เขื่อนขุนด่านปราการชล เขื่อนขุนด่านปราการชล อันเนื่องมาจากพระราชดำริ
เขื่อนคอนกรีตบดอัดยาวที่สุดในประเทศไทย
เขื่อนขุนด่านปราการชลหรือเดิมเรียกว่าเขื่อนคลองท่าด่านตั้งอยู่ที่ บ้านท่าด่าน ตำบลหินตั้ง อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก สร้างขึ้นตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อเก็บกักน้ำในช่วงหน้าฝนไว้ในหน้าแล้งและควบคุมไม่ให้เกิดน้ำท่วมบ้านเรือนราษฎร ไร่นาและพื้นที่การเกษตรในหน้าฝน โดยสร้างครอบฝายท่าด่านเดิม
มุ่งมั่นที่จะขจัดปัญหา น้ำท่วม น้ำแล้ง และดินเปรี้ยว ด้วยการพัฒนาแหล่งน้ำ
และระบบชลประทานขนาดใหญ่ที่สามารถเก็บกักน้ำและจัดสรรน้ำอย่างเป็นระบบ
ให้พอเพียงกับความต้องการของกิจกรรมทุกประเภทภายในลุ่มน้ำนครนายกและพื้นที่
ใกล้เคียง
ดังนั้นเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2536 เนื่องในวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จ
พระเจ้าอยู่หัวจึงพระราชทานพระราชดำริให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมชลประทาน
พิจารณาวางโครงการและก่อสร้างเขื่อนคลองที่ด่านฯ เริ่มดำเนินการก่อสร้างเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2542โดยจะใช้เวลาก่อสร้าง 5 ปี และเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2544 พระบาทสมเด็จ
พระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
เสด็จพระราชดำเนินทรงวางศิลาฤกษ์เขื่อนคลองท่าด่านฯ
ที่มาของคำว่าขุนด่านพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯพระราชทานชื่อเขื่อนคลองท่าด่าน
เป็น “ เขื่อนขุนด่านปราการชล ”และมีพระกระแสให้ติดป้ายโลหะจารึกประวัติของ
ขุนหาญพิทักษ์ไพรวัน ณ บริเวณเขื่อนเพื่อเชิดชูเกียรติคุณ
ขุนด่านเป็นตำแหน่งผู้ดูแลเขตแดนประจำเมืองหน้าด่านในสมัยกรุงศรีอยุธยาขุนด่านเมืองนครนายกมีนามเดิมว่าหาญ เป็นบุตรของขุนพิจิตร ไพรสณฑ์
ซึ่งเป็นนายด่านและหัวหน้าทางทิศตะวันออก แขวงเมืองนครนายก
เมื่อบิดาถึงแก่กรรม นายหาญได้เข้ารับหน้าที่สืบต่อจากบิดา
และได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ว่า....ขุนพิทักษ์ไพรวันในปีพุทธศักราช 2130 รัชสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
สมเด็จพระนเรศวรมหาราชประกาศอิสรภาพจากพม่า
พระยาละแวกเจ้าเมืองเขมร คิดตีตลบหลังไทย ส่งกองทัพมาตีเมืองปราจีนบุรีและนครนายก
เพื่อกวาดต้อนผู้คนและปล้นทรัพย์สิน ขุนพิทักษ์ไพรวันหรือขุนด่าน
ได้แจ้งข่าวไปยังกรุงศรีอยุธยาและรวมกำลังผู้คนดักซุ่มโจมตีทัพพระยาละแวก
อย่างห้าวหาญจนทัพเขมรแตกพ่ายไป ขุนด่านเป็นผู้ป้องกันเมืองนครนายกไว้
นับเป็นวีรบุรุษของชาวจังหวัดนครนายก
เมื่อขุนด่านถึงแก่กรรม คุณงามความดีที่ขุนด่านได้กระทำในครั้งนั้น
ทำให้ผู้คนยกย่องนับถือเป็นอันมาก ชาวบ้านจึงได้สร้างศาล
บรรจุอัฐิไว้บริเวณหุบเขาชะโงก
ต.พรหมณี อ.เมืองนครนายก จ.นครนายก เรียกกันว่าศาลเจ้าพ่อขุนด่าน
ปัจจุบันเป็นโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าฯเกียรติคุณขุนด่านที่เล่าขานกันตั้งแต่กรุงศรีอยุธยาจะจารึกไว้ในความทรงจำ
ชั่วลูกหลานให้ระลึกถึงคุณงามความดีของท่านตราบนานเท่านานไว้ที่เขื่อนขุนด่านปราการชล
ความสำคัญที่ราบลุ่มนครนายกมีระดับน้ำใต้ดินมี การลดระดับหรือพื้นที่ลาดเทค่อนข้างมาก ทำให้น้ำไหลบ่ารุนแรงในช่วงฤดูฝน ส่วนบริเวณพื้นที่ชลประทานนครนายก เป็นพื้นที่ราบกว้างขวางมีระดับน้ำใต้ดินต่ำจึงเกิดปัญหาขาดแคลนน้ำในฤดู แล้งส่วนในฤดูฝนกลับเกิดปัญหาน้ำท่วมเนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบที่ มีความลาดเอียงน้อยทำให้น้ำระบายอกยากน้ำจึงท่วมขังเป็นเวลานาน การสร้างเขื่อนกั้นลำน้ำนครนายกตอนบนจึงเป็นการชะลอกระแสน้ำไม่ให้ไหลบ่ารุนแรงในฤดูฝนโดยจะกักเก็บน้ำไว้ และในทางกลับกันจะสามารถกักเก็บน้ำเอาไว้ใช้ในฤดูแล้งได้แทนที่จะต้องเผชิญกับภัยแล้ง
โครงสร้างและลักษณะตัวเขื่อนขุนด่านปราการชลประกอบด้วยเขื่อนหลักและเขื่อนรองสร้างด้วยคอนกรีตบดอัด
ปัจจุบันเป็นเขื่อนคอนกรีตบดอัดที่มีความยาวที่สุดในโลก มีความยาวรวม 2,720 เมตร ความสูง (สูงสุด) 93 เมตร รับน้ำที่ไหลจากอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ผ่านน้ำตกเหวนรกลงสู่อ่าง เก็บน้ำ มีความจุ 224 ล้าน ลบ.ม. โดยทำให้มีน้ำในการทำเกษตรกรรม การอุปโภคบริโภค แก้ปัญหาดินเปรี้ยว เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลา และบรรเทาอุทกภัย เป็นแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ ของนครนายก นักท่องเที่ยวสามารถชมอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ได้จากบริเวณสันเขื่อน จะเห็นทิวทัศน์ด้านหน้าเขื่อน และชมทิวทัศน์เมืองนครนายกด้านหลังเขื่อน ในอนาคตมีโครงการจะสร้างแก่งเทียมเพื่อการท่องเที่ยวและกีฬา และเป็นสนามสลาลอมนานาชาติ ซึ่งจะเป็นแห่งเดียวในภูมิภาคนี้ หากก่อสร้างแก่งเทียมแล้วเสร็จ จะสร้างกิจกรรมท่องเที่ยวและสร้างรายได้ให้กับผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยวของจังหวัดนครนายกเพิ่มขึ้น
เขื่อนคลองท่าด่านฯเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน• แหล่งน้ำและระบบชลประทานขนาดใหญ่ท่าสามารถเก็บกักน้ำและจัดสรรน้ำอย่างเป็นระบบ
สำหรับพื้นที่ทำการเกษตรรวมทั้งแหล่งน้ำเพื่อการอุปโภค-บริโภคของจังหวัด
• บรรเทาอุทกภัยแก่พื้นที่ทั้งสองฝั่งของแม่น้ำนครนายก
• เกษตรกรได้รับประโยชน์จากโครงการประมาณ 5,400 ครัวเรือน
• ใช้น้ำชลประทานชะล้างดินเปรี้ยวจนเหมาะสมแก่การใช้เพาะปลูก
• เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลาและแหล่งประมงน้ำจืด
• เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์แห่งใหม่
• เศรษฐกิจของจังหวัดนครนายกขยายตัว ราษฎรมีรายได้มากขึ้น
การท่องเที่ยวเขื่อนขุนด่านปราการชลเปิดให้นักท่องเที่ยวเดินทางมาชมวิวเหนือสันเขื่อน สามารถมองเห็นตัวเมืองนครนายกและอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ได้ที่สันเขื่อน นอกจากนี้ยังสามารถเช่าเรือหางยาวเพื่อชมน้ำตกที่อยู่ลึกเข้าไปในอ่างเก็บน้ำของเขื่อนได้
การเดินทางเดินทางโดยรถยนต์มายังตัวเมืองนครนายกโดยอาจใช้ถนนสายรังสิต-นครนายก(ทาง หลวงหมายเลข 305) หรืออาจใช้ถนนเส้นเก่าคือถนนสุวรรณศร (ทางหลวงหมายเลข 33) ซึ่งจะอ้อมกว่า จนถึงตัวเมืองนครนายกให้ใช้เส้นทางเดียวกับไปน้ำตกนางรอง (ทางหลวงหมายเลข 3049) ผ่านอุทยานวังตะไคร้และเลี้ยวขวาเข้าถนนสู่ตัวเขื่อน
รถโดยสารประจำทาง จากกรุงเทพฯ–นครนายก มีบริการรถโดยสารประจำทางทั้งรถธรรมดาและรถปรับอากาศ ออกจากสถานีขนส่งสายเหนือ (หมอชิต 2) ทุกวัน สอบถามได้ที่ โทร .0-2936-3660, 0-2936-3666
รถตู้กรุงเทพ-นครนายก-เขื่อนขุนด่าน โดยสามารถขึ้นที่ อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ (ค่าโดยสารประมาณ 110 บาท จากกรุงเทพฯ ถึงตัวเขื่อนฯ)
เขื่อนขุนด่านฯ ตู้ ปณ. 4 ต.หินตั้ง อ.เมือง นครนายก 26000
โทรศัพท์ 0 3738 4208-9 โทรสาร 0 3738 4210