ผู้เขียน หัวข้อ: ปฏิสัมภิทามรรค อนุโลมขันติ  (อ่าน 2809 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
ปฏิสัมภิทามรรค อนุโลมขันติ
« เมื่อ: มกราคม 06, 2011, 09:12:23 pm »



ปฏิสัมภิทามรรค อนุโลมขันติ
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๓

ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค

[๗๓๕] ภิกษุย่อมได้อนุโลมขันติด้วยอาการเท่าไร ย่างลงสู่สัมมัตตนิยามด้วยอาการเท่าไร
ภิกษุย่อมได้อนุโลมขันติด้วยอาการ ๔๐ ย่างลงสู่สัมมัตต  นิยามด้วยอาการ ๔๐ ฯ
           
ภิกษุย่อมได้อนุโลมขันติด้วยอาการ ๔๐ เป็นไฉน ย่างลงสู่สัมมัตตนิยาม
ด้วยอาการ ๔๐ เป็นไฉน ฯ

ภิกษุพิจารณาเห็นเบญจขันธ์ โดยความเป็นของไม่เที่ยง ๑ เป็นทุกข์ ๑ 
เป็นโรค ๑ เป็นดังหัวฝี ๑

เป็นดังลูกศร ๑ เป็นความลำบาก ๑ เป็นอาพาธ ๑  เป็นอย่างอื่น ๑
เป็นของชำรุด ๑ เป็นเสนียด ๑

เป็นอุบาทว์ ๑ เป็นภัย ๑เป็นอุปสรรค ๑ เป็นความหวั่นไหว ๑
เป็นของผุพัง ๑ เป็นของไม่ยั่งยืน ๑ 

เป็นของไม่มีอะไรต้านทาน ๑ เป็นของไม่มีอะไรป้องกัน ๑
เป็นของไม่เป็นที่พึ่ง ๑ เป็นของว่าง ๑

เป็นของเปล่า ๑ เป็นของสูญ ๑ เป็นอนัตตา ๑ เป็นโทษ ๑
เป็นของมีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ๑

เป็นของหาสาระมิได้ ๑ เป็นมูลแห่งความลำบาก ๑ เป็นดังเพชฌฆาต ๑
เป็นความเสื่อมไป ๑

เป็นของมีอาสวะ ๑ เป็นของอันปัจจัยปรุงแต่ง ๑ เป็นเหยื่อแห่งมาร ๑
เป็นของมีความเกิดเป็นธรรมดา ๑

เป็นของมีความแก่เป็นธรรมดา ๑ เป็นของมีความป่วยไข้เป็นธรรมดา ๑
เป็นของมีความตายเป็นธรรมดา ๑

เป็นของมีความเศร้าโศกเป็นธรรมดา ๑ เป็นของมีความร่ำไรเป็นธรรมดา ๑
เป็นของมีความคับแค้นใจเป็นธรรมดา ๑ เป็นของมีความเศร้าหมองเป็นธรรมดา ๑

เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นของไม่เที่ยง ย่อมได้อนุโลมขันติ
เมื่อพิจารณาเห็นว่า
ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานเที่ยง ย่อมย่างลงสู่สัมมัตตนิยาม

เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นทุกข์ ย่อมได้อนุโลมขันติ
เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานเป็นสุข

ย่อมย่างลงสู่สัมมัตตนิยาม เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นโรค ...
เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีฝี ...

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: ปฏิสัมภิทามรรค อนุโลมขันติ
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: มกราคม 06, 2011, 09:37:49 pm »

เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นดังลูกศร ...
เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีลูกศร ...

เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความลำบาก ... เมื่อพิจารณาเห็นว่า
ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีความลำบาก ...

เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นอาพาธ ...เมื่อพิจารณาเห็นว่า
ความดับแห่งเบญจขันธ์ เป็นนิพพานไม่มีอาพาธ ...

เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นอื่น ... เมื่อพิจารณาเห็นว่า
ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีสิ่งอื่นเป็นปัจจัย ...

เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นของชำรุด ... เมื่อพิจารณาเห็นว่า
ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีความชำรุดเป็นธรรมดา ...

เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นเสนียด ...เมื่อพิจารณาเห็นว่า
ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีเสนียด ...

เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นอุบาทว์ ... เมื่อพิจารณาเห็นว่า
ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีอุบาทว์ ...

เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นภัย ... เมื่อพิจารณาเห็นว่า
ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานอันไม่มีภัย ...

เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นอุปสรรค ... เมื่อพิจารณาเห็นว่า
ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีอุปสรรค ...

เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นของหวั่นไหว ...เมื่อพิจารณาเห็นว่า
ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีความหวั่นไหว ...

เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นของผุพัง ... เมื่อพิจารณาเห็นว่า
ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีความผุพัง ...

เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นของไม่ยั่งยืน ...เมื่อพิจารณาเห็นว่า
ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานมีความยั่งยืน ...

เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นของไม่มีอะไรต้านทาน ...
เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานเป็นที่ต้านทาน ...

เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นของไม่มีอะไรป้องกัน ...
เมื่อพิจารณาเห็นว่า
ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานเป็นที่ป้องกัน ...

เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นของไม่มีที่พึ่ง ...เมื่อพิจารณาเห็นว่า
ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานเป็นที่พึ่ง

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: ปฏิสัมภิทามรรค อนุโลมขันติ
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: มกราคม 06, 2011, 09:45:33 pm »

-->>  เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นของว่าง ...
เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่ว่าง ...

-->>  เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นของว่างเปล่า ...
เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่ว่างเปล่า ...

-->>  เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นของสูญ ...
เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานสูญอย่างยิ่ง...

(ที่ว่าสูญอย่างยิ่งคือสูญจากเบญจขันธ์อย่างยิ่ง : ป.ล.ปราชญ์ขยะ) 

-->>  เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นอนัตตา ...
เมื่อพิจารณาเห็นว่า
ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง...

(น่าแปลกที่ไม่ทรงกล่าวว่าพิพานเป็นอนัตตาทั้งๆ ที่กล่าวว่าเบญจขันธ์เป็นอนัตตา
คงไม่ทรงต้องการให้ยึดถือว่านิพพานเป็นอนัตตาหรืออัตตามากกว่า : ปล.ปราชญ์ขยะ)


เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นโทษ ...
เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีโทษ ...

เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นของแปรปรวนเป็นธรรมดา ...
เมื่อพิจารณาเห็นว่า
ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานมีความไม่แปรปรวนเป็นธรรมดา ...

เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นของหาสาระมิได้ ...
เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานมีสาระ ...

เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นมูลแห่งความลำบาก ...
เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีมูลแห่งความลำบาก ...

เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นดังเพชฌฆาต ...
เมื่อพิจารณาเห็นว่าความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่เป็นดังเพชฌฆาต ...

-->>  เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นของเสื่อมไป ...
เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีความเสื่อมไป ...

(เห็นได้ว่านิพพานไม่มีความเสื่อม  ดังนั้น
นิพพานย่อมต่างจากเบญจขันธ์ดังนี้ : ป.ล.ปราชญ์ขยะ)


เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นของมีอาสวะ ...
เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีอาสวะ ...

เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นของอันปัจจัยปรุงแต่ง ...
เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง ...

เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นเหยื่อแห่งมาร...
เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่เป็นเหยื่อแห่งมาร ...

เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นของมีความเกิดเป็นธรรมดา ...
เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีความเกิด ...

เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นของมีความแก่เป็นธรรมดา ...
เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีความแก่ ...

เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นของมีความป่วยไข้เป็นธรรมดา...
เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีความป่วยไข้ ...

เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นของมีความตายเป็นธรรมดา ...
เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีความตาย ...

เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นของมีความเศร้าโศกเป็นธรรมดา ...
เมื่อพิจารณาเห็นว่าความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีความเศร้าโศก ...

เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นของมีความร่ำไรเป็นธรรมดา ...
เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีความร่ำไร ...

เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นของมีความคับแค้นเป็นธรรมดา
ย่อมได้อนุโลมขันติ

เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีความคับแค้น
ย่อมย่างลงสู่สัมมัตตนิยาม

เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นของมีความเศร้าหมองเป็นธรรมดา
ย่อมได้อนุโลมขันติ

เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีความเศร้าหมอง
ย่อมย่างลงสู่สัมมัตตนิยาม ฯ



เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑ 
บรรทัดที่ ๑๐๘๕๓ - ๑๐๙๓๙.  หน้าที่  ๔๕๔ - ๔๕๘.
http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=31&A=10853&Z=10939&pagebreak=0


http://www.pantip.com/cafe/religious/topic/Y10019595/Y10019595.html
Pics by : Google
อกาลิโกโฮม * สุขใจดอทคอม
อนุโมทนาสาธุที่มาทั้งหมดมากมายค่ะ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 07, 2011, 04:28:01 pm โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ แก้วจ๋าหน้าร้อน

  • สิ่งใดคือธรรมะ สิ่งนั้นย่อมดีแล้วสูงสุด
  • ทีมงานกวาดลานดิน
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 6503
  • พลังกัลยาณมิตร 1741
  • ธรรมะอวยพรความดีคุ้มครอง
    • kaewjanaron
    • facehot
    • ดูรายละเอียด
    • ใต้ร่มธรรม
Re: ปฏิสัมภิทามรรค อนุโลมขันติ
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: มกราคม 06, 2011, 09:57:36 pm »
:13: อนุโมทนาครับ ขอบคุณครับพี่แป๋ม
การโพสภาพโดยใช้เว็บฝากไฟล์ภาพ imageshack.us/ (เว็บกบ)
การปรับแต่งห้องสมาชิกไร้ขีดจำกัด Ultimate Profile + ห้องเพลงส่วนตัว
การตั้งกระทู้และการโพสกระทู้ในเว็บใต้ร่มธรรมครับ
การแก้ไข้ข้อมูล ชื่อ ระหัส ส่วนตัวของสมาชิกใต้ร่มธรรมครับ
การใส่รูปประจำตัวเรา Avatar รวมทั้งลายเซ็นต์ ในกระทู้หรือโพสของเราครับ
เพิ่มไอคอน ทวิสเตอร์ เฟชบุ๊ค ยูทูบ ในโปรโปรไฟล์ของเรา
การสร้างอัลบั้มภาพส่วนตัวในห้องสมาชิก Profile Pictures
การเพิ่มเพื่อน กัลยาณมิตรใต้ร่มธรรม ในห้องสมาชิกส่วนตัว
การดูกระทู้ทั้งหมดที่เรายังไม่ได้อ่านครับ
โค้ดสี bb color code ไว้สำหรับโพสกระทู้ครับ
*วิธีเคลียร์แคชในทุกเว็บเบราว์เซอร์ครับ เมื่อคอมอืด*

ห้องประชุมของทีมงาน
~ธรรมะอวยพรความดีคุ้มครองครับ~

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: ปฏิสัมภิทามรรค อนุโลมขันติ
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: มกราคม 07, 2011, 06:15:12 pm »



"หญ้าแม้เป็นพืชต้นเล็กๆ แต่เพราะมีความทนทรหด
จึงสามารถแพร่พันธุ์ไปได้ทั่วโลกฉันใด
คนเราแม้กำลังทรัพย์ กำลังความรู้ ความสามารถจะยังน้อย
แต่ถ้ามีความอดทนแล้ว ย่อมสามารถฝึกฝนตนเอง
ให้ประสบความสุขความสำเร็จในชีวิตได้ฉันนั้น"




ความอดทนคืออะไร ?

ความอดทน มาจากคำว่า ขันติ หมายถึง การรักษาปกติภาวะของตนไว้ได้
ไม่ว่าจะถูกกระทบกระทั่งด้วยสิ่งอันเป็นที่พึงปรารถนา หรือไม่พึงปรารถนาก็ตาม
มีความมั่นคงหนักแน่นเหมือนแผ่นดิน ซึ่งไม่หวั่นไหว
ไม่ว่าจะมีคนเทอะไรลงไป ของเสีย ของหอม ของสกปรกหรือของดีงามก็ตาม

งานทุกชิ้นในโลกไม่ว่าจะเป็นงานเล็กงานใหญ่ ที่สำเร็จขึ้นมาได้นอกจาก
จะอาศัยปัญญาเป็นตัวนำแล้ว

ล้วนต้องอาศัยคุณธรรมอันหนึ่งเป็นพื้นฐานจึงสำเร็จได้
คุณธรรมอันนั้นคือ ขันติ
ถ้าขาดขันติเสียแล้ว จะไม่มีงานชิ้นใดสำเร็จได้เลย เพราะขันติเป็นคุณธรรม
สำหรับทั้งต่อต้านความท้อถอยหดหู่ ขับเคลื่อนเร่งเร้าให้เกิดความขยัน
และทำให้เห็นอุปสรรคต่างๆ เป็นเครื่องท้าทายความสามารถ

ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่า ความสำเร็จของงานทุกชิ้น ทั้งทางโลกและทางธรรม
คืออนุสาวรีย์ของขันติทั้งสิ้น โดยเหตุนี้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงตรัสว่า

ยกเว้นปัญญาแล้ว เราสรรเสริญว่าขันติเป็นคุณธรรมอย่างยิ่ง

ลักษณะความอดทนที่ถูกต้อง

๑.มีความอดกลั้น คือ เมื่อถูกคนพาลด่า ก็ทำราวกับว่าไม่ได้ยิน
ทำหูเหมือนหูกระทะ เมื่อเห็นอาการยั่วยุ ก็ทำราวกับว่าไม่ได้เห็น
ทำตาเหมือนตาไม้ไผ่ ไม่สนใจใยดี ไม่ปล่อยใจให้เศร้าหมองไปด้วย
ใส่ใจ สนใจ แต่ในเรื่องที่จะทำความเจริญให้แก่ตนเอง
เช่น เจริญศีล สมาธิ ปัญญาให้ยิ่งๆ ขึ้นไป


 ๒.เป็นผู้ไม่ดุร้าย คือ สามารถข่มความโกรธไว้ได้ ไม่โกรธ ไม่ทำร้าย
ทำอันตรายด้วยอำนาจแห่งความโกรธนั้น ผู้ที่โกรธง่ายแสดงว่ายังขาดความอดทน
มีคำตรัสของท้าวสักกะ เป็นข้อเตือนใจอยู่ว่า
ผู้ใดโกรธตอบผู้ที่โกรธก่อนแล้ว ผู้นั้นกลับเป็นคนเลวกว่า ผู้ที่โกรธก่อน
ผู้ที่ไม่โกรธต่อบุคคลผู้กำลังโกรธอยู่ ย่อมชื่อว่า เป็นผู้ชนะสงครามอันชนะได้ยากยิ่ง


๓.ไม่ปลูกน้ำตาให้แก่ใครๆ คือ ไม่ก่อทุกข์ให้แก่ผู้อื่น ไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน
หรือเจ็บแค้นใจจนน้ำตาไหลด้วยอำนาจความเกรี้ยวกราดของเรา

 ๔.มีใจเบิกบานแจ่มใสอยู่เป็นนิตย์ คือ มีปีติอิ่มเอิบใจเสมอๆ
ไม่พยาบาท
ไม่โทษฟ้า โทษฝน โทษเทวดา โทษโชคชะตา หรือโทษใครๆ ทั้งนั้น
พยายามอดทนทำการงานทุกอย่างด้วยใจเบิกบาน

ลักษณะความอดทนนั้น โบราณท่านสอนลูกหลานไว้ย่อๆ ว่า
“ปิดหูซ้ายขวา ปิดตาสองข้าง ปิดปากเสียบ้าง นอนนั่งสบาย”
คนบางคนขี้เกียจทำงาน บางคนขี้เกียจเรียนหนังสือ บางคนเกะกะเกเร
พอมีผู้ว่ากล่าวตักเตือนก็เฉยเสีย
แล้วบอกว่าตนเองกำลังบำเพ็ญขันติบารมี อย่างนี้เป็นการเข้าใจผิด
ตีความหมายของขันติผิดไป

ขันติไม่ได้หมายถึงการตกอยู่ในสภาพใดก็ทนอยู่อย่างนั้น
“พวกที่จน ก็ทนจนต่อไป ไม่ขวนขวายทำมาหากิน จัดเป็นพวกตายด้าน”
“พวกที่โง่ ก็ทนโง่ไป ใครสอนให้ก็ไม่เอา จัดเป็นพวก ดื้อด้าน”
 “พวกที่ชั่ว แล้วก็ชั่วอีก ใครห้ามก็ไม่ฟัง จัดเป็นพวก ดื้อดึง”

 ลักษณะที่สำคัญยิ่งของขันติ คือ ตลอดเวลาที่อดทนอยู่นั้น จะต้องมีใจผ่องใส ไม่เศร้าหมอง

 เราสรุปลักษณะของขันติโดยย่อ ได้ดังนี้

     ๑.อดทนถอนตัวหรือหลีกเลี่ยงจากความชั่วให้ได้
     ๒.อดทนทำความดีต่อไป
     ๓.อดทนรักษาใจไว้ไม่ให้เศร้าหมอง


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 08, 2011, 07:31:45 am โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: ปฏิสัมภิทามรรค อนุโลมขันติ
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: มกราคม 07, 2011, 06:37:16 pm »


ประเภทของความอดทน
 ความอดทนแบ่งตามเหตุที่มากระทบได้เป็น ๔ประเภทคือ

     ๑.อดทนต่อความลำบากตรากตรำ เป็นการอดทนต่อสภาพธรรมชาติ ดินฟ้าอากาศ ความหนาว ความร้อน ฝนตก แดดออก ฯลฯ ก็อดทนทำงานเรื่อยไป ไม่ใช่เอาแต่โทษเทวดาฟ้าดิน หรืออ้างเหตุเหล่านี้แล้วไม่ทำงาน

     ๒.อดทนต่อทุกขเวทนา เป็นการอดทนต่อการเจ็บไข้ได้ป่วยความไม่สบายกายของเราเอง ความปวด ความเมื่อย ผู้ที่ขาดความอดทนประเภทนี้ เวลาเจ็บป่วย จะร้องครวญคราง พร่ำเพ้อรำพัน หงุดหงิด ฉุนเฉียวง่าย ผู้รักษาพยาบาลทำอะไรไม่ทันใจหรือไม่ถูกใจ ก็โกรธง่ายพวกนี้จึงต้องป่วยเป็น ๒ เท่า คือ นอกจากจะป่วยกายที่เป็นอยู่แล้ว ยังต้องป่วยใจแถมเข้าไปด้วย ทำตัวเป็นที่น่าเบื่อหน่ายแก่ชนทั้งหลาย

     ๓.อดทนต่อความเจ็บใจ เป็นการอดทนต่อความโกรธ ความไม่พอใจ ความขัดใจ อันเกิดจากคำพูดที่ไม่ชอบใจ กิริยามารยาทที่ไม่งาม การบีบคั้นทั้งจากผู้บังคับบัญชาและลูกน้อง ความอยุติธรรมต่างๆ ในสังคม ระบบงานต่างๆ ที่ไม่คล่องตัว ฯลฯ
 คนทั้งหลายในโลกแตกต่างกันมากโดยอัธยาสัยใจคอ โอกาสที่จะได้อย่างใจเรานั้นอย่าพึงคิด เพราะฉะนั้น เมื่อเริ่มเข้าหมู่คนหรือมีคนตั้งแต่สองคนขึ้นไป ให้เตรียมขันติไว้ต่อต้านความเจ็บใจ

     ๔.อดทนต่ออำนาจกิเลส เป็นการอดทนต่ออารมณ์อันน่าใคร่น่าเพลิดเพลินใจ อดทนต่อสิ่งที่เราอยากทำ แต่ไม่สมควรทำ เช่น อดทน ไม่เที่ยวเตร่ ไม่เล่นการพนัน ไม่เสพสิ่งเสพย์ติด ไม่รับสินบน ไม่คอรัปชั่น ไม่ผิดลูกเมียเขา ไม่เห่อยศ ไม่บ้าอำนาจ ไม่ขี้โอ่ ไม่ขี้อวด เป็นต้น
 การอดทนข้อนี้ทำได้ยากที่สุด โบราณเปรียบไว้ว่า

เขาด่าแล้วไม่โกรธ ว่ายากแล้ว เขาชมแล้วไม่ยิ้ม ยากยิ่งกว่า”

วิธีฝึกให้มีความอดทน


     ๑.ต้องคำนึงถึงหิริโอตตัปปะให้มาก เมื่อมีความละอายและเกรงกลัวต่อบาปอย่างเต็มที่ ความอดทนย่อมจะเกิดขึ้น ดังตัวอย่างในเรื่องของพระเตมีย์ใบ้

 เมื่อครั้งพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังทรงบำเพ็ญบารมีเป็นพระโพธิสัตว์อยู่ มีอยู่ชาติหนึ่ง พระองค์เกิดเป็นโอรสกษัตริย์นามว่าพระเตมีย์ ขณะอายุได้ ๖-๗ ขวบ ได้เห็นพระราชบิดาสั่งประหารโจรโดยใช้ไฟครอกให้ตาย ด้วยบุญบารมีที่ทำมาดีแล้ว ทำให้พระเตมีย์ระลึกชาติได้ว่าภพในอดีตพระองค์ก็เคยเป็นกษัตริย์ และก็เคยสั่งประหารโจร ทำให้ต้องตกนรกอยู่ช้านาน จึงคิดว่า ถ้าชาตินี้เราต้องเป็นกษัตริย์อีก ก็ต้องฆ่าโจรอีก แล้วก็จะตกนรกอีก

 ตั้งแต่วันนั้นมา พระเตมีย์จึงแกล้งทำเป็นใบ้

ทำเป็นอ่อนเปลี้ยเสียขาไม่ขยับเขื้อนร่างกายพระราชบิดาจะเอาขนมเอาของเล่นมาล่อ ก็ไม่สนใจ จะเอามดมาไต่ ไรมากัด เอาไฟมาเผารอบตัวให้ร้อน เอาช้างมาทำท่าจะแทงก็เฉย ครั้งถึงวัยหนุ่ม จะเอาสาวๆ สวยๆ มาล่อ ก็เฉยเพราะคำนึงถึงภัยในนรก หิริโอตตัปปะเกิดขึ้นเต็มที่ จึงมีความอดทนอยู่ได้
 นานวันเข้าพระราชบิดาเห็นว่า ถ้าเอาพระเตมีย์ไว้ก็จะเป็นกาลกิณีแก่บ้านเมือง จึงสั่งให้คนนำไปประหารเสียนอกเมือง เมื่อออกมาพ้นเมืองแล้ว พระเตมีย์ก็แสดงตัวว่าไม่ได้พิการแต่อย่างใด มีพละกำลังสมบูรณ์พร้อม แล้วก็ออกบวช ต่อมาพระราชบิดา ญาติพี่น้อง ประชาชนก็ได้ออกบวชตามไปด้วยและได้สำเร็จฌานสมาบัติกันเป็นจำนวนมาก


ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: ปฏิสัมภิทามรรค อนุโลมขันติ
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: มกราคม 07, 2011, 08:26:25 pm »

     ๒.ต้องรู้จักเชิดอารมณ์ที่มากระทบนั้นให้สูงขึ้น คือ นึกเสียว่า ที่เขาทำแก่เราอย่างนั้นน่ะดีแล้ว เช่น เขาด่า ก็นึกเสียว่าดีกว่าเขาตี เขาตีก็นึกเสียว่าดีกว่าเขาฆ่า เมียที่มีชู้ยังดีกว่าเมียที่ฆ่าผัว ผัวมีเมียน้อยก็ยังดีกว่าผัวที่ฆ่าเมียเพราะเห็นแก่หญิงอื่น ถ้าเปรียบกับการชกมวย การสู้แบบนี้ก็คือการหลบหมัดของคู่ต่อสู้ โดยวิธีหมอบลงต่ำให้หมัดเขาคร่อมหัวเราไปเสีย เราไม่เจ็บตัว

ตัวอย่างในเรื่องนี้ ดูได้จากพระปุณณะเถระ

พระปุณณะเดิมเป็นชาวสุนาปรันตะ ไปค้าขายที่เมืองสาวัตถีได้ฟังเทศน์จากพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เกิดความเลื่อมใสศรัทธาจึงออกบวช
 ครั้นบวชแล้วการทำสมาธิภาวนาไม่ได้ผล เพราะไม่คุ้นกับสถานที่ ท่านคิดว่าภูมิอากาศที่บ้านเดิมของท่านเหมาะกับตัวท่านมากกว่า จึงทูลลาพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
 พระสัมมาสัมพุทธเจ้า รับสั่งถามว่า

  “เธอแน่ใจหรือ ปุณณะ, คนชาวสุนาปรันตะนั้นดุร้ายมากนักทั้งหยาบคายด้วย เธอจะทนไหวหรือ”
 “ไหวพระเจ้าข้า”
 “นี่ปุณณะ ถ้าคนพวกนั้นเขาด่าเธอ เธอจะมีอุบายอย่างไร”
 “ข้าพเจ้าก็จะคิดว่าถึงเขาจะด่าก็ยังดีกว่าเขาตบต่อยด้วยมือพระเจ้าข้า”
 “ถ้าเผื่อเขาต่อยเอาล่ะ ปุณณะ”
 “ก็ยังดีพระเจ้าข้า ดีกว่าเขาเอาก้อนดินข้วางเอา”
 “ก็ถ้าเขาเอาก้อนดินขว้างเอาล่ะ”
 “ข้าพระองค์ก็จะคิดว่า ก็ยังดีพระเจ้าข้า ดีกว่าเขาเอาไม้ตะพดตีเอา”
 “เออ ถ้าเผื่อเขาหวดด้วยตะพดล่ะ”
 “ก็ยังดีพระเจ้าค่ะ ดีกว่าถูกเขาแทงหรือฟันด้วยหอกดาบ”
 “เอาล่ะ ถ้าเผื่อคนพวกนั้นเขาจะฆ่าเธอด้วยหอกด้วยดาบล่ะ ปุณณะ”
 “ข้าพระองค์ก็จะคิดว่า มันก็เป็นการดีเหมือนกัน พระเจ้าข้า”
 “ดีอย่างไร ปุณณะ”

 “ก็คนบางพวกที่คิดอยากตาย ยังต้องเสียเวลาเที่ยวแสวงหาศัสตราวุธมาฆ่าตัวเอง แต่ข้าพระองค์ มีโชคดีกว่าคนพวกนั้น ไม่ต้องเสียเวลาไปเที่ยวหาศัสตราวุธอย่างเขา”
 “ดีมาก ปุณณะ เธอคิดได้ดีมาก เป็นอันตกลง เราอนุญาตให้เธอไปพำนักทำความเพียร ที่ตำบลสุนาปรันตะได้”
 พระปุณณะกลับไปเมืองสุนาปรันตะแล้ว ทำความเพียร ในไม่ช้าใจก็หยุดนิ่ง เข้าถึงพระธรรมกายไปตามลำดับ จนได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์


 นี่คือเรื่องของพระปุณณะ นักอดทนตัวอย่าง ซึ่งอดทนได้โดยวิธีเชิดอารมณ์ที่มากระทบนั้นให้สูงขึ้น

                 
   
๓.ต้องฝึกสมาธิมากๆเพราะทั้งขันติและสมาธิเป็นคุณธรรมที่เกื้อหนุนกัน ขันติจะหนักแน่นก็ต้องมีสมาธิมารองรับ สมาธิจะก้าวหน้าก็ต้องมีขันติเป็นพื้นฐาน ขันติอุปมาเหมือนมือซ้าย สมาธิอุปมาเหมือนมือขวา จะล้างมือ มือทั้งสองข้างจะต้องช่วยกันล้าง จึงจะสะอาดดี

 มีตัวอย่างของผู้มีความอดทนเป็นเลิศอีกท่านหนึ่ง คือ พระโสมสนาคเถระ

 พระโสมสนาคเถระ เป็นพระที่ทำสมาธิจนสามารถระลึกชาติได้แต่ยังไม่หมดกิเลส วันหนึ่งท่านนั่งสมาธิอยู่กลางแจ้ง พอถึงตอนเที่ยงแดดส่องเหงื่อไหลท่วมตัวท่าน พวก
ลูกศิษย์จึงเรียนท่านว่า  “ท่านขอรับ นิมนต์ท่านนั่งในที่ร่มเถิด อากาศเย็นดี”
 
พระเถระกล่าวตอบว่า  “คุณ ฉันนั่งในที่นี้ เพราะกลัวต่อความร้อนนั่นเอง”  แล้วมานั่งพิจารณาอเวจีมหานรกเรื่อยไป เพราะเคยได้ตกนรกมาหลายชาติ เห็นว่าความร้อนในอเวจีที่เคยตก ร้อนกว่านี้หลายร้อยหลายพันเท่า ท่านจึงไม่ลุกหนี
ตั้งใจทำสมาธิต่อไป จนในที่สุดได้บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์


      พวกเราก็มีข้อคิดเตือนใจอยู่ว่า
“ที่อ้างร้อนนัก หนาวนัก ขี้เกียจภาวนา ระวัง จะไปร้อนหมกไหม้ในอเวจี หนาวเสียดกระดูกในโลกันต์”


อานิสงส์การมีความอดทน

 ๑.ทำให้กุศลธรรมทุกชนิดเจริญขึ้นได้
 ๒.ทำให้เป็นคนมีเสน่ห์ เป็นที่รักของคนทั้งหลาย
 ๓.ทำให้ตัดรากเหง้าแห่งความชั่วทั้งหลายได้
 ๔.ทำให้อยู่เย็นเป็นสุข ทุกอิริยาบท
 ๕.ชื่อว่าได้เครื่องประดับอันประเสริฐของนักปราชญ์
 ๖.ทำให้ศีลและสมาธิตั้งมั่น
 ๗.ทำให้ได้พรหมวิหารโดยง่าย
 ๘.ทำให้บรรลุมรรคผลนิพพานโดยง่าย


“บุคคลอดทนต่อคำของผู้สูงกว่าได้ เพราะความกลัว
อดทนถ้อยคำของผู้เสมอกันได้ เพราะเหตุแห่งความแข่งดี
ส่วนผู้ใดในโลกนี้ อดทนต่อคำของคนเลวกว่าได้
สัตบุรุษทั้งหลายกล่าวว่า ความอดทนนั้นสูงสุด”




http://www.oknation.net/blog/zwielicht/category/K
Pics by : Google
อกาลิโกโฮม  * สุขใจดอทคอม
อนุโมทนาสาธุที่มาทั้งหมดมากมายค่ะ