[๓๔๙] อปรันตานุทิฏฐิ (ความตามเห็นขันธ์ส่วนอนาคต) ย่อมถือผิดด้วยอาการ ๔๔ เป็นไฉน
สัญญีวาททิฏฐิ (ว่าตนเมื่อตายแล้วมีสัญญา) ๑๖ อสัญญีวาททิฏฐิ (ทิฏฐิว่าตนเมื่อตายแล้วไม่มีสัญญา) ๘ เนวสัญญีนาสัญญีวาททิฏฐิ (ทิฏฐิว่าตนเมื่อตายแล้วมีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่) ๘ อุจเฉทวาททิฏฐิ (ทิฏฐิว่าสัตว์ตายแล้วขาดสูญ) ๗ ทิฏฐิธรรมนิพพานวาททิฏฐิ (ทิฏฐิว่านิพพานเป็นปัจจุบัน เป็นธรรมอย่างยิ่งของสัตว์) ๕ อปรันตานุทิฏฐิ ย่อมถือผิดด้วยอาการ ๔๔ เหล่านี้
[๓๕๐] สังโยชนิกาทิฏฐิ (ทิฏฐิเป็นเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพ) ย่อมถือผิดด้วยอาการ ๑๘ เป็นไฉน
ทิฏฐิ คือ ทิฏฐิที่ไป ทิฏฐิรกชัฏ ฯลฯ ทิฏฐิเป็นเหตุให้ถือผิด ทิฏฐิเป็นเหตุให้ลูบคลำ สังโยชนิกาทิฏฐิ ย่อมถือผิดด้วยอาการ ๑๘ เหล่านี้
[๓๕๑] ทิฏฐิอันกางกั้นด้วยมานะว่าเป็นเรา ย่อมถือผิดด้วยอาการ ๑๘ เป็นไฉน
ทิฏฐิอันกางกั้นด้วยมานะว่า ตาเป็นเรา ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุไม่ใช่ทิฏฐิ... นี้เป็นทิฏฐิอันกางกั้นด้วยมานะว่าเป็นเราที่ ๑ มานวินิพันธาทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่มิใช่ทิฏฐิ
ทิฏฐิอันกางกั้นด้วยมานะว่า หูเป็นเรา ฯลฯ จมูกเป็นเรา ฯลฯ ลิ้นเป็นเรา ฯลฯ กายเป็นเรา ฯลฯ ใจเป็นเรา ฯลฯ ธรรมารมณ์เป็นเรา ฯลฯ จักขุวิญญาณเป็นเรา ฯลฯ มโนวิญญาณเป็นเรา ฯลฯ ความลูบคลำด้วยความถือผิดว่า เป็นเรา ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุไม่ใช่ทิฏฐิ... นี้เป็นทิฏฐิอันกางกั้นด้วยมานะว่าเป็นเราที่ ๑๘ มานวินิพันธาทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์แต่มิใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิอันกางกั้นด้วยมานะว่าเป็นเรา ย่อมถือผิดด้วยอาการ ๑๘ เหล่านี้
[๓๕๒] ทิฏฐิอันกางกั้นด้วยมานะว่าของเรา ย่อมถือผิดด้วยอาการ ๑๘ เป็นไฉน
ทิฏฐิอันกางกั้นด้วยมานะว่า ตาของเรา ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุไม่ใช่ทิฏฐิ... นี้เป็นทิฏฐิอันกางกั้นด้วยมานะว่าของเราที่ ๑ มานวินิพันธาทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่มิใช่ทิฏฐิ
ทิฏฐิอันกางกั้นด้วยมานะว่า หูของเรา ฯลฯ จมูกของเรา ฯลฯ ลิ้นของเรา ฯลฯ กายของเรา ฯลฯ ใจของเรา ฯลฯ ธรรมารมณ์ของเรา ฯลฯ จักขุวิญญาณของเรา ฯลฯ มโนวิญญาณของเรา ฯลฯ ความลูบคลำด้วยความถือผิดว่า ของเรา ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุไม่ใช่ทิฏฐิ... นี้เป็นทิฏฐิอันกางกั้นด้วยมานะว่าของเราที่ ๑๘ มานวินิพันธาทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่มิใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิอันกางกั้นด้วยมานะว่าของเรา ย่อมถือผิดด้วยอาการ ๑๘ เหล่านี้
[๓๕๓] ทิฏฐิอันปฏิสังยุตด้วยวาทะปรารภตน ย่อมถือผิดด้วยอาการ ๒๐ เป็นไฉน
ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับในโลกนี้ ไม่ได้เห็นพระอริยเจ้า... ไม่ได้รับแนะนำในธรรมของสัปบุรุษ ย่อมเห็นรูปโดยความเป็นตนบ้าง เห็นตนว่ามีรูปบ้าง เห็นรูปในตนบ้าง เห็นตนในรูปบ้าง ฯลฯ เห็๋นเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ โดยความเป็นตนบ้าง เห็นตนว่ามีวิญญาณบ้าง เห็นวิญญาณในตนบ้าง เห็นตนในวิญญาณบ้าง ฯลฯ
ปุถุชนมองเห็นรูปโดยความเป็นตนอย่างไร บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็นปฐวีกสิณ ฯลฯ โอทาตกสิณ โดยความเป็นตน คือ ย่อมเห็นโอทาตกสิณและตนไม่เป็นสอง... เปรียบเหมือนเมื่อประทีปน้ำมัน กำลังลุกโพลงอยู่ บุคคลเห็นเปลวไฟและแสงสว่างไม่เป็นสอง ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเห็นโอทาตกสิณโดยความเป็นตน ฯลฯ นี้เป็นทิฏฐิอันปฏิสังยุตด้วยอัตตวาทะมีรูปเป็นวัตถุที่ ๑ ทิฏฐิอันปฏิสังยุตด้วยอัตตวาทะเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่มิใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิอันปฏิสังยุตด้วยวาทะปรารภตน ย่อมถือผิดด้วยอาการ ๒๐ เหล่านี้
[๓๕๔] ทิฏฐิอันปฏิสังยุตด้วยวาทะปรารภโลก ย่อมถือผิดด้วยอาการ ๘ เป็นไฉน
ความลูบคลำด้วยความถือผิดว่า ตนและโลกเที่ยง เป็นทิฏฐิอันปฏิสังยุตด้วยวาทะปรารภโลก ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุไม่ใช่ทิฏฐิ... นี้เป็นทิฏฐิอันปฏิสังยุตด้วยวาทะปรารภโลกที่ ๑ ทิฏฐิอันปฏิสังยุตด้วยวาทะปรารภโลกเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่มิใช่ทิฏฐิ
ความลูบคลำด้วยความถือผิดว่า ตนและโลกไม่เที่ยง ฯลฯ ตนและโลกเที่ยง ก็มี ไม่เที่ยงก็มี ฯลฯ ตนและโลกเที่ยงก็หามิได้ ไม่เที่ยงก็หามิได้ ฯลฯ ตนและโลกมีที่สุด ฯลฯ ตนและโลกไม่มีที่สุด ฯลฯ ตนและโลกมีที่สุดก็มี ไม่มีที่สุดก็ มี ฯลฯ ตนและโลกมีที่สุดก็หามิได้ ไม่มีที่สุดก็หามิได้ ฯลฯ เป็นทิฏฐิอันปฏิสังยุตด้วยวาทะปรารภโลก ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุไม่ใช่ทิฏฐิ... นี้เป็นทิฏฐิอันปฏิสังยุตด้วยวาทะปรารภโลกที่ ๘ ทิฏฐิอันปฏิสังยุตด้วยวาทะปรารภโลกเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่มิใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิอันปฏิสังยุตด้วยวาทะปรารภโลก ย่อมถือผิดด้วยอาการ ๘ เหล่านี้ [๓๕๕] ความ ถือผิดด้วยความติดอยู่ เป็นภวทิฏฐิ ความถือผิดด้วยความแล่นเลยไป เป็นวิภวทิฏฐิ อัสสาททิฏฐิ มีความถือผิดด้วยอาการ ๓๕ เป็นภวทิฎฐิเท่าไร เป็นวิภวทิฏฐิเท่าไร อัตตานุทิฏฐิ มีความถือผิดด้วยอาการ ๒๐ เป็นภวทิฎฐิเท่าไร เป็นวิภวทิฏฐิเท่าไร ฯลฯ ทิฏฐิอันปฏิสังยุตด้วยวาทะปรารภโลก มีความถือผิดด้วยอาการ ๘ เป็นภวทิฎฐิเท่าไร เป็นวิภวทิฏฐิเท่าไร
อัสสาททิฏฐิ มีความถือผิดด้วยอาการ ๓๕ เป็นภวทิฎฐิก็มี เป็นวิภวทิฏฐิ ก็มี อัตตานุทิฏฐิ มีความถือผิดด้วยอาการ ๒๐ เป็นภวทิฎฐิ ๑๕ เป็นวิภวทิฏฐิ ๕ มิจฉาทิฏฐิ มีความถือผิดด้วยอาการ ๑๐ เป็นวิภวทิฏฐิทั้งหมด สักกายทิฏฐิ มีความถือผิดด้วยอาการ ๒๐ เป็นภวทิฏฐิ ๑๕ เป็นวิภวทิฏฐิ ๕ สัสสตทิฏฐิอันมีสักกายทิฏฐิเป็นวัตถุ มีความถือผิดด้วยอาการ ๑๕ เป็นภวทิฏฐิทั้งหมด อุจเฉททิฏฐิอันมีสักกายทิฏฐิเป็นวัตถุ มีความถือผิดด้วยอาการ ๑๕ เป็นวิภวทิฏฐิทั้งหมด ทิฏฐิอันถือเอาที่สุดว่า โลกเที่ยง มีความถือผิดด้วยอาการ ๕ เป็นภวทิฏฐิทั้งหมด ทิฏฐิอันถือเอาที่สุดว่า โลกไม่เที่ยง มีความถือผิดด้วยอาการ ๕ เป็นวิภวทิฏฐิทั้งหมด ทิฏฐิอันถือเอาที่สุดว่า โลกมีที่สุด มีความถือผิดด้วยอาการ ๕ เป็นภวทิฏฐิก็มี เป็นวิภวทิฏฐิก็มี ทิฏฐิอันถือเอาที่สุดว่า โลกไม่มีที่สุด มีความถือผิดด้วย อาการ ๕ เป็นภวทิฏฐิก็มี เป็นวิภวทิฏฐิก็มี ทิฏฐิอันถือเอาที่สุดว่า ชีพอันนั้น สรีระก็อันนั้น มีความถือผิดด้วยอาการ ๕ เป็นวิภวทิฏฐิทั้งหมด ทิฏฐิอันถือเอาที่สุดว่า ชีพเป็นอื่น สรีระก็เป็นอื่น มีความถือผิดด้วยอาการ ๕ เป็นภวทิฏฐิทั้งหมด ทิฏฐิอันถือเอาที่สุดว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเป็นอีก มีความถือผิดด้วยอาการ ๕ เป็นภวทิฏฐิทั้งหมด ทิฏฐิอันถือเอาที่สุดว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมไม่เป็นอีก มีความถือผิดด้วยอาการ ๕ เป็นวิภวทิฏฐิทั้งหมด ทิฏฐิอันถือเอาที่สุดว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเป็นอีกก็มี ย่อมไม่เป็นอีกก็มี มีความถือผิดด้วยอาการ ๕ เป็นภวทิฏฐิก็มี เป็นวิภวทิฏฐิก็มี อปรันตานุทิฏฐิ มีความถือผิดด้วยอาการ ๔๔ เป็นภวทิฏฐิก็มี เป็นวิภวทิฏฐิก็มี สังโยชนิกาทิฏฐิ มีความถือผิดด้วยอาการ ๑๘ เป็นภวทิฏฐิก็มี เป็นวิภวทิฏฐิก็มี ทิฏฐิอันกางกั้นด้วยมานะว่าเป็นเรา มีความถือผิดด้วยอาการ ๑๘ เป็นภวทิฏฐิทั้งหมด ทิฏฐิอันกางกั้นด้วยมานะว่าของเรา มีความถือผิดด้วยอาการ ๑๘ เป็นภวทิฏฐิทั้งหมด ทิฏฐิอันปฏิสังยุตด้วยวาทะปรารภตน มีความถือผิดด้วยอาการ ๒๐ เป็นภวทิฏฐิ ๑๕ เป็นวิภวทิฏฐิ ๕ ทิฏฐิอันปฏิสังยุตด้วยวาทะปรารภโลก มีความถือผิดด้วยอาการ ๘ เป็นภวทิฏฐิก็มี เป็นวิภวทิฏฐิก็มี ทิฏฐิทั้งหมดเป็นอัตตานุทิฏฐิ เป็นมิจฉาทิฏฐิ เป็นสักกายทิฏฐิ เป็นอันตคาหิกทิฏฐิ เป็นสังโยชนิกาทิฏฐิ ทิฏฐิอันปฏิสังยุตด้วยวาทะปรารภตน เป็นภวทิฏฐิ เป็นวิภวทิฏฐิ ชนเหล่าใดยึดถือทิฏฐิ ๒ อย่างนี้ ญาณในนิโรธ ย่อมไม่มีแก่ชนเหล่านั้น สัตว์โลกนี้ยึดถือในทิฏฐิใด ก็เป็นผู้มีสัญญาวิปริต เพราะทิฏฐินั้น
[๓๕๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เทวดาและมนุษย์ผู้ถูกทิฏฐิ ๒ อย่างกลุ้มรุมแล้ว พวกหนึ่งย่อมติดอยู่ พวกหนึ่งย่อมแล่นไป ส่วนผู้มีจักษุเห็นอยู่
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เทวดาและมนุษย์พวกหนึ่ง ย่อมติดอยู่อย่างไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย เทวดาและมนุษย์ผู้ชอบภพ ยินดีในภพ บันเทิงอยู่ในภพ จิตของเทวดาและมนุษย์เหล่านั้น ย่อมไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่น้อมไป ในธรรมที่เราแสดงเพื่อความดับภพ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เทวดาและมนุษย์พวกหนึ่ง ย่อมติดอยู่อย่างนี้แล
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เทวดาและมนุษย์พวกหนึ่ง ย่อมแล่นไปอย่างไร ก็เทวดาและมนุษย์พวกหนึ่ง ย่อมอึดอัด ระอา เกลียดชังภพ ย่อมยินดีความปราศจากภพว่า ชาวเราเอ๋ย ได้ยินว่า เมื่อใด ตนแต่กายแตกไปแล้ว ย่อมขาดสูญ ย่อมพินาศ เมื่อนั้น ตนเบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมไม่เป็นอีก เพราะฉะนั้น ความไม่เกิดนี้ละเอียด ประณีต ดูกรภิกษุทั้งหลาย เทวดาและมนุษย์พวกหนึ่งย่อมแล่นไปอย่างนี้แล
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ส่วนผู้มีจักษุเห็นอยู่อย่างไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเห็นความเป็นสัตว์ตามความเป็นจริง ครั้นแล้วย่อมปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับความเป็นสัตว์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนผู้มีจักษุเห็นอยู่อย่างนี้แล ถ้าภิกษุใด เห็นความเป็นสัตว์ตามความเป็นจริง และก้าวล่วงความเป็นสัตว์แล้ว ย่อมน้อมใจไปในธรรมตามที่เป็นจริง เพื่อความหมดสิ้นแห่งภวตัณหา ภิกษุนั้น กำหนดรู้ความเป็นสัตว์แล้ว ผู้ปราศจากตัณหาในภพน้อยใหญ่ ย่อมไม่มาสู่ภพใหม่ เพราะความไม่มีแห่งความเป็นสัตว์ ดังนี้ [๓๕๗] บุคคล ๓ จำพวกมีทิฏฐิวิบัติ บุคคล ๓ จำพวกมีทิฏฐิสมบัติ
บุคคล ๓ จำพวกไหน มีทิฏฐิวิบัติ เดียรถีย์ ๑ สาวกเดียรถีย์ ๑ บุคคลที่มีทิฏฐิผิด ๑ บุคคล ๓ จำพวกนี้มีทิฏฐิวิบัติ
บุคคล ๓ จำพวกไหน มีทิฏฐิสมบัติ พระตถาคต ๑ สาวกพระตถาคต ๑ บุคคลผู้มีทิฏฐิชอบ ๑ บุคคล ๓ จำพวกนี้มีทิฏฐิสมบัติ นรชน ใด เป็นคนมักโกรธ มักผูกโกรธ มีความลบหลู่ลามก มีทิฏฐิวิบัติ เจ้าเล่ห์ พึงรู้จักนรชนนั้นว่า เป็นคนเลว นรชนใด เป็นคนไม่มักโกรธ ไม่ผูกโกรธ ไม่ลบหลู่คุณท่าน มีทิฏฐิ สมบัติ มีปัญญา พึงรู้จักนรชนนั้นว่า เป็นผู้ประเสริฐ ดังนี้
[๓๕๘] ทิฏฐิวิบัติ ๓ ทิฏฐิสมบัติ ๓
ทิฏฐิวิบัติ ๓ เป็นไฉน ความเห็นวิบัติว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ทิฏฐิวิบัติ ๓ เหล่านี้
ทิฏฐิสมบัติ ๓ เป็นไฉน ความเห็นอันถูกต้องว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา ทิฏฐิสมบัติ ๓ เหล่านี้
[๓๕๙] ทิฏฐิ อะไรว่า นั่นของเรา เป็นทิฏฐิเท่าไร ทิฏฐิเหล่านั้น ตามถือส่วนสุดอะไร ทิฏฐิอะไรว่า นั่นเป็นเรา เป็นทิฏฐิเท่าไร ทิฏฐิเหล่านั้น ตามถือส่วนสุดอะไร ทิฏฐิอะไรว่า นั่นเป็นตัวตนของเรา เป็นทิฏฐิเท่าไร ทิฏฐิเหล่านั้น ตามถือส่วนสุดอะไร
ความเห็นตามขันธ์ส่วนอดีตว่า นั่นของเรา เป็นทิฏฐิ ๑๘ ทิฏฐิเหล่านั้น ตามถือขันธ์ส่วนอดีต ความเห็นตามขันธ์ส่วนอนาคตว่า นั่นเป็นเรา เป็นทิฏฐิ ๔๔ ทิฏฐิเหล่านั้น ตามถือขันธ์ส่วนอนาคต อัตตานุทิฏฐิมีวัตถุ ๒๐ ว่า นั่นเป็นตัวตนของเรา เป็นสักกายทิฏฐิ มีวัตถุ ๒๐ ทิฏฐิ ๖๒ โดยมีสักกายทิฏฐิเป็นประธาน ทิฏฐิเหล่านั้นตามถือขันธ์ทั้ง
ส่วนอดีตและส่วนอนาคต [๓๖๐] ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่งถึงความเชื่อแน่ในเรา ชนเหล่านั้นทั้งหมดเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ บุคคล ๕ จำพวกเชื่อแน่ในธรรมนี้ บุคคล ๕ จำพวกเชื่อแน่ในภพสุทธาวาส ในธรรมนี้
บุคคล ๕ จำพวกเหล่าไหน เชื่อแน่ในธรรมนี้ บุคคล ๕ จำพวกนี้ คือ สัตตักขัตตุปรมโสดาบัน ๑ โกลังโกละโสดาบัน ๑ เอกพีชีโสดาบัน ๑ พระสกทาคามี ๑ พระอรหันต์ในปัจจุบัน ๑ เชื่อในธรรมนี้
บุคคล ๕ จำพวกเหล่าไหน เชื่อแน่ในภพสุทธาวาสในธรรมนึ้ บุคคล ๕ จำพวกนี้ คือ อันตราปรินิพพายีอนาคามีบุคคล ๑ อุปหัจจปรินิพพายีอนาคามีบุคคล ๑ อสังขารปรินิพพายีอนาคามีบุคคล ๑ สสังขารปรินิพพายีอนาคามีบุคคล ๑ อุทธังโสโตอกนิฏฐาคามีบุคคล ๑ เชื่อแน่ในภพสุทธาวาสในธรรมนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่งถึงความเชื่อแน่ในเรา บุคคล เหล่านั้นทั้งหมดเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ บุคคล ๕ จำพวกนี้ เชื่อแน่ในธรรมนี้ บุคคล ๕ จำพวกนี้ เชื่อแน่ในภพสุทธาวาส ในธรรมนี้
[๓๖๑] ดูกร ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่งเลื่อมใสในเราอย่างแน่นแฟ้น บุคคลเหล่านั้นทั้งหมดเป็นพระโสดาบัน พระโสดาบันเหล่านั้นรวม ๕ จำพวกนี้ เชื่อแน่ในธรรมนี้ บุคคล ๕ จำพวกเชื่อแน่ในภพชั้นสุทธาวาส ในธรรมนี้
บุคคล ๕ จำพวกเหล่าไหน เชื่อแน่ในธรรมนี้ บุคคล ๕ จำพวกนี้ คือ สัตตักขัตตุปรมโสดาบัน ๑... พระอรหันต์ในปัจจุบัน ๑ เชื่อในธรรมนี้
บุคคล ๕ จำพวกนี้ คือ อันตราปรินิพพายีอนาคามีบุคคล ๑... อุทธังโสโตอกนิฏฐาคามีบุคคล ๑ เชื่อแน่ในภพสุทธาวาสในธรรมนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่งเลื่อมใสในเราอย่างแน่นแฟ้น บุคคลเหล่านั้นทั้งหมดเป็นพระโสดาบัน พระโสดาบันเหล่านั้นรวม ๕ จำพวกนี้ เชื่อแน่ในธรรมนี้ บุคคล ๕ จำพวกเชื่อแน่ในภพชั้นสุทธาวาส ในธรรมนี้ ฉะนี้แล