อริยะสงฆ์ผู้ปฏิบัติธรรมอันดี > หลวงพ่อชา สุภทฺโท

ที่พึ่งทางใจคำสอนหลวงพ่อชา

(1/2) > >>

แปดคิว:
ที่พึ่งทางใจ
ใจของเราเป็นสิ่งสำคัญ
แต่โดยมาก
คนเราไม่ค่อยมองดูในสิ่งที่สำคัญนั้น
ไปมองดูในสิ่งอื่นที่มันไม่สำคัญ
บางคนแต่งบ้านแต่งช่องอะไรสารพัดอย่าง
แต่  กลับไม่ค่อยคิดที่จะแต่งใจกัน
พระพุทธองค์ท่านจึงตรัสว่า  “ให้หาที่พึ่งทางใจ”
ที่พึ่งที่แน่นอนก็คือใจของเรานี่เอง
พึ่งสิ่งอื่นก็พึ่งได้  แต่ก็ไม่แน่นอน
เราจะพึ่งสิ่งอื่นได้ก็เพราะเราพึ่งตัวเราเอง
เราต้องมีที่พึ่งก่อน  จะพึงอาจารย์  จะพึ่งมิตรสหาย
การที่จะพึ่งได้ดีนั้น
เราต้องทำตัวของเราเป็นที่พึ่งให้ได้เสียก่อน
 From:   
narissara saitham

แปดคิว:
รู้แจ้งโลก
คนทั้งหลาย  เกิดแล้วไม่อยากให้แก่
ไม่อยากให้เฒ่า  ไม่อยากให้เจ็บ
ตลอดจนกระทั่งไม่อยากให้ตายทีเดียว
ท่านจึงสอนให้พิจารณาโลก
ให้มีปัญญารู้เท่าทันตามความเป็นจริงของโลก
โลกเป็นอย่างใด  ก็ให้รู้เท่าตามเป็นจริง
ถ้าเรารู้จักปัญหาของโลกแล้ว
ก็เหมือนกับเรารู้จักธรรมะ
ก็เหมือนกับเราได้บรรลุธรรมะ
เมื่อรุ้จักธรรมะแล้ว  มันก็  “รู้แจ้งโลก”
เมื่อเรารู้แจ้งโลกแล้ว
เราก็ไม่ติดในโลก  เป็นโลกวิทู  รุ้แจ้งโลก

แปดคิว:
ตที่กำหนดรู้ จักเป็นอิสระ
จิตที่มี อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เป็นอาหาร
เป็น “จิตที่กำหนดรู้”
เมื่อรู้ว่าอันนั้นเป็นอนิจจัง มันไม่เที่ยง
ทุกขัง เป็นทุกข์
อนัตตา ไม่ใช่เราหรือของเราแล้ว
ขอให้มีสติอยู่ เห็นการเกิดดับของใจ
แต่อย่าให้มันมาทำใจให้วุ่นวาย
ให้เราปล่อยวางมันลงไป
ความรัก เกิดขึ้น ก็ปล่อยมันไป
ความโลภ เกิดขึ้น ก็ปล่อยมันไป
ความโกรธ เกิดขึ้น ก็ปล่อยมันไป
กระทั่งความหลงเกิดขึ้น ก็ปล่อยมันลงไป
มันมาจากที่ไหน ก็ให้มันกลับไปที่นั่น
อย่าเก็บมันไว้ เมื่อนั้นจิตของเราก็จะหลุดพ้น

แปดคิว:
กรรมฐาน  ปราบกิเลส
อารมณ์กรรมฐานนี้
สามารถที่จักทำจิตให้บริสุทธิ์ได้
ฉะนั้นท่านจึงให้หาอารมณ์กรรมฐาน  ว่า
อารมณ์อันใดถูกใจ  ถูกจริตของเรา
ท่านให้พิจาณา  เช่น
เกศา  โลมา  นขา  ทันตา  ตโจ
ท่านให้พิจารณากลับไปกลับมา
ถ้าอันโดถูกจริตของเราแล้ว
อันนั้นก็เป็นอารมณ์กรรมฐานของเรา
สำหรับที่จะให้เราได้ใช้เป็นอาวุธ
ในการปราบกิเลสทั้งหลายให้เบาบางลงไป

แปดคิว:
การฝึกใจ
ใจของเรานี่มันอยู่ในกรง
ยิ่งกว่านั้น
มันยังมีเสือกำลังอาละวาดอยู่ในกรงด้วย
ถ้าไม่ได้อะไรตามที่ต้องการแล้ว มันก็อาละวาด
เพราะฉะนั้น  เราต้องอบรมใจ
ด้วยการปฏิบัติภาวนา  ด้วยการเจริญสมาธิ
นี่แหละ  เราเรียกว่า  “การฝึกใจ”
ใจที่ยังไม่ได้ฝึก
มันก็คอยวิ่งไปตามนิสัยความเคยชิน
ใจที่ยังไมได้อบรม  มันก็เต้นไปตามเรื่อง
เต้นไปตามความคะนอง  เพราะยังไม่เคยถูกฝึก
ดังนั้น  จงหมั่นฝึกใจของตัวเองไว้ให้ดี
 

นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

[#] หน้าถัดไป

ตอบ

Go to full version