอันนั้นขึ้นสู่การพิจารณา ตัวอย่างกาย ให้เพ่งแยกส่วนของกายออก แต่ละส่วนเต็มไปด้วยของไม่สะอาด ไหลเข้าไหลออกตลอดอยู่ทุกขณะ การที่พิจารณาแยกแยะจนเห็นเป็นของไม่งามไม่ใช่ของง่าย ในเมื่อจิตยังแส่ส่ายหาอารมณ์อยู่ ต้องอาศัยความพากเพียรอดทน เมื่อจิตมีกำลังมันจึงสงบ ถ้ามัวเกียจคร้านอยู่ จิตมันก็ไม่เป็นไป ตัวขี้เกียจขี้คร้านนี้แหละเป็นตัวทำให้เสีย เป็นตัวกิเลส เวลานั่งประเดี๋ยวหนาว ประเดี๋ยวหาว พวกนี้เป็นกิเลสทั้งนั้นแหละ ถ้าพร้อมด้วยการกระทำจึงจะได้กำลัง ถ้าไม่พร้อมมันก็ไม่มีกำลัง
ร่ายกายของเรานั้นที่เราเห็นว่างาม ก็เพราะมีของไม่สะอาดเต็มท้องเต็มไส้อยู่ ถ้าในท้องในไส้ไม่มีอะไรเลย ลองดูซิมันจะงามไหม? ถ้าของในท้องในไส้ไหลออกหมด มันก็เหี่ยวแห้งเหลือแต่หนังหุ้มกระดูกเท่านั้น ถ้าพูดตามความจริงแล้ว ทั้งร่างกายเต็มไปด้วยของเสียทั้งหมด ถึงอย่างนั้นก็ยังหลงไปว่าเป็นของสวยงาม แต่ใจมันไม่ว่าเต็มไปด้วยของไม่สะอาดหนา เราต้องภาวนาพิจารณากลับไปกลับมา ทบไปทวนมาอยู่นั่นแหละ เราไปหลงของไม่งาม จับอันนั้นต่ออันนี้เลยเห็นว่างาม จนติดจนหลง
การภาวนาถ้านอนภาวนา มันกลายเป็นภาวนอนไปเสีย การฉันอาหารถ้าฉันมากเกินไป เวลาภาวนาก็นั่งหลับไปเสีย มันหลายเรื่องหลายราว ถ้าอะไรมันมากไปจิตมันไม่สงบ ห้ามมันไม่ฟังอาหารมันทับ
กามนี้เราเคยติดมาแล้วนับอเนกอนันต์ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์เร่งความเพียรจนรู้แจ้งเห็นจริง กามตัวเดียวที่ทำให้สัตว์ตาย กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา เอาเข้ากลายเป็นกามตันหน้า ภวตันตา วิภวตันใจ เมื่อกามเหล่านี้เข้าไปอุดไปตัน หน้า ตา ใจ แล้วก็เกิดความหลง ความรัก ความชัง ความพอใจก็เพราะกาม ความไม่พอใจก็เพราะกาม มันเกิดขึ้นกับใจ
ตา เป็นเหตุ หู เป็นเหตุ จมูก เป็นเหตุ เป็นเหตุแห่งความรัก ความชัง ตา เป็นเหตุ เมื่อได้เห็นรูปสวย รูปงาม รูปอัปลักษณ์น่าเกลียดน่าชัง หู เป็นเหตุ ได้ยินเสียงการประโคมขับร้องอันไพเราะ หรือเสียงน่ารำคาญ จมูกและใจก็เหมือนกัน ถ้าดีเป็นน่ารัก มันก็ติดเป็นหลง ถ้าตรงกันข้าม มันก็เกลียดก็ชัง จึงว่ามันเป็นเหตุ
การฆ่ากันก็เพราะกาม รักกันก็เพราะกาม ทั่วอากาศ ทั่วพื้นน้ำและบนบกเต็มไปด้วยกาม กามตันหน้า ภวตันหู วิภวตันใจ ถ้าจะขยายออกไป มันก็ไม่มีที่สิ้นสุดหรอกกาม เพราะความพอใจและไม่พอใจก็เกิดจากกามทั้งสิ้น พิจารณาให้ดี ๆ เป็นอย่างไรมันจึงหลงไป จนกลายเป็นบ๋อยรับใช้ไป
-http://agaligohome.fix.gs/index.php?topic=897.0
นำร่อง
[0] ดัชนีข้อความ
[#] หน้าถัดไป
[*] หน้าที่แล้ว
Go to full version