ผู้เขียน หัวข้อ: นิทานธรรม : คิดไปว่า เชียร์!  (อ่าน 2070 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
นิทานธรรม : คิดไปว่า เชียร์!
« เมื่อ: มีนาคม 19, 2011, 02:36:44 pm »



คิดไปว่า เชียร์!
นิทานธรรม

กบสองตัวตกลงไปในหลุมลึก กบตัวอื่นเห็นว่าโอกาสรอดคงยาก
ก็ตะโกนลงไปว่าอย่าพยายามกระโดดขึ้นมาเลยไม่มีทางสำเร็จ
กบสองตัวไม่ฟัง ทั้งสองพยายามกระโดดให้สูงที่สุดเท่าที่มีเรี่ยวแรง
กบตัวอื่นก็ได้แต่ตะโกนให้หยุดกระโดดเพราะเปล่าประโยชน์
ยังไง ๆ ก็ต้องตายแน่ ๆ ในที่สุดกบตัวหนึ่งหยุดกระโดด มันตกลงไปตาย

ส่วนกบอีกตัวยังกระโดดไม่เลิก กบตัวอื่นร้องบอกให้หยุดเถิด
จะเหนื่อยเปล่า แต่มันยิ่งกระโดดสูงขึ้น ๆ
และ ในที่สุดก็พ้นปากหลุมขึ้นมาได้ กบตัวอื่นมารุมล้อมถามว่า

“เธอไม่ได้ยินพวกเราบอกให้หยุดกระโดดหรือ ? ” แต่พบว่า...
...กบตัวนั้นหูหนวกสนิท มันคิดว่ากบตัวอื่นกำลังตะโกนเชียร์มันอยู่





คุณธรรมที่เรียกว่า “อิทธิบาท 4” ซึ่งประกอบด้วย:

ฉันทะ หรือมีใจรัก ถือว่าสำคัญมาก การฝืนทำอะไรที่ไม่ได้เกิดจากความพอใจ หรือศรัทธาของเราจริงๆมีแต่สร้างความทุกข์ทรมาน ความเครียด แม้จะได้บางสิ่งที่มุ่งหวังก็ตาม ตรงนี้เป็นจุดที่คำแนะนำของอาจารย์ท่านผู้หญิงพูนทรัพย์มีค่า

คุณจะสร้างความรักสิ่งที่คุณทำได้ก็ต่อเมื่อ คุณมีศรัทธาว่าสิ่งที่คุณทำเป็นสิ่งที่ดี มีคุณค่า มีประโยชน์ต่อตัวเองและต่อผู้อื่น หากเรื่องนั้นเป็นเรื่องดีจริง ก็จงมุ่งมั่นที่จะทำด้วยความตั้งใจ และหากไม่ดีก็คงต้องเปลี่ยนแปลงศรัทธาเสียใหม่ เช่น หากเราคิดเบื่องานที่เราทำ เราลองเปลี่ยนมุมคิดของเราด้วยการสร้างศรัทธาใหม่ แทนที่คุณจะทำมันด้วยศรัทธาต่อลาภยศสรรเสริญ นั่นคือเพื่อเงินเดือน เพื่อคำชม เพื่อตำแหน่งของคุณเอง คุณลองเปลี่ยนศรัทธาเป็นการสร้างความสุข หรือแก้ความทุกข์ แก้ปัญหาให้แก่ผู้ที่คุณให้บริการ มันจะทำให้คุณมีพลังในการต่อสู้กับความเหน็ดเหนื่อย ต่อความเบื่อหน่ายได้อย่างดียิ่ง

วิริยะ คือความเพียรพยายาม เป็นความมุ่งมั่นทุ่มเททั้งกายและใจ

ความเพียรนี้มีปรากฏอยู่ในธรรมะหลายหมวด เช่น พละ 5 ธรรมอันเป็นกำลังให้ดำเนินชีวิตด้วยความมั่นใจ ไม่หวั่นต่อภัยทุกอย่าง, โพชฌงค์ 7 ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้, บารมี 10 คุณธรรมที่ควรประพฤติปฏิบัติอย่างยิ่งยวด หรือทศพิธราชธรรม ธรรมของพระราชา

วิริยะ หรือ ความเพียรเกิดจากฉันทะ หรือ ความศรัทธาในสิ่งที่ทำ และ ต้องมาคู่กับความอดทนอดกลั้น ไม่ย่อท้อต่อปัญหา หรือ ความท้าทาย และมีความหวังที่จะเอาชนะอุปสรรคทั้งหลาย
เปรียบเหมือนเม็ดทรายเม็ดเล็ก ๆ ที่ซัดผ่านก้อนหินทุกวัน ก็ยังทำให้ก้อนหินนั้นกลมเกลี้ยงได้ แต่วิริยะไม่ใช่ความดุดันอย่างเอาเป็นเอาตาย หรือ ต้องให้ได้ดังใจเสมอ
เพราะในบางเวลาบางสถานการณ์ เราอาจจะต้องปล่อยวาง หรือ วางเฉยเพื่อรอสภาวะที่เหมาะสมกว่า เพื่อบรรลุถึงจุดประสงค์นั้น และให้จดจำไว้เสมอว่า ถ้าคุณตกจาก “ความหวัง” (hope) คุณจะเจ็บน้อยกว่าตกจาก “ความคาดหวัง” (expectation)



จิตตะ คือใจ ที่จดจ่อต่อสิ่งที่เราคิดเราทำและรับผิดชอบด้วยความรอบคอบและรู้จริง ไม่ใช่สักแต่ทำไปแบบสุกเอาเผากิน ถ้าจะศึกษาอะไรก็มุ่งมั่นให้ได้ความรู้นั้นจนเป็นผู้ชำนาญ การจะมีใจจดจ่อต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งเรียกอีกอย่างว่าสมาธิ เมื่อใจเป็นสมาธิ ใจของคุณจะไม่หวั่นไหวไปกับสิ่งที่จะฉุดคุณออกไปความตั้งใจ เช่นความเบื่อหน่าย หดหู่เซื่องซึมขี้เกียจ ฟุ้งซ่าน ร้อนใจ กระวนกระวายกลุ้มกังวล ลังเลสงสัย โกรธแค้น คิดร้าย เป็นต้น

วิมังสา คือ การทบทวนในสิ่งที่ได้คิดได้ทำมา โดยใช้วิจารณญาณอย่างรอบรู้ว่าเกิดผลดีและผลเสียอย่างไร เพื่อปรับปรุงแก้ไขให้ดียิ่งขึ้น แทนที่จะมุทะลุทำโดยไม่พิจารณาว่ามันเป็นเส้นทาง หรือ วิธีการที่ถูกต้องหรือดีที่สุดแล้วหรือไม่ เพราะการกระทำเช่นนั้น อาจพาเราเข้ารกเข้าพงไปได้ ยิ่งที่วิริยะมาก ก็ยิ่งผิดทางไปไกล





สิ่งนี้พระพุทธเจ้าสอนมาหลายพันปีแล้ว ในขณะที่วิทยาการสมัยใหม่เพิ่งสอน
ให้มีการตรวจสอบ วัดผล เพื่อการปรับปรุง
ในกระบวนการควบคุมการผลิต และ การบริหารทุกกระบวนการ





โดย ดร.อภิวรรณ รัตนิน สายประดิษฐ์
(aphivan@gmail.com)
http://www.pendulumthai.com/nitantham_main.html
Pics by : Google
อกาลิโกโฮม * สุขใจดอทคอม
อนุโมทนาสาธุที่มาทั้งหมดมากมายค่ะ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 09, 2014, 05:45:52 pm โดย ฐิตา »