วิถีธรรม > แนวทางปฏิบัติธรรม

เบญจขันธ์

<< < (2/2)

ฐิตา:



มหากุสลจิต ๘
โสมนสฺสสหคตํ ญาณสมฺปยุตฺตํ อสงฺขาริกํ ๑ สสงฺขาริกํ ๑
โสมนสฺสสหคตํ ญาณวิปฺปยุตตํ อสงฺขาริกํ ๑ สสงฺขาริกํ ๑
อุเปกฺขาสหคตํ ญาณสมฺปยุตตํ อสงฺขาริกํ ๑ สสงฺขาริกํ ๑
อุเปกฺขาสหคตํ ญาณวิปฺปยุตฺตํ อสงฺขาริกํ ๑ สสงฺขาริกํ ๑

มหา วิบากจิตมี ๘ มหากิริยาจิตก็มี ๘ โดยองค์ธรรมเหมือนกับมหากุสล ๘ นั้น และมหา-กุสลเป็นผู้ปรุงแต่งภพชาติ มหาวิบากเป็นผู้เสวยผล เสวยชาติ เสวยกรรม ทั้งสองนี้ ปุถุชน และ เสขบุคคล มีเฉพาะขีณาสพเจ้าเท่านั้น มหากุสลบริบูรณ์ด้วยอายุ วรรณ สุขะ พละ สามารถทำงานและมรรคผลให้เกิดขึ้น ได้ ส่วนมหากุสลที่เป็นญาณวิปยุต เรียก ทวิเหตุกะ คือ อโลภะ อโทโสเท่านั้น ย่อมอำนวยวิบากให้เกิดในกรรมสุคติภูมิเหมือนกัน แต่ไม่ทำญาณและมรรคผลสำเร็จได้

รูปาวจรกุสลจิต ๕
๑. วิตกฺกวิจารปีติสุเขกคฺคตา สหิตํ ปฐมฌานกุสลจิตฺตํ
๒. วิจารปีติสุเขกคฺคตา สหิตํ ทุติยฌานกุสลจิตฺตํ
๓. ปีตีสุเขกคฺคตา สหิตํ ตติยฌานกุสลจิตฺตํ
๔. สุเขกคฺคตา สหิตํ จตุตฺถฌานกุสลจิตฺตํ
๕. อุเปกฺเขกคฺคตา สหิตํ ปญฺจมฌานกุสลจิตฺตํ

ใน ที่นี้เป็นฌานปัญจกนัย ซึ่งปรากฎในอภิธรรม ส่วนจตุกนัย ปรากฏในพระสูตรเป็นส่วนมาก รูปาวจรวิบาก และ รูปาวจรกิริยา ก็มี องค์ธรรมเหมือนกับรูปาวจรกุสล รวม ๑๕ ดวง องค์ฌานในรูปาวจรกุสลนั้น คือเจตสิก ๕ ดวงนั้นเอง คือ วิตกเจตสิก ย่อมประหารถีนมิทธะ วิจารเจตสิกประหารวิจิกิจฉา ปีตีเจตสิกประหารพยายาท สุขเจตสิกประหารอุทธัจกุกกุจจะ เอกัคคตาเจตสิกประหารกามฉันทะ โดยวัตถุที่ตั้งแล้ว คือกรรมฐาน ๒๖ มีกสิณ ๑๐ อสุภะ อานาปานสติ ๑ กายคตาสติ ๑ พรหมวิหาร ๔ โดยทวาร ได้แก่ มโนทวารอย่างเดียว รูปาวจรกิริยาย่อมมีแก่ พระขีณาสพเจ้า

อรูปวจรกุสลจิต ๔
๑. อากาสนญฺจายตนกุสลจิตฺตํ
๒. วิญฺญาณญฺจายตนกุสลจิตฺตํ
๓. อากิญฺจญฺญายตนกุสลจิตฺตํ
๔ . เนวสญฺญานาสญฺญายตนกุสลจิตฺตํ

อรูปาวจรวิบาก ๔ อรูปาวจร ๔ กิริยา รวม รวม ๑๒ โลกุตรจิต คือ มรรค ๔ ผล ๔ รวม ๘ ดวง โดยสังเขปนัย ถ้าเอามรรค ๔ x ปัญจมฌาน ๕ ได้ ๒๐ ดวง ผล ๔ x ปัญจมฌานทั้ง ๕ ได้ ๒๐ ดวง โลกุตรจิตก็มี ๔๐ โดยวิตถารนัย

สรุปวิญญาณขันธ์
โดย สังเขปนัย จิตเป็นอกุสล ๑๒ ดวง เป็นกุสล ๒๑ ดวง เป็นวิบาก ๓๖ ดวง เป็นกิริยา ๒๐ ดวง รวมเป็น ๘๙ ดวง โดยวิตถารนัย กามาวจรจิต ๕๔ ดวง รูปาวจรจิต ๑๕ อรูปาวจรจิต ๑๒ดวง โลกุตรจิต ๔๐ รวม ๑๒๑ ดวง

ฐิตา:



การอธิบายเบญจขันธ์อีกแนว
เบญจขันธ์ หมายถึง สังขารร่างกายของมนุษย์และสัตว์ทั้งหลายที่ถือกำเนิด ณ ภพภูมิต่าง ๆ สัตว์บางเหล่าก็ได้เบญจขันธ์หยาบ สัตว์บางเหล่าก็ได้เบญจขันธ์ละเอียด สัตว์บางเหล่าก็ถือกำเนิดด้วยเบญจขันธ์ครบทั้ง ๕ แต่สัตว์บางเหล่าก็ถือกำเนิดไม่ครบขันธ์ทั้ง ๕ อาจมีแต่รูปขันธ์ หรืออาจมีแต่นามขันธ์ก็ได้ สัตว์ที่ถือกำเนิดไม่ครบทั้ง ๕ ขันธ์ ก็มักจะเป็นสัตว์ที่บำเพ็ญเพียรทางจิต ณ มนุษย์โลกแล้วไปถือกำเนิดในภพภูมิที่ละเอียดด้วยอำนาจฌาน เช่น พระพรหมทั้งหลาย ทั้งที่เป็นรูปพรหม ทั้งที่เป็นอรูปพรหม ทั้งที่เป็นพระอริยบุคคล หรือยังมิได้บรรลุอริยธรรม ตลอดถึงอสัญญีสัตว์ผู้อาภัพด้วย รูปธรรม นามธรรม

เบญจขันธ์สามารย่อลงได้เป็น ๒ พวก คือ รูปขันธ์ หรือ รูปธรรม กับ นามขันธ์ หรือ นามธรรม ดังนี้
รูป ย่อลงใน รูปขันธ์ หรือ รูปธรรม
เวทนา ย่อลงใน นามขันธ์ หรือ นามธรรม
สัญญา ย่อลงใน นามขันธ์ หรือ นามธรรม
สังขาร ย่อลงใน นามขันธ์ หรือ นามธรรม
วิญญาณ ย่อลงใน นามขันธ์ หรือ นามธรรม

สัญญา วิญญาณ ปัญญา
พระเดชพระคุณได้กล่าวไว้ในหนังสือพุทธธรรม หน้าที่ ๒๒ ว่า
“สัญญา วิญญาณ และปัญญา เป็นเรื่องของความรู้ทั้ง ๓ อย่าง แต่เป็นองค์ธรรมต่างข้อกัน และอยู่คนละขันธ์ สัญญาเป็นขันธ์หนึ่ง วิญญาณเป็นขันธ์หนึ่ง ปัญญาอยู่ในสังขารก็อีกขันธ์หนึ่ง สัญญาและวิญญาณได้พูดมาแล้วพอเป็นพื้นเข้าใจ
ปัญญา แปลกันมาว่า ความรอบรู้ เติมเข้าไปว่า ความรู้ทั่ว ความรู้ชัด คือ รู้ทั่วถึงความจริง หรือรู้ตรงตามความเป็นจริง.... เช่นว่า รู้เหตุรู้ผล รู้ดี รู้ชั่ว....แปลกันอย่างง่าย ๆ พื้น ๆ คือ ความเข้าใจ (หมายถึง เข้าใจถูก เข้าใจชัด หรือเข้าใจถ่องแท้)...”

ความสัมพันธ์ระหว่างขันธ์ต่าง ๆ
ขันธ์ทั้ง ๕ อาศัยซึ่งกันและกัน รูปขันธ์เป็นส่วนกาย นามขันธ์ทั้งสี่เป็นส่วนใจ มีทั้งกายและใจจึงจะเป็นชีวิต กายกับใจทำหน้าที่เป็นปกติและประสานสอดคล้องกัน ชีวิตจึงจะดำรงอยู่ได้ด้วยดี
นามขันธ์ทั้ง ๔ มีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดและส่งอิทธิพลเป็นปัจจัยแก่กันและกัน ดังที่พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้ในพระไตรปิฎกว่า “เพราะผัสสะ (ตา หู ฯลฯ รูป เสียง ฯลฯ วิญญาณ) เป็นปัจจัย การเสวยอารมณ์ (เวทนา) จึงมี; บุคคลเสวยอารมณ์ใด ย่อมหมายรู้อารมณ์นั้น (สัญญา), หมายรู้อารมณ์ใด ย่อมตริตรึกอารมณ์นั้น (สังขาร)...” (ม.มู. ๑๒/๒๔๘/๒๒๕)

เบญจขันธ์ หรือ ขันธ์ ๕ กับ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นอันเดียวกัน
พระพุทธเจ้าทรงแสดงเกี่ยวกับเบญจขันธ์ไว้หลายแห่งในพระไตรปิฎก ทรงเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “อุปาทานขันธ์ ๕” ปรากฏในพระไตรปิฎก ดังนี้

“ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงขันธ์ ๕ และอุปาทานขันธ์ ๕ เธอทั้งหลายจงฟัง”
“ขันธ์ ๕ เป็นไฉน ? รูป...เวทนา...สัญญา...สังขาร...วิญญาณ อันใดอันหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน เป็นภายในก็ตาม ภายนอกก็ตาม หยาบก็ตาม ละเอียดก็ตาม ทรามก็ตาม ประณีตก็ตาม ไกลหรือใกล้ก็ตาม...เหล่านี้ เรียกว่า ขันธ์ ๕”

“อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นไฉน ? รูป...เวทนา...สัญญา...สังขาร...วิญญาณ อันใดอันหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน เป็นภายในก็ตาม ภายนอกก็ตาม หยาบก็ตาม ละเอียดก็ตาม ทรามก็ตาม ประณีตก็ตาม ไกลหรือใกล้ก็ตาม ที่ประกอบด้วยอาสวะ เป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน...เหล่านี้ เรียกว่า อุปาทานขันธ์ ๕” (สํ.ข. ๙๕-๙๖/๕๘-๖๐)

“ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมทั้งหลาย ซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน และตัวอุปาทาน เธอทั้งหลายจงฟัง”
“รูป...เวทนา ...สัญญา...สังขาร...วิญญาณ คือธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน ฉันทราคะ (ความชอบใจจนติด หรืออยากอย่างแรงจนยึดติด) ในรูป...เวทนา...สัญญา...วิญญาณ นั้นคือ อุปาทานในสิ่งนั้น ๆ”

แปดคิว:
สีและลิลาน่าศึกษาสาธุครับ :47: :47:

ฐิตา:



คุณค่าทางจริยธรรม

เมื่อศึกษาในเรื่องเบญจขันธ์ จะส่งผลให้ผู้ศึกษาได้เข้าใจในชีวิต อันประกอบด้วย กายและจิต คลายความยึดมั่นถือมั่นในร่างกายและจิตใจ หมั่นฝึกฝนตนเองมิให้ประมาทในวัย เพราะเห็นแล้วว่าเบญจขันธ์ทั้งของตนและผู้อื่น ก็มีสภาพที่ไม่แตกต่างกัน นั่นคือ มีสภาพการ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไปในที่สุด
นอกจากนี้การ ศึกษาเรื่องเบญจขันธ์ยังทำให้ผู้ศึกษาไม่ตกไปสู่ทิฐิอันชั่วร้าย ๖๒ ประการ ที่พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้ในหลายพระสูตร อันมี พรหมชาลสูตร เป็นต้น และยังทำให้เป็นผู้ที่ไม่ถือโทษโกรธเคืองใครง่าย ๆ อีกทั้งยังทำให้เป็นผู้เจริญด้วยคุณธรรมอื่นตามมา เช่นการไม่เบียดเบียนผู้อื่น ไม่หลงใหลในสรีระร่างกายของเพศตรงข้ามจนเกินพอดี ส่งผลให้เป็นคนมีสุขภาพจิตดีตามไปด้วย

จิต

จิต หมายถึง สภาพธรรมชาติอันหนึ่งที่ที่เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยปรุงแต่ง และเป็นธรรมชาติที่เกิดดับอยู่ตลอดเวลา มีความรวดเร็ว ไปได้ไกลภายในระยะเวลาอันสั้น ไปได้ไกลและเร็วกว่าแสง และเมื่อเกิดขึ้นในแต่ละครั้งจะมีลักษณะที่ไม่เหมือนกันในแต่ละครั้ง บางครั้งเกิดขึ้นโดยมีสิ่งชักจูง บางครั้งเกิดขึ้นโดยไม่มีสิ่งชักจูง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรัสไว้ว่า

“ทูรงฺคมํ เอกจรํ อสรีรํ คุหาสยํ
เย จิตฺตํ สญฺญเมสฺสนฺติ โมกฺขนฺติ มารพนฺธนา.
ผู้ใดจักสำรวมจิตที่ไปไกล เที่ยวไปดวงเดียว ไม่มีรูปร่าง
มีถ้ำ(คือกาย) เป็นที่อาศัย, ผู้นั้นจักพ้นจากบ่วงแห่งมารได้.”
ขุ. ธ. ๒๕/๑๙,๒๐.

ตามพระพุทธพจน์นี้เห็นได้ว่า จิตเป็นสิ่งที่ไม่มีรูปร่าง และอาศัยอยู่ในถ้ำ คือกาย จึงแสดงสิ่งต่าง ๆ หรือทำอะไรในสิ่งที่ตาเห็นได้ แต่ถ้าหากไม่มีกายก็ไม่อาจแสดงสิ่งที่ตาเห็นได้ แต่อาจแสดงในสิ่งที่ตาไม่เห็นก็ได้
จิตนี้เองแต่เดิมเป็นสิ่งที่ผุดผ่อง มีรัศมีในตัว แต่เพราะความหลงเข้าครอบงำจึงทำให้จิตถูกย้อมเหมือนกับมนุษย์เราย้อมผ้าด้วย สีต่าง ๆ จิตก็เช่นกันเมื่อถูกย้อมทุกขณะที่เกิดขึ้น จึงทำให้จิตเปลี่ยนไปตามสิ่งที่ย้อมนั้น ทำให้ถือกำเนิดในภพภูมิต่าง ๆ เสวยผลกรรมที่ได้ทำไว้ขณะเกิดขึ้นในแต่ละขณะ ๆ และก็จมอยู่ในกับดัก คือกิเลส ตัณหา เพราะอวิชชาห่อหุ้ม ทำให้ต้องทนทุกข์ทรมานในภพภูมิต่าง ๆ มากมาย ในเรื่องจิตประภัสสรนี้ มีพระพุทธพจน์ตรัสไว้ว่า “ปภสฺสรมิทํ จิตฺตํ ภิกฺขเว จิตฺตํ ตญฺจ โข อาคนฺตุเกหิ อุปกฺกิเลเสหิ อุปกฺกิลิฏฺฐํ” ความว่า “ จิตเป็นธรรมชาติผ่องใส แต่เศร้าหมองเพราะอุปกิเลสที่จรมา”

--------------
บรรณานุกรม
-----------
พระไตรปิฎก ฉบับซีดีรอม
ธรรมรักษา : พระไตรปิฎก ฉบับสุภาษิต, สำนักพิมพ์สุขภาพใจ, กทม., ไม่ทราบปีที่พิมพ์
พรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต),พระ : พุทธธรรม, กลุ่มผู้สนใจศึกษาธรรม พิมพ์แจกเป็น
ธรรมทาน : พิมพ์ที่ โรงพิมพ์บริษัท สหธรรมิก จำกัด, พระพุทธศักราช ๒๕๔๙.
เสถียร โพธินันทะ : ประวัติพระพุทธศาสนา ฉบับมุขปาฐะ, (CD-ROM) ไม่ทราบปีที่พิมพ์
-----------




http://vimutto.blogspot.com/2009/02/blog-post.html
รวบรวมข้อมูลนำมาแบ่งปันโดย... surabhata
Pics by : Google
อกาลิโกโฮม * สุขใจดอทคอม
อนุโมทนาสาธุที่มาทั้งหมดมากมายค่ะ

ฐิตา:


เสขะ ผู้ยังต้องศึกษา ได้แก่ พระอริยบุคคลที่ยังไม่บรรลุอรหัตตผล
       โดยพิสดารมี ๗ คือ ท่านผู้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติมรรค ในโสดาปัตติผล ในสกทาคามิมรรค ในสกทาคามิผล ในอนาคามิมรรค ในอนาคามิผล และในอรหัตตมรรค,
       พูดเอาแต่ระดับเป็น ๓ คือ พระโสดาปัน พระสกทาคามี พระอนาคามี

อเสขะ ผู้ไม่ต้องศึกษา เพราะศึกษาเสร็จสิ้นแล้ว
       ได้แก่ บุคคลผู้ตั้งอยู่ในอรหัตตผล คือ พระอรหันต์;
       คู่กับ เสขะ

สังโยชน์ กิเลสที่ผูกมัดใจสัตว์, ธรรมที่มัดสัตว์ไว้กับทุกข์ มี ๑๐ อย่าง คือ
       ก. โอรัมภาคิยสังโยชน์ สังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ได้แก่
           ๑. สักกายทิฏฐิ ความเห็นว่าเป็นตัวของตน
           ๒. วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัย
           ๓. สีลัพพตปรามาส ความถือมั่นศีลพรต
           ๔. กามราคะ ความติดใจในกามคุณ
           ๕. ปฏิฆะ ความกระทบกระทั่งในใจ
       ข. อุทธัมภาคิยสังโยชน์ สังโยชน์เบื้องสูง ๕ ได้แก่
           ๖. รูปราคะ ความติดใจในรูปธรรมอันประณีต(เช่น วัตถุอันเป็นอารมณ์แห่งฌาน หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ สมาธิ)
           ๗. อรูปราคะ ความติดใจในอรูปธรรม
           ๘. มานะ ความถือว่าตนเป็นนั่นเป็นนี่
           ๙. อุทธัจจะ ความฟุ้งซ่าน
           ๑๐. อวิชชา ความไม่รู้จริง;
       พระโสดาบัน ละสังโยชน์ ๓ ข้อต้นได้,
       พระสกิทาคามี ทำสังโยชน์ข้อ ๔ และ ๕ ให้เบาบางลงด้วย,
       พระอนาคามี ละสังโยชน์ ๕ ข้อต้นได้หมด,
       พระอรหันต์ ละสังโยชน์ทั้ง ๑๐ ข้อ;

อ้างอิง พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)

                   ********************

[214] อุปาทาน 4 (ความยึดมั่น, ความถือมั่นด้วยอำนาจกิเลส, ความยึดติดอันเนื่องมาแต่ตัณหา ผูกพันเอาตัวตนเป็นที่ตั้ง - attachment; clinging; assuming)
       1. กามุปาทาน (ความยึดมั่นในกาม คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ที่น่าใคร่ น่าพอใจ - clinging to sensuality)
       2. ทิฏฐุปาทาน (ความยึดมั่นในทิฏฐิหรือทฤษฎี คือความเห็น ลัทธิ หรือหลักคำสอนต่างๆ - clinging to views)
       3. สีลัพพตุปาทาน (ความยึดมั่นในศีลและพรต คือ หลักความประพฤติ ข้อปฏิบัติ แบบแผน ระเบียบ วิธี ขนบธรรมเนียมประเพณี ลัทธิพิธีต่างๆ ถือว่าจะต้องเป็นอย่างนั้นๆ โดยสักว่ากระทำสืบๆ กันมา หรือปฏิบัติตามๆ กันไปอย่างงมงาย หรือโดยนิยมว่าขลัง ว่าศักดิ์สิทธิ์ มิได้เป็นไปด้วยความรู้ความเข้าใจตามหลักความสัมพันธ์แห่งเหตุและผล - clinging to mere rule and ritual)
       4. อัตตวาทุปาทาน (ความยึดมั่นในวาทะว่าตัวตน คือ ความถือหรือสำคัญหมายอยู่ในภายในว่า มีตัวตน ที่จะได้ จะเป็น จะมี จะสูญสลาย ถูกบีบคั้นทำลายหรือเป็นเจ้าของ เป็นนายบังคับบัญชาสิ่งต่างๆ ได้ ไม่มองเห็นสภาวะของสิ่งทั้งปวงอันรวมทั้งตัวตนว่าเป็นแต่เพียงสิ่งที่ประชุมประกอบกันเข้า เป็นไปตามเหตุปัจจัยทั้งหลายที่มาสัมพันธ์กันล้วนๆ - clinging to the ego-belief)

D.III.230;
M.I.66;
Vbh.375.   ที.ปา. 11/262/242;
ม.มู. 12/156/132;
อภิ.วิ. 35/963/506.
พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)

*****************************************************

อุปกิเลส 16
การพิจารณาจิต คือ ตามรู้จิตตลอดกาลตลอดเวลา ทั้งเมื่ออยู่ในอิริยาบถตามปกติและเมื่อตั้งใจปฏิบัติ เมื่อเราตั้งใจพิจารณา ตามดูจิตแล้ว เราจะมองเห็นอาการของจิตต่าง ๆ ทำให้เข้าใจจริตนิสัยของตัวเองมากขึ้น เมื่อเราเข้าใจตัวเอง ยอมรับตัวเองตามความเป็นจริง ก็จะเป็นพื้นฐานในการปรับปรุงพัฒนาตนเอง คือเมื่อรู้สึกตัวแล้ว ก็จะไม่หลงไปตามอามรณ์จิตเดิมแท้ของเราทุกคนเป็นประภัสสร บริสุทธิ์ผ่องใสโดยธรรมชาติแต่กิเลสเป็นอาคันตุกะที่จรเข้ามาครอบงำจิต ทำให้จิตเศร้าหมอง กิเลสหรืออกุศลมูล อันได้แก่ ราคะ โทสะ โมหะ เมื่อมีเหตุปัจจัยประสมประสานกันแล้วก่อตัวขึ้นมาเป็นอุปนิสัยต่าง ๆ มี 16 ลักษณะเรียกว่า อุปกิเลส 16 ได้แก่

๑. อภิชฌมวิสมโลภะ คือความละโมภ อยากได้ อยากมี อยากเป็นอย่างไม่รู้จักพอ เห็นแก่ได้จนลืมตัว
๒. พยาบาท คือความคิดร้าย มุ่งจะทำร้ายเขา ใครพูดไม่ถูกใจก็คิดตำหนิเขา คิดจะทำร้ายฆ่าเขาก็มี บางครั้งทำร้ายผู้อื่นไม่ได้ ก็หันมาตำหนิตัวเอง ทำร้ายตัวเอง จนฆ่าตัวตายก็มีซึ่งเป็นเพราะอำนาจพยาบาท เป็นอาการอย่างหนึ่งของโทสะ
๓. โกธะ คือความโกรธ มีอะไรมากระทบก็โกรธ เป็นลักษณะโกรธง่าย แต่เมื่อหายแล้วก็เหมือนกับไม่มีอะไรเกิดขึ้น คือไม่ผูกใจเจ็บ ไม่พยาบาท เป็นอาการอย่างหนึ่งของโทสะ

๔. อุปนาหะ คือการผูกโกรธ ใครพูดอะไร ทำอะไรให้เกิดความโกรธแล้วจะผูกใจเจ็บ เก็บไว้ ไม่ปล่อย ไม่ลืม เป็นทุกข์อยู่อย่างนั้น กระทบอารมณ์เมื่อไร ก็เอาเรื่องเก่ามาคิดรวมกันคิดทวนเรื่องในอดีตว่าเขาเคยทำไม่ดีกับเราขนาดไหน เป็นอาการอย่างหนึ่งของโทสะ
๕. มักขะ คือการลบหลู่คุณท่าน ปิดบังความดีของผู้อื่น ลบหลู่ความดีของผู้อื่น เช่น เขาให้ของแก่เรา แทนที่จะขอบคุณกลับนึกตำหนิเขาว่า เอาของไม่ดีมาให้ หรือเมื่อมีใครพูดถึงความดีของเขา เราทนไม่ได้ เราไม่ชอบ จึงยกเรื่องที่ไม่ดีของเขามาพูด เพื่อปฏิเสธว่าเขาไม่ใช่คนดีถึงขนาดนั้น เป็นต้น

๖. ปลาสะ คือการตีเสมอ ยกตัวเทียมท่าน ไม่ยอมยกให้ใครดีกว่าตน แต่ชอบยกตัวเองดีกว่าเขา มักแสดงให้เขาเห็นว่าเราคิดเก่งกว่า รู้ดีกว่า ถ้าให้เราทำ เราจะทำให้ดีกว่าเขาได้
๗. อิสสา คือความริษยา เห็นเขาได้ดี ทนไม่ได้ เมื่อเห็นเขาได้ดีมากกว่าเรา เขาได้รับความรักความเอาใจใส่มากกว่าเรา เรารู้สึกน้อยใจ อยากจะได้เหมือนอย่างเขา ความจริงเราอาจจะมีมากกว่าเขาอยู่แล้ว หรือเรากับเขาต่างก็ได้รับเท่ากัน แต่เราก็ยังเกิดความรู้สึกน้อยใจ ทนไม่ได้ก็มี

๘. มัจฉริยะ คือความตระหนี่ ขี้เหนียว เสียดายของ ยึดในสิ่งของที่เราครอบครองอยู่อย่างเหนียวแน่น อยากแต่จะเก็บเอาไว้ ไม่อยากให้ใคร
๙. มายา คือเจ้าเล่ห์หลอกลวง ไม่จริงใจ พยายามแสดงบทบาทตัวเองเกินความจริง หรือจริงๆ แล้วเรามีน้อยแต่พยายามแสดงออกให้คนอื่นเข้าใจว่ามั่งมี เช่น ด้วยการแต่งตัว กินอยู่อย่างหรูหรา หรือบางกรณี ใจเราคิดตำหนิติเตียนเขา แต่กลับแสดงออกด้วยการพูดชื่นชมอย่างมาก หรือบางทีเราไม่ได้มีความรู้มาก แต่ของคุยแสดงว่ารู้มาก เป็นต้น

๑๐. สาเถยยะ คือการโอ้อวด หลอกลวงเขา ชอบอวดว่าดีกว่าเขา เก่งกว่าเขา พยายามแสดงให้เขาเห็น เพื่อให้เขาเกิดอิจฉาเรา เมื่อได้โอ้อวดแล้วมีความสุข
๑๑. ถัมภะ คือความดื้อ ความกระด้าง ยึดมั่นถือมั่นในตัวเอง ใครแนะนำอะไรให้ก็ไม่ยอมรับฟัง
๑๒. สารัมภะ คือการแข่งดี มุ่งแต่จะเองชนะเขาอยู่ตลอด จะพูดจะทำอะไรต้องเหนือกว่าเขาตลอด เช่นเมื่อพูดเถียงกันก็อ้างเหตุผลต่าง ๆ นานา เพื่อเอาชนะให้ได้ ถึงแม้ความจริงแล้วตัวเองผิด ก็ไม่ยอมแพ้

๑๓. มานะ คือความถือตัว ทะนงตน
๑๔. อติมานะ คือการดูหมิ่นท่าน ความถือตัวว่าเราดียิ่งกว่าเขา ทำให้ดูถูกดูหมิ่นคนอื่น
๑๕. มทะ คือความัวเมา หลงว่ายังเป็นหนุ่มเป็นสาว ยังไม่แก่ ยังไม่ตาย หลงในอำนาจ หลงในตำแหน่ง คิดว่าเราจะเป็นอย่างนี้ตลอดไปแล้วทำอะไรเกินเหตุ
๑๖. ปมาทะ คือความประมาท เลินเล่อ ไม่คิดให้รอบคอบ อาการที่ขาดสติ ขาดปัญญา

>>> http://www.kanlayanatam.com/sara/sara11.htm


อ่านต่อ >>>ทิฏฐิ 62 « ตอบกลับ #6 เมื่อ: กันยายน 15, 2011,
-----------------.........................
-----------------.........................

ธรรมเหล่านี้แลลึกซึ้ง  เห็นได้ยาก  รู้ตามได้ยาก  สงบ  ประณีต  จะคาดคะเนเอาไม่ได้  ละเอียด  รู้ได้เฉพาะบัณฑิต  ซึ่งตถาคตทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเอง  แล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้ง  ที่เป็นเหตุให้กล่าวชมตถาคตตามความเป็นจริงโดยชอบ

                ดูกร  ภิกษุทั้งหลาย  สมณพราหมณ์เหล่าใดกำหนดขันธ์..... กล่าวคำแสดงทิฏฐิหลายชนิด ด้วยเหตุ 62 ประการ  แม้ข้อนั้น ก็เป็นความเข้าใจของสมณพราหมณ์เหล่านั้น  ผู้ไม่รู้ไม่เห็น เป็นความแส่หา  เป็นความดิ้นรนของคนมีตัณหาเหมือนกัน

                ดูกร  ภิกษุทั้งหลาย  สมณพราหมณ์เหล่าใดกำหนดขันธ์..... กล่าวคำแสดงทิฏฐิหลายชนิด ด้วยเหตุ 62 ประการ  ก็เพราะผัสสะ เป็นปัจจัย
                ดูกร  ภิกษุทั้งหลาย  บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น  กล่าวคำแสดงทิฏฐิหลายชนิด ด้วยเหตุ 62 ประการ  สมณพราหมณ์เหล่านั้นทุกจำพวก  ถูกต้อง ๆ แล้วด้วยผัสสายตนะทั้ง 6  ย่อมเสวยเวทนา  เพราะเวทนาเป็นปัจจัยจึงเกิดตัณหา  เพราะตัณหาเป็นปัจจัยจึงเกิดอุปาทาน  เพราะอุปาทานเป็นปัจจัยจึงเกิดภพ  เพราะภพเป็นปัจจัยจึงเกิดชาติ  เพราะชาติเป็นปัจจัยจึงเกิด ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส อุปายาส

  เมื่อใดภิกษุรู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งความเกิด ความดับ คุณและโทษแห่งผัสสายตนะทั้ง 6 กับอุบายเป็นเครื่องออกไปจากผัสสายตนะเหล่านั้น  เมื่อนั้น ภิกษุนี้ย่อมรู้ชัดยิ่งกว่าสมณพราหมณ์เหล่านี้ทั้งหมด  ก็สมณพราหมณ์พวกใด  กล่าวคำแสดงทิฏฐิหลายชนิด  สมณพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมด  ถูกทิฏฐิ 62  อย่างเหล่านี้เป็นดุจข่ายปกคลุมไว้  อยู่ในข่ายนี้เอง  เมื่อผุดก็ผุดอยู่ในข่ายนี้  ติดอยู่ในข่ายนี้  ถูกข่ายนี้ปกคลุมไว้

                ดูกร  ภิกษุทั้งหลาย  กายของตถาคต มีตัณหาอันจะนำไปสู่ภพขาดแล้ว  ยังดำรงอยู่ เทวดา และมนุษย์ทั้งหลายจักเห็นตถาคต ชั่วเวลาที่กายของคถาคตดำรงอยู่  เมื่อกายแตกสิ้นชีพแล้ว  เทวดา และมนุษย์ทั้งหลายจักไม่เห็นตถาคต
                เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว  พระอานนท์ได้กราบทูลว่า  น่าอัศจรรย์  ไม่เคยมีมา  ธรรมบรรยายนี้ชื่ออะไร พระเจ้าข้า  พระผู้มีพระภาคตรัสว่า  เธอจงจำธรรมบรรยายนี้ว่า  อรรถชาละก็ได้  ธรรมชาละก็ได้  พรหมชาละก็ได้
                ครั้นพระผู้มีพระภาคตรัสพระสูตรนี้จบแล้ว  ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้นมีใจชื่นชม  เพลิดเพลินภาษิตของพระผู้มีพระภาค และเมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสไวยากรณภาษิตนี้อยู่  หมื่นโลกธาตุได้หวั่นไหวแล้ว แล

>>> :http://www.tairomdham.net/index.php/topic,6289.0.html

นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

[*] หน้าที่แล้ว

ตอบ

Go to full version