ผู้เขียน หัวข้อ: พระพุทธศาสนา กับ จิตอาสา โดย หลวงปู่พุทธะอิสระ ( Buddha Isara )  (อ่าน 3838 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ มดเอ๊กซ

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7167
  • พลังกัลยาณมิตร 1518
    • ดูรายละเอียด



พระพุทธศาสนากับจิตอาสา


ปัญหาที่เราต้องทำความเข้าใจกันก่อนว่าความหมายของ จิตอาสา คืออะไร และมาจากไหน สุดท้ายคือทำไมเราจึงต้องมีจิตอาสา การที่จะทำให้สามารถเข้าใจและรู้จักได้อย่างถ่องแท้นั้น ก็อยากจะให้ทน ๆ ฟังสิ่งที่ชั้นจะเล่าต่อไปนี้หน่อยละกัน อย่าเพิ่งหลับกันไปหมดซะก่อน...

 
พระพุทธศาสนามี 2 นิกายใหญ่ เรียกว่า เถรวาทและมหายานตามลำดับ การแตกแยกของสงฆ์เริ่มขึ้นเกือบทันทีที่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพาน และการแตกแยกของพระสงฆ์เป็น 2 นิกายอย่างชัดเจน ปรากฎขึ้นเมื่อประมาณ 1 ศตวรรษหลังพุทธปรินิพพาน

 
การแตกแยกเริ่มเกิดเมื่อพระสงฆ์ 2 ฝ่ายมีทัศนะต่างกันในเรื่องเกี่ยวกับพระวินัยบัญญัติบางประเด็น ต่อมาไม่ช้า การตีความพระธรรมต่างกันก็ติดตามมา พอถึงพุทธศตวรรษที่ 3 หลังพุทธกาล ก็เกิดมีสำนักทางความคิดแล้วถึง 18 สำนัก

 
พระพุทธศาสนาแบบมหายานแท้ ๆ นั้นเริ่มเกิดเป็นรูปเป็นร่างขึ้นเมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ 6 หลังพุทธกาล เมื่อเกิดมีพระสูตรมหายานขึ้นหลายสูตร ความแตกต่างสำคัญระหว่างนิกายทั้ง 2 มีดังต่อไปนี้

1. พระพุทธศาสนาเถรวาท ได้ชื่อเช่นนั้นเพราะยึดถือคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ซึ่งที่ประชุมใหญ่ของพระมหาเถระผู้มีชีวิตร่วมสมัยกับพระพุทธเจ้าช่วยกันรวบรวม แจกแจงจัดหมวดหมู่ ยอมรับกัน และท่องจำไว้ในการทำสังคายนาครั้งที่ 1 ซึ่งจัดขึ้นหลังพุทธปรินิพพานเพียง 3 เดือน // พระพุทธศาสนามหายาน บางทีเรียกว่า “อาจริยวาท” หรือลัทธินิยมของพระอาจารย์รุ่นหลัง ชาวเถรวาทเชื่อว่า พระสูตรมหายานถูกสร้างขึ้นมาแล้วก็เอาใส่พระโอษฐ์ของพระพุทธเจ้า โดยพระนักปราชญ์ผู้มีชื่อเสียงเด่น (อาจริยะ) ในระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 1 ถึงที่ 5

2. พระพุทธศาสนาเถรวาท ได้รับการตั้งชื่อโดยชาวมหายานว่า “หินยาน” หมายถึง ยานน้อย คับแคบและต่ำทราม เพราะพระพุทธศาสนาเถรวาทเน้นความสำคัญของการหลุดพ้นจากสังสาระ (การเวียนว่ายตายเกิด) ของบุคคลแต่ละคนก่อนสิ่งใด // ส่วนพระพุทธศาสนามหายานนั้น ชาวมหายานเรียกตัวเองเช่นนั้นเพราะ ชาวมหายานมุ่งเป็นพระโพธิสัตว์เพื่อที่จะช่วยคนให้พ้นจากความทุกข์ได้ทีละมาก ๆ

3. พระพุทธศาสนาเถรวาท บางทีเรียกว่า “สาวกยาน” หรือ ยานของพระสาวก เพราะว่าชาวเถรวาทมุ่งเป็นเพียงสาวกของพระพุทธเจ้า // พระพุทธศาสนามหายาน เรียกว่า “โพธิสัตวยาน” หรือ ยานของพระโพธิสัตว์ เพรพาะว่าชาวมหายานมุ่งต่อการเป็นพระโพธิสัตว์ที่จะช่วยนำสัตว์อื่น ๆ ให้บรรลุถึงพระนิพพานก่อน ส่วนตนเองจะเป็นคนสุดท้ายที่จะเข้าสู่นิพพาน

4. พระพุทธศาสนาเถรวาท บางทีเรียกว่า “นิกายฝ่ายใต้” (ทักษิณนิกาย) เพราะแผ่ขยายจากอินเดียไปสู่ภาคใต้ของเอเชีย และทุกวันนี้มีอยู่ในประเทศแถบใต้ของเอเชีย เช่น ศรีลังกา พม่า ไทย ลาว และกัมพูชา // พระพุทธศาสนามหายาน เรียกว่า “นิกายฝ่ายเหนือ” เพราะจะพบได้ในประเทศแถบเหนือของเอเชีย เช่น มองโกเลีย ทิเบต เกาหลี ญี่ปุ่น

5. พระพุทธศาสนาเถรวาท ยึดถือพระไตรปิฎกว่าเป็นที่มาที่แท้จริงและขั้นสุดท้ายของคำสั่งสอนอันแท้จริงของพระพุทธเจ้า และมองว่าพระสูตรมหายานเป็นงานที่สร้างขึ้นภายหลัง // พระพุทธศาสนามหายาน ถือว่า พระสูตรมหายานต่าง ๆ เช่น ปรัชญาปารมิตาสูตร สัทธรรมปุณฑริกสูตร อวตังกสูตร ฯลฯ เป็นคำสอนอันแท้จริงของพระพุทธเจ้าที่ได้รับการอนุรักษ์ไว้ และนำสือต่อกันมาโดยทางลัทธินิยมสายอื่น

6. พระพุทธศาสนาเถรวาท ใช้ภาษาบาลี ซึ่งเป็นภาษาถิ่นภาษาหนึ่งแห่งภาษาโบราณของอินเดียโบราณ เป็นภาษาศักดิ์สิทธิ์และเป็นภาษาสากลของตน // พระพุทธศาสนามหายาน ใช้ภาษาสันสกฤตเป็นภาษาจารึกพระคัมภีร์ ก่อนที่คัมภีร์ทั้งหมดจะถูกแปลเป็นภาษาจีนและภาษาถิ่นอื่น ๆ


http://www.facebook.com/note.php?note_id=10150278403340285
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 08, 2011, 10:26:05 am โดย มดเอ๊กซ »
" มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

เกอเธ่...

ออฟไลน์ มดเอ๊กซ

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7167
  • พลังกัลยาณมิตร 1518
    • ดูรายละเอียด


7. พระพุทธศาสนาเถรวาท เคารพบูชาพระโคตมะพุทธเจ้า เป็นสิ่งที่เคารพบูชาสูงสุด แม้ว่าพระองค์จะเสด็จสู่นิพพานมาเป็นเวลานานแล้วก็ตาม // พระพุทธศาสนามหายาน เคารพบูชาพระโพธิสัตว์ต่าง ๆ ซึ่งคนเชื่อว่ายังมีพระชนม์อยู่และท่องเที่ยวไปในโลกเพื่อช่วยเหลือใคร ๆ ก็ตามที่ต้องการช่วยเหลือและสวดมนต์ขอให้ท่านมาช่วย

 

8. พระพุทธศาสนาเถรวาท เชื่อว่า พระพุทธเจ้าโคตมะได้เข้าถึงนิพพานแล้ว จึงเสด็จไปอย่างสิ้นเชิง ไม่สามารถจะกลับมาช่วยใครได้ ชาวพุทธได้แต่เคารพบูชาพระองค์ในฐานะเป็นครูและเป็นผู้ก่อตั้งในประวัติศาสตร์แห่งพระพุทธศาสนาเท่านั้น // พระพุทธศาสนามหายานเชื่อว่า พระศากยมุนีพุทธเจ้า เป็นเพียงการปรากฎตัวครั้งหนึ่ง เพื่อประกอบภารกิจในการสอนคนเฉพาะคราว ของธาตุพุทธะ อันเป็นอมตะ เรียกว่า “ธรรมกาย”

 

9. พระพุทธศาสนาเถรวาท มีทัศนะคติแบบอนุรักษ์นิยม คำสอนของพระพุทธเจ้าที่รวบรวมไว้ในพระไตรปิฎกได้รับความเชื่อว่าเป็นความจริงขั้นสุดท้ายแล้ว ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องตีความใหม่ใด ๆ เพราะฉะนั้น จึงมีเอกภาพค่อนข้างสูงและหยุดนิ่ง // พระพุทธศาสนามหายาน มีลักษณะเปิดกว้าง มีเสรีภาพในการตีความหลักคำสอนต่าง ๆ ท่าทีใจกว้างแบบนี้ ประกอบกับการไม่มีศูนย์อำนานกลางมาควบคุม ได้เปิดโอกาสให้มีการตีความคำสอนใหม่ และเกิดมีนิกายและอนุนิกายขึ้นมามากมาย ดังนั้น พระพุทธศาสนามหายานจึงเจริญเติบโตและแตกแยกออกไปเรื่อย ๆ

 

10. พระพุทธศาสนาเถรวาท มีลักษณะปฏิบัตินิยม มีการวางหลักการปฏิบัติที่ชัดเจนและปฏิบัติได้ไว้เพื่อไปสู่เป้าหมายที่ชัดเจนและแน่นอน // พระพุทธศาสนามหายาน มีลักษณะคิดเก็งความจริง ค้นหาเหตุผลและปรัชญามากกว่า ชอบเสนอเหตุผลที่เป็นนามธรรมเพื่อสนับสนุนหรือค้านความเป็นจริงทางอภิปรัชญาต่าง ๆ เช่น ธรรมชาติของพระพุทธจิตดั้งเดิมแท้จริง “สุญญตา” เป็นต้น

 

11. พระพุทธศาสนาเถรวาท ส่งเสริมให้ดำเนินตามมรรคไปตามลำดับขั้น ตามปกติเริ่มต้นด้วย การมีความเชื่อ (ศรัทธา) ในพระรัตนตรัย --> งดเว้นจากการกระทำชั่วที่เป็นพิษเป็นภัย (ศีล) --> กระทำความดีด้วยการให้ (ทาน) --> สร้างความรักความปรารถนาดี (เมตตา) ในสัตว์ทั้งปวง --> สร้างความสงสารเห็นใจ (กรุณา) --> ความพลอยยินดีในผลสำเร็จของผู้อื่น (มุทิตา) --> และการวางตัวเป็นกลาง (อุเบกขา) --> ปฏิบัติสมถภาวนา (สมาธิ) --> และการพัฒนาปัญญาเพื่อรู้แจ้งในความจริงแท้ของสิ่งทั้งปวง (ปัญญา) // พระพุทธศาสนามหายาน มิได้กำหนดทางดำเนินที่แน่นอนเพียงหนึ่งเดียวแก่ศาสนิกชนทั้งปวง แต่ละคนมีอิสระที่จะยึดถือขั้นใดขั้นหนึ่งที่ตนชอบหรือที่เหมาะกับภูมิหลังทางศักยภาพหรือความถนัดของตน ตัวอย่างเช่น นิกายสุขาวดี อาจจะเน้นศรัทธา ส่วนนิกายเซ็น อาจจะเน้นวิชชุญาณและการตรัสรู้อย่างฉับพลัน

 

12. พระพุทธศาสนาเถรวาท สอนให้พระคงรักษาศีล 227 ที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้เมื่อเกือบ 2,600 ปีมาแล้ว // พระภิกษุมหายาน ได้ยกเลิกพระวินัยมากมายหลายข้อ คงรักษาไว้เฉพาะบางข้อที่ปฏิบัติได้เหมาะสมกับสภาพทางสังคมและดินฟ้าอากาศของตนเท่านั้น

 

13. พระพุทธศาสนาเถรวาท ไม่บังคับให้พระฉันอาหารมังสวิรัติ พระส่วนมากจึงยังฉันเนื้อสัตว์ ถ้าเนื้อนั้นประกอบด้วยองค์ 3 ประการคือ 1) พระไม่ได้เห็นเขาฆ่า 2) พระไม่ได้ยินเสียงเขาฆ่า 3) พระไม่รังเกียจว่าเขาฆ่าสัตว์นั้นเพื่อตนโดยเฉพาะ // พระพุทธศาสนามหายาน เป็นนักมังสวิรัติที่เคร่งครัด นอกจากพระวินัยสงฆ์ทั่ว ๆ ไปแล้ว พระมหายานยังต้องรักษาศีลของพระโพธิสัตว์อีกจำนวนหนึ่งด้วย รวมทั้งข้อที่ให้เจริญมหากรุณาด้วย คือไม่เบียดเบียนสัตว์ทั้งโดยตรงและโดยอ้อม

 

เอ๊า... ฟังมาถึงตรงนี้ ถ้ายังไม่หลับกันไปหมดซะก่อนก็คงจะพอบอกได้ว่า ความคิดที่ว่า “พุทธศาสนากับจิตอาสา” มาจากนิกายไหน? (ญาติโยมตอบ... มหายานค่ะ) ใช่ ต้องหนักไปทางมหายาน... เอ๊า ต่อ... ยัง ยังไม่จบง่าย ๆ

http://www.facebook.com/note.php?note_id=10150279553040285

" มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

เกอเธ่...

ออฟไลน์ มดเอ๊กซ

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7167
  • พลังกัลยาณมิตร 1518
    • ดูรายละเอียด



มหายาน

การเกิดของนิกายนี้ค่อยเป็นค่อยไปและปรากฎเป็นนิกายชัดเจนในพุทธศตวรรษที่ 5 จากพระสงฆ์พวกมหาสังฆิกะ ซึ่งสืบเนื่องมาจากพวกวัชชีบุตรคราวทำสังคายนาครั้งที่ 2 นิกายนี้เกิดขึ้น โดยมีความมุ่งหมายดังนี้คือ

1.เพื่อความคงอยู่ของพระพุทธศาสนาในอินเดียด้วยสู่กับลัทธิพราหมณ์
2.เพื่อปรับปรุงวิธีเผยแผ่เสียใหม่แข่งกับลัทธิพราหมณ์
3.เพื่อทำตนให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม เพื่อประโยชน์ในการเผยแผ่


ความแตกต่างระหว่างเถรวาทกับมหายาน


เถรวาท ถือเรื่องอริยสัจเป็นสำคัญ // มหายาน ถือเรื่องบารมีเป็นสำคัญ

เถรวาท ถือคุณภาพของศาสนิกชนเป็นสำคัญ // มหายาน ถือปริมาณเป็นสำคัญก่อนแล้วจึงค่อยปรับปรุงคุณภาพภายหลัง

ดังนั้น มหายาน จึงต้องลดหย่อนการปฏิบัติพระวินัยบางข้อลงเข้าหาบุคคลและเพิ่มเทวดาและเพิ่มพิธีกรรมสังคีตกรรมเพื่อจูงใจคน ได้อธิบายพุทธมติอย่างกว้างขวางเกินประมาณเพื่อการเผยแผ่ จนทำให้พระพุทธพจน์ซึ่งเป็นสัจจนิยมกลายเป็นปรัชญา และตรรกวิทยาไป

 

พระพุทธเจ้า

เถรวาท มีพระพุทธเจ้าองค์เดียว คือ พระสมณโคดม หรือพระศากยมุนี // มหายาน มีหลายองค์ องค์เดิมคือ อาทิพุทธะ (กายสีน้ำเงิน) เมื่อท่านบำเพ็ญฌาณก็เกิดมีพระฌานิพุทธะอีกมาก เป็นต้นว่า พระไวโรจนพุทธะ อักโขภัยพุทธะ รัตนสมภพพุทธะ ไภสัชชคุรุ โอฆสิทธิ และอมิตาภา เฉพาะองค์นี้ที่มาในร่างที่เป็นคน (มานุษีพุทธะ) คือพระศากยมุนี

 

ความมุ่งหมาย

เถรวาท มีความพ้นจากกิเลสชาติ ภพ เป็นอัตตัตถจริยา แล้วบำเพ็ญประโยชน์แก่ผู้อื่นเป็นโลกัตถจริยา เป็นความมุ่งหมายสำคัญ // มหายาน มีความเป็นพระโพธิสัตว์ หรือพุทธภูมิเพื่อบำเพ็ญโลกัตถจริยาได้เต็มที่เป็นความมุ่งหมาย และมีพระโพธิสัตว์หลายองค์ เช่น พระอวโลกิเตศวร มัญชุสิ วัชรปาณี กษิติครรภ สมันตภัทร อริยเมตไตรย เป็นต้น (พอเป็นพระพุทธเจ้าแล้ว ก็ลดความสำคัญลง)

 

บารมี

เถรวาท มี 10 คือ ทาน ศีล เนกขัมมะ ปัญญา วิริยะ ขันติ สัจจะ อธิษฐาน เมตตา อุเบกขา อันให้ถึงความเป็นพระพุทธเจ้า // มหายาน มี 6 คือ ทาน ศีล วิริยะ ขันติ ฌาณ ปัญญา อันให้ถึงความสำเร็จเป็นพระโพธิสัตว์

 

คุณสมบัติของพระโพธิสัตว์

1.มหาปัญญา พิจารณาสุญญตา คือเข้าถึงสุญญตาทั้งบุคคลทั้งธรรม จนละความเข้าใจว่า พระนิพพาน เป็นต้นมีอยู่ นี้เป็นภูมิของพระโพธิสัตว์ชั้นสูง
2.มหากรุณา ตั้งโพธิจิต มุ่งพุทธภูมิไม่มุ่งอรหันตภูมิ อันคับแคบเห็นแก่ตัว ช่วยสัตว์ให้พ้นทุกข์ได้น้อย สู้การเป็นพระโพธิสัตว์ไม่ได้
3.มหาอุบาย สำหรับชักจูงคนให้นับถือด้วยต้องเพิ่มสิ่งต่าง ๆ เข้ามา เช่นพิธีกรรมซึ่งทางเถรวาทไม่มี


อุดมคติของพระโพธิสัตว์

1.เราจะสละกิเลสให้หมด
2.เราจะศึกษาสัจธรรมให้จบ
3.เราจะช่วยสัตว์ให้พ้นทุกข์ให้หมดสิ้น
4.เราจะบรรลุพุทธภูมิอันประเสริฐสุด

ของฝ่ายเถรวาท ช่วยตัวเองให้ได้ก่อน จัดเป็นอัตตัตถจิรยา แล้วจึงช่วยผู้อื่นจัดเป็น โลกัตถจิรยา (เพราะถ้ายังช่วยตัวเองไม่ได้ แล้วจะช่วยผู้อื่นได้อย่างไร)

 

คัมภีร์

เถรวาท ถือพระไตรปิฎกเถรวาท คือ พระธรรมวินัย ยุติตามปฐมสังคายนา ไม่มีพระธรรมวินัยเพิ่มเติม // มหายาน พระธรรมวินัยเก่าก็มี และมีพระสูตรใหม่เพิ่มเติม เช่น สุขาวดีวูยหสูตร ลังกาวตารสูตร สัทธรรมบุณฑริกสูตร ปรัชญาปารมิตาสูตร เป็นต้น

 

ลักษณะ

เถรวาท รักษาธรรมวินัยเดิมเอาไว้ // มหายาน ปรับปรุงพระธรรมวินัยให้เข้ากับสภาวะแวะล้อม

 

นิกาย

เถรวาท มีทักษิณนิกาย หินยาน // มหายาน มีอาจริยวาท อุตตรนิกาย และแบ่งเป็นนิกายอื่น ๆ อีกมากที่สำคัญ ๆ เช่น ตันตระ (เช่นมันตรยานเกี่ยวกับเวทมนตร์), โยคาจาร ถือวิญญาณบริสุทธิ์เป็นความแท้จริง และมัธยามิก (สุญญาวาท) ถือความไร้สมมติ (เช่นบุญ – ความดี – ชั่ว – นิพพาน เป็นต้น) ไม่มี เพราะเป็นสมมติ เป็นความแท้จริง และอมตจิตวาท ถือว่าจิตดวงเดิมเป็นอมตะ เป็นต้น

 

พระอรหันต์

เถรวาท พระอรหันต์เมื่อปรินิพพานแล้วก็ไม่เกิดอีก // มหายาน พระอรหันต์เมื่อปรินิพพานแล้วย่อมกลับมาเกิดใหม่ สำเร็จเป็นพระพุทธเจ้าอีก

 

กาย

เถรวาท ยอมรับแต่ธรรมกายและนิรมานกายบางส่วน นอกนั้นไม่ยอมรับมหายาน ถือว่าพระพุทธเจ้ามีกาย 3 คือธรรมกายได้แต่ธรรม, สัมโภคกายหรือกายจำลองหรือกายอวตารของพระพุทธเจ้า แบบนารายณ์อวตาร คือที่พระพุทธเจ้าเป็นพระกัสสปสัมพุทธะบ้าง เป็นพระศากยุมนีบ้าง เป็นพระกกุสันธะบ้างเป็นต้นนั้น ล้วนเป็นสัมโภคกายของพระพุทธเจ้าองค์เดิม (อาทิพุทธะ) ทั้งนั้น และสุดท้ายคือ นิรมานกาย คือกายที่ต้องอยู่ในสภาพของธรรมดา คือต้องแก่ เจ็บและปรินิพพาน ซึ่งเป็นกายที่พระพุทธเจ้าสร้างขึ้นเพื่อสอนคนให้เห็นความจริงของชีวิต แต่สำหรับพระพุทธองค์ที่แท้นั้น ไม่ต้องตกอยู่ในสภาพเช่นนั้น แบบเดียวกับ ปรมาตมัน ของพราหมณ์

 

สรุป แม้ว่าทั้ง 2 นิกายจะต่างกันบ้าง แต่จุดหมายปลายทางก็รวมกันที่วิมุติเหมือนกัน เช่นกับแม่น้ำหลายสาย บางสายก็ใส บางสายก็ขุ่น แต่ก็ไหลรวมลงในทะเลอันเดียวกัน...</spa

 

[คัดลอกจากบทความของ สมเด็จพระญาณวโรดม มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย]

 

...ทีนี้เราก็เริ่มเข้าสู่หัวเรื่อง พุทธศาสนากับจิตอาสา เราท่านก็คงจะพอเข้าใจว่า พุทธศาสนานิกายไหน จักเน้นเรื่องจิตอาสาได้มากที่สุด...

" มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

เกอเธ่...