ผู้เขียน หัวข้อ: นิทานเซน ฉบับ เทพยาจก เก็บตกตามทาง 21 ผู้กลืนกินจักรวาล  (อ่าน 1362 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด

   
 
          21. ผู้กลืนกินจักรวาล

วันหนึ่ง ท่านอาจารย์อันมอน กล่าวขึ้นท่ามกลางศิษย์ว่า
" ไม้เท้าของฉันอันนี้ สามารถแปลงร่างเป็นมังกรใหญ่และกลืนกินจักรวาล
ไว้ทั้งหมดได้ โอ ! โอ้.. แล้วแม่น้ำ ภูเขา แผ่นดินอยู่ตรงใหนล่ะ
"

ปริศนาธรรมจากเรื่องนี้มุ่งจะแสดงให้เห็นความสำคัญของการ รวมความสนใจทั้งหมด
ไว้ที่จุดเดียว ซึ่งเป็นอำนาจสมาธิจิตอย่างหนึ่ง


เรื่องนี้ท่านอาจารย์อันมอน แสดงให้เห็นท่ามกลางศิษย์ ด้วยการยกไม้เท้าขึ้นสูงเหนือ
ระดับสายตา ด้วยการยกไม้เท้าขึ้นสูงเหนือระดับสายตาศิษย์ทั้งหมด พลางพูดเหมือน
กับว่าท่านกำลังจับพญามังกรที่มีชีวิตอยู่จริง ๆ

ความสนใจของศิษย์ทั้งหมดย่อมรวมจุดแน่วแน่อยู่ที่ไม้เท้า นั่นคือท่านอาจารย์อันมอน
กำลังควบคุมผู้ฟังไว้ด้วยไม้เท้า จนดูเหมือนว่านอกจากไม้เท้าแล้วก็ไม่มีอะไรอื่นอีก

ไม้เท้าได้ กลืนกิน จักรวาลทั้งหมดไว้แล้วโดยแท้ เพราะมันได้กลืนความสนใจของคนทั้งหมดไว้
มันได้ระงับดับความคิดปรุงแต่งทั้งปวงไว้ ณ ที่นั้นในขณะแห่งนาทีนั้นแล้ว


         

ก็เมื่อความคิดปรุงแต่ง ถูกระงับลงเสียได้ อะไรๆจะเหลืออยู่อีกเล่า
จักรวาลนั้นไม่ใช่อะไรอื่นมันก็คือ โลกแห่งความคิดปรุงแต่งขึ้นมาเป็นอย่างโน้นอย่างนี้
มากด้วยความหมาย มากด้วยสมมุติบัญญัติ เท่าที่แรงแห่งความไม่รู้แจ้งเห็นจริง
จะปรุงไปต่าง ๆ นานา ตามอำนาจของกิเลส

ในทางเซนจะพูดว่า " จิตเกิด สรรพสิ่งเกิด จิตดับ สรรพสิ่งสิ่งดับ "
จักรวาลตั้งอยู่ในจิต เพราะจิตสร้างจักรวาลขึ้นมา

จิตในที่นี้เขาหมายถึง " สังขารจิต " คือจิตปรุงแต่งขึ้นมา หรือสิ่งที่ปรุงเป็นจิตขึ้นมานั่นเอง

จิตในความหมายนี้จึงขึ้นต่อสรรพสิ่ง หรือถูกกำหนดโดยสรรพสิ่งอยู่ตลอดเวลา

ยกตัวอย่างเช่น เมื่อเอ่ยคำว่า " ข้าว " ขึ้นมา หลายคนอาจพูดต่อทันทีว่า " ชักหิวเสียแล้วซี ไปกินกันที่ใหนดีล่ะ "
ขณะที่คำเดียวกันนี้ ถ้าไปเอ่ยปากกับชาวนา เขากลับพูดว่า " เออปีนี้มันแย่จริง น้ำท่วม นาล่มหมด "
ถ้าไปเอ่ยกับพ่อค้าเขาก็อาจพูดว่า " ปีนี้ผลิตได้มากก็จริง แต่มันล้นตลาดโลกเสียแล้ว ราคาแย่ลงอีกตามเคย "

เห็นใหมคำว่า " ข้าว " คำเดียวกัน มันได้เปลี่ยนความหมายไปถึงสามความหมาย
คนหนึ่งนึกถึงเม็ดข้าวในจาน คนหนึ่งนึกถึงข้าวเป็นรวงในนา คนหนึ่งนึกถึงข้าวเป็นกระสอบในโกดัง
ความหมายทั้งหลายนี้ เกิดจากอะไร ตอบว่าเกิดจากความคิดที่ไม่เหมือนกัน ถามต่อไปว่า
ทำไมความคิดจึงไม่เหมือนกัน ตอบว่าเพราะจิตมันปรุงแต่งขึ้นมาไม่เหมือนกัน


ถามว่าไฉนจิตจึงปรุงแต่งไม่เหมือนกัน ก็ตอบได้ว่าเพราะสิ่งที่มาสัมผัสหรือกระทบจิต มันต่างกัน
อ้าวก็ได้ยินคำว่า " ข้าว " คำเดียวกันไม่ใช่หรือ ตอบว่าใช่แล้วแต่ " นัยประหวัด " ของคำเดียวกันนี้ต่างมีไม่เหมือนกัน
นั่นคือ ประสบการณ์ของแต่ละคนทำให้ " นัยประหวัด " ของคำ ๆ เดียวกันนั้นกลับแตกต่างกันไป
ประสบการณ์ก็คือสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับบุคคลนั้น ๆ นั่นเอง


เห็นไหมว่าความคิดหรือจิต ที่ปรุงเป็นความคิด ( สังขาร ) นั้น มันไม่ได้เกิดขึ้น ลอย ๆ
มันเกิดขึ้นจากเหตุแวดล้อมภายนอก
คือสรรพสิ่งนั่นเองบวกกับความรับรู้ ตามธรรมชาติ " รู้ " ( วิญญาณ ) ภายในของเรา
เป็นปัจจัยจึงก่อให้เกิด " จิต " ขึ้นมา

ดังนั้น ในลักษณะนี้ " จักรวาลก็คือจิต จิตก็คือจักรวาล "
เซนมุ่งที่จะเพิกหรือถอน " จิต " ในลักษณะนี้ออกมา โดยมีคำเรียกใหม่ว่า " จิตเดิมแท้ "
ซึ่งเป็นจิตในลักษณะ ที่เปี่ยมอยู่ด้วย " ปัญญา "
คือ ความรู้เท่าทันต่อสรรพสิ่ง ที่มากระทบอย่างถูกต้องตามเป็นจริง

มิใช่จิตที่ถูกกำหนด โดยสรรพสิ่งสถานเดียว หากเป็นจิตที่สามารถจะกำหนดสรรพสิ่งได้ด้วย

เมื่อท่านอาจารย์อันมอน ยกไม้เท้าขึ้นมากำหนดจิต ท่านต้องการให้ศิษย์ทุกคน เอาจิตกำหนดไม้เท้านั้นได้ด้วย

จิตที่สามารถกำหนดสิ่งอื่นได้นี่แหละที่ท่านอุปมาอุปมัยว่าเป็นเหมือนพญามังกร
ที่จะกลืนกินจักรวาลได้ ผันแม่น้ำ ผลีกภูเขา พลิกแผ่นดิน ก็ได้ด้วย
ขอเพียงแต่เข้าใจ และรู้เคล็ดลับของการกำหนดซึ่งกันและกันนี้ให้ได้เท่านั้น

 
         

จากหนังสือ มุมที่ไม่มีเหลี่ยม
ของท่าน เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์
ใครๆ ก็รู้ว่าในเชิงกวี เขาคือมืออันดับหนึ่ง
แต่ยังไม่มีใครรู้ว่าในเชิงปรัชญาเซน เขามิได้เป็นมือสองรองใคร


สุขใจดอทคอม * อกาลิโกโฮม
       ใต้ร่มธรรมดอทเน็ต

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 27, 2011, 03:12:24 pm โดย ฐิตา »