ผู้เขียน หัวข้อ: ความทรงจำนอกมิติ : ฝัน-บ่อยเหลือเกินกับการแปลว่าถูกหรือไม่ถูก  (อ่าน 1465 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ มดเอ๊กซ

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7167
  • พลังกัลยาณมิตร 1518
    • ดูรายละเอียด


 เคยเขียนบทความที่เกี่ยวข้องกับความฝันที่ตัวเองเคยฝันและมีประสบการณ์ลงในไทยโพสต์หลายครั้งมาแล้ว โดยเฉพาะเมื่อเร็วๆ นี้ผู้เขียนอดไม่ได้ที่ต้องเล่าเรื่องความฝันที่สำหรับผู้เขียนยิ่งแก่ตัวลงก็ยิ่งฝันบ่อยขึ้น จนกระทั่งนอนหลับไม่ได้เป็นต้องฝันทุกครั้ง คือว่าฝันทุกวันไม่ว่ากลางวันหรือกลางคืนขอให้หลับเท่านั้นก็จะต้องฝัน จะหลับนานเท่าไหร่ก็ต้องฝัน และ แปลก! ที่ความฝันของผู้เขียนจะต้องมีสองอย่างประกอบกันเสมอ คือฝันนั้นต่อได้ และความฝันจะเหมือนเป็นประสบการณ์เชิงประจักษ์จริงคือกระจ่างชัดมากๆ และจำได้ทุกครั้ง เคยเล่าไว้แล้วในคอลัมน์ของผู้เขียนในไทยโพสต์ว่าก่อนหน้านี้มีอยู่สองประการที่จำได้คือ หนึ่งผู้เขียนจะฝันซ้ำๆ ไม่รู้ว่ากี่หน (คงจะเป็นหลายๆ สิบครั้งก็ได้) ถึงงานที่ทำยังไม่ทันสำเร็จแล้วเสร็จจนจำรูปแบบและเนื้อหาหาของความฝัน “ในฝัน” ได้ และแทบจะทายล่วงหน้า “ในฝันครั้งต่อๆไป” ได้ เช่นฝันว่ากรุงเทพมหานครได้มีการเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์ “ชั้นในหรือในเมือง” จากตัวเมืองเก่าที่ไร้การวางแผนผังเมืองตั้งแต่เยาวราชแสะราชวงศ์ มาถึงโอเดี้ยนที่ในฝันเต็มไปด้วยตึกระฟ้าที่สูงมากๆ แน่นขนัดจนถึงสีสมและพระรามหนึ่งถึงหน้าสถานีรถไฟหัวลำโพง รวมทั้งสามแยก-เฉลิมบุรี ตลอดเจริญกรุงตะวันออกโดยรื้อทั้งหมดทิ้งกับห้ามการปลูกใหม่ทุกชนิด การเปลี่ยนแปลงใหม่ในฝันที่จะฝันบ่อยๆ ที่จำได้เหลือแต่โคลนตม เพราะอาคารเก่า ตึกเก่าๆ ถูกรื้อทิ้งไปทั้งหมด ที่ผู้เขียนกล่าวว่างานที่ทำยังไม่ทันสำเร็จแล้วเสร็จจนกระทั่งทายในฝันล่วงหน้าในฝันครั้งต่อๆ ไปได้ เป็นต้นว่าจะฝันเห็นทุกตรอกและถนนสั้นๆ ที่เชื่อมระหว่างถนนสีลมกับสุรวงศ์ หรือระหว่างถนนสีลมกับถนนสาธรนั้น “จะเป็นช่วงระหว่างการทำงานที่ยังไม่ทันแล้วเสร็จ” ทั้งสิ้น และภาพของการฝันรูปแบบนั้นจะปรากฏในความฝันซ้ำแล้วซ้ำเล่านับเป็นสิบๆ ครั้งหรือร้อยครั้ง ถึง “งานที่ไม่สำเร็จแล้วเสร็จ” (เพราะผู้เขียนจะตื่นก่อนจากความฝันทุกครั้งเลย) ในภาพอื่นๆ หรือรูปแบบอื่นๆ สองหรือสามภาพหรือรูปแบบของความฝัน ที่ล้วนจะมีเนื้อหาสาระเหมือนๆ กัน เช่นเดินทางไปในซอยหรือสวนเดิมๆ ที่เผชิญอุปสรรคต่างๆ ที่ล้วนเป็นงานที่ผู้เขียนยังทำไม่แล้วเสร็จซึ่งก็ทายล่วงหน้า - ในฝัน - ได้ แล้วก็จะตื่นขึ้นมาทั้งๆ ที่ “งานนั้นๆ” ยังไม่ทันสำเร็จแล้วเสร็จแต่ประการใด ทั้งหมดที่ผู้เขียนฝันและเล่ามานี้จึงใคร่ขอให้ผู้อ่าน โดยเฉพาะผู้อ่านที่เป็นนักจิตวิทยาช่วยพิจารณาดูว่า ทางด้านของการทางจิตวิทยาในฐานะที่เป็นจิตแท้ๆ (จิตไร้สำนึก - ซึ่งบางคนอาจจะเรียกว่าจิตใต้สำนึกแต่เพราะว่าผู้เขียนไม่ค่อยเชื่อฟรอยด์เท่าใดนัก เพราะฟรอยด์เป็นแม็ตทีเรียลิสต์ที่ตรงกันข้ามกับพระพุทธเจ้าที่ผู้เขียนเชื่อว่าเป็นสัพพัญญู และจะไม่ผิดเลย และอีกอย่างหนึ่งเพราะการบริหารโดยสมอง และที่สมองนั้นผู้เขียนคิดว่ามีความเป็น “โดยรวม” และมีความเป็นปัจเจกซึ่งใช้เวลาทางโลกไม่เท่ากัน ฉะนั้นจิตไร้สำนึกจึงเก่ามากกว่ามากนัก - กับจิตสำนึก) ผู้อ่านจะมีความเห็นอย่างไร?

แน่นอนความฝันที่ผู้เขียนฝันเห็นโดยเนื้อหา (content) นั้นสังเกตว่ามีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับเวลาที่กำลังฝันอยู่นั้น ทั้งฟรอยด์ ทั้งจุง ทั้งอ็อดโตไม่ได้พูดอย่างจำเพาะเจาะจงในเรื่องนี้ แต่ผู้เขียน ค่อนข้างจะชอบคาร์ล จุง พูดง่ายๆ มักจะเป็นจุงเกี้ยนมากกว่าเป็นฟรอยเดียน แม้จะมีหลายอย่างที่เรายืนอยู่ตรงกันข้ามเพราะผู้เขียนคิดว่าคาร์ล จุง เป็นทั้งมิสติก (mystic) และมิธติค (mythic) เกินไปแต่มีนักวิชาการ - เช่นซิสเตอร์ซิสิเลีย (sister Sicilia) จะบอกว่าผู้เขียนก็เป็นมิสติกร้อยเปอร์เซ็นต์ก็ตาม ดังนั้นตอนที่คาร์ล จุง ประกาศเป็นทางการว่าตนได้เลิกเป็นลูกบุญธรรมของซิกมัน ฟรอยด์และขอเป็นตัวของตัวเองแทนที่จะเป็นแม็ตทีเรียลิสต์ (materialist) ดั่งพรอด แล้วไปเชื่อคนอย่างชาร์ลส์ ดาร์วิน อย่างหัวปักหัวปำ (ซึ่งผู้เขียนคิดเอาเอง) ทำให้การตัดความสัมพันธ์จากฟรอยด์ – ที่ทรงอิทธิพลมากในทางจิตวิทยาเพราะ ฟรอยด์เก่งจริงๆ ในเวลานั้น - ทำให้คาร์ล จุง กลายเป็นหัวเดียวกระเทียมลีบในหมู่นักวิชาการและนักจิตวิทยาไปช่วงเวลาหนึ่งในตอนนั้น

และที่ผู้เขียนชอบคาร์ล ซี. จุง เป็นพิเศษอาจจะเป็นเพราะว่าผู้เขียนเพิ่งพบเมื่อตอนแก่ไม่ถึงยี่สิบปีนี้เองว่า ผู้เขียนก็เป็นมิสติก (mystic) ดังที่ซิสเตอร์ซิสิเลียว่าไว้เช่นเดียวกันกับคาร์ล จุง เพียงแต่การแปลความฝันของผู้เขียนรวมถึงการสะท้อนความจำที่ยังไม่รู้ว่าถูกหรือไม่ถูก หรือแม้แต่ใกล้เคียง - ห่างไกลหรือไม่ประการใด? ก็เห็นจะต้องรอจนกว่าปี 2012 และปี 2020 หรือ ปีกุน ปีที่มีวิวัฒนาการทางจิตของประชากรโลกโดยรวมส่วนใหญ่ทั่วทั้งโลก (spirituality) ได้ผ่านพ้นไปเรียบร้อยแล้ว ทั้งนี้ผู้เขียนเชื่อมันว่าโลกไม่ได้แตก แต่วัฒนธรรมและอารยธรรมที่มีอัตตาตัวตน “ตัวกูของกู” (self) และอหังการมมังการ (ego) จะหายไปจากโลกพร้อมกับประชากรจำนวนมากไม่ต่ำกว่า 80% พร้อมๆ กัน แต่โลกจะไม่แตกจริงๆ มนุษย์เราจะได้เลิกแตกแยกเอาชนะกันเสียที อย่าลืมว่าจิตทั้งสองประเด็นนั้น (จิตรู้หรือจิตสำนึกที่คุณหมอประเวศ วะสี และชมรมจิตวิวัฒน์เรียกว่า จิตเล็กที่อยู่ตรงกันข้ามกับจิตใหญ่ที่ชมรมจิตวิวัฒน์ประสงค์ให้เป็น นั่นคือเป้าหมายที่คิดว่าโลกต้องการจะเห็น

ถ้าหากว่าเราเชื่อคาร์ล จุง ที่บอกแล้วว่าผู้เขียนเชื่อในการ “วิจัย” หรือการสังเกตอย่างเป็นระบบของเขามากกว่าไม่เชื่อ ไม่ใช่เพราะว่าคาร์ล จุง เองเป็นมิสติกเหมือนๆ กับผู้เขียน อย่าลืมว่าจุงนั้นเป็นหลานแท้ๆ (นอกสมรส) ของกวีและนักปรัชญาของเกอเธ่และไม่เป็นการเกินเลยแต่อย่างใดหากเราจะพูดว่าคาร์ล กุสตาฟ จุง เป็นจีเนียส ผู้เขียนเชื่อร้อยเปอร์เซ็นต์ตามคาร์ล จุง ว่า จิตไร้สำนึก (unconscious) ของจักรวาลคือสิ่งที่เป็นตัวต้นเหตุของความฝัน ตรงนี้ขอย้ำว่าเป็นจิตไร้สำนึกจักรวาลไม่ใช่จิตสำนึกที่ฟรอยด์และนักวิทยาศาสตร์แม็ตทีเรียลิสต์ รวมทั้งนักวิทยาศาสตร์ของไทยในปัจจุบันแทบทั้งหมด และนักวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่ของประเทศพัฒนาใหม่ๆ ของเอเชียที่ไม่รู้จักควอนตัมฟิสิกส์พอ หรือมองควอนตัมฟิสิกส์ไปทางสสาร หรือทางรูปกาย (physical หรือmatter) เช่นว่า - ไล่ไปตั้งแต่ความฝันเป็นเรื่องของความปรารถนาหรือความอยากของเราที่เราทำไม่เสร็จ หรือไม่กล้าทำยามตื่นหรือยามรู้ตัว จึงเอาไปฝันแล้วทำให้เสร็จในฝันอันเป็นความคิดของฟรอยด์ซึ่งเป็นจิตรู้หรือจิตสำนึกที่เป็นผลของการบริหารของสมองและที่สมองของปัจเจกบุคคลของคนผู้นั้นยามที่ตื่นและรู้ตัว จึงไม่รู้ว่าฟรอยด์จะคิดและรู้เรื่องจิตรู้หรือจิตสำนึกได้อย่างไร? นอกจากคิดเอาเอง อีกส่วนหนึ่งเป็นเรื่องที่นักวิทยาศาสตร์โดยเฉพาะแพทย์ - ที่ส่วนมากจะมองชีวิตแบบฝรั่งแบบตะวันตกเพราะเรียนมาทางนั้นโดยมักโยนทิ้งอะไรๆ ที่เป็นตะวันออก ที่ก่อนหน้านี้แทบว่าจะโดยสิ้นเชิง แล้วจะทำท่าเหมือนจะดูถูกคนอื่นๆ ที่เรียนน้อยกว่าตนและบูชาฝรั่ง (ที่เป็นเหมือนเทวดา) น้อยกว่าตน นั่น-เราพูดกันรวมๆ เท่านั้นนะ และที่สำคัญคนมักไปคิดว่าอาชีพแพทย์นั้นเป็นอาชีพสำคัญที่สุดเพราะเป็นอาชีพที่ช่วยชีวิตมนุษย์ที่เรามักจะคิดว่าอะไรๆที่เกี่ยวข้องกับคนจะสำคัญกว่าเพื่อน - คือ แพทย์ส่วนใหญ่จะคิดว่า ฝันไม่มีอะไรสำคัญเลยเพราะมองก็ไม่เห็น และแม้ฝรั่งก็คิดไม่ออก เราชาวตะวันออกจะคิดได้อย่างไรจึงตามฝรั่งตามครูไปดีกว่า ฝันถึงได้แปลว่าเป็นผลของอาหารไม่ย่อย กระเพาะปัสสาวะเต็ม หรือครุ่นคิดมากๆ ฯลฯ   
คนเราทุกคนจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงวิวัฒนาการของจิตรู้อยู่ตลอด เวลาและที่ต้องเปลี่ยนแปลงวิวัฒนาการ ในเบื้องแรกก็คือจิตแห่งอัตตาตัวตน (self) ซึ่งเหมือนๆ กับการเจริญเติบโตของเด็กเป็นวัยรุ่น เป็นผู้ใหญ่ เสื่อมแก่ชราซึ่งจะต้องมีขึ้นตลอดเวลาเช่นเดียวกัน จากประสบการณ์ของเรา หรือพูดง่ายๆ วันเวลาจากนาทีวินาทีที่ผ่านไป นั่นคือ ตัวรู้หรือธาตุรู้หรือจิตสำนึก – ภาวะตระหนักรู้ที่สมองเรามีหน้าที่ “บริหารจิตไร้สำนึก” (หรือจิตจักรวาลของคาร์ล จุง) ที่เข้ามาอยู่ในทุกที่ว่างของสมอง

เราต้องไม่ลืมว่าการเปลี่ยนแปลงวิวัฒนาการของจิตแห่งอัตตาตัวตน (self) ของแต่ละคนเป็นปัจเจกนั้นเป็นเรื่องที่แยกย่อยและเป็นไปตามขั้น ชั้นหรือระดับของการเปลี่ยนแปลงวิวัฒนาการของสเปกตรัมทางจิตที่หยาบใหญ่กวา และใช้เวลาวิวัฒนาการนานกว่า ทั้งเป็นส่วนของการเปลี่ยนแปลงของสังคมโดยรวม นั่นคือชีวิตของเราแต่ละคนในโลกที่ต้องเดินทาง การเดินทางเพื่อการเรียนรู้ที่เป็นไปตามสเปกตรัม (ของจิต) ที่จะต้องวิวัฒนาการไปตามระดับหรือชั้นหรือขั้นนั้นๆ จนกว่าเราจะวิวัฒนาการทางจิตถึงสภาวะจิตวิญญาณ (spirituality) ไล่สู่นิพพานหรือรวมเป็นหนึ่งเดียวกันกับพระเจ้า

ดังนั้น คาร์ล กุสตาฟ จุง และผู้เขียนจึงเชื่อว่าจิตไร้สำนึกหรือที่คาร์ล จุง เรียกว่าจิตไร้สำนึกร่วมจักรวาล (universal unconscious continuum) คือตัวรู้ต่างหากที่ไม่ผ่านการบริหารที่สมอง คือเป็นตัวรู้อีกตัวหนึ่งไม่ใช่จิตสำนึกที่เป็นเรื่องปกติธรรมดา คาร์ล จุง ถึงได้เรียกว่าความรู้ของจิตไร้สำนึก (unconscious cognition) และทุกวันนี้นักจิตวิทยาทั่วไปก็รู้กันดี (unconsciousness as consciousness)  เช่นการรู้ในความพ้องจองกัน (synchronicity) ในปรภพเมื่อเราตายไปแล้วที่ย่อมไม่มีสมองบริหารจิตจักรวาลหรือในความฝัน (จุงเชื่อว่าความฝันทุกๆ ความฝันเลยเป็นเรื่องของจิตไร้สำนึกทั้งนั้น) อย่างน้อยในตอนแรกหรือเป็นตัวนำ และผู้เขียนก็เชื่ออย่างนั้นจึงไม่เชื่อฟรอยด์เลยในเรื่องความฝันนี้ ฟรอยด์อาจจะถูกในตอนหลังเท่านั้นซึ่งสำคัญมากกว่า ไม่รู้จริงๆ ว่าคาร์ล จุงจะเชื่อในเรื่องปรภพหรือไม่? เพราะฝรั่งมักเป็นคริสต์จึงไม่เชื่อในการเกิดใหม่ไปเรื่อยๆ เวียนง่ายอยู่อย่างนั้น แต่รู้ว่าโจเอล ฟิชเชอร์ จิตแพทย์แห่งมหาวิทยาลัยโทรอนโตเชื่อ และเรียกว่าอภิจิต (meta-consciousness) ซึ่งเป็นจิตรู้ของจิตไร้สำนึกในปรภพ - ปรภพนั้นไม่มีกายจึงไม่มีสมอง ฉะนั้นก็จะไม่มีจิตสำนึก (หรือจิตรู้ตามปกติ)

สำหรับคาร์ล จุง การแปลความฝันอาจเป็นเรื่องปกติ แม้ว่าค่อนข้างจะซับซ้อนมากสำหรับผู้เขียน อย่างไรก็ตามบอกแล้วว่าในระยะหลังๆ มานี้ผู้เขียนฝันบ่อยมากๆๆ แถมจำได้กระจ่างชัดเสียด้วย ที่สำคัญคือซับซ้อนไม่มากนัก ดังนั้นส่วนใหญ่ยังคิดว่าพอแปลได้ สังเกตเอาเองว่ามีอยู่สามประการที่สังเกตเห็น แต่จะเป็นจริงดังที่สังเกตหรือไม่ - ไม่แน่ใจ คือหนึ่ง การฝันของผู้เขียนที่ว่าบ่อยเหลือเกินนั้นพบว่ามันสัมพันธ์กับการทำสมาธิที่ทำประจำและยาวนานจริงๆ ของผู้เขียนที่ทำสมาธิทุกวันและวันหนึ่งๆ ก็อย่างน้อยสองชั่วโมง สอง สำหรับผู้เขียน ความรู้ที่ได้มานั้นๆ ล้วนมาด้วยความฝันหรือตอนตื่นมาจากฝันทั้งสิ้น สาม ความฝันของผู้เขียนนั้นคิดว่าพอที่จะแปลได้ เพราะว่าฝันซ้ำๆ ซากๆ และฝันต่อได้ แถมยังกระจ่างชัดเสียด้วย.

http://www.thaipost.net/sunday/200311/35954
" มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

เกอเธ่...