ริมระเบียงรับลมโชย > หัวใจบนปลายเท้า
น้าแม๊คพาเที่ยว ไหว้ สมเด็จพระปฐมบรมมหาชนกนาถ แห่งรัชกาลที่ 1 แวะ ชมหมุดโลกบนยอดเขา
Mckaforce:
บทความท่องเที่ยวชุดนี้เป็นบทความต่อ หรือเรียกว่าภาคเสริมก็ได้ จากบทความท่องเที่ยวเมืองอุทัยฯชุดก่อน
>> น้าแม๊คพาเที่ยว เขาสะแกกรัง สักการะ รอยพระพุทธบาท อันเลื่องชื่อ แห่งเมือง อุทัยธานี
ซึ่งใครที่ยังไม่ได้อ่านก็สามารถคลิกเข้าไปอ่านได้ครับ
โดยชุดนี้ผมจะดึงข้อมูลจากชุดเก่ามาลงประกอบด้วย คือในส่วนของแผนที่ เกริ่นนำเมืองอุทัยฯ
และการเดินทางครับ
สำหรับใครที่เคยอ่านมาแล้วก็สามารถข้ามไปอ่านในส่วนถัดไปได้เลยครับ
--------------------------
อุทัยธานี
สำหรับความประทับใจของผมที่มีต่อจังหวัดอุทัยธานีก็บอกได้เลยครับว่า
อุทัยธานีเป็นจังหวัดเล็ก ๆ ที่น่าอยู่ บรรยากาศดี ไม่วุ่นวายครับ
ยังคงธรรมชาติ ความร่มรื่นทั่วทั้งตัวจังหวัด แม้แต่ในตัวเมือง
เรื่องความเจริญก็บอกได้เลยว่าความเจริญทางวัตถุยังไม่มากจนขั้นวัตถุนิยม
ยังพบเห็นวิถีชีวิตเรียบง่ายแบบชาวบ้าน ๆ ได้ตลอดครับ
คำขวัญประจำจังหวัดอุทัยฯ: "เมืองส้มโอหวาน ผู้หญิงสาว ขาวสวย หมวยอึ๋ม"
ไม่ใช่ครับ อันนั้นมั่ว
คำขวัญจังหวัดอุทัยธานี จริง ๆ แล้วคือ
"อุทัยธานี เมืองพระชนกจักรี ปลาแรดรสดี ประเพณีเทโว
ส้มโอบ้านน้ำตก มรดกโลกห้วยขาแข้ง แหล่งต้นน้ำสะแกกรัง
ตลาดนัดดังโคกระบือ"
Mckaforce:
สำหรับใครที่ไม่รู้ว่าจังหวัดอุทัยธานีอยู่ตรงไหนดูในแผนที่เลยครับ
ข้อมูลจังหวัดอุทัยธานี
จังหวัดอุทัยธานี ตั้งอยู่ในเขตภาคเหนือตอนล่าง มีพื้นที่ประมาณ 6,730 ตารางกิโลเมตร พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่า
และและภูเขาสูง สภาพป่าไม้ของจังหวัดอุทัยธานีอุดมสมบูรณ์มีความหลากหลายทางธรรมชาติ
เขตรักษาพันธุ์ห้วยขาแข้งจึงได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก เป็นผืนป่าอนุรักษ์ที่ควรค่าแก่การดูแลรักษา
และนำความภาคภูมิใจมาสู่คนไทยทุกคน
ดินแดนบางส่วนพบหลักฐานว่าเคยเป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์และเป็นที่ตั้งของเมืองโบราณ
หลายเมือง ได้แก่เมืองโบราณบึงคอกช้างในสมัยทวารวดี เมืองโบราณบ้านใต้ เมืองโบราณบ้านคูเมือง และ
เมืองโบราณการุ้ง
ตามตำนานกล่าวว่าในสมัยสุโขทัยท้าวมหาพรหมได้เข้ามาสร้างเมืองที่บ้านอุทัยเก่า(อำเภอหนองฉาง)
แล้วพาคนไทยมาอยู่ท่ามกลางหมู่บ้านกะเหรี่ยงและหมู่บ้านมอญจึงเรียกว่า “เมืองอู่ไทย” ตามกลุ่มหรือที่อยู่
ของคนไทย ต่อมาเกิดความแห้งแล้งกระแสน้ำเปลี่ยนทางเมืองจึงถูกทิ้งร้าง ในสมัยอยุธยาชาวกะเหรี่ยงชื่อ
“พะตะเบิด” เข้ามาปรับปรุงเมืองอู่ไทยโดยขุดทะเลสาบขังน้ำไว้ใกล้เมืองและเป็นผู้ปกครองเมืองอู่ไทยเก่าคนแรก
ชื่อเมืองจึงเรียกเพี้ยนเป็น “เมืองอุไทย” ตามสำเนียงชาวกะเหรี่ยงและมีฐานะเป็นหัวเมืองหน้าด่านชั้นนอกสกัดกั้น
กองทัพพม่าที่จะเข้ามาตีกรุงศรีอยุธยา ต่อมาในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นมีการอพยพผู้คนมาตั้งบ้านเรือน
ที่ริมฝั่งแม่น้ำสะแกกรังมากขึ้น และได้กลายเป็นที่ตั้งของตัวเมืองอุทัยธานีในปัจจุบัน
อุทัยธานีมีสถานที่น่าสนใจทั้งทางธรรมชาติ ประวัติศาสตร์ และโบราณคดีหลายแห่งที่น่ามาเที่ยวชมและศึกษา
หาความรู้ อีกทั้งมีสินค้าที่ระลึกประเภทหัตถกรรมและอาหารการกินมากมายเช่นหน่อไม้รวก ข้าวเกรียบปลา
ผลไม้แช่อิ่ม ผ้าทอ เครื่องจักสานซึ่งสามารถนำกลับไปเป็นของฝากได้
จังหวัดอุทัยธานีแบ่งการปกครองออกเป็น 8 อำเภอ
แต่ละอำเภอมีระยะห่างจากอำเภอเมือง ดังต่อไปนี้
- อำเภอทัพทัน 19 กิโลเมตร
- อำเภอบ้านไร่ 80 กิโลเมตร
- อำเภอลานสัก 54 กิโลเมตร
- อำเภอสว่างอารมณ์ 33 กิโลเมตร
- อำเภอหนองขาหย่าง 10 กิโลเมตร
- อำเภอหนองฉาง 22 กิโลเมตร
- อำเภอห้วยคต 45 กิโลเมตร
อาณาเขต
- ทิศเหนือ ติดต่อกับ อำเภอพยุหะคีรี อำเภอโกรกพระ และอำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์
- ทิศใต้ ติดต่อกับ อำเภอวัดสิงห์และอำเภอหันคา จังหวัดชัยนาท อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับ อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์และอำเภอมโนรมย์ จังหวัดชัยนาท
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับ อำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก อำเภอสังขละบุรี และอำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี
การเดินทาง
• รถยนต์ จากกรุงเทพฯสามารถเดินทางไปอุทัยธานีได้หลายเส้นทาง ได้แก่
1.จากถนนพหลโยธินผ่านจังหวัดสระบุรี อำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์
และอำเภอมโนรมย์ จังหวัดชัยนาท ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาลงแพขนานยนต์ ที่อำเภอมโนรมย์ ผ่านวัดท่าซุง
(วัดจันทาราม) ศาลากลางจังหวัด เข้าตลาดอุทัยธานี รวมระยะทางประมาณ 305 กิโลเมตร
2.จากทางหลวงหมายเลข 32 (สายเอเซีย) ผ่านอยุธยา อ่างทอง สิงห์บุรี ชัยนาท และแยกเข้าทางหลวง
หมายเลข 333 ตรงทางแยกท่าน้ำอ้อยบริเวณหลักกิโลเมตรที่ 206 ข้ามสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา
ระยะทางประมาณ 16 กิโลเมตร ผ่านหน้าโรงพยาบาลเลี้ยวซ้ายเข้าตลาดอุทัยธานี รวมเป็นระยะทาง
ประมาณ 222 กิโลเมตร
3.อีกเส้นทางหนึ่งเริ่มต้นจากถนนสาย 32 เช่นกัน เมื่อถึงประมาณกิโลเมตรที่ 30 (อยู่ในเขตจังหวัดอยุธยา)
เลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 334 และจากนั้นเข้าทางหลวงหมายเลข 309 ไปตามเส้นทาง ข้ามสะพาน
จังหวัดอ่างทอง จากนั้นมาตามถนนสาย311ผ่านจังหวัดสิงห์บุรี ผ่านจังหวัดชัยนาทที่อำเภอสรรพยา
จากนั้นเลี้ยวเข้าเส้นทางหมายเลข 3183 เข้าจังหวัดอุทัยธานี รวมเป็นระยะทางประมาณ 283 กิโลเมตร
• รถตู้ปรับอากาศ ให้บริการระหว่างเวลา 04.00–18.00 น. จอดบริเวณใต้ทางด่วนอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิด้านสนามเป้า
• รถโดยสารประจำทาง บริษัท ขนส่ง จำกัด มีบริการเดินรถระหว่างกรุงเทพฯ-อุทัยธานีทุกวัน
จากสถานีขนส่งหมอชิต 2 กิโลเมตร 11 ใช้เวลาเดินทางประมาณ 4 ชั่วโมง ทั้งรถโดยสารธรรมดาและ
รถโดยสารปรับอากาศตั้งแต่เวลา 04.30-17.50 น.
• รถไฟ ต้องโดยสารรถไฟไปลงที่สถานีนครสวรรค์ แล้วต่อรถประจำทางมายังอุทัยธานีอีกประมาณ
50 กิโลเมตร ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่หน่วยบริการเดินทาง โทร. 1960, 223-7010, 223-7020
• การเดินทางภายในจังหวัด จะมีทั้งรถสองแถว และรถบัสประจำทางวิ่งตามเส้นทางต่างๆ
เช่น อุทัยธานี-หนองฉาง อุทัยธานี-วัดสิงห์ อุทัยธานี-บ้านไร่ ลานสัก-สว่างอารมณ์-ทัพทัน บ้านไร่-คลองแห้ง เป็นต้น
Mckaforce:
ไอ้ทีแรกที่ขึ้นยอดเขาสะแกกรังนั้นน่ะ ผมไม่ได้ศึกษาข้อมูลมาหรอก
ด้วยความนึกสนุก เอ๊ะมันมีวัดบนยอดเขานี่หว่า ยังไม่เคยขึ้นเขาลูกนั้นสักที
ปกติผมไปอุทัยที่ ๆ ผมไปเที่ยวตลอดคือ วัดท่าซุง จะมีไปห้วยขาแข้งก็สองสามครั้ง
ที่แน่ๆ ผมไปเมืองอุทัยธานีบ่อยมาก เพราะมีเพื่อนรุ่นพี่อยู่ที่นั่น
แต่แปลก ผมกลับไม่เคยขึ้นไปบนเขาสักที
ก็ไปมันแบบไม่รู้อะไรสักอย่าง กะจะไปถ่ายรูปมาลงในเวบสุขใจก็เท่านั้น
แต่พอขึ้นไปบนยอด ก็มีวัด อากาศดี วิวสวย น่าเดินเล่น กำลังจะเข้าไปถ่ายรูปวัด
ก็มีแม่ค้ามาคุย บอกเนี่ย รู้รึเปล่าบนยอดเขานี้อ่ะ มีหมุดโลกอยู่ด้วย
หมุดโลก ?? โอ... มันคืออะไรเนี่ย เกิดมาไม่เคยได้ยิน
เอ๊ะ หรือว่าหมุดโลก มันใช้ปัก ไม่ให้โลกเคลื่อนไปที่อื่น
ผมเก็บความฟุ้งซ่านเหล่านั้นไว้ แล้วเดินถ่ายรูปวัด
ซึ่งหากใครยังไม่ได้อ่านสามารถตามเข้าไปอ่านไปดูรูปได้ที่
http://www.sookjai.com/index.php?topic=17649.0
Mckaforce:
ทางที่จะไปชมหมุดโลกก็อยู่ที่เขาสะแกกรังนั่นหละครับ บนยอดเขาเลย แต่อยู่ฝั่งตรงข้ามกับวัดสังกัสรัตนคีรี
โดยเดินขึ้นไปทางราชานุสาวรีย์พระบรมชนกจักรีครับ
ว่าแล้วผมก็ขับรถไปจอดใต้ร่มตรงทางเข้า
ตรงนั้นจะมีต้นไม้สองต้นให้เราได้เห็นครับ คือต้นโพธิ์ และ ต้นไทร
เป็นต้นไม้ที่สำคัญมากบนยอดเขาสะแกกรังแห่งนี้ โดยทั้งสองต้นนั้นได้ปลูกมาตั้งแต่ปี 2522 ครับ
ต้นโพธิ์ต้นนี้ในหลวงท่านทรงปลูกครับ
จากรูปนี้ ผมรู้สึกอึดอัดใจมาก ไม่รู้ว่ารู้สึกไปคนเดียวหรือเปล่า
แต่ผมไม่ชอบเลยที่คนนำถังขยะไปตั้งไว้หน้าต้นโพธิ์แบบนั้น ทั้งที่ลานนี้
มีพื้นที่อีกมากมายให้เอาไปตั้ง ไม่รู้ว่าไม่ได้คิดอะไร หรือไม่มีความคิดแน่
แต่เป็นภาพที่ไม่เหมาะ และผมไม่ชอบเอาซะเลย
ต้นนี้ต้นไทรครับ ใบดกหนาตามธรรมชาติ ยิ่งมาขึ้นในที่มีอากาศแบบนี้ด้วยล่ะยิ่งหายห่วง
ต้นนี้พระราชินีทรงปลูกครับ วันเดือนปี เดียวกันกับที่ในหลวงท่านทรงปลูกต้นโพธิ์
ต้นไม้สองต้นนี้แหละครับ อยู่ปากทางเข้าไปราชานุสาวรีย์พระชนกจักรี ซึ่งเป็นทางทอดยาวไปถึงหมุดโลก
Mckaforce:
บริเวณทางเดินไปยังพระราชานุสาวรีย์พระชนกจักรีครับ
แดดร้อนเปรี้ยง ๆ คนละฟิลกับตอนอยู่บริเวณมณฑปอีกฟากของยอดเขาเลยครับ
นำร่อง
[0] ดัชนีข้อความ
[#] หน้าถัดไป
Go to full version