ผู้เขียน หัวข้อ: รู้จักกับโรคลิ่มเลือด  (อ่าน 1763 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Pattravadee

  • เกล็ดเมล็ด
  • *
  • กระทู้: 5
  • พลังกัลยาณมิตร 7
  • หวังดีเสมอ
    • iloveyoualone
    • ดูรายละเอียด
รู้จักกับโรคลิ่มเลือด
« เมื่อ: มีนาคม 31, 2011, 07:33:09 pm »
ดิฉันเป็นเด็กผู้หญิงคนนึงที่ค่อนข้างแคร์และเอาใจใส่ต่อสุขภาพของผู้ใหญ่ใกล้ตัวทุกๆท่านที่ได้รู้จักและผูกพันธ์ หากรู้หรือเห็นคนแก่หรือคนชราที่เจ็บป่วยรู้สึกอยากช่วยเหลือ เพราะนึกถึงญาติหรือตา ยาย ปู่ ย่า รวมถึงพ่อ แม่ ของเราเอง รู้สึกเหมือนน้ำตาจะไหลทุกครั้งที่เห็น คนเหล่านั้นเขาต้องการ การดูแล เอาใจใส่ และที่สำคัญคือความรู้เกี่ยวกับโรคที่เขาเป็น การดูแลตัวเองอย่างไรให้เราไม่เจ็บป่วยและทุกข์จากโรคที่เป็น พวกเขาน่าสงสารน่ะค่ะ จึงอยากแบ่งปันความรู้เล็กๆน้อยเพผื่อมีใครมาอ่านเจอกระทู้ดิฉันมันอาจจะช่วยเขาได้บ้าง เล็กน้อยก็รู้สึกดีแล้วค่ะ
มีผู้ใหญ่ท่านนึง ท่านเคยเป็นอดีตพ่อแฟนเก่าดิฉัน ...ท่านป่วยเป็นโรคลิ่มเลือดและเป็นนิ่วด้วย ดิฉันรู้สึกเป็นห่วงท่านแต่ก็ไม่สามารถจะเข้าไปดูแลท่านได้โดยตรง ได้แต่เอาใจช่วย ส่งใจไปช่วยทุกครั้งที่รู้ว่าท่านป่วยหนัก แต่ก็ไม่กล้าไปก้าวก่ายเรื่องภายในครอบครัวเขามาก จึงไม่รู้จะทำยังงัย เลยหาข้อมูลเกี่ยวกับโรคที่ท่านเป็น และก็ได้แตาภาวนาให้ท่านดีขึ้นเร็วๆ เพราะดิฉันไม่อยากให้ครอบครัวคนที่เรารักต้องเกิดเหตุการณืที่ต้องเสียใจหากเกิดอะไรขึ้นโดยที่เราไม่พยายามให้ถึงที่สุด เพราะดิฉันเคยเจ็บปวดจากการสูญเสียคนที่เรารักมากคนนึงไปแล้วจึงรู้ว่ามันเสียใจและทุกข์มากในระดับหนึ่ง แต่สุดท้ายก็ต้องหันหน้าเข้าหาธรรมะเพื่อให้จิตใจสงบขึ้น
 :13:  รู้จักโรคลิ่มเลือดกัน :13:
"•ศ.ดร.สมหวัง พิริยานุวัฒน์ ผอ.สถาบันประเมินคุณภาพการศึกษา สวน.
•นพ.ระพินทร์ กุกเรยา อายุรแพทย์ ทางด้านโรคหัวใจ
คุณช่อผกา : เคยมีคนตั้งข้อสังเกตไว้ว่า ยิ่งประเทศชาติเจริญเติบโตมากขึ้นเท่าไหร่ ประชาชนในชาติยิ่งให้ความสำคัญกับคุณภาพชีวิตตัวเองน้อยลงเท่านั้น เพราะว่ายุคสมัยนี้คนต้องทำงานๆ มาก คนจำนวนมากจึงทำงานแบบเสมือนห้ามป่วย ห้ามตาย แขกรับเชิญของเรา เป็นบุคคลที่ทำงานจนประสบความสำเร็จในชีวิต แต่ก็ได้ของแถมคือ ป่วยเป็นโรคลิ่มเลือดหัวใจค่ะ อาจารย์เป็นหนึ่งในสมาชิกผู้ป่วยโรคหัวใจมากี่ปีแล้วค่ะ
ศ.ดร.สมหวัง : 2 ปีครับ

คุณช่อผกา : เกิดอะไรขึ้นค่ะ
ศ.ดร.สมหวัง : ตอนนั้นไปประชุมที่ญี่ปุ่น ก็รู้สึกว่ามันหมดแรง ไม่รู้มาก่อน เพราะเป็นคนที่ไม่เคยป่วยเป็นอะไรเลย หิ้วกระเป๋าเบาๆ ก็หิ้วไม่ได้ ทีแรกนึกว่าหิวข้าว พอทานข้าวเสร็จ เดินมาหน่อยก็เป็นอีก เดินก็ไม่มีแรง ต้องนั่งอะไรแบบนี้ ทีแรกนึกว่าเป็นโรคกระเพาะ หรือท้องอืดอะไรทำนองนั้นครับ

นพ.ระพินทร์ : จริงๆ อาการของอาจารย์สมหวัง ไม่ใช่เป็นอาการแบบที่เรียกว่า ชัดเจน ก็คือ อาการเจ็บแน่นหน้าอก หายใจไม่ออก อึดอัด เหงื่อแตก บางครั้งก็รู้สึกว่า ร้าวไปที่ไหล่ ที่แขน จุกขึ้นมาถึงคอ อันนั้นคือ อาการที่ค่อนข้างชัดเจน ส่วนอาการที่เรียกว่า ไม่ชัดเจนก็คือ อาการคล้ายๆ กับอาการของอาจารย์เนี่ยครับ อาจารย์เป็นคนช่างสังเกต อาจารย์รู้ว่ามันไม่ใช่ เพราะว่าท้องอืดนิดหน่อย หรือหิวข้าว ทำไมถึงหมดแรง แค่กระเป๋าเอกสารเล็กๆ หิ้วไม่ขึ้น เดินไม่ได้ ขาอ่อน พวกนี้จริงๆ ก็เป็นอาการแสดงอีกอันหนึ่ง
ศ.ดร.สมหวัง : ก็ไปหาหมอ หมอตรวจก็ฟันไป 85% กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด เฉียบพลัน อยู่ได้ 5 ชั่วโมง ถ้าไม่ทำอะไรเลยก็จะตาย

คุณช่อผกา : วินาทีที่คุณหมอบอกว่า มีเวลาในชีวิตเหลืออยู่ 5 ชั่วโมง ถ้าไม่ทำอะไร อาจารย์สมหวังต้องตัดสินใจแล้วว่า จะทำยังไง ตัดสินใจยังค่ะตอนนั้น
ศ.ดร.สมหวัง : ตอนแรกถ้าจะตายอยากตายเมืองไทยมากกว่า ก็ขอกลับ แต่หมอบอกว่ากลับไม่ได้ เพราะโดยจรรยาแพทย์จะต้องรักษา คุณหมอให้ทำ balloon ครับ

คุณช่อผกา : คุณหมอช่วยขยายความเรื่องการทำ balloon หน่อยค่ะ
นพ.ระพินทร์ : การทำ balloon คือ การทำให้เส้นเลือดซึ่งอุดตันอยู่เปิด เพื่อให้เลือดไหลเวียนได้ตามปกติ วิธีทำก็คือ ใช้สายสวนเส้นเล็กๆ ใส่เข้าไปทางหลอดเลือดแดง จะเป็นที่มือก็ได้ ที่ขาก็ได้ เวลาเราใส่สายสวนผ่านหลอดเลือดแดงเข้าไป ที่ปลายสายจะมีลักษณะคล้ายลูกโป่งเล็กๆ ซึ่งปกติมันจะแฟบติดกับสาย พอไปถึงตำแหน่งที่เราเห็นเส้นเลือดตีบอยู่ จะเป็นลิ่มเลือด หรือเป็นปื้นไขมัน ซึ่งเกาะคล้ายสันดอนปากแม่น้ำอย่างนั้นนะครับ เราก็อัดลมเข้าไป ลูกโป่งนั้นก็พองลมออก ก็จะค่อยๆ กดปื้นไขมันหรือลิ่มเลือดให้มันราบไปกับผนังเส้นเลือด เส้นเลือดก็จะเปิด เพื่อให้เลือดไหลเวียนได้ตามปกติ หรือใกล้เคียงปกติ

คุณช่อผกา : มาดูถึงสาเหตุของการป่วยนิดหนึ่งค่ะ เพราะเมื้อกี้อ.สมหวังพูดน่าสนใจนะคะว่า เป็นคนร่างกายแข็งแรง ไม่เจ็บ ไม่ป่วยอะไร อยู่ดีๆ ก็เป็นโรคหัวใจเลย อาจารย์มีพฤติกรรมการใช้ชีวิตยังไงค่ะ
ศ.ดร.สมหวัง : เนื่องจากเคยทำงานที่ต่างประเทศ ส่วนมากจะทำโปรเจ็คพิเศษกันในวันเสาร์ ผมก็ใช้วิธีการอันนี้ เพราะฉะนั้นทำวิจัย เขียนหนังสือ หรืออะไรต่อมิอะไรทั้งหลายในวันเสาร์ 30 ปี ชีวิตผมเป็นอย่างนั้นมาตลอด ก็รู้สึกว่าหนักหนาสาหัส แล้วพอเป็น ผอ.ศมส. ก็กลายเป็น 7 วัน 7 คืน

นพ.ระพินทร์ : ที่จริงอย่างอาจารย์ เขาเรียกว่า ทำงานอาทิตย์ละ 8 วันครับ ไม่ใช่ 7 วัน เพราะว่ามันเกิน 8 ชั่วโมงต่อวันอยู่แล้ว คนที่ทำงานอาทิตย์ละ 8 วัน มีโอกาสเป็นโรคหัวใจมากกว่าคนอื่น เพราะว่าภาวะเครียดทางอารมณ์ เครียดกับการงาน ขาดการพักผ่อน ไม่ได้ออกกำลังกายเลย อยู่ดึกก็กินกาแฟเยอะๆ พวกนี้จะเป็นตัวเร่ง ทำให้อาการแสดงของโรคหัวใจ เกิดขึ้นได้เร็วขึ้น และในบางกรณีก็รุนแรงขึ้น
ศ.ดร.สมหวัง : ก็อาจจะเป็นความเครียดลึกๆ ที่เราไม่รู้ตัว แต่ผมมีความสุขนะครับ
นพ.ระพินทร์ : การทำงานจะต้องจัดเวลาให้ตัวเอง มีเวลาพักบ้าง ทำงานแล้วไม่เอาการบ้านไปทำต่อที่บ้าน

คุณช่อผกา : นี่เป็นปัญหาของชีวิต คนที่ต้องทำงานทุกคน
นพ.ระพินทร์ : สาเหตุที่ผมอยากจะพูดถึงมาก คือ สาเหตุที่เราแก้ไขได้ เช่น เลือกรับประทานอาหารให้ถูกหลักโภชนการ ควบคุมระดับไขมัน งดการสูบบุหรี่ ออกกำลังกายให้สม่ำเสมอ ตรวจเช็คร่างกาย ถ้ามีปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ เช่น มีความดันเลือดสูง มีเบาหวานรีบรักษาเสีย พวกนี้เราแก้ไขได้
ศ.ดร.สมหวัง : ผมคิดว่าประเด็นเหตุครั้งนี้เป็นเรื่องอาหารการกิน เพราะผมทานอาหารมัน เผ็ด อะไรแบบนี้ครับ อาหารรสจัด และทานไม่เป็นเวลา

คุณช่อผกา : และเรื่องสำคัญก็คือ การทำงานอาทิตย์ละ 8 วัน อาจารย์จะจัดเวลากับตัวเองได้ยังไงค่ะ
ศ.ดร.สมหวัง : ตอนนี้ตัดใจแล้วครับ จริงๆ แล้วโลกนี้ไม่ใช่เราต้องแบกอยู่คนเดียว เราก็ทำให้ดีที่สุด ชีวิตมันน่าจะต้องมีคุณภาพที่ดีขึ้น และคิดว่าจะส่งผลให้งานใช้เวลาน้อย แต่คุณภาพจะดีกว่าด้วย แบบที่คุณหมอพูดไว้ชัดเจนว่า แบ่งว่างานคืองาน บ้านคือชีวิต ผมได้เห็นต้นไม้ที่บ้านงดงาม ได้ยินเสียงนกร้อง ผมบอกผมอยู่บ้านมาตั้งหลายปี ทำไมไม่เคยได้ยินเลย

นพ.ระพินทร์ : อีกอันหนึ่งต้องตระหนักว่า โรคที่เป็นอยู่นี้
1. ไม่ใช่เป็นโรคที่จะทำให้ชีวิตหมดคุณภาพ หรือด้อยคุณภาพลง
2. โรคนี้เป็นแล้ว ที่บอกว่ารักษาแล้ว หายขาดแล้ว ไม่ต้องสนใจอะไรกันอีก อันนี้ไม่ถูกครับ
ศ.ดร.สมหวัง : ตอนนั้นก็กังวลมาก กลัวมาก กลัวตาย กลัวจะทำงานไม่ได้ คือ เราจะไปประชุม เราจะไปเป็นประธานประชุม ทำไมมันเกิดเรื่องแบบนี้

นพ.ระพินทร์ : เพราะฉะนั้นต้องตระหนักว่า โรคนี้อยู่กับเรา แต่เราต้องเรียนรู้ที่จะอยู่กับโรคนี้อย่างไรไม่ให้โรคชนะเรา
ศ.ดร.สมหวัง : เลยได้เรียนรู้เรื่องนั่งสมาธิ เรื่องของการทำจิตให้สงบ เรื่องของการทิ้งของ ฝรั่งเขามีวันทิ้งของครับ

คุณช่อผกา : คืออะไรค่ะ
ศ.ดร.สมหวัง : คือ คิดว่าอะไรในรอบปีก็เอามาทิ้ง ให้คนอื่นเอาไปใช้ มันก็คือบ้านเราสะอาดขึ้น ก็ทำให้ชีวิตเราดีขึ้นเยอะ เพราะว่าการอยู่ว่างๆ โดยที่ไม่ทำอะไร เครียดมากเลยครับ เครียดแบบสติแตก ต้องมาทิ้งของ มานั่งเขียนอะไร ทำอะไรที่เรารัก และมีความสุข แต่ขบวนการแบบนี้มันทำให้เรารู้สึกผ่อนคลาย และทำให้เราได้เข้าใจถึงชีวิตมากเลย และดีมากๆ
นพ.ระพินทร์ : นั่นก็คือเราต้องเปลี่ยนพฤติกรรม ลดความเสี่ยงให้ตัวเอง ความเครียดอะไรต่างๆ ที่อาจารย์ได้พูดมาอย่างเมื่อกี้ อย่างที่สอง ต้องระมัดระวังเรื่องอาหารการกิน หมั่นเช็ค หมั่นตรวจ ดูว่าเรามีปัจจัยอะไรอย่างอื่นอยู่ไหม สิ่งต่างๆ เหล่านี้คือ การป้องกันไม่ให้เป็นซ้ำ ซึ่งมีความสำคัญมากกว่าการรักษาครับ

คุณช่อผกา : ถ้าเป็นแล้วต้องระวังอย่าให้เป็นซ้ำ สุดท้ายค่ะ อาจารย์สมหวัง จะฝากเตือนอะไรไปยังคนที่ทำงานอาทิตย์ละ 8 วัน แบบอาจารย์บ้างค่ะ
ศ.ดร.สมหวัง : ความจริงการเป็นโรคหัวใจคราวนี้ผมดีใจนะครับ

คุณช่อผกา : ดีใจเหรอค่ะ
ศ.ดร.สมหวัง : เพราะว่ามันทำให้ผมเปลี่ยน คุณภาพชีวิตผมดีขึ้นเยอะมาก คือ ถ้าไม่เป็นสงสัยก็คงยังเหมือนเดิม เพราะฉะนั้นผมคิดว่า ท่านที่ทำงานทั้งหลาย ผมคิดว่าสุขภาพคงจะมาเป็นเบอร์ 1, ครอบครัวเบอร์ 2, งานน่าจะเป็นเบอร์ 3 ซึ่งตอนนี้ผมก็ปฏิบัติอย่างนั้นครับ แล้วชีวิตดีขึ้น 100 เท่าเลยครับ

คุณช่อผกา : ยืนยันว่าทำได้จริงๆ ใช่ไหมค่ะ
ศ.ดร.สมหวัง : ได้ครับ

คุณช่อผกา : วันนี้ต้องขอบพระคุณทั้งอาจารย์และคุณหมอมากเลยนะคะ ขอบพระคุณมากๆเลยค่ะ ฝรั่งเขาพูดกันว่า you are what you eat กินอะไรก็จะเป็นอย่างนั้น แต่เรื่องวันนี้ขอเสริมอีกคำ ดิฉันคิดเอง you are what you be ค่ะ คุณทำอะไร คุณก็จะได้อย่างนั้น พอคุณตั้งใจทำงาน คุณก็ประสบความสำเร็จในหน้าที่การงาน แต่ถ้าคุณไม่ได้ตั้งใจดูแลสุขภาพของคุณเอง คุณก็จะเป็นผู้ป่วยนะคะ"