แสงธรรมนำใจ > หยาดฝนแห่งธรรม

มาฆบูชา วันแห่งความรักในพระพุทธศาสนา

<< < (2/3) > >>

สายลมที่หวังดี:


อนุโมทนา สาธุค่ะ ขอบคุณนะคะพี่แป๋ม :yoyo106:

ฐิตา:




บทสวดมนต์ทำวัตรเช้าเย็น ก็มาจากท่าน...
ท่านแตกฉานสามารถเขียนอ่านภาษาแขกได้ และภาษาอื่นๆด้วย...
ก่อนที่ท่านจะสวรรค์คตน่าประทับใจมากหาอ่านเอาเอง


                     -http://www.facebook.com/AKALIGO.com.thailand

วันมาฆบูชา เกิดในสมัยรัชกาลที่ ๔
เดิมนั้นไม่มีการประกอบพิธีมาฆบูชาในประเทศพุทธเถรวาท จนมาในสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) พระองค์ได้ทรงปรารภถึงเหตุการณ์ครั้งพุทธกาลในวันเพ็ญเดือน 3 ดังกล่าวว่า เป็นวันที่เกิดเหตุการณ์สำคัญยิ่ง ควรมีการประกอบพิธีทางพระพุทธศาสนาเพื่อเป็นที่ตั้งแห่งความศรัทธาเลื่อมใส

จึงมีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้จัดการพระราชกุศลมาฆบูชาขึ้น โดยการประกอบพระราชพิธีคงคล้ายกับวันวิสาขบูชา คือมีการบำเพ็ญพระราชกุศลต่าง ๆ มีการพระราชทานจุดเทียนตามประทีปเป็นพุทธบูชาในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม และพระอารามหลวงต่าง ๆ เป็นต้น

โดยในช่วงแรกพิธีมาฆบูชาคงเป็นการพระราชพิธีภายใน ยังไม่แพร่หลายทั่วไป จนต่อมาความนิยมจัดพิธีมาฆบูชาจึงได้ขยายออกไปทั่วราชอาณาจักร

ปัจจุบันวันมาฆบูชาได้รับการประกาศให้เป็นวันหยุดราชการในประเทศไทย โดยพุทธศาสนิกชนทั้งพระบรมวงศานุวงศ์ พระสงฆ์ และประชาชน จะมีการประกอบพิธีต่าง ๆ เช่น การตักบาตร การฟังพระธรรมเทศนา การเวียนเทียน เป็นต้น เพื่อเป็นการบูชารำลึกถึงพระรัตนตรัยและเหตุการณ์สำคัญดังกล่าว

ถือได้ว่าเป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงประทานโอวาทปาฏิโมกข์ ซึ่งกล่าวถึงหลักคำสอนอันเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา ได้แก่
- การไม่ทำความชั่วทั้งปวง
- การบำเพ็ญความดีให้ถึงพร้อม
- การทำจิตของตนให้ผ่องใส เพื่อเป็นหลักปฏิบัติของพุทธศาสนิกชนทั้งมวล


- http://www.facebook.com/thailandhistory

sithiphong:
วันมาฆบูชา (Makha Bucha Day)

วันมาฆบูชา ในปี 2557 นี้ ตรงกับ วันศุกร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ ซึ่งตรงกับวันวาเลนไทน์ ซึ่งก็ถือว่าเป็นปีหนึ่งที่ดี เพื่อที่จะได้ให้ประชาชนทั่วไปสามารถหยุดและพาครอบครัวไปทำบุญ และพิธีทางศาสนาได้อยากเต็มที่ วันนี้สกู๊ปเอ็มไทย จึงนำประวัติ มาฆบูชา ความสำคัญและ บทสวดมนต์ คำสอนที่สำคัญและเกี่ยวข้องกับ วันมาฆบูชา มาฝากกันครับ


วันมาฆบูชา
 วันมาฆบูชา “วันจาตุรงคสันนิบาต” วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
วันมาฆบูชา หรือ วันจาตุรงคสันนิบาต ตรงกับขึ้น 15 ค่ำ กลางเดือน 3 หรือประมาณราวเดือนกุมภาพันธ์ แต่หากเป็นปีอธิกมาส (ปีที่มีเดือน 8 สองหน) วันมาฆบูชาจะเลื่อนไปเป็น วันขึ้น 15 ค่ำกลางเดือน 4 หรือประมาณเดือนมีนาคม สำหรับปีนี้ วันมาฆบูชา ตรงกับวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ปี พ.ศ. 2556
ความหมายที่แท้จริงของคำ “มาฆบูชา”

“มาฆะ” เป็นชื่อเดือน 3 ที่ย่อมาจากคำว่า “มาฆบุรณมี” ที่หมายถึง การบูชาพระในวันเพ็ญกลางเดือนมาฆะตามปฏิทินของอินเดีย หรือเดือน 3

การกำหนดวันมาฆบูชา

จะถือกำหนดตามปฏิทินจันทรคติของไทย ซึ่งจะตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 แต่ถ้าปีใดที่มีเดือนอธิกามาส (มีเดือน 8 สองครั้ง) วันมาฆบูชาจะเลือนไปเป็นวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 4 และมักตรงกับเดือนกุมภาพันธ์หรือ มีนาคมนั่นเอง
ประวัติวันมาฆบูชา

วันมาฆบูชา.mp4

วันมาฆบูชา.mp4
-http://www.youtube.com/watch?v=gzGKoMmPamk-

วันมาฆบูชา ในภาษาบาลีอ่านว่า “มาฆปูชา” และ “มาฆบูชา” ย่อมาจาก “มาฆปูรณมีบูชา” ซึ่งหมายถึง การบูชาในวันเพ็ญกลางเดือนมาฆะ ซึ่งได้รับการยกย่องว่าเป็น วันสำคัญทางพระพุทธศาสนาเ นื่องจากเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้น เมื่อ 2,500 กว่าปีก่อน องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง โอวาทปาฏิโมกข์ ท่ามกลางที่ประชุมมหาสังฆสันนิบาตครั้งใหญ่ในพระพุทธศาสนา โดยมีเหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้นพร้อมกัน 4 ประการ คือ

    พระสงฆ์สาวก จำนวน 1,250 รูป มาประชุมพร้อมกันยังวัดเวฬุวันโดยมิได้นัดหมาย
    พระสงฆ์ที่มาประชุมทั้งหมดต่างล้วนเป็น “เอหิภิกขุอุปสัมปทา” คือ ผู้ได้รับการอุปสมบทจากพระพุทธเจ้าโดยตรง
    พระสงฆ์ทั้งหมดที่มาประชุมล้วนเป็นพระอรหันต์ผู้ทรง อภิญญา 6
    วันดังกล่าวตรงกับวันเพ็ญมาฆปุรณ มีดิถี ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 ดังนั้น จึงมีคำเรียกวันนี้อีกคำหนึ่งว่า “วันจาตุรงคสันนิบาต” หรือ วันที่มีการประชุมพร้อมด้วยองค์ 4

ปัจจุบัน วันมาฆบูชา ได้รับการประกาศให้เป็นวันหยุดราชการในประเทศไทย โดยพุทธศาสนิกชนทั้งพระบรมวงศานุวงศ์ พระสงฆ์ และประชาชน จะมีการประกอบพิธีต่าง ๆ เช่น การตักบาตร การฟังพระธรรมเทศนา การเวียนเทียน เป็นต้น เพื่อเป็นการบูชารำลึกถึงพระรัตนตรัยและเหตุการณ์สำคัญดังกล่าว ที่ถือได้ว่าเป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงประทาน โอวาทปาฏิโมกข์ ซึ่งกล่าวถึงหลักคำสอนอันเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา ได้แก่ การไม่ทำความชั่วทั้งปวง การบำเพ็ญความดีให้ถึงพร้อม และการทำจิตของตนให้ผ่องใส เพื่อเป็นหลักปฏิบัติของพุทธศาสนิกชนทั้งมวล

สำหรับในปี พ.ศ. 2553 นี้ วันมาฆบูชาจะตรงกับ วันอาทิตย์ที่ 7 มีนาคม ตามปฏิทินสุริยคติ
การเตรียมตัวก่อนประกอบพิธีเวียนเทียน ในวันมาฆบูชา วันขึ้น 15 ค่ำ 3

    อาบน้ำ ชำระร่างกายให้สะอาด ทำจิตใจให้เบิกบาน
    แต่งกายให้สุภาพเรียบร้อย เหมาะสมกับสถานที่
    เตรียมดอกไม้ ธูป เทียน ตลอดจนเครื่องบูชาให้เรียบร้อย
    เมื่อถึงวัดแล้วควรอยู่ในอาการสำรวม ไม่พูดคุยหยอกล้อ วิ่งเล่น หรือทำกิจกรรมอันไม่เหมาะสม

ความหมายการเวียนเทียน วันมาฆบูชา

    เวียนเทียน รอบที่ 1 : รำลึกถึงคุณพระพุทธเจ้า โดยภาวนาบท อิติปิโส ภะคะวาฯ ไปจนจบ เพื่อให้จิตใจมีสมาธิ
    เวียนเทียน รอบที่ 2 : รำลึกถึงคุณพระธรรม ภาวนาบทสวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโมฯ ไปจนจบ
    เวียนเทียน รอบที่ 3 : รำลึกคุณพระสงฆ์ ภาวนาบทสุปฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆฯ ไปจนจบ ระหว่างนั้นต้องทำจิตใจให้สงบ แน่วแน่กับบทบูชา

กิจกรรมต่างๆ ที่ควรปฏิบัติในวันมาฆบูชา

หลักการปฏิบัติสำหรับพุทธศาสนิกชนในวันมาฆบูชา คือ ทำบุญตักบาตรในตอนเช้า และเข้าวัดเพื่อฟังพระธรรมเทศนา อีกทั้งบำเพ็ญประโยชน์แก่บุคคลรอบข้าง บำรุงสถานที่ศาสนา เมื่อถึงตอนค่ำ จะนำดอกไม้ธูปเทียน นำมาเวียนรอบพระอุโบสถ โดยเวียนจากขวาไปซ้าย จำนวน 3 รอบ ซึ่งระหว่างเดินให้ระลึกถึง พระพุทธ พระธรรม พระสงค์ และคำสอนของพระพุทธเจ้า เพื่อเป็นบุญกุศลให้กับตัวเอง

 
ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
คาถาโอวาทปาติโมกข์และคำแปล

ขนฺตี ปรมํ ตโป ตีติกฺขา
นิพฺพานํ ปรมํ วทนฺติ พุทฺธา
น หิ ปพฺพชิโต ปรูปฆาตี
สมโณ โหติ ปรํ วิเหฐยนฺโตฯ

ขันติ คือความอดกลั้น เป็นตบะอย่างยิ่ง
พระพุทธเจ้าทั้งหลายกล่าวว่า นิพพานเป็นบรมธรรม
ผู้ทำร้ายคนอื่น ไม่ชื่อว่าเป็นบรรพชิต
ผู้เบียดเบียนคนอื่น ไม่ชื่อว่าเป็นสมณะ

สพฺพปาปสฺส อกรณํ
กุสลสฺสูปสมฺปทา
สจิตฺตปริโยทปนํ
เอตํ พุทฺธานสาสนํฯ

การไม่ทำความชั่วทั้งปวง 1
การบำเพ็ญแต่ความดี 1
การทำจิตของตนให้ผ่องใส 1
นี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย

อนูปวาโท อนูปฆาโต
ปาติโมกฺเข จ สํวโร
มตฺตญฺญุตา จ ภตฺตสฺมึ
ปนฺตญฺจ สยนาสนํ
อธิจิตฺเต จ อาโยโค
เอตํ พุทฺธาน สาสนํฯ

การไม่กล่าวร้าย 1 การไม่ทำร้าย 1
ความสำรวมในปาติโมกข์ 1
ความเป็นผู้รู้จักประมาณในอาหาร 1
ที่นั่งนอนอันสงัด 1
ความเพียรในอธิจิต 1
นี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
อภิญญา 6

อภิญญา แปลว่า “ความรู้ยิ่ง” หมายถึง ปัญญาความรู้ที่สูงเหนือกว่าปกติ เป็นความรู้พิเศษที่เกิดขึ้นจากการอบรมจิตเจริญปัญญาหรือบำเพ็ญกรรมฐาน

    อิทธิวิธิ หมายถึง แสดงฤทธิ์ได้ เช่น ล่องหนได้ เหาะได้ ดำดินได้
    ทิพพโสต หมายถึง มีหูทิพย์
    เจโตปริยญาณ หมายถึง กำหนดรู้ใจผู้อื่นได้
    ปุพเพนิวาสานุสติญาณ หมายถึง ระลึกชาติได้
    ทิพพจักขุ หมายถึง มีตาทิพย์
    อาสวักขยญาณ หมายถึง รู้การทำอาสวะให้สิ้นไป

sithiphong:

เพลงมาฆบูชา


เพลงมาฆบูชา

เพลงมาฆบูชา

-http://www.youtube.com/watch?v=4UGJ_xmQAcQ-

 Published on 19 Feb 2013

หมายเหตุ พระอรหันต์ ๑๒๕๐ รูป ที่ถูกต้อง
แต่เนื้อเพลง ใช้ ๑๒๕๐ องค์ เพื่อความสวยงามของเสียงร้อง

.-----------------------------------------------------------------------------------

เพลงวันมาฆบูชา [HD]

เพลงวันมาฆบูชา [HD]

เพลงวันมาฆบูชา [HD]

-http://www.youtube.com/watch?v=-3wCMGx6Ou8-






sithiphong:
วันมาฆบูช

-http://www.dhammathai.org/day/maka.php-

ต ร ง กั บ วั น ขึ้ น ๑ ๕ ค่ำ เ ดื อ น ๓

"มาฆะ" เป็นชื่อของเดือน ๓ มาฆบูชานั้น ย่อมาจากคำว่า"มาฆบุรณมี" แปลว่าการบูชาพระในวันเพ็ญ เดือน ๓ วันมาฆบูชาจึงตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ แต่ถ้าปีใดมีเดือน อธิกมาส คือมีเดือน ๘ สองครั้ง วันมาฆบูชาก็จะเลื่อนไปเป็นวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๔ เป็นวันสำคัญวันหนึ่ง ในวันพุทธศาสนา คือวันที่มีการประชุมสังฆสันนิบาตครั้งใหญ่ในพุทธศาสนา ที่เรียกว่า "จาตุรงคสันนิบาต" และเป็นวันที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงแสดง โอวาทปฎิโมกข์ แก่พระสงฆ์สาวกเป็นครั้งแรก ณ เวฬุวันวิหาร กรุงราชคฤห์ เพื่อให้พระสงฆ์นำไปประพฤติปฏิบัติ เพื่อจะยังพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองต่อไป

 
โอวาทปาฏิโมกข์

โอวาทปาฏิโมกข์ หลักคำสอนสำคัญของพระพุทธศาสนา หรือคำสอนอันเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา ได้แก่ พระพุทธพจน์ ๓ คาถากึ่ง ที่พระพุทธเจ้าตรัสแก่พระอรหันต์ ๑,๒๕๐ รูป ผู้ไปประชุมกันโดยมิได้นัดหมาย ณ พระเวฬุ วนาราม ในวันเพ็ญเดือน ๓ ที่เราเรียกกันว่าวันมาฆบูชา (ถรรถกถากล่าวว่า พระพุทธเจ้าทรงแสดงโอวาทปาฏิโมกข์ นี้ แก่ที่ประชุมสงฆ์ตลอดมา เป็นเวลา ๒๐ พรรษา ก่อนที่จะโปรดให้สวดปาฏิโมกข์อย่างปัจจุบันนี้แทนต่อมา), คาถา โอวาทปาฏิโมกข์ มีดังนี้ (โอวาทปาติโมกข์ ก็เขียน)

    สพฺพปาปสฺส อกรณํกุสลสฺสูปสมฺปทา
    สจิตฺตปริโยทปนํเอตํ พุทธาน สาสนํฯ
    ขนฺตี ปรมํ ตโป ตีติกฺขา
    นิพฺพานํ ปรมํ วทนฺติ พุทฺธา
    น หิ ปพฺพชิโต ปรูปฆาตี
    สมโณ โหติ ปรํ วิเหฐยนฺโตฯ
    อนูปวาโท อนูปฆาโต ปาติโมกฺเข จ สํวโร
    มตฺตญฺญุตา จ ภตฺตสฺมึ ปนฺตญฺจ สยนาสนํ
    อธิจิตฺเต จ อาโยโค เอตํ พุทฺธาน สาสนํฯ

    แปล : การไม่ทำความชั่วทั้งปวง, การบำเพ็ญแต่ความดี, การทำจิตของตนให้ผ่องใส นี้เป็นคำสอนของ พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ขันติ คือความอดกลั้น เป็นตบะอย่างยิ่ง, พระพุทธเจ้าทั้งหลายกล่าวว่านิพพาน เป็นบรมธรรม, ผู้ทำร้ายคนอื่น  ไม่ชื่อว่าเป็นบรรพชิต,ผู้เบียดเบียนคนอื่น ไม่ชื่อว่าเป็นสมณะ การไม่กล่าวร้าย, การไม่ทำร้าย, ความสำรวมในปาฏิโมกข์, ความเป็นผู้รู้จักประมาณในอาหาร, ที่นั่งนอนอันสงัด, ความเพียรในอธิจิต นี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ที่เข้าใจกันโดยทั่วไป และจำกันได้มาก ก็คือ ความในคาถาแรกที่ว่า ไม่ทำชั่ว ทำแต่ความดี ทำจิตใจให้ผ่องใส

     คำว่า "จาตุรงคสันนิบาต" แยกศัพท์ได้ดังนี้ คือ "จาตุร" แปลว่า ๔ "องค์" แปลว่า ส่วน "สันนิบาต" แปลว่า ประชุม ฉะนั้นจาตุรงคสันนิบาตจึงหมายความว่า "การประชุมด้วยองค์ ๔" กล่าวคือมีเหตุการณ์พิเศษที่เกิดขึ้นพร้อมกันในวันนี้ คือ

    ๑. เป็นวันที่ พระสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้า จำนวน ๑,๒๕๐ รูป มาประชุมพร้อมกันที่เวฬุวันวิหารในกรุงราชคฤห์ โดยมิได้นัดหมาย
    ๒. พระภิกษุสงฆ์เหล่านี้ล้วนเป็น "เอหิภิกขุอุปสัมปทา" คือเป็นผู้ที่ได้รับการอุปสมบทโดยตรงจาก พระพุทธเจ้าทั้งสิ้น
    ๓. พระภิกษุสงฆ์ทุกองค์ที่ได้มาประชุมในครั้งนี้ ล้วนแต่เป็นผุ้ได้บรรลุพระอรหันต์แล้วทุก ๆองค์
    ๔. เป็นวันที่พระจันทร์เต็มดวงกำลังเสวยมาฆฤกษ

     การปฎิบัติตนสำหรับพุทธศาสนาในวันนี้ก็คือ การทำบุญ ตักบาตรในตอนเช้า หรือไม่ก็จัดหาอาหารคาวหวานไปทำบุญฟังเทศน์ที่วัด ตอนบ่ายฟังพระแสดงพระธรรมเทศนา ในตอนกลางคืน จะพากันนำดอกไม้ ธูปเทียน ไปที่วัดเพื่อชุมนุมกันทำพิธีเวียนเทียน รอบพระอุโบสถ พร้อมกับพระภิกษุสงฆ์โดยเจ้าอาวาสจะนำว่า นะโม ๓ จบ จากนั้นกล่าวคำ ถวาย ดอกไม้ธูปเทียน ทุกคนว่าตาม จบแล้วเดิน เวียนขวา ตลอดเวลาให้ระลึกถึง พระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ จนครบ ๓ รอบ แล้วนำดอกไม้ ธูปเทียนไปปักบูชาตามที่ทางวัด เตรียมไว้ เป็นอันเสร็จพิธี



กิจกรรมต่างๆ ที่ควรปฏิบัติในวันมาฆบูชา

๑. ทำบุญใส่บาตร
๒. ไปวัดเพื่อปฏิบัติธรรม และฟังพระธรรมเทศนา
๓. ไปเวียนเทียนที่วัด
๔. ประดับธงชาติตามอาคารบ้านเรือนและสถานที่ราชการ


นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

[#] หน้าถัดไป

[*] หน้าที่แล้ว

ตอบ

Go to full version