ผู้เขียน หัวข้อ: รักอย่างไร ... ไม่เป็นทาส  (อ่าน 1344 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
รักอย่างไร ... ไม่เป็นทาส
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 26, 2011, 08:03:11 pm »
รักอย่างไร ... ไม่เป็นทาส


พึ่งตนพึ่งธรรม - รักอย่างไร ... ไม่เป็นทาส


คมชัดลึก :“ความ รัก” เป็นเรื่องธรรมชาติ เป็นสัญชาตญาณของมวลหมู่สัตว์ในโลกนี้ ไม่ละเว้นแม้แต่มนุษย์เรา แต่เหตุใดปราชญ์โบราณจึงกล่าวไว้ในแง่ลบว่า “ที่ใดมีรัก ... ที่นั่นมีทุกข์” ทำให้เด็กหนุ่มวัยรุ่นคนหนึ่งเกิดความฉงน และขัดแย้งในใจอยู่ลึกๆ ว่า รักนั้น ย่อมนำมาแต่สุขสิ จะมีทุกข์ได้อย่างไร ... กระทั่ง หลายปีผ่านไป เมื่อสาวเจ้าโบกมือลาจากเขา บทเรียนสอนใจจึงได้แสดงผลต่อเด็กหนุ่มคนนั้น อย่างจังๆ เต็มๆ มันชัดเจนจนไม่ต้องการอาจารย์หรือนักปราชญ์คนใดมาขยายความอีกต่อไป ครั้งเดียวไม่ลืมจริง

“รัก” อย่างไร จึงไม่ชอกช้ำ ไม่ก่อโทษ เกิดทุกข์ ... หลวงพ่อพุทธทาส เคยตั้งประเด็นไว้ รักอย่างปลอดภัย ไม่ก่อโทษ เกิดทุกข์ นั้น ต้องรักอย่างไม่เป็นทาส
แล้ว รักอย่างไรล่ะ ... จึงจะไม่เป็นทาส?

ก่อนอื่น ในทางตรงข้าม ต้องรู้ก่อนว่า รักที่เป็นทาส มันเป็นอย่างไร โดยหันมาสำรวจตัวเราเองอย่างซื่อสัตย์ก่อน ที่เราว่า “รัก” ใครต่อใครนั่นน่ะ มันเป็นรักที่ซ่อนความคาดหวัง ผูกพันเป็นตัวกูของกูอยู่มากน้อยแค่ไหน ... ทำไมคนหลายคน แรกๆ เขาก็รักกัน ช่วยสนับสนุน ส่งเสริมกัน อย่างเต็มที่ แต่สุดท้ายก็ตกเป็นทาสแห่งความรักนั้นอยู่ดี
การตกเป็นทาสของความรักนั้น มีด้วยกันหลายประเภท เริ่มตั้งแต่
รักของ หนุ่มสาว ... เมื่อคราวเบ่งบาน ก็ปานประหนึ่งว่า ชีวิตนี้ขาดเธอไม่ได้, เราต่างเป็นเนื้อคู่กันโดยแท้จริง, เราต่างก็แมชชิ่ง (Matching) กันยิ่งกว่าจิ๊กซอว์ ตัวต่อหัวใจที่เฝ้าค้นหามาต่อประกบกันได้อย่างสนิท, หรือ ประมาณว่าโลกนี้ทั้งใบ ... ฉันให้นายคนเดียว ฯลฯ ต่างๆ เหล่านี้ หากมองดูอย่างผิวเผิน ก็ดูเป็นความรักที่มีแต่การให้ ซึ่งน่าจะดี
แต่หากลองใช้เลนส์ธรรมะ ขยายมองให้ดีอย่างถ้วนถี่ ก็จะพบว่า การให้ การเสน่หา ทั้งหมดทั้งปวง ที่พรรณนาออกมาจากความรู้สึกนั้น เป็นไปอย่างไม่มีอิสระซึ่งกันและกัน คือคนๆ หนึ่งจะมีความสุขได้ ต้องมีคนอีกคนหนึ่ง อยู่ด้วย หรือแม้แต่การจะยกโลกทั้งใบให้แก่ใครคนหนึ่ง ก็เป็นการให้ที่ออกจะเกินเลยไป เพราะเป็นการให้ด้วยความลุ่มหลง ทั้งยังแฝงเร้นไปด้วยการหวังผลกลับจากอีกฝ่ายอย่างเห็นได้ชัด อย่างน้อยฝ่ายที่รับ ก็ต้องแสดงความรักตอบมาด้วย ไม่เช่นนั้น ความรักพลันนี้ จะแปรรูปเป็นความโกรธพยาบาท ได้ไม่ยากนัก เข้าทำนอง ยิ่งรักมาก ยิ่งแค้นมาก ศึกชิงรักหักสวาท จึงมักลงเอย ด้วยเรื่องร้ายๆ ที่คาดไม่ถึงเสมอ ไม่ว่าจะเป็น สาดน้ำกรดใส่กัน, ถ่ายรูปเปลือยเพื่อผูกมัด แบล็คเมล์กัน, โกรธคนรัก แล้วไปสาดกระสุนใส่ญาติโกโหติกาเขาบ้าง, กระทั่งบางทีหาทางออกไม่เจอ ก็ลงมือฆ่าหั่นศพเอาดื้อๆ ก็มีให้เห็นเป็นข่าว อย่างนี้จึงเรียกว่า ... ตกเป็นทาสแห่งความรัก อย่างไม่ต้องสงสัย
บางประเภท ก็เป็นความรัก ที่ผู้ใหญ่ให้แก่ผู้น้อย ไม่ว่าจะให้เป็นทุนทรัพย์ ให้ช่องทางในการเติบโต แจ้งเกิดจนมีชื่อเสียงโด่งดังได้ในวงการ ให้ด้วยความรักโดย ไม่หวังผลตอบแทนเลยก็จริง แต่ปรากฏว่า ผู้น้อยบางคน เมื่อได้ดิบได้ดี แล้วก็เนรคุณ ไม่แม้แต่จะหันกลับมากล่าวคำ “ขอบคุณ” เลย ก็สร้างความเสียอกเสียใจให้กับผู้ใหญ่ท่านนั้น นั่นแสดงว่า ลึกๆ แล้ว ผู้ให้ก็ยังหวังความกตัญญูกตเวที กลับมาจากผู้รับอยู่ ทำให้ต้องทุกข์ระทม กับคนประเภท ถีบเรือเมื่อถึงฝั่ง เลิกร้างเมื่อได้ดี ก็ยังถือว่า ตกเป็นทาสแห่งความรัก อีกเช่นกัน
ตัวอย่างดังกล่าว เป็นเครื่องสะท้อน ย้อนให้เรานึกถึง การมีใจเป็นพรหม หรือมีธรรมะพรหมวิหารทั้ง ๔ ข้อ ...
๑. เมตตา : ปรารถนาให้ผู้อื่นได้รับความสุข
๒. กรุณา : ปรารถนาและลงมือช่วยให้ผู้อื่นพ้นทุกข์
๓. มุทิตา : ยินดีปรีดาเมื่อเห็นผู้อื่นได้ดี
๔. อุเบกขา : การรู้จักวางเฉย (ทำความดีไปแล้วก็ปล่อยวาง ทำงานด้วยจิตว่าง)
อดระลึกนึกถึง ความรักเมตตา อันบริสุทธิ์ ระหว่างพระพุทธเจ้ากับอรหันตสาวกเรือนพัน ในวันมาฆบูชา ไม่ได้ พระศาสดาผู้เป็นบรมครู ก็ตั้งใจมาประทานธรรมะโอวาทปาฏิโมกข์ด้วยบริสุทธิ์ใจ พระอรหันตสาวกทั้ง ๑,๒๕๐ รูปที่พระองค์ทรงบวชให้ ต่างก็มุ่งหน้ามาชุมนุมกันเพื่อแสดงความรักต่อพระพุทธองค์อย่างบริสุทธิ์ใจเช่นกัน บรรยากาศเช่นนี้ กลางป่าไผ่เวฬุวัน จึงอบอวลไปด้วยความสุขสันติภาพ รักอย่างบริสุทธิ์ใจ รักโดยไม่มีใครเป็นทาสใคร รักอมตะนิรันดร์กาล ผ่านกาลเวลาล่วงเลยมาตั้ง ๒,๕๙๘ ปีแล้ว (๒๕๕๔ + ๔๔) พลานุภาพแห่งรักนี้ ก็มิได้ลดน้อยถอยลงไปเลย ตราบจนปัจจุบัน
แล้ว เราจะประยุกต์มาใช้กับ “ความรัก” อย่างไรในชีวิตประจำวันล่ะครับ จึงจะไม่ตกเป็นทาสแห่งความรัก , ผมเองได้ปรารภเรื่องนี้ กับพระป่ารูปหนึ่งที่วัดมาบจันทร์ (หนองป่าพง ๗๓)จ. ระยอง พวกเราเรียกท่านว่า ครูบาอาร์ท ท่านบอกให้
อย่างมีศีล-สมาธิ-ปัญญา, หรือ รักอย่างมีไตรสิกขา
ไตรสิกขา ก็คือ มรรคมีองค์ ๘ ทางอันประเสริฐนั่นเอง
ฟังดูง่าย แต่ต้องแจกแจงครับ หากเรารักใคร ก็ตาม อย่างมีไตรสิกขา เป็นพื้นฐานแล้วไซร้ จะมีแต่ความปรารถนาดีต่อกัน อย่างถูกต้อง ถูกทิศทางเป็นสัมมาทิฏฐิ ตั้งแต่เริ่มต้นกันทีเดียว ก็เท่ากับ ติดกระดุมเม็ดแรกแห่งการพ้นทุกข์ได้อย่างถูกต้องแล้ว และแน่นอนที่สุด เมื่อกระดุมเม็ดแรกถูกต้อง เม็ดต่อๆ ไป ก็ไม่ผิด การเดินมรรคเดียวเดี่ยวไป ซึ่งเป็นหนทางอันประเสริฐกับการทำอะไรก็ตามในชีวิต รวมทั้งเรื่อง ความรัก นั้น จะมีเป้าหมายปลายทางเดียวกัน คือ ถึงที่สุดแห่งทุกข์
มีแต่ความปล่อยวาง ว่าง เบา ไม่เอาใครต่อใครมายึดมั่น เป็นเจ้าของซึ่งกันละกัน ความอิสระ ที่มีต่อกัน นั้นช่วยปลดแอกพันธนาการแห่งความเป็นทาสแห่งความรัก แม้จะรักกัน จนแต่งงานกันเป็นสามี ภรรยา กันแล้วก็ตาม หากแต่ทั้งคู่ต่าง เข้าใจเรื่องนี้ และเดินตามไตรสิกขา ก็จะยังคงรู้สึกถึงความเป็นอิสระต่อกัน รู้เป้าหมายร่วมกัน ที่จะต้องจูงมือกันสู่กระแสพระนิพพาน ในที่สุด
รักแบบนี้แหละ ที่พระท่านทั้งหลาย ต่างอนุโมทนา รักอย่างไม่ยึดมั่นถือมั่น เพราะไม่มีสิ่งใดเป็นตัวกูของกูเลย แม้แต่อย่างเดียว ดังคำสอนเตือนใจของหลวงพ่อพุทธทาส ที่ว่า ...
สพฺเพ ธมฺมา นาลํ อภินิเวสาย
สรรพสิ่งทั้งหลายทั้งปวง ไม่ควรยึดมั่นถือมั่น
ใครทำได้เช่นนี้ ก็จะเข้าถึง ความรักอย่างไม่เป็นทาสได้ ไม่ยากเลย
" พิสุทธิ์ เกรียงบูรพา"


.

http://www.komchadluek.net/detail/20...%E0%B8%AA.html


.
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)