ผู้เขียน หัวข้อ: เด็กชาติไหนมีความสุขที่สุด?  (อ่าน 1324 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ มดเอ๊กซ

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7167
  • พลังกัลยาณมิตร 1518
    • ดูรายละเอียด

ทำไมเด็ก “ดัช” จึงมีความสุขที่สุดในยุโรป? และทำไมเด็ก “ไทย” จึงดูเครียดและเต็มไปด้วย ปัญหา?
 
คำถามหลังเป็นของผม, ส่วนคำถามแรกนั้นเป็นผลการสำรวจขององค์การ Unicef ซึ่งดูแลเรื่องความเป็นอยู่ของเด็กทั่วโลก
เขาไปถามไถ่คนทั้ง ๒๑ ประเทศอุตสาหกรรมที่ร่ำรวยและพัฒนาแล้วพบว่าเด็กของประเทศเนเธอร์แลนด์มีความสุขที่สุด
เขารู้ได้อย่างไร? ผู้เชี่ยวชาญเรื่องเด็กเขาตั้งเอาดัชนีสำคัญ ๆ ที่เกี่ยวกับความเป็นอยู่หรือ “child well-being” ของเด็กเช่นระดับความยากจนโดยเปรียบเทียบ, มาตรฐานการศึกษาและสุขภาพรวมถึงพฤติกรรมทางเพศและความสัมพันธ์กับเพื่อนและพ่อแม่เพื่อมาประเมินดัชนีสำหรับวัดว่าเด็กมีความสุขมากน้อยต่างกันแค่ไหนอย่างไร
 
การศึกษาวิจัยครั้งนี้ทำกันอย่างกว้างขวางและต้องแน่ใจว่าได้มาตรฐานสากลเพราะแต่ละประเทศที่เป็นเป้าของการสำรวจครั้งนี้ต่างก็ล้วนมีผู้เชี่ยวชาญด้าน “เด็ก” และ “ความสุข” อย่างมากมายเหมือนกัน
 
ลงท้ายเขาสรุปว่าเด็กของประเทศเนเธอร์แลนด์หรือ “ดัช” นี่แหละที่มีความสุขที่สุดเพราะสังคมของเขาให้ความสำคัญกับเด็กอย่างจริงจังและต่อเนื่องอย่างที่เขาเรียกว่า “child-centred society
 
ซึ่งแปลว่าทุกอย่างที่รัฐบาลและสังคมจะทำนั้นจะต้องตั้งคำถามาขึ้นมาก่อนว่า “เด็กจะได้หรือเสียกับสิ่งที่เราจะทำหรือไม่ทำ?
(สังคมไทยอ้างว่า “รักเด็ก” แต่เอาเข้าจริง ๆ ในการดำเนินนโยบายต่าง ๆ ของรัฐบาลและขององค์กรต่าง ๆ นั้น, ผลประโยชน์และความต้องการของผู้ใหญ่หรือผู้มีอำนาจมักจะมาก่อนเสมอ...จะมีการพูดถึงการ “รักเด็ก” ก็แต่เฉพาะดาราหนังหรือนางงามที่มีคนเขียนสคริปท์ให้พูดเพื่อให้สื่อมวลชนเอาไปพาดหัวเท่านั้น)
นักวิเคราะห์ด้านสังคมวิทยาบอกว่าสังคมของชาวดัชให้ความสำคัญต่อเด็กด้วยเหตุผลสำคัญสองประการคือ
 
๑. พ่อแม่ให้เวลาและความสนใจต่อเด็กอย่างจริงจังและต่อเนื่อง
๒. โรงเรียนไม่สร้างแรงกดดันด้านการศึกษาต่อเด็กเกินความจำเป็น
๓. แม่จะให้เวลากับลูกด้วยการเลี้ยงเองมากกว่าการจ้างคนเลี้ยง...ดังนั้นจะเห็นว่าแม่ลูกอ่อนของสังคมดัชมักจะไม่ทำงาน แต่จะให้เวลากับการเลี้ยงลูกด้วยตัวเองเป็นส่วนใหญ่โดยเฉพาะเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่น ๆ ในยุโรป
๔. ครอบครัวดัชมักจะเปิดกว้างและมีการสื่อความหมายกันระหว่างพ่อแม่ลูกอย่างสม่ำเสมอและมีประสิทธิภาพ
เมื่อมีข้อดีก็ย่อมมีข้อเสีย...ว่ากันว่า, ครอบครัวดัชที่ให้ความสำคัญกับเด็กนั้นก็มีส่วนทำให้เด็ก ๆ ในบ้านมีสิทธิมีเสียงในความเป็นไปของครอบครัวมากกว่าพ่อแม่ในบางครั้ง
 
อาจจะไม่ถึงขั้นเหมือนครอบครัวจีน (ตามนโยบายลูกคนเดียว) ที่ลูกกลายเป็น “พระเจ้าองค์เล็ก” ประจำบ้านไปเพราะการตามใจลูกเกินเหตุ, แต่ในครอบครัวของคนเนเธอร์แลนด์นั้นบางครั้งก็เกิดความไม่สมดุลระหว่างพ่อแม่กับลูกเหมือนกัน
 
นั่นคือเมื่อพ่อแม่ให้ความสำคัญต่อความต้องการของลูกมาก, ลูกก็อาจจะเข้าใจผิดคิดว่าตัวเองคือผู้

กำหนดความเป็นไปในบ้าน และถ้าหากพ่อแม่ไม่ใจแข็งและยึดมั่นในความ “พอเพียง” กับ “พอดี” จริง ๆ ก็อาจจะใจอ่อนและปล่อยให้สถานการณ์เกินเลยไปจนกู่ไม่กลับ
 
เมื่อเด็กไม่รู้ว่า “ความพอดี” อยู่ตรงไหน, และพ่อแม่ไม่สอนสั่งอบรม “ความพอเพียง” เป็นอย่างไร, โอกาสที่จะเกิดปัญหาในความสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่กับลูกก็ย่อมจะเกิดขึ้นได้
 
ปัญหาความสัมพันธ์อย่างนี้เมื่อเกิดในครอบครัวแล้ว, ก็อาจจะลามปามไปถึงข้างนอกบ้านด้วยเพราะเด็กก็จะยึดเอามาตรฐานในครอบครัวนี่แหละออกไปใช้กับคนอื่นในสังคม และนั่นก็จะกลายเป็นปัญหาระหว่างเขากับสังคมต่อไป
 
เด็กไทยก็มีปัญหาทำนองนี้เช่นกัน...เพราะเมื่อพ่อแม่ “ตามใจเกินเหตุ” ในบ้านหรือไม่ก็ให้ค่านิยมผิด ๆ เรื่องความร่ำรวยและการใช้เส้นสายกับผู้มีอำนาจ, เด็กก็จะยึดถือว่านั่นเป็นค่านิยมที่เหมาะที่ควร (เพราะพ่อแม่ก็ดูจะเอออวยและนำไปปฏิบัติในชีวิตประจำวันด้วย), จึงเอาความคิดผิด ๆ อย่างนั้นออกไปใช้ในชีวิตประจำวันของตนเองด้วย
 
สังคมก็จึงมีปัญหาเพราะความสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่กับเด็กในบ้านเกิดปัญหาขึ้นมาก่อน
 
ในการสำรวจครั้งนี้พบว่าหากไม่มีความสมดุลในครอบครัวเช่นนี้, ก็ไม่แน่ว่า “ความสุข” ของเด็กจะกลายเป็น “ความทุกข์” ของพ่อแม่หรือเปล่า
 
เพราะเมื่อพ่อแม่พยายามทุ่มเทให้ลูกมาก, และหากลูกเรียกร้องสิทธิของตัวเองมากเกินขอบเขต, ก็อาจจะกลายเป็นปัญหาสำหรับพ่อแม่ที่ไม่รู้ว่าควรจะทำตัวอย่างไรหากลูกของตัวเองกลายเป็นคนที่ไม่รู้ว่าความพอดีอยู่ตรงไหนเหมือนกัน
 
สภาพสังคมของเนเธอร์แลนด์ค่อนข้างจะเสรีเกี่ยวกับเรื่องยา, เซ็กส์และเหล้า ดังนั้นพ่อแม่จำนวนไม่น้อยต้องคอยประคับประคองความรู้สึกของลูกวัยรุ่นตนเองในเรื่องเหล่านี้
 
เพราะห้ามเลยก็อาจจะถูกลูกต่อต้าน, แต่ปล่อยเสรีเกินไปก็จะกลายเป็นปัญหาสังคมของครอบครัวในภายหลัง
 
สังคมอังกฤษกลับมีความกดดันอีกด้านหนึ่ง เพราะเพื่อนวัยเดียวกันที่เรียกว่า ๅ “peer pressure” ทำให้ต้องทำในสิ่งที่คนวัยเดียวกันทำ, ทั้ง ๆ ที่พ่อแม่ไม่เห็นด้วยก็ตาม
 
เช่นในรายการ Virgin Diaries ทางโทรทัศน์ MTV ซึ่งสะท้อนว่าเด็กผู้หญิงวัย ๑๖ ถึง ๑๗ จะมีความทุกข์มากหากยังเป็นสาวบริสุทธิ์อยู่ เพราะเพื่อน ๆ ในวัยเดียวกันต่างก็มาคุยอวดกันว่าได้ผ่านผู้ชายมาแล้ว
 
เป็นค่านิยมของเด็กผู้หญิงวัยรุ่นที่อังกฤษว่าการมีเซ็กส์ในช่วงเวลานั้นเป็นเรื่องทันสมัย, ใครไม่ทำกลายเป็นคนเชยที่เพื่อนฝูงตำหนิติฉิน
 
แต่ที่เนเธอร์แลนด์กลับไม่มีแรงกดดันจากเพื่อนวัยเดียวกันอย่างนั้น...การมีหรือไม่มีเซ็กส์ในวัยรุ่นนั้นไม่ใช่ประเด็นคอขาดบาดตายสำหรับคนรุ่นใหม่ที่นั่น
 
แต่ที่สำคัญที่สุดคือประเทศเหล่านี้มีระบอบประชาธิปไตยที่ฝังรากอย่างเหนียวแน่น  จึงสามารถ

ใช้เสรีภาพไปพร้อม ๆ กับความรับผิดชอบต่อสังคมและต่อชีวิตตัวเอง
 
และเพราะระบอบประชาธิปไตยนี่เองจึงทำให้ระบบการศึกษาของเขาได้มาตรฐานที่ต้องการ...คนหนุ่มคนสาวของเขาจึงสามารถใช้เสรีภาพและการศึกษานั้นมาตัดสินใจเลือกว่าจะดำเนินชีวิตของตนเองอย่างไรจึงจะเหมาะสม...ทั้งสำหรับตัวเอง, สำหรับพ่อแม่และท้ายสุดสำหรับสังคมโดยส่วนรวมอีกด้วย
 
ท้ายที่สุด, ความสุขของเด็กและพ่อแม่ทุกครอบครัวจึงหนีไม่พ้นคำว่า “ความพอดี” และ “พอเพียง

http://www.oknation.net/blog/suthichai/2011/03/11/entry-1
" มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

เกอเธ่...