ริมระเบียงรับลมโชย > หัวใจบนปลายเท้า

น้าแม๊คพาเที่ยว ชมบรรยากาศ ถนนข้าวสาร - อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย กทม.

(1/3) > >>

Mckaforce:
น้าแม๊คพาเที่ยว ถนนข้าวสาร - อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย

ยังคงเหยียบราตรีเมืองกรุงเทพโซนถนนพระอาทิตย์อยู่ครับ

หลังจากกระทู้ที่แล้ว (น้าแม๊คพาเที่ยวป้อมพระสุเมรุ) ที่ผมพาชมป้อมพระสุเมรุมาตอนกลางคืน

ถ้าใครยังไม่ได้อ่านก็สามารถตามอ่านได้ครับที่ลิ้งค์ด้านล่าง

http://www.sookjai.com/index.php?topic=18331.0


มารอบนี้เราจะไปกันต่อที่ถนนข้าวสาร แหล่งขายของก๊อป ผัดไทยแสนจืด และ อะลอทออฟฟรั่ง (ชาวต่างชาติจำนวนมาก)

Mckaforce:

สำหรับทริปนี้ผมจะพาไปถนนข้าวสารและชมภาพบรรยากาศอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยยามค่ำคืน


ทีเดียวเลยนะครับ เพราะสถานที่ทั้งสองแห่งอยู่ใกล้กัน ดูจากแผนที่ด้านล่าง สามารถเดินได้สบาย ๆ






Mckaforce:

ประวัติถนนข้าวสาร


ถนนข้าวสารเป็นถนนที่สร้างขึ้นใน พ.ศ. 2435 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
โดยกรมโยธาธิการได้กราบบังคมทูลให้ตัดถนนตรอกข้าวสาร เริ่มตั้งแต่ถนนหน้าวัดชนะสงคราม
(ซึ่งได้นามว่าถนนชนะสงคราม) ตัดมาทางตะวันออกตามตรอกข้าวสารแล้วสร้างสะพานข้ามคลอง
มาบรรจบกับถนนเฟื่องนครตอนหน้าสวนหลวงตึกดิน พระราชทานนามถนนตามเดิมว่า "ถนนข้าวสาร"


ถนนข้าวสาร เดิมเป็นย่านเก่าตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 6 เป็นตรอกที่ขายข้าวสาร เป็นแหล่งค้าขายข้าวสาร
ที่ใหญ่ที่สุดของเขตพระนคร ซึ่งข้าวสารจำนวนมากจะถูกขนส่งมาจากฉางข้าวหลวง สะพานช้างโรงสี
ริมคลองคูเมืองเดิม หรือ ปัจจุบันก็คือ คลองหลอด เลียบมาตามแม่น้ำเจ้าพระยาขึ้นที่ท่าเรือบางลำพู
เพื่อนำข้าวมาขายให้แก่ชาวบ้านในชุมชนต่างๆ ที่อาศัยอยู่ในบริเวณนี้ นอกจากนี้ก็ยังขายถ่านหุงข้าว ของชำ
โดยถัดออกไป 1 ถนน จะเป็นคลองที่เชื่อมต่อมาจากแม่น้ำเจ้าพระยา มีการค้าขายข้าวสารมากมายจึงเรียกว่า
ตรอกข้าวสาร (เพราะขนาดเล็ก) ต่อมาจึงเปลี่ยนเป็นถนนข้าวสาร หลังจากนั้นก็เริ่มเกิดชุมชนขึ้น และขยับขยายต่อไป
ต่อมาเริ่มมีร้านขายของมากขึ้น เช่นร้านขายของเล่น อย่างลูกข่าง ร้านขายก๋วยเตี๋ยวเรือ


ต่อมาความเป็นอยู่ของชุมชนแห่งนี้เริ่มเปลี่ยนไป เมื่อมีนักท่องเที่ยวต่างประเทศเข้ามาในช่วงปี พ.ศ. 2525
ซึ่งเป็นปีแห่งการเฉลิมฉลองกรุงเทพมหานครครบรอบ 200 ปี ได้เข้ามาเช่าห้องพักอาศัยเพื่อ
เที่ยวชมเมืองหลวงของไทยในช่วงเทศกาลสำคัญนี้ และเริ่มมีฝรั่งเข้ามามาถ่ายภาพยนตร์ฮอลลีวู้ด
โดยมีทีมงานกองถ่ายมาอยู่กันจำนวนมาก ที่มาเช่าที่ เช่าเกสเฮาส์ ซึ่งตอนนั้นยังไม่มี ก็ต้องเช่าจากบ้าน
ที่อยู่แถวนั้นซึ่งใช้แบ่งเช่า จึงเป็นที่มาของเกสเฮาส์ โดยเกสต์เฮ้าส์เริ่มมีมาตั้งแต่ พ.ศ. 2528-2529
ระยะหลังเริ่มมีคนเข้ามาเรื่อย ๆ จนกลายเป็นศูนย์รวมของพวกแบ็คแพ็กเกอร์ที่มาท่องเที่ยวประเทศไทย
จนเป็นที่โด่งดังในที่สุด ก่อนที่จะมาปรับเปลี่ยนรูปแบบอีกทีในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมากลายเป็นย่านบันเทิงยามราตรี
ที่สำคัญของกรุงเทพฯ




สงกรานต์บนถนนข้าวสาร
ถนนข้าวสารถือเป็นถนนที่ได้รับความนิยมในการเล่นน้ำในวันสงกรานต์ที่คราคร่ำไปด้วยนักท่องเที่ยวต่างชาติ
จากทั่วทุกมุมโลก การเล่นสงกรานต์บนถนนข้าวสารเริ่มเมื่อประมาณ พ.ศ. 2533 เนื่องจากที่ถนนข้าวสารนี้
เป็นแหล่งที่พักอาศัยชั่วคราว หรือที่เรียกว่าเกสต์เฮ้าส์ ดังนั้นประเพณีการเล่นน้ำสงกรานต์ของคนไทยจึงถูกใจ
นักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศที่มาพักในถนนข้าวสารเป็นอย่างมาก โดยการเล่นสงกรานต์ถนนข้าวสารในช่วงแรกๆ
ก็เป็นแต่เพียงเล่นสาดน้ำกันธรรมดาเท่านั้น
แต่เทศกาลสงกรานต์นี้มาโด่งดังในช่วง พ.ศ. 2542-2543 โดยนอกจากการเล่นสาดน้ำเป็นปกติแล้ว
ก็ยังมีทั้งการจัดกิจกรรม มีเวทีการแสดง มีสปอนเซอร์เข้ามาสนับสนุน จากแต่ก่อนที่คนเล่นต้องเตรียมน้ำ
เตรียมแป้งมาเล่นกันเอง และมีน้ำเตรียมไว้ให้เล่นตามจุดต่างๆ ด้วย

Mckaforce:

ถนนนี้ยาว 300 เมตร นักท่องเที่ยวชาวยุโรปที่นี่มักจะใส่กางเกงเล


ส่วนนักท่องเที่ยวชาวญี่ปุ่นซึ่งชอบย้อมผมสีแดง มักจะใส่เสื้อกล้าม กางเกงขาสั้น และเจาะจมูก


นักท่องเที่ยวผู้หญิงที่พบในถนนข้าวสารมักจะถักผมเปีย


ฟรั่งทั้งชายหญิงที่ผมยาวชอบถักผม "เดรดร๊อค" เหมือนลุงบ๊อบ มาเล่


ที่สำคัญน้าแม๊คสังเกตมาเยอะ ฟรั่งที่นี่ชอบกินสัตว์ใหญ่ (พวกล่อช้างกันเป็นแถว) ทั้งแบบขวด แบบหลอด


 ;D ;D ;D ;D






ว่าแล้วก็อย่ามัวพูดพล่ามทำเพลง เรามานั่งตุ๊ก ๆ ไปข้าวสารกันดีกว่า


ลมเย็น ๆ อากาศดี ๆ นั่งตุ๊ก ๆ ชมตึกชมบ้านเก่า ๆ แหม... มันสบายใจซะจริง











ภาพเบลอไปหน่อย ตุ๊ก ๆ เมืองไทย ติดจรวดกันทั้งนั้น


ขนาดกลางวันรถติด ๆ มันยังวิ่งกันไม่คิดชีวิต จะประสาอะไรกับกลางคืนรถน้อย ๆ




ปล. ถ้ามีปีกผมเชื่อว่ามันคงบินได้แน่นอน

Mckaforce:

มาถึงแล้ว ถนนข้าวสาร


มาแบบงง ๆ ไหนวะข้าวสาร ตูไม่เห็นมีสักกะเม็ด





ลงตุ๊ก ๆ ที่หน้าซอยข้าวสาร เพื่อที่ว่าพอไปสุดซอย จะได้เดินต่อไปอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยต่อได้เลย


ค่าโดยสารจากป้อมพระสุเมรุ 20-30 บาทครับ แล้วแต่ว่าจะต่อรองกันยังไง

นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

[#] หน้าถัดไป

ตอบ

Go to full version